เหรียญบิน หลวงพ่อทรง - แพโบสถ์น้ำ หลวงตา (เล็ก) น. ๑๒๖๕

ในห้อง 'ประสบการณ์ เรื่องเล่า' ตั้งกระทู้โดย พี เสาวภา, 7 เมษายน 2008.

  1. พี เสาวภา

    พี เสาวภา ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    37,990
    ค่าพลัง:
    +146,269
    เรื่องสมเด็จพระองค์นี้ คนที่พอจะทราบ รู้กันมานานแล้วครับ
     
  2. ครรชิต วิมลจันทร์

    ครรชิต วิมลจันทร์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    572
    ค่าพลัง:
    +2,865
    กราบ...กราบ....กราบ.....
    สมเด็จพระสังฆราชเจ้า
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 25 ตุลาคม 2013
  3. แสงแข

    แสงแข เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2010
    โพสต์:
    7,935
    ค่าพลัง:
    +44,410
    [​IMG]

    กราบ กราบ กราบ ท่านเจ้าพระคุณสมเด็จพระญาณสังวรฯ เกล้ากระหม่อม
     
  4. แสงแข

    แสงแข เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2010
    โพสต์:
    7,935
    ค่าพลัง:
    +44,410
    [​IMG]

    สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก
    เมื่อครั้งทรงดำรงสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะชั้นเทพ
    ในพระราชทินนามที่ พระโศภณคณาภรณ์
    (มีความหมายว่า ผู้เป็นอาภรณ์หรือเครื่องประดับของหมู่คณะอันงาม)
    ซึ่งเป็นพระราชทินนามที่ตั้งขึ้นใหม่
    สำหรับพระราชทานแก่เจ้าพระคุณสมเด็จฯ เป็นรูปแรก

    ทรงได้รับเลือกให้ปฏิบัติหน้าที่พิเศษเป็น “พระอภิบาล” (พระพี่เลี้ยง)
    ของพระภิกษุพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลปัจจุบัน
    ในระหว่างที่เสด็จออกทรงผนวชเป็นพระภิกษุในพระพุทธศาสนา
    และเสด็จประทับ ณ วัดบวรนิเวศวิหาร ราชวรวิหาร กรุงเทพมหานคร
    ในระหว่างวันจันทร์ที่ ๒๒ ตุลาคม ถึง วันจันทร์ที่ ๕ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๙๙





    คัดมาจาก ธรรมจักร
     
  5. ตาเถน

    ตาเถน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    97
    ค่าพลัง:
    +698
    สมเด็จพระสังฆราชเสด็จวัดสามพระยา
    ทราบจากท่านผู้ว่าแม่ฮ่องสอนว่ามีคนมาบอกว่า สมเด็จพระสังฆราชเสด็จ เรื่องนี้เป็นปรกติเพราะสมเด็จพระสังฆราชองค์นี้ เป็นพระที่ควรแก่การบูชา ไม่มีเวร มีภัยกับใครๆ ตั้งแต่รับตำแหน่งมา ไม่เคยสร้างความเดือดร้อนให้แก่พระใต้บังคับบัญชา มีแต่เตือนให้สามัคคีกัน

    เมื่อท่านเสด็จมา ก็ลุกขึ้นยืนแสดงความเคารพด้วยศรัทธาแท้ คิดว่าสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ท่านจะยืนรับเหมือนผู้เขียน เห็นท่านนั่งเป็นปรกติ สมเด็จพระสังฆราชท่านเข้ามาถึง ท่านนั่งกับพื้น สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์นั่งบนเตียงตามปรกติ สมเด็จพระสังฆราชท่านกราบแล้วถวายของ (เครื่องสักการะและของใช้) สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์พนมมือให้พร

    ท่านที่ควรบูชา

    เป็นอันว่า เมื่อเห็นเข้าอย่างนั้น จิตก็มีอารมณ์คิดบูชาสมเด็จพระสังฆราชมากขึ้นอย่างยิ่ง ท่านอาจจะเคารพสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ในฐานะอะไรเป็นเรื่องของท่าน แต่ที่่เพิ่มความเคารพบูชาสมเด็จพระสังฆราชมากขึ้น เพราะท่านไม่มีมานะ คำว่า มานะ แปลว่า การถือตัวถือตน หรือถือยศถือศักดิ์ โดยคิดว่าเวลานี้ฉันเป็นสังฆราช ใครจะโตกว่าฉันไม่ได้ ฉันต้องโตกว่าทุกคนที่เป็นพระสงฆ์ การตัดมานะตัวนี้ เป็นเรื่องที่่ผู้เขียนบูชาน้ำใจอย่างยิ่ง และบูชาทุกคนที่ตัดได้ ไม่ใช่เฉพาะสมเด็จพระสังฆราชเท่านั้น วันนั้นถือว่า เฮ็งที่สุด ท่านที่ตัดมานะ หมดการถือตัวถือตน ตามภาษาพระที่่เรียกว่า สังโยชน์ ท่านถือว่ามีความดีสูง ควรแก่การบูชาอย่างยิ่ง ใครบูชา คนนั้นเป็นคนมีอุดมมงคล คือมงคลสูงสุด (หรือเฮงที่สุด)...

    ภาพพระจริยาของสมเด็จพระสังฆราช

    ภาพพระจริยาของสมเด็จพระสังฆราชที่กราบนมัสการสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์วัดสามพระยา ที่ผู้เขียนประทับใจมาก และเคารพท่านมากขึ้นเป็นพิเศษ จะดูได้จากภาพถ่ายวิดีโอ คุณปรีชา พึ่งแสง ถ่ายไว้ เป็นภาพที่ทำให้คนดีทุกคนคลายมานะทิฐิลงได้มาก เว้นไว้แต่คนเลวเท่านั้น ที่จะรักษาความดีส่วนเลวของตนไว้ได้อย่างมั่นคง

    คติประจำใจของผู้เขียน

    เราไม่ถือนิกาย หมู่คณะ หรือสมาคมเป็นสำคัญ เราถือบุคคลเป็นสำคัญ ที่คิดอย่างนี้เพราะว่า พระพุทธเจ้าท่านแสนดีแต่ศิษย์ของท่านที่เลวๆ ก็มีหลาย
    ขอหยุดเพื่อหายใจเพียงเท่านี้

    พระราชพรหมยาน
    ๒๔ มีนาคม ๒๕๓๓

    จากหนังสือธัมมวิโมกข์ ปีที่ ๑๑ ฉบับที่ ๑๑๐ เดือนเมษายน ๒๕๓๓ หน้า ๑๑ และหน้า ๑๙
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  6. พี เสาวภา

    พี เสาวภา ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    37,990
    ค่าพลัง:
    +146,269
    ทั้งหลวงพ่อ และ หลวงพี่วิรัช ก็ยืนอยู่ตรงนั้น
     
  7. กราวใน

    กราวใน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 มิถุนายน 2009
    โพสต์:
    760
    ค่าพลัง:
    +6,266
    หลวงปู่บุญมี โชติปาโล
    ทำพิธีต่อพระชนมายุถวายแด่สมเด็จพระสังฆราช
    เมื่อวันที่ ๒๖ กันยายน พุทธศักราช ๒๕๔๖
    [​IMG]
    มีเหตุการณ์ปาฏิหาริย์อีกเรื่องหนึ่งที่โจษขานกันไปทั่ว คือ เมื่อครั้งที่มีงานมหาพิธีพุทธาภิเษกพระกริ่งคชวัตร และพระรูปเหมือนสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก (เจริญ สุวฑฺฒโน) เนื่องในวโรกาสทรงเจริญพระชนมายุครบ ๙๐ พรรษา (ภายหลังจากที่ทรงหายจากอาการพระประชวรหนักจนจวนเจียนจะสิ้นพระชนม์ แต่ทรงเจริญอิทธิบาท ๔ จนสามารถเจริญพระชนมายุต่อมาได้โดยสวัสดิภาพอย่างน่าอัศจรรย์ไม่นาน) ณ พระอุโบสถ วัดบวรนิเวศวิหาร ราชวรวิหาร เมื่อวันที่ ๒๖ กันยายน พุทธศักราช ๒๕๔๖ โดยครั้งนั้น พระภาวนาวิศาลเถร (หลวงปู่บุญมี โชติปาโล) พระอริยเจ้าผู้เข้มงวดเข้มขลังยิ่งแห่งวัดสระประสานสุข อ.เมือง จ.อุบลราชธานี ได้รับอาราธนามานั่งปรกอธิษฐานจิตในพิธีพุทธาภิเษกด้วย

    เมื่อพิธีพุทธาภิเษกเสร็จสิ้น หลวงปู่บุญมีได้ลุกจากอาสนะสงฆ์ที่นั่งอยู่ แล้วเดินตรงเข้ามาหา ยืนต่อเบื้องพระพักตร์สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราชฯ โดยมิได้ทรุดกายลงกราบ พร้อมกับเอาผ้าขนหนูผืนน้อยที่ไว้สำหรับเช็ดหน้าเช็ดปากลูบไล้เช็ดตามพระวรกาย ตั้งแต่พระเศียร (หัว) พระพักตร์ (หน้า) วนไปวนมาอยู่หลายรอบ เสร็จแล้วลงมาที่พระพาหา (ไหล่) พระกร (แขน) และพระอุระ (หน้าอก) อย่างที่ไม่มีใครนึกฝันหรือคาดคิดมาก่อน สร้างความตกตะลึงพรึงเพริดให้บังเกิดขึ้นแก่ศิษย์อุปัฏฐากของสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราชฯ และทุกๆ คนที่ไม่ทราบความนัยเป็นอย่างยิ่ง และเมื่อเห็นทุกๆ คน (ยกเว้นแต่องค์สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราชฯ) บังเกิดความสงสัยแปลกใจอย่างเต็มที่ ศิษย์ติดตามหลวงปู่บุญมีจึงกราบทูลชี้แจงในอริยาการดังนั้นมาทีเดียวว่า “หลวงปู่กำลังทำพิธีต่อพระชนมายุถวายแด่ฝ่าพระบาทอยู่ขอรับกระหม่อม”

    เมื่อถึงที่สุดแห่งการพิธี หลวงปู่บุญมีได้ก้มลงกราบที่่พระอุระ (หน้าอก) โดยมิได้พูดอะไรออกมาแม้แต่คำเดียว ขณะที่สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราชฯ เองก็มิได้ออกพระวาจา หรือแสดงอาการหลบเลี่ยงอย่างไม่สบพระทัยแต่อย่างใดทั้งสิ้น จากนั้นหลวงปู่บุญมีก็ได้กุมพระหัตถ์ของสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราชฯ ขึ้นอธิษฐานเหมือนหนึ่งจะถวายพระพรให้ทรงพระเจริญด้วยพระชนมายุยิ่งยืนนานกว่า ๑๐๐ พระวัสสา ค้ำชูบูชาคุณบวรพระพุทธศาสนาให้สถาพรสืบต่อไปตราบชั่วจิรกาลเป็นปัจฉิมวาระ

    แม้จะมีพรรษายุกาลมากกว่า แต่หลวงปู่บุญมีก็ก้มลงกราบแทบองค์ของสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราชฯ อย่างนอบน้อมในพระคุณธรรมอันประเสริฐสุด เป็นที่ประทับตาประทับใจแก่พุทธศาสนิกชนทุกผู้ทุกนามที่มีบุญได้อยู่ร่วมในเหตุการณ์ประวัติศาสตร์ครั้งนั้นเป็นอย่างยิ่ง

    โดยเหตุการณ์ดังกล่าวที่เกิดขึ้น ลูกศิษย์ของหลวงปู่บุญมีระบุว่า เป็นการทำพิธีต่อพระชนมายุถวายแด่สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราชฯ ก่อนที่หลวงปู่บุญมีจะละสังขารด้วยอาการสงบ เมื่อวันศุกร์ที่ ๔ มิถุนายน พุทธศักราช ๒๕๔๗ หลังจากเหตุการณ์ประวัติศาสตร์ดังกล่าวเพียง ๘ เดือนเท่านั้น

    หมายเหตุ : เรื่องการทำพิธีต่อพระชนมายุฯ นี้ได้รับการตีพิมพ์ลงในหนังสืออิทธิฤทธิ์
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  8. กราวใน

    กราวใน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 มิถุนายน 2009
    โพสต์:
    760
    ค่าพลัง:
    +6,266
    พระจริยวัตรอันงดงาม ที่เจ้าพระคุณสมเด็จฯ ทรงปฎิบัติต่อ ครูบาอาจารย์และพระอริยสงฆ์
    เป้นภาพที่ประทับใจและทำให้ระลึกถึง เจ้าพระคุณสมเด็จฯ มากยิ่งขึ้น สาธุ สาธุ สาธุ
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 25 ตุลาคม 2013
  9. พี เสาวภา

    พี เสาวภา ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    37,990
    ค่าพลัง:
    +146,269
    เรื่องนี้เยี่ยมเลยครับ ครู
     
  10. กราวใน

    กราวใน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 มิถุนายน 2009
    โพสต์:
    760
    ค่าพลัง:
    +6,266
    ณ พระตำหนักเพชร ภายในวัดบวรนิเวศวิหารครับ เจ้าพระคุณสมเด็จฯ ประทับ ณ วัดบวรนิเวศวิหารแล้ว กราบ กราบ กราบ ขอรับ

    [​IMG]
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  11. แสงแข

    แสงแข เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2010
    โพสต์:
    7,935
    ค่าพลัง:
    +44,410
    [​IMG]

    “พระรูปฝีพระหัตถ์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว”

    เมื่อวันที่ ๒๖ กันยายน พุทธศักราช ๒๕๒๘
    ขณะที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
    ประทับแรม ณ พระตำหนักทักษิณราชนิเวศน์ จ.นราธิวาส
    ได้เสด็จพระราชดำเนินไปทรงนมัสการ
    สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก
    เมื่อครั้งทรงดำรงสมณศักดิ์เป็นสมเด็จพระราชาคณะ
    ในพระราชทินนามที่ สมเด็จพระญาณสังวร
    (มีความหมายว่า ผู้สำรวมในญาณคือความรู้
    หรือผู้มีความสำรวมในความรู้อย่างยิ่ง)

    ณ สำนักสงฆ์ทักษิณราชนิเวศน์ จ.นราธิวาส
    ระหว่างที่มีพระราชปฏิสันถารกับเจ้าประคุณสมเด็จฯ อยู่นั้น
    ทรงเห็นว่ากุฏิที่ท่านอยู่เป็นสถานที่ให้ความหมายอธิบายเรื่องราว
    แสดงอารมณ์ของภาพได้อย่างดี จึงทรงบันทึกพระรูปไว้



    คัดมาจาก ธรรมจักร
     
  12. พี เสาวภา

    พี เสาวภา ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    37,990
    ค่าพลัง:
    +146,269
    รูป สมเด็จท่าน กับ หลวงปู่ ฝั้น อีกรูปน่ะครับ ผมเห็น ครั้งแรกก็ประทับใจมาก ไม่เคยลืมครับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 25 ตุลาคม 2013
  13. R-LEK

    R-LEK เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 สิงหาคม 2011
    โพสต์:
    437
    ค่าพลัง:
    +1,627
    ขอคำบรรยายใต้ภาพหน่อยครับว่า สมเด็จพระสังฆราช กับองค์ไหนบ้างครับ

    ขอบคุณครับ
     
  14. กราวใน

    กราวใน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 มิถุนายน 2009
    โพสต์:
    760
    ค่าพลัง:
    +6,266
    [​IMG]

    พระธรรมสิงหบุราจารย์ (หลวงพ่อจรัญ ฐิตธมฺโม)
    วัดอัมพวัน ต.พรหมบุรี อ.พรหมบุรี จ.สิงห์บุรี เข้าเฝ้าถวายสักการะ
    สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก
    สมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ ๑๙ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์
    เนื่องในวโรกาสมหามงคลทรงเจริญพระชันษา ๙๐ ปี
    ณ ตึกวชิรญาณ-สามัคคีพยาบาร ชั้น ๖ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์

    [​IMG]

    เมื่อวันที่ ๒๙ พฤษภาคม พุทธศักราช ๒๕๓๖
    หลวงปู่ชอบ ฐานสโม แห่งวัดป่าโคกมน ต.ผาน้อย อ.วังสะพุง จ.เลย ได้เดินทางมาเป็นองค์ประธานในพิธีเททองหล่อพระพุทธรูป ณ วัดบวรนิเวศวิหาร ราชวรวิหาร โดยมาพักอยู่ที่ศาลา ๑๕๐ ปี
    เมื่อเจ้าประคุณสมเด็จฯ ทรงทราบ จึงได้เสด็จมาทรงกราบนมัสการ
    ด้วยความอ่อนน้อม และสนทนาธรรมด้วย
    ครั้นถึงเวลาอันควร ทรงกราบนมัสการลาหลวงปู่ชอบ
    พระอุปัฏฐากหลวงปู่ชอบได้ถือย่ามของพระองค์เดินตามหลังมา
    เพื่อไปส่งเสด็จที่พระตำหนักที่ประทับ
    เจ้าประคุณสมเด็จฯ ก็ทรงตรัสด้วยเสียงอ่อนโยนว่า
    ให้โยมของพระองค์ถือไปส่งเถิด
    แล้วขอให้พระรูปนั้นกลับไปดูแลหลวงปู่ชอบดีกว่า
    เหตุการณ์ในคราวนั้นทำให้พระอุปัฏฐากหลวงปู่ชอบ
    รู้สึกประทับใจในความไม่ถือพระองค์เป็นอย่างยิ่ง

    หลวงปู่ชอบ ฐานสโม ได้เคยกล่าวยกย่อง
    สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก
    ไว้ว่า “สังฆราชองค์นี้ ดีที่สุด”

    [​IMG]

    สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก
    สมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ ๑๙ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์
    ในวาระโอกาสที่เสด็จมาเยือนสวนโมกขพลาราม จ.สุราษฎร์ธานี
    ท่านพุทธทาสภิกขุขอโอกาสกราบเจ้าพระคุณสมเด็จฯ
    เนื่องจากท่านพุทธทาสภิกขุมีอายุพรรษาเเก่กว่า
    เจ้าพระคุณสมเด็จฯ จึงห้ามไว้ เเต่ท่านพุทธทาสภิกขุก็ไม่ยอม
    เจ้าพระคุณสมเด็จฯ จึงได้กราบท่านพุทธทาสภิกขุกลับ

    [​IMG]

    หลวงปู่สุภา กันตสีโล กราบนมัสการถวายโอสถอายุวัฒนะ
    แด่สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก สมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ ๑๙ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์
    (ภาพจากหนังสือฉลองอายุ ๑๐๐ ปี หลวงปู่สุภา กันตสีโล
    สำนักสงฆ์เทพขจรจิตรอุทิศสามัคคีธรรม เขารัง พิมพ์เมื่อปี ๒๕๓๘)

    [​IMG]

    “หลวงปู่หลุย จนฺทสาโร” ได้กราบอาราธนา
    สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก
    สมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ ๑๙ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์
    เมื่อครั้งดำรงสมณศักดิ์ที่ สมเด็จพระญาณสังวร
    มาประกอบพิธีบรรจุพระบรมสารีริกธาตุในเศียรพระประธาน
    ณ มูลนิธิพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต เขตบางกอกน้อย กรุงเทพฯ
    ในภาพยังมี “พระอาจารย์สาคร ธมฺมาวุโธ” เข้าร่วมในพิธีด้วย

    [​IMG]

    สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก
    สมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ ๑๙ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์
    ทรงเข้ากราบนมัสการสมเด็จพระวันรัต (จับ ฐิตธมฺโม) วัดโสมนัสวิหาร

    [​IMG]

    พระอุดมญาณโมลี (หลวงปู่จันทร์ศรี จนฺททีโป)
    เข้ากราบสักการะเยี่ยมอาการพระประชวร
    สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก
    สมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ ๑๙ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์
    ณ ตึกวชิรญาณ-สามัคคีพยาบาร ชั้น ๖ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์

    [​IMG]

    สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก
    สมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ ๑๙ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์
    เมื่อครั้งดำรงสมณศักดิ์ที่ สมเด็จพระญาณสังวร
    เข้ากราบนมัสการและสรงน้ำ “พระราชวุฒาจารย์ (หลวงปู่ดูลย์ อตุโล)” เนื่องในวาระอายุครบ ๙๐ ปี เมื่อวันที่ ๔ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๒๑ ณ วัดบูรพาราม (พระอารามหลวง) ต.ในเมือง อ.เมือง จ.สุรินทร์

    [​IMG]

    สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปรินายก
    สมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ ๑๙ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์
    ได้เสด็จมาทรงกราบนมัสการ
    พระราชนิโรธรังสีคัมภีรปัญญาวิศิษฏ์ (หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี)
    เมื่อวันพุธที่ ๒๘ กุมภาพันธ์ พุทธศักราช ๒๕๓๓

    [​IMG]

    สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก
    สมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ ๑๙ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์
    เมื่อครั้งดำรงสมณศักดิ์ที่ สมเด็จพระญาณสังวร
    ทรงฉันจังหันร่วมกันกับ “หลวงปู่สาม อกิญฺจโน”
    และ “พระญาณสิทธาจารย์ (หลวงปู่สิม พุทฺธาจาโร)”
    ในงานพระราชทานเพลิงศพหลวงปู่ฝั้น อาจาโร
    ณ วัดป่าอุดมสมพร ต.พรรณา อ.พรรณานิคม จ.สกลนคร

    [​IMG]

    พระเทพวิทยาคม (หลวงพ่อคูณ ปริสุทฺโธ)
    วัดบ้านไร่ อ.ด่านขุนทด จ.นครราชสีมา เข้าเฝ้าถวายสักการะ
    สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก
    สมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ ๑๙ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์

    [​IMG]

    สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก
    สมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ ๑๙ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์
    เสด็จเยี่ยมวัดป่าสาลวัน ต.ในเมือง อ.เมือง จ.นครราชสีมา
    พระราชสังวรญาณ (หลวงพ่อพุธ ฐานิโย) ถวายเครื่องสักการะ

    [​IMG]

    เมื่อวันเสาร์ที่ ๒๑ เมษายน พ.ศ. ๒๕๕๐ เวลา ๑๗.๐๐ น.
    สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปรินายก
    สมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ ๑๙ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์
    ประทานวโรกาสให้พระธรรมวิสุทธิมงคล (หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน) เจ้าอาวาสวัดป่าบ้านตาด อ.เมือง จ.อุดรธานี
    เข้าเฝ้าถวายสักการะถวายพระพร เนื่องในโอกาสครบรอบ ๑๘ ปี แห่งการสถาปนาสมเด็จพระสังฆราช ณ ตึกวชิรญาณ-สามัคคีพยาบาร ชั้น ๖ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ในการนี้ สมเด็จพระญาณสังวรฯ ทรงประทานทองคำน้ำหนัก ๓๐ บาท
    แด่พระธรรมวิสุทธิมงคล (หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน)
    เพื่อร่วมสมทบโครงการผ้าป่าช่วยชาติโดยหลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน

    [​IMG]

    สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก
    สมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ ๑๙ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์
    เมื่อครั้งดำรงสมณศักดิ์ที่ พระสาสนโสภณ
    เข้ากราบนมัสการ “หลวงปู่ฝั้น อาจาโร” และได้มีโอกาสฉันจังหันร่วมกัน ณ วัดถ้ำขาม บ้านคำข่า ต.ไร่ อ.พรรณานิคม จ.สกลนคร
    จากภาพ...ต่างองค์ต่างแสดงความอ่อนน้อมซึ่งกันและกัน

    [​IMG]

    สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก
    สมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ ๑๙ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์
    เมื่อครั้งดำรงสมณศักดิ์ที่ สมเด็จพระญาณสังวร
    เดินทางมาเยี่ยมอาการอาพาธของ “หลวงปู่ผาง จิตฺตคุตฺโต”
    ณ วัดอุดมคงคาคีรีเขต ต.บ้านโคก อ.มัญจาคีรี จ.ขอนแก่น

    [​IMG]

    “พระโพธิญาณเถร (หลวงพ่อชา สุภทฺโท)” กำลังนำทาง
    สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก
    สมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ ๑๙ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์
    เมื่อครั้งดำรงสมณศักดิ์ที่ พระสาสนโสภณ
    ไปยังวัดถ้ำแสงเพชร ต.หนองมะแซว อ.เมือง จ.อำนาจเจริญ

    [​IMG]

    พระธรรมวิสุทธิมงคล (หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน)
    เข้ากราบสักการะเยี่ยมอาการพระประชวร
    สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก
    สมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ ๑๙ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์
    เมื่อวันอังคารที่ ๑๓ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๔๘ เวลา ๑๐.๑๙ น.
    ณ ตึกวชิรญาณ-สามัคคีพยาบาร ชั้น ๖ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์

    ที่มา : จากเฟสบุ๊ค พระอรหันต์สายหลวงปู่มั่น
    และจากหนังสือ 100 พระชัญษาสมเด็จพระสังฆราชครับ
     
  15. พี เสาวภา

    พี เสาวภา ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    37,990
    ค่าพลัง:
    +146,269
    รูปและเรื่อง ดูเพลิน

    สบายตา และ สบายใจเป็นอย่างยิ่ง
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 26 ตุลาคม 2013
  16. vavakoko

    vavakoko เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    422
    ค่าพลัง:
    +1,191
    ดูด้วยความซาบซึ้ง ขอบพระคุณ คุณพิณพาทย์ครับ
     
  17. ครรชิต วิมลจันทร์

    ครรชิต วิมลจันทร์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    572
    ค่าพลัง:
    +2,865
    ขอขอบคุณ คุณครู ที่นำภาพประวัติศาสตร์ที่สำคัญมากๆล้วนแล้วแต่ครูบาอาจารย์สำคัญๆ
    ทางพระพุธศาสนาทั้งสิ้น ขอชื่นชม คุณครู ด้วยใจจริงครับ
     
  18. ไม่เกิด

    ไม่เกิด เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 พฤศจิกายน 2009
    โพสต์:
    1,916
    ค่าพลัง:
    +9,458
    กราบหลวงปู่บุญศรี หลวงพ่ออั๊บ หลวงพ่อทรง...ครับ
    ขออนุญาติพี่พี นำพระประวัติและเรื่องราวที่น่าสนใจของพระองค์ท่าน... ( ข้อมูลที่มาจากจดหมายเหตุพุทธวงค์ )
    สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช พระฉายาว่า"สุวัฑฒโน" พระนามเดิมว่าเจริญ พระสกุล "คชวัตร"
    ประสูติที่บ้านเลขที่ 367ตำบลบ้านเหนืออำเภอเมืองจังหวัดกาญจนบุรีเมื่อวันศุกร์ขึ้น 4 ค่ำ เดือน 11 ปีฉลู ตรงกับวันที่ 3 ตุลาคมพ.ศ.2456เวลาประมาณ10ทุ่มหรือประมาณ 4.00 น. เศษแห่งวันเสาร์ที่ 4 ตุลาตม พ.ศ.2456 ตามที่นับในปัจจุบัน โยมบิดาชื่อน้อย คชวัตร ถึงแก่กรรม พ.ศ.2465 โยมมารดาชื่อกิมน้อย คชวัตรถึงแก่กรรม พ.ศ.2508

    บรรพชน

    บรรพชนของสมเด็จมาจาก 4 ทิศ บิดามาจากสายกรุงเก่าทางหนึ่ง จากปักษ์ใต้ทางหนึ่ง ส่วนมารดามีเชื้อสายญวนทางหนึ่ง และจีนทางหนึ่ง บิดาคือนายน้อย คชวัตร เป็นบุตรนายเล็กและนางแดงอิ่ม เป็นหลานปู่พระยา หลานย่าของหลวงพิพิธภักดี และนางจีนเป็นชาวกรุงเก่ามารับราชการในกรุงเทพ ได้ออกไปเป็นผู้ช่วยราชการอยู่เมืองไชยาคราวหนึ่ง ในสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าฯ รัชกาลที่ 3ได้เป็นผู้หนึ่งที่ไปคุมเชลยที่เมืองพระตะบอง ได้ภริยาชาว เมืองไชยา 2 คน ชื่อทับ กับชื่อนุ่น และได้ภริยาชาวเมืองพุ่มเรียง 1 คน ชื่อแต้ม ต่อมาเมื่อได้รับคำสั่งให้ไปราชการปราบแขกที่มาตีเมืองตรังเมืองสงขลาจึงไปได้ภรรยาซึ่งเป็นพระธิดาของพระปลัดเมืองตะกั่วทุ่ง ( สน )และได้พาภริยามาตั้งครอบครัวอยู่ที่กรุงเทพ ฯ เวลานั้นพี่ชายของหลวงพิพิธภักดีเป็นที่พระพิชัยสงคราม เจ้าเมืองศรีสวัสดิ์และพระยาประสิทธิสงคราม ( ขำ ) เจ้าเมืองกาญจนบุรีเป็นอาของหลวงพิพิธภักดีจึงพาภรรยาไปตั้งครอบครัวอยู่ที่จังหวัดกาญจนบุรี และลาออกจากราชการไปประกอบอาชีพทำนา ตระกูลคชวัตร นายเล็กกับนางแดงอิ่ม มีบุตร 3 คน

    1.นายน้อย คชวัตร
    2.นายวร คชวัตร
    3.นายบุญรอด คชวัตร
    นายน้อย กับนางกิมน้อย คชวัตร มีบุตร 3 คนดังนี้

    1.สมเด็จพระญาณสังวรฯ( เจริญ คชวัตร )
    2.นายจำเนียร คชวัตร
    3.นายสมุทร คชวัตร


    โยมบิดา และโยมมารดา
    ...........นายน้อย คชวัตรโยมบิดาประกอบอาชีพเป็นเสมียนตรา อำเภอเมืองกาญจนบุรีเมื่อ พ.ศ.2445จนเป็นผู้รั้งปลัดขวา เมื่อ พ.ศ.2451ต่อมาไปตรวจราชการเกิดอาการป่วยมากจึงต้องลาออกจากราชการเมื่อหายดีแล้วก็ได้กลับเข้ารับราชการใหม่
    ...........จนปี พ.ศ.2456 จึงได้บุตรชายคนโตคือ สมเด็จพระญาณสังวรฯและได้ย้ายตำแหน่งเป็นปลัดขวาอำเภอวังขนาย( ท่าม่วง ) เมื่อปี พ.ศ.2458ได้สมัครเป็นสมาชิกเสือป่าได้มีโอกาสซ้อมรบเมื่อครั้งพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้า รัชกาลที่ 6 เสด็จฯ ซ้อมรบเสือป่าที่บ้านโป่งและนครปฐม เมื่อสมเด็จฯกรมพระยาวชิรญาณวโรรสเสด็จฯ เมืองกาญจนบุรีนายน้อยได้นำสมเด็จพระญาณสังวรฯ ขณะนั้นอายุเพียง 2 ขวบ เข้าเฝ้าด้วยต่อมาได้ไปรับราชการที่จังหวัดสมุทรสงคราม เกิดเจ็บป่วยจึงเดินทางกลับเมืองกาญจนบุรีเพื่อพักรักษาตัวและถึงแก่กรรมเมื่อมีอายุได้เพียง 38 ปี สมเด็จพระญาณสังวรฯได้นางเฮงผู้เป็นป้าเลี้ยงดูมาตั้งแต่เล็กเมื่อโยมบิดามารดาย้ายไปสมุทรสงครามก็ไม่ได้ตามไปด้วย อาศัยอยู่กับป้าที่เมืองกาญจนบุรี


    การศึกษา

    ............สมเด็จพระญาณสังวรฯได้เข้าศึกษาชั้นประถมศึกษาเมื่อมีอายุได้ 7 ขวบที่โรงเรียนประชาบาลวัดเทวสังฆารามซึ่งอยู่ใกล้บ้าน ทรงเรียนที่ศาลาวัดจนจบชั้นสูงสุด คือประถม 3 ถ้าจะเรียนต่อ ระดับมัธยมต้องย้ายโรงเรียนไปเรียนที่วัดไชยชุมพลชนะสงคราม( วัดไต้ ).ซึ่งเป็นโรงเรียนประจำจังหวัดแต่ครูที่โรงเรียนวัดเทวสังฆารามชวนให้เรียนต่อที่โรงเรียนเพราะเปิดชั้นระดับประถมปีที่ 4 ( เท่ากับชั้น ม.1 )จึงทรงเรียนที่โรงเรียนเดิม พ.ศ.2468ทรงสอบได้เป็นลูกเสือเอก ต้องฝึกซ้อมอย่างหนักเพื่อเตรียมการเข้าซ้อมร่วมกับพระบาทสมเด็จพระมงกุฎฯ ที่จะเสด็จพระราชดำเนินมาซ้อมรบเสือป่าที่นครปฐมแต่พระบาทสมเด็จพระมงกุฎทรงสวรรคตก่อน
    ...........ขณะเรียนที่โรงเรียนเคยรับเสด็จฯเจ้านายหลายครั้งเช่น สมเด็จพระปิตุลาบรมพงศาภิมุข เจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงศ์ กรมพระยาภาณุพันธ์วรเดช
    ...........สมเด็จพระญาณสังวรฯ เรียนจนถึงชั้นประถม 5 ก็ทรงถึงทางตันเพราะเมื่อจบแล้วก็ไม่ทราบว่าจะไปเรียนต่อที่ไหน จึงออกจากโรงเรียน

    บรรชาเป็นสามเณร

    ...........เมื่อ พ.ศ.2469มีน้าของท่านอุปสมบทเป็นพระภิกษุที่วัดเทวสังฆารามโยมป้าจึงชักชวนให้บวชเณรแก้บน จึงบรรชาเป็นสามเณรเมื่อมีอายุได้ 14 ปีมีพระครูอดุลสมณกิจ ( ดี พุทธโชติ ) เจ้าอาวาทวัดเหนือเป็นพระอุปัชฌาย์ ทรงจำพรรษาอยู่ที่วัดเพราะคุ้นเคยกับหลวงพ่อและพระเณรเพราะทรงเรียนหนังสืออยู่ในวัดมาตั้งแต่เล็ก ทรงศึกษาธรรมสวดมนต์ จนเมื่อออกพรรษาหลวงพ่อชวนให้ไปเรียนภาษาบาลีที่วัดเสน่หา จังหวัดนครปฐม เพื่อต่อไปจะได้กลับไปช่วยสอนที่วัด ในปี พ.ศ.2470
    ทรงศึกษาไวยากรณ์ที่วัดเสน่หา โดยมีพระสังวรวินัย(อาจ) เจ้าอาวาสขณะนั้นและมีอาจารย์ถวายการสอนเป็นพระเปรียญมาจากวัดมกุฏกษัตริยาราม ได้ทรงเรียนแปลธรรมบท ใน พ.ศ.2472 อีกพรรษาหนึ่งแล้วเสด็จกลับไปประทับที่วัดเทวสังฆาราม
    ............เมื่อเสด็จไปแสดงพระธรรมเทศนาในงานพระราชทานเพลิงศพพระครูสังวรวินัยหลวงพ่อวัดเหนือ
    ได้นำสมเด็จฯ มาฝากเจ้าพระคุณสมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์โดยได้อยู่ในความดูแลของพระครูพุทธมนต์ปรีชา ได้รับประทานฉายาจากเจ้าพระคุณสมเด็จพระสังฆราชเจ้าว่า " สุวัฑฒโน" ได้ทรงปฏิบัติตามระเบียบของวัด สวดมนต์
    ศึกษาพระปริยัติธรรม ทรงสามารถสอบได้ดังนี้
    - พ.ศ.2472 พระชนมายุ 17 ปี สอบได้นักธรรมตรี
    - พ.ศ.2473 พระชนมายุ 18 ปี สอบได้นักธรรมโท และเปรียญ 3 ประโยค
    - พ.ศ.2475 พระชนมายุ 20 ปี สอบได้นักธรรมเอก และเปรียญ 4 ประโยค
    เมื่อ พ.ศ.2474 เป็นสามเณรองค์เดียวที่ได้รับพระราชทานผ้าไตรจากพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว
    ที่เสด็จพระราชดำเนินมาทอดกฐิน ณ วัดบวรนิเวศฯ


    ทรงอุปสมบทเป็นพระภิกษุ

    ..........เมื่อมีพระชนมายุครบอุปสมบท จึงเสด็จฯ มาอุปสมบทที่วัดเทวสังฆาราม เมื่อวันที่ 12 มิถุนายนพ.ศ.2476 โดยมีพระครูอดุลยสมณกิจ ( ดี พุทธโชติ ) เจ้าอาวาสวัดเทวสังฆารามเป็นพระอุปัชฌาย์ พระครูวินฐสมาจารย์ ( เหรียญ ) เจ้าอาวาสวัดศรีอุปราราม ( วัดหนองบัว )เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระปลัดหรุง เจ้าอาวาสวัดทุ่งสมอ เป็นพระอนุสาวนาจารย์
    ...........เมื่ออุปสมบทแล้วจำพรรษาอยู่ที่วัดเทวสังฆารามจนออกพรรษาจึงเสด็จกลับวัดบวรนิเวศวิหาร ทรงอุปสมบทซ้ำเป็นพระธรรมยุต ณ พระอุโบสถวัดบวรนิเวศวิหาร สมเด็จพระสังฆราชเจ้ากรมหลวงวชิรญาณวงศ์ ทรงเป็นพระอุปัชฌาย์และเสด็จกลับมาอยู่วัดเหนืออีก 2 ปี ทรงสอบปริยัติธรรมได้ทุกปีดังนี้

    - พ.ศ.2476 พระชนมายุ 21 ปี สอบได้เปรียญ 5 ประโยค
    - พ.ศ.2477 พระชนมายุ 22 ปี สอบได้เปรียญ 6 ประโยค
    - พ.ศ.2478 พระชนมายุ 23 ปี สอบได้เปรียญ 7 ประโยค
    - พ.ศ.2481 พระชนมายุ 26 ปี สอบได้เปรียญ 8 ประโยค
    - พ.ศ.2484 พระชนมายุ 29 ปี สอบได้เปรียญ 9 ประโยค

    ...........สมเด็จพระญาณสังวรฯ มีภารทางการงานและการศึกษาตั้งแต่ยังเป็นพระเปรียญตรีีเปรียญโท และเมื่อ มีวิทยฐานะเข้าเกณฑ์เป็นกรรมการตรวจข้อสอบนักธรรมและบาลีก็ได้รับการแต่งตั้งเป็นกรรมการตรวจธรรมและบาลีสนามหลวงเรื่อยมา คือตั้งแต่นักธรรมตรี โท เอก ประโยค ป.ธ.3 - ป.ธ.9
    ............นอกจากนั้นยังมีภารกิจในการเผยแผ่ศาสนาในต่างประเทศ เสด็จฯประเทศต่างๆ มากมายหลายประเทศ
    การหนังสือสมเด็จพระญาณสังวรฯ ได้เรียบเรียงหนังสือต่างๆไว้มาก ทั้งประเภทตำราทางการศึกษา ธรรมกถา ธรรมเทศนา และสารคดีอื่นๆ

    ............ สมณศักดิ์
    - พ.ศ. 2490 ทรงเป็นพระราชาคณะสามัญที่พระโสภณคณาจารย์
    - พ.ศ. 2495 ทรงเป็นพระราชาคณะในพระราชทินนามเดิม
    - พ.ศ. 2498 ทรงเป็นพระราชาคณะชั้นเทพในพระราชทินนามเดิม
    - พ.ศ. 2499 ทรงเป็นพระราชาคณะชั้นธรรมที่พระธรรมวราภรณ์
    - พ.ศ. 2504 ทรงเป็นพระราชาคณะชั้นเจ้าคณะรองที่พระศาสนโสภณ
    - พ.ศ. 2515 ทรงเป็นสมเด็จพระราชาคณะที่ สมเด็จพระญาณสังวรฯ
    - พ.ศ. 2532 ทรงได้รับการสถาปนาเป็นสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก องค์ที่ 19

    ...........นับเป็นความภูมิใจของชาวกาญจนบุรีอย่างยิ่ง ที่สมเด็จพระญาณสังวรฯ ได้รับพระราชทานดำรงตำแหน่งเป็น
    สมเด็จพระสังฆราชองค์ที่ 19 ของประเทศไทย
     
  19. ไม่เกิด

    ไม่เกิด เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 พฤศจิกายน 2009
    โพสต์:
    1,916
    ค่าพลัง:
    +9,458
    พระนามของสมเด็จพระสังฆราชในยุครัตนโกสินทร์นี้ จะใช้คำนำหน้าสี่ลักษณะคือ

    ลักษณะแรก ใช้คำนำหน้าว่าสมเด็จพระสังฆราช ดังเช่นพระนามสมเด็จพระสังฆราช (สี) วัดระฆังโฆสิตาราม ในยุคสมัยรัชกาลที่ 1

    ลักษณะที่สอง ใช้คำนำหน้าว่าสมเด็จพระมหาสมณเจ้า ดังเช่นสมเด็จพระมหาสมณเจ้ากรมพระวชิรญาณวงศ์ องค์พระอุปัชฌาย์ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

    ลักษณะที่สาม ใช้คำนำหน้าว่าสมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ ดังเช่นสมเด็จพระอริยวงศาคตญาณสมเด็จพระสังฆราช (ปลด) วัดราชบพิธ

    ลักษณะที่สี่ ใช้คำนำหน้าว่าสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช ดังเช่น สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช (เจริญ) วัดบวรนิเวศฯ ซึ่งเป็นที่สมเด็จพระสังฆราชองค์ปัจจุบัน

    การใช้คำนำหน้าพระนามสมเด็จพระสังฆราชนั้น น่าจะมีการคำนึงถึงภูมิธรรมและพระคุณของสมเด็จพระสังฆราชแต่ละพระองค์ จึงเป็นที่มาของการพระราชทานนามตามพระสุพรรณบัตรในการสถาปนาสมเด็จพระสังฆราชแต่ละพระองค์

    ในยุครัตนโกสินทร์นี้ แม้ว่ามีสมเด็จพระสังฆราชมาแล้วหลายพระองค์ แต่ที่ได้รับพระราชทานนามตามพระสุพรรณบัตรว่า “ญาณสังวร” นั้นมีอยู่เพียง 2 พระองค์เท่านั้น

    พระองค์แรกคือสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช (สุก ไก่เถื่อน) ซึ่งเป็นที่รู้กันโดยทั่วไปว่าทรงเป็นพระมหาเถระที่ทรงภูมิธรรมอันประเสริฐยิ่งในพระพุทธศาสนา ทรงอภิญญา และอิทธิปาฏิหาริย์ เป็นที่เลื่องชื่อลือชาแห่งยุครัตนโกสินทร์

    พระองค์ที่สองคือสมเด็จพระสังฆราชองค์ปัจจุบัน ได้รับพระราชทานนามตามที่จารึกในพระสุพรรณบัตรว่าสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก

    และถ้าจะนับเนื่องในเรื่องทรงอภิญญา ทรงอิทธิปาฏิหาริย์ อันเป็นที่ประจักษ์แล้ว ก็กล่าวได้ว่าในยุครัตนโกสินทร์นี้มีพระสมเด็จพระสังฆราชและสมเด็จพระราชาคณะเพียง 3 รูปเท่านั้น

    นั่นคือสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช (สุก ไก่เถื่อน) สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) และสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช (เจริญ) องค์ปัจจุบัน

    พระคุณของสมเด็จพระสังฆราช (สุก ไก่เถื่อน) และสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) นั้นเป็นที่รู้ประจักษ์โดยทั่วไป ไม่จำเป็นต้องกล่าวซ้ำอีก และในโอกาสนี้ย่อมสมควรกล่าวถึงพระคุณประการนี้ในสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช องค์ปัจจุบันเป็นสำคัญ

    ที่มาของคำว่า “ญาณสังวร” นั้นมาจากความสำรวมหรือความสังวรใน 3 ระดับ ตามภูมิธรรมในพระพุทธศาสนา คือ ศีลสังวร อินทรีย์สังวร และญาณสังวร

    ศีลสังวร ได้แก่การสำรวมหรือสังวรในศีล โดยศีลที่ว่านี้หมายถึงศีล 2 ชนิด คือ ศีลซึ่งมีลักษณะเป็นพระวินัย ตามพระปาติโมกข์ชนิดหนึ่ง และศีลจากพระโอษฐ์ ซึ่งเป็นศีลที่พระพุทธองค์ทรงตรัสสอนเพื่อการศึกษาและปฏิบัติในการประพฤติพรหมจรรย์ในพระธรรมวินัยแห่งพระบรมศาสดาโดยตรง ได้แก่ จุลศีล มัชฌิมศีล และมหาศีล เมื่อศีลสมบูรณ์บริสุทธิ์แล้ว ย่อมเป็นบาทฐานแห่งสมาธิและปัญญา เพื่อถึงซึ่งความหลุดพ้นหรือนิพพานในที่สุด

    อินทรีย์สังวร ได้แก่การสำรวมหรือสังวรในอินทรีย์ทั้งปวงโดยเฉพาะ ในที่นี้หมายถึงตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ให้มีความเป็นปกติ ไม่วอกแวกหวั่นไหว เมื่อกระทบกับอายตนะภายนอก ได้แก่ รูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส และธรรมารมณ์ต่างๆ ถึงซึ่งความเป็นอุเบกขา

    ญาณสังวร ได้แก่การสำรวมหรือสังวรในญาณ ซึ่งครอบคลุมถึงรูปฌาน และอรูปฌาน ขึ้นไปจนถึงญาณทั้งสาม อันเป็นสุดยอดสามวิชชาในพระพุทธศาสนา คือบุพเพนิวาสานุสติญาณ จุตูปปาตถญาณ และอาสวัคขยญาณ
    พระนามญาณสังวรของสมเด็จพระสังฆราช ทั้งสองพระองค์แห่งกรุงรัตนโกสินทร์จึงมีที่มาจากคำว่าญาณสังวรและความหมายของญาณสังวรอันเป็นภูมิธรรมขั้นสูงและสูงที่สุดในพระพุทธศาสนานั่นเอง

    ศีลสังวร อินทรีย์สังวร และญาณสังวร เมื่อบริบูรณ์แล้วพระตถาคตเจ้าทรงตรัสรับรองว่าสามารถกระทำอิทธิปาฏิหาริย์ได้นานาประการ

    อันสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช พระองค์ปัจจุบันนี้ ทรงอิทธิปาฏิหาริย์หลายประการ ทั้งอนุศาสนีย์ปาฏิหาริย์ และอิทธิปาฏิหาริย์
    อนุศาสนีย์ปาฏิหาริย์ คือปาฏิหาริย์ในการเทศนาอบรมสั่งสอนเวไนยสัตว์ให้รู้ ให้เข้าใจ และสามารถน้อมนำพระธรรมคำสอนไปประพฤติปฏิบัติเพื่อประโยชน์ตนและประโยชน์ท่านให้ถึงพร้อมได้

    สมเด็จพระสังฆราชพระองค์ปัจจุบันนี้ทรงพระคุณอันประเสริฐในด้านอนุศาสนีย์ปาฏิหาริย์ เป็นที่ไว้วางพระราชหฤทัยมาแต่ครั้งสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ที่โปรดให้ทรงนิพนธ์คำสอนหลากหลายเรื่อง เพื่อเป็นคู่มือการศึกษาและปฏิบัติของชาวพุทธ อันมีประจักษ์พยานหลักฐานอยู่ในปัจจุบัน

    อิทธิปาฏิหาริย์คือการกระทำความมหัศจรรย์เหนือกว่าความสามารถของมนุษย์ธรรมดา ซึ่งในประการนี้คนจำนวนมากอาจไม่รู้หรือไม่ทราบ กระทั่งเข้าใจว่าทรงเป็นแค่พระสงฆ์ธรรมดา ที่ปฏิบัติธรรมวินัยไปตามปกติ แต่ความจริงหาเป็นเช่นนั้นไม่
    สมเด็จพระสังฆราชพระองค์ปัจจุบันทรงอิทธิปาฏิหาริย์ตามภูมิธรรมอันประเสริฐสูงที่พระองค์ทรงบรรลุแล้ว และเคยมีผู้เห็นประจักษ์หลายครั้ง ดังที่จะยกมาเป็นตัวอย่างดังต่อไปนี้
     
  20. ไม่เกิด

    ไม่เกิด เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 พฤศจิกายน 2009
    โพสต์:
    1,916
    ค่าพลัง:
    +9,458
    เมื่อครั้งที่ยังมีสงครามระหว่างรัฐบาลกับพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรับสั่งให้นิมนต์พระมหาเถระทางภาคอีสานหลายรูป ซึ่งเป็นพระป่า ไม่อยู่เป็นที่เป็นทาง แต่มีภูมิธรรมขั้นสูง ด้วยการคมนาคมและการสื่อสารในสมัยนั้น ตลอดจนอุปสรรคในด้านความปลอดภัย เจ้าหน้าที่ไม่สามารถติดต่อนิมนต์พระมหาเถระเหล่านั้นได้
    พลตรีอมรรัตน์ จินตกานนท์ นายทหารราชองครักษ์ได้รับมอบหมายให้ไปทูลสมเด็จพระญาณสังวร ซึ่งขณะนั้นยังคงมีสมณศักดิ์ที่พระศาสนโสภณ ขอให้ช่วยนิมนต์แทน หลังจากรออยู่ครู่หนึ่งก็ได้รับคำตอบว่าได้นิมนต์เรียบร้อยแล้ว ให้ทางสำนักพระราชวังจัดรถไปรับ ณ ที่นัดหมายตามวันเวลาที่กำหนด
    ปรากฏว่าการติดต่อนิมนต์ครั้งนั้นไม่ได้ใช้เครื่องมือสื่อสารใดๆ เลย แต่เป็นการติดต่อนิมนต์ด้วยโทรจิต ซึ่งเป็นการกระทำอิทธิปาฏิหาริย์อย่างหนึ่งในพระพุทธศาสนา
     

แชร์หน้านี้

Loading...