ปิดรับบริจาค กระทู้กลับมาเป็นเครื่องกรองน้ำแก่วัด, สำนักสงฆ์ในนครพนมอีกครั้ง

ในห้อง 'งานบุญอื่นๆ' ตั้งกระทู้โดย glassbuddha2009, 11 กรกฎาคม 2013.

  1. 5000

    5000 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    1,491
    ค่าพลัง:
    +7,121
    เห็นยอดเงิน 6000.- แล้วครับ พรุ่งนี้จะดำเนินการไปรับของ แล้วจะถ่ายรูปมาให้ดูครับ
    ตอนนี้ยังติดต่อพระอาจารย์ภาคภูมิไม่ได้เลยครับ ยังไงพรุ่งนี้ผมจะลองติดต่อดูอีกทีครับ
     
  2. glassbuddha2009

    glassbuddha2009 087-7459995 สมบูรณ์ ติยะวงศ์สกุล

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    37,262
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +53,848
    ขอบคุณมากครับคุณ 5000 นับว่า เป็นการร่วมมือกันที่ทำให้เกิดประโยชน์ต่อผู้ปฏิบัติธรรมในถิ่นทุรกันดาร ทำให้ผู้ปฏิบัติธรรมได้ดื่มฉัน ได้ดื่มกินน้ำที่สะอาด ทำให้ห่างไกลโรคภัยไข้เจ็บครับ

    วันนี้ผมได้โทรกราบเรียนพระภาคภูมิแล้วว่า คุณสงขลาจะโทรไป ท่านดูเหมือนกำลังให้ช่างซ่อมโทรศัพท์อยู่ เสียงอู้อี้มาก แต่คาดว่าน่าจะเสร็จแล้วเย็นนี้ หรือไม่ก็คงทิ้งโทรศัพท์ให้ช่างซ่อมคืนนึงครับ
     
  3. glassbuddha2009

    glassbuddha2009 087-7459995 สมบูรณ์ ติยะวงศ์สกุล

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    37,262
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +53,848
    [​IMG]

    คุณ 5000 โทรบอกผมบ่ายนี้ว่า ไปหาซื้อเครื่องกรองน้ำ R.O. ชุดไส้กรอง 20 นิ้ว ( ขนาดกลาง ) ไปพบถังน้ำและถังแรงดันมาติดกันเป็นแพคเกจเดียวกัน เจ้าของร้านไม่ยอมแยก พรุ่งนี้ค่อยจัดหาชุดที่มีเครื่องกรองกับถังแรงดันครับ เพราะผมโทรกราบเรียนถามพระที่วัดโพธิ์ชัยแล้ว ท่านบอกว่า ถังน้ำธรรมดาขนาด 100 ลิตรทางวัดหาได้ไม่ยาก แต่ถ้าส่งจากกรุงเทพฯจะยากเพราะใหญ่

    ผมลองไปหารูปถังที่มากับชุดเครื่องกรอง พบรูปนี้ครับ ทำไมถังแรงดันถึงใหญ่ขนาดนี้ก็ไม่ทราบ แค่เอารูปมาโชว์ครับ
     
  4. glassbuddha2009

    glassbuddha2009 087-7459995 สมบูรณ์ ติยะวงศ์สกุล

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    37,262
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +53,848
    ขณะนี้ยังขาดค่าน้ำมันของพระ อ. ภาคภูมิที่ต้องไปรับถึงในเมืองห่างจากวัดหลายสิบกิโลเมตรและไปติดตั้งทั้ง 4 วัดนี้แต่ละวัดก็ไกลกันหลายสิบกิโลเมตร พระ อ. ภาคภูมิบอกว่าประมาณ 2,000.- บาทน่าจะพอครับ

    ยังขาดอีก 2,000.- บาทครับ
     
  5. 5000

    5000 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    1,491
    ค่าพลัง:
    +7,121
    ได้ของครบแล้วครับ กล่องเบ่อเริ่มเลย
    [​IMG]

    [​IMG]

    เป็นเครื่อง RO ขนาด 20 นิ้ว ยี่ห้อ uni pure
    [​IMG]

    มีถังแรงดันด้วยครับ อยู่นี่ไง
    [​IMG]

    กรี๊ดดดดด ผีเครื่องกรอง RO...... อ้อไม่ใช่ ลูกสาวมุดเข้าไปเล่นนี่เอง
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • RO-001.jpg
      RO-001.jpg
      ขนาดไฟล์:
      94.5 KB
      เปิดดู:
      7,899
    • RO-003.jpg
      RO-003.jpg
      ขนาดไฟล์:
      56.9 KB
      เปิดดู:
      7,826
    • RO-004.jpg
      RO-004.jpg
      ขนาดไฟล์:
      61.8 KB
      เปิดดู:
      7,825
    • RO-005.jpg
      RO-005.jpg
      ขนาดไฟล์:
      87.3 KB
      เปิดดู:
      8,536
  6. 5000

    5000 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    1,491
    ค่าพลัง:
    +7,121
    [​IMG]

    ได้ถังแรงดันใบใหญ่มาครับ

    [​IMG]

    แผ่นเพลท ที่แขวนเครื่องกรองเป็นสแตนเลสไม่เป็นสนิม

    [​IMG]

    [​IMG]
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • RO-006.jpg
      RO-006.jpg
      ขนาดไฟล์:
      101.1 KB
      เปิดดู:
      7,782
    • RO-007.jpg
      RO-007.jpg
      ขนาดไฟล์:
      111 KB
      เปิดดู:
      7,999
    • RO-008.jpg
      RO-008.jpg
      ขนาดไฟล์:
      79.3 KB
      เปิดดู:
      7,772
    • RO-009.jpg
      RO-009.jpg
      ขนาดไฟล์:
      105.7 KB
      เปิดดู:
      7,708
  7. 5000

    5000 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    1,491
    ค่าพลัง:
    +7,121
    [​IMG]

    [​IMG]

    เครื่องกรอง UF แถมไส้กรอง PP มาด้วย เครื่องละ 2 ชิ้น

    [​IMG]

    เครื่องกรอง RO 20 นิ้ว ก็แถมไส้กรอง PP มาด้วย 2 ชิ้น

    [​IMG]

    ของที่ซื้อไป 6300.- บาท
    ส่วนรายการที่ 2 เป็นรายการที่ผมซื้อมาใช้เอง มูลค่า 60 บาท
    เค้าเลยเขียนบิลในใบเดียวกัน

    ส่วนที่เกิน 6000.- ไป 300.-บาท ผมออกให้เองครับ
    ตอนนี้กำลังหาวิธีส่งไป นาแก นครพนม อยู่ครับ
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • RO-015.jpg
      RO-015.jpg
      ขนาดไฟล์:
      69.6 KB
      เปิดดู:
      7,660
    • RO-016.jpg
      RO-016.jpg
      ขนาดไฟล์:
      60.7 KB
      เปิดดู:
      7,653
    • RO-017.jpg
      RO-017.jpg
      ขนาดไฟล์:
      89.3 KB
      เปิดดู:
      7,846
    • RO-022.jpg
      RO-022.jpg
      ขนาดไฟล์:
      74.1 KB
      เปิดดู:
      8,890
  8. 5000

    5000 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    1,491
    ค่าพลัง:
    +7,121
    ของที่จะต้องส่งทั้งหมด...

    [​IMG]
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • RO-013.jpg
      RO-013.jpg
      ขนาดไฟล์:
      95.3 KB
      เปิดดู:
      7,543
  9. glassbuddha2009

    glassbuddha2009 087-7459995 สมบูรณ์ ติยะวงศ์สกุล

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    37,262
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +53,848
    [​IMG]
    ขอขอบคุณและขออนุโมทนาคุณ 5000 ที่ช่วยจัดซื้อครับ นับว่าซื้อได้ราคาถูกลงกว่าเดิมอีก และถังแรงดันก็รู้สึกใหญ่ขึ้นกว่าเดิม ( เดิมคือชุด R.O. ที่ถวายไปที่วัดพุทธนิมิตสามัคคีธรรม ) ของพระ อ. ภาคภูมิ ถังนั้นเล็กกว่านี้ครึ่งหนึ่งทีเดียวครับ

    ขอโมทนาทั้งหมดทั้งมวลครับ

    และวันนี้มีคนบูชาพระเครื่องขุนแผนหลวงปู่สาครวัดหนองกรับที่มีคนบริจาคมาเพื่องานบุญ บูชาไป 2,700.- บาท ผมจึงสามารถโอนค่าน้ำมันของพระ อ. ภาคภูมิที่ต้องมาจัดการธุระของเราครั้งนี้ครับ ไม่งั้นก็ยังงง ๆ อยู่ว่า จะเอาที่ไหนมาถวายค่าน้ำมันท่านครับ
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • 067a.jpg
      067a.jpg
      ขนาดไฟล์:
      61.6 KB
      เปิดดู:
      8,189
  10. glassbuddha2009

    glassbuddha2009 087-7459995 สมบูรณ์ ติยะวงศ์สกุล

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    37,262
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +53,848
    [​IMG]
    ตัวกล่องกระดาษใหญ่จริง ๆ ครับ ครั้งก่อนที่ส่งชุดกรองน้ำ R.O. ถวายวัดของพระ อ. ภาคภูมิ กล่องคงประมาณนี้แหละครับ ผมใส่เข้าไปหมดเลย ทั้งเครื่องกรองทั้งถังแรงดันและอัดกระดาษแน่นมาก น้ำหนักรวมกล่องนั้นประมาณ 24-25 ก.ก. ครับ

    จากประสบการณ์ ถ้าจัดส่งทางบริษัททัวร์หรือขนส่ง บางทีไม่ต้องอัดกระดาษแน่นขนาดนั้นก็ได้ครับ แต่ถ้าส่งทางไปรษณีย์เขาบอกว่าให้อัดแน่นเปรี๊ยะเลย
     
  11. glassbuddha2009

    glassbuddha2009 087-7459995 สมบูรณ์ ติยะวงศ์สกุล

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    37,262
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +53,848
    จากนี้ไปก็จะอยู่ระหว่างการระดมทุนสำหรับอีกวัดหนึ่งที่พระ อ. ภาคภูมิได้บอกไว้ว่า มีสนิมแดงมากในท่อน้ำ วัดนี้ก็คงต้องใช้ระบบ R.O. เช่นกัน เพียงแต่ว่าควรต้องมีเครื่องกรองแมงกานีสแยกออกมาจากชุดกรอง คือแยกตัวกรองแมงกานีสก่อนเข้าชุดกรองธรรมดาและก่อนเข้ากรอง R.O.

    ชุดกรอง R.O. ไส้กรอง 20 นิ้วชุดละประมาณ 6,000.- ถึง 6,500.- บาท เครื่องกรองแยกอิสระแมงกานีสผมยังไม่ทราบราคาครับ เพราะจำได้ว่า แมงกานีสเป็นสารกรองชนิดเติมเข้าไปในถังขนาดใหญ่กว่า 20 นิ้วมาก ดังนั้น ตัวเครื่องแบบนั้นจะมีราคาหลายพันบาท ชุดนี้อาจจะแพงกว่าวัดอื่นใดทั้งหมดก็เป็นไปได้นะครับคุณ 5000
     
  12. glassbuddha2009

    glassbuddha2009 087-7459995 สมบูรณ์ ติยะวงศ์สกุล

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    37,262
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +53,848
    [​IMG]
    กราบนมัสการครับพระ อ. ภาคภูมิ ผมโอนถวายค่าน้ำมันในการจัดการรับส่งและติดตั้งเครื่องกรองของทั้ง 4 วัด ( ครั้งนี้ ) แล้วนะครับ เรียกว่ามาทันเวลาพอดีครับ

    ขอกราบขอบพระคุณและขอขมาที่ต้องขอพระ อ. ภาคภูมิช่วยเป็นธุระและเก็บรูปมาโพสต์เพื่อทุกท่านที่ร่วมบุญจะได้ร่วมอนุโมทนากันครับ

    ส่วนอีกวัดหนึ่งที่มีน้ำสนิมแดงในท่อเป็นอย่างมากนั้น ผมได้ถามคุณชาญวิทย์แล้ว คุณชาญวิทย์บอกว่า หลังจากกรองด้วยเครื่องกรอง สารกรองอะไรก็แล้วแต่ พอสุดท้ายแล้ว วัดนี้ต้องใช้ R.O. ครับ เพราะสนิมแดงจะไม่หมดฤทธิ์ จะหมดจริง ๆ ต้อง R.O. ซึ่งตรงนี้ผมอยากให้ท่านที่มีความรู้ด้านน้ำช่วยชี้แนะอีกทีครับ เพราะถ้าเราลดลงมาเป็น U.F. ได้ ราคาทั้งชุดจะถูกกว่า R.O. มากครับ
     
  13. glassbuddha2009

    glassbuddha2009 087-7459995 สมบูรณ์ ติยะวงศ์สกุล

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    37,262
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +53,848
    ขอพระ อ. ภาคภูมิได้อ่านความคิดเห็นนี้อย่างละเอียดครับ จะทำให้รู้แจ้งจริง ๆ

    หลวงปู่ สมชาย ฐิตวิริโย ประธานสงฆ์วัดเขาสุกิม
    ท่านพูดเสมอว่า ถ้ามีเหตุการณ์ที่นำพาให้เราดีใจ หรือ เราเสียใจ
    ท่านจะเตือนสติ พระ เณร , แม่ชี , อุบาสก อุบาสิกา เสมอๆว่า

    *** อย่ามองเหตุการณ์ ให้มองที่ใจเรา ***


    ข้อมูลทั้งหมดนี้ เกิดจากประสบการณ์ การเรียนรู้เพิ่มเติม
    การทำงานและลงมือปฏิบัติรวมถึงปัญหาที่พบ ก่อนการติดตั้งระบบกรองน้ำดื่ม
    โดยใช้เครื่องกรองน้ำประดิษฐ์ แบบใช้ท่อพีวีซี


    สติเป็นบ่อเกิดแห่งการทำงาน
    เหตุการณ์เป็นสะพานให้ข้ามไป

    ธีรภโร ภิกขุ
    เชิญเข้าชม การสร้างทรัพย์ภายใน บุญนำใจ
    ขอขอบคุณสถานที่เรียนรู้ ( ปี พ.ศ. ๒๕๔๘ ก่อนบวช )
    กรมวิทยาศาสตร์บริการ แขวงอนุสาวรีย์ กรุงเทพฯ คุณชัยวัฒน์ ๐๒ - ๒๐๑๗๐๐๐
    ขออนุโมทนาบุญ ( ปี พ.ศ. ๒๕๕๒ )
    - อาจารย์ เมธี เงินคีรี ๐๘๔ - ๙๘๕๓๗๒๕
    ศูนย์เทคโนโลยี่ เครื่องกรองน้ำสนิมเหล็ก
    มหาวิทยาลัยแม่โจ้ อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่
    - คุณอาทร คุณวัชรี ( ผู้สนับสนุน ผ้าป่าเครื่องกรองน้ำดื่ม และ สารกรองน้ำ )
    ร้านมิสเตอร์ฮาร์ดแวร์ จำหน่ายตู้น้ำดื่มหยอดเหรียญ และ อะไหล่
    บางกะปิ กรุงเทพฯ ๐๘๖ – ๓๑๓๐๘๓๕ , ๐๘๙ - ๑๑๘๑๐๑๑
    - บริษัท รุ่งอรุณ แมชชีนเนอรี่ จำกัด
    จำหน่ายแผ่นเหล็ก มุ้งแสตนเลส กรุงเทพฯ ๐๒-๒๑๔๓๖๔๗,๐๒-๒๑๔๒๕๙๒



    ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับคุณภาพของแหล่งน้ำ
    น้ำจากแหล่งน้ำทั่วไป อาทิ น้ำคลอง , น้ำบ่อบาดาล , น้ำสระ จะมีทั้งสารอินทรีย์ และ สารอนินทรีย์
    สารอินทรีย์ คือ สิ่งที่มีชีวิต ที่อยู่ในน้ำ เช่น เชื้อจุลินทรีย์ , ไวรัส , แบคทีเรีย , โคลิฟอร์ม ฯลฯ
    สารอนินทรีย์ คือ สิ่งที่ไม่มีชีวิต ซึ่งมี ๒ ลักษณะ คือ
    ๑. เห็นด้วยตาเปล่า เช่น สารแขวนลอยต่างๆ ตะกอน , เศษหิน , ดิน , ทราย , โคลน
    ๒.ไม่เห็นด้วยตาเปล่า เช่น สารละลายต่างๆ ที่อยู่ในน้ำ เช่น สนิมเหล็ก , หินปูน , แร่ใยหิน , แคลเซียม , คลอไรด์ , สารหนู , คลอรีน ฯลฯ
    *** หมายเหตุ ข้อความข้างต้นกล่าวสรุปเพียงคร่าวๆ ซึ่งแหล่งน้ำแต่ละที่ ยังมีคุณสมบัติที่เป็นองค์ประกอบปลีกย่อยที่สำคัญอีก เช่น คุณสมบัติทางเคมี , ความเข้มข้นของสารละลายรวมในน้ำ เป็นต้น

    ข้อความนี้ เหมาะกับการติดตั้งเครื่องกรองน้ำประดิษฐ์ แบบใช้ท่อพีวีซี
    ( รับแรงดันน้ำไม่เกิน ๔ บาร์ )

    หลักสำคัญ ก่อนพิจารณาติดตั้งระบบกรองน้ำคือ เป็นแหล่งน้ำดิบประเภทไหน เช่น
    - น้ำของการประปา , น้ำบ่อบาดาลทั้งน้ำตื้น และ น้ำลึก , น้ำบ่อ , น้ำคลอง , น้ำภูเขา
    - ไม่ควรมีกลิ่น , สี , ความขุ่น และอยู่ใกล้ทางระบายน้ำเสีย , โรงงาน , ปั๊มน้ำมัน
    - มีแทงค์เก็บน้ำเพื่อให้ตกตะกอนในขั้นต้น หากว่ามีตะกอนมากเกิน ต้องทำบ่อกรองตะกอนหยาบก่อน โดยใช้หินกรองน้ำ ๕ เบอร์ (อยู่ในภาคผนวก) และ ควรมีค่าสารละลายรวมในน้ำน้อยกว่า ๖๐๐ พีพีเอ็ม
    ( พีพีเอ็ม คือ หน่วยวัดความเข้มข้นของสารละลายรวมในน้ำ โดยใช้เครื่อง TDS TASE ทั้งนี้ อย. กำหนดค่าสารละลายรวมในน้ำดื่มต้องไม่เกิน ๕๐๐ พีพีเอ็ม ส่วนระบบ RO กรมอนามัยโลกกำหนดค่าสารละลายรวมไม่เกิน ๕๐ พีพีเอ็ม )

    สารละลายสนิมเหล็ก และ สารละลายหินปูนในแหล่งน้ำดิบคืออะไร จะตรวจสอบและแยกสารละลายทั้งสองออกจากแหล่งน้ำดิบได้ด้วยวิธีไหนบ้าง ?
    สารละลายสนิมเหล็ก และ สารละลายหินปูน
    ๑.สารละลายสนิมเหล็กในน้ำ มี ๒ ชนิด คือ
    ๑.๑ ชนิดชั่วคราว กำจัดโดยการใช้วิธีสูบน้ำขึ้นจากแหล่งน้ำดิบแล้วปล่อยน้ำนั้นผ่านชั้นกรองถ่าน + ให้น้ำสัมผัสกับอากาศก่อนตกลงสู่ถังดักตะกอนหยาบ วิธีนี้จะสังเกตเห็นคราบสนิมเหล็กได้ด้วยตาเปล่า ซึ่งหาดูได้จากระบบประปาหมู่บ้านทั่วๆไป (ดูภาคผนวกตอนท้าย)
    ๑.๒ ชนิดถาวร จากวิธีการเบื้องต้น สารละลายสนิมเหล็กบางส่วนจะไม่สามารถกำจัดได้หมด และสังเกตไม่ได้ด้วยตาเปล่า เรียกสารละลายสนิมเหล็กชนิดถาวร ต้องกำจัดโดยให้น้ำนี้ผ่านเครื่องกรองน้ำ ที่มีสารกรองน้ำแมงกานีส ก็จะสามารถกำจัดได้หมด
    ( กรมวิทย์บริการ ผู้คิดวิจัยทำสารกรองน้ำแมงกานีส คือทรายหยาบที่มีลักษณะเม็ดเท่ากันโดยการคัดแยกโดยเฉพาะ นำมาผสมกับด่างทับทิม โดยใช้ความร้อนเป็นตัวเร่งปฏิกิริยาทางเคมี ทำให้ด่างทับทิมเคลือบเม็ดทราย เปลี่ยนเป็นสารกรองน้ำแมงกานีส)
    ๒.สารละลายหินปูนในน้ำหรือเรามักเรียกว่า น้ำกระด้าง (ถ้าน้ำกระด้างมากเมื่อผสมกับผงซักฟอกหรือสบู่แล้วจะไม่มีฟอง) มี ๒ ชนิด คือ
    ๒.๑ ชนิดชั่วคราว ปกติเวลาเราต้มน้ำสำหรับดื่ม ถ้าน้ำที่นำมาต้มไม่สะอาดพอ คือหมายถึง ในน้ำนั้นยังมีสารละลายหินปูนปนเปื้อนอยู่ โดยที่เราอาจจะไม่รู้ เราจะสังเกตเห็นที่ก้นกาน้ำร้อน (ใช้เตาแก็สหรือเตาถ่าน) หรือ ก้นกระติกกาน้ำร้อน (ใช้ไฟฟ้า) จะมีคราบตะกรันสีขาวขุ่น ลักษณะแข็ง เกาะตามขอบด้านล่างของกาน้ำร้อน นั่นแหล่ะ คือสารละลายหินปูนชนิดชั่วคราว สามารถแยกตัวออกจากน้ำได้โดยใช้ความร้อน
    ๒.๒ ชนิดถาวร แหล่งน้ำดิบที่จะนำมาผ่านเครื่องกรองน้ำส่วนใหญ่ทั้งหมดจะมีสารละลายหินปูน ปนเปื้อนจำนวนมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายๆอย่าง ซึ่งความร้อนไม่สามารถกำจัดได้ทั้งหมด วิธีการกำจัดสารละลายหินปูนชนิดถาวรนี้ ได้ด้วยการใช้ สารกรองน้ำเรซิ่นเป็นตัวดักจับสารละลายหินปูนได้ทั้งหมด (สารกรองน้ำเรซิ่นนี้ก็คือ เมลามีนประเภทหนึ่ง) หลักการดักจับของสารเรซิ่น คือ เปรียบในแต่ละเม็ดของสารเรซิ่น จะมีหนามแหลมเต็ม เมื่อสารละลายหินปูนในน้ำไหลผ่าน จะเกิดปฎิกริยาดูดจับสารละลายหินปูนไว้ ทำให้น้ำที่ไหลผ่านออกมาปราศจากสารละลายหินปูน กลายเป็นน้ำสะอาดที่เหมาะกับการใช้ประโยชน์ต่อไป

    ***หมายเหตุ คุณภาพของน้ำดื่มที่ดี ต้องมีการกรองสารละลายหินปูนในน้ำออกทั้งหมด ส่วนน้ำใช้ ถ้าความกระด้างของน้ำไม่สูงเกินไปก็สามารถใช้ได้ทันทีโดยไม่จำเป็นต้องผ่านการกรองด้วยสารกรองเรซิ่น
    เมื่อผ่านหลักการข้างต้น รวมทั้งมีความเข้าใจเรื่องสารละลายสนิมเหล็กและสารละลายหินปูนในน้ำแล้ว ต่อไปต้องดูคุณภาพน้ำโดยรวม มี ๒ วิธี คือ ก. วิธีการสังเกตด้วยตาเปล่า และ ข. ใช้ชุดตรวจทางเคมี ตรวจคุณสมบัติความเข้มข้นของสารละลายสนิมเหล็ก และ หินปูน ในแหล่งน้ำนั้น

    ก. วิธีการสังเกตด้วยตาเปล่า
    ๑. สารละลายสนิมเหล็ก ให้นำขวดพลาสติกใส นำน้ำจากแหล่งน้ำนั้นๆ ล้างเขย่า ๒ – ๓ รอบ แล้วใส่น้ำนั้นไว้ให้เต็มขวด ปิดฝาให้แน่น นำมาวางไว้ในที่ๆ ไม่โดนแดด ปล่อยค้างคืน ในอุณหภูมิห้องปกติ เมื่อผ่านไป ๑ คืน ถ้าในน้ำนั้นมีสนิมเหล็ก จะมีตะกอนสีชาๆ ที่ก้นขวด
    ๒.ตะกอนทั่วๆไป ให้ทำตามข้อ ๑. ( สารแขวนลอยที่หลงเหลือจากการกักเก็บเพื่อให้ตกตะกอนในขั้นแรก เมื่อน้ำมีการตกตะกอนแล้วถ้าในน้ำยังมีความขุ่นอยู่ อาจต้องใช้สารกรองแอนทราไซด์ ดักความขุ่นของน้ำ + ชุดดักตะกอนแบบใส่ไส้กรองพีพี (ไส้กรองเส้นใยอัดแท่งสำเร็จรูป) ขนาด ๕ ไมครอน หรือเรียกว่า
    ชุดเฮาส์ซิ่ง ดักจับก่อนจ่ายน้ำ เข้าเครื่องกรองน้ำอีกครั้ง )
    ๓. สารละลายหินปูน นำแก้วใสใส่น้ำจากแหล่งน้ำ ใช้น้ำยาเทสความกระด้างของน้ำ โดยใช้น้ำ ๒๕๐ ซีซี ต่อ น้ำยาเทส ๑ หยด ถ้าน้ำนั้นเปลี่ยนเป็นสีฟ้า หรือ น้ำเงินจางๆ แสดงว่าไม่มีหินปูน แต่ถ้าน้ำเปลี่ยนเป็นสีน้ำเงินอมม่วง , สีชมพู , สีแดง แสดงว่ามีสารละลายหินปูนในน้ำ (สีแต่ละสีนั้นบ่งบอกถึงปริมาณความเข้มข้นของสารละลายหินปูนด้วย)
    ๔. ค่าความเป็นกรดเป็นด่างในน้ำดื่ม หรือมักเรียกทับศัพท์ว่า ค่า PH น้ำที่ผ่านการกรองดักจับ สารละลายออกข้างต้น จะมีค่าความเป็นด่างอยู่ประมาณ ๗.๔ ซึ่งเหมาะกับสภาพร่างกาย
    ๕.การตรวจสอบค่าสารละลายรวมทั้งหมดในน้ำ โดยใช้เครื่อง TDS หมายถึงสารละลายรวมในน้ำ
    ทุกประเภทไม่จำกัดเฉพาะ สารละลายสนิมเหล็ก และ สารละลายหินปูน คำว่า “ TDS “ ย่อมาจากคำว่า total ความเข้มข้นของสารละลาย หนึ่งในล้านส่วน มีหน่วยวัดเรียกว่า พีพีเอ็ม โดยจะแสดงค่าเป็นตัวเลขดิจิตอล หลัก ๐ ถึง ๙,๙๙๙ โดยที่ หน้าจอจะมี ๓ หลัก คือ ๐ – ๙๙๙ ถ้าค่าของสารละลายรวม มากกว่านี้ เช่น ๑,๗๐๐ พีพีเอ็ม หน้าจอจะแสดงตัวเลขเป็น ๑๗๐ x ๑๐

    จากประสบการณ์ของผู้เขียน ได้ตรวจวัดคุณภาพน้ำจากหลายที่ ดังนี้
    - ค่าของน้ำประปาจากปริมณฑลรอบกรุงเทพฯ ประมาณ ไม่เกิน ๒๕๐ พีพีเอ็ม*
    - ค่าของน้ำประปาบาดาลจากปริมณฑลรอบกรุงเทพฯ ประมาณ ๒๕๐ – ๑,๗๐๐ พีพีเอ็ม*
    - ค่าของน้ำประปาเขตรอบนอกกรุงเทพฯ ประมาณ ๑๕๐ – ๒๐๐ พีพีเอ็ม*
    - ค่าของน้ำประปาเขตภายในกรุงเทพฯ ประมาณ ๑๒๐ – ๑๕๐ พีพีเอ็ม*
    - ค่าของน้ำฝนเขตอำเภอมวกเหล็ก ประมาณ ๑ – ๕ พีพีเอ็ม
    - ค่าของน้ำประปาจังหวัดนครนายก ประมาณ ๑ – ๕ พีพีเอ็ม ( ปี พ.ศ. ๒๕๔๙ ไม่พบหินปูน )
    - ค่าของน้ำประปาจังหวัดจันทบุรี ประมาณ ๕ – ๑๕ พีพีเอ็ม ( ปี พ.ศ. ๒๕๔๙ )
    - ค่าของน้ำฝนเขตจังหวัดจันทบุรี ประมาณ ๑ – ๕ พีพีเอ็ม (ไม่พบหินปูน)*
    - ค่าของน้ำภูเขา อำเภอท่าใหม่ จังหวัดจันทบุรี ประมาณ ๗๐ – ๙๐ พีพีเอ็ม*
    - ค่าของน้ำภูเขา อำเภอมะขาม จังหวัดจันทบุรี ประมาณ ๓๐ พีพีเอ็ม*
    - ค่าของน้ำภูเขา อำเภอสอยดาว จังหวัดจันทบุรี ประมาณ ๒๕ พีพีเอ็ม*
    * ตรวจพบสารละลายหินปูน โดยใช้น้ำยาเทสความกระด้างของน้ำ
    การตรวจสอบคุณภาพน้ำดื่มบรรจุขวดขาวขุ่นแบบปิดสนิท
    - ค่าของขวดน้ำดื่ม ยี่ห้อ ก. ประมาณ ๑๐๐ พีพีเอ็ม (ไม่พบหินปูน)
    - ค่าของขวดน้ำดื่ม ยี่ห้อ ข. ประมาณ ๗๐ พีพีเอ็ม (พบหินปูน)
    - ค่าของขวดน้ำดื่ม ยี่ห้อ ค. ประมาณ ๗๐ พีพีเอ็ม (พบหินปูน)

    ทั้งนี้ค่า TDS ของขวดน้ำดื่มแต่ละยี่ห้อนั้น ส่วนมากอยู่ในกฏเกณฑ์ของ อย. แต่ การตรวจพบสารละลายหินปูนในน้ำดื่ม ส่วนมาก มักเกิดจากการไม่เอาใจใส่ของผู้ประกอบการ ไม่เปลี่ยนสารกรองเรซิ่น หรือ ล้างน้ำเกลือตามกำหนดเวลา และขาดการดูแลอย่างทั่วถึงจากหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้อง ซึ่งสารกรองเรซิ่นนี้ หากไม่มีการดูแลที่ถูกต้องหรือเสื่อมคุณภาพ ก็เป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำให้ผู้ที่บริโภคน้ำได้รับความเสี่ยงจากการปนเปื้อนของสารเมลามีนซึ่งเป็นปัจจัยของการเกิดโรคมะเร็ง สารกรองเรซิ่นนี้ก็คือสารเมลามีนที่นำมาผ่านกระบวนการนั่นเอง


    ***หมายเหตุ ค่าตัวเลขของเครื่อง TDS ยิ่งน้อย ไม่ได้หมายความว่า ค่าสารละลายรวมในน้ำต้องน้อยตามไปด้วย ตัวอย่าง เช่นมีการตรวจสอบคุณภาพน้ำด้วยเครื่องชนิดนี้ ก่อนการกำหนดขนาดเครื่องกรองน้ำดื่ม ระหว่าง
    - ค่าของน้ำภูเขา วัด ก. เขตอำเภอท่าใหม่ ค่าตัวเลขได้ที่ ๙๐ พีพีเอ็ม แต่เมื่อแยกตรวจสอบเฉพาะ กลับพบปริมาณสารละลายหินปูนในน้ำ ไม่ถึง ๑๗ มิลลิกรัม/ลิตร ส่วน
    - ค่าของน้ำภูเขา วัด ข. เขตอำเภอมะขาม ค่าตัวเลขได้ที่ ๓๐ พีพีเอ็ม แต่เมื่อแยกตรวจสอบเฉพาะ พบปริมาณสารละลายหินปูนในน้ำ ถึง ๓๔ มิลลิกรัม/ลิตร
    นอกจากนี้ยังมีข้อสังเกตอีกข้อคือ ค่าตัวเลข TDS = ๑ – ๕ พีพีเอ็ม ที่วัดได้จากน้ำฝนโดยใช้ภาชนะรองกลางแจ้ง ในบางพื้นที่นั้น เมื่อนำไปเปรียบเทียบกับค่าน้ำดื่ม ของเครื่องกรองน้ำดื่ม ระบบ RO กลับพบว่ามีตัวเลขที่ใกล้เคียงกัน

    ตัวอย่างต่อไป น้ำทั้งสองบ่อข้างล่างนี้ มองด้วยตาเปล่า มีความใสสะอาดเหมือนกัน แต่
    น้ำจากบ่อบาดาล ก. เมื่อใช้ TDS ตรวจแล้วได้ค่า ๒๕๐ พีพีเอ็ม
    น้ำจากบ่อบาดาล ข. เมื่อใช้ TDS ตรวจแล้วได้ค่า ๑,๗๐๐ พีพีเอ็ม
    สรุปเบื้องต้นว่า น้ำจากบ่อบาดาล ก. และ น้ำจากบ่อบาดาล ข. เมื่อผ่านการพิจารณาข้างต้นแล้ว การประมาณการค่าใช้จ่ายในการทำระบบกรอง น้ำจากบ่อบาดาล ก.น่าจะมีค่าใช้จ่ายถูกกว่า

    นอกจากนี้การที่จะผลิตหรือกำหนดขนาดเครื่องกรองน้ำดื่ม หรือ น้ำใช้ นั้น ยังต้องรู้ลึกลงไปอีกว่าปริมาณของสารละลายสนิมเหล็ก และ สารละลายหินปูนในน้ำ มีความเข้มข้นมากน้อยเพียงไรซึ่งถ้าหากว่าไม่มีชุดตรวจสอบทางเคมี ต้องส่งตัวอย่างน้ำไปตรวจสอบกับหน่วยงานภาครัฐหรือเอกชนต่อไป (ต้องมีค่าใช้จ่าย)


    ข. วิธีใช้ชุดตรวจสอบทางเคมี ตรวจวัดความเข้มข้นของสารละลาย
    ( HACH test kit ) โดยความร่วมมือกับคลินิกเทคโนโลยี่ เครื่องกรองน้ำสนิมเหล็ก
    มหาวิทยาลัย แม่โจ้ จังหวัดเชียงใหม่
    ชุดแรก ประกอบด้วย
    - ซองบรรจุผงเคมีตรวจระดับความเข้มข้นของสนิมเหล็ก ( FerroVer Iron Reagent )
    - กล่องหมุนวงพลาสติกเคลือบแถบสี และตัวเลขแสดงค่า มิลลิกรัมต่อลิตร ( color disc )
    - หลอดพลาสติก สำหรับผสมน้ำกับผงเคมี

    วิธีทดสอบ
    ๑.นำน้ำจากแหล่งน้ำดิบ ใส่ให้ได้ตามปริมาณที่กำหนดตามแนวเส้นที่ติดอยู่กับหลอดพลาสติก (ความจุประมาณ ๑๐ ซีซี)
    ๒.ฉีกซองบรรจุผงเคมีตรวจระดับความเข้มข้นของสนิมเหล็ก เทลงในหลอดใส่น้ำที่เตรียมไว้ ให้ปิดฝาเขย่าเบาๆ ผงเคมีจะผสมกับน้ำ เปลี่ยนเป็นสีชา สีจะเข้มหรือจาง ก็ขึ้นกับความเข้มข้นของสารละลายสนิมเหล็กในน้ำ
    ๓.ให้นำหลอดนั้นใส่ลงในกล่องที่มีช่องมองเพื่อเทียบสี กับวงพลาสติกเคลือบแถบสี ซึ่งจะมีตัวเลขบอกถึงปริมาณความเข้มข้น ตั้งแต่ ๐ , ๐.๕ , ๑.๐ , ๑.๕ , ๒.๐ , ๒.๕ , ๓.๐ , ๓.๕ , ๔.๐ , ๔.๕ , ๕.๐ มิลลิกรัม ต่อ ลิตร เมื่อหมุนวงพลาสติกเทียบสีแล้ว หากความเข้มของสีในน้ำไปตรงกับวงแถบสีที่มีตัวเลขกำกับไว้ ก็หมายถึง ปริมาณความเข้มของสารละลายสนิมเหล็กในน้ำนั่นเอง
    ชุดสอง ประกอบด้วย
    - ซองบรรจุผงเคมีตรวจระดับความเข้มข้นของสารละลายหินปูน (UniVer 3 Hardness
    Reagent )
    - น้ำยาเทส แก้ความกระด้างของน้ำ ( EDTA Titrant, o.o35 N )
    - หลอดพลาสติก (ความจุประมาณ ๕ ซีซี ) และ ขวดแก้ว


    วิธีทดสอบ
    ๑.นำน้ำจากแหล่งน้ำเดิมที่ตรวจสอบสารละลายสนิมเหล็กไปก่อนหน้านี้ เทน้ำใส่หลอดพลาสติกให้เต็ม
    ๒.แล้วนำน้ำในหลอดพลาสติกนั้น เทใส่ขวดแก้ว
    ๓.ฉีกซองเคมีตรวจระดับความเข้มข้นของสารละลายหินปูน ลงในขวดแก้วแล้วเขย่าให้ผสมกัน ถ้าน้ำเปลี่ยนเป็นสีฟ้าอ่อนๆ หรือ สีน้ำเงินจางๆ แสดงว่า ไม่มีสารละลายหินปูน แต่ถ้าหลังจากเขย่าขวดแล้ว น้ำกลับเปลี่ยนสีเป็น สีชมพู , น้ำเงินอมม่วง , สีม่วง , สีแดง ก็แสดงว่า ในน้ำนั้นมีสารละลายหินปูน มากหรือน้อยก็ขึ้นกับสีที่แสดงออกมาให้เห็นนั้น
    ๔.จากนั้นให้นำน้ำยาเทส แก้ความกระด้าง บีบหยดลงในขวดแก้ว ซึ่งใน ๑ หยด กำหนดค่าความเข้นข้นของสารละลายหินปูนในน้ำ เท่ากับ ๑๗ มิลลิกรัมต่อลิตร ให้บีบน้ำยาเทสแก้ความกระด้างใส่ สีของน้ำในขวดต้องเปลี่ยนกับมาเป็นสีฟ้าอ่อนๆ ( นับจำนวนน้ำยาที่หยดไว้พร้อมกับสังเกตดูความเปลี่ยนแปลงของสีในขวดแก้ว )
    ๕.จากนั้นให้เอาจำนวนน้ำยาที่หยด คูณ ๑๗ ก็จะเท่ากับปริมาณความเข้มข้นของสารละลายหินปูนในแหล่งน้ำนั่นเอง

    จากประสบการณ์ ของผู้เขียน ถ้าเป็นน้ำภูเขา (น้ำตก) ส่วนใหญ่มีแต่สารละลายหินปูน ส่วนสารละลายสนิมเหล็กจะพบมากในน้ำบ่อบาดาลทั้งแบบน้ำตื้น และ น้ำลึก รวมถึง ระบบประปาหมู่บ้าน (ใช้น้ำบาดาล) , ระบบประปาส่วนภูมิภาค (ใช้น้ำคลอง)
    ตัวอย่าง วัด ค. อำเภอชัยบาดาล จังหวัดลพบุรี น้ำที่ใช้ภายในวัด เป็นน้ำบาดาล ซึ่งมีความกระด้างสูง สังเกตได้จาก ตามสุขภัณฑ์ ในห้องน้ำ รวมถึงพื้นกระเบื้อง มีคราบตะกรัน สีขาวขุ่น เกาะอยู่เป็นจำนวนมาก (ถ้า) ต้องการปรับปรุงระบบน้ำใช้ภายในวัด หลังจากใช้ชุดตรวจสอบทางเคมีวัดความเข้มข้นของสารละลายสนิมเหล็ก และ หินปูนแล้ว พบว่า
    - ค่าตัวเลขของ TDS เท่ากับ ๓๕๐ พีพีเอ็ม
    - ค่าความเข้นข้นของสารละลายสนิมเหล็ก เท่ากับ ๐ คือไม่พบ
    - ค่าความเข้มข้นของสารละลายหินปูน เท่ากับ ๔๐๘ มิลลิกรัมต่อลิตร
    กรณีนี้ ถ้าต้องการทำน้ำใช้ ดูจากตัวเลขความกระด้างถือว่าสูง ถ้าความต้องการใช้น้ำไม่มาก การลงทุนก็จะไม่คุ้ม เพราะต้องดูแล และ/ หรือ เปลี่ยนถ่ายสารกรองบ่อย ทั้งนี้อาจต้องเก็บตัวอย่างน้ำนำมาทดสอบแบ่งเป็นช่วงเวลาอีกด้วย เช่น ช่วงหน้าฝน และหน้าแล้ง เพื่อหาค่าเฉลี่ย ก่อนมากำหนดขนาดเครื่องกรองน้ำใช้
    วิธีแก้ปัญหากรณีนี้ คือ ถ้ามีสระน้ำผิวดิน (ตรวจไม่พบสารละลายหินปูน) อยู่ใกล้กับบ่อบาดาล ให้หาแทงค์เก็บน้ำ แล้วสูบน้ำจากบ่อบาดาลและสระน้ำผิวดินมาผสมกันในแทงค์เก็บน้ำ โดยทดลองใช้อัตราส่วนเพื่อหาข้อเปรียบเทียบที่ดีที่สุด เพื่อนำน้ำไปใช้ประโยชน์ได้ตามวัตถุประสงค์ต่อไป

    ความรู้ เรื่องสารกรองน้ำ
    ประเภทของสารกรองน้ำใช้ และ น้ำดื่ม
    a. สารกรองน้ำแอนทราไซด์ กรองดักจับ สารแขวนลอย ความขุ่น ตะกอนหยาบ
    b. สารกรองน้ำแมงกานีสไดออกไซด์ กรองดักจับ สารละลายสนิมเหล็ก
    c. สารกรองน้ำคาร์บอน กรองดักจับ ตะกอนหยาบ กลิ่น สี คลอรีน มี ๒ ชนิด คือ ชนิดเกล็ดทำจากถ่านกะลามะพร้าว , ชนิดเม็ด ทำจากถ่านหิน
    d. สารกรองน้ำเรซิ่น กรองดักจับ สารละลายหินปูน
    ประเภทไส้กรองน้ำดื่ม
    ๑. แท่งเซรามิค คุณสมบัติ ดักแบคทีเรียและเพิ่มออกซิเจนให้กับน้ำดื่ม
    ๒. ไส้กรอง พีพี ดักจับตะกอนหยาบ สารแขวนลอยต่างๆ ขนาดความละเอียด ๑ , ๓ , ๕ ไมครอน
    ๓. ไส้กรอง Hollow Fiber ความละเอียด ๐.๐๑ ไมครอน กรองเชื้อโรคบางชนิด เช่น เชื้ออีโคไลท์
    ๔. ไส้กรองคาร์บอนบล็อก สำเร็จรูป กรองกลิ่น สี คลอรีน
    ๕. ไส้กรองคาร์บอน พีพี ทูอินวัน สำเร็จรูป กรองสารแขวนลอย กลิ่น สี คลอรีน
    ๖. ไส้กรองเรซิ่นบล็อก สำเร็จรูป กรองสารละลายหินปูนในน้ำ
    ๗. คาร์บอนแค๊ปซูล เล็ก ปรับสภาพรสชาติน้ำดื่ม ให้เหมือนน้ำธรรมชาติ
    ๘. คาร์บอนแค๊ปซูล ใหญ่ ดักจับ กลิ่น สี คลอรีน ตะกอนต่างๆ
    ๙. ไส้กรอง RO มีความละเอียดของไส้กรองมากที่สุด คือ ๐.๐๐๐๑ ไมครอน เป็นระบบไส้กรองน้ำที่สะอาดที่สุดในปัจจุบัน เป็นการพัฒนาร่วมกันระหว่างองค์กรต่างประเทศ ซึ่งสามารถกรองอนุภาคที่ปนเปื้อนมากับน้ำได้ดี เช่น รังสี , สารพิษ , เชื้อโรคทุกประเภท , ไอออนของเกลือ
    น้ำที่ผ่านการกรองด้วยระบบ RO จะเหลือเพียง โมเลกุลของน้ำโดยเฉพาะ ซึ่งถือว่าเป็นน้ำที่บริสุทธิ์ แต่ยังมีค่าการนำไฟฟ้าที่ดีอยู่ คือมี ประจุบวกและลบ สามารถดื่มได้ปกติ (ไม่เหมือนน้ำกลั่นแบตเตอรี่) ซึ่งภายในตู้น้ำดื่มหยอดเหรียญ ส่วนใหญ่จะใช้ระบบกรองแบบ RO นอกจากนี้ยังนิยมนำน้ำ RO นี้ไปเป็นส่วนประกอบผลิตยา , เครื่องสำอาง , น้ำดื่มบรรจุขวดใส
    ข้อสำคัญ น้ำที่จะผ่านการกรองด้วยระบบ RO นี้ต้องเป็นน้ำที่ผ่านการกรองดักจับสารละลายรวมทั้งหมดมาก่อนหน้านี้
    ๑๐. หลอดยูวี หลักการทำงานของหลอดยูวี คือเมื่อน้ำที่ยังมีเชื้อแบคทีเรียต่างๆ ไหลผ่านแสงยูวี แสงยูวีจะทำให้เชื้อโรคที่อยู่ในน้ำนั้นตายและเป็นหมันไม่สามารถแบ่งตัวเพื่อแพร่พันธ์ต่อไปได้



    กล่าวโดยสรุป การที่จะผลิตเครื่องกรองน้ำดื่ม หรือ น้ำใช้ สิ่งที่ต้องคำนึงถึง คือ
    - แหล่งน้ำดิบ ที่จะนำมาผ่านเครื่องกรองน้ำ
    - คุณภาพน้ำ รวมถึงวิธีการตรวจสอบปริมาณของสารละลายรวมต่างๆ ในน้ำ
    - กำหนดวิธีการกรองมีกี่ขั้นตอน
    - กำหนดขนาดปริมาณสารกรองน้ำ และ เครื่องกรองน้ำ
    - เครื่องกรองน้ำต้องอยู่ในที่ร่ม ไม่โดนแดด ไม่โดนฝน
    - ควรตรวจสอบแรงดันน้ำ ณ.จุดติดตั้งเครื่องกรอง ไม่ควรเกิน ๒ บาร์
    - ต้องมีแทงค์ดักตะกอนหยาบก่อนจ่ายน้ำเข้าเครื่องกรอง ( กรณีเป็นน้ำภูเขา เพื่อควบคุมแรงดันไม่ให้เกิน ๒ บาร์ )
    - ถ้าให้ดีที่สุด กรณีมีจุดน้ำดื่มหลายๆ จุด หลังจากน้ำผ่านเครื่องกรองแล้ว ควรมีแทงค์เก็บสำรอง น้ำดื่มสะอาดที่ผ่านการกรองแล้วอีกครั้งหนึ่ง
    - จากแทงค์สำรองเก็บน้ำสะอาดถึงก๊อกน้ำดื่ม หรือ จุดบรรจุน้ำลงขวด สามารถเพิ่มชุดหลอดยูวีได้อีก เพื่อกำจัดเชื้อโรคต่างๆที่อาจหลงเหลืออยู่ในแทงค์เก็บน้ำ ซึ่งตามปกติแล้วถึงแม้ว่า น้ำสะอาดในแทงค์สำรองน้ำจะผ่านการกรองมาเป็นอย่างดี แต่ถ้าบริเวณที่แทงค์สำรองน้ำตั้งอยู่ไม่ดีพอ เช่น แสงแดดส่องถึง , ฝาปิดไม่มิดชิด ก็อาจทำให้น้ำสะอาดนั้นมีเชื้อโรคต่างๆ เกิดขึ้นได้ เพื่อคุณภาพของน้ำดื่มที่สะอาดจริง จึงนิยมติดตั้งชุดหลอดแสงอุตตร้าไวโอเลต หรือ ที่เรามักเรียกสั้นๆ ว่า หลอดยูวี เป็นขั้นตอนสุดท้ายก่อนถึงก๊อกน้ำดื่ม หรือ จุดบรรจุน้ำลงขวด
    หลักการพื้นฐาน เครื่องกรองน้ำดื่มและน้ำใช้ คือ
    การจำกัดปริมาณสารกรองน้ำให้อยู่ในที่จำกัด ( เครื่องกรองน้ำ ) เพื่อกรองสิ่งสกปรกที่อยู่ในน้ำให้หมด ก่อนนำน้ำไปใช้ตามวัตถุประสงค์ต่อไป ทั้งนี้ต้องคำนึงถึงคุณภาพของน้ำดิบ และ มีการตรวจทดสอบคุณสมบัติทางเคมี เพื่อกำหนดขนาดเครื่องกรอง และ สารกรองน้ำ รวมถึงค่าใช้จ่าย และ วิธีการดูแลรักษาเครื่องกรอง และ สารกรอง ให้เหมาะสม

    ภายลายเส้น แสดงหลักการของน้ำที่ไหลผ่านเครื่องกรองน้ำดื่ม​


    [​IMG]
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 4 สิงหาคม 2013
  14. glassbuddha2009

    glassbuddha2009 087-7459995 สมบูรณ์ ติยะวงศ์สกุล

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    37,262
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +53,848
    การคำนวณ ปริมาณสารกรองน้ำ
    ทั้งนี้กำหนดสูตรการใส่สารกรองน้ำเพียง ๖๐ เปอร์เซ็นต์ของเครื่องกรอง
    สูตร พายอาร์กำลังสอง คูณ รัศมีกึ่งกลางกำลังสอง คูณ ความสูงของทรงกระบอก (ท่อพีวีซี)
    ผลลัพธ์ เครื่องกรองน้ำ ใช้ท่อพีวีซี ๔ นิ้ว สูง ๑.๒ เมตร ใส่สารกรองน้ำ ๕.๔ ลิตร
    ใช้ท่อพีวีซี ๖ นิ้ว สูง ๑.๒ เมตร ใส่สารกรองน้ำ ๑๒.๖ ลิตร
    ใช้ท่อพีวีซี ๖ นิ้ว สูง ๑.๘ เมตร ใส่สารกรองน้ำ ๑๘.๖ ลิตร
    รายละเอียดของสถานที่ซื้ออุปกรณ์ ข้างล่างนี้ อาตมาภาพฯ ไม่มีส่วนกับเรื่องผลประโยชน์ใดๆ เพียงแต่เป็นแนวทาง หรือ อำนวยความสะดวกในการจัดซื้อเท่านั้น ของทุกอย่างให้ทางร้านจัดส่งทางไปรษณีย์ได้
    ๑. เครื่องเชื่อมพลาสติก แบบ ใช้ลมร้อน ปรับปริมาณลม และ องศาได้ หาซื้อได้บริเวณย่านคลองถม เช่น บริษัท อมร อิเลคทรอนิกส์
    ๒. ลวดเชื่อม พีวีซี มี ๒ ชนิด คือ แบบกลม และ แบบสามเหลี่ยม ให้ใช้แบบสามเหลี่ยม ความกว้างประมาณ ๓ ม.ม. ซื้อได้บริเวณ วงเวียนโอเดียน ใกล้หัวลำโพง และ บ.ลาฟแลนด์ จำกัด สามแยกไฟแดง (ไฟแดงที่ ๒ จากสะพานสำโรง ) สมุทรปราการ ๐๒ - ๓๘๔๗๘๙๐ , ๐๒ - ๗๕๗๗๐๓๙
    ๓. มุ้งแสตนเลส ต้องใช้เบอร์ เมด ๓๐ ซื้อได้ที่ บ.รุ่งอรุณ แมชชีนเนอรี่ จำกัด
    ๔. ท่อพีวีซี ขนาด ๔ นิ้ว , ๕ นิ้ว , ๖ นิ้ว ความหนา ๘.๕ ม.ม. แล้วแต่ความต้องการ ซื้อได้ตามร้านก่อสร้างทั่วไป
    ๕. อุปกรณ์ประกอบตัวเครื่องกรอง เช่น วาล์วปิด-เปิดน้ำ เป็นแบบพลาสติก หรือ ทองเหลือง แล้วแต่ความเหมาะสม รูใส่สารกรองน้ำและรูถ่ายสารกรองน้ำควรใช้เป็นข้อต่อตรงเกลียวในขนาด ๑ นิ้ว และเป็นเกลียวทองเหลือง แพงกว่าเกลียวธรรมดาประมาณ ๑๕ บาท ใช้ทนทานกว่าหลาย
    ๖. หัวเจาะโฮล์ซอร์ ๒๘ และ ๔๒ ม.ม. , สว่าน , เครื่องเป่าลมร้อน ร้านเลิศกิจมงคล คลองถม
    ๗. สารกรองน้ำดื่ม , ไส้กรอง , ชุดเฮาส์ซิ่ง ชุดหลอดยูวี ซื้อได้ที่ร้านมิสเตอร์ฮาร์ดแวร์ บางกะปิ
    รวมถึง ร้านขายเครื่องกรองน้ำในย่านคลองถม , โลตัส
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 4 สิงหาคม 2013
  15. glassbuddha2009

    glassbuddha2009 087-7459995 สมบูรณ์ ติยะวงศ์สกุล

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    37,262
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +53,848
    เทคนิคการผลิตเครื่องกรองน้ำ​

    [​IMG]
    ๑.ทำสแนปเปอร์ หัวดักสารกรองไม่ให้ไหลย้อนกลับออกมาจากเครื่องกรองน้ำ เครื่องกรอง ๑ ตัว ใช้ ๒ อัน นำท่อพีวีซี ขนาด ๑/๒ นิ้ว มาเจาะรู ขนาด ๒ หุน ให้เป็นแถวยาว รูสุดท้ายให้ห่างจากปลายท่อเข้ามา ๒ ซ.ม.เพียงด้านเดียว
    เผื่อสำหรับทากาว ต่อกับข้อต่อตรง ขนาด ๑/๒ นิ้ว

    [​IMG] [​IMG]
    ๒.ชิ้นงานเมื่อเจาะเรียบร้อยแล้ว

    [​IMG]
    ๓.ตัดมุ้งลวดแสตนเลส เบอร์ เมด๓๐ เวลาม้วนหุ้มเป็นวงกลม ให้พอดีกับขนาดความกว้างและความยาว ของท่อพีวีซี

    ๔.นำเครื่องเชื่อมพีวีซีเปิดลมให้เหมาะกับความร้อน จับแผ่นมุ้ง
    สแตนเลสทาบบนท่อพีวีซี ตามรูป แล้วใช้ปลายหัวเป่าลมร้อนกดแผ่นมุ้งให้แนบกับท่อ นับ ๑ ๒ ๓ ๔ ๕

    [​IMG]
    ๕.เมื่อถอนปากเป่าลมร้อนออก สังเกตเห็น แผ่นมุ้งสแตนเลส จมหายไปในเนื้อท่อพีวีซี จากนั้นให้ค่อยๆ เป่าลมร้อนกดไล่ไปตามแนวยาวและแนวขวางท่อพีวีซี สลับกันจนกว่าจะครบ เมื่อเสร็จแล้ว แผ่นมุ้งต้องไม่หย่อน ต้องพอดีกับตัวท่อ

    [​IMG]
    ๖.นำแผ่นมุ้งมาตัด แล้วเชื่อมแปะปลายท่อพีวีซี ด้านใดด้านหนึ่งเท่านั้น ตามภาพ

    [​IMG]
    ๗.ชิ้นงานที่เสร็จแล้ว สังเกตตามแนวยาวของท่อ ตัวแผ่นมุ้ง จะชนพอดีกับอีกด้านหนึ่ง

    [​IMG]
    ๘. ให้นำชิ้นงานมาทากาว แล้วใส่กับข้อต่อตรง ขนาด ๑/๒ นิ้ว ตามภาพ

    [​IMG]
    ๙. ชิ้นงานเมื่อ ทากาวเสร็จแล้ว รอประกอบเข้ากับตัวเครื่องกรอง

    [​IMG]
    ๑๐. นำท่อพีวีซีมาตัดให้ได้ขนาด ความยาว ๑.๘.๐ เมตร แล้ววัดจากปลายทั้งสองด้านเข้ามา ๑๐ ซ.ม. พร้อมทั้งตำแหน่งของรูที่เจาะต้องตรงกันด้วยจากนั้นให้นำ โฮล์ซอร์ ขนาด ๒๘ ม.ม. มาเจาะรู ก่อนเจาะควรเล็งตัวเครื่องสว่านให้ตรง ไม่ให้เอียงเพราะว่ารูที่เจาะ จะมีผลต่อ หัวสแนปเปอร์ที่ทำเตรียมไว้ใส่
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 4 สิงหาคม 2013
  16. glassbuddha2009

    glassbuddha2009 087-7459995 สมบูรณ์ ติยะวงศ์สกุล

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    37,262
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +53,848
    [​IMG]
    ๑๑.ตำแหน่งรูของสแนปเปอร์ด้านล่าง และตำแหน่งรูของช่องถ่ายสารกรอง ให้ใช้หัวโฮล์ซอร์ขนาด ๔๘ ม.ม. เจาะโดยวัดจากขอบปลายท่อเข้ามาถึงจุดกึ่งกลางรู ๔.๕ ซ.ม.

    ๑๑.ก่อนใส่สแนปเปอร์ ให้ทำความสะอาดภายในท่อพีวีซีอีกครั้ง เพื่อไล่เศษท่อที่เหลือจากการเจาะรูเตรียมไว้ก่อนหน้า

    [​IMG]
    ๑๒.ให้นำสแนบเปอร์มาใส่รูที่เจาะเตรียมไว้ ตามภาพ

    [​IMG]
    ๑๓.ภาพตำแหน่ง สแนปเปอร์ทั้งหัวและท้ายของเครื่องกรองเมื่อใส่เสร็จแล้ว จะอยู่แนวเดียวกัน ได้ฉากกึ่งกลางท่อ

    [​IMG]
    ๑๔.ภาพแสดง สแนปเปอร์ และ รูถ่ายสารกรองน้ำ ที่ใส่ไว้รอการเชื่อมด้วยลวดเชื่อมพีวีซี แบบสามเหลี่ยม

    [​IMG] [​IMG]
    ๑๕. ภาพสแนปเปอร์ และช่องถ่ายสารกรองน้ำ ที่เชื่อมเสร็จแล้ว สังเกตุลวดเชื่อมจะละลายแนบสนิททั้งขอบบนและขอบล่างที่ติดกับท่อพีวีซี

    [​IMG]
    ๑๖. ให้นำเศษท่อที่เหลือ ที่ตัดรอไว้มาขีดเส้นตามแนวความยาวของท่อ แล้วใช้เลื่อยหรือหินเจียร์ เพื่อตัดท่อให้ขาดจากกันตามแนวเส้นด้านเดียวเท่านั้น

    ถึงขั้นตอนนี้ ให้เตรียมสถานที่เรียบๆ + ใกล้ก๊อกน้ำ และของที่หนักกะขนาดพอกับแผ่นท่อพีวีซี เมื่อกางออกมาแล้วจะมีขนาดกว้าง ๒๐ ซ.ม. ยาว ๕๒ ซ.ม. เพื่อนำมาทับท่อพีวีซีให้เป็นแผ่นเรียบ นำไปตัดเป็นแผ่นวงกลม เชื่อมปิดหัวและท้ายของเครื่องกรอง

    [​IMG]
    ๑๗. นำน้ำมันเก่า (น้ำมันพืชใช้แล้ว) มาใส่หม้อเบอร์ใหญ่ แล้วต้มให้เดือด ก่อนใส่ท่อพีวีซีให้เจาะรูเล็กๆ ตรงมุมของท่อที่ผ่าไว้ เพื่อร้อยลวดกับท่อ แล้วหย่อนท่อลงไปในหม้อต้มน้ำมัน สังเกตว่า สักพักตัวท่อพีวีซี จะอ่อนตัวลง ให้ดึงขึ้นช้าๆ ระวังลวดหลุดจากท่อพีวีซี มาวางลงบนพื้นเรียบ แล้วนำของหนักทับให้เรียบเสมอกับพื้นที่เตรียมไว้ แล้วเปิดก๊อกน้ำ นำสายยางราดน้ำให้ชุ่ม ก็จะได้แผ่นพีวีซีไว้ใช้งานเป็นลำดับไป

    [​IMG]
    ๑๘.แผ่นพีวีซีที่ได้ นำมาขีดเส้นแบ่งครึ่ง พร้อมกับขีดเส้นวงกลมเท่าขนาดภายในของท่อพีวีซีที่เตรียมไว้แล้ว ตัดด้วยจิ๊กซอร์ให้ได้ขนาดตามวงกลม

    [​IMG]
    ๑๙.นำแผ่นวงกลมที่ได้ เจาะด้วยโฮล์ซอร์ขนาด ๔๘ ม.ม.ให้ได้กึ่งกลางของแผ่น แล้วนำมาเจียร์ขอบให้ได้ขนาด (ถ้าตัดแล้วยังใหญ่เกินขอบในของท่อ) เสร็จแล้วให้นำ ข้อต่อตรงเกลียวใน ทองเหลือง ๑ นิ้ว ใส่ลงช่องกลางฝา แล้วเชื่อมให้เรียบร้อยก่อนนำไปเชื่อมปิดกับด้านบนของเครื่องกรอง

    [​IMG]
    ๒๐. ก่อนนำแผ่นวงกลมเชื่อมปิด ควรเชื่อมปุ่มภายในท่อไว้กันฝาผลุบเข้าไป วัดจากขอบนอกเข้าไป ๒ ซ.ม. ให้ทำ ๓ จุด แล้วนำฝาวาง
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 4 สิงหาคม 2013
  17. glassbuddha2009

    glassbuddha2009 087-7459995 สมบูรณ์ ติยะวงศ์สกุล

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    37,262
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +53,848
    [​IMG]
    ๒๑. เป็นภาพแสดงถึงเครื่องกรองน้ำ ที่เชื่อมชิ้นงานเสร็จแล้ว มี
    - สแนปเปอร์ ด้านบน และ ล่าง ของเครื่องกรอง
    - ช่องใส่สารกรองน้ำ ฝาด้านบน
    - ช่องถ่ายสารกรองน้ำ ด้านล่างของเครื่องกรอง ใกล้ สแนปเปอร์ล่าง
    - ฝาปิดด้านล่างของเครื่องกรอง

    [​IMG] [​IMG]
    ๒๒. ภาพเครื่องกรองน้ำ แบบท่อคู่ ในแนวตั้ง เป็นภาพอีกหนึ่งมุม ที่ทำให้เห็นตำแหน่งสแนปเปอร์ แนวบน + ล่าง รวมถึงรูใส่และถ่ายสารกรอง (รูใส่สารกรอง + ใส่วาล์วไล่อากาศไว้ด้วยโดยใช้ข้อต่อตรงเกลียวนอกเป็นตัวปิดรูแทนฝาปิดรูใส่สารกรองน้ำด้านบน)

    [​IMG] [​IMG]
    ๒๓. เมื่อเชื่อมชิ้นงานเสร็จทั้งหมดแล้ว ให้นำอุปกรณ์ส่วนที่เหลือคือ วาล์วปิด – เปิดน้ำมาต่อเข้าดังภาพ จะได้เครื่องกรองน้ำ แบบท่อคู่ ใส่สารกรองน้ำคาร์บอนในท่อแรก (ซ้ายมือของภาพ) ใส่สารกรองน้ำเรซิ่นในท่อที่สอง (ขวามือของภาพ)

    [​IMG]
    ๒๔. เครื่องกรองน้ำดื่ม ประดิษฐ์ แบบใช้ท่อพีวีซี ขนาดความสูง ๑.๘๐ ม.
    (ท่อคู่) อัตราการไหลของน้ำ ๖๐๐ ลิตร/ช.ม. ใช้สารกรองน้ำอย่างละ ๑๘ ล.
    เตรียมส่งไปติดตั้ง

    [​IMG] [​IMG] [​IMG] [​IMG] [​IMG] [​IMG]
    ภาพผลงานที่ติดตั้ง ระบบกรองน้ำดื่ม ประดิษฐ์ แบบใช้ท่อพีวีซี ขนาด ๖ นิ้ว ท่อคู่ ใส่สารกรองน้ำคาร์บอน และ สารกรองน้ำเรซิ่น ซึ่งในบางสถานที่ อาจใช้ชุดกรองละเอียด และให้ผ่านแสงอุลตร้าไวโอเลต เพื่อคุณภาพของน้ำดื่ม ในบางที่ อาจใช้เครื่องกรองน้ำ ขนาดความสูง ๑ เมตร , ๑.๕๐ เมตร แล้วแต่ความเหมาะสม
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 4 สิงหาคม 2013
  18. glassbuddha2009

    glassbuddha2009 087-7459995 สมบูรณ์ ติยะวงศ์สกุล

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    37,262
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +53,848
    ประสบการณ์ การทำตัวเครื่องกรอง และ ปัญหาที่พบ
    - การทำเครื่องกรองน้ำดื่ม ประดิษฐ์ แบบท่อพีวีซีนี้ ควรเตรียมอุปกรณ์ในการทำให้พร้อม โดยเฉพาะ เครื่องมือเจาะ , ตัด , เครื่องเชื่อม(เป่าลมร้อน) รวมถึงถ้าหาได้ ควรมีเครื่องเป่าลมร้อนแบบธรรมดากำหนดความร้อนตายตัวที่ ๓ ระดับ เช่นของ บ๊อช หรือ มากีต้า การทำงานควรมีผู้ช่วย ๑ คน ถ้าไม่เคยเชื่อมท่อพีวีซี ให้ลองซ้อมมือก่อน ปรับลมร้อน+ความเร็วลมให้สัมพันธ์กัน รวมถึงวิธีการจับลวดเชื่อมด้วย ก็จะได้ชิ้นงานที่สวยงาม เนียน ชิ้นงานไม่มีรอยไหม้ ทั้งนี้ เมื่อประกอบชิ้นงานทั้งหมดเรียบร้อยแล้ว การตรวจสอบรอยรั่ว ทำได้ง่ายๆ โดยที่ไม่ต้องยกไปทดสอบกับแรงดันน้ำ คือ ให้ใช้เครื่องเป่าลมร้อนแบบธรรมดา ตั้งความเร็วลม เบอร์แรก จะเป็นลมเย็น จ่อปลายท่อลมเข้ากับเครื่องกรองน้ำรูใดก็ได้ ส่วนรูที่เหลือให้หาผ้ามาอุดไว้ แล้วนำฟองน้ำมาชุบกับน้ำสบู่ ซับลงไปตามรอยรอบที่เชื่อมชิ้นงานไว้ สังเกตว่ามีฟองอากาศขึ้นมาหรือไม่ ถ้าไม่มีก็ใช้งานได้แล้ว แต่ถ้ามีรอยรั่วซึม ต้องใช้ฝีมือในการซ่อมรอยรั่วพอสมควร
    - ปัญหาที่พบ ส่วนมากคือ รอยเชื่อมตอนเริ่มต้นมักไม่สนิทกับชิ้นงาน ให้แก้ไขโดย ก่อนแตะลวดเชื่อมกับชิ้นงาน ให้จ่อปลายท่อลมร้อนไปที่ปลายลวดเชื่อมสังเกตดูถ้าเริ่มจะนิ่มๆ ให้แตะปลายลวดเชื่อมนั้นกับชิ้นงานโดยใช้กำลังนิ้วกดลวดเชื่อมให้แนบกับชิ้นงานมากที่สุด ก็จะแก้ปัญหาได้
    ปัญหาอีกอย่างคือ เวลาเจาะรูสแนปเปอร์ คนเจาะมักจะ จับสว่านไม่ตรง (ขึ้นแท่นเจาะก็จะดี)
    ทำให้หัวโฮล์ซอร์ เอียงตามไปด้วย เวลาประกอบตัวสแนปเปอร์ + ประกอบวาล์วปิด – เปิดน้ำ ก็จะ
    ทำให้แนวท่อจ่ายน้ำเข้า – ออก ไม่ได้ศูนย์กลาง ทำให้งานที่ออกมาดูไม่ดี
     
  19. glassbuddha2009

    glassbuddha2009 087-7459995 สมบูรณ์ ติยะวงศ์สกุล

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    37,262
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +53,848
    ภาคผนวก


    [​IMG]
    เครื่องกรองน้ำดื่ม แบบพีวีซี ท่อคู่ ขนาดท่อ ๔ นิ้ว ภาพจากชุมชนบางปรอก จ.ปทุมธานี สอบถามแล้ว
    ทำด้วยงบประมาณ ไม่ถึงพันบาท (รวมสารกรองด้วย) ประสิทธิภาพเกินราคา

    [​IMG]
    เปรียบเทียบให้เห็นชัดๆ เครื่องกรองน้ำดื่มแบบ สแตนเลสท่อคู่ ขนาด ๔ นิ้ว ความสูง รวมฐาน ๑ เมตร ราคาขายพร้อมสารกรองน้ำคาร์บอน และ สารกรองน้ำเรซิ่น พร้อมใช้
    ราคาใกล้เคียงกันไหม เฉลยให้ ๘,๐๐๐ บาท
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 4 สิงหาคม 2013
  20. glassbuddha2009

    glassbuddha2009 087-7459995 สมบูรณ์ ติยะวงศ์สกุล

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    37,262
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +53,848
    บ่อกรองตะกอนหยาบ
    (ใช้หินกรองน้ำ ๔ เบอร์ + ทราย ๑ เบอร์ เป็นชั้นกรอง)​

    จากบทความข้างต้น การเก็บน้ำดิบเพื่อให้ตกตะกอนในขั้นต้น ก่อนจ่ายน้ำเข้าเครื่องกรองนั้น หากมีตะกอนในแทงค์เก็บน้ำปริมาณมาก เช่น น้ำจากแหล่งน้ำภูเขา , น้ำบ่อบาดาล จำเป็นต้องทำบ่อเพื่อกรองตะกอนหยาบก่อนเป็นขั้นตอนแรกก่อนเข้าแทงค์เก็บน้ำ วิธีการทำคืออาจจะทำเป็นบ่อกรองแบบก่ออิฐบล็อค หรือ แบบใช้วงซีเมนต์ (ถังส้วม) มาทำก็ได้ โดยที่ทั้ง ๒ แบบ ต้องฉาบปูนภายใน
    [​IMG]

    ภาพแสดงบ่อกรองตะกอนหยาบ กรองน้ำภูเขา ก่อนปล่อยลงแทงค์เก็บน้ำ
    [​IMG]

    ภาพแสดงภายในบ่อกรอง บ่อกรองแบ่งเป็น ๒ ช่อง ช่องแรก จากก้นบ่อขึ้นมา ๑๕ ซ.ม. ให้ทำชั้นวางหินกรองด้วยท่อพีวีซี เพื่อสะดวกเวลาเอาน้ำฉีดล้างหินกรองจากด้านบนลงมา +ให้ฝังท่อน้ำทิ้งด้านข้างบ่อตามลูกศรอันกลางของภาพ ส่วนลูกศรชี้ขึ้นคือ ท่อน้ำทิ้งตรงกลางของชั้นหินกรอง และ ลูกศรที่ชี้ลงคือท่อ ๒ นิ้ว ที่ฝังระหว่างผนังบ่อทั้งสองไว้ เมื่อน้ำผ่านชั้นหินกรองลงมาชั้นล่างสุด น้ำจะไหลเข้าท่อนี้ไปช่องที่ ๒

    [​IMG]
    ภาพแสดง น้ำภูเขาไหลลงบ่อกรองช่องแรก

    [​IMG]
    ภาพแสดง บ่อกรองที่สอง ทำเหมือนบ่อกรองแรกทั้งหมด น้ำที่ไหลมาจากบ่อแรกจะซึมผ่านชั้นหินขึ้นมาไหลลงสู่ท่องอ ๑ นิ้ว ซึ่งฝังไว้ข้างบ่อ (ให้ปลายท่ออยู่เลยชั้นหินขึ้นมาเล็กน้อย) จึงเป็นน้ำที่ผ่านการกรองตะกอนหยาบขั้นต้น น้ำไหลลงข้องอนี้ลงแทงค์เก็บน้ำต่อไป

    บ่อกรองตะกอนหยาบ แบบ วงซีเมนต์ (ถังส้วม)

    [​IMG]

    ภาพแสดง ภายในของบ่อกรองแบบใช้วงซีเมนต์ (ถังส้วม) หลักการกรองน้ำ คือ ให้น้ำไหลจากบนลงล่างโดยผ่านชั้นหินกรองจากบนลงล่าง (ไม่ต้องทำชั้นวาง ) ซึ่งก้นบ่อจะฝังท่อพีวีซีให้น้ำไหลออกไปยังแทงค์เก็บน้ำ และท่อน้ำไหลเข้า (น้ำสวนตะกอน) สำหรับเวลาต้องการล้าง ให้เปิดวาล์วดันน้ำย้อนจากข้างล่างขึ้นมา เมื่อน้ำไหลย้อนขึ้นมาแล้วให้ลงไปเหยียบที่พื้นทรายให้รอบๆ น้ำขุ่นๆ ก็จะไหลลงรูท่อพีวีซี ที่ฝังไว้ตรงกลาง (ถุงพลาสติกคลุมอยู่) ไหลทิ้งออกไป

    หินกรองน้ำ ๔ เบอร์ + ทราย ๑ เบอร์​

    ภาพแสดง ขนาดของหินกรองน้ำ ที่อยู่ในบ่อกรองน้ำดิบ ขั้นต้น (กรองตะกอนหยาบ ทราย โคลน) ก่อนนำน้ำมาใช้ประโยชน์ต่างๆ เช่น น้ำประปาหมู่บ้าน

    [​IMG]

    บ่อกรองตะกอนหยาบ ของระบบประปาหมู่บ้าน ใช้การเรียงตัวของเบอร์หิน ตั้งแต่ชั้นล่างสุดขึ้นมา โดยใช้หินเบอร์ใหญ่สุด เรียงตามลำดับเบอร์ขึ้นมา จนถึงชั้นสุดท้ายคือชั้นบนสุด จะใช้เป็นทรายขนาดประมาณ ๐.๓ ม.ม. น้ำดิบที่สูบขึ้นมาจากแหล่งน้ำขึ้นบ่อกรอง โดยที่ชั้นบนสุดของบ่อกรองจะมีชั้นกรอง ๓ – ๔ ชั้น ทำจากท่อพีวีซีต่อกัน มีถ่านวางอยู่ในแต่ละชั้น น้ำดิบจะไหลผ่านชั้นกรองนี้ แล้วตกลงสู่บ่อกรองซึ่งภายในบ่อกรองใส่หินกรองน้ำเรียงเป็นชั้นไว้ เพื่อดักตะกอนหยาบในขั้นต้น อาทิ กรวด ทราย ใบไม้ โคลน ตะกอนต่างๆเหล่านั้นจะถูกดักอยู่ด้านบนสุดของชั้นกรอง ในส่วนด้านล่างของก้นบ่อกรอง จะวางท่อไว้เพื่อนำน้ำที่สะอาดไม่มีสารแขวนลอยแบบหยาบๆ ไปกักเก็บ เพื่อรอการสูบไปใช้ประโยชน์ต่างๆ ส่วนวิธีการสวนตะกอนก็ใช้เหมือนกัน ดูภาพลายเส้นประกอบ

    [​IMG]



    [​IMG]
    ธีรภโร ภิกขุ ผู้ถ่ายทอดและเรียบเรียง ๒๖ กันยายน ๒๕๕๒

    http://www.watkhaosukim.com/sara/Documents/water.htm
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 4 สิงหาคม 2013

แชร์หน้านี้

Loading...