พระคาถาไจยะเบ็งชร ปฐมบทชินบัญชร(ล้านนา)

ในห้อง 'สมเด็จโต พรหมรังสี' ตั้งกระทู้โดย joni_buddhist, 11 ตุลาคม 2013.

  1. joni_buddhist

    joni_buddhist Legal returns ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 กันยายน 2005
    โพสต์:
    13,555
    กระทู้เรื่องเด่น:
    203
    ค่าพลัง:
    +63,440
    พระคาถาไจยะเบ็งชร ปฐมบทชินบัญชร(ล้านนา)
    [​IMG]
    ชะยาะสะนา กะตา พุทธา เชตตะวามารัง สะวาหะนัง จะตุสัจจังมะตะ ระสัง เยปิวิงสุ นะราสะภา
    ตัณหังกะราทะโย พุทธา อัฏฐะวีสะติ นายะกา สัพเพ ปะติฏฐิตา มัยหัง มัตถะเก มุนิสสะรา
    สีเส ปะติฏฐิโต มัยหัง พุทโธ ธัมโม ทะวิโลจะเน สังโฆ ปะติฏฐิโต มัยหัง อุเร สัพพะคุณากะโร
    หะทะเย เม อะนุรุทโธ สารีปุตโต จะทักขิเณ โกณฑัญโญ ปิฏฐิภาคัสมิง โมคคัลลาโน จะวามะเก
    ทักขิเณ สะวะเน มัยหัง อาสุง อานันทะราหุลากัสสะโป จะ มะหานาโม อุภาสุง วามะโสตะเก เกสันเต ปิฏฐิภาคัสมิง สุริโย วะ ปะภังกะโร นิสินโน สิริสัมปันโน โสภิโต มุนิปุงคะโว
    กุมาระกัสสะโป เถโร มะเหสี จิตตะวาทะโก โส มัยหัง วะทะเนนิจจัง ปะติฏฐาสิ คุณากะโร
    ปุณโณ อังคุลิมาโลจะ อุปาลี นันทะสีวะลี อิเม ปัญจะ มหาเถรา นะลาเฏ ตีละกา มะมะ
    เสสาสีติ มะหาเถรา ชิตะวันตา ชิโนระสา ชะลันตา สีละเต เชนะ อังคะมังเคสุ สัณฐิตา
    ระตะนัง ปุระโต อาสิ ทักขิเณ เมตตะสุตตะ กัง ธะชัคคัง ปัจฉะโต อาสิ วาเม อังคุลิมาละกัง
    ขันธะโมระปะริตตัญจะ อาฏานาฏิยะสุตตะกัง อากาเส ฉะทะนัง อาสิ เสสา ปาการะสัณฐิตา
    ชินนานัง พะละสังยุตเต ธัมมะปาการะลังกะเต วะสะโต เมสะกัจเจนะ สัมมาสัมพุทธะปัญชะเรวาตะปิตตา ทิสะชาตา พาหิรัชฌัตตุปัททะวา อะเสสา วินะยัง ยันตุ อะนันตะชินะเตชะสา
    ชินะปัญชะระมัชฌัมหิ วิหะรันตัง มะฮีตะเล สะทา ปาเลนตุ มัง สัพเพ เตมะหาปุริสาสะภา
    อิจเจวะเม กะโตรักโข สุรักโข พุทธานุภาเวนะ ชิตุปัททะโว ธัมมานุภาเวนะ ชิตาริสังโค สังฆานุภาเวนะ
    ชิตันตะราโย จะรามิ ธัมมานุภาวะปาลิโตติ
    (ชะยะปัญชะระปัณณะระสะคาถานิฏฐิตา)
    ตำนานประวัติความเป็นมา

    คาถาชินบัญชรเกิดขึ้นที่ประเทศลังกา ตามประวัตินิทานในใบลานกล่าวไว้ว่า มีพระราชาของลังกาพระองค์หนึ่ง ทรงมีโอรสกับพระมเหสี จึงเป็นที่ปลาบปลื้มพระทัยของพระองค์ยิ่งนัก หลังจากนั้นจึงให้หมอโหรทายทักดวงชะตาของพระโอรส หมอโหรได้ตรวจดูดวงชะตาราศีแล้วทายทักว่า เมื่อพระโอรสมีพระชนมายุได้ 7 ปีกับอีก 7 เดือน จะถูกฟ้าผ่าถึงแก่สวรรคต ในตอนแรกพระราชาก็คงไม่ทรงเชื่อมากนัก อยู่ต่อมาจนกระทั่งอายุของพระโอรสได้ 7 ปีกว่าๆ แต่ยังไม่ถึงกว่า 7 เดือน พระโอรสกำลังน่ารัก พระองค์จึงเกิดการปริวิตกพระทัย คิดว่าถ้าเกิดเหตุจริงตามที่หมอโหรได้ทายไว้ จะเสียพระโอรสไป จึงได้ทรงปรึกษาข้อปริวิตกเรื่องนี้แก่พระสงฆ์เถระในลังกา เพื่อหาทางหลีกเลี่ยงภัยอันจะเกิดขึ้นแก่ราชโอรส พระเถระชาวลังกาจำนวน 14 รูป จึงได้ประชุมตกลงกันจะประกอบพิธีขึ้นที่ปราสาทของกษัตริย์ลังกาชั้นที่ 7 โดยพระสงฆ์ทั้ง 14 รูปได้แบ่งหน้าที่กัน โดยให้แต่ละรูปแต่งคาถาขึ้นรูปละ 1 บท และที่สำหรับแต่งคาถานั้นอยู่ใกล้กับป่องบัญชร คาถานั้นจึงได้ชื่อว่า ชัยบัญชร เมื่อแต่งคาถาเสร็จแล้วมีจำนวน 14 บท จึงให้พระราชาบูชาด้วยอามิสต่างๆ เช่นอาสนะ ฉัตร พัด ช่อ ธง เทียนธูป ประทีป ข้าวตอกดอกไม้เป็นต้น แล้วให้พระโอรสเรียนเอาคาถานั้นท่องบ่นทุกวัน
    เมื่อถึงกำหนดวันที่โหรได้ทำนายไว้ คืออายุพระโอรสครบ 7 ปี กับ 7 เดือน ฟ้าได้ผ่าลงมาจริง แต่ไม่ถูกพระโอรส แต่ผ่าถูกหินก้อน 1 อยู่ทางทิศตะวันตกเมืองลังกา พระโอรสจึงได้แคล้วคลาดจากภัยในครั้งนั้น เชื่อว่าเป็นเพราะพระโอรสได้ท่องบ่นคาถาที่พระสงฆ์ทั้ง 14 รูปแต่งขึ้นนั้นเอง และนอกจากนั้นยังทำให้พระโอรสมีอายุยืนยาวได้สืบต่อราชสมบัติแทนพระราชบิดา ปกครองบ้านเมืองด้วยความผาสุกจนสิ้นอายุขัย
    นำคาถาชินบัญชรจากลังกาเข้ามาในล้านนา
    เมื่อราว พ.ศ.1981 / A.D.1438 มีพระมหาเถรองค์ 1 ชื่อ ชัยมังคละ อยู่วัดมหาธาตุ
    เมืองหริภุญไชย (ปัจจุบันวัดพระธาตุหริภุญไชย) เป็นผู้อุปัฏฐากองค์พระธาตุ ได้เดินทางไปไหว้พระทันตธาตุที่เมืองลังกา และได้เสาะแสวงหามนต์ศาสตรศิลป์กับครูบานักปราชญ์ชาวลังกา นักปราชญ์ชาวลังกาจึงได้มอบคาถา 14 บท พร้อมทั้งวิธีการใช้ให้แก่มหาเถรชัยมังคละ มหาเถรชัยมังคละจึงคัดลอกคาถานั้นลงใบลาน เมื่อเสร็จแล้วพระมหาเถรจึงเดินทางกลับเมืองหริภุญไชย ต่อมาพระมหาเถรจึงได้เขียนคาถา 14 บทที่คัดลอกจากเมืองลังกาถวายแด่พญาติโลกราช กษัตริย์เมืองเชียงใหม่ เพื่อใช้สวดก่อนนอน จึงทำให้พญาติโลกราชอยู่ด้วยความสุขความเจริญ ปราบชนะข้าศึกทั้งปวง และมีอายุยืนยาว ได้สร้างและบูรณะวัดวาอารามในศาสนา เช่นพระธาตุหริภุญไชย เป็นต้น เสนาอามาตย์ และข้าทาสบริวาร ไพร่ฟ้าประชาชนทั่วไปจึงพากันเรียนเอาคาถา 14 บทนั้นไว้ท่องบ่นสักการะบูชา จึงทำให้ชาวบ้านชาวเมืองมีความสุขความเจริญโดยทั่วหน้ากันสมเด็จพระญาณสังวรได้ทรงค้นคว้าเรื่องประวัติความเป็นมาของคาถาชินบัญชรใ เป็นเหตุให้ได้ความรู้เกี่ยวกับคาถาชินบัญชร ตามที่เชื่อถือกันอยู่ในทางเมืองเหนือเพิ่มขึ้นอีกหลายประการ จากท่านผู้รู้ทั้งฝ่ายบรรพชิตและคฤหัสถ์ของเมืองเหนือสรุปความได้ดังนี้
    ๑. คาถานี้เป็นที่รู้จักกันแพร่หลายทั่วไปในหมู่ประชาชนทางเมืองเหนือมาแต่โบราณ ทั้งภิกษุสามเณรและชาวบ้านนิยมสวดกันทั่วไป และรู้จักกันในนามว่า “สูตรเชยยเบงชร” หรือออกเสียงตามสำเนียงพื้นเมืองว่า “ไจยะเบงจร” แต่ที่จดจารึกไว้ในใบลานบ้านบันทึกไว้ในสมุดไทยบ้าง ด้วยอักษรล้านนา เท่าที่สำรวจพบแล้วขณะนี้นั้น เรียกชื่อต่างๆ กันเป็นหลายอย่างคือ เชยยเบงชร ชัยเบ็ญชร ไจยะเบงชร ชยา และมีฉบับปรากฏอยู่ทั่วไปนับจำนวนพัน
    ๒. ความเชื่อเกี่ยวกับคาถาชินบัญชรของชาวเมืองเหนือนั้น เป็นไปอย่างกว้างขวาง กล่าวคือ ใช้สวดสืบชะตา ขึ้นบ้านใหม่ ขึ้นธาตุ ขึ้นถ้ำ สวดขอฝน นอกจากนี้ยังนิยมเอาบางตอนของคาถานี้ (คือคาถาที่๑๐, ๑๑, ๑๒) มาเขียนย่อเป็นยันต์ลงในแผ่นกระดาษหรือแผ่นผ้าขนาดสี่เหลี่ยมสำหรับติดที่ปลายเสาดั้งของบ้านเรือน โบสถ์ วิหาร เพื่อป้องกันฟ้าผ่า ไฟไหม้ เรียกว่า “ยันต์เทียนหัวเสา” บ้าง “ยันต์เสาดั้ง” บ้าง “ยันต์ฟ้าฟีก” บ้าง ๓. หลักฐานเกี่ยวกับคาถานี้ มีจดจารึกไว้ด้วยอักษรล้านนาเท่าที่ค้นพบในขณะนี้มี ๒ ลักษณะคือ จารไว้ในใบลานหรือสมุดไทย (สมุดข่อย) ที่ชาวล้านนาเรียกว่า ปั๊บ (พับ) เป็นเอกเทศบ้าง เขียนไว้ในปั๊บสา (สมุดกระดาษสา) หรือปั๊บสูตร (หนังสือสวดมนต์ที่ทำด้วยกระดาษสา) รวมกับสูตรอื่นๆ ทั่วไป บางที่จารหรือเขียนไว้เป็นเอกเทศนั้นมีน้อย เท่าที่สำรวจพบแล้วโดยสถาบันวิจัยสังคม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ในจังหวัดเชียงใหม่และลำปางมีเพียง ๕ ฉบับ ที่พบมากที่สุดนั้นเขียนไว้ในปั๊บสา (คือหนังสือรวมสวดมนต์แบบสมุดข่อย) บางฉบับมีคำแปลเป็นไทยไว้ด้วย บางฉบับก็ไม่มีคำแปล บางฉบับมีวันเดือนปีที่จารหรือจารึกไว้ด้วย เท่าที่สำรวจพบในขณะนี้ ฉบับที่มีอายุเก่าที่สุดคือฉบับของวัดชัยมงคลเวียงใต้ จังหวัดน่าน จารในใบลานรวมกันหลายสูตร เมื่อ พ.ศ.๒๔๐๔ (จ.ศ.๑๒๒๓)
    ๔. เกี่ยวกับประวัติความเป็นมานั้น ยังไม่พบหลักฐานแน่ชัด คาถาชินบัญชรฉบับอักษรล้านนาบางฉบับเท่าที่ค้นพบแล้วมีบอกประวัติของคาถานี้ไว้ด้วย เช่นฉบับวัดชัยมงคลเวียงใต้ จังหวัดน่าน บอกว่า “เป็นคาถาของพระมหาพุทธโฆสเถระเจ้าเมื่อคราวลงไปค้นเอาพระธรรมที่:pบ (หรือตู้) หลวง เมืองลังกา (บนั้น) ท่านติดกุญแจไว้ ๗ ชั้น เพื่อไม่ให้ใครไขได้ พระมหาพุทธโฆสเถระเจ้าสวดพระคาถา ๒๙ บทนี้ พร้อมกับเดินพนมมือประทักษิณ:pบพระธรรมของหลวงนั้น ๓ รอบ กุญแจ ๗ ชั้นนั้นก็หลุดออกหมด ท่านจึงได้เอาพระธรรมออกมาเขียนได้ทั้งหมด สร้างขึ้นไว้ในชมพูทวีปเรานี้แล” ผู้รู้บางท่านกล่าวว่า คาถานี้แต่งขึ้นในลังกา โดยพระอรหันต์ ๘ รูป เพื่อถวายแก่มกุฎราชกุมารของลังกา ซึ่งถูกทำนายว่าจะถูกฟ้าผ่า (แต่ยังหาหลักฐานไม่พบ) บางท่านกล่าวว่า ในตำนานสืบชาตาของเชียงใหม่ ซึ่งมีมาแต่ครั้งพระเมืองแก้ว (ครองราชย์ระหว่างพ.ศ.๒๐๓๘-๒๐๖๘) มีกล่าวถึง ไจยะเบงจร ซึ่งพระจะต้องสวดรวมกับสูตรอื่นๆ ด้วย อันเป็นสิ่งแสดงให้เห็นว่า คาถาชินบัญชรนี้ได้มีมาในเชียงใหม่เกือบ ๕๐๐ ปีแล้ว จากข้อมูลต่างๆ ดังกล่าวมาแล้ว ผู้รู้บางท่านของเชียงใหม่จึงสรุปว่า คาถาชินบัญชรนี้แต่งขึ้นที่ลังกา แล้วไทยเรารับเอามาอีกทีหนึ่ง บางท่านสรุปว่า แต่งขึ้นที่เชียงใหม่ ในสมัยพระเจ้าติโลกราชมหาราช รัชกาลที่ ๑๑ แห่งเชียงใหม่ บางท่านสรุปว่าแต่งขึ้นที่เชียงใหม่ โดยพระสีลวังสะ (หรือศีลวงศ์) ผู้แต่งคาถาอุปปาตสันติ ซึ่งมีลีลาและความหมายคล้ายกับคาถาชินบัญชร แต่ทั้งนี้ก็โดยสันนิษฐาน เพราะยังไม่พบหลักฐานที่แน่ชัด
    ๕. ในทางเมืองเหนือถือกันว่า บทว่า “รตนํ ปุรโต อาสิ” ของคาถาชินบัญชรนั้น เป็นหัวใจของคาถาชินบัญชร ถือกันในทางไสยศาสตร์ว่าขลังนัก เรียกกันว่า “คาถาตาลหิ้น” เพราะอยู่ยงคงกระพันถึงขนาดยิงจนยอดตาลหิ้น (น) ก็ไม่เป็นอันตราย
    สำหรับคำอ่านไจยะเบงชรหรือชินบัญชรล้านนานี้ ข้าพเจ้าภูชิชย์ สุรรัตน์ได้รับถ่ายทอดคำอ่านมาจากท่านพระครูใบฏีกาหล้า อมรเมโธ วัดพระสิงห์ราชวรวิหาร เชียงใหม่
    หมายเหตุในพระคาถาตัวแดงคือคาถาชินบัญชรล้านนาที่แตกต่างกับฉบับสมเด็จพระพุฒาจารย์โต ครับ
    ที่มา พระคาถาปฐมชินบัญชรล้านนา(ไจยะเบ็งชรชินบัญชรล้านนา)


     
  2. กิ่งสน

    กิ่งสน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 เมษายน 2012
    โพสต์:
    1,068
    ค่าพลัง:
    +2,327
    ดูในยูทูปไม่มีสวดคำเมืองให้ฟังเลย ผู้ใดมีหรือเคยสวด ขอลงไฟล์ให้หน่อย ขออนุโมทนาบุญล่วงหน้าจ๊ะ
     

แชร์หน้านี้

Loading...