จะเริ่มฝึก สติปัฏฐาน4 แต่ยังไม่รู้เริ่มยังไงดี

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย Sir-Pai, 2 กันยายน 2013.

  1. montrik

    montrik แดง แดนอุทัย สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 มกราคม 2008
    โพสต์:
    10,129
    กระทู้เรื่องเด่น:
    74
    ค่าพลัง:
    +12,087
    หาเวลาไปปฎิบัติที่วัดอัมพวัน สัก 3 วัน 7 วันจะดีมากครับ มีครูบาอาจารย์คอยแนะนำ ไม่หลงทาง คิดเอง
     
  2. อินทรบุตร

    อินทรบุตร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มิถุนายน 2012
    โพสต์:
    2,511
    ค่าพลัง:
    +7,320

    เรื่องนี้ ธรรมภูตอย่าแสดงความเห็นเลย มันเกินภูมิของธรรมภูตไปมาก

    สภาวะที่กล่าวถึงนี้ ไม่ใช่เรื่องของความคิด หรือสัญญา แต่เป็นความชำนาญ หรือ วสี ในการกำหนดขอบเขตในการรับสภาวะ ของจิต

    จิตที่มีกำลังพร้อม ทั้งสติ และ สมาธิ สามารถเลือกได้ ว่าจะเข้าไปสนใจสภาวะใด และไม่สนใจสภาวะใด

    เหมือนกับที่คนเราหายใจอยู่ทุกวินาที แต่ปกติเราไม่ค่อยจะรับรู้การหายใจ เพราะว่าจิตมันถูกดึงไปสนใจเรื่องอื่นๆ

    หรืออีกอย่างก็เหมือนการเข้าฌานลึกๆ ที่ร่างกายหาย ไม่รู้สึกถึงการมีอยู่ของร่างกาย รู้สึกถึงการมีอยู่แต่ของจิตอย่างเดียว มันไม่ได้แปลว่าร่างกายนั้นหายไปจริงๆ แต่จิตนั้นเลือกในการดูอยู่เฉพาะในส่วนชั้นของจิตอย่างเดียว โดยไม่สนใจร่างกาย มันจึงรู้สึกว่าหายไป

    แต่ที่ต่างกับฌานลึกๆ คือ นี่เป็นเรื่องของฌานใช้งาน สามารถควบคุมได้ในชีวิตประจำวันเลย
    เรื่องของธาตุขันธ์ มันจะเป็นอย่างไร มันก็เป็นของมันเช่นนั้น แต่จิตเลือกได้ที่จะไม่เข้าไปเสวยสภาวะและปรุงแต่งต่อ เลือกได้ว่า จะรับส่วนใดของธาตุขันธ์ และจะไม่สนใจส่วนใด

    เรื่องนี้เป็นบาทฐานเพื่อการคุมจิตในการละเวทนา ที่หลวงปู่ หลวงพ่อ ครูบาอาจารย์ทั้งหลาย ท่านใช้เวลาเจ็บไข้ได้ป่วย

    ที่มีเรื่องเล่ากันว่า หลวงปู่ หลวงพ่อ เวลาท่านไม่สบาย มีทุกขเวทนาทางกายมากๆ แต่จิตใจท่านไม่ใส่ใจ ไม่สนใจจะรับเวทนาเหล่านี้เลย ก็คือท่านมีความชำนาญ ในการคุมจิต ที่มีพื้นฐานจากเรื่องนี้นั่นแหละ

    การที่ธรรมภูตมาแสดงความเห็นนี้เป็นการปรามาส โดยที่ตนเองไม่มีความรู้ สภาวะจิตปัจจุบันของธรรมภูต ที่รู้เพียงแค่การปฏิบัติงูๆ ปลาๆ เบื้องต้น จะไม่สามารถเข้าถึงความรู้ส่วนนี้ได้เลย เพราะความรู้พวกนี้ ไม่ได้ถูกถ่ายถอดอธิบายไว้อย่างละเอียดในพระไตรปิฎก

    จะเปรียบอีกอย่าง ก็เหมือนกับคนที่ฟังหลวงปู่หลวงพ่อ ท่านเล่าว่า มีเวทนา แต่ไม่ได้เสวยเวทนา แต่ปุถุชนคนธรรมดา กำหนดจิตตามไม่เป็น ทำไม่เป็น จึงบอกว่าเป็นไปไม่ได้ เหมือนปลาที่อยู่ในน้ำ ไม่มีทางรู้เรื่องบนบกได้ ว่าเป็นอย่างไร
     
  3. solardust

    solardust เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 มีนาคม 2013
    โพสต์:
    250
    กระทู้เรื่องเด่น:
    3
    ค่าพลัง:
    +1,773
    การเจริญสตินั้น ต้องอาศัยความรู้สึก ความรู้สึกนั้น คือความรู้สึกตัวอยู่ ไม่เกี่ยวอะไรกับความรู้สึกนึกคิด
    คนละเรื่องนะครับ

    จิตนั้น โดยธรรมชาติ ทำงานได้แค่ทีละอย่าง ทีละเรื่องเท่านั้น
    ถ้าต้องการเจริญสติแบบ ต่อเนื่องไม่ขาดสาย ต้องห้ามคิดครับ ดูอย่างเดียวเท่านั้น
    คิดเมื่อไร จินตนาการเมื่อไร สติที่ตามดู กาย เวทนา จิต ธรรม จะขาดตอนทันที

    เมื่อสติยังหยาบอยู่ อาจจะดูไม่รู้ แต่เมื่อสติถูกฝึกจนมีความ เฉียบคมขึ้นแล้ว
    จะเห็นทันที ว่าทันทีที่คิด การเจริญสติจะขาดตอนลงเดี๋ยวนั้นทันที

    ---------------------------------------------

    การเจริญสตินั้น ต้องอาศัยความรู้สึกตัวเป็นหลัก แล้วไปตามดูความรู้สึกตัว ณ.จุดนั้นๆ
    ตราบใดที่ยังไม่สามารถกำหนด ความรู้สึก จนรู้ทั่วตัวพร้อมได้
    สติมันก็ไปไม่ได้ จนรู้ทั่วตัวพร้อมหรอกครับ
    มันไปได้แค่เท่าที่รู้สึกตัวเท่านั้น

    ความสามารถในการทำความรู้สึกตัวน้อย สติมันก็ตามรู้ได้น้อย
    ความสามารถในการทำความรู้สึกตัวมีมาก สติมันก็ตามรู้ได้มาก
    จริงอยู่ว่า ในพระไตรปิฏก ไม่ได้มีคำว่า กว้างหรือ แคบ
    แต่ผู้ที่กำลังเจริญสติ จนเริ่มเห็นผลของความแตกต่าง ของสติก่อนฝึก กับหลังฝึก ก็สามารถเข้าใจได้เป็นธรรมดาอยู่แล้ว
    ส่วนผู้ที่ ยังไม่เห็นผลของการเจริญสติ ก็ยังไม่สามารถเข้าใจ เรื่องของกว้างกับแคบได้ ก็เป็นเรื่องธรรมดาเหมือนกัน

    ---------------------------------------------------

    ถ้าพระพุทธองค์ตรัสว่า ขอบเขตุของสติ ขอบเขตุของการระลึกรู้นั้น มีอยู่เท่าไหน ก็จะมีอยู่เท่านั้น ไม่สามารถฝึกฝนให้ยิ่งๆขึ้นไปได้
    อย่างนั้น การพูดถึงเรื่องกว้างขึ้นกับแคบลงนั้น ขัดกับคำสอนของพระพุทธองค์แน่นอน

    แต่ในความเป็นจริง พระองค์สอนให้ฝึกสติ แต่ในพระไตรปิฏกไม่ได้อธิบายพัฒนาการของสติโดยละเอียด
    ซึ่งก็ไม่แปลก เพราะผู้ฝึกสติย่อมมองเห็นพัฒนาการของสติของตน ด้วยตนเองอยู่แล้ว
    อธิบายมากไป พวกไม่ฝึกก็ไม่เข้าใจอยู่ดี
    แถมพวกไม่ฝึก แต่ความจำดี อาจจะเอาไปหากินได้อีก

    ---------------------------------------------------

    การฝึกสติ ก็แค่
    ทำความรู้สึก ไว้ที่กาย ว่ากายคืออย่างนี้ อย่างนี้ มีขอบเขตุ ลักษณะ แบบนี้ แบบนี้ แล้วตามดูไม่ให้คลาด ก็คือเจริญสติที่กาย
    ทำความรู้สึก ไว้ที่เวทนา ว่าเวทนาคืออย่างนี้ อย่างนี้ มีขอบเขตุ ลักษณะ แบบนี้ แบบนี้ แล้วตามดูไม่ให้คลาด ก็คือเจริญสติที่เวทนา
    ทำความรู้สึก ไว้ที่จิต ว่าจิตคืออย่างนี้ อย่างนี้ มีขอบเขตุ ลักษณะ แบบนี้ แบบนี้ แล้วตามดูไม่ให้คลาด ก็คือเจริญสติที่จิต
    ....

    ส่วนเรื่องของการ ระลึกรู้อย่างต่อเนื่อง มันก็แหงอยู่แล้วครับ ผมก็บอกไปแล้วว่า 24 ช.ม. ต่อวัน
    การเจริญสตินั้น ต้องทำแบบ ต่อเนื่องไม่ขาดสาย สักพัก จึงจะเริ่มเห็นความเปลี่ยนแปลง
    ถ้าทำได้ ยังไง ก็จะเห็นได้ถึงความเปลี่ยนแปลง เมื่อนั้นก็จะเข้าใจว่า มันกว้างได้ แคบก็ได้
    จริงอยู่ เมื่อฝึกถึงจุดหนึ่ง จะสามารถทำความรู้สึกตัว ทั่วถึงพร้อม ได้ในคราวเดียว
    แต่ก็ยังสามารถ กำหนดให้รู้สึกในส่วนที่ต้องการรู้สึก และไม่ให้มีความรู้สึกในส่วนที่ไม่ต้องการให้รู้สึกได้ด้วย

    มันไม่ใช่แค่ ฐานทั้งสี่
    มันไม่ใช่แค่ ระลึกรู้อย่างต่อเนื่อง
    รายละเอียดปลีกย่อย จากการปฏิบัติจริง ที่ไม่ใช่ "หลัก" มันมีมากมายกว่านั้น

    การเอารายละเอียดเหล่านั้น มาเล่าสู่กันฟัง
    ถ้าไม่ได้ไปหักล้างกับ คำสอนในพระไตรปิฏก หรือครูบาอาจารย์โดยตรง
    อันนั้น เรียกว่า ความรู้เสริมมากกว่าครับ
    เหมือนข้อความในอรรถกา ที่อธิบายเพิ่มเติม จากพระไตรปิฎก ก้ไม่ได้หมายความว่า อรรถกามีไว้เพื่อหักล้างกับพระไตรปิฏกหรอกครับ

    --------------------------------------------------------

    ส่วนคำว่า มีธรรมเอกอันผุดขึ้นมา
    มันก็แค่อาการที่ จิตมันละการรับรู้ วิตก วิจาร ออกไป
    จนเหลือแต่ ปิติ สุข เอกัคคตา
    เมื่อ วิตก วิจาร ถูกละออกไป สติก็ควบแน่นขึ้น เด่นชัดขึ้น แนบแน่นขึ้น จนสังเกตุได้ชัด
    แล้วผมอธิบายผิดไปตรงไหนหรือครับ

    หรือธรรมเอกอันผุดขึ้นมา ของท่าน ผิดไปจากนี้
    --------------------------------------------------------
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 5 กันยายน 2013
  4. torelax9

    torelax9 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 มิถุนายน 2005
    โพสต์:
    167
    ค่าพลัง:
    +527
    อ้างอิงจากคุณ solardust
    อนุโมทนา ธรรมทานประสพการณ์จริงนี้ เป็นประโยชน์มากกับข้าพเจ้า ขออนุญาตนำไปเป็นต้นแบบในการฝึกปฏิบัตินะครับ ขอบพระคุณยิ่ง สาธุๆๆ อนุโมทามิ

    ข้าพเจ้าเคยฟัง อาจารย์ สุภีร์ ทุมทอง นำบทที่พระสารีบุตรขยายความไว้ อธิบายได้ละเอียดมากคำต่อคำ หากอ่านบาลีได้ข้าพเจ้าคิดว่าจะเป็นประโยชน์ยิ่ง . ถือว่าพระสารีบุตรเป็นต้นแบบการขยายความที่ถูกต้อง เมื่อเรียนและปฏิบัติเข้าใจแล้ว ก็รักษา พุทธพจน์ดั้งเดิมไว้ไม่ให้เพี้ยน

    อนุโมทนาครับ. _/\_. _/\_. _/\_.
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 5 กันยายน 2013
  5. ธรรมภูต

    ธรรมภูต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    3,621
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +2,192
    ู^
    ^
    เฮ้อ!!!...ตรู่ละกลุ้ม...เจออริยตราตั้งใหม่เอี่ยม

    เก่งๆทั้งนั้นที่เอามาพูด ในสิ่งที่ตนเองยังทำไม่ได้จริง(แค่นึกเอาว่าใช่)

    "จิตที่มีกำลังพร้อม ทั้งสติ และ สมาธิ สามารถเลือกได้ ว่าจะเข้าไปสนใจสภาวะใด และไม่สนใจสภาวะใด"

    ทำมั้ยถูกชอบอวดรู้โชว์ภูมิโง่กันจริง ขาดความอบอุ่นมากขนาดนั้นหรือ?

    แค่ "ประคองจิตให้นิ่ง" ยังเป็นเรื่องที่ทำประกอบ กระทำให้ได้จริงๆ ไม่ใช่คิดเอา

    ที่พูดๆมานั้นคิดเองเออเองเอาทั้งนั้น พูดง่ายๆต้องการโม้สายสะพาย

    ส่วนที่พูดโม้โชว์ภูมิรู้มานั้น มันระดับจิตของบุคคลที่สามารถความคุมจิตได้ตามต้องการแล้วนั้น

    มันจิตของ"พระอริยบุคคลชั้นสูงไแล้ว เห็นชอบตีตนเสมอท่านอยู่เป็นประจำ

    อย่ามาโม้เสียให้ยาก เห็นมามากแล้ว ร้อยละร้อยขี้โม้แบบโง่ทั้งนั้น

    เผลอเมื่อไหร่กิเลสลากเข้ารกเข้าพก เลือกทันที่ไหนกัน

    ของจริงย่อมต้องรู้ว่า"การได้มานั้น" ไม่ใช่เรื่องง่ายๆสายๆ ลัดสั้น หรือแค่โม้เท่านั้น

    แค่พื้นฐานเบื้องต้น พอถูกถามไปเห็นใบ้กินทุกราย

    ไหนๆก็คูยโม้โชว์ภูมิโง่ได้ขนาดนั้น

    ถามง่ายๆ เรื่อง"ฌานนี่แหละ" ส่วนลึกกว่านั้ค่อยว่ากัน

    เมื่อเข้าสู่ "ฌานที่๒" อามีสสัญญาดับเพราะอะไร?

    ตอบตรงนี้ให้ชัดๆ ก็จะบอกได้ว่าแค่ "ยังพอใช้จิตเป็น เห็นจิตได้" ไม่ใช่ใช้ได้แล้ว

    ที่คุยโม้โชว์ภูมิโง่ ส่วนใหญ่มักคุยเสมือนว่า "ตนเองได้แล้ว"

    เมื่อไหร่จะหายโง่ "ยืนอยู่บนพื้นฐานแห่งความเป็นจริงเสีย"

    เห็นหลงไหลอยู่อยู่กับ"สัญญาอารมณ์" ได้ทั้งวัน

    จริงๆแล้วเป็นคนไม่ชอบขัดคอขัดใจใคร

    แต่เรื่องแบบนี้ เห็นแล้วอดเคืองตาไม่ได้

    เพราะ ได้เห็น"พวกที่ขาดความซื่อสัตย์ต่อตนเอง"กำลังเม่น้ำลายก็เท่านั้น

    เจริญในธรรมที่สมควรแก่ธรรมทุกๆท่าน

    ปล. วันหลังหัดชี้อะไรลงไปให้ชัดๆว่า "ผิด"ๆตรงไหนอย่างไร

    อย่าเหมาโหล แล้วชอบแอบอ้างพ่อแม่ครูบาอาจารย์อีกหละ สอนไม่จำคนอะไร
     
  6. ธรรมภูต

    ธรรมภูต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    3,621
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +2,192
    ^
    ^
    เอาหละไหนๆที่ถามไปก็ยังๆไม่ตอบ

    จะถามไปเรื่อยๆจนกว่าจะได้"คำตอบที่ชัดเจน" ไม่ใช่นึกเอา

    ที่พูดมานั้นแน่ใจนะ อย่าเล่นคำพูดอยู่เลย ไม่ได้ช่วยให้การปฏิบัติก้าวหน้า

    คำว่า "รู้สึกตัว" กับคำว่า "รู้สึกนึกคิด" มันต่างกันตรงไหน?

    อะไรที่ยังเป็น "ความรู้สึก" นั้น ล้วนเป็น"สัญญาอารมณ์"ทั้งนั้น

    ถ้าไม่ใช่ "สัญญาอารมณ์"ตอบชัดๆด้วยว่ารู้สึกตัวอย่างไรโดยไม่ต้องคิด

    แน่นอนใหม่ๆนั้นยังต้อง"อาศัยความคิด" จึงหยุดคิดได้

    ก็จะตรงกับที่คุณพูดไว้ว่า "ต้องห้ามคิดครับ ดูอย่างเดียวเท่านั้น"

    ใครๆก็คุยโม้โชว์ภูมิได้ทั้งนั้น แต่ปัญหาอยู่ว่า "ดูยังไงจึงไม่คิดต่างๆหาก"

    เอาแค่ตอบตรงนี้ได้ชัดๆ ตรงไปตรงมา ก็พอจะเชื่อว่ารู้มาบ้างจากการปฏิบัติ

    ไม่ต้องห่วง เดี๋ยวจะมีคนที่ชอบโชว์โง่เป็นประจำ

    และยังชอบแอบอ้างพ่อแม่ครูบาอาจารย์ท่า่นนี้มาแอบโม้เป็นประจำเช่นกัน

    การคุยกันในเรื่องปฏิบัตินั้น ควรยืนอยู่บนความเป็นจริงของตนที่ทำได้จริง

    ไม่ใช่เอาจากการสุตะ จินตะ แล้วนำมาคิดจนตกผลึก แล้วแปลงมาเป็นของเรา

    ไอ้นั่นหนะมัน ความรู้สึกนึกคิด ที่มาจาก"สัญญาอารมณ์"ล้วนๆ

    ก่อนอื่นควรแยกให้ออกก่อนว่า "รู้สึก" กับระลึก" นั้นมันก็คนละเรื่องคนละโลกเลย

    ถ้าเรื่องแค่นี้ยังแยกแยะไม่ออก ก็พยายามอิงพระพุทะพจน์ไว้ก็ท่าจะดีนะ

    เหมือนที่เคยถาม"อริยะขี้โม้"ที่ชอบใช้สีน้ำเงิน

    คุยเรื่องเข้าออกฌานซะเก่งกาจ บอกว่า

    "เมื่อเข้าฌาน๑ ๒ ๓ ๔ เวลาจะออก ต้องค่อยๆถอยออกที่ละฌาน"

    พอโดนถามว่า"ไหนลองบอกวิธีถอยออกหน่อยสิ" แค่นี้ก็ไปไม่เป็นแล้ว

    คนที่ผ่านการ"ภาวนา"อย่างจริงจังมานั้น

    ย่อมรู้ดีว่าเป็นไปไม่ได้ นั่นมัน"จำมาพูด"เท่านั้น

    เจริญในธรรมทุกๆท่าน
     
  7. อินทรบุตร

    อินทรบุตร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มิถุนายน 2012
    โพสต์:
    2,511
    ค่าพลัง:
    +7,320
    เรื่องนี้ธรรมภูต อย่าแสดงความเห็นเลย เป็นผู้ฟังเฉยๆ ดีกว่า
    มันเกินภูมิของธรรมภูต จิตของธรรมภูตไม่เคยเจอสภาวะเหล่านี้

    ผู้อื่นจะบอกอธิบายอย่างไร จิตที่ไม่เคยเจอสภาวะเหล่านี้จริงๆ เอาแต่อ่านแล้วจินตนาการเอา จะไม่สามารถเข้าใจได้หรอก เพราะสภาวะเหล่านี้มันละเอียดกว่าความคิด มันไม่สามารถเข้าถึงได้โดยการคิดเดาเอา

    อุปมาก็เหมือนผู้ที่ฝึกฝนจนตาดีมาก เห็นของเล็กมากๆ เห็นเชื้อโรคได้ด้วยตาเปล่า ผู้ที่ทำไม่ได้เช่นธรรมภูต จะฟังอย่างไร ก็ไม่มีทางเข้าใจได้ ไม่รู้ได้ว่าทำอย่างไร ประกอบกับจิตตนเองตั้งอยู่แต่ในทิฎฐิอัตตา ก็จะเหมาเอาเสียว่าเป็นไปไม่ได้ เพราะตนเองทำไม่ได้ ความรู้ในกะลาของตนเองทำไม่ได้ ก็เลยเหมาเอาว่าผู้อื่นทำไม่ได้เสียหมด

    มันก็เรื่องเดียวกับเรื่องพระสารีบุตรนับเม็ดฝน นั่นแหละ ในพระพุทธองค์รับรองไว้ว่าทำได้ หลวงปู่หลวงพ่อที่เป็นพระอรหันต์ท่านรับรองไว้เองว่าทำได้ ธรรมภูตก็มาแย้งว่าทำไม่ได้ แค่เพราะมันไปขัดกับความเชื่อของตนเอง ที่ปฏิบัติได้แค่แบบงูๆ ปลาๆ

    สิ่งที่อยู่นอกกะลานั้นยังมีอีกเยอะ ในการปฏิบัติจริงๆ ที่ก้าวหน้ากว่าชั้นที่ธรรมภูตทำได้ นั้นยังมีเรื่องแปลกๆ อีกเยอะ

    ทั้งเรื่องการสัมผัสภพภูมิ เรื่องการถอดกาย เรื่องอรูปฌาน เรื่องการรู้อดีตชาติ
    เรื่องพวกนี้ เป็นเรื่องที่ธรรมภูตเข้าไม่ถึงทั้งหมด แต่มีอยู่จริงทั้งหมดเช่นกัน
     
  8. paetrix

    paetrix เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 เมษายน 2011
    โพสต์:
    2,478
    ค่าพลัง:
    +1,878
    ..........สติระลึกรู้...ก็คือ รู้เท่าทัน สัญญาอารมณ์นั้นแหละครับ...รู้ว่า สิ่งนั้น เป็นสิ่งที่ ถูกระลึกรู้ คือเกิดขึ้น นั้นคือเกิดทางกายในกาย จิตในจิต เวทนาในเวทนา....แยกได้ด้วยลักษณะที่ต่างกันของสภาวะธรรมที่ถูกรู้ (ลักษณะของกาย เวทนา จิต ธรรม)....การระลึกรู้ ย่อมเกิดขึ้นหลังความรู้สึกอยู่แล้ว แต่การไม่มีสติระลึกรู้ได้ก้เป็นเรื่องธรรมดา.ที่หลงเพลินไปกับอารมณ์(สิ่งที่จิตรู้)นั้นถ้าจิตไม่ตั้งมั่น การที่จิตผูกติดกับสัญโยชน์ย่อมเกิดขึ้น หลงไปกับอารมณ์ ซึ่งเป็นเรื่องธรรมดาของผู้ภาวนา....ก็ ต้องมีการเจริญสติต่อไปแหละครับ...
     
  9. hastin

    hastin เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 มีนาคม 2009
    โพสต์:
    1,116
    ค่าพลัง:
    +3,085
    เมื่อเข้าฌาน๑ ๒ ๓ ๔ เวลาจะออก ต้องค่อยๆถอยออกที่ละฌาน

    ส่วนนี้มีจริงนะครับ เวลาฝึก ควรฝึกถึง 8 เลยครับ

    เข้า ออก ถอย สลับ เท่าที่ทำได้ ให้ได้เร็วที่สุดครับ
     
  10. (อโศก)

    (อโศก) เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 พฤษภาคม 2012
    โพสต์:
    140
    ค่าพลัง:
    +445
    เดี๋ยวผมจะพูดนิดหนึ่ง
    เวลาพระพุทธเจ้า ตรัสว่า “เห็นกายในกาย” ท่านก็จะอธิบายตามมาว่า เมื่อเธอเหยียดแขนออกหรือคู้แขนเข้าก็รู้ จะนั่งจะลุกในอิริยาบททั้งสี่ก็มีอาการรู้ตัว เหยียดออกคู้เข้านี้ก็รู้

    ดังนั้นถ้าเรา ปฏิบัติสติปัฏฐาน อย่าไปเข้าใจว่า มันทำได้แค่ในอริยาบทนั่ง เท่านั้น อริยาบทใดๆๆก็ตาม ก็ทำได้ แม้ว่าอริยาบทนั่งจะเสริมสร้างสมรรถนะทางจิตหรือพลังทางจิตได้ดีที่สุด แต่มันขัดกับธรรมชาติ เพราะเราไม่ได้ถูกออกแบบให้นิ่งเฉยๆๆนานๆๆ ตามธรรมชาติ ลองนึดดูว่าถ้าอยู่ป่าเรานิ่งๆๆเฉยๆๆ ก็ถูกจับกินไปแล้ว ดังนั้นอย่าใช้วิธีนั่งกำหนดลมหายใจ เพราะเห็นผลช้าและไม่เหมาะกับทุกคน
    แต่ให้ทำกิจวัตรไปตามปกติ แต่ให้รักษาการรู้ตัวนานๆๆ โดยกิจวัตรนั้นต้องเป็นไปอย่างต่อเนื่องกันไป พอหยุดกิจวัตรย่อยหนึ่ง จิตก็หยุดและพอกิจวัตรย่อยต่อไปเกิดขึ้นก็ตาม


    เพราะถ้าการปฏิบัติของเราสอดคล้องกับหลักธรรมชาติจะปลอดภัย แม้ในช่วงต้นจะลุ่มๆ ดอนๆ แต่ในบั้นปลายก็จะนำไปสู่ความกลมกลืนกับธรรมชาติ
    แก่นแท้ของสติปัฏฐานก็คือ การปลุกความรู้สึกตัวขึ้นมานั่นเอง แม้ว่าในตอนแรกความรู้สึกอันนั้นมันจะหนักและทึบอยู่ ยังไม่เบา ยังไม่คลี่คลาย แต่จะค่อยๆ คลี่คลายไปตามวันของการภาวนา กลายเป็นรู้ตัวล้วนๆ รู้ล้วนๆ ไปทีละน้อย เบากายเบาใจไปเรื่อยๆเมื่อมันตื่นแล้ว มันก็จะเป็นสมาธิเองโดยที่มันไม่ต้องทำ


    เราจะเริ่มที่กายก่อน เพราะกายนั่นสังเกตได้ง่ายที่สุด ายเป็นสิ่งหยาบ เคลื่อนไหวง่าย
    “เห็นกายในกาย”คือเห็นกายที่กายนั่นเอง ไม่ใช่เห็นกายในความคิด เป็นการเห็นแบบสัมผัส ด้วยอำนาจของสติ

    อย่างไรก็ตามแค่เราปลุกความรู้ตัวขึ้นมาได้นั่นยังไม่พอ คือแค่เราจับการเคลื่อนไหวแบบพลิกมือ เคลื่อนมือรู้ คู้เข้ารู้ ก้มรู้ เงยรู้ ทำไปนานๆๆจนสติตื่นนี่ยังไม่พอ เพราะว่า แม้ความรู้ตัวก็ยังอาจจะเป็นความรู้สึกตัวแบบที่อยู่ใต้อำนาจความคิดได้
    ดังนั้นในท่อนต่อไปจึงมีคำว่า “แต่ว่าเธอนั้นถือเอากาย สักแต่ว่าเป็นที่ตั้งของการรู้ เธอนั้นไม่ยินดียินร้ายในโลกทั้งผอง” นั้นคือเราต้องรู้ตัวเฉยๆๆแต่อย่าไปรู้อะไร คืออย่าไปย้ำคิดย้ำทำว่านั้นแน่ กระพริบตาแล้วนะ นั่นแน่คู้เขาแล้วนะ นั่นแน่ยกส้นเท้าแล้ว อย่าไปทำอย่างงั้นให้สักแต่รู้ เฉยๆๆ แล้วไม่ยินดียินร้ายไม่งั้นจะติดอยู่ที่ตรงนั้น เสร็จความคิดอีก

    ภาษาพระท่านใช้ว่า สักแต่ว่าเป็นที่ตั้งแห่งการรู้ แล้วไม่ยินดียินร้ายต่อโลกทั้งผอง (กามโลก รูปโลก และอรูปโลก) เห็นไหม ไม่เช่นนั้น จะเกิดปัญหา คือถูกความคิดครอบงำเหมือนเดิม ไม่รู้กระแสความคิด ยังไม่รู้จักอารมณ์ ถูกความคิดครอบงำ สติปัฏฐานไม่ใช่เรื่องของการคิดเอา แต่อาศัยความคิดและความรู้ตัวทันท่วงทีต่อการเกิดการคิดหรือการเคลื่อนไหวของอินทรีย์ต่างๆ

    ดั้งนั้นการรู้ตัวเฉยๆๆจึ่งสำคัญ แต่ต้องไม่ไปรู้อะไรด้วยในการรู้นั้น เพราะนั้นเป็นจะตกอยู่ในอำนาจของความคิดอีก รู้เฉยๆๆทุกๆๆอริยาบท จนความรู้สึกตัวจะเข้มข้นขึ้น ต่อเนื่องกันขึ้น เราอาจจะหลงๆๆลืมๆๆบ้างก็ไม่เป็นไร เป็นธรรมชาติดี แต่เราก็พยายามที่จะรักษาความรู้สึกตัวให้ต่อเนื่องกันที่สุดและกัน แต่ก็ไม่ยึดติดกับมัน หรือพูดอีกอย่างก็คือ แม้เราจะ)ฏิบัติเพื่อที่จะอยู่กับปัจจุบันขณะ ใช้ปัจจุบัน เป็นฐานของการภาวนา แต่ก็ไม่ยึดติดกับมัน ละแม้แต่ปัจจุบัน รู้บ้างลืมบ้างก็ได้ไม่ตึง จนเกินไป


    ในที่สุดความรู้สึกตัวทั้งตัวจะปรากฏขึ้นทั้งข้างนอกข้างใน แล้วใจก็จะเป็นปกติ นี่แหละคือ อุเบกขา โดยธรรมชาติไม่ยินดียินร้ายกับความคิด มันเป็นความรู้สึกตัวสดๆๆ ของใจ ที่ไม่เกี่ยวข้องกับเวทนาที่ไม่ดีไม่ร้าย

    ทีนี้ก็พูดไปแล้วว่า ในการปฏิบัติสติปัฏฐาน นั้นเราจะอาศัยอุบายเพื่อเร้าความรู้สึกตัว จนเข้มข้นขึ้น ต่อเนื่องกันขึ้น ในที่สุดความรู้สึกตัวทั้งตัวจะปรากฏขึ้นทั้งข้างนอกข้างใน ที่นี้ความรู้สึกตัวข้างใน ก็คือรู้ความคิด หรือ เห็นจิตนั่นเอง เรารู้กาย รู้อริยาบทคือรู้ข้างนอก ซึ่งเราเริ่มข้างนอกก่อน เพื่อให้เห็นว่า ทุกครั้งที่กายไหวมันจะมีเจตนาที่เคลื่อนไหว แต่ในการเคลื่อนนี้ จิตสังเกต จิตรู้ได้ เจ้าตัวสังเกตนี้เอง เรียกว่าผู้สังเกต ที่จริงก็คือจิตนั้นเอง จิตนี้เรามองไม่เห็นตัวเห็นตน บอกไม่ได้ว่ามันอยู่ตรงไหน แต่รู้ว่ามันอยู่ในกายที่ยาววานี้แน่ ซึ่งตอนนี้เราได้เอาสติมาเฝ้าดู จนหยั่งเห็นว่าจิตนั้นมีอาการต่างๆ มีอาการอย่างไร สติก็ทันท่วงทีอย่างนั้น เมื่อจิตแปรรูปปรับเปลี่ยนเคลื่อนไหวคิด จิตมีอาการอย่างไรก็รู้เห็นโดยอาการนั้นๆ

    ตามธรรมดาเมื่อมนุษย์ไม่รู้สึกตัว ก็เข้าไปอยู่ในความคิด ความคิดจะลากตัวผู้คิดเข้าไปพัวพันกับเรื่องราวที่คิดอยู่ เมื่อเข้าไปแล้วย่อมดิ้นรนออกจากความคิดได้ลำบากยิ่งขึ้น ความคิดที่คิดต่อเนื่องนั้นเหมือนกระแสน้ำที่ไหลเชี่ยวกราก ถ้าเราเผลอตัวก็ลงไปในกระแสธารและก็ลำบาก ทุกครั้งที่เรารู้สึกตัวได้ ก็เปรียบเหมือนเราขึ้นมาจากกระแสน้ำเชี่ยว นั้น ความคิดนั่นเองที่สร้างปัญหาภายในคือความขัดแย้งขึ้น เช่นฉันเป็นแบบนี้อยู่ แต่ในอนาคตฉันจะต้องดีกว่านี้เป็นแบบนั้น เกิดความขัดแย้งระหว่าสิ่งที่ฉันเป็นอยู่จริงกับสิ่งที่ฉันอยากจะเป็น เช่น เรามีเงินร้อยหนึ่ง แต่เราอยากจะมีเงินล้านหนึ่งในอนาคต ทีนี้เราก็ไม่อาจจะมีความสุขกับเงินร้อยหนึ่งที่มีอยู่ในตรงนี้เดี๋ยวนี้ได้ เพราะเราสนใจหรือหมกหมุ่นกับเงินล้านอันเป็นความต้องการของเรา กระนั้นความขัดแย้งไม่ได้เกิดขึ้นตลอดเวลา จะเกิดตอนที่เราขาดสติ หรือเราไม่ได้เบิกบาน มีความสุขอยู่ที่นี่ตรงนี่นั้นเอง

    ทีนี้ เมื่อเรารู้ตัวจนกระทั้งสัมผัสอาการของสิ่งต่างๆๆ ด้วยจิตที่สติถูกบูรณาการแล้ว ก็จะมีความหยั่งรู้เกิดขึ้นเองโดยธรรมชาติ พูดอีกแง่หนึ่งก็คือ การสัมผัสด้วยใจด้วยความรู้สึก ความรู้สึกกับใจนี้เป็นอันเดียวกัน ความรู้สึกล้วนๆ เป็นอันเดียวกับใจโดยไม่มีขอบเขต ตัวอย่างก็เช่น ใช้จิตดูตัวมันเองก็สัมผัสความคิด ความจำอะไรทำนองนี้นี้ที่ผลุดขึ้นมา นี่คือการหยั่งรู้ เป็นการสัมผัสด้วยจิตใจ มีชีวิตอยู่ด้วยการใช้ความรู้สึกล้วนๆ เพื่อหยั่งรู้สรรพสิ่ง แล้วมันจะสัมผัสจนรู้ว่าอะไรๆๆก็เปลี่ยนแปลง แม้แต่จิตนี่แหละ มันจึ่งไม่มีตัวตนหรือภาพลักษณ์ใดๆ ทั้งสิ้น อาการของการรู้จักตรงนั้น เดี๋ยวนั้นและฉับพลัน ถ้าไม่ฉับพลัน ความคิดก็แทรกก็เสร็จอีก

    ดังนั้นการหยั่งรู้ต้องเป็นไปแบบฉับพลัน คือเมื่อจิตสัมผัสอาการแล้วอาการเหล่านั้นชะลอลง ดับลง เรียกว่า นิโรธ อย่างความทุกข์ เมื่อมันเกิดขึ้นเพราะความคิดอันมีรากฐานมาจากความไม่รู้เป็นคิดโกรธ คิดโลภทำนองนี้เกิดขึ้น ความรู้สึกตัวล้วนๆ ก็จะสัมผัสทุกข์นั้น แล้วหยุดลง แบบฉับพลัน ไม่ปล่อยให้มันเตลิดไปเรื่อยๆๆ เหมือนปกติซึ่งปกติแล้วจิตของมนุษย์ติดอยู่กับอารมณ์ คือความนึกคิดต่างๆ ส่วนจะได้เร็วได้ก่อนเท่าไหร่ก็ขึ้นกับว่า ความรู้สึกตัวล้วนๆ นี้ ยิ่งบริสุทธิ์เท่าไร ก่อนที่จะมานั่งนึกคิดว่ามีเหตุมีทุกข์ด้วยซ้ำไป มันสัมผัสอาการทุกข์ก่อนแล้วปล่อยเหมือน คนจับของร้อนรู้ว่าร้อนก็ปล่อยทันทีไม่มานั่งคิดว่านั้นไฟมันร้อนมันเผามือเราแล้ว ปล่อยสิ ความรู้สึกตัวล้วนๆ นั้นเหมือนเด็กทารก ยิ่งบริสุทธิ์เท่าไรก็ยิ่งรู้ตัวสภาวะนี้อย่างทันทีเท่านั้น ก่อนที่ความคิดจะเข้าไปแทรกว่าอันนี้เป็นเหตุ อันนี้เป็นผลดังนั้นจึงเรียกว่า “การหยั่งรู้” ไม่ใช่ความคิดนึกเชิงเหตุผล พุทธศาสนาจึ่งไม่ใช่ ปรัชญาแต่เป็นญาณทัศนะของท่านผู้รู้ หรือ พุทธะ

    การเจริญสติปัฏฐานสี่ ซึ่งพระพุทธเจ้าสอนนั้นคือการปลุกความรู้สึกตัวให้ตื่นขึ้นมาควบคุมความปราดเปรียวของความคิดและใช้มันในทางสร้างสรรค์สิ่งดีงามไม่ใช่ว่าเราจะหยุดความคิด เราหยุดไม่ได้ ความคิดเป็นสิ่งที่ดีแต่สิ่งที่ตามมันมานั้นเราต้องระวังไม่ติดยึดในความคิดนี่อันตรายมาก ดั้งนั้นเมื่อพระพุทธเจ้าสอนทางกายกลางขึ้นก็เพื่อทำลายความยึดติดในความคิดที่โต่งๆๆไปในด้านต่างของมนุษย์นั้นเอง ทางสายกลางที่แท้จริงก็คือ จิตที่เป็นอุเบกขาต่อความคิดไม่พลัดไปในกระแสของความคิดหรือไปยึดเอาความคิดนั้นๆๆ เหมือนคนที่ยืนบนฝั่งเฝ้าพินิจกระแสน้ำ คือฝั่งแห่งความรู้สึกตัว เราจะรู้จักจิตใจของเราตลอดเวลา สติปัฏฐาน ๔ นั้นเป็นความจริงแท้ สะท้อนถึงแหล่งเกิดญาณทัศนะ นั่นเป็นคำตอบว่า รู้แจ้งได้อย่างไร ปลุกชีวิตจิตใจขึ้นให้สว่างไสวได้อย่างไร นี่คือประเด็น
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 7 กันยายน 2013
  11. ผ่อนกรรม

    ผ่อนกรรม เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 กุมภาพันธ์ 2011
    โพสต์:
    63
    ค่าพลัง:
    +400
    [๒๘] ลักษณะเช่นนี้ของสติปัฏฐาน ในฐานะที่เป็นหลักคำสอนแห่งความเชื่อมั่นตนเอง

    และพึ่งตนเองนี้มีหลักฐานยืนยันจากพระดำรัสของพระพุทธเจ้าเอง

    ที่ตรัสในวาระสุดท้ายของพระชนม์ชีพ เป็นความจริงที่ย้ำความสำคัญ

    ให้กับเรื่องนี้อย่างด่นชัด

    [๒๙] “เพราะเหตุนั้นแล อานนท์ จงเป็นที่พักพิงของตนเอง จงเป็นที่พึ่งของตนเอง

    อย่ายึดถือที่พึ่งภายนอก จงมีธรรมเป็นที่พักพิงของตน จงมีธรรมเป็นที่พึ่งของตน

    อย่ายึดถือที่พึ่งอย่างอื่น คืออย่างไร


    ดังนี้ อานนท์ภิกษุเฝ้าตามดูกายในกาย เฝ้าตามดูเวทนาในเวทนา เฝ้าตามดูจิตในจิต

    เฝ้าตามดูธรรมในธรรม มีความเพียร มีสัมปชัญญะและสติ กำจัดความติดใคร่(อภิชฌา)

    และความเสียใจ (โทมนัส) ในโลกนี้ได้

    อนึ่งแล อานนท์ บุคคลผู้ใดก็ตาม ไม่ว่าในปัจจุบันนี้ หรือหลังจากเราปรินิพพานแล้ว

    หากเป็นที่พักพิงของตนเอง เป็นที่พึ่งของตนเอง ไม่ยอมตนให้มีที่พึ่งภายนอก

    ยึดมั่นในธรรมว่าเป็นที่พักพิงและที่พึ่ง ไม่ยึดที่พึ่งในสิ่งอื่น

    อานนท์ ในท่ามกลางภิกษุทั้งหลายของเรา บุคคลนั้นแลจะต้องบรรลุถึงสิ่งสูงสุด

    แต่เขาจักต้องเพียรพยายามในการศึกษา”


    (มหาปรินิพพานสูตร,ที.ม. ๑๐/๙๓/๑๑๙)

    [๓๐] นักศึกษาที่เอาจริงเอาจังย่อมชื่นชมในคุณค่าของพลังที่ย้ำอย่างหนักแน่น

    ในพุทธพจน์ประโยคสุดท้ายนั้น

    [๓๑] สำหรับคนอื่นๆ นอกจากนั้น ท่านก็กล่าวไว้แล้วอย่างกระชับชัดและถูกหลักว่า

    เมื่อผู้ปฏิบัติได้รับทราบวิธีการและจุดมุ่งหมายแล้ว ก็มีกฎเพียง ๒ ข้อ เท่านั้น

    เพื่อการปฏิบัติทางจิตให้สำเร็จ นั่นก็คือ จงเริ่มต้น และ ก้าวต่อไป


    คัดจากหนังสือ:หัวใจกรรมฐาน
     
  12. ฟางว่าน

    ฟางว่าน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 มีนาคม 2010
    โพสต์:
    1,080
    ค่าพลัง:
    +968
    ?????????????????????????????????????????????????????????????????????????????????????????????????????????????????????????? หลวงพี่ครับ กายลมจัดเป็นฆนะหรือเปล่าครับ...แล้วจิตของพระอนาคามีเป็นอัตตาหรืออนัตตาครับ?
     
  13. ธรรมภูต

    ธรรมภูต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    3,621
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +2,192
    ^
    ^
    เฮ้อ!!!....

    คนอะไรช่างเก้อ-ยากจริง

    "ผิด"แล้วไม่รับ"ผิด"นี้ก็ต้องถือว่า"แย่มากแล้ว"

    แต่นี้"ผิด"ซ้ำซาก แล้วยังเถียงเพื่อเอาชนะคะคานให้ได้

    อวดโม้โชว์เดียวไปเรื่อย ทั้งที่โดนแย้งตามเหตุผลกับหาคำตอบให้ไม่ได้

    ยังจะดันทุรังเอาให้ได้ ที่ถามไปไม่เคยคิดจะตอบเลยนะจ๊ะ

    ทำไม"ฌานที่๒" อามีสสัญญาจึงดับ อย่าแกล้งโง่อีกหละ

    ก็ชอบคุยโม้โชว์โง่ในภูมิรู้ภูมิธรรมที่ไม่มีในตน และเที่ยวบลั๊ฝคนอื่นไปทั่ว

    ที่ถามคำถามไป ก็แค่พื้นฐานของ"นักภาวนา"ที่ปฏิบัติจริงจำเป็นต้องรู้เท่านั้น

    การแสดงความคิดเห็นที่พูดถึง"ภูมิรู้ภูมิรรม"นั้น ควรแสดงให้ชัดเจนว่าของใคร

    เมื่อแอบอ้างเอาของพ่อแม่ครูบาอาจารย์มาใช้ เพื่อโชว์ภูมิ ควรให้เครดิตท่านด้วย

    พอมีใครแย้งไป เพราะอ่านแล้วรู้ได้เลยว่ามันโม้ชัดๆ ไม่ใช่ของจริงที่ได้มา

    กลับหันมาเกาะพ่อแม่ครูบาอาจารย์ ว่าท่านได้กล่าวไว้ "อย่าลบหลู่"นะ

    ตอนพูดเสมือนว่าของตนเอง แค่ต้องการอวดภูมิรู้ภูมิธรรมของตน

    พอหมดมุขที่จะตอบเมื่อถูกถาม อ้างทันทีนั่นของพ่อแม่ครูบาอาจารย์ องค์นั้นองค์นี้

    ดูมันทำ มันทำมาหลายครั้งจนต้องบอกว่า "ไม่มีความซื่อสัตย์ต่อตนเอง"เลย

    เรื่อง"พระสูตร"จากพระพุทธพจน์ เรื่องท่านพระอาจารย์สารีบุตร

    คะเน "หยาดน้ำ" ที่ฝนได้ตกลงมา"ตลอดกัลป์" ว่ามีปริมาณเท่าไหร่?

    พระพุทธองค์ก็ทรงรับรองว่า "เธอสามารถทำได้"

    มันมั่วไปโน้นเลย ท่านพระอาจารย์สารีบุตร "นับเม็ดฝน" ทั้งที่มันคนละเรื่องกัน

    เชื่อมั้ย มันเถียงแบบหัวชนฝา เย็บไปกี่เข็มกรูไม่ได้ เพราะแพ้ไม่เป็น เก่งคนเดียว

    ในที่สุดนิสัยถาวรก็ปรากฏออกมา มันอ้างว่า "ท่านพระอาจารย์หลวงตา"รับรองที่มันพูด"

    เพราะมันอ้างว่า"ท่านพระอาจารย์หลวงตาท่านก็กล่าวไว้" เช่นกัน

    ว่า"ท่านพระอาจารย์สารีบุตรนับเม็ดฝนที่ตกตลอด๗วัน๗คืนได้"

    ใช่นั่นมัน"ท่านพระอาจารย์หลวงตา"กล่าวไว้ ไม่มีใครเถียง ต้องยกไว้

    ลองพิจารณาดูเอาเอง การนับเม็ดฝนที่ตกตลอด๗วัน๗คืนนั้น

    กับ "หยาดน้ำ" ที่ฝนได้ตกลงมาตลอดกัลป์นั้นต่างกันหรือไม่?

    ตอนสนทนาและแย้งไปตอนนั้น เพราะเห็นว่ายกพระพุทธพจน์มาโชว์อวดภูมิรู้ภูมิธรรมของตน

    และได้แสดงความคิดเห็นแย้งกลับไปตามพระสูตรว่า"หยาดน้ำ" กับ"เม็ดฝน"คนละเรื่อง

    มันหมดมุข ก็ยกเอาของ"ท่านพระอาจารย์หลวงตา"มาหลอกด่าเลยทันที่ว่าลบหลู่"

    เวรกรรมเวรกรรม(มีจริง) เตือนจนเหนื่อยจิตเหนื่อยใจ ลองตามไปอ่านความคิดเห็นเก่าๆดูเองก็รู้

    ปล. มันยังค้างที่จะตอบคำถามตั้งมากมายหลายข้อ ไปจนขี้เกียจทวงถามแล้ว

    การจะโม้อะไร บอกตรงได้เลยว่า"ขอโม้" คงไม่มีใครว่าอะไร

    แต่การแอบอ้างเอา"ภูมิรู้ภูมิธรรม" ของท่านอื่น หรือ ที่ไม่มีในตนนั้น มาเป็นของตน

    ขอบอกก่อนว่า เป็นเรื่องเลวร้ายในภายหลังจริงๆ ไม่มีใครเห็น เราเห็น

    ผลอาจจะช้า แต่มีผลแน่นอน ลองภาวนาไปซักนานปีก็จะรู้ว่า มีผลจริง

    เจริญในธรรมที่สมควรแก่ธรรมทุกๆท่าน

     
  14. ธรรมภูต

    ธรรมภูต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    3,621
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +2,192
    ว่าด้วย "สติปัฏฐาน๔" หรือ "ทางอันเอก"

    เป็นข้อธรรมที่สำคัญต้องศึกษา และปฏิบัติตามโดยไม่มีข้อแม้ใดๆทั้งสิ้น



    พระพุทธพจน์ที่พระพุทธองค์ทรงตรัสไว้ดีแล้วชัดเจนว่า

    "ทางนี้ทางเดียวเท่านั้น ทางอื่นนอกจากนี้ไม่มีอีกแล้ว"(มีพระบาลีกำกับ)

    "สติปัฏฐาน" คือฐานที่ตั้งของสติอย่างต่อเนื่องไม่ขาดสาย

    ไม่ว่า "หลับตา" หรือ "ลืมตา" ต้องเริ่มฝึกอย่างไร? จึงจะถูกต้อง

    พระพุทธองค์ทรงตรัสไว้ชัดเจนแจ่มจ้างไม่มียกเว้นว่า "ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย"

    อะไรที่ทำให้"สติปัฏฐาน๔บริบูรณ์"ได้ มีพระบาลีรับรองไว้

    ถ้าขาดการเริ่มต้นที่ดี มีประโยชน์ในการเกื้อกลูให้ "สติปัฏฐาน๔บริบูรณ์" เสียแล้ว

    อย่าได้หวังว่า จะได้ "สัมมาสติ"มาเลย ถ้าต้องการได้ "สัมมาสติ"นั้น ต้องเริ่มอย่างนี้เท่านั้น

    ถึง"สติปัฏฐาน๔" มี๔ฐานก็จริง ที่ต่อเนื่องกัน แต่ต้องมีการเริ่มต้นที่ถูกต้องเท่านั้น

    จึงเป็นไปได้จริง ในปฏิบัติธรรมที่ถูกต้องตามความเป็นจริงตามพระพุทธพจน์

    เมื่อมีพื้นฐานที่ตั้งอย่างมั่นคงแล้ว ย่อมรู้ได้อย่างต่อเนื่องถึงกันหมดทั้ง๔ฐาน

    ถึงตอนนั้น ที่เริ่มชำนิชำนาญดีแล้ว เริ่มตรงไหนก็ได้ทั้งนั้น ย่อมถึงกันหมด

    แต่มักมีพวกนักคิดที่ติดง่ายๆ สบายๆ ลัดสั้น ฉกฉวยโอกาสกระโดดข้ามขั้นตอนเลยก็มี

    จึงเป็นเหตุให้นักปฏิบัติธรรมกรรมฐานคนรุ่นใหม่ที่ยังอ่อนแออยู่

    หลงเชื่อได้ง่ายๆเช่นกัน ตามกิเลส กรรม วิบาก ที่มีมาอย่างยาวนาน(ติดสบาย)

    เจริญในธรรมทุกๆท่าน
     
  15. อินทรบุตร

    อินทรบุตร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มิถุนายน 2012
    โพสต์:
    2,511
    ค่าพลัง:
    +7,320
    มีผลจริงแน่นอน เวลาผ่านไปก็จะรู้เอง
     
  16. ธรรมภูต

    ธรรมภูต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    3,621
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +2,192
    ^
    ^
    เฮ้ย...

    ข้อนั้นใครๆก็รู้ว่า"มีผลจริง" ไม่ต้องรอเวลาให้ผ่านไป เห็นๆอยู่55+

    แต่ที่ถามไปนั้น คนที่หัด "ภาวนา"ทั้งหลายยังต้องการรู้อยู่นะ

    ทำไม"ฌานที่๒" อามีสสัญญาจึงดับ อย่าแกล้งโง่อีกหละ

    เมื่อชอบโม้สายสะพายไปไกลว่า "ภูมิรู้ภูมิธรรม"ของตนเองนั้นลึกซึ้ง

    จน"ธรรมภูต"เองยังต้องอาย หลบซ้ายให้ไปก่อนเลย

    ไม่ใช่ย้ำคิดย้ำทำนะ แต่ที่ถามไปนั้นล้วนต้องการคำตอบว่า

    "ทำมาพูด" หรือ "จำมาพูด" จากคำสั่งสอนของพ่อแม่ครูบาอาจารย์ท่าน

    เจริญในธรรมทุกๆท่าน

     
  17. อภิมาร

    อภิมาร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 ตุลาคม 2012
    โพสต์:
    711
    ค่าพลัง:
    +2,154


    วางตำราไว้ก่อน

    เริ่มไปทีละก้าว..ยกรู้..ย่างรู้...เหยียบรู้

    ก้าวขาขวารู้...ก้าวขาซ้ายรู้..อยู่กับปัจจุบันขณะ.
     
  18. อินทรบุตร

    อินทรบุตร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มิถุนายน 2012
    โพสต์:
    2,511
    ค่าพลัง:
    +7,320
    นี่เริ่มออกอาการแล้วนี่ไง

    คำพูดที่คนนึงพูด สมองมันเบลอจนคิดว่าอีกคนพูด

    มันเริ่มส่งผลแล้วหละ
     
  19. telwada

    telwada เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กันยายน 2004
    โพสต์:
    1,509
    ค่าพลัง:
    +1,817
    ปัดโธ่ เสวนากับใครไม่เสวนา เสวนากับ เจ้า อินทรบุตร มันไม่ได้รู้เรื่องอะไรดอกขอรับ ก็แค่ลอกตำรามา แล้วก็มานั่งคิดว่าเป็นอย่างนั้นอย่างนี้ แถมจิตใจก็ต่ำซะไม่มี ถ้าจะเรียกเจ้า อินทรบุตรให้ สละสลวย ก็ต้องเรียกว่า "มือถึอสาก ปากถือศีล" ไม่ได้รุ้เรื่องอะไรดอกขอรับ แค่อ่านภาษาไทยยังไม่ค่อยจะรู้เรื่องแล้วขอรับ
     
  20. อินทรบุตร

    อินทรบุตร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มิถุนายน 2012
    โพสต์:
    2,511
    ค่าพลัง:
    +7,320
    ความชั่วของตนเอง มันไม่พูดถึงเลยแฮะ

    พอเจอขุดขึ้นมาแบบหนีไม่ได้ เลี่ยงไม่ได้ เพราะมันทำไว้เองแบบขาดสติ มันเงียบหายไปเฉยๆ ไปตอบกระทู้อื่นแทน...
     

แชร์หน้านี้

Loading...