ปฎิบัติธรรมสมาธิในแนวจิตว่าง ท่านพระคุณเจ้าดาบส สุมโน

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย ไผ่มรกต, 11 ตุลาคม 2013.

  1. ไผ่มรกต

    ไผ่มรกต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 มิถุนายน 2012
    โพสต์:
    248
    ค่าพลัง:
    +1,896
    [​IMG]
    สุญญตาสูตร
    กล่าวถึงสมาธิในแนวจิตว่าง
    โดยท่าน พระคุณเจ้าดาบส สุมโน
    ๘ .ดูกรอานนท์ ประการอื่นยังมีอีก ภิกษุไม่ใส่ใจจำหมายว่า อะไรๆ นิดหนึ่งก็ไม่มี ไม่ใส่ใจจำหมายว่ามีอยู่ก็ใช่ไม่มีอยู่ก็ใช่ ใส่ใจแต่สิ่งเดียวเฉพาะความว่างไม่มีนิมิต เพราะไม่ทำในใจถึงนิมิต จิตของเธอย่อมแล่นไป เลื่อมใส ตั้งมั้น และนึกน้อมอยู่แต่ความว่างเปล่าไม่มีนิมิต เธอจึงรู้ชัดอย่างนี้ว่า สมาธิอันไม่มีนิมิตนี้แล ยังมีเหตุปรุงแต่งจูงใจได้ ก็สิ่งใดสิ่งหนึ่ง ที่มีเหตุปรุงแต่งจูงใจได้นั้น ไม่เทียง มีความดับไปเป็นธรรมดา เมื่อเธอรู้อย่างนี้ เห็นอย่างนี้ (จิตของเธอย่อมถอนอุปาทาน ไม่เข้าไปยึดถือแม้ใดๆ ทั้งฝั่งและมิใช่ฝั่ง) จิตของเธอย่อมหลุดพ้นแม้จากเครื่องหมักหมมคือกาม แม้จากเครื่องหมักหมมคือภพ แม้จากเครืองหมักหมมคือ อวิชชา เมื่อจิตหลุดพ้นแล้ว ย่อมมีญาณรู้ว่า หลุดพ้นแล้ว รู้ชัดว่าชาติสิ้นแล้ว พรมจรรย์จบแล้ว กิจที่ควรทำได้ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้ไม่มี เธอจึงรู้ชัดอย่างนี้ว่า ในญาณนี้ ไม่มีความกระวนกระวายชนิดที่หมักหมมคือกาม ชนิดที่อาศัยความหมักหมมคือภพ ชนิดที่อาศัยความหมักหมมคืออวิชชา มีอยู่ก็แต่เพียงความกระวนกระวายคือความเกิดแห่งอายตน ๖ อาศัยกายนี้เอง เพราะชีวิตเป็นเหตุ เธอรู้ชัดว่า ความจำหมายอันนี้ ว่างจากความหมักหมมคือกาม ความจำหมายอันนี้ ว่างจากความจำหมายคือภพ ความจำหมายอันนี้ ว่างจากความจำหมายคืออวิชชา และรู้ชัดว่า มีไม่ว่างอยู่ก็คือ ความเกิดแห่งอายตน ๖ อาศัยกายนี้เอง เพราะชีวิตเป็นเหตุ ด้วยอาการอย่างนี้แหละ เธอจึงมองเห็นความว่างนั้นด้วยสิ่งที่ไม่มีอยู่ในสมาธิเลย และรู้ชัดสิ่งที่เหลืออยู่ ว่ายังมีอยู่ ดูกรอานนท์ แม้อย่างนี้ ก็เป็นการก้าวลงสู่ความว่างเปล่าตามความเป็นจริง ไม่เคลื่อนคลาด บริสุทธิ์ ของภิกษุนั้น ฯ

    ดูกรอานนท์ สมณะหรือพราหมณ์ใดในอดีตกาล ไม่ว่าพวกใดๆ ที่บรรลุสมาบัติคือความว่างอันบริสุทธิ์เยี่ยมยอดอยู่ ทั้งหมดนั้น ก็ได้บรรลุสมาบัติคือความว่างอันบริสุทธิ์เยี่ยมยอดนี้เองอยู่ สมณะหรือพราหมณ์ใดในอนาคตกาล ไม่ว่าพวกใดๆ ที่จักบรรลุสมาบัติคือความว่างอันบริสุทธิ์เยี่ยมยอดนี้เอง ทั้งหมด ดูกรอานนท์ เพราะฉะนั้นแล พวกเธอพึง ศึกษาไว้อย่างนี้เถิดว่า เราจักบรรลุสมาบัติ คือความว่างอันบริสุทธิ์ เยี่ยมยอดอยู่ ฯ

    จบสุญญตาสูตร
    ข้อความที่ควรรู้
    ความแห่งสุญญตาสูตรนี้ ชี้มองให้เห็นความว่างและความไม่ว่างแห่งจิต ได้ชัดเจนเป็นอย่างดี เพราะท่านเทียบเคียงให้เห็น ให้รู้สึกในความว่างและไม่ว่างแต่ข้อต้น ตั้งแต่หยาบสืบเลื่อนเข้าไปหาประณีต ตามลำดับ เป็นทอดๆ จนถึงสุดท้ายจิตว่างเปล่าไม่มีอะไรเลย โดยที่สุดแม้อาสวะกิเลสก็ปราศจากว่างเปล่าไปด้วย พระสูตรๆ นี้ยังชี้ให้เห็นผลจริงก่อนที่จะเริ่มลงมือปฏิบัติอีกด้วย นักเรียนที่เรียนหนังสือ เริ่มจำแต่ ก. ข . ก . กา ยังเป็นการเริ่มที่ยากกว่าเสียอิก และเมื่อผู้ปฏิบัติลงมือปฏิบัติไป ก็สะดวกสบาย เพราะมีความเกียวเนืองกันไปตามลำดับเป็นทอดๆ เหมือนเดินทางราบในที่สว่างเส้นเดียวมีระยะสืบต่อๆกันไป หรือเหมือนชาวบ้านผู้นอนหลับอยู่ในเรือน
    พอรู้สึกตัวตื่นเปิดตาขึ้นก็เห็นมุ้ง เปิดมุ้งก็เห็นฝาเห็นหลังคา เปิดฝาเปิดหลังคาก็เห็นฟ้า เลื่อนระดับขึ้นไปอย่างนี้
    (อาศรมไผ่มรกต.com)
     
  2. ไผ่มรกต

    ไผ่มรกต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 มิถุนายน 2012
    โพสต์:
    248
    ค่าพลัง:
    +1,896
    จิตว่างเป็นสิ่งที่ทำได้ เข้าถึงได้

    คนเราเข้าใจผิดว่าสมาธิทำจิตว่างไม่ได้

    นะโมตัสสะ ภควะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ ฯ

    จะกล่าวถึง ใจว่าง ใจว่าง หรือสมาธิทำจิตว่าง บางคนพูดว่า จิตว่างนั้นไม่มี เป็นไปไม่ได้ คนเรา จะมีจิตว่างได้อย่างไร แม้พระอรหันต์ ก็ไม่อาจจะมีจิตว่างได้ ท่านผู้ฟังทั้งหลาย คงจะสงสัย อาจเชื่อว่า คนเราจิตว่างไม่ได้ จิตว่างไม่ได้ ก็หมายความว่า ต้องรู้อะไรต่ออะไร อยู่เสมอ ต้องคิดอะไรอยู่เสมอ จิตแปลว่าผู้รู้ ก็จะต้องรู้อารมณ์อยู่เสมอ หรือรู้อะไรอยู่เสมอ ก็เมื่อเขาเห็นว่าจิตว่างไม่ได้ แล้วก็พูดว่า จิตว่างเป็นไปไม่ได้ ท่านผู้ฟังทั้งหลาย ผู้ที่พูดว่า จิตว่างไม่ได้หรือ เป็นไปไม่ได้ หรือไม่มี อันนี้ เป็นคำสอนของพระพุทธเจ้า คัดค้านคำสอนของพระพุทธเจ้า เพราะว่าพระพุทธเจ้า ท่านสอนให้ทำจิตว่าง คือสอนให้ทำจิตบริสุทธิ์ จิตว่างเป็นจิตที่บริสุทธิ์ หรือจิตที่สงบ จิตที่บริสุทธิ์ จิตที่สงบ คือเป็นคำสอนของพระพุทธเจ้า พระพุทธเจ้า สอนให้รู้จัก ความสงบ ให้ถึงความสงบ เมื่อจะสงบ มันก็คือจิตว่าง ก็เพราะฉะนั้น จิตว่างจึงเป็นสิ่งที่ ทำได้ ตามหลักของพระพุทธศาสนา หรือตามความเป็นจริง พระพุทธเจ้า ท่านเปรียบจิตของเรา เป็นธรรมชาติ บริสุทธิ์ เป็นธรรมชาติ บริสุทธิ์แต่เดิม คือเป็นของเดิมบริสุทธิ์ ไม่มีใครสร้างขึ้น คือไม่มีใครสร้าง และก็ไม่ใช่เป็นของใคร จิตเดิมเป็นจิตที่ผ่องใส ท่านตรัสว่า ปภัสจิตตังภิขเว ภิกษุทั้งหลาย จิตนี้เป็นธรรมชาติ ผ่องใส มีความผุดผ่อง มีความสว่างอยู่ในตัว คือมีแสงสว่างอยู่ในตัว การที่เศร้าหมองไป ก็เพราะ อุปกิเลส ที่จรมา อุปกิเลส ที่จรเข้ามา คือ โทสะ โมหะ เป็นต้น พระพุทธเจ้าท่านบอกว่า จิตเดิมผ่องใส จิตเดิมบริสุทธิ์ จิตเดิมก็คือจิตว่างนั่นเอง แต่เพราะว่าเวียนว่ายตายเกิด มาจนนับชาติไม่ถ้วน จึงสะสมเอากิเลส คือเอาความยึดมั่น ถือมั่น เป็นต้น เข้ามาถือไว้ ว่าเป็นของๆตัว หรือเป็นตัวเป็นตนขึ้นมา เข้ามาถือเอาครองธาตุ ทั้ง 4 คือ ธาตุ ดิน ธาตุน้ำ ธาตุลม ธาตุไฟ ว่าเป็นตัวตนของเรา ก็เมื่อเป็นเช่นนี้ ความถือมั่น มันไม่ยอมปล่อยวาง มันไม่มีปัญญาที่จะรู้ได้ มันก็เลยเกิดชาติแล้ว ชาติเล่า


    มันก็ไม่รู้สึก ก็เมื่อไม่รู้แจ้ง จิตใจมันก็ผันผวน ก็จึงทำให้ต้องเวียนว่าย ตายเกิดอยู่เสมอ จิตก็กลายเป็นจิตที่เศร้าหมอง คือมีกิเลสเป็นเครื่องเดินไปในสังสารวัฏ ท่านผู้ฟังทั้งหลาย พระพุทธเจ้าท่านตรัสว่า ผู้ใดมาสดับคำของอริยะเจ้า สดับฟัง ว่าจิตนี้เป็นธรรมชาติบริสุทธิ์ แต่เดิม ละกิเลสจรเข้ามา ทำให้สงบผ่องใสได้ ทำให้บริสุทธิ์ได้ เหมือนผ้าขาว ท่านผู้ฟังทั้งหลาย ก็ในเมื่อเป็นเช่นนี้ การทำให้บริสุทธิ์ได้ก็ต้องทำได้ ปฏิบัติจริงๆ จิตก็จะบริสุทธิ์ได้ และก็จะว่างได้ จิตใจก็จะว่างได้ ก็เหมือนกับผ้าขาวดังว่า ถ้าไม่ซักมัน มันก็ไม่มีโอกาส ที่จะสะอาดขึ้นมาได้ ก็ต้องซักมัน สักกี่ครั้งหมั่นซัก เช่นเราซักผ้า เราซักผ้าน้ำหนึ่ง มันก็คงยังไม่สะอาดพอ เพราะว่ามันเศร้าหมองมามาก ซักครั้งเดียวมันไม่สะอาดพอ อย่างผ้าที่เราใช้แล้ว ธรรมดาๆ นี้แหละ ใช้มา 3 วัน 5 วัน 7 วัน แล้วก็มาซักมันไม่ใช่มีแต่ฝุ่น มันก็ติดเหงื่อ ติดไคล อะไรๆต่ออะไรต่างๆ น้ำหนึ่งคือว่าเททิ้ง ก็ยังไม่สะอาดดี ก็เมื่อยังไม่สะอาดดี ก็ต้องซัก อีก จนครั้งที่ สอง หรือน้ำสอง น้ำสองก็ยังไม่สะอาดดี เห็นว่าควรจะใช้สบู่ ก็หาสบู่ หรือผงซักฟอก ฟอกเข้าไปใหม่ จนเป็นน้ำสาม น้ำสี่ไป สุดท้ายก็เห็นว่าน้ำมันใสดีแล้ว พอซักไปๆน้ำมันใสดีแล้ว น้ำมันไม่ขุ่น ก็ทราบว่า สะอาด หรือผ้านี้สะอาดแล้ว ฉันใดก็ดีจิตใจของคนเรานี้ มันก็ทำให้ สะอาด สงบได้ บริสุทธิ์ได้ ว่างได้เป็นสมาธิได้ ก็หมายความว่า คำสอนของพระพุทธเจ้านั้น ทำจิตให้ว่างได้ จิตนี้ทำให้ว่างได้ ทำให้สงบได้ ทำให้บริสุทธิ์ได้ การทำจิตให้ว่าง เรียกว่า สุญตะสมาธิ สุญญตะสมาธิ แปลว่าทำจิตว่าง หรือมีจิตว่าง อนิมิตะ สมาธิแปลว่า สมาธิ ไม่มีนิมิตอะไรทั้งนั้น อุปติจิตตะสมาธิ สมาธิ ไม่มีที่ตั้ง คือจิตไม่มีที่ตั้งใดๆ ทั้งนั้นคือ ไม่ตั้งลงใน อารมณ์ใดๆทั้งนั้น ไม่ตั้งลงไป ในอดีต ในอนาคต แล้วในปัจจุบัน สมาธิ ๓ อย่างนี้ คือสุญญตะสมาธิ สมาธิจิตว่าง อนิมิตะสมาธิ สมาธิไม่มีนิมิต คือไม่มีอะไร เป็นที่หมาย อุปติจิตตะสมาธิ สมาธิไม่มีที่ตั้ง คือไม่ต้องรู้อารมณ์ทั้งนั้น ท่านผู้ฟังทั้งหลาย เนื้อความมันก็อย่างเดียวกัน คือรวมอยู่ที่จิตว่าง เมื่อจิตว่าง มันก็เป็นสุญญตะสมาธิ อนิมิตตะสมาธิ และอุปนิมิตตะสมาธิ ก็เพราะฉะนั้น พระพุทธเจ้า จึงตรัสสอน ภิกษุทั้งหลาย ตรัสที่ในปราสาทของนางวิสาขา ว่าให้ภิกษุทั้งหลาย ศึกษาปฏิบัติ ทำสมาธิอยู่ด้วย สมาธิอันมีความว่าง แม้สมณะพราหม์ ทั้งหลาย แม้ในอดีตก็ดี ปัจจุบันก็ดี แม้ในอนาคตก็ดี ก็ยังอยู่ด้วยความว่าง มีความว่างเป็นที่อยู่แห่งจิต คือไม่ได้อยู่ด้วยอะไรทั้งนั้น คือไม่ได้ตั้งอยู่ที่นั้น ไม่ได้ตั้งอยู่ที่นี้ ไม่มีความคิดอะไรทั้งนั้น คือไม่มีอารมณ์ คือว่างจากอารมณ์ ฉะนั้นจึงเรียกง่ายๆ หรือเรียกรวมคำเดียวว่าจิตว่าง การที่จะทำจิตว่าง หรือว่างได้มันก็มีเครื่องพิสูจน์ได้ เราพิสูจน์ ได้ด้วยตัวของเราเอง คือพิสูจน์ อย่างง่ายๆ ว่าทุกสิ่งทุกอย่างในโลกนี้ ก่อนนี้เราก็มาเกิดไม่มีอะไรกับเรามาได้เลย ตอนที่เรามาเกิด เราก็ไม่ได้แบก สมบัติ พัฎสถาน หรือกำเงินกำทองอะไรมาได้เลย เราไม่ได้มาเอาสมบัติ หรือกำเงินกำทองอะไรมาเลย แล้วเราก็มาริมาหา มารวบรวม ประกอบอาชีพ จนมีอันนั้น ขึ้นมา มีอันนี้ขึ้นมา มีที่ดิน มีบ้านเรือน แล้วก็มีข้าวของ เงินทอง เครื่องมือ เครื่องไม้ใช้สอย อุปกรณ์ เต็มบ้าน เต็มเรือน จนมีบริวาร จนมีครอบครัว ท่านผู้ฟังทั้งหลาย ก็สิ่งเหล่านี้ ก็มีมาทีหลัง เป็นสิ่งที่มาทีหลัง ก็สิ่งที่มาทีหลังนี่ มันก็มารวมอยู่ที่ใจ ว่า เป็นของเราๆ ก็มารวมอยู่ที่ใจว่า อันนั้นก็เป็นของเรา อันนี้ก็เป็นของเรา ใครเอาไปไม่ได้ ต้องเราให้หรือเราสละ ถ้าเราไม่ให้ เราไม่เสียสละ ก็ต้องถือว่าเป็นขโมย หรือเป็นโจร หรือประพฤติผิดศิลธรรม ท่านผู้ฟังทั้งหลาย เรื่องเหล่านี้ ทรัพย์สิน เงินทอง บ้าน ช่อง ที่ไร่ ที่นา กับทั้งสมบัติภัสสถานต่างๆ เมื่อรวบรวมไว้ เข้ามาถือว่าอันนั้นเป็นของเรา อันนี้เป็นของเรา จะต้องมา ขบมาคิด มากังวลเศร้าหมองมายึดถือ ต้องนึกต้องคิด นึกถึงค่ำนึกถึงเช้าอยู่เสมอ เรียกว่าเอามาไว้ในใจ เรียกภาษาธรรมว่า อุปทาน คือความเข้าไปยึดถือ นี่ก็เป็นเพียงสมบัติภายนอก แต่สมบัติมันก็มีหลายระดับ สิ่งที่เข้าไปยึดไปถือ โดยที่สุด ละเอียดเข้าไป มันก็ไปถือแม้แต่ สะรีระร่างกาย คือ สะรีระร่างกาย อันเป็นสิ่งที่มีธาตุทั้ง 4 คือดิน น้ำลม ไฟ มันก็เป็นสิ่งที่ บังเกิดขึ้นทีหลังเหมือนกันกับ ดิน น้ำ ลม ไฟ มันก็มาก่อตัวขึ้นทีหลัง

    เมื่อมาก่อตัวขึ้นในครรภ์แล้ว ภายหลัง คลอดออกมาจากครรภ์ โตวันโตคืนขึ้นมา จนเป็นหนุ่มเป็นสาว จนแก่จนเฒ่า ประเดี๋ยว ประด๋าว อันนี้คือว่ามันมาทีหลังเหมือนกัน ก็ล้วนแต่เกิดมาทีหลัง เกิดขึ้นทีหลัง คือไม่ใช่เป็นสิ่งที่มีอยู่ก่อน แม้ความคิด ก็มาทีหลัง เหมือนกัน ก็เป็นอันว่า สิ่งที่มาทีหลังนี้ทั้งหมด เข้าไปยึดถือไว้ มันก็เป็นของหนัก ภาราหะเว เรียกว่าเป็นของหนัก เป็นภาระ ก็สิ่งเหล่านี้ เราทำให้ว่างได้ สิ่งเหล่านี้คือปฎิบัติให้ว่างได้ แม้สิ่งเหล่านั้นจะมีอยู่ ก็ทำจิตใจของเราให้ว่างได้ คือด้วยการ ละวาง หรือการไม่เข้าไปยึดถือมัน มันก็ว่างได้ ว่างได้ไม่ตลอด แต่มันก็ว่างได้ แม้ประเดี๋ยวประด๋าว หรือเป็นครั้งเป็นคราว ก็ว่างได้ เช่นเราจะปฏิบัติธรรม เข้ามาปฏิบัติธรรมอยู่ในอาศรมนี้ เป็นต้น เราก็ไม่ได้เห็นสมบัติ เหล่านั้น เดี๋ยวก็ลูกหลาน เดี๋ยวก็คนซื้อ เดี๋ยวก็คนหา ประเดี๋ยวก็เรื่องเงิน เดี๋ยวก็เรื่องทอง เดี๋ยวก็เถือกสวนไร่นา อะไรต่อมิอะไรมากมาย ก็หุ้มรุมเข้ามา สิ่งเหล่านั้น สำคัญว่าเป็นภาระหน้าที่ แต่ถ้ามาอยู่ที่นี้ หรือเข้ามาพักมาปฏิบัติธรรม สละเสีย ชั่วคราว ไม่คิดมันล่ะ ชั่วโมงนี้ มันก็วางได้ มันก็ว่างได้ ชั่วโมงหนึ่ง มันก็เบา ชั่วโมงหนึ่ง หรือว่างได้ชั่วขณะหนึ่ง มันก็เบา ขณะหนึ่งแค่นั้นเอง คือเราไม่ต้องไปคิดมัน ไม่ต้องไปทุกข์มัน ไม่ต้องไปห่วงมัน เหมือนกับว่ามันไม่มีเสียแล้ว เมื่อเราไม่คิดมัน ไม่มีมันไม่ตามรู้มัน นั่นก็เท่ากับว่าไม่มี ก็ว่าเท่ากับไม่มี เท่ากับว่าง อันนี้ก็คือ สุญญตา เพราะฉนั้นสุญญตา หรือสมาธินั้นว่าง คือว่างจากที่ข้าวของ เงินทอง ทรัพย์สมบัติ บ้านเรือน ครอบครัว อันนี้ก็ว่างไป ว่างได้ไหม ท่านผู้ฟังทั้งหลาย มันก็ว่างได้ ก็เพราะฉะนั้น จิตว่าง ว่างไม่ได้ มันเป็นสิ่งที่ท่านพูดไม่ถูก พูดไม่ถูก คือไม่ถูกตามหลักของพระพุทธเจ้า หลักของพระพุทธเจ้านั้น ว่างได้ แล้วก็ทำได้ แล้วก็เป็นของจริง ที่นี้ มาว่าถึง ผู้ที่อยู่ในวัด หรือมาอยู่ใน สำนักปฏิบัติธรรม ว่างจากบ้าน ว่างจากเรือน ว่างจากข้าวของ เงิน ทอง ครอบครัว ก็เป็นไปแล้วตามเหล่านั้น แต่ว่าก็ยังคลุกคลี กันอยู่ นอนคุยกัน นั่งก็ยังคุยกัน นอนคุยกัน นั่งคุยกัน นอนเล่น นั่งเล่นแล้ว มันก็ไม่ว่าง ได้เหมือนกัน คือมันยังไม่ว่าง คือมันว่างไปอันหนึ่ง อีกอันหนึ่งมันยังไม่ว่าง ก็ในเมื่ออันหนึ่งว่าง อีกอันหนึ่งก็ยังไม่ว่าง เอ้าอยู่เฉยๆ อยู่ไม่ได้หรอก ต้องไปนั่งคุยกันที่ต้นไม้ ต้องไปนั่งคุยกันที่ตรงนั้นตรงนี้ หรือนอนอยู่คนเดียวก็ไม่ได้ ก็ต้องไปนอนคุยกับคนนั้นเป็นเพื่อน ท่านผู้ฟังทั้งหลาย อันนี้ก็ย่อมมีอารมณ์ ยึดมั่น ถือมั่นอยู่ ก็ในเมื่อเป็นเช่นนี้ ก็ไม่เอาแล้ว ต้องไปนอนคุยกัน ไปนั่งคุยกัน จิตใจมันก็ไม่ว่าง ก็เพราะฉะนั้น ต้องไปนอนคนเดียว ต้องไปนั่งไปคนเดียว ไม่ต้องไปคลุกคลีกับใคร แต่ว่า ไม่ใช่ว่าไม่พูดกับใคร ไปโกรธกับใคร ไม่ใช่อย่างนั้น คือไปนั่งสงบ อยู่คนเดียว ทำใจให้ว่าง โดยไม่ต้องคิดอะไรทั้งนั้น เรื่องภายนอก ก็ไม่ต้องคิดล่ะ เรื่องภายในก็ไม่ต้องคิดแล้ว เรื่องที่ผ่านมาก็ไม่ต้องไปคิดมัน เรื่องข้างหน้าก็ไม่ต้องไปห่วงมันแล้ว เรื่องปัจจุบันก็ปล่อยวางมันแล้ว ก็อย่างงี้ก็ มันก็จะเข้าถึง ความว่างเปล่า เข้าไปจนหมดความสงสัย จิตใจมันก็ผ่องใส จิตมันก็จะสะอาด เพราะความสะอาดนั้นมันมีหลายระดับ หรือความว่างนั้นมีหลายระดับ เหมือนดังที่กล่าวมาแล้ว ข้างต้น การซักฟอกจิต เราก็ต้องซักแล้ว ซักอีกหลายๆครั้ง มันก็จะสะอาด ใสสะอาดขึ้นมาได้ ถ้าละเอียดเข้าไปมากๆขึ้นไป มันก็จะเป็น สุญญตะสมาธิ อนิมิตสมาธิ อุปนิจิตตะสมาธิ ดังที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสไว้ ศรัทราญาติโยมท่านผู้ฟังทั้งหลาย ได้ความว่า สมาธิ หรือ จิตว่างนั้น เป็นสิ่งที่ทำได้ เป็นสิ่งที่เข้าถึงได้ และการจะเข้าถึง ก็ต้องเข้าถึงเป็นลำดับๆไป จะเอาทีเดียวให้มันสำเร็จ เป็นขั้นสุดยอด มันก็จะยาก สักน้อยหนึ่ง ค่อยทำ ค่อยไป ค่อยซักค่อยฟอก ค่อยละ ค่อยวางไป มันก็ขาวผ่องใส ขึ้นตามโอกาส ศรัทราญาติโยมท่านผู้ฟังทั้งหลาย ท่านพระคุณเจ้า กล่าวมาถึง เรื่องจิตว่าง ซึ่งบางคนว่า ว่างมันไม่ได้ อันนั้น มันเป็นการกล่าวที่ไม่ถูกต้อง แต่จิตว่างนั้น เป็นสิ่งที่ทำได้ ถูกต้องตามหลัก คำสอนขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า แสดงมาย่อๆถึงเรื่องจิตว่าง ว่าทำได้ตามหลักคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า โดยย่อก็ขอยุติลง ด้วยประการละฉะนี้ ลูกขอกราบ องค์ สมเด็จพ่อพระผู้มีพระภาคเจ้า ด้วยเศียรเกล้า กราบหลวงพ่อดาบส สุมโน ด้วยเศียรเกล้า (อาศรมไผ่มรกต.com)
     
  3. ไผ่มรกต

    ไผ่มรกต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 มิถุนายน 2012
    โพสต์:
    248
    ค่าพลัง:
    +1,896
    สมาธิ
    [​IMG]
    ๑. เวลาปฏิบัติ เวลาเริ่มทำสมาธิ ตัดกังวลเสียก่อน สิ่งใดที่จะห่วงใยยกเลิกทิ้งไปประเดี๋ยวเดียวมันไม่ตายหรอก และก็ตัดสินใจว่าเราจะต้องปฏิบัติให้มีผลตามคำแนะนำของครูไม่ห่วงแม้แต่ร่างกาย ทุกคนเมื่อตัดกังวล ไม่ห่วงแม้แต่ร่างกายได้แล้ว ก็ตั้งใจสมาทานศีล เรื่องศีลที่จริงไม่ใช่จะมีเฉพาะเวลาปฏิบัติ ศีลนี่เป็นเครื่องค้ำจุนฌานสมาบัติ สมาธิหรือฌานจะมีขึ้นมาได้ก็เพราะศีล ถ้าศีลบกพร่องฌานก็บกพร่องด้วย ถ้าศีลสมบูรณ์แบบ สมาธิหรือฌานจึงจะสมบูรณ์แบบ เรื่องนิวรณ์ ๕ ประการ อย่านึกถึงมันเลย นอกจากนั้น องค์สมเด็จพระภควันต์ ให้ทุกคนคุมอารมณ์ให้ดีในพรหมวิหาร ๔ ให้จิตทรงตัวไว้ในพรหมวิหาร ๔ เป็นปกติ คำว่าปกติต้องเหมือนศีล ศีลนี้ต้องบริสุทธิ์ทุกวันและพรหมวิหาร ๔ ต้องทรงตัว

    ๒. สำหรับอานาปานุสติกรรมฐาน ขอแนะนำให้ทุกท่านใช้ทุกอิริยาบถที่ทรงอยู่จำไว้ให้ดีด้วยนะ ถ้าท่านให้ทุกอิริยาบถที่ทรงอยู่ะก็อารมณ์จิตมันจะเลี้ยวเข้าไปหาความเลวไม่ได้ จะมีเวลาว่างเพื่อสร้างความเลวตรงไหน จะกินอยู่ก็ดี จะเดินอยู่ก็ดี จะนั่งอยู่ จะนอนอยู่ทำการงานอยู่ จะพูดจาปราศรัยก็ดี ให้เอาใจของทุกท่านกำหนดจับอานาปานุสติกรรมฐานไว้เป็นปกติจำได้ไหม และก็ลองคิดดูทีเถอะว่า ถ้าเราเอาจิตไปจับอานาปานุสสติกรรมฐานไว้เป็นปกติ จิตมันไม่มีเวลาว่างจากการกำหนดรู้ลมหายใจเข้าหายใจออก แล้วก็จิตดวงนี้มันจะเอาอารมณ์เลวมาจากไหน อกุศลกรรมใด ๆ ที่ไหนจะเข้ามาแทรกจิตได้
     
  4. ไผ่มรกต

    ไผ่มรกต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 มิถุนายน 2012
    โพสต์:
    248
    ค่าพลัง:
    +1,896
    จิตเดิมแท้ผ่องใสขาวรอบ แต่เศร้าหมองแล้วเพราะกิเลสจรเข้ามา

    การทำจิตให้ขาวสะอาดรอบ เรามีวิธีการลัดที่ทำได้โดยไม่ยาก เรามีวิธีทำที่ทำได้โดยไม่ยากและไม่ต้องสนใจว่าเป็นสมถะ ภาวนาหรือวิปัสนากรรมฐานภาวนา หลักมีอยู่อย่างเดียวว่าเรากำหนดปล่อยวาง อารมณ์ ที่ทำให้จิตใจว่างจากอารมณ์ หรือทำให้เข้าถึงจิตเดิม ทำจิตให้เป็นจิตเดิมเข้าหาจิตเดิมด้วยวิธีการ สละวางปล่อยวาง โดยไม่ต้องคำนึงว่ามันเป็น สมาถกรรมฐานหรือวิปัสนากรรมฐาน จิตว่าง ทำจิตให้ว่าง กับจิตเดิม บางท่านอาจสงสัยว่ามันเป็น อันเดียวกัน หรือว่าต่างกัน ทำจิตให้ว่างนั้นหรือ จิตเดิมนั้นมันเป็นอันเดียวกันหรือต่างกันข้อนี้ ก็มีคำตอบว่ามันเป็นคนละอย่างกัน การทำจิตว่างกับจิตเดิมมันเป็นคนละอย่างกัน การทำจิตว่างกับจิตเดิมมันเป็นคนละอย่างกัน จิตเดิมเป็นจิตที่ไม่ต้องทำ แต่จิตที่ว่าง เป็นจิตที่ต้องทำ เมื่อทำจิตให้ว่างแล้ว ก็เข้าถึงจิตเดิม ต่างกันโดยอย่างนี้ จิตเดิมนี้คืออะไร เป็นอย่างไร มาอย่างไร อันนี้ก็เป็นอีกประการหนึ่่ง หรือเป็นอีกแนวหนึ่งอันลึกเข้าไป เหตุใดจึงต้องทำจิต ให้เข้าถึงจิตเดิม เจริญภาวนาให้เข้าถึงจิตเดิม พระพุทธเจ้าท่านว่าจิตเดิมเป็นธรรมชาติ ผ่องใสมาแต่เดิม เป็นธรรมชาติเดิม เป็นธรรมชาติผ่องใส มีแสงสว่างมาแต่เดิม อันนี้เรียกเป็น ภาษาบาลีว่า ปภัสสร อันนี้ไม่ต้องทำเป็นธรรมชาติ ตั้งแต่ไหนแต่ไร ไม่เคยเกิด ไม่เคยดับ เป็นของเดิม จึงเรียกว่าจิตเดิม หรือจิตที่เป็นอมตะจิต หรืออมตะธาตุ ไม่มีเกิด ไม่มีดับ ก็แล้วจิตเดิมนี่แหละ ที่เวียนว่าย ตายเกิด ถือเอารูป เอานาม ถือเอาชาติ เอาภพ ก็กลายเป็นเวียนว่ายตายเกิดไป แต่จิตเดิมไม่ได้เกิด ไม่ได้ตาย แต่จิตเดิมเข้าไปหลง เข้าไปรวมอยู่ ในรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ เข้าไปรวม หรือเข้าไปยึดถือ อยู่ในขันธ์ ๕ หรืออยู่ใน รูปใน นาม ก็เป็นภพเป็นชาติขึ้นมา ก็มีการเกิด มีการแก่ มีการเจ็บ มีการตายขึ้นมา การเกิดแก่ เจ็บ ตาย อันนี้ เป็นขันธ์ หรือเรียกว่าเป็นรูป นาม เมื่อรูป นาม สิ้นอายุ หมดปัจจัย หมดบุญหมดกรรม ก็จิตเดิมนี้ก็รับผล คือถือเอาภพ เอาชาติใหม่อีก แล้วก็เข้าไปอยู่ เข้าไปยึดมั่น ในรูป นามอันเป็นของใหม่ จิตเดิมนี้ไม่เคยเกิดไม่เคยตาย หรือไม่เคยเกิดไม่เคยดับ จิตเดิมนี้เป็นธรรมชาติผ่องใส สะอาดอยู่แต่เดิม แล้วจิตเดิมนี้เอง ทำให้ขาวสะอาดทำให้บริสุทธิ์ ผุดผ่องขึ้นมาได้ พระพุทธองค์ท่านตรัสว่า อริยะสาวกเมื่อได้รู้ว่า จิตเดิมนี้ทำให้สะอาดผ่องใส ปราศจากอุปกิเลสทั้งหลาย อันเป็นเครื่องเศร้าหมองจรเข้ามา จึงต้องทำจิตให้หลุดพ้นจากเครื่องเศร้าหมองนั้นได้ ก็จะพ้นจากความทุกข์ อันเกิดแก่เจ็บตายหรือเข้าถึงพระนิพพาน ก็ได้ความว่าจิตเดิมนี้เป็นของบริสุทธิ์ และไม่ได้เป็นของเกิดดับ บางคนนักปราชญ์ในสมัยนี้ มักถือว่าพระนิพพานนั้นไม่มี หรือไม่มีอะไรแล้ว จะมีจิตเดิมที่ใหนอีกเล่า ความจริงจิตเดิมนี้เป็นของไม่ดับไม่สูญ เป็นอมตะธาตุ และอมตะธาตุนี้หรือจิตเดิมนี้แหละ ผู้ปฎิบัติสมถะกรรมฐาน หรือเจริญวิปัสนากรรมฐานโดยตรงก็ดี เพื่อต้องการให้บรรลุถึงจิตเดิม ก็ย่อมทำให้สำเร็จประโยชน์เรียกว่าผู้ที่ทำจิตให้บริสุทธิ์แล้ว ก็ควรแก่การงานคือทำให้สำเร็จประโยชน์ เพราะจิตเดิมนี้เป็นของศักดิ์สิทธิ์ เป็นของทิพย์ ก็ย่อมทำให้เกิดประโยชน์คืออิทธิฤธิ์ปาฎิหารย์ มีฤธิ์เดชต่างๆได้ เกิดญาณต่างๆเป็นต้นว่าละลึกชาติได้ รู้การปฎิสนธิของสัตว์ทั้งหลาย โดยเฉพาะการยังอาสวะกิเลสให้หมดสิ้นไป ครั้งเมื่อพระพุทธองค์ได้นั่งอยู่ใต้ต้นโพธิ์ ก่อนที่จะตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระองค์ทรงทำสมาธิ ทำสมาธิด้วยประการอันควรแล้ว จึงทำจิตให้บริสุทธิ์ เมื่อถึงจิตบริสุทธิ์แล้วพระองค์ก็ทรงทำการงานให้สำเร็จประโยชน์ โดยที่ทำจิตน้อมจิต ดูที่จิตของตัวนี้ ดูอดีตชาติด้วยบุเพนิวาสานุสติญาณ น้อมจิตดูข้างหลัง ที่ผ่านพ้นมาแล้วก็ได้เห็นการเกิดดับของตนว่า อ่อ..!เคยเกิดมาแล้วนี่ เคยเกิดมาแล้วตั้งหลายชาติ ชาติหนึ่งเคยเป็นพระเวชสันดร เคยเป็นพระโพธิสัตว์ ชาตินั้นชาตินี้ ร้อยชาติพันชาติหมื่นชาติแสนชาติ ถอยไปจนกัปป์ จนโกฎจนหลายอสงไขย์ จนนับไม่ถ้วน อ่อ...การเวียนว่ายตายเกิดมันก็มาจากจิตเดิมนั่นเอง มันไม่ตายมันรับรองกิเลส มันรับรองกรรม มันรับรองวิบาก จึงได้เวียนเกิดเวียนตายเช่นนี้ มันยังมีอุปทานอยู่ ยังต้องเกิดอยู่ เรียกว่ามีญาณรู้บุพเพนิวาสานุสติญาณ เมื่อได้รู้การเกิดของตน ออเรานี่เกิดมาจากกิเลสคือกิเลสเป็นต้น แล้วก็มาลองดูของคนอื่น รู้ของคนอื่นด้วย มาดูการเกิดของคนของสัตว์อื่น ออ..สัตว์อื่นๆก็เหมือนกัน อย่างเดียวกัน เวียนเกิดเวียนตาย เพราะกิเลสเพราะกรรม เพราะความโลภ ความโกรธความหลง เพราะถือตัวเพราะถือตน อุปทานตัญหา รู้ทั้งตนรู้ทั้งคนอื่นว่ากิเลสมันมาอย่างไร ก็ยังอาสวะกิเลสทั้งหลายให้หมดสิ้นไป เมื่ออาสวะกิเลสสิ้นไปท่านก็รู้ว่า ต่อไปเราจะไม่มาเกิดแล้ว เราไม่ตายแล้ว ก็อะไรหลุดพ้น อะไรเล่าไม่เกิด อะไรเล่าไม่ตาย ก็เกิดจากจิตบริสุทธิ์ หลุดพ้นแล้ว เรียกว่าหลุดพ้นด้วยญาณอันแจ่มแจ้ง บรรลุถึงพระนิพพาน บรรลุถึงอมตะธาตุ ศรัทธาญาติโยมท่านผู้ฟังทั้งหลายของเดิมเรียกว่าจิตบริสุธิ์แล้วจริงอยู่ขั้นหนึ่ง แต่ขั้นที่สองญาณรู้บังเกิดขึ้น แล้วก็บริสุธิ์ด้วยการไม่มีกิเลสจรเข้ามา ต่อไปอีกได้ อันนี้ก็เรียกว่าเป็นการหลุดพ้น สุดท้ายนี้ก่อนที่จะจบการเทศนานี้ ก็มีคำถามว่า ก็จิตเดิมครั้งแรกมาจากที่ใหน อันนี้พระพุทธเจ้าท่านไม่เทศนาแต่มาบอก ท่านไม่เทศนาแต่มาบอกว่าอย่าไปรู้เลย มันไม่รู้หรอกมันเสียเวลา จะไปนั่งนับกรวดนับทราย ในท้องมหาสมุทร นั่งตั้งร้อยปี พันปี หมื่นปี แสนปี กัป โกฎิปี มันก็ไม่พบหรอก คือไม่ปรากฏในเบื้องต้น อาจิณไตย เพียงแต่ทำจิตที่จะฝึกให้มันเกิดขึ้นได้เท่านั้น ท่านผู้ฟังทั้หลายมีพระบาลีว่า อมตะโคยัง ภิขเว ดูกรภิกษุทั้งหลาย เบื้องต้นแห่งภพ หาปรากฎไม่ คือไม่ปรากฎ คือหมายความว่ามีมากจนไม่อาจนับได้ มากจนไม่อาจรู้ได้ มันไม่มีที่สิ้นสุด แต่ทำให้เกิดได้ ท่านผู้ฟังทั้งหลาย อันนี้คือจิตเดิม เท่าที่ท่านพระคุณเจ้าเทศนามาก็ได้ ความว่าจิตเดิมคืออะไร เป็นอย่างไร มาอย่างไร เป็นอยู่อย่างไร เพราะฉะนั้น การทำสมาธิ ทั้งสองประการ บางคนในสมัยนี้ มักจะลืมไปว่าทำเพื่อให้จิตบริสุทธิ์ แต่มักจะทำกันเพื่อ ให้จิตรู้แจ้ง หรือทำให้จิตสงบนิ่ง ไม่ได้ทำเพื่อให้จิต บริสุทธิ์หลุดพ้น จึงเป็นการลืมความหมายไป เพราะฉะนั้นเราท่านทั้งหลาย เวลาสงสัยในการเจริญภาวนา เราก็ตัดออกเสีย เราก็สงบอารมณ์ สละวาง ปล่อยวางอารมณ์เสีย ทำจิตให้ว่าง ทำจิตให้สงบ ทำจิตให้จิต ให้ผ่องใส อันนี้ก็ไม่ต้องไปศึกษาเล่าเรียน อะไรหลายๆอย่าง เมื่อจิตสงบ จิตผ่องใสแล้ว ก็จะเกิดญาณขึ้นมาทีหลัง หรือทำจิตให้บรรลุ ถึงขั้นความเป็นทิพย์ แล้วก็ย่อมจะสำเร็จประโยชน์ในโลกียะ หรือโลกุตละ ตามสมควรแก่บุญวาสนาบารมีของตน เทศนามาถึงเรื่องสมาธิสองประการก็ขอยุติเนื้อความโดยย่อลงแต่เพียงเท่านี้

    ธรรมะเมตตาโดย ท่านพระคุณเจ้าดาบส สุมโน อาศรมไผ่มรกต.com
     
  5. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,493
    ทำกรรฐานแล้วมันปลง ไม่อยากเรียน แล้วก็รู้สึกขี้ลืมบ่อยๆครับ ผมเพี้ยนไปรึยังครับแนะนำหน่อย

    คือ ผมทำกรรมฐานด้วยตนเอง แล้วรู้สึกจะเพี้ยนๆ ผมไปจับลมหายใจแล้วมันว่างๆอะครับ แล้วมันติดอยู่ยังนั้น
    กลายเป็นคนขี้หลงขี้ลืมไปเลยอะครับ ผู้รู้ช่วยหาทางแก้แนะนำหน่อย ขอบคุณครับ

    http://pantip.com/topic/31102029
     
  6. อินทรบุตร

    อินทรบุตร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มิถุนายน 2012
    โพสต์:
    2,511
    ค่าพลัง:
    +7,320
    อันนี้มันหลงไปเป็นมิจฉาสมาธิ หลงไปเสพความว่าง
    ให้เปลี่ยนจากการอยู่กับความว่าง มาเป็นการอยู่กับสมาธิไม่ลึก เปิดรับรู้อายตนะทั้งหมด ไม่ปิดกั้น
    รับรู้ทุกอย่าง แต่ไม่หลงไปกับสิ่งที่ถูกรู้
     
  7. devwood

    devwood สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 พฤศจิกายน 2011
    โพสต์:
    23
    ค่าพลัง:
    +10
     
  8. devwood

    devwood สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 พฤศจิกายน 2011
    โพสต์:
    23
    ค่าพลัง:
    +10
    เรียน คุณมาจากดิน

    คนที่ post พันทิพย์ ตีความคำว่าว่างผิดเพราะอาจจะนึกคิดด้วยตรรกะ เลยว่างอย่างมึนๆตัดออกไปหมด เลยมีลักษณะเหมือนพรหมลูกฟัก ความว่างอย่างถูกคือว่างจากความคิด ตามดูสภาวะ เหลือก็แต่ผู้รู้กับสภาวะถูกรู้ ไม่มีเราที่รู้ ไม่มีเขาที่ถูกรู้ แล้วสุดท้ายผู้รู้ก็ไปรวมกับสภาวะ ก็ไม่เหลือผู้รู้ แล้วสภาวะก็ไม่เหลือสภาวะที่คงที่ สิ่งนั้นขึ้นมาเป็นระลอกแล้วแต่มีการกระทบ อธิบายยากเพราะกลัวจะไปเข้าถึงด้วยตรรกะอีก
     
  9. ผู้พันจุ่น

    ผู้พันจุ่น เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 สิงหาคม 2007
    โพสต์:
    1,396
    ค่าพลัง:
    +2,983
     
  10. สับสน!

    สับสน! เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 เมษายน 2010
    โพสต์:
    0
    ค่าพลัง:
    +3,984
    มาจากดิน;8426534]ทำกรรฐานแล้วมันปลง ไม่อยากเรียน แล้วก็รู้สึกขี้ลืมบ่อยๆครับ ผมเพี้ยนไปรึยังครับแนะนำหน่อย

    คือ ผมทำกรรมฐานด้วยตนเอง แล้วรู้สึกจะเพี้ยนๆ ผมไปจับลมหายใจแล้วมันว่างๆอะครับ แล้วมันติดอยู่ยังนั้น
    กลายเป็นคนขี้หลงขี้ลืมไปเลยอะครับ ผู้รู้ช่วยหาทางแก้แนะนำหน่อย ขอบคุณครับ ..

    ..ผมว่าคุณมาถูกจุดแล้ว..การทำใจให้ว่างนั่นคุณต้องลืมเรื่องทางโลกแน่นอนสมเหตุ-สมผล การรู้สึกปลงนั่นก็ชัดเลย สภาวะจิตสลด..สมาธิกำลังจะเกิด แต่คุณทำไม่ต่อเนื่อง..จึงพบแต่ความว่าง..ว่างยังไง อาการยังไงครับ
    ว่างแบบ นั่งดูตัวเองในสมาธิ หรือ นั่งแบบไม่คิดอะไรเลยเฉยๆ นั่งสมาธิก็เฉยๆ..เหมือนจิตมันเด่น ด้วยความรู้สึกแต่ไม่เห็นอะไร ไม่เห็นอะไร นั่นถูกต้องแล้ว
    คุณทำให้ต่อเนื่อง-ทำให้ต่อเนื่อง..ฝึกต่อไปครับ อาการต่อไปของคุณคือ หากสติต่อเนื่องเด่นชัด ในขณะฝึกดูลมหายใจ ไม่นานครับ ไม่เกิดน1เดือน..คุณจะได้รับสื่อ-หรือฝันแปลกๆแบบเห็นภาพในฝันเสมือนจริง เด่นชัด
    ปัญหาคือ คุณว่างจริงและอาการเป็นแบบที่ผมกล่าวมารึไม่ เมื่ออกจากสมาธิ เอามาเรียนรู้อะไร คุณจะเป็นหนึ่งเสมอ ยกเว้นเรื่องที่คุณเล่ามา..โดยเข้าใจไปเอง ครับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 14 ตุลาคม 2013
  11. จิตบุญ ๑๐๗

    จิตบุญ ๑๐๗ Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 ธันวาคม 2012
    โพสต์:
    9
    ค่าพลัง:
    +65
    นิโรธสัญญา ท่านพระอาจารย์ใหญ่ มั่นภูริทัตโต

    [​IMG][​IMG]
    นิโรธ แปลว่า ดับความทุกข์ ความชั่ว บาป ดับรูปกาย นามซึ่งมีในกายดับจากวัตถุธาตุดิน น้ำ ลม ไฟ มีความหมายเช่นเดียวกับคำว่า นิพพาน ดับหรือว่างจากทุกสิ่งทุกอย่างในโลก นรก สวรรค์ พรหม ไม่เหลือการเวียนว่ายตายเกิด ซึ่งเป็นสาเหตุของความทุกข์ยากลำบากอีกต่อไป
    สัญญา แปลว่า ความจดจำ หมายจำเอาไว้หรือจำได้ นิโรธสัญญา จึงแปลว่า ความจำได้หมายรู้ในการดับความทุกข์ยากลำบากทั้งปวง ดับธาตุทั้งหมด ดิน น้ำ ลม ไฟ ให้เหลือแต่ความว่างเปล่า การปฏิบัตินิโรธสัญญานี้เป็นทางลัด รวดเร็ว ทำง่ายมาก เป็นการปฎิบัติได้ผลรวดเร็วไม่ยากนัก เพียรเฝ้าทำจิตให้ว่างจากสิ่งที่เป็นของหนักคือ ร่างกายเราเขาหรือขันธ์ ๕ ขจัดสิ่งวุ่นวายวิตกกังวลเรื่องต่างๆออกจากจิตเท่านั้น
    ทางปฎิบัตินิโรธสัญญา ก็เริ่มด้วยตัดจิตให้มีเมตตาไปยังสรรพสัตว์ทั่ว ๓ โลก นรกโลก เทวโลก รักษาศีล ๕ ให้ครบถ้วน การเฝ้ากำจัดความคิดที่ไม่ดีไร้สาระออกจากจิตก็เป็นสมาธิอย่างหนึ่ง การเฝ้าพิจารณาทุกสิ่งทุกอย่างในโลกในที่สุดก็แตกสูญสลายกลายเป็น ดิน น้ำ ลม ไฟ เป็นอากาศ แยกกระจายจากอนูเป็นอะตอมเล็กๆละเอียด เป็นธาตุว่างคือวิปัสสนาญาณ ผู้มีศีลเจริญสมาธิภาวนานิดเดียวตั้งจิตทำเพื่อจิตเข้าสู่ความสุขอย่างยิ่งคือ พระนิพพาน ก็เข้าถึงเมืองแก้วพระนิพพานได้ง่าย พระนิพพานนั้นไม่ใช่ไกลเกินเอื้อมออกไป อยู่ในจิตในใจเรานี่เอง เรียกว่า สอุปาทิเสสนิพพาน ทั้งที่ขันธ์ ๕ กายยังไม่แตกสลาย ถ้าร่างกายตายจิตสะอาดหมดความยึดติดในขันธ์ ๕ จิตก็จะเคลื่อนเข้าเสวยความสุขยอดเยี่ยมแดนทิพยนิพพาน เรียกว่า อนุปาทิเสสนิพพาน
    นิโรธสัญญา คือการเพียรพยายามทำจิตให้ว่างจากสิ่งที่เป็นของสมมุติทั้งปวงในโลก รวมถึงชีวิต คนและสัตว์ ทรัพย์สิ่งของเป็นของสมมุติเป็นของชั่งคราวทั้งสิ้นเป็นของปลอม พระนิพพานธาตุ พุทธิธาตุ ภูตะธาตุ อสังขธาตุ ทั้งหมดนี้เป็นของจริง เป็นธาตุอะตอมไม่ตายไม่สูญสลายเหมือนธาตุของโลก ถึงตาจะมองไม่เห็นแต่มีอยู่จริง เป็นธาตุบริสุทธิ์มีอยู่แล้วโดยธรรมชาติ ไม่มีใครสร้าง เปรียบธาตุนิพพานอมตะนี้ก็เหมือนเมืองหรือฝั่งข้างโน้นที่เราจะข้ามไป จิตเป็นนามธรรม อาศัยอยู่ในกายในขันธ์ ๕ ที่เป็นของสมมุติชั่วคราว จิตเป็นธาตุบริสุทธิ์ โดยธรรมจากในจิตนั้น มีธรรมกายหรือพุทธิกาย หรือนามกายทิพย์ นิพพานกายอยู่ มีตา หู จมูก ลิ้น กายทิพย์ จิตทิพย์ ไม่ต้องทำขึ้น มีอยู่แล้ว ไม่ตายเป็นอมตะ ในกายทิพย์นิพพานไม่มีประสาท ไม่มีอวัยวะภายใน โปร่งใสเบา เย็นสบายเป็นจิตรู้ฉลาดสะอาดบริสุทธิ์ อิสระจากกฏทั้งปวงอยู่เหนือกฏของกรรมหรือกฏของธรรมชาติ หรือเรียกอีกอย่างว่า จิตของพระอรหันต์ จิตของพระขีณาสพ ผู้หมดกิเลสอวิชชาตัณหาอุปาทานบาปทั้งปวง
    รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส อารมณ์ดีร้ายทั้ง ๖ นี้ เป็นผู้มาทีหลัง เป็นของผ่านไปมา เป็นของสมมุติ เป็นของปลอม ไม่ใช่ของจริง เป็นของร้อนเป็นของหนัก ถ้าจิตเราไปคิดเอาเป็นจริงก็ทำให้เกิดความไม่สบายใจ ผิดหวังเป็นทุกข์ใจมิได้หยุดหย่อน รูปเสียง กลิ่น รส สัมผัส อารมณ์ทั้งหลายเป็นของสกปรกของชั่วคราวเป็นฝ่ายดำ เป็นสิ่งที่เราจะต้องรู้เท่าทัน และกำจัดออกจากจิตทันที คือให้ว่างเปล่าจากของที่เป็นทุกข์เป็นโทษ จิตจะอยู่ว่างเปล่าเฉยๆ ไม่ชินก็นึกถึงพระคุณความดีขององค์สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้า นึกถึงฝั่งแดนทิพยนิพพานเป็นสุขเลิศล้ำ นึกถึงร่างกายสมมุตินี้ตายโดนเผาทิ้งแน่นอน แบบนี้จิตจะว่างจากของหนัก ว่างจากความเครียด ความฟุ้งซ่าน ความวุ่นวายหรือปลอดภัยจากอันตรายได้ เพราะจิตว่างสะอาด ปราศจาก โลภ โกรธ หลง เพราะมีแต่พระรัตนตรัย พระนิพพานเต็มเปี่ยมอยู่ในจิต แถมอีกนิดมีเมตตาต่อสรรพสัตว์ทั้ง ๓ โลก ต้องการให้ทุกผู้ทุกคนพ้นทุกข์ได้เหมือนเรา
    วิธีปฏิบัตินิโรธสัญญา หรือ ทำจิตให้ว่างจากกิเลส ตัณหา อุปาทาน บาปกรรม มี ๓ อย่าง



    ๑) โน้มใจเข้าหาความว่าง ด้วยการนึกถึงองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า มีพระมหาเมตตา มีพระปัญญาธิคุณ พระบริสุทธิคุณ นำสัตว์ชี้ทางเข้าสู่พระนิพพาน เริ่มระลึกถึงความว่างเปล่าไม่มีอะไร ทั้งโลกอากาศว่างเปล่า ธาตุว่างอยู่รอบตัวเราเอิบอาบไปทั่ว เป็นธาตุอะตอม โอบอุ้มทุกสิ่งทุกอย่าง เป็นธาตุเบา ธาตุเย็น ธาตุสงบ ธาตุพอเพียง ธาตุแท้


    ๒) ทำจิตว่างด้วยสลัดขจัดทิ้งความคิดไม่ดีไร้สาระออกจากจิต หรือปล่อยวางอารมณ์ดีชั่วทั้งปวงออกจากจิตให้มีเพียงแต่คำว่ารู้ แต่ไม่นำเอามาคิดปรุงแต่งเป็นตัวเราตัวเขา เป็นแต่เพียงธาตุของโลก จิตเป็นธาตุเบาไม่เอาไปปนกับธาตุหนักๆของโลก กายก็เป็นธาตุของโลกไม่ใช่ของจิต แต่จิตก็เพียงให้รู้ว่าจิตมาอาศัยอยู่ในกายบ้านสมมุติชั่วคราว ไม่เอามาปนกับจิต จิตส่วนจิต กายส่วนกาย ไม่ใช่อันเดียวกัน มีกายแล้วจิตก็ทำเป็นว่าไม่มี เพราะไม่ช้ากายก็ตายสูญสลาย ไม่มีกายอีก เป็นของว่างๆ เพียรคิดสลัดกาย อารมณ์ทั้งหลายออกจากจิต จิตจะสว่างสะอาดจากกิเลสเฝ้าผูกพันยึดมั่นกายเรากายเขา แต่ก็ยังคงทำหน้าที่การงาน สังคมครบถ้วน จิตใจสะอาดผ่องใส ร่างกายก็ไม่มีโรคหรือโรคน้อย จิตก็จะแปรสภาพจากหนักเป็นเบา โปร่งสบาย จิตหยาบก็จะกลายเป็นจิตละเอียดสะอาดผ่องใส ไม่มีความวุ่นวายจิตสงบนิ่งมีปัญญาดี


    ๓) วิธีทำจิตให้สะอาดว่างจากกิเลสแบบให้สังเกตหรือจับดูอารมณ์ตามความเป็นจริง แต่มิใช่ให้จับแบบยึดมั่นถือมั่น คือจิตมันชอบคิดเรื่องต่างๆอยู่เสมอ มันคิดอะไรก็เอาเรื่องนั้นแหละมาพิจารณาดูให้ลึกและไกลออกไป ให้เห็นความไม่คงที่ จะเป็นไปในทางที่ดีหรือไม่ดีก็เท่ากันไม่มีอะไรเป็นจริงเป็นจัง เป็นแก่นสารย่อมถึงความแปรผันดับสูญเสมอกัน
    เงาในกระจกหรือเงาในน้ำมิใช่ของจริงฉันใด สรรพสังขาราทั้งหมดก็ไม่ใช่ของจริงฉันนั้น หรือจะมองชีวิตทั้งหมดนี้เหมือนความฝันก็ได้ เพราะจุดจบของชีวิตคือความตาย ความตายของชีวิตร่างกายของคนนี่แหละ คือการตื่นจากความฝัน คือจิตออกจากร่างไปหาที่อยู่ใหม่ ที่อยู่ใหม่ของเราท่านเที่ยงแท้แน่นอนไม่ยอมแปรผันอีกต่อไปคือ แดนอมตะทิพยนิพพาน
    เมื่อมาพิจารณารู้ความจริงของชีวิตร่างกายทุกผู้ทุกนามแล้ว ก็จะเห็นได้ว่าสิ่งที่มีอยู่เป็นอยู่ทั้งคน สัตว์ สิ่งของ มีก็เท่ากับไม่มี คือว่างเปล่านั่นเอง เพราะสูญสลายไม่ช้าก็เร็ว
    เมื่อกำหนดจิตเห็นทุกสิ่งทุกอย่างรอบตัวเป็นของว่างเปล่า จิตก็จะเข้าถึงความว่าง ธาตุว่างจากทุกสิ่งทุกอย่างในโลก เมื่อพิจารณาทบทวนถึงความไม่มีในร่างกายเรากายเขา ขันธ์ ๕ เรา ขันธ์ ๕ เขา มันมีแล้วก็เหมือนกับไม่มี เพราะแปรปรวนไม่เที่ยงแท้แน่นอน ไม่จริง เป็นของปลอมของสมมุติ หาตัวตนตัวเราตัวเขาไม่ได้ เพราะทุกอย่างมีแต่เดินทางหาความทรุดโทรม ผุพังสลายตายกันในที่สุด จิตก็จะหลุดจากกิเลสคือว่างจากความทุกข์ยาก จิตจะเป็นอิสระเสรีไม่ยึดเกาะในสิ่งของจอมปลอมอีกต่อไป ถึงแม้จิตจะยังอาศัยอยู่ในกาย แต่จิตไม่หลงรักว่าเป็นอันเดียวกับจิต อย่าเอาจิตไปนึกว่ามันมี รูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส ปล่อยไปเพียงแต่ผ่านมาผ่านไปเท่านั้น ถ้าทรงอารมณ์อยู่จิตไม่สนใจขันธ์ ๕ ของใครวางเฉยไม่ทุกข์ร้อน ทำงานทุกอย่างตามหน้าที่ อารมณ์เฉยเป็นเอกัคตารมณ์ เห็นว่าทุกสิ่งทุกอย่างไม่มีสำหรับเรา เราไม่มีสำหรับกาย จิตจะสะอาดเบิกบานผ่องใสพ้นจากความยึดมั่นในของปลอมของทุกข์ของร้อนพระท่านเรียกว่า จิตของพระอรหันต์
    วิธีทำจิตให้ว่างจากกายเรากายเขาแบบนี้ เป็นวิธีลัดแบบง่าย มีแต่พรหมวิหาร
    ๔ ไม่ยึดถืออารมณ์ใดๆมาไว้ในจิตมีความจำได้หมายรู้ก็เหมือนไม่มีความจำ เพราะความจำอยู่ได้ไม่นานไม่ช้าก็ลืม ประสาทสมองลืมง่าย ความคิดความจำ ความฟุ้งซ่าน วิตกกังวลเป็นเรื่องของกายให้สลัดทิ้ง ให้จิตเต็มไปด้วยพระธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้า จิตจะเบาบริสุทธิ์สะอาด จิตอันนี้เราจะตามรอยพระพุทธบาทเมื่อกายพังแตกสลาย
    ผู้เพียรทำจิตให้ว่างจากร่างกาย หรืออารมณ์ต่างๆแบบนี้เป็นแบบของพระอริยเจ้า เป็นสมาธิเป็นวิปัสนาญาณอยู่ด้วยกัน ทำได้ทุกเวลา ทุกอิริยาบถ นั่ง นอน ยืน เดิน ทำได้ทั้งที่อยู่คนเดียวและอยู่แบบหมู่คณะ เป็นทางหลุดพ้นทุกข์ได้อย่างแน่นอน เป็นทางลัดตรงไปสู่จุดหมายปลายทางคือ พระนิพพาน
    นิพพานธาตุ คือ นิโรธธาตุ อันเดียวกัน มีอยู่ทุกหนทุกแห่ง แม้ในจิตเราท่านที่อยู่ในร่างกายที่สกปรกนี้ ทำจิตให้เข้าถึงพระนิพพานได้ทันทีทั้งๆที่ยังไม่ตาย นิพพานไม่ใช่มนุษย์โลก เทวโลก พรหมโลก แต่อยู่เหนือโลกทั้งสิ้น มีอยู่ทั่วไปถ้าจิตจิตดับทุกข์ดับขันธ์ ๕ ว่างจากกิเลสจะรู้สภาวะพระนิพพานทันที
    นิโรธสัญญา คือทำจิตให้ว่างไม่มีอารมณ์ใดๆทั้งปวงคือเฉยๆ จิตจะสะอาดปล่อยวางจากทุกสิ่งทุกอย่างทั้งโลก รูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส จิตจะเข้าสู่ภาวะ ที่เป็นจิตพุทธะดั้งเดิม จิตประภัสสร
    นิโรธสัญญา ทำจิตให้ว่างจากพันธะใดๆในโลก จะทำวิชชาให้สำเร็จด้วยฤทธิ์ก็ย่อมได้ เพราะจิตสงบทรงตัว แต่ท่านที่เจริญความว่างทางจิตแบบนี้ ท่านไม่ต้องการอิทธิฤทธิ์ใดๆ ความรู้พิเศษใดๆอีก ทั้งสิ้น เพราะจิตท่านอิ่มด้วยความสุข สงบ สบาย สว่างสดใส ไม่ต้องการอะไรอีกต่อไป เป็นความสุขยอดเยี่ยม ไม่สามารถบรรยายเป็นตัวหนังสือได้
     
  12. จิตบุญ ๑๐๗

    จิตบุญ ๑๐๗ Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 ธันวาคม 2012
    โพสต์:
    9
    ค่าพลัง:
    +65
    [​IMG]
    "นิพพานเป็นของว่าง ไม่มีตัวมีตน หาที่ตั้งไม่มี หาที่เปรียบไม่ได้ ปฏิบัติไปจึงจะรู้เอง"
    ๘. ผู้ที่ตรัสรู้แล้ว เขาไม่พูดหรอกว่า เขารู้อะไร เมื่อธรรมทั้งหลายได้ถูกถ่ายทอดไปแล้ว สิ่งที่เรียกว่า ธรรม จะเป็นธรรมไปได้อย่างไร สิ่งที่ว่า ไม่มีธรรม นั่นแหละมันเป็นธรรมของมันในตัว (ผู้รู้น่ะจริง แต่สิ่งที่รู้ทั้งหลายนั้นไม่จริง)

    เมื่อจิตว่างจาก "พฤติ" ต่างๆ แล้ว จิตก็จะถึง ความว่างที่แท้จริง ไม่มีอะไรให้สังเกตได้อีกต่อไป จึงทราบได้ว่าแท้ที่จริงแล้ว จิตนั้นไม่มีรูปร่าง มันรวมอยู่กับความว่าง ในความว่างนั้น ไม่มีขอบเขต ไม่มีประมาณ ซาบซึมอยู่ในสิ่งทุกๆ สิ่ง และจิตกับผู้รู้เป็นสิ่งเดียวกัน

    เมื่อจิตกับผู้รู้เป็นสิ่งเดียวกัน และเป็นความว่าง ก็ย่อมไม่มีอะไรที่จะให้อะไรหรือให้ใครรู้ถึง ไม่มีความเป็นอะไรจะไปรู้สภาวะของอะไร ไม่มีสภาวะของใครจะไปรู้ความมีความเป็นของอะไร

    เมื่อเจริญจิตจนเข้าถึงสภาวะเดิมแท้ของมันได้ดังนี้แล้ว "จิตเห็นจิตอย่างแจ่มแจ้ง" จิตก็จะอยู่เหนือสภาวะสมมุติบัญญัติทั้งปวง เหนือความมีความเป็นทั้งปวง มันอยู่เหนือคำพูด และพ้นไปจากการกล่าวอ้างใดๆ ทั้งสิ้น เป็นธรรมชาติอันบริสุทธิ์และสว่าง รวมกันเข้ากับความว่างอันบริสุทธิ์และสว่างของ จักรวาลเดิม เข้าเป็นหนึ่งเรียกว่า "นิพพาน"
     
  13. ไผ่มรกต

    ไผ่มรกต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 มิถุนายน 2012
    โพสต์:
    248
    ค่าพลัง:
    +1,896
    จิตสงบย่อมรู้รสพระนิพพาน

    ผู้ที่ทำจิต คนที่ทำจิตให้สงบ ได้ย่อมจะรู้จักรสของพระนิพพาน พระพุทธเจ้าตรัสว่า นิพพานนัง ปรมัง สุขขัง พระนิพพานเป็นสุขอย่างยิ่ง หรือว่าสุขอย่างยอดยิ่ง นี้ืคือยอดยิ่งกว่าสุขทั้งหลาย สุขมีกี่ประการ สุขมีกี่อย่าง สุขท่านตรัสไว้ ๓ อย่าง คือสุขอันเป็นสุขของมนุษย์ทั้งหลาย อย่างหนึ่ง เรียกว่ามนุษย์สมบัติ สุขหนือกว่ามนุษย์สมบัติ คือเป็นสุขแดนสวรรค์ หรือเมืองสวรรค์เรียกว่าสวรรค์สมบัติ สุขอย่างยอดเยี่ยม คือพระนิพพานสมบัติ จึงเป็นสุขเหนือกว่าสุขดังที่กล่าวมานี้ ในเมืองมนุษย์ ในเมืองสวรรค์ จะมีสุขสักเพียงใดก็หา เท่าเทียม หรือจะเปรียบเทียบสุข ในเมืองพระนิพพานได้ การทำจิตให้สงบ หรือเรียกพื้นๆว่าการทำใจให้สงบ ผู้ที่ทำใจให้สงบ ด้วยอำนาจสมาธิภาวนา ก็จะได้รับรสของความสุข ที่เรียกว่าสุขอย่างยอด หรือสุขคือพระนิพพาน สุขอย่างยอดหรือสุขในพระนิพพาน ปุถุชนทั้่งหลายหรือสามัญสัตว์ทั้งหลายเมื่อได้พบเห็น คือไม่รู้จักทุกข์ รู้จักแต่สุขอันอาศัยรูป อาศัยเพียงกลิ่น อาศัียรส อาศัยสัมผัส ที่เกิดทางตาทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย ทางการสัมผัสในใจ เรียกอีกอย่างหนึ่ง ว่าเป็นกามสุข คือสุขของโลก สุขของโลกคือเป็นสุขทั่วไป คือไม่ใช่สุขพระนิพพาน การได้อะไรๆในโลกนี้อันเป็นที่ความสมปราถนา การได้สิ่งนั้นๆ หรือการได้ถึงสิ่งนั้นๆ เป็นความสุขในโลก แต่การถึงสุขในพระนิพพาน พูดได้ยาก ก็ต้องทำจิต ทำใจให้สงบ ด้วยอำนาจสมาธิภานา แล้วก็ย่อมจะรู้รสสุขของพระนิพพาน ก็หมายความว่าผู้ใด ทำจิตให้สงบได้ ด้วยอำนาจสมาธิภาวนาผู้นั้นก็ถึงพระนิพพานนั้นเอง ดูเหมือนกับว่าการถึงพระนิพพพานนั้นมันเป็นสิ่งที่ไม่ยาก เหมือนกับว่าไม่ยาก แต่จะว่าง่ายมันก็ไม่ใช่ของง่าย ถ้าจะพูดอีกนัยหนึ่ง ดูเหมือนกับว่าไกลยิ่งกว่า ๘๔๐๐๐ โยชน์ที่จะถึงได้ แต่จะพูดอีกอย่างนัยหนึ่งก็คือว่าไม่ไกลกว่ามือเอื้อม ไม่ไกลกว่ายื่นมือเอื้อม คือหมายความว่า ยื่นมือเอื้อมยังไกลกว่าเสียอีก ก็เพราะฉะนั้นจึงพูดยาก จะว่าไกลก็เหมือนใก้ล ที่ว่าใกล้ ก็ดูเหมือนว่าหายากที่จะพบได้ เพราะฉะนั้นสุขชนิดนี้ จึงต้องทำเอง ให้มันเกิดขึ้นเอง จะถามเขาก็ไม่รู้ได้ จะเอามาตอบกัน ก็ตอบไม่ถูกเหมือนกับ เต่ากับปลา ที่เขาถามเขาตอบกัน ท่านผู้ฟังทั้งหลาย นี้ก็คือว่าคนที่ไม่เคยทำจิตให้สงบ ไม่ทำจิตให้สงบก็จะรู้ความสุข คือพระนิพพานอันเป็นที่สงบไม่ได้ ถึงจะถามหาอย่างไร ค้นหาอย่างไร เอาไปเทียบเคียงอย่างไร มันก็ไม่อาจที่จะ พบความสุขดังที่กล่าวนี้ได้ ความสุขที่กล่าวนี้ อันเป็นความสุขที่ยอดเยี่ยม คือสุขพระนิพพาน อยู่ที่ใจนี้เอง
     
  14. จิตบุญ ๑๐๗

    จิตบุญ ๑๐๗ Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 ธันวาคม 2012
    โพสต์:
    9
    ค่าพลัง:
    +65
    Phu Bodin
    ประมาณ 1 ชั่วโมงที่แล้ว

    https://fbcdn-sphotos-a-a.akamaihd.net/hphotos-ak-ash4/485450_274269252710169_453176317_n.jpg
    [Phu Bodin
    ประมาณ 1 ชั่วโมงที่แล้ว/IMG]
    [SIZE="6"][COLOR="Blue"][B]คนสองโลก นั่งส่องคนทางโลก

    คนสองโลก ก็หมายความว่า ตาเห็นโลก จิตเห็นธรรม นั่นเอง
    ส่วนนั่งส่องคนทางโลก นั่นก็หมายความว่า จิต(ว่าง)เห็นขันธ์๕ ตามความเป็นจริงทุกประการฯ

    สรุป จิตที่ว่างได้จริงๆนั้น ย่อมมองเห็นขันธ์๕ของตนอย่างทะลุปุโปร่งอยู่ก่อนแล้ว
    ต่อไป จึงจะมองเห็นคนทางโลกได้อย่างทะลุปุโปร่ง เช่นเดียวกัน

    ตานอก(ตาเนื้อ)ดูได้แค่สิ่งหยาบหรือสิ่งภายนอกเท่านั้นเอง
    แต่ตาใน(จิต)นั้นสามารถมองเห็นได้ทั้งสิ่งภายนอกและสิ่งภายใน รวมทั้งอดีตหรืออนาคต

    เพราะฉะนั้น ผู้ปฎิบัติธรรมทุกท่าน โดยเฉพาะผู้เข้าถึงธรรม
    คือผู้ที่รู้ซึ้งถึงรสพระธรรมของพระตถาคตนั้น ย่อมมองเห็นพระธรรมเป็นปัจจัตตัง
    นอกจาก รู้เห็นด้วยตนเอง ตอบคำถามตนเองได้แล้ว คือต้องคลายความสงสัยของตนเองก่อน
    ต่อไป เราจึงจะตอบคำถามธรรมะแทนพระตถาคตได้ เฉกเช่นเดียวกับเหล่าพระสงฆ์สาวกฯ
    โดยเฉพาะ เรื่องการเดินมรรค หรือการปฎิบัติธรรม

    การจะเป็นผู้ดู ผู้รู้ ด้วยใจเป็นกลางจริงๆได้นั้น เราจะต้องต้องละหรือหยุดจิตของตนก่อน
    คือ ทำอย่างไรก็ได้ ให้จิตของตนเองละหรือเลิกความอยากรู้ อยากเห็นของตนให้ได้ก่อน[/B][/COLOR][/SIZE]
     
  15. ไผ่มรกต

    ไผ่มรกต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 มิถุนายน 2012
    โพสต์:
    248
    ค่าพลัง:
    +1,896
    การปล่อยวาง หลวงปู่ไดโนเสาร์

    ปล่อยวาง ปล่อยวาง จงปล่อยวาง

    โยม ; หลวงปู่ครับ ทำไมไปที่ไหนๆ พระท่านก็สอนแต่ให้ปล่อยวาง ปล่อยวาง ถ้าทุกคนปล่อยวางหมด ถ้าอะไร อะไรก็ปล่อยวาง แล้วประเทศชาติจะพัฒนาเหรอครับ

    หลวงปู่ ; หือ คุณเข้าใจคำว่าปล่อยวางแค่ไหน

    โยม ; ก็.... ผมคิดว่าการปล่อยวาง คือการละทิ้งทุกอย่าง ไม่สนใจอะไรเลย ไม่ยึดไม่ติด เอาตัวเองรอดอย่างเดียว

    หลวงปู่ ; นั้นคุณกำลังยึดติด

    โยม ; อ้าว ผมยึดติดยังไงครับหลวงปู่ ก็ในเมื่อผมวางทุกอย่าง ไม่สนใจอะไร ไม่สนใจใคร

    หลวงปู่ ; นั้นหล่ะยึดติด ยึดติดในความคิดของคุณไง ยึดติดในความเห็นผิดไง การปล่อยวางแบบที่คุณว่าเป็นการปล่อยปละละเลย ไม่ใช่การปล่อยวาง บ้านสกปรก คุณไม่กวาดคุณก็บอกว่าปล่อยวาง ลูกทำตัวไม่ดีคุณก็ไม่ยอมบอกเตือน ไม่ยอมสอน คุณบอกว่าปล่อยวาง หนักๆเข้า อะไรมากระทบกายกระทบใจก็ปล่อยไป ปัญหาเข้ามาสุมหัวมากมาย ก็ไม่แก้ไข เพราะคุณปล่อยวาง แบบนี้ไม่เรียกปล่อยวาง เรียกว่าปล่อยปละละเลย ปล่อยวางอย่างนี้หลวงปู่ยังไม่เชื่อว่าคุณปล่อยวาง คุณขี้เกียจกวาดบ้านก็บอกว่าปล่อยวาง จะให้หลวงปู่เชื่อคุณต้องมานอนกลางลานดินอันนี้หลวงปู่ถึงจะเชื่อ แต่การปล่อยแบบคุณ มันจะมีแต่ปัญหา หลวงปู่จึงเรียกว่าการยึดติด ติดกับความคิดที่ผิดของคุณ เข้าใจนะ

    โยม ; ครับผมหลวงปู่ แต่ผมก็ยังไม่เข้าใจอยู่ดี คำว่าปล่อยวางกับปล่อยปละละเลยที่หลวงปู่ว่ามันต่างกันยังไง

    หลวงปู่ ; คุณเคยเห็นว่าวไหม ว่าวมันลอยอยู่บนฟ้าลอยไป ลอยมาอย่างอิสระ จะขึ้นจะลงก็อิสระ ที่ว่าวมันลอยอยู่ได้เพราะมีเชือกดึง ถ้าไม่มีเชือกว่าก็ลอยขึ้นฟ้าไม่ได้ เมื่อว่าวมันลอยขึ้นไปแล้วมันก็อาศัยเชือกยึดมันไว้ให้ลอยอยู่บนฟ้าได้ ถ้าว่าวขาดเชือก มันก็จะหลุดลอยตกลงมาบนพื้นดิน การปล่อยวางของคุณให้ทำให้ได้อย่างว่าว เอาความถูกต้องยึด ไม่ใช่ปล่อยไปตามความถูกใจ เอาความเหมาะสมยึดไม่ใช่ปล่อยไปตามความเหลวไหล เอาทางสายหลาย ความพอดียึด ไม่ใช่เอามิจฉาทิฏฐิ ความเห็นผิดยึด เอาศีลเอาธรรมยึด ยึดไว้แล้วปฏิบัติกายปฏิบัติใจดูแลรักษาสิ่งนั้นๆให้พอดี อย่าเอาใจไปเกาะจนทุกข์แต่อย่าละเลยจนขี้เกียจ อย่าเอาธรรมไปเข้าข้างตนเองในเมื่อตนขี้เกียจ ขี้เกียจกับปล่อยวางต่างกันฟ้ากับดิน ไม่ใช่ขี้เกียจแล้วอะไร อะไร ก็ปล่อยวางไปหมด เหมือนว่าวขาดเชือก สุดท้ายมันก็หล่นลงดิน ปล่อยวางได้แต่ต้องดูความเหมาะสมด้วย การเข้าใจการปล่อยวาง จะรักษากายของคุณให้ปลอดภัย รักษาใจของคุณให้เป็นสุข แต่ถ้าทำแล้วมันเกิดทุกข์ มันไม่ใช่การปล่อยวาง เข้าใจนะ

    [​IMG]
     
  16. ไผ่มรกต

    ไผ่มรกต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 มิถุนายน 2012
    โพสต์:
    248
    ค่าพลัง:
    +1,896
    การปราถนาพระนิพพานในชาตินี้

    [​IMG]
    การปราถนาพระนิพพานในชาตินี้

    นะโมตัสสะ ภัควะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุท ธัสสะ ฯ

    คนเรานี้ ย่อมมีความปรารถนาหลายอย่าง แต่ความปรารถนา ที่ดี หรือที่ควรปรารถนานั้น ก็มีอยู่ 3 อย่าง คือมนุษย์สมบัติ สวรรค์สมบัติ พระนิพพานสมบัติ การปรารถนาความดี คือมนุษย์สมบัติ สวรรค์สมบัติ พระนิพพานสมบัติ อันนี้เป็นความปราถนาที่ดี ทีนี้ก็มีบางคน พูดว่า ข้าพเจ้า ปรารถนานิพพานสมบัติปรารถนาจะให้สำเร็จ ถึงพระนิพพานในชาตินี้ ผู้ที่ปรารถนาหรือที่กล่าว นั้นเป็นใคร ก็คือ เป็นคนชาวบ้าน คนธรรมดาของเราดีๆนี้เอง ปรารถนานิพพานในชาตินี้ ท่านผู้ฟังทั้งหลาย อย่างนี้ก็นับว่าเป็นความปรารถนาที่ดี หรือที่ถูก เพราะความปรารถนาพระนิพพานนั้น คือเป็นความพ้นทุกข์ หรือถึงสุขอย่างยิ่ง คือบรมสุข การปรารถนาของท่านดังที่ได้กล่าวมาแล้วนี้นั้น ก็เป็นข้อที่น่าคิดอยู่ประการหนึ่งว่า ความปรารถนาของท่าน ทั้งๆที่เป็นฆราวาส ครองบ้าน ครองเรือนอยู่ แล้วก็ปรารถนาให้สำเร็จ ให้ถึงพระนิพพานสมบัติ ในชาติปัจจุบันนี้ จะสำเร็จได้อย่างไร หรือจะสำเร็จได้นั้น มันก็จะต้องทำเหตุให้ถึงพร้อม คือพร้อมด้วยเหตุอันจะถึงซึ่งนิพพานสมบัติ แต่เพียงปรารถนานิพพานสมบัติในชาตินี้ แต่ไม่ทำเหตุให้มันถึงพร้อม ท่านพระคุณเจ้าหลวงพ่อว่า มันเป็นไปไม่ได้ คือจะสำเร็จถึงพระนิพพานไม่ได้ ก็จะเปรียบเหมือนกับว่า ไม้ดิบ มันแช่อยู่ในน้ำ จะให้เอามาทำฟืนมาสีไฟ หรือเอามาก่อไฟ มันก็ติดไฟไม่ได้ ลุกเป็นไฟไม่ได้เพราะเป็นไม้ดิบ เมื่อเอาฟืนนั้นขึ้นมาจากน้ำ แต่ถ้าเป็นไม้แห้ง แล้วเอาออกจากน้ำ ก็มีโอกาส ที่จะเอามาสีไฟ หรือก่อไฟให้ติดได้ ฉันใดก็ดี ผู้ที่ครองบ้าน ครองเรือน อยู่กับโลกธรรม ก็เหมือนกับว่าเป็นไม้ อาจจะเป็นไม้แห้งก็ได้ แต่ว่าแช่เป็นไม้ชื้นอยู่ในน้ำ เอามาสีไฟ จะติดทันทีก็เป็นไปไม่ได้ ก็หาโอกาส ให้มันตากลม ตากแดดให้มันแห้ง เมื่อสมควรจึงจะสีไฟติด ขึ้นมาได้ ฉันใดก็ดี ผู้ครองเรือน อยู่ด้วยเย้า อยู่ด้วยเรือน การครองเรือน มีการทำมาหากิน มีการรักษาสมบัติ บ้านเรือนหวงแหน มีการถือว่าไอ้นั่นของกู ไอ้นี่ก็ของกู สิ่งเหล่านี้ มันก็เหมือนกับน้ำชุ่ม อยู่ด้วยน้ำเหมือนกับน้ำชุ่ม หรือยางที่อยู่ติดไม้ ก็คือกิเลส อันว่าของกู หรือตัวกู สิ่งเหล่านี้นั้นนะ มันตรงกันข้ามกับพระนิพพาน ก็เพราะฉะนั้น การจะทำให้ถึงพร้อม ซึ่งพระนิพพานในชาติปัจจุบันนั้น ก็ทำให้ถึงพร้อมปัจจุบันเสียก่อน ด้วยการสลัด สลัดก็คือ สละทุกสิ่งทุกอย่าง ทรัพย์สินเงินทอง ทรัพย์สมบัติ ไร่นาสาโท ทุกอย่างที่เขาหวงแหนกัน แล้วก็ถือบวช กระทำในใจหรือถือเพศพรหมจรรย์ อันนี้ก็เรียกว่าเป็นมูลฐาน อันที่จะทำให้แจ้ง ในชาติปัจจุบันได้ แต่ถ้ายังเป็นเพศครองเรือนอยู่ ดังที่ได้กล่าวมาข้างต้น ก็ย่อมจะเป็นไปได้ยาก อันที่จะเข้าถึงซึ่งพระนิพพานในชาติปัจจุบันนี้ ว่าเป็นไปไม่ได้นั่นเอง แต่ถ้าทำเหตุให้มันเป็นไปตามขั้นตอน ก็จะสำเร็จได้ ถึงไม่สำเร็จในชาตินี้ ก็จะสำเร็จในชาติหน้า คือได้ ถึงพระนิพพานในชาติหน้าได้ ขั้นตอนหรือมูลฐาน หรือเหตุให้ถึงพร้อม เบื้องต้น หมายถึง เหตุดังที่พระคุณเจ้ากล่าวมาแล้วข้างต้น เช่นต้องการพระนิพพานในชาติปัจจุบัน ถือเพศออกบวช นุ่งขาว ห่มเหลือง หรือไม่เอาอะไรทั้งหมด ปล่อยวางการยึดถือแล้วก็ปฏิบัติ มุ่งไปสู่พระนิพพาน ทำลาย โลภะ โทสะ โมหะ เจริญสมถะวิปัสสนากรรรมฐานไป ก็จะสำเร็จในชาติปัจจุบันเรา อันนี้เป็นมูลฐาน หรือการถึงพร้อมเบื้องต้น แต่ถ้าปรารถนาพระนิพพาน แต่ว่าไม่ได้ปราถนาให้สำเร็จ ในชาตินี้ มูลฐานเบื้องต้น หรือการถึงพร้อมเบื้องต้น เพียงแค่ ศีล ๕ อยู่บ้านครองเรือน อันนี้ก็เป็นเหตุให้ถึงพระนิพพานในชาติหน้า ได้อย่างแน่นอน ถึงไม่ถึงพระนิพพานในชาติหน้า มันก็เป็นมูลเหตุให้เกิดในโลกสวรรค์ โลกทิพย์ โลกอันมีความสุข หลังจากที่ตายในชาตินี้ไปแล้ว มูลฐานเบื้องต้น ที่ท่านพระคุณเจ้ากล่าว คือ ศีล๕ นี้นั้น อันนี้เป็นมูลฐานทั่วๆไป คือให้ได้สำเร็จ คือมนุษย์สมบัติ สวรรค์สมบัติ และพระนิพพานสมบัติ แต่จะเมื่อใดนั้น มันก็แล้วแต่โอกาส หรือกาลเวลาที่จะมาถึง ถึงจะเป็นคนที่มืดมาก่อน เป็นคนที่ชั่วมาก่อน เป็นคนไม่ดีมาก่อน เป็นคนร้ายมาก่อน เป็นโจรมาก่อน เป็นคนฆ่าคนมาก่อน แต่เมื่อมามี ศีล๕ มาสำนึกตน และได้เอาถือ ศีล ๕ เป็นมูลฐาน หรือเป็นทางถึงพร้อมเบื้องต้น ก็จะเป็นเหตุให้ ได้สิ้นอบายภูมินรก ไม่ต้องไปนรก ไม่ต้องไปอบาย เพราะศีล ๕ หรือมูลฐานเบื้องต้นนั้น มีผล ๒ อย่าง คือผลขั้นแรก ไม่ต้องไปตกในอบาย ผลขั้นลำดับต่อมา คือให้เกิดในแดนสวรรค์ หรือสุคติ ผลต่อไปคือให้เข้าถึงพระนิพพาน อันนี้คือเป็นสมบัติ สุดท้าย พระนิพพานเป็นสมบัติสุดท้าย
    [​IMG]
     
  17. ไผ่มรกต

    ไผ่มรกต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 มิถุนายน 2012
    โพสต์:
    248
    ค่าพลัง:
    +1,896
    [​IMG]
    พระพุทธเจ้ามีจริงหรือไม่ ข้อที่ว่าพระพุทธเจ้ามีจริงหรือไม่ อันนี้ก็จะไม่มีใครจะสงสัย แต่เป็นพระพุทธเจ้าที่มีมาแล้วในอดีต ก็คือที่มีมาแล้วในอดีต เป็นเวลาล่วงมา 2000 กว่าปี จนถึงปัจจุบันนี้ 2542 ปี นั่นเราเชื่อกัน แน่นอนว่า คือองค์พระสัมมาสัมมาพุทธเจ้า ได้ตรัสรู้มาแล้ว คือเป็นเจ้าแห่งพระพุทธศาสนา เราไม่สงสัยว่าไม่มี พระสงฆ์สาวกก็เป็นผู้ที่สืบ พระพุทธศาสนาของพระพุทธองค์มา จนตราบเท่าเราทั้งหลาย ได้เข้ามาบวช มาเรียนศึกษาใน พระพุทธศาสนา ถือเป็นสิ่งสำคัญในทุกวันนี้ ก็คือพระพุทธเจ้าพระองค์นั้น แสดงว่าพระพุทธเจ้าพระองค์นั้น พระโคดมองค์นั้น ก็ได้เสด็จดับขันธ์พระปรินิพพานไปแล้ว ในเมื่อพุทธศก 80 ปี ท่านผู้ฟังทั้งหลาย เมื่อพระพุทธเจ้าทรงเสด็จดับขันธ์พระปรินิพพานไปแล้ว ส่วนมาก ก็เข้าใจกันว่า ดับขันธ์พระปรินิพพานแล้ว ก็สูญไปแล้ว ก็คงทิ้งไว้แต่ชื่อ ๆ ตัวจริงไม่มีแล้ว หรือที่ว่า พุทธะ พุทธะ นั้นไม่มีแล้ว อันนี้ก็เป็นความเข้าใจเผินๆ หรือเปลือกๆ ของเราท่านทั้งหลาย หรือคนทั่วๆไป เหมือนกับหนึ่งว่า คนที่ตายไปแล้ว จะมีแต่ที่ไหน ก็จะมีแต่เพียงชื่อเท่านั้น ศรัทราญาติโยมท่านผู้ฟังทั้งหลาย หามีแต่เพียงชื่อไม่ พระพุทธเจ้าที่เป็นจริง ที่ตรัสรู้ ใต้ต้นสลีมหาโพธิ์นั้น คือพระพุทธเจ้าตัวจริง แต่พระพุทธเจ้าที่ คลอดออกมาจาก พระครรภ์ของพระนางศิริมหามายานั้นเป็น พระพุทธเจ้าตัวเปลือกนอก พระพุทธเจ้าตัวเปลือกนอก เสด็จดับขันธ์พระปรินิพพานไปแล้ว เขาเผาแล้ว ก็เหลือไว้แต่พระอัฐธิ หรือที่เรียกกันว่าบรมสารีริกธาตุ ศรัทราญาติโยมท่านผู้ฟังทั้งหลาย พระพุทธเจ้าตัวจริง ที่ตรัสรู้ใต้ต้นสลีมหาโพธ์ คือโพธิญาณ ได้บังเกิดขึ้นแก่พระองค์ ซึ่งเรียกว่าพุทธุปาโด พระพุทธุปาโดคือ พระพุทธเจ้าเกิดขึ้น ที่ใต้ต้นสลีมหาโพธ์ คือตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธะ ที่ตรัสรู้ใต้ต้นสลีมหาโพธิ์ อันนี้ใครแลไม่เห็น คนทั้งหลายไม่มีใครเห็นก็จะเห็นแต่พระพุทธเจ้าอันเป็นตัวเปลือก คือตัวเปลือกนอก ก็จากที่พระพุทธเจ้าได้ตรัสรู้ใต้ต้นศรีมหาโพธิ์นั้น มองไม่เห็น อันนี้คือเป็นพระพุทธเจ้าตัวจริง พระพุทธเจ้าจริงเมื่อเกิดขึ้นแล้ว ก็ไม่ได้ดับไปไหน เรียกว่าไม่ตาย ทรงเป็นพระอมตะคือไม่ตาย ไม่เกิด ไม่แก่ ไม่เจ็บ ไม่ไข้ ก็แม้พระพุทธเจ้าที่ว่านี้ เกิดทีหลังนี้ คือเกิดแล้ว ไม่แก่ ไม่เจ็บ ไม่ตาย คือเกิดแล้วบรรลุถึงพระนิพพาน อันนี้ยังดำรงอยู่ คือยังมีอยู่ จะพูดง่ายๆว่า กายนั้นตายไปแล้ว แต่ใจนั้นยังไม่ตาย กายนั้นตายไปแล้ว ไม่มีแล้ว แต่ใจนั้นไม่ตายใจนั้นยังมีอยู่ ก็คือหัวใจยังมีอยู่ ศรัทราญาติโยมท่านผู้ฟังทั้งหลาย ก็หัวใจยังมีอยู่ ยังไม่มีวันตาย อยู่ที่ไหน ก็เมื่อมีอยู่แล้ว อยู่ที่ไหน ศรัทราญาติโยมท่านผู้ฟังทั้งหลาย ก็จะขอตอบเพียงง่ายๆ ก็คืออยู่ในที่ ทั่วๆไปนี้แหละ คืออยู่ในอากาศนี้แหละ อากาศมีอยู่ในที่ใด พระพุทธเจ้าก็มีอยู่ในที่นั้น คือไม่สูญ ก็เมื่อพระพุทธเจ้ามีอยู่ไม่สูญดังนี้ จึงพูดได้ว่า แม้ปัจจุบันนี้ พระพุทธเจ้าก็มีอยู่ ครอบงำ สัตว์ทั้งหลายอยู่ทุกเมื่อ คุมอยู่ในที่ทุกแห่ง แต่ไม่เห็นเท่านั้นเอง เรายกมือไหว้พระยกมือกราบไหว้ พระพุทธเจ้า แต่เราไม่เห็นตัว แต่แม้กระนั้นพระพุทธเจ้าก็เห็นเราอยู่ เรามองไม่เห็นตัวพระพุทธเจ้า แต่พระพุทธเจ้าก็เห็นเราอยู่ บางทีเรายกมือ ไหว้พระพุทธเจ้า แต่เราไม่ได้นึกถึงพระพุทธเจ้า ยกมือเพียงสักแต่ว่าไหว้ เหมือนกับว่า ไม่มีผลอะไร เท่ากับว่าการไหว้ของเรานั้น ก็อยู่ด้านนอก ไม่ได้ไหว้พระพุทธเจ้า เพียงแต่ยกมือพนม ขึ้นเท่านั้น แต่หากว่าเรายกมือพนมไหว้ แต่จิตใจของเราน้อมถึงพระพุทธเจ้า นั่นคือการไหว้ ของเราไปถึงพระพุทธเจ้าแล้ว พระพุทธเจ้าได้ทรงรับไหว้ของเราแล้ว ได้รับการบูชาของเราแล้ว ก็เป็นอันว่า การกระทำอันเป็นบุญ ที่เราท่านทั้งหลาย กระทำนั้น ย่อมมีผล คือย่อมปรากฏออกมา เป็นของจริง คือเป็นอานิสงค์ หรือเป็นผลในทางที่ดี จริงอย่างแน่นอน คือไม่สูญเปล่า ฉะนั้นการสักการะบูชา หรือการบูชาของเราท่านทั้งหลาย ที่สวดมนต์ เช้า ค่ำ ทุกวันนี้ ทำด้วยจิตใจอันนอบน้อม ด้วยจิต ด้วยใจ ของเราแล้ว ผลบุญ ก็ย่อมมีอยู่เสมอ ไม่ใช่ไหว้เปล่า เหมือนกับที่ว่า ตะกี้ เพียงยกมือไหว้แล้ว ก็ไม่รู้ว่าไหว้อะไร ไหว้ของสูญ คิดว่าเป็นอย่างนั้น คิดว่าพระพุทธเจ้าไม่มีแล้ว เพียงสักแต่ว่าทำ ก็เป็นอันว่า พระพุทธเจ้านั้นน่ะ เหมือนกับที่กล่าวข้างต้น มีอยู่ทุกแห่ง ที่บ้านของเราก็มี ที่วัดก็มี ที่สำนักใดๆมี ตามทุ่งตามนา ตามป่าตามน้ำ ตามเขา ตามดอยก็มี เราไหว้ได้เสมอ ถ้ายังไม่เชื่อแน่ ก็ขอไหว้พระบรมสารีริกธาตุไปก่อนก็ได้ พระบรมสารีริกธาตุ ก็เป็นตัวแทนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เป็นรูปธรรม รูปธาตุ
    อันนั้นเห็นได้ด้วยตา ไหว้อันนั้นก็ได้บุญเหมือนกัน แต่เท่าที่กล่าวนี้ คือกล่าวด้วย กาย จริงของพระพุทธเจ้า คือหัวใจของพระพุทธเจ้า นั้นมีอยู่ในที่ทั่วไป ทีนี้ก็มาพูดถึงว่า พระพุทธเจ้ามี เป็นเครื่องรับ สักการะบูชาของเราท่านทั้งหลาย

    [​IMG]
    http://www.maisakthai.com/arsom/images/7dsc01085.jpg
    http://www.maisakthai.com/arsom/images/60508.jpg
     
  18. จิตบุญ ๑๐๗

    จิตบุญ ๑๐๗ Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 ธันวาคม 2012
    โพสต์:
    9
    ค่าพลัง:
    +65
    ขอถวายบุญกุศลทั้งปวง แด่เจ้าพระคุณสมเด็จพระสังฆราชฯ

    [​IMG]
    [​IMG]
    ขอถวายบุญกุศลทั้งปวง ที่บำเพ็ญมาตั้งแต่อดีตชาติ จนถึงปัจจุบันนี้

    แด่เจ้าพระคุณสมเด็จพระญาณสังวรฯสมเด็จพระสังฆราชเจ้าฯ ขอรวมกุศลทุกๆอย่าง เป็นแสงสว่างใสบริสุทธิ์ น้อมถวายแห่งพระองค์ท่าน

    ให้ยิ่งสว่างไสวผ่องแผ้วขึ้นไป สิ่งใดที่เคยล่วงเกิน ทางกาย วาจา ใจที่มิอาจล่วงรู้หรือทั้งที่รู้ตัว ข้าพเจ้ากราบขอขมากรรมทั้งหมด

    และขออนุโมทนากุศลทุกอย่างที่พระองค์ทรงปฎิบัติมา และดำเนินอยู่ต่อไป ไม่ว่าจะอยู่ในภพภูมิใด ตั้งแต่บัดนี้ขอพระรัตนตรัย โปรดชี้นำ

    และเปิดทางสว่าง ให้ข้าพเจ้าได้เห็นธรรม ที่พระองค์ท่านได้เห็นแล้วตามธรรมที่พร่ำสอน เพื่อให้สมกับเป็นผู้เดินตามรอยธรรม ของพระผู้ประเสริฐ

    และงดงามพระองค์นี้ด้วยเทอญ..


    [​IMG]


    https://www.youtube.com/watch?v=xYAQWfjmRMw&feature=youtube_gdata_player
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

แชร์หน้านี้

Loading...