ไม่เข้าใจ คนอื่น ก็อย่าพึ่ง คิดว่า ตนเองคิดนั้น ถูกสิ ผมเคยถาม พระสมณะโคดมแล้ว ว่า ก็ในเมื่อ ความเป็นพระพุทธเจ้านั้น สามารถ ชี้ ช่วยสรรพสัตว์ ได้ หมด แล้วทำไม ไม่ชี้เลย ท่านตอบว่า ให้ไปถามพระศรีอาริย์เองสิว่า ทำไม ยังต้องมีพระศรีอาริย์ ท่านตอบว่า ท่านจะชี้เองก็ได้ แต่ไม่ทำ นั่นเพราะ ยังมีพระศรีอาริย์อยู่ นี่ตกลง จะหายโง่ กันมั้ย ว่า ทำไม ยังต้อง มีพระศรีอาริย์ อีก
แล้วคุณว่า ปลาช่อน กับ ปลาชะโด ในบ่อวงกลมจุด คุณว่ามันเป็นปลาเช่นเดียวกันหรือไม่ แต่ทำไม่คนต้องแบ่งประเภท ชื่อเรียกให้ต่างกัน
ผมไม่ได้โง่ เหมือน องคุลิมาน ที่อาจารย์บอก อะไรก็เชื่อหมด สำหรับผม อาจารย์ดีมีศีลธรรม ผมก็ยังนับถือเป็นอาจารย์ แต่ถ้าอาจารย์ชั่ว ทำไมผมต้องชั่วเหมือนอาจารย์ด้วยล่ะ ก็เรา เป็นคนรู้ดีรู้ชั่วแล้ว จะให้ผม ไปนับถือ คนทำชั่ว ผมไม่เอาด้วยหรอกนะ อาจารย์จะยังเป็น อาจารย์ก็ต่อเมื่อท่าน ดี ไม่หลง รักโลภโกรธหลง เท่านั้นแหล่ะ
ก็ยกเหตุผลมาให้สมเหตุสมผลสิ ไม่ใช่ว่า สุขทุกข์อันเดียว ก็เลยคิดไปว่า ถ้างั้นกฏไตรลักษณ์ที่เป็น "อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา" ก็ต้องเป็น "อนิจจัง สุขขัง อนัตตา" เข้ากันได้ ถ้าเนื้อปลาเหมือนกันหมด คุณกล้ากินเนื้อปลาปักเป้า ไหม
มันมาถามอะไรโง่ๆๆๆๆอีกแล้ว นะเนี่ย ทำไมไม่กล้า เราก็กิน เนื้อตรงที่มันไม่มีพิษสิ งูมีพิษ ทำไม คนยังกินเนื้องูได้ คางคกมีพิษ ทำไมคนยังกินเนื้อคางคกได้ นี่ตกลง เมื่อไหร่จะเลิกโง่ ดักดาน เสียทีนะ คนไม่โง่น่ะ มันรู้ ว่าอะไรควรกิน ไม่ควรกิน ไม่ไช่โง่กินดะ นะจ๊ะ เมื่อไหร่จะเลิกโง่ฟะ
ก็กำลังคุยกับคนโง่อยู่ เหมือนคุยกับพวกไม่มีการศึกษาน่ะ แต่ถ้าคุยกับบัณฑิต พวกมีการศึกษา ก็จะคุยอีกแบบหนึ่ง นะจ๊ะ หัดเข้าใจตนเองบ้างสิ จ๊ะ ว่าเป็นบัญฑิตหรือคนโง่ จ๊ะ
"กัมมุนา วัตตติ โลโก" สัตว์โลกทั้งหลายย่อมเป็นไปตามกรรม อุทฺเทส กมฺมปจฺจโย เพราะมีเจตนาตั้งใจเป็นปัจจัย ดังพุทธภาษิตกล่าวไว้ในอังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาตว่า... "เจตนาหํ ภิกฺขเว กมฺมํ เจตยิตฺวา กมฺมํ กาเยน วาจาย มนสา" ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวว่า เจตนาคือตัวกรรม สัตว์ทั้งหลายที่ทำกรรม ด้วยกาย ด้วยวาจา ด้วยใจก็ดี ย่อมมีการปรุงแต่ง คือคิดนึกก่อนแล้วจึงทำ ดังจะเห็นได้ว่าการกระทำด้วยกาย ด้วยวาจา ด้วยใจ จะเป็นกุศล หรืออกุศลก็ตาม ต้องอาศัยเจตนาเป็นใหญ่ เป็นหัวหน้าในการกระทำนั้นๆ ฉะนั้น เจตนาจึงเป็นตัวกรรม หรือเป็นหัวหน้าของสังขารขันธ์ทั้งหลาย กัมมปัจจัยที่กล่าวว่า เป็นปัจจัยให้เกิดผล ก็เพราะทำหน้าที่เพาะพืชพันธุ์ให้เกิดผลในอนาคต เรียกว่า พีชนิธานกิจ คือ ทำกิจสั่งสมพืชเชื้อเพื่อให้งอกต่อไปในอนาคต เป็นนานักขณิกกัมมปัจจัย กมฺมสฺสโกมฺหิ เมื่อทำกรรมไว้อย่างไร ก็ต้องรับผลของกรรมนั้นตามที่ทำไว้ กมฺมทายาโท คือเป็นทายาทของกรรมที่ทำแล้ว จึงจำแนกสัตว์ให้ไปเกิดในที่ต่างๆกัน กมฺมโยนิ คือมีกรรมเป็นกำเนิด และกรรมที่ทำแล้วยังจะติดตามไปทุกหนทุกแห่ง จะไม่สูญหายไปใหน กมฺมพนฺธู คือมีกรรมเป็นเผ่าพันธุ์ แม้พ่อ-แม่ญาติพี่น้อง ก็ไม่ชื่อว่าเป็นเผ่าพันธุ์วงศ์ญาติที่แท้จริง คือชาตินี้เป็นญาติกัน แต่พอตายแล้วก็แยกย้ายกันไป แต่ส่วนกรรมที่ทำแล้วย่อมจะติดตามตนไปทุกภพทุกชาติ จนกว่าจะเข้าสู่พระนิพพาน. ถ้าทำกรรมดีก็เหมือนมีวงศ์ญาติที่ดี ญาติดีก็จะอุปถัมภ์ค้ำชูให้มีความสุข ความเจริญ แต่ถ้าทำกรรมชั่ว ก็เหมือนมีวงศ์ญาติที่ชั่ว ญาติชั่วก็จะติดตามล้างผลาญให้เป็นทุกข์เดือดร้อนเรื่อยไป กรรมจึงเป็นที่พึ่งอาศัยของสัตว์โลก กมฺมปฏิสรโณ เพราะเมื่อกรรมชั่วให้ผลอยู่ แม้ญาติพ่อ-แม่พี่น้องตลอดจนผู้มีอำนาจราชศักดิ์ ก็ไม่อาจช่วยให้พ้นจากทุกข์ได้ แต่ถ้ากรรมดีให้ผลอยู่ แม้ใครจะคิดร้ายทำลายชีวิตก็ไม่อาจถูกทำลายได้เลย.
ไม่ได้จะช่วยเป็นการส่วนตัวอะไรหรอกครับ แค่เห็นว่าเดี๋ยวนี้ไม่ค่อยมีกระทู้ให้อ่านใหม่ๆ ก็เลยแตกประเด็นเท่าที่พอจะทำได้ให้เกิดการสนทนาให้น่าสนใจแค่นั้นเอง แต่ดูท่าจะเสร็จคุณวงกลมจุดอีกแล้ว ฮ่าๆ
คุณเข้าใจเรื่องพิษงูดี ดังนั้น ทุกขัง กับ สุขขัง ที่ยังวนเวียนเลื้อยอยู่ในโลก เปรียบเหมือน งูตัวหนึ่งๆ แต่คุณกลับไปจับส่วนหาง แต่เข้าใจว่าเป็นหัว ทุกข์เปรียบเสมือนหัวงู ส่วนสุขเปรียบเสมือนหางงู ดังนั้น ทุกข์จึงเป็นของจริง ส่วนสุขนั้นคือสิ่งลวง เหตุนี้เอง กฏไตรลักษณ์ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา จึงคือสภาพของความจริงในสรรพสิ่ง ส่วนคุณนั้น ใคร่ที่จะจับส่วนหาง พยายามที่จะยัดเยียดอธิบายสิ่งลวง มันก็แปลกดี กับ "สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นสุข" ใน "อนิจจัง สุขขัง อนัตตา" ที่คุณพยายามจะอธิบายล่อลวง และอย่าไปพยายามยัดเยียด ทุกขสัจจ์ มาเป็น สุขสัจจ์ เสียล่ะ ศาสนานี้สอนถึงเรื่องทุกข์ และการดับทุกข์ มีแต่ทุกข์เท่านั้นที่เกิดขึ้น มีแต่ทุกข์เท่านั้นที่ดับไป เมื่อดับทุกข์ในโลกได้แล้ว จึงจะพบสุขถาวร ที่เหนือการเกิดดับ เหนือกฏไตรลักษณ์ เป็น นิพพานัง ปรมัง สุขขัง เก่งๆจริง เก่งเกินครู พยายามที่จะสอดสิ่งลวง มาเป็นของจริง จริงอยู่ทั้งส่วนหัว และส่วนหาง อยู่ในตัวเดียวกันกับงูตัวหนึ่ง คือ ทุกข์และสุขลวงๆ ระวังเถอะ งูมันส์จะแว้งกัดเอาได้ เพราะการที่ไปจับส่วนหาง ครูบาอาจารย์เคยสอนไว้ กับนอกลู่สวนทาง ผิดมรรคผิดทาง ถึงว่า กลับมาเสพศรีพันละยา สาวละวนในโลก พยายามผิด ที่จะเอาสมมุติ ว่าเป็นวิมุติ เห็นทุกข์ ว่าเป็นสุข กลับตาลปัตร จริงๆจะเสพอย่างไร นั่นเป็นเรื่องของการครองคู่ ซึ่งก็ไม่ผิด แต่มันเคลือบแคลง ตรงที่คุณบอกว่า จบกิจ..! จบกิจอะไรมา..!!?? ทุกข์ไม่ใช่สิ่งอจิณไตย แต่คือของจริง
จักรวาลนั้นกว้างใหญ่ไพศาล หาต้องการรู้รายละเอียด ก็ต้องค่อยๆ ศึกษาทุกอณู เก็บรายละเอียดทุกอย่าง แต่หากต้องการเพียงรู้แต่ไม่แตกฉาน ก็ออกไปดูนอกจักรวาล แล้วมองเข้ามา ก็จะเห็นทุกอย่าง รู้แต่ไม่เข้าถึง เรื่องราวต่างๆ ของจักรวาลนั้นเป็นเรื่องอจิณไตย การที่พุทธภูมิทั้งหลายต้องการศึกษาเรื่องอจิณไตยก็เป็นเรื่องธรรมดา รู้แล้วก็เข้าใจว่าสิ่งต่างๆ มันเป็นมาของมันอย่างนั้นเอง รู้และเข้าใจว่า จักรวาลนั้นก็คือนามสมมติ ทำให้ต้องละวางตัววางตน ก้าวข้ามอัตตา จึงเข้าถึงความเป็นอนัตตานั้นได้
คุยเรื่องบาตรต่อ เนื่องจากได้โพสเรื่องบาตรของพระพุทธองค์ในคราวที่แล้ว ยังมีประเด็นตกค้างเรื่องหนึ่งที่ยังไม่ได้พูด แต่ไม่แน่ถ้ามีประเด็นเรื่องอื่นเกี่ยวกับบาตรอีกก็จะนำมาเขียนเล่าสู่กันฟัง เรื่องบาตรนี้ผมได้มองพิจารณา แล้วย้อนมามองบาตรสมัยที่ผมบวชเป็นพระภิกษุ คือ เราใช้เวลาอยู่กับบาตรอย่างน้อยวันละ 3 ชั่วโมง คือ ผมบวชในกรุงเทพฯ ออกบิณฑบาตประมาณ 05.30 น. กลับถึงวัดประมาณ 07.30 น. และฉันภัตตาหารเสร็จพร้อมล้างบาตรเวลา 08.30 น. รวม 3 ชั่วโมง เหตุที่กล่าวเช่นนี้เพราะจะบอกว่า ตลอดระยะเวลา 3 ชั่วโมงนั้น ส่วนมากจะอยู่ในกรรมฐาน เจริญสติปัฏฐาน 4 และเจริญเมตตาจิตภาวนา ตลอดระยะเวลา 3 ชั่วโมงที่เจริญกรรมฐานนั้น ส่วนมากแล้วสายตาจะจับจ้องอยู่ที่บาตร เริ่มตั้งแต่ออกเดินบิณฑบาต จะมีสติกำกับ สายตาจะมองบริเวณบาตรที่ถือกับมองไปยังพื้นถนน นอกจากฝึกสติแล้วก็ยังแผ่เมตตากำกับควบคู่ไปตลอดเส้นทางด้วย เวลาฉันก็ฉันในบาตรเพ่งพิจารณาอาหารในบาตร และก็แผ่เมตตาไปยังอาหาร ไปยังคนปรุงอาหารเขาเหล่านั้นที่รู้ก็ดีไม่รู้ก็ดี เวลาล้างบาตรก็มีสติเพ่งมองไปที่บาตร เช็ดถูบาตรให้แห้งสะอาดแล้วนำไปตากแดด เมื่อแห้งแล้วก็นำถลกบาตรมาสวมใส่เก็บไว้เป็นที่ให้เรียบร้อย เพื่อเตรียมพร้อมในการบิณฑบาตวันต่อไป ประเด็น คือ เมื่อมาคิดเช่นนี้ และทำเช่นนี้ทุกวัน วันละ 3 ชั่วโมง หรือ 1 ปี ประมาณ 1,095 ชั่วโมง ถ้า 10 ปี หรือ 20 ปี จะเป็นเท่าไหร่ ทำให้คิดถึงการปลุกเสกพระ แต่การทำเช่นนี้เปรียบเหมือนการปลุกเสกบาตร และยิ่งเป็นบาตรของพระอรหันต์จะมีคุณวิเศษสักปานใด โดยเฉพาะบาตรของพระพุทธเจ้าแล้วอานุภาพไม่มีประมาณ เมื่อคิดเช่นนี้ ถ้าจะเอาบาตรของพระพุทธองค์ รวมทั้งบาตรของพระอรหันต์ในสมัยพุทธกาล และพระอรหันต์ในสมัยอดีตจนถึงปัจจุบัน มาทำน้ำมนต์ และเทน้ำมนต์ออกจากบาตรทั้งหมดมารวมกัน นำขึ้นเฮลิคอปเตอร์ ไปฉีดเป็นละอองฝอยโปรยทั่วประเทศไทย โดยเฉพาะใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ผมมีความเชื่อเช่นนั้น เพราะนี่ คือ กระทู้อจินไตย
ส่วนตัวชอบกระทู้ที่คุณซิริอัสตั้งนะคะ หัวข้อแปลกใหม่น่าสนใจดีค่ะ ... เห็นคุณซิริอัสติดใจเรื่องบาตรของพระพุทธเจ้ามาก และการนำเหนอความคิดก็น่าสน โปรยน้ำมนต์ทั่วสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ เป็นวิธีคิดที่แปลกแนวดี... ส่วนตัวเชื่อว่าถ้าได้น้ำมนต์มาคงวิเศษมิใช่น้อย แต่อย่าลืมเรื่องของ "กฎแห่งกรรม" นะคะ ใครทำอย่างไรก็ได้รับผลเช่นนั้น ไม่มีทางทำให้กรรมนั้นลบเลือนไป แต่สำหรับคนดี ๆ อาจจะมีวิธีผ่อนหนักเป็นเบา จากเบาเป็นหาย... แต่เราก็เข้าใจแนวความคิดนี้ดีเพราะวิธีคิดแบบนี้ก็มาจากปฏิปทา "พุทธภูมิ" เต็มตัวนั่นเอง กำลังใจของคนที่เข้าถึงจริง ๆ อยากจะให้มันสำเร็จในวันนี้พรุ่งนี้ด้วยซ้ำ ส่วนตัวเราที่กำลังใจสาวกภูมิธรรมดา ๆ คงได้แต่มองแล้วอ้าปากค้างเพราะทึ่งจัด อิอิ ไม่ได้ตั้งใจจะค้านแนวความคิดนี้นะ เราแค่คิดว่า...ถ้าหากทำได้ก็เป็นเรื่องดีมาก แต่ถ้าหากทำได้จริง ๆ เราลองหาของที่หาง่ายกว่านี้และเป็นสิ่งแทนตัวของพระพุทธเจ้าได้ อาทิเช่น...พระบรมสารีริกธาตุ...จะเกิดผลเช่นเดียวกันหรือเปล่า?
การเจริญอิทธิบาท ๔ ต่ออายุเป็นกัปป์นั้น เดิมทีก็สงสัยนะคะ ฉันทะ วิริยะ จิตตะ วิมังสา... ท่องแค่นี้ก็ต่ออายุได้แล้วหรือ...เคยสงสัยอยู่พักใหญ่เช่นกันค่ะ อันนี้ไปฟังเขาเล่ามานะคะ...อันนี้ไม่ยืนยัน เพราะทำไม่ถึงและยังไม่คิดจะลองทำ แค่อายุขัยมนุษย์ไม่ถึงร้อยปีนี่ก็เบื่อจะแย่แล้ว การเจริญอิทธิบาท ๔ คือการเจริญภาวนาอย่างต่อเนื่อง ไม่แน่ใจว่าต้องเข้าฌานไหนเป็นอย่างต่ำ แต่ต้องเจริญฌานสมาธิตลอดเวลาค่ะ ทั้ง ยืน เดิน นอน นั่ง ... ต้องเจริญสติ ๒๔ ชั่วโมง ฉันทะ คือการพอใจในการทำฌานนั้นตลอดเวลา วิริยะ คือการพากเพียร เพื่อมิให้ฌานหลุด จิตตะ คือมีใจจดจ่อในอารมณ์ฌานตลอดเวลา วิมังสา คือการใคร่ครวญเพื่อให้จิตตกอยู่ในอารมณ์ฌานนั้น ๆ และต้องมีความตั้งใจที่จะมีอายุยืนด้วยค่ะ ส่วนตัวเชื่อว่าการเจริญอิทธิบาท ๔ นั้น ไม่จำเป็นต้องเป็นพระอรหันต์เท่านั้นที่ทำได้ค่ะ พระโพธิสัตว์บารมีเยอะ ๆ เช่นปรมัตถบารมีปลาย เก็บบารมีครบถ้วนทั้งสามสิบทัศน์แล้วก็สามารถอธิษฐานต่ออายุได้ค่ะ จริง ๆ แล้วเคยได้ยินได้ฟังเรื่องพระฤาษีในป่าในดงหลายองค์ที่มีอายุยืนยาว อาจจะไม่ถึงกัปป์ แต่ ๒,๐๐๐ - ๓,๐๐๐ ปีนี่ในเมืองไทยก็น่าจะมีหลายองค์ เพียงแต่ว่าไม่มีใครยอมเปิดเผยตัว ท่านเหล่านี้อาจจะเจริญอิทธิบาท ๔ อยู่เป็นนิจสินก็ได้นะคะ เป็นความเห็นส่วนตัวค่ะ อย่านำไปอ้างอิงนะคะ ปกติไม่ค่อยอยากจะคุยเวิ่นเว้อ แต่เห็นกระทู้นี้ มันอดบ่ได้อ้ะ
ต้องถามว่าเป็นการเจริญอิทธิบาท4เพื่ออะไร หรือเป็นการเจริญอิทธิบาท4ในอะไร หากตอบว่าเป็นการเจริญอิทธิบาท4ในอริยะมรรค ส่วนนี้ ท่านผู้อ่านต้องทราบได้ก่อนเลยว่า การเดินมรรค จะก้าวหน้าสำเร็จได้ พระท่านสอนว่า ก็ต้องมีอิทธิบาท4ในการเดินมรรคหรือเจริญมรรค อิทธิบาทที่ใช้ในการเจริญมรรค จึงเป็นวิธีการชั้นสูงที่ทำได้ยากแต่หากทราบวิธีก็จะเป็นประโยชน์แก่การเจริญมรรคเป็นอย่างมาก โดยมาก บุคคลผู้มีปัญญมาก ปฏิบัติมามาก เมื่อมีดวงตาเห็นธรรมแล้ว ย่อมเริ่มรู้จักก้าวเดิน ย่อมรู้จักการเจริญมรรค และในที่สุดย่อมรู้อิทธิบาท4ในอริยะมรรคครับ ก็ทำแบบนี้แล้วมันดีอย่างนี้ ให้ผลที่ดีต่อความก้าวหน้าในมรรค มันรู้มันเห็นในสภาพความจริงทั้งหลายที่ปรากฏของมัน หมายความว่า 1รู้ว่า ต้องมีความพึงพอใจอย่างไรในอริยะมรรค 2รู้ว่า ต้องมีความเพียรอย่างไรในอริยะมรรค 3รู้ว่า ต้องเอาใจจดจ่อหรือเอาใจใส่อย่างไรในการเจริญมรรค 4รู้ว่า ต้องไตรตรองพิจารณาให้เกิดปัญญาอย่างไรในการเจริญมรรค ต้องรู้ว่าการกระทำอย่างยิ่งในอริยะมรรคคืออะไรเป็นอย่างไร นั้นแหละคือความรู้ในการเจริญอิทธิบาท4ในอริยะมรรคนั่นเองครับ สาธุ