แจกเกศาพ่อแม่ครูอาจารย์

ในห้อง 'แจกฟรี' ตั้งกระทู้โดย เทียน, 28 กรกฎาคม 2013.

  1. เทียน

    เทียน Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 สิงหาคม 2006
    โพสต์:
    66
    ค่าพลัง:
    +67
    ในโอกาสเข้าพรรษา ผมขอแบ่งเกศาพ่อแม่ครูอาจารย์สายกรรมฐาน สำหรับท่านที่มีศรัทธา และยังไม่มีเกศาครูบาอาจารย์เพื่อปฏิบัติบูชาครับ ซึ่งบางองค์อาจจะแบ่งได้ไม่มากนัก 15 - 20 เส้น โดยท่านจะต้องส่งซองติดแสตมป์จ่าหน้าซองถึงตัวเองมารับ

    สำหรับกติกาในการรับมีดังนี้ครับ ขอให้ท่านที่ประสงค์จะรับ โพสต์ประวัติคร่าวๆ หรือธรรมเทศนาย่อๆ ของครูบาอาจารย์องค์นั้น หลังเวลา 20.00 น. ของวันนี้ และผมจะส่งที่อยู่สำหรับส่งซองมารับ ไปทางข้อความของผู้ที่โพสต์ขอรับก่อนตามลำดับนะครับ

    เกศาพ่อแม่ครูบาอาจารย์ที่นำมาแบ่งในครัั้้งนี้

    1.หลวงปู่บุญหนา ธัมทินโน วัดป่าโสตถิผล สกลนคร 2 ท่าน
    2.หลวงปู่คำพอง ขันติโก วัดป่าอัมพวัน จังหวัดเลย 1 ท่าน
    3.ท่านอาจารย์สุธรรม สุธัมโม วัดป่าหนองไผ่ สกลนคร 2 ท่าน
    4.หลวงพ่อสมบูรณ์ กันตสีโล วัดป่าสมบูรณ์ธรรม พิษณุโลก 2 ท่าน
    5.หลวงตาแยง สุขกาโม วัดภูทอก บึงกาฬ 1 ท่าน
    6.หลวงปู่ศูนย์ จันทสุวัณโณ วัดป่าอิสระธรรม สกลนคร 1 ท่าน
    7.หลวงปู่แหวน ทยาลุโก วัดป่าหนองนกกก 1 ท่าน
    8.หลวงปู่บุญเพ็ง กัปโก ขอนแก่น 1 ท่าน
    9.หลวงปู่คำผา ฆรมุตโต สกลนคร 1 ท่าน
     
  2. solopao

    solopao เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มกราคม 2013
    โพสต์:
    158
    ค่าพลัง:
    +1,518
    หลวงตาแยง สุขกาโม ท่านเป็นเจ้าอาวาส "วัดภูทอก" องค์ปัจจุบันครับ

    วัดภูทอกนี้ อยู่ที่บนภูเขาหินทราย ตั้งโดดเด่นอยู่บนที่ราบ
    ทางขึ้นด้านบนจะเป็นบันไดเวียน 7 ชั้นเลียบหน้าผาขึ้นไป
    สวยงามแปลกตา น่าตื่นเต้นเป็นอย่างยิ่งครับ
    ยิ่งเมื่อขึ้นไปถึงยอด ก็จะสัมผัสวิวทิวทัศน์ธรรมชาติ
    ของอำเภอศรีวิไล ได้อย่างสดชื่น สบายอารมณ์ สงบเย็นในจิตใจมาก

    วัดภูทอก (วัดเจติยาคิรีวิหาร) นี้ เป็นวัดที่สร้างโดยพระอาจารย์จวน กุลเชฏโฐ
    ซึ่งเป็นอริยสงฆ์สายพระป่า ลูกศิษย์ขององค์หลวงปู่มั่น ภูริฑัตโต ครับ
    อัฐิของพระอาจารย์จวน ก็แปรเป็นพระธาตุสวยงาม ซึ่งเป็นที่แน่ชัดว่า
    ท่านสำเร็จกิจทางธรรมอย่างสูงสุด เป็นพระอรหันต์แล้ว

    ส่วนหลวงตาแยงนี้ ท่านก็เป็นพระกรรมฐานสายวัดป่า สายหลวงปู่มั่น เฉกเช่นเดียวกัน
    หลวงตาท่านเป็นพระที่ปฎิบัติดี ปฎิบัติชอบ และถึงที่สุดแห่งธรรม
    ดังคำยืนยันของหลวงตามหาบัว ที่ได้กล่าวถึงรายชื่อพระอรหันต์ในเมืองไทยเอาไว้
    (โดยมีลูกศิษย์ลูกหาได้บันทึกถ้อยคำของหลวงตามหาบัวเอาไว้)

    นับเป็นเนื้อนาบุญที่ประเสริฐเลิศที่สุด
    หลวงตาแยง สุขกาโม วัดภูทอก แห่งจังหวัดหนองคาย

    คำสอนของท่านย้ำว่า "...อย่าหายใจทิ้งนะ ให้มีพุทโธไว้
    ขอบารมีพุทโธ ช่วยให้ตามรู้จิต ใจของเราให้ได้..."

    ขอบารมีองค์หลวงตาแยง เป็นดั่งแสงสว่าง ส่องทางเป็นต้นแบบแก่เราท่านทั้งหลาย
    สู่หนทางพระนิพพานดั่งท่านด้วยเทอญ สาธุ สาธุ สาธุ
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • Y8935977-55.jpg
      Y8935977-55.jpg
      ขนาดไฟล์:
      117.5 KB
      เปิดดู:
      676
    • Untitled.png
      Untitled.png
      ขนาดไฟล์:
      959.1 KB
      เปิดดู:
      355
    • watphutok1.jpg
      watphutok1.jpg
      ขนาดไฟล์:
      82.4 KB
      เปิดดู:
      266
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 28 กรกฎาคม 2013
  3. studio214

    studio214 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 สิงหาคม 2012
    โพสต์:
    654
    ค่าพลัง:
    +705
    เค้าให้โพสหลัง 20.00 ไม่ใช่หรือครับ
     
  4. 051224

    051224 Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 สิงหาคม 2011
    โพสต์:
    96
    ค่าพลัง:
    +88
    ขอรับเกศาพระอาจารย์สุธรรม สุธัมโม ครับ
    พระอาจารย์สุธรรม สุธัมโม
    เจ้าอาวาสวัดป่าหนองไผ่ ต.ดงมะไฟ อ.เมิอง จ. สกลนคร 47000.
    " ครอบครัวที่อบอุ่น เป็นรากฐานของการสร้างคน "
    ท่ านพระอาจารย์สุธรรม สุธัมโม ถือกำเนิด ณ จังหวัดระยอง เมื่อวันที่ 21 ตุลาคม พ.ศ. 2492 ในครอบครัวที่กำลังเติบโต ท่านเป็นบุตรคนที่ 2 ในจำนวน พี่นอง 14 คน เนื่องจากบิดามารดา คือ นายบุ่งเลี้ยงและนางเซี้ยม แซ่จึง กำลังอยู่ในระหว่างก่อร่างสร้างฐานะ ชีวิตในปฐมวัยของท่านพระอาจารย์ ฯ จึงได้มีโอกาสสัมผัสรสชาติ ของชีวิตที่ยากลำบาก แต่เต็มไปด้วยกำไรของชีวิต เพราะความไม่ร่ำรวยได้บ่มเพาะลักษณะนิสัยที่ต้องรู้จักอดทนทางกาย อดกลั้นทางจิตใจ มีความอ่อนน้อมถ่อมตน ไม่อวดดี ถือดี ความลำบาก สอนคนให้รู้จักขยันขันแข็ง รู้จักประหยัดอดออม พร้อมๆ กับรู้จักที่จะมีน้ำใจ เห็นใจผู้อื่นที่มีความทุกข์ร้อน เพราะต่างซาบซึ้งรสชาติ เป็นพื้นฐานของจิตใจ ดังจะเห็นตัวอย่างจากครอบครัวของท่าน ซึ่งบิดา - มารดามีความเอื้ออาทรต่อกัน มีความขยันขันแข็ง มานะอดทนพากเพียร อุตสาหะ เป็นตัวอย่างที่ดีแก่บุตร แม้จะลำบากขัดสนในเบื้องต้น แต่บิดา - มารดาของท่าน ก็มีความรักความเอาใจใส่ต่อบุตรทุกคนอย่างอบอุ่นยุติธรรมโดยถ้วนหน้า เหตุนี้เองจึงทำให้บุตรทั้ง 14 คน มีความสมัครสมานปรองดองสามัคคีอย่าง แน่นแฟ้น ตราบจนถึงปัจจุบัน
    " ภาวะผู้นำโดยธรรมชาติ "
    โ ดยเหตุที่บุตรคนโตเป็นหญิง ท่านพระอาจารย์ในวัยเด็ก จึงต้องทำหน้าที่เป็น พี่ชายคนโตของน้อง ๆ ทั้ง 12 คน โดยมิได้จงใจจะฝึกหัด ่การที่ท่านสำนึก ในความเป็นพี่มีความรักความเมตตาต่อน้องๆ ช่วยเหลือตามกำลังของท่าน กิจหน้าที่การกระทำต่าง ๆ ต่อน้อง ๆ นี่เอง ได้ ซึมซาบอุปนิสัยของความเป็น “ ผู้นำ ” ให้แก่ท่านโดยอัตโนมัติดังนั้นจะเห็นได้จากในปัจจุบัน บรรดาลูกศิษย์ทั้งหลายของท่าน ต่างได้มีความรู้สึกที่เด่นชัด ตรงกันประการหนึ่งว่า ท่านพระอาจารย์ มีเมตาเอื้อเฟื้อสงเคราะห์เอาใจใส่จริงใจ ต่อศิษย์ ปานประหนึ่งบิดามีความอาทรต่อบุตร หรือ พี่ชายใหญ่ให้ความอนุเคราะห์ ห่วงใยคุ้มครองป้องกันภัยให้แก่น้องๆ ทุกคนโดยเสมอหน้ากัน
    ความกล้าหาญที่ต้องเดิมพันด้วยชีวิต ” ( แต่กอปรด้วยความรอบคอบระมัดระวัง )
    นั บเป็นความโชคดีอย่างยิ่งของท่าน ที่บิดามารดามีความเห็นตรงกันที่จะฝึกให้บุตรทุกคนพึ่งตนเอง เรียนรู้และค้นพบด้วยตนเอง ดังนั้นนอกเหนือไปจากภาระกิจ ที่ท่านต้องปฏิบัติให้แก่ครอบครัวแล้ว ท่านได้ใช้ชีวิตผจญภัย บ่มเพาะนิสัยเด็ดเดี่ยวกล้าหาญ ในรูปแบบต่าง ๆ ตามวัยของท่าน เช่นการว่ายน้ำในแม่น้ำระยอง ซึ่งไหลผ่านหน้าบ้านของท่าน แล้วว่ายออกไป สู่ปากอ่าวสู่ทะเลเป็นระยะทางไกลๆ ซึ่งมิใช่สิ่งง่ายสำหรับทุกคน เพราะการที่จะทำเช่นนี้ได้ บุคคลนั้นต้องผ่าน การฝึกฝนตนเอง จนมีความชำนาญสูง มีความแข็งแรง กล้าหาญ อดทน และที่สำคัญต้องมีความระมัดระวังรอบคอบ คำนวณกำลังของตนเองกับระยะทาง และการประเมินสถานการณ์ต่าง ๆ ต้องแม่นยำ เช่น การสังเกตคะเนระยะทางของเรือชนิดต่าง ๆ ที่จะแล่นผ่านมาว่ากับกำลังในการว่ายน้ำของตน ว่าเรือลำใดสามารถเกาะพักได้ หรือเรือลำใดจะเป็นอันตรายหากว่ายน้ำเข้าใกล้รัศมี เพราะมีชีวิตเป็นเดิมพัน ความสนุกท้าทายของท่านในวัยเด็กนั้น จึงสร้างเสริมลักษณะนิสัยความกล้าหาญอย่างรอบคอบ รู้เขา – รู้เรา มิใช่ความบ้าดีเดือด มุทะลุดุดันอันไม่เป็นแก่นสาร ของคนวัยคะนองทั่วไป
    อำลาเพื่อนและครูไปสู้ชีวิต ในท้องทะเลไกล ”
    เ พราะความเป็นบุตรชายคนโตของครอบครัวที่มีสมาชิกรวม 16 ชีวิต ท่านจึง จำเป็นต้องกล่าวอำลาเพื่อนๆ และกราบลาครูบาอาจารย์ เมื่อสำเร็จเพียง ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 เพื่อออกมาช่วยครอบครัวทำมาหากิน โดยต้องออกไปเสี่ยงชีวิตผจญภัย ตะเวนไปกับเรือประมง พื่อจับปลากลางท้องทะเลมหาสมุทรอันกว้างไกล ซึ่งเต็มไปด้วยภยันตรายจากเคลื่อนลมและพายุที่ไม่รู้จักคำว่า “ เมตาปราณีต่อผู้ใด ” แต่ด้วยความเป็นผู้มีปัญญาและมองโลกในแง่ดี ท่านพระอาจารย์เคยเล่า ประสบการณ์ ในช่วงชีวิตวัยนั้น เป็นอุทาหรณ์ เป็นข้อคิด เป็นคติสอนใจบรรดาลูกศิษย์ให้ได้รับฟัง แล้วนำกลับไปคิดพิจารณาอบรมตนเอง คนที่ย่อหย่อนอ่อนแอ ท้อแท้ชีวิตก็กลับ มีกำลังใจลุกขึ้นสู้ คนที่อยู่อย่างอุดมสมบูรณ์ก็ไม่ประมาท หลงระเริงในชีวิต เมื่อได้คิดถึงความไม่เที่ยงแท้ แน่นอนของชีวิต
    เต็มใจรับใช้ชาติ ( เคารพในกฎกติกาของสังคม ) ”
    จากวันนั้นจนถึงวัยเกณฑ์ทหาร ท่านขึ้นสู่ฝั่งด้วยจิตใจที่พร้อมจะรับใช้ประเทศชาติ ด้วยการปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ของทางราชการ อย่างถูกต้องตรงไปตรงมาในเรื่องนี้ คุณโยมมารดา เคยเล่าให้ฟังว่าบรรดาพ่อแม่ของเด็กหนุ่ม ๆ วัยเกณฑ์ทหารในละแวกบ้าน ต่างพากันวิ่งเต้นจ่ายเงินสินบน ให้แก่เจ้าหน้าที่บางคน เพื่อแลกกับ การปลอดพ้นจากการถูกเกณฑ์ทหารของลูกชายของตน ๆ แต่สำหรับท่านกลับกำชับอย่างแข็งขันกับมารดาว่า ขอห้ามขาดที่จะไปติดสินบนเพื่อการนี้ และท่านยังย้ำเพิ่มเติมอีกว่า หากท่านได้รับทราบข่าวว่าทางครอบครัวพยายามที่จะใช้เงินเพื่อการดังกล่าว ท่านเองจะไปสมัครเป็นทหารเกณฑ์ด้วยตนเอง เมื่อเห็นความตั้งใจที่เด็ดเดี่ยวของบุตรชาย ทางบ้านจึงปล่อยให้ท่านจับใบดำใบแดงตามกำหนด ผลปรากฏว่า …
    สุขที่ เป็นผู้ให้ สุขใจกว่าสุขจากการ เป็นผู้รับ ”
    ใ นการคัดเลือกทหารในปีนั้น ท่าน “ ไม่ถูกคัดเลือก ” ซึ่งทำให้ท่านบังเกิดความผิดหวัง เนื่องด้วยท่านเตรียมพร้อมเต็มที่ ซื้ออุปกรณ์รองเท้า ฯลฯ อะไรต่อมิอะไร ด้วยหวังใจว่าจะได้เป็นทหารเกณฑ์อย่างเต็มภาคภูมิ ถึงกับขายรถเครื่องคนเก่งคู่ชีพ เตรียมเงินทองข้าวของไปใช้ ในระหว่างเป็นทหารเกณฑ์ทว่าก็พลาดหวัง ในเรื่องนี้คุณโยมมารดาเล่าให้พวกเราฟังในคราวหนึ่งว่า หลังจากทราบผล คัดเลือกเกณฑ์ทหารแล้ว บุตรชายของท่านก็เดินทางกลับบ้านในสภาพประหนึ่งคน สิ้นเนื้อประดาตัว ด้วยว่าทรัพย์สินเงินทอง นาฬิกาสิ่งของเครื่องใช้ต่าง ๆ เท่าที่มีอยู่ ทั้งหมดที่ติดตัวไปมีอันอันตรธานหายไปจนหมดสิ้น สอบถามดูจึงได้ความว่า เมื่อเพื่อนที่ไปด้วยกันถูกเกณฑ์ทหาร ส่วนท่านกลับไม่ถูกเกณฑ์ เพื่อน ๆ จึงออกปากขอเงินขอสิ่งของต่าง ๆ ของท่าน ด้วยความรักเพื่อนและความมีน้ำใจ เอื้อเฟื้อมาแต่เยาว์วัย ท่านจึงแจกจ่ายเงินทองข้าวของให้เพื่อนๆ ไปจนหมดสิ้น ไม่เสียดายอาลัยในเงินทองของใช้เหล่านั้นเลยเมื่อกลับถึงบ้าน ท่านปรารภกับมารดาว่า ท่านตัดสินใจจะขออุปสมบทและเฝ้าร่ำร้องขออนุญาตต่อบิดา – มารดา อยู่เสมอตลอดมา
    ลาภลอยของน้อง ๆ ”
    ค รั้งหนึ่งน้องสาวของท่าน เคยเล่าถึงช่วงชีวิตระหว่างนี้ของท่านว่า ในวัยหนุ่มช่วงนี้มีสตรีหญิงสาวหลายรายมีความชื่นชมยินดีในท่าน ต่างพากันแวะเวียนซื้อขนม ซื้อข้าวของมาเยี่ยมเยียนท่านถึงบ้านเสมอ ๆ แต่ด้วยจิตใจที่เด็ดเดี่ยวมุ่งมั่นที่จะบวชเป็นพระให้ได้เสียก่อน ท่านจึงมิได้ให้ความหวังแก่สตรีคนใดเลย เมื่อเขามาเยี่ยมเยือนที่บ้าน ท่านก็ดูจังหวะแล้วหลบเลี่ยงการพบปะโดยออกจากบ้านไป แขกผู้มาเยือนนั่งเฝ้านั่งรอ แต่ก็ไม่มีเค้าว่าจะได้เห็น “ ใครคนนั้น ” แม้เพียงเงาจึงลากลับไปด้วย อาการเหงา ๆ ส่วนบรรดาน้องๆก็ได้พลอยฟ้าพลอยฝน ได้กินขนมฟรีอยู่เป็นประจำ จึงเป็นเรื่องสนุก ๆ ที่อยู่ในความทรงจำของน้อง ๆ เสมอมา
    การไม่คบคนพาล , การคบ บัณฑิตนี้เป็นมงคล อันสูงสุด ”
    มู ลเหตุสำคัญที่ทำให้ท่านยังเกิดศรัทธาในบวรพระพุทธศาสนา ก็เนื่องจากเหตุที่ได้พบกัลยาณมิตร คือ พระกรรมฐานรูปหนึ่งซึ่งเป็นชาวระยองเช่นกัน แต่ท่าน พระกรรมฐานรูปนี้ได้ไปยู่ปฏิบัติกรรมฐานภาวนากับหลวงปู่แหวน แห่งดอยแม่ปั๋ง จ . เชียงใหม่ ในวัยเด็กจนวัยหนุ่ม อุปนิสัยอีกประการของท่านพระอาจารย์ คือ การชอบคบเพื่อน คบมิตรที่สูงวัยกว่า ซึ่งบุคคลเหล่านั้นมักสูงด้วยประสบการณเช่นกัน สำหรับเรื่องการคบเพื่อนนั้น ถือเป็นเรื่องที่สำคัญของคนเรา ถ้ามิเช่นนั้นแล้ว พระพุทธองค์คงไม่ตัดไว้เป็นข้อแรกและข้อที่สองของมงคล 38 ประการที่เริ่มด้วย อะเสวนา จะพาลานัง , บัณฑิตา นัญจะเสวนา …… เอตัมมังคละมุตตะมัง การไม่คบคนพาล , การคบบัณฑิต …………….… นี้เป็นมงคลอันสูงสุด จึงนับได้ว่า วิถีชีวิตของท่านพระอาจารย์ เจริญก้าวหน้าก็เพราะได้คบคนดี เป็นมิตร ทุกครั้งที่พระภิกษุรูปนั้นเดินทางกลับลงมาจากเชียงใหม่และแวะพักที่ระยองบุคคลทั้งสอง ก็ได้มีโอกาสพบปะพูดคุย เล่าประสบการณ์แห่งชีวิตบรรพชิตนักปฏิบัติภาวนา ให้อีกฝ่ายหนึ่งรับฟังด้วยความสนใจอยู่เสมอ จนวันหนึ่ง ..… วันที่ศรัทธาสุกงอม ..… มีความพร้อมแล้วทั้งกายและใจ
    สู่ร่มกาสาวพัตร์ ”
    แ ละแล้วเมื่อวันที่ 29 เมษายน 2513 ท่านก็ได้อุปสมบทตามความปรารถนา ณ วัดตรีรัตนาราม อ . เมือง จ . ระยอง โดยมีท่านพระครูประจักษ์ ตันตยาคม วัดคีรีภาวนาราม อ . บ้านฉาง จ . ระยอง เป็นพระอุปัชฌาย์ เมื่ออุปสมบทแล้ว ท่านได้อยู่จำพรรษา ณ วัดตรีรัตนาราม 4 พรรษา เพื่อศึกษานักธรรม จนในที่สุดก็สอบผ่านได้นักธรรมเอกในปี พ . ศ .2516
    เร่งขวนขวายการศึกษา ใช้เวลาให้ถูกตามจังหวะของชีวิต ”
    อย่างไรก็ตาม แม้ในเบื้องต้นท่านต้องศึกษาเล่าเรียนทางปริยัติ เรียนนักธรรมชั้นต่าง ๆ แต่เมื่อถึงฤดูแล้งทุกปี ท่านจะต้องกราบลาครูบาอาจารย์ ขึ้นไปหาที่พักภาวนา บนดอยแม่ปั๋งกับท่านหลวงปู่แหวนบ้าง หรือบางทีก็ไปศึกษาแนวทางปฏิบัติกับท่านหลวงปู่สิม ณ วัดถ้ำผาปล่อง อ . เชียงดาว จ . เชียงใหม่ ท่านมักนำเรื่องนี้มาบอกเล่า เป็นคติแก่บรรดาพระหนุ่มเณรน้อย ตลอดจนถึงลูกศิษย์ผู้ใฝ่ใจในการปฏิบัติภาวนาว่า เมื่อแรกเป็นผู้ใหม่เข้ามาในวงการภาวนา ให้รีบเร่งขวนขวายในการศึกษา เล่าเรียน ให้พอมีพื้นฐานความรู้ความเข้าใจในอรรถในธรรมเป็นเบื้องต้น เพราะเป็นบาทฐานสำคัญของการเจริญภาวนา และที่สำคัญเมื่อยังเป็นผู้น้อยกิจภาระต่าง ๆ ก็ยังน้อยนิดจงรีบใช้เวลานี้ ศึกษาเล่าเรียนอย่างเป็นระบบ เพราะต่อไปภาคหน้า ภารกิจความรับผิดชอบต่าง ๆ จะต้องเพิ่มขึ้น ไม่สะดวกในการศึกษาเล่าเรียนเอาเสียเลย กรณีตัวอย่างนี้ท่านก็ใช้เปรียบเทียบอบรมสั่งสอนเด็กและเยาวชนคนหนุ่มสาวให้สนใจใฝ่ศึกษา หาความรู้ใส่ตัวเสียแต่ในวัยเด็ก อันเป็นช่วงเวลาที่เหมาะสมที่สุด ทั้งทางร่างการสติปัญญาและทางจิตใจที่ยังปลอดโปร่งไม่สับสนว้าวุ่นเหมือนกับผู้ใหญ ่ที่ต้องแบกภาระทำมาหากิน
    มรสุมชีวิต ”
    แ ม้วิถีชีวิตของท่าน จะแลเหมือนได้พ้นการเผชิญหน้ากับพายุมรสุมร้ายกลางท้องทะเลมหาสมุทรไปแล้วก็ตาม แต่ในความเป็นจริง “ มรสุมชีวิต ” ยังตามติดผู้คนไม่เลิกรา ในขณะที่ท่านกำลังซาบซึ้งกับชีวิตบรรพชิตอย่างดูดดื่มยิ่งๆขึ้นไปทุกๆวันทุกๆคืนคลื่นใต้น้ำก็กำลังก่อตัว เป็นมรสุมลูกใหญ่ พร้อมที่จะถาโถมใส่ท่าน เมื่อถึงกาลเวลาของมัน กล่าวคือ มีท่านลำพังเพียงผู้เดียว ที่กำลังบังเกิดความศรัทธาเพิ่มพูนในจิตใจในร่มเงาพระพุทธศาสนา แต่ว่าทั้งญาติพี่น้องทั้งในครอบครัวและญาติทางฝ่ายโยมมารดาที่สุพรรณบุรี ต่างตั้งหน้ารอคอย “ วันสึก ” ของท่านอย่างใจจดใจจ่อ ทุกครั้งที่ท่านได้มีโอกาสพบญาติพี่น้อง
    ก็จะได้รับคำถามรุกเร้าคาดคั้นเป็นประจำว่า เมื่อไรจะสึกๆ ….. เมื่อไรจะสึก ๆ !”
    ทั้งนี้เพราะทางครอบครัวถือว่า ท่านเป็นลูกชายคนโต มีหน้าที่ต้องสานต่อกิจการในครอบครัว และประกอบกับในสมัยนั้น ผู้คนส่วนใหญ่ยังไม่เคย หรือไม่ค่อยได้พบกับพระที่เป็นพระแท้ หรือเป็นพระที่อยู่ในพระธรรมวินัยอย่างเคร่งครัด จึงพากันมีทัศนคติต่อผู้บวชว่า เป็นพวกสิ้นท่าในชีวิต หมดทางทำมาหากิน หมดที่ไป หมดราคาของชีวิตเสียแล้ว จึงต้องไปบวช เป็นที่น่าอับอายขายหน้าแก่ญาติพี่น้องและตระกูล ถึงจะเป็นความรู้สึกที่แผดเผา รบกวนจิตใจของท่าน ให้ต้องพะว้าพะวงละล้าละลังอยู่ตลอดเวลา แต่ท่านก็รวบรวมพลังใจว่า จะตั้งใจประพฤติปฏิบัติ ดำรงตนเป็นพระที่น่าเคารพบูชากราบไหว้ และเป็นที่พึ่งทางจิตใจ แก่สังคมได้จริง จะพิสูจน์ให้ญาติพี่น้องทุกคนยอมรับให้ได้ ท่านจึงยิ่งเร่งความพากเพียรในการประพฤติปฏิบัติยิ่งๆ ขึ้นไปอีก “ ไม่มีคำว่าท้อถอย !”
    โทรเลขด่วน ! ”
    ห ลังจากที่ท่านสำเร็จนักธรรมเอกในพรรษาที่ 4 แล้ว พอพรรษาที่ 5 ท่านก็มุ่งหน้าสู่การปฏิบัติอย่างจริงจังมากขึ้น ลังจากที่ได้ทดลองปฏิบัติเป็นครั้งคราว ในหน้าแล้งของทุกปีที่ผ่านมา ดังนั้นพรรษาที่ 5 ท่านจึงตัดสินใจอยู่ปฏิบัติกับท่านหลวงปู่สิม วัดถ้ำผาปล่อง จ . เชียงใหม่ การเจริญภาวนามีความก้าวหน้าตามลำดับ หลังออกพรรษาได้ไม่นาน ก็ได้รับโทรเลขด่วน ให้รีบลงไปที่สุพรรณบุรีทันที เพราะโยมยายป่วยหนัก อาการน่าวิตกมาก ต้องการพบพระหลานชายเป็นที่สุด ท่านจึงได้เข้ากราบลาครูบาอาจารย์และเร่งรุดเดินทางทันที ด้วยเกรงว่าจะไม่ทันเวลาที่จะโปรดโยมยายเป็นครั้งสุดท้าย ! แม้อาจะถึงคราวที่ต้องสูญเสียญาติผู้ใหญ่ ผู้เป็นที่รักยิ่งของทุกคน แต่โอกาสนี้ก็เป็นโอกาสสำคัญ ที่จะทำให้ญาติพี่น้องทั้งตระกูล ได้ซาบซึ้งคุณค่าที่ท่านได้บวชมา !
    โยมยาย ..… แข็งใจอีกนิด ”
    พ ระหนุ่มเดินทางอย่างเร่งรุดด้วยความทุลักทุเล เพราะการคมนาคมสมัยโน้นยังยากลำบาก แต่ก็ไม่มีสิ่งใดเป็นอุปสรรคมาขัดขวางดวงใจที่มุ่งมั่นได้ ขอเพียงโยมยายอดทนรอคอยอีกสักนิด พระหลานชายก็จะไปให้ได้เห็นหน้า สมใจที่ต่างฝ่ายต่างปรารถนาอย่างแน่นอน
    ภาระกิจอันสำคัญ เพื่อตอบแทนพระคุณ ”
    เ มื่อเดินทางถึงบ้านโยมยายที่สุพรรณบุรี ท่านรู้สึกตื่นเต้นเล็กน้อยเพราะพบว่าญาติทุกคนจากทุกถิ่น มารวมตัวกันหมดอย่างพร้อมเพรียง
    “ ฤาโยมยายจะจากไปเสียแล้วหรือนี่ ” ท่านได้แต่รำพึงในใจ ขณะที่สาวเท้าก้าวเข้าไปในห้องของโยมยาย หญิงชรานอนหลับตาหายใจอ่อนโรยริน
    อยู่ท่ามกลางหมู่ญาติที่แห่แหนรายล้อมอยู่รอบเตียง เป็นบรรยากาศที่เคร่งเครียด หดหู่ สิ้นหวังน่าเศร้าใจเหลือประมาณที่จะกล่าวได้ ในช่วงเวลาที่วิกฤติที่สำคัญ ขนาดนั้น ท่านไม่มีโอกาสได้ทักทายผู้ใด ท่านรวบรวมจิตใจให้สงบผ่องใส ด้วยความหวังว่า โยมยายจะสามารถลืมตาขึ้นมาได้อีกสักครั้ง เพื่อเห็นชายผ้าเหลือง ของพระหลานชาย ก่อนที่จะสิ้นลมสิ้นใจจากไป อย่างน้อย ขอให้โยมยายได้เห็นชายผ้าเหลืองเป็นครั้งสุดท้าย ในช่วงเวลาที่สำคัญที่สุดของชีวิต “ โยมยาย ๆ พระมาแล้ว … โยมยายพระมาหาโยมยายแล้ว ” ท่านเอ่ยวาจาร้องเรียกโยมยายด้วยความแผ่วเบานุ่มนวล ถ่ายทอดพลังจิตที่สงบและปรารถนาดีอย่างเต็มท้นจิตใจสู่โยมยาย จิตท่านเฝ้ารำพึงว่า “ ขอให้พระหลายชายได้ทำหน้าที่ที่สำคัญที่สุดนี้ เพื่อตอบแทนพระคุณอันสูงล้นของโยมยายด้วยเถิด “ โยมยาย ๆ พระหลานชาย ของโยมยายมาหาโยมยายแล้ว ”
    นาทีสำคัญ ที่ต่างจดจ่อรอคอย !”
    ห ญิงชราปรือตาขึ้นช้าๆอย่างอ่อนแรง วินาทีนั้น พลันดวงตาทั้งสองของสายสัมพันธ์ ยาย – หลาน ก็ประสบพบกัน บรรยากาศภายในห้องเงียบกริบ ประหนึ่งโลกนี้ ไร้สิ่งมีชีวิตโดยสิ้นเชิง เมื่อหญิงชรามองสบดวงตาคู่นั้นจนเต็มตา ระลึกจดจำได้ชัดว่า นี่คือดวงหน้าของพระหลานชายที่เฝ้ารอคอยด้วยความอดทนแข็งใจรอที่จะได้พบ โยมยายจึงเอ่ยด้วยน้ำเสียงที่อ่อนแรง สั่นเครือ แหบเบา แต่กลับดังทะลุทะลวงถึงหัวใจของพระหลานชายว่า บวชมาก็นานแล้ว .. เมื่อไรจะสึกเสียที ! ภาระหน้าที่ใน ครอบครัวก็มีอยู่ ทำไมไม่สึกเสียที !”
    หัวใจสลาย ! ”
    ใ นบัดดลที่ได้ฟังคำพูดนั้น จิตใจที่สงบของพระหนุ่ม ก็ตีตลบพลิกกลับหมุนคว้างอย่างไร้ทิศทาง ไร้ความสามารถที่จะควบคุม จิตตกวูบบังเกิดความเศร้าสลด สังเวช นึกสมเพช อนาถใจในตนเองอย่างที่สุดเป็นความรู้สึกที่ยากเกินกว่าจะบรรยายให้ใครเข้าใจได้ตรงกับความรู้สึกที่บังเกิดขึ้นท่านเกิดความเสียใจ ผิดหวังอย่างที่สุด ในขณะเดียวกันก็เกิดความทุกข์ ท้อแท้ใจ สับสน วุ่นวาย เกิดความลังเลใจในชีวิตพรหมจรรย์เสียแล้ว ! ท่านเล่าให้ลูกศิษย์ฟังในภายหลังว่า ท่านเกิดรำพึงในใจว่า โอหนอเราช่างเป็นต้นเหตุ นำความทุกข์ระทมมาสู่หมู่ญาติพี่น้องได้ถึงเพียงนี้เทียวหนอ ฤาการบวชของเราจะเป็นการกระทำที่เห็นแก่ตัว เอาเปรียบพี่น้องอย่างที่ญาติ ๆ ได้กล่าวประณามไว้จริงละหรือ ! นับแต่วินาทีนั้นผ่านไป จิตใจของท่านก็หาความสงบไม่ได้อีกเลย ความคิดที่จะ “ สึก มีความรุนแรงเพิ่มพูน ผลักดันอยู่ภายในใจ ตลอดเวลา ขณะเดียวกันมันก็ต่อสู้กับความรู้สึกลึก ๆ ที่แน่นแฟ้นกับชีวิตพรหมจรรย์ เกิดเป็นสงครามล้างผลาญทำลายอยู่ภายในจิตใจตลอดเวลา จนหาช่องว่างที่จะสงบสุขแม้เพียงอึดใจก็ไม่มี !
    หมดแล้วที่ซึ่งจะพึ่งพา ”
    เ มื่อเสร็จสิ้นภาระที่สุพรรณบุรี ท่านรีบพาหัวใจที่ร้อนรุ่ม กลับคืนสู่ถ้าผาปล่อง ด้วยความตั้งใจอย่างแน่วแน่ที่จะกราบลาครูบาอาจารย์ คือ ท่านหลวงปู่สิม เพื่อสึกหาลาเพศอย่างแน่นอนทันที ทว่าท่านหลวงปู่สิมกลับไม่สนใจใยดีต่อคำกราบลา แม้จะยืนยันกับหลวงปู่ว่า ถ้าขืนยังอยู่ต่อก็ต้องเป็นทุกข์ใจ จนถึงแก่ความตายเป็นแน่ หลวงปู่สิม กล่าวตอบสวนควันทันทีว่า “ แล้วสึกไปแล้วจะไม่ต้องตายหรอกหรือ !” จากนั้นหลวงปู่ก็ไม่ได้ให้ความใส่ใจ ไม่ให้ความสำคัญใดใด กับคำกล่าวลานั้นเลย
    ศิษย์ที่มีครู ย่อมเทิดทูนครูไว้เหนือเศียรเกล้า ”
    โ ดยธรรมเนียมของศิษย์ที่มีครู ศิษย์กรรมฐานที่แท้จริง ย่อมเทิดทูนครูบาอาจารย์อยู่เหนือเศียรเกล้า จะกระทำการอันใดย่อมได้รับการอนุมัติจากครูบาอาจารย์เสียก่อน ท่านพระอาจารย์สุธรรม ก็นับตนว่าเป็นศิษย์มีครู เมื่อหลวงปู่ไม่อนุญาตให้สึก ท่านก็มิอาจฝืนรั้น การณ์ดูเหมือนว่าเรื่องจะสงบลงได้ในที่สุด ทว่าเหตุการณ์ กลับตรงกันข้าม เพราะท่านพระอาจารย์สุธรรมในขณะนั้นกลับต้องเผชิญความบีบคั้นกดดันที่รุนแรงเพิ่มขึ้นอีกเรื่อวก็คือ การไม่ได้รับการอนุญาตให้ลาสึก ! ถ้าผาปล่อง อันเคยเป็นภูผาพฤกษ์ไพรที่ให้ความร่มเย็นสุขล้ำ กลับกลายเป็นดั่งแผ่นดินเพลิง จะเดิน จะยืน จะนั่งจะนอนก็ให้ร้อนรุ่มไปหมดทุกลมหายใจ ความเคารพครูบาอาจารย์อย่างเต็มล้นหัวใจก็ยังมีอยู่ แต่ทุกข์สาหัสก็มิอาจขจัดให้เบาบางลงได้ ขืนอยู่ต่อก็คงต้องทิ้งชีวิตทิ้งร่างกายให้เป็นภาระแก่หมู่พวกแน่นอน !สุดท้ายท่านจึงตัดสินใจเก็บของสะพายบาตร เดินเตลิดเข้าป่าลึกอย่างไม่มีจุดหมายปลายทาง เพียงแต่มีความตั้งใจว่า ถ้าเข้าป่าไปหาที่สงบ เพื่อเจริญภาวนา แล้วทำได้ไม่สำเร็จ คือไม่สามารถดับร้อนผ่อนคลายทุกข์ได้ ก็ขอทิ้งชีวิตให้สาปสูญสิ้นชีพอย่างเดียวดาย ไร้ญาติขาดมิตรอยู่กลางป่าลึกนั่นแหละ !
    โปร่งใจได้เพียงชั่ววูบ ”
    ค วามโปร่งใจ ที่เกิดขึ้นจากการได้ก้าวเท้าออกจากถ้ำผาปล่อง บังเกิดแค่เพียงชั่วครู่ แล้วก็ดับวับหายไป เพราะสิ่งที่กำลังเผชิญอยู่ตรงหน้า ก็คือ ป่าเขา ทมึนไพรที่ ไร้ผู้คน แถมด้วยการโอบล้อมของสัตว์ป่าที่ดุร้ายนานาชนิด ที่ต่างต้องดิ้นรนเพื่อหาเนื้อฯ มายังชีพของๆตน ในช่วงเวลาขณะนั้น ท่านเล่าว่า มีความรู้สึกเหมือนว่า ความทุกข์ที่มีอยู่ทั้งโลกได้มาตกทับท่านแต่เพียงผู้เดียว ฤาจะเข้าตำราหนีเสือปะจระเข้ แล้วล่ะหรือ แต่โดยที่ท่านมีพื้นฐานในการเจริญภาวนาแล้วในระดับหนึ่ง กอปรกับจิตใจที่เคยอบรมฝึกฝนตนให้เด็ดเดี่ยวกล้าหาญ เสี่ยงความเป็นความตายมาแล้ว จึงทำให้เท้าของท่านเดินก้าวบุกป่าฝ่าดงต่อไป ไม่มีคำว่า “ ถอยหลัง ” ให้ปรากฏในใจอีกเลย
    เหลือเพียงธรรมเป็นที่พึ่งสุดท้าย ”
    ใ นที่สุดใจก็พาเท้าก้าวมาถึงหมู่บ้านชาวเขาเผ่ามูเซอแห่งหนึ่ง อันเป็นแห่งสุดท้ายที่ท่านตัดสินใจจะอยู่พักภาวนาให้ยาวนานกว่าที่อื่นๆ ที่ผ่านมา การเดินทางโดยเท้าเริ่มจากถ้าผาปล่อง อ . เชียงดาว จ . เชียงใหม่ หยุดพำนักเพื่อภาวนาสงบใจเป็นแห่ง ๆ จนลุมาถึงขุนเขาอันห่างไกล ในเขตอำเภอแม่สรวย จ . จ.เชียงราย เป็นเวลาเดินทางรอนแรม ผจญภัย ได้ฝึกสมาธิภาวนาอย่างเข้มข้น ประมาณเดือนเศษ บิณฑบาตได้ฉันแต่ข้าวเปล่าทุกวัน ทุกข์สาหัส จากความหนาวเหน็บเหยียบเย็นลึกเข้าถึงทุกอณูของไขกระดูก โดยปราศจากเครื่องกันหนาวมาห่อคลุม ท่านเล่าว่ามันหนาวเยือกไปทั่วร่างกาย เจ็บลึกไปถึงภายในอก จนนอนไม่ได้ ต้องนั่งกอดบาตรกันหนาวทำสมาธิอยู่ตลอดคืน คืนแล้ว คืนเล่า กลางขุนเขาป่าเปลี่ยวอย่างเดียวดายความทุกข์อย่างสาหัสสุดแสนที่ท่านได้เผชิญเหล่านี้ มันมีพลังอำนาจเหนือทุกข์ใดใด ที่เคยพานพบ ความทุกข์เรื่องครอบครัวเอย ความทุกข์เรื่องการสึกเอย กลับมลายหายสิ้น เหลือเพียงทุกขเวทนาอันแรงกล้าาิื ที่กำลังเผชิญอย่างจ่อหน้าจ่อตาอยู่ในช่วงเวลานั้นทั้งความหิว ความกลัว ความหนาวเหน็บ ความทุกข์ยากลำบาก รวมพลังกันผลักดันให้ท่านต้องกำหนดจดจ่อ แนบแน่นอยู่กับการภาวนาพุทโธ หาไม่เช่นนั้นแล้ว ท่านอาจจะต้องสูญเสียสติวิปลาสไป ทั้ง ๆ ที่กายยังดำรงอยู่ก็เป็นได้ !
    แลกเป็นแลกตาย แต่ก็คุ้มค่าเกินกว่าจะเปรียบกัน ”
    ใ จที่มีทีท่าระวังภัยรักษาใจอยู่ทุกขณะเช่นนั้น ก็คือ ท่าของความเพียรไปในตัว เป็นใจที่ถึงพร้อมด้วยสติ สมาธิ ปัญญา ใจต้องระลึกถึงธรรมเป็นที่พึ่ง หรือที่ต้านทาน ขึ้นมาพร้อม ๆ กัน การระลึกถึงธรรมนานเพียงใด ย่อมเป็นการเสริมกำลังสติปัญญาและความเพียรทุกด้านให้ดีขึ้นเพียงนั้น ผลคือความสงบก็เริ่มเกิดขึ้น ตามส่วนแห่งความเพียร จนถึงสงบลงได้อย่างสนิท ความจริงเรื่องทำนองนี้ก็เคยปรากฏในวงพระธุดงคกรรมฐานมาแล้วเป็นจำนวนมาก ทั้งนี้เพราะความกล้าเสียสละ จะตามก็ยอมตายไม่เสียดายชีวิตในขณะนั้น คนเราเมื่อจนมุมเข้าจริง ๆ หาที่พึ่งอื่นไม่ได้ ก็จำต้องพยายามคิดช่วยตนเองธรรมยิ่งเป็นองค์สรณะ อันอุดมอยู่แล้ว โดยธรรมชาติ เมื่อน้อมเข้ามาเป็นที่พึ่งของใจในขณะที่กำลังต้องการที่พึ่งอย่างเต็มที่ ธรรมก็ต้องแสดงผลให้เห็นอย่างทันตาทันใจ ไม่เป็นที่สงสัยของผู้ปฏิบัติจริง
    ชีวิตในชาตินี้ ขอทิ้งไว้ในพระพุทธศาสนา ”
    เ มื่อบังเกิดความอัศจรรย์แก่จิตเพิ่มขึ้นๆเป็นลำดับ แม้ว่าจะยังไม่ถึงที่สุด แต่ก็มีพลานุภาพเพียงพอที่จะทำให้ท่านประจักษ์แจ้งแก่ใจแล้วว่า ไม่มีสิ่งใดในโลกนี้ จะมีคุณค่าสูงยิ่งไปกว่าการเดินทางตามรอยพระอรหันต์ ผลจากการปฏิบัติในป่าเขาในช่วงเวลานี้เองทำให้ท่านบังเกิดความมั่นใจว่า ถ้าท่านดำเนินตามแนวนี้ต่อไป ในที่สุดท่านก็จะสามารถนำญาติพี่น้องให้เกิดความศรัทธาปสาทะที่แน่นแฟ้นต่อพระพุทธศาสนาได้อย่างแน่นอน ท่านเกิดธรรมปิติ อุทานธรรมกับตนเองว่า “ ชีวิตในชาตินี้ ขอทิ้งไว้ในพระพุทธศาสนา ไม่มีคำว่าหวนคืนสู่เพศฆราวาสอีกต่อไป !”
    รับใช้หลวงปู่ฝั้น ”
    ห ลังจากที่ได้รับผลอันน่าอัศจรรย์ ซึ่งไม่เคยคาดฝันว่าจะเกิดขึ้นได้กับตัวท่าน ท่านก็พิจารณาว่า ถ้าจะหาความเจริญก้าวหน้าบนหนทางนี้ คงต้องแสวงหาสถานที่ ที่สัปปายะคือมีความเหมาะสม ส่งเสริมการปฏิบัติอย่างแท้จริงเพราะแม้บรรยากาศป่าเขาธรรมชาติทางภาคเหนือจะเหมาะสม แต่สภาพทั่วไป ผู้คนส่วนใหญ่ ยังมุ่งเข้าวัดเพื่อการท่องเที่ยว จึงมีการประกวดประชันแข่งขันกันแต่งเนื้อแต่งตัว ด้วยอาภรณ์เครื่องประดับแพรวพราว ละลานตา ไม่ชวนให้ใจสงบ ซึ่งต่างจากภาคอีสาน ที่ชาวบ้านแม้ไม่ได้มุ่งไปภาวนาที่วัด แต่พวกเขาก็มุ่งไปเอาบุญ ดังนั้นจึงมีความสงบเสงี่ยมเจียมตน ไม่อึกทึก คึกคะนอง การแต่งกายห่มคลุมเป็นไปอย่างมิดชิด สุภาพ ผู้ใดได้พบเห็น ก็พาให้จิตใจสงบ แช่มชื่น อนุโมทนาในกริยาท่าทีและการแต่งกาย ดังนั้นย่างเข้าพรรษาที่ 6 คือ ปี 2518 ท่านจึงตัดสินใจมากราบนมัสการ ฝากเนื้อฝากตัว ขอเป็นลูกศิษย์รับใช้ใกล้ชิดท่านหลวงปู่ฝั้น อาจาโร แห่งวัดป่าอุดมสมพร อ . พรรณานิคม จ . สกลนคร
    ครูแท้ ศิษย์แท้ : เพียงแค่ต่างฝ่ายต่างทำหน้าที่ของตน ให้เต็มที่
    พ รรษาที่ 6 นี้ท่านก็ได้อุบายวิธีภาวนาจากหลวงปู่ฝั้น รวมถึงได้ซึมซาบศีลาจริยวัตรอันงดงามหมดจดแล้วด้วยดีขององค์หลวงปู่ฝั้น ท่านเล่าว่าก่อนตี 3 ท่านมี ความเบิกบานยินดีที่จะลุกจากที่นอน เพื่อไปก่อไฟ เตรียมต้มน้ำ ไว้สำหรับสรงน้ำให้องค์หลวงปู่ฝั้น ในระหว่างที่ลูกศิษย์ช่วยการสรงน้ำ หรือนวดเฟ้น หรืออุปัฏฐากปรนนิบัติ รับใช้องค์หลวงปู่ องค์หลวงปู่จะเมตตาถ่ายทอดธรรมผ่านนิพพานบ้าง ผ่านเรื่องเล่าต่าง ๆ บ้าง หรืออบรมต่าง ๆ บ้าง แต่ล้วนแล้ว เป็นสิ่งประเสริฐ ที่เปล่ง ออกจากดวงจิตที่เอื้ออาทร การุณแก่เหล่าบรรดาศิษย์อย่างสนิทใจ อย่างบริสุทธิ์ใจ สายสัมพันธ์ที่แน่นแฟ้นของครูและศิษย์ เกิดจากต่างฝ่ายต่างทำหน้าที่ ของตนต่อกันและกันอย่างเต็มที่ สุดกำลัง ! ความรักความศรัทธาและความเคารพเทิดทูนจึงเกิดขึ้น !
    ความฝันที่เป็นจริง ”
    ต่ อมาในพรรษาที่ 7 – 8 – 9 ( 2519 – 2521 ) ท่านได้มาจำพรรษาอยู่กับท่านพระอาจารย์สิงห์ทอง แห่งวัดป่าแก้วชุมพล ก็นับว่าเป็นอีกช่วงหนึ่งของชีวิต ที่ได้เรียนรู้และสั่งสมประสบการณ์ใหม่ ๆ อีกหลายประการในช่วงปีที่ท่านเร่งทำความเพียรนี้ ท่านเล่าว่าไม่เคยสุงสิงคลุกคลีญาติโยมใครๆ เลย เพราะทุกอริยาบท จะเต็มไปด้วยการเจริญสติ สมาธิ ปัญญาตลอด ท่านจึงมักสำรวมตา สงบวาจา เมื่อมีกิจของหมู่คณะ ท่านก็มิได้ละเลยหลีกเลี่ยง แต่เมื่อเสร็จกิจปุ๊บ ท่านก็จะหาที่นั่งภาวนาหรือเข้าทางจงกรมทันที และเหตุการณ์ที่เคยคาดหวังไว้ก็กลายเป็นความจริง กล่าวคือญาติพี่น้องของท่าน เริ่มสนใจเข้าวัด และมีจิตใจเป็นกุศลทำบุญสุนทรทานกันมากขึ้น จนถึงปัจจุบันนี้ คณะญาติพี่น้องและลูกศิษย์ของท่านจากทางระยองได้รับการยกย่องจากบุคคลทั่วไปว่า เป็นคณะที่มีจิตใจเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่กว้างใหญ่ไพศาล ต่างพากันเจริญรอยตามท่านพระอาจารย์ ในแง่ที่ว่า “ ให้สิ่งของแก่ใครทั้งที ต้องให้แต่ของที่ดีและให้ทีละมากๆ !”
    ครูบาอาจารย์ไม่เคยตำหนิได้ ”
    ต่ อมาในพรรษาที่ 10 และ 11 ( 2522-2523 ) อันเนื่องมาจากการมรณภาพของท่านพระอาจารย์สิงห์ทอง โดยอุบัติเหตุเครื่องบินตก ท่านพระอาจารย์สุธรรม จึงย้ายไปจำพรรษาอยู่กับท่านอาจารย์พระมหาบัว ญาณสัมปันโน แห่งวัดป่าบ้านตาด จ . อุดรธานี มีสิ่งที่ท่านประทับใจ และภูมิใจในการปฏิบัติก็คือ ท่านมิเคยถูกครูบาอาจารย์ตำหนิว่าย่อหย่อยเหลวไหลแม้แต่ครั้งเดียว ดังนั้นท่านจึงได้รับความไว้วางใจ และได้รับอนุญาตจากท่านอาจารย์ใหญ่บ้านตาด ให้มาพักภาวนาและพัฒนาวัดป่าหนองไผ่ ซึ่งตั้งอยู่บนเทือกเขาภูพาน จ . สกลนคร ต่อจากเจ้าอาวาสองค์ก่อน ที่ถูกผู้ก่อการร้ายคอมมิวนิสต์จับตัวไปสังหาร วัดป่าหนองไผ่แห่งนี้ถือว่าเป็นสาขาหนึ่งของท่านอาจารย์พระมหาบัว ญาณสัมปันโน แห่งวัดป่าบ้านตาด จ . อุดรธานี
    วันประวัติศาสตร์ของศิษย์ ”
    2 9 มีนาคม 2524 (19 ปีที่ผ่านมา : ปัจจุบัน) ท่าน ได้มาพักยังที่พักสงฆ์ป่าหนองไผ่ ( วัดป่าหนองไผ่ในปัจจุบัน ) และได้เริ่มจัดทำเสนาสนะตามอัตภาพ ความเป็นอยู่ในยุคแรกยังอัตคัดขัดสนมาก ประกอบกับไข้ป่าชุกชุม ท่านต้องเผชิญกับไข้มาลาเรียขึ้นสมองอยู่ตลอด 3 ปีเต็ม กว่าจะหายามาสกัดโรค ได้สนิทอาการของท่านนั้น ๆ เป็น ๆ หาย ๆ ต่อเนื่องกันแทบไม่มีเว้นวรรคไว้ให้ท่านได้สุขสบาย หากความอดทนของท่านไม่เพียงพอ ความเมตตาไม่มากมี วันนี้จะมีวัดป่าหนองไผ่ สำหรับทุกคนหรือไม่ ก็สุดจะยากเดา
    สวนป่าอัมพวัน ”
    เ มื่อ 19 ปีก่อน เทือกเขาภูพานเต็มไปด้วยสิงสาราสัตว์สารพัดชนิด แต่สภาพป่าบริเวณ 600 ไร่เศษ ในเขตวัด ก็มีสภาพบางส่วนถูกบุกรุก ทำไร่มัน ก่อนหน้าที่ท่านพระอาจารย์จะย้ายมาพำนัก ดังนั้นส่วนด้านหน้าของวัดจึงเป็นทุ่งหญ้าคาเสียเป็นส่วนใหญ่ อากาศค่อนข้างร้อนแห้งแล้ง ไม่เหมาะ แก่การบำเพ็ญภาวนา ท่านจึงมีดำรินำมะม่วงนานาพันธุ์มาปลูกทดแทนไม้เก่าที่ถูกตัดทำลายไป และเหตุผลที่สำคัญ 2 ประการที่ทำให้ท่านเลือก ที่จะปลูกมะม่วงก็เพราะ
    • มะม่วงนั้นไม่ผลัดใบพร้อมกัน จึงจะเป็นต้นไม้ที่จะให้ร่มเงาตลอดปี
    • ท่านเกิดความเมตตา สงสารชาวบ้าน ที่ไม่รู้จักปรับปรุงผลผลิต ทางการเกษตร ของตน ท่านจึงต้องการปลูกไม้ผลสาธิต ให้ชาวบ้านดูว่า สิ่งเหล่านี้เกิดขึ้นได้จริงกับทุกคน ถ้าทำจริง !
    ในการนี้ท่านได้รับความช่วยเหลือจากญาติพี่น้อง คัดเลือก จัดส่ง พันธุ์มะม่วง ชั้น 1 เกรด A มาเพาะปลูกในที่รกร้างที่ปรับพื้นที่เสียใหม่ โดยมีชาวบ้านระดมกำลังมาช่วยกันพัฒนาทุ่งหญ้า ให้กลับเป็นป่าชะอุ่มอีกวาระหนึ่ง
    ไม่มีสิ่งใดเกิดขึ้นมาเองลอย ๆ โดยไม่มีสาเหตุ ”
    ก ารพัฒนาวัดไดเจริญก้าวหน้าอย่างรวดเร็วมาเป็นลำดับ โดยได้รับการสนับสนุน เป็นหัวเรี่ยวหัวแรงอย่างแข็งขันจากชาวสุพรรณบุรี ชาวระยอง และที่ต่าง ๆ ซึ่งส่วนใหญ่ก็ล้วนแต่เป็นญาติพี่น้องในครอบครัวของท่านนั่นเอง ! ทว่าการพัฒนาที่ว่านี้ ไม่ใช่การบุกรุกแผ้วถางป่าเพื่อสร้างถาวรวัตถุ แต่เป็นการพัฒนาในรูปแบบ การฟื้นฟูสภาพที่เสื่อมโทรม รกร้าง เป็นทุ่งหญ้าคา เป็นป่าทุ่งหญ้า เสือหมอบ ให้กลายเป็นป่าไม้ที่ชุ่มชื้นรื่นรมย์อีกครั้ง ดังได้กล่าวมาแล้ว ส่วนเสนาสนะที่พักอาศัย ก็เป็นไปอย่างเรียบง่าย เป็นกุฏิ เป็นเพลิงเล็ก ๆ พอคุ้มแดด คุ้มฝน ปลูกสร้างบนผลาญหิน เพื่อหลีกเลี่ยงการตัดไม้ทำลายป่า ในการพัฒนานี้ต้องใช้ทุนมากพอสมควร เพราะท่านต้องการผูกน้ำใจไมตรีกับ ชาวบ้านก่อน ตามนโยบายที่ว่า สงเคราะห์เกื้อกูลด้วยอามิสก่อน เมื่อเขาผูกพันและค่อยสงเคราะห์ด้วยธรรม อันเป็นสมบัติ อันล้ำค่ากว่าสิ่งอื่นใด ” ดังนั้นในเบื้องต้น ญาติพี่น้องของท่าน จึงนำสิ่งของมาแจกจ่ายเป็นทานแก่ชาวบ้าน อยู่เป็นที่ประจำ ประกอบกับชาวบ้านเองได้เห็นข้อวัตร ปฏิปทา ที่ท่านพระอาจารย์ได้ประพฤติปฏิบัติอย่างเคร่งครัด จนบังเกิดความเลื่อมใส ศรัทธา ทยอยกันมาเข้าวัด เพื่อช่วยเหลือทางด้านกำลังงานในการฟื้นฟูสภาพพื้นที่ การที่ญาติพี่น้องของท่าน ร่วมใจมาให้การสนับสนุนท่านอย่างเต็มกำลังเช่นนี้ มิใช่เป็นปรากฏการณ์พลิกผันไปเอง ทว่าเกิดขึ้นจากกุศโลบายอันแยบยลด้วยธรรม ของท่านพระอาจารย์ที่ได้ฝากฝังหมู่เพื่อนและกราบขอความเมตตาจากครูบาอาจารย์ว่าหากท่านใด มีกิจธุระผ่านไปทางระยองหรือสุพรรณบุรีโปรดแวะที่บ้านของท่าน เพื่อเยี่ยมเยียนโยมบิดามารดาและญาติอื่น ๆ หากมีโอกาสก็ขอความกรุณาแสดงธรรมพอเป็นสังเขป ตามกาละเทศะในขณะนั้นๆ เพื่อให้ทางบ้านได้มี ความเข้าใจ ในคุณค่าแห่งธรรมเพิ่มยิ่งขึ้น ๆ ด้วยความที่ท่านมีอัธยาศัยเอื้อเฟื้อ แบ่งปัน มีน้ำใจ มีความอ่อนน้อมถ่อมตน จนเป็นที่รักใคร่ของหมู่คณะ ดังนั้นจึงมีพระสายกรรมฐาน แวะเวียนไปเยี่ยมเยือนครอบครัวท่านอย่างสม่ำเสมอตลอดเวลา …. เมฆทะมึนที่เคยทำให้ท้องฟ้าต้องมืดมิด ก็ค่อย ๆ สลายตัวไป เปิดทางให้แสงสว่าง ค่อยกระจ่างแจ้งเป็นลำดับ ด้วยบารมีพระธรรม !
    เปลี่ยนศัตรูให้กลายเป็นมิตร ”
    ก ารฟื้นฟูสภาพวัดในเบื้องแรก ท่านเพียงมีนโยบายปรับสภาพสิ่งแวดล้อมให้คืนสู่บรรยากาศป่าเขา ที่ให้ร่มเงาชุ่มเย็นอีกครั้ง ทั้งนี้ก็เพื่อเตรียมไว้รับรอง เพื่อนสหธรรมิกผู้ใฝ่ใจในการประพฤติปฏิบัติอย่างจริงจัง ให้ได้มีสถานที่พักภาวนา ที่มีบรรยากาศเหมาะสม ส่งเสริมการปฏิบัติให้ก้าวหน้า ทั้งนี้ก็รวมถึงการเปิดโอกาส ให้ญาติโยมประชาชนทั่วไปจากทิศทั้งสี่ ที่มีความสนใจ จะฝึกอบรม ขัดเกลาจิตใจตน ได้มีสถานที่พักพิงอาศัย อุปสรรคในเบื้องต้น มีหลายประการ อาทิ ความไม่เข้าใจของกลุ่มอิทธิพล บางกลุ่มที่เพ่งเล็งว่า การฟื้นฟูสำนักสงฆ์ป่าหนองไผ่ ( ชื่อในขณะนั้น ) นี้จะเป็นการบั่นทอน ริดรอนอำนาจที่พวกตนเคยมี ทำให้ท่าน ได้รับการกลั่นแกล้งอยู่เสมอ ท่านก็อาศัยธรรมเป็นที่พึ่ง เป็นหนทางในการแก้ปัญหา เริ่มด้วยการใช้ขันติ ความอดทน ทมะ ความข่มใจ จาคะ การสละแบ่งปัน สัจจะความจริงบริสุทธิ์ใจ และการแผ่เมตตาการให้อภัย จนในที่สุดเวลาก็เป็นเครื่องพิสูจน์บารมีแห่งพระธรรม ความขัดแย้ง การกลั่นแกล้ง ก็ลดน้อยลง จนถึงกลับเป็นมิตร ต่อกันได้ แม้จะต้องอดทนอยู่เป็นระยะเวลายาวนานพอสมควรก็ตามที !
    การพัฒนาบุคคล คือ การพัฒนาสังคม ”
    ใ นระยะแรกของการตั้งวัด แม้ว่าท่านจะมีความประสงค์ที่จะช่วยเหลือเกื้อกูลท้องถิ่นและสังคมด้วยความเมตา แต่เมื่อพิจารณาใคร่ครวญโดยรอบคอบแล้ว นโยบายของวัดในเบื้องต้น คือ การส่งเสริมให้มีการปฏิบัติภาวนาอย่างจริงจัง ทั้งฝ่ายพระสงฆ์และญาติโยม ทั้งนี้ก็เพื่อสร้างทรัพยากรบุคคลที่มีคุณภาพ ไว้ช่วยเหลือสังคมตามกาลเวลาที่เหมาะสม ดังนั้นกิจกรรมภายในวัดป่าหนองไผ่ในเบื้องต้น จึงเป็นเรื่องของการภาวนากรรมฐานเสียเป็นส่วนใหญ่ ซึ่งดำเนินไปอย่างเงียบๆแต่ว่าจริงจัง เคร่งครัดในข้อวัตรปฏิปทาที่ครูบาอาจาร ย ์พาดำเนินมา
    สุขที่ได้จากการเสียสละย่อมชนะสุข ที่ได้จากอามิสสินจ้าง ”
    แ ม้จะยังมิอาจช่วยเหลือสังคมในวงกว้างได้ แต่ในระดับชุมชนท้องถิ่น ท่านก็ให้ ความอนุเคราะห์เสมอมา ไม่ว่าจะเป็นในรูปของวัตถุสิ่งของ ปัจจัยเงินทอง เท่าที่พอมีและที่สำคัญที่สุด คือ การสงเคราะห์ด้วยธรรม น้อมนำให้ชาวบ้านมีศีลธรรม มีความขยันทำมาหากินด้วยความสุจริต มีน้ำใจต่อกัน ไม่เบียดเบียนกัน สภาพชุมชนโดยรอบจึงมาความผาสุก เป็นที่อบอุ่นใจทั่วหน้า นโยบายที่สำคัญซึ่งท่านได้พยายามรักษาไว้อย่างมั่นคงประการหนึ่งก็คือ การไม่ใช้เงินเป็นค่าจ้างแรงงาน เพราะอาจะเห็นผลว่าการพัฒนาทางด้านวัตถุอย่างเด่นชัด แต่ทว่าผลทางด้านจิตใจจะถดถอย เสื่อมโทรมจากศรัทธาที่บริสุทธิ์ใจได้โดยง่าย มรดกทางวัฒนธรรม ศาสนา ประเพณีที่บรรพบุรุษสร้างสมไว้จะค่อย ๆ เสื่อมทลาย หากใช้เงินเป็นเครื่องแลกเปลี่ยนกำลังแรงงานของชาวบ้าน ความมีน้ำใจ ความเสียสละ ความเอื้อเฟื้อ แบ่งปัน ความบริสุทธิ์ใจในการทำบุญสุนทรทานจะจืดจางจนหมดไปได้ หากมีการแลกเปลี่ยนกันด้วยเงินผู้ที่จะรักษานโยบายนี้ไว้ได้จะต้องอาศัยความอดทน ความแข็งใจเป็นอย่างสูง เพราะความเมตตาสงสารชาวบ้านที่ยากจนก็มีเต็มล้นหัวใจ การสงเคราะห์ด้วยการจ่ายค่าจ้างแรงงานก็เป็นสิ่งที่สะดวกคล่องตัว เนรมิตสิ่งใดได้ดังใจ ได้ตามความประสงค์ เป็นไปตามเวลาที่กำหนด สิ่งเหล่านี้เกิดขึ้นได้ง่าย ๆ ถ้าใช้เงินเป็นเครื่องตอบแทน ทว่านโยบายของท่านคือการสร้างคน มิใช่สร้างวัตถุให้มีล้นเหลือ แต่ความเจริญ ทางด้านจิตใจกลับลดน้อยลง หาใช่ความประสงค์ไม่สิ่งที่จะทำให้ชาวบ้านบังเกิดความศรัทธาและพร้อมเพรียงใจกันเสียสละ มาทำนุบำรุงสถานที่ของวัด ก็มีเพียงสิ่งเดียวคือ
    " พระธรรม ”
    นั่นคือพระทุกรูป คนทุกคนที่อาศัยอยู่ในวัด ต้องตั้งใจประพฤติ ปฏิบัติ ให้ถูกต้อง ตามพระธรรมวินัย ใฝ่ใจในการเจริญกรรมฐานอยู่เนืองนิใช้เวลาเป็นเครื่องสร้างศรัทธา ให้แก่ชาวบ้าน และสงเคราะห์ด้วยวัตถุสิ่งของปัจจัยตามกาลอันควร มิใช่การจ่ายเพื่อตอบแทนแรงงานหลังเลิกงานการใช้นโยบายนี้บางคราวคิดแล้ว ก็เป็นค่าใช้จ่ายที่สูงกว่าการจ่ายค่าแรงรายวัน แต่ก็คุ้มค่าเพราะว่าเราสามารถรักษาคุณธรรมคุณความดีที่หลั่งมาเองจากจิตใจชาวบ้าน เอาไว้ได้จนถึงปัจจุบัน !
    ค่าของงาน อยู่ที่คุณค่าของจิตใจ ”
    วั ดป่าหนองไผ่ค่อย ๆ มีศักยภาพในการช่วยเหลือสังคม อย่างค่อยเป็นค่อยไป มิใช่เติบโตอย่างก้าวกระโดด กิจกรรมต่าง ๆ เพื่อสังคมเริ่มมีมากขึ้น และกว้างขวางขึ้น ตามกำลัง จุดสำคัญของการช่วยเหลือสังคมของสัดป่าหนองไผ่นั้น แม้มิอาจวัดกันได้ด้วย ปริมาณเงิน ปริมาณวัตถุสิ่งของ ปริมาณของกิจกรรม แต่ท่านพระอาจารย์ และคณะศิษย์ทุกท่าน ทุกคน ต่างก็มั่นใจในคุณภาพของกิจกรรมว่า แม้จะเล็ก ๆ แต่ก็สมบูรณ์ด้วย คุณภาพของความจริงใจ ความบริสุทธิ์ใจที่ได้ทำกิจกรรมต่าง ๆ นั้นโดยธรรมร่วมกัน
    เป็นไปตามเหตุและปัจจัย โดยมีธรรมเป็นแก่นสาร ”
    ใ นช่วง 10 ปีหลังจากการเข้ามาฟื้นฟูสถานที่ของท่านพระอาจารย์ วัดป่าหนองไผ่ เริ่มเป็นที่รู้จัก ที่เคารพศรัทธาจากมหาชนในวงกว้างขึ้นเป็นลำดับ เป็นเหตุให้ต้องมีการขยับขยายด้านที่พักอาศัย ห้องน้ำห้องส้วม โรงครัว เพื่อรองรับผู้คนที่หลั่งไหลทยอยกัน เข้ามาอาศัยวัดเป็นที่พึ่งทางใจ เป็นที่ได้ฝึกเจริญสติ สมาธิ ปัญญาแห่งตน ญาติโยมที่เข้ามาส่วนใหญ่มักเป็นสตรีสูงอายุ มีปัญหาเกี่ยวกับสุขภาพ แต่ก็มุ่งมาดปราถนาในการปฏิบัติธรรม ดังนั้นสิ่งก่อสร้างในระยะต่อมา จึงคำนึงถึงความปลอดภัย แน่นหนา และความสะดวกสบายตามสมควรแก่อัตภาพของผู้ปฏิบัติที่ส่วนใหญ่เป็นผู้ชรา ส่วนสำหรับด้านที่พักสงฆ์นั้น ก็ยังคงไว้ ซึ่งปฏิปทาเดิมคือ กระจายอยู่ท่ามกลางป่าเขา เรียบง่าย ไม่มีน้ำ ไม่มีไฟฟ้า ไม่มีสิ่งอำนวยความสะดวกใด ๆ ทั้งสิ้น เพื่อส่งเสริมการปฏิบัติแด่ผู้มีหน้าที่ โดยตรงในการสืบอายุพระพุทธศาสนา
    อนุสรณ์สถาน ควรแก่การอนุรักษ์ไว้ ”
    ด้ วยเหตุที่วัดป่าหนองไผ่ มีประวัติความเป็นมาอันยาวนานกว่า 70 ปี ( 2469 – ปัจจุบัน) นับเนื่องแต่การมาพักปฏิบัติภาวนาและอบรมสั่งสอน ชาวบ้านของท่าน พระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต ก่อนปี 2469 เป็นองค์ปฐม แล้วตามด้วยพระอาจารย์ที่เป็นศิษย์องค์สำคัญ ๆ อีกหลายรูป อาทิ ท่านพระอาจารย์กงมา จิรปุญโญ , หลวงปู่ฝั้น อาจาโร , หลวงปู่หล้า เขมปัตโต เป็นต้น จึงเป็นเหตุให้สถานที่แห่งนี้ เป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวางในหมู่พระธุดงคกรรมฐานว่า เป็นสถานที่อันวิเวก เหมาะสมแก่การปฏิบัติภาวนา ทำให้มีพระธุดงค์มาพักเพื่อปฏิบัติธรรมและจำพรรษาอยู่เสมอ จึงนับว่าวัดป่าหนองไผ่ ซึ่งตั้งอยู่บนเทือกเขาภูพาน อันมีพื้นที่ประมาณ 600 ไร่ เป็นสถานที่สำคัญเก่าแก่ ถือเป็นอนุสรณ์สถานที่ควรแก่การอนุรักษ์ เพื่อประโยชน์แก่อนุชนรุ่นหลังต่อไปให้ยาวนานที่สุด
    เหตุที่ผืนป่ายังสมบูรณ์
    โ ดยเหตุที่วัดป่าหนองไผ่มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์ของพระศาสนา ชาวบ้าน จึงต่างมีความเคารพเลื่อมใส ศรัทธา อ่อนน้อม เชื่อฟังและช่วยกันดูแล รักษาสงวนพื้นที่ป่าบริเวณนี้ให้เป็นเขตสงบ งดการตัดไม้ทำลายป่า ล่าสัตว์ เพื่อเป็นสิริมงคลแก่ชาวบ้าน และเพื่อเอื้อเฟื้อให้ความสงบเหมาะแก่การภาวนา ของพระภิกษุสามเณร นับแต่กาลก่อนจนถึงปัจจุบัน พระภิกษุสามเณร ได้เมตตาอบรมชาวบ้านให้ตั้งใจรักษาศีล ฝึกฝนสมาธิภาวนาเจริญปัญญาอยู่เป็นนิจ นอกจากนี้ยังให้การอบรมสั่งสอนชาวบ้าน ให้ตั้งใจรักษาศีล ฝึกฝนสมาธิภาวนา เจริญปัญญาอยู่เป็นนิจ นอกจากนี้ยังได้ให้การอบรมสั่งสอนชาวบ้าน ให้มีความประพฤติดีทำมาหากินด้วยความขยันขันแข็ง สุจริต ที่สำคัญอีกประการ คือ อบรมสั่งสอนชาวบ้านให้ช่วยกันปลูกป่า รักษาธรรมชาติ เหตุนี้ผืนป่าบริเวณนั้น จึงยังคงสภาพที่สมบูรณ์เอาไว้ได้
    ป่าไม้สร้างศาสน – ศาสนารักษาป่าไม้ ”
    ท่ านพระอาจารย์สุธรรม สุธัมโม รับภาระบริหารดูแลรักษาวัดนี้นับแต่ปี พ . ศ . 2524 ท่านมีนโยบาย ใช้ทรัพยากร “ ป่าไม้ ” ให้เกิดประโยชน์สูงสุดทั้งสองประการ คือ
    • รักษาพื้นที่ป่าไม้ไว้ เพื่อใช้อนุรักษ์ควบคุมความสมดุลระะบบนิเวศธรรมชาติ อันเป็นแหล่งกำเนิดของการสร้างทุกสรรพชีวิต
    • รักษาพื้นที่ป่าไม้ไว้ เพื่อใช้พัฒนาคุณภาพจิตใจ “ ทรัพยากรบุคคลของชาติ ” กล่าวคือ การปกป้องคุ้มครอง สงวนรักษาพื้นที่นี้ไว้ ให้มีความปลอดภัย มีความสงบวิเวก ร่มรื่น เป็นบรรยากาศธรรมชาติที่เหมาะสม แก่การฝึกหัด
    • ขัดเกลาจิตใจ ปฏิบัติสมาธิภาวนา พัฒนาสติปัญญา สำหรับพระภิกษุสามเณร ยาวชนและบุคคลทั่วไป เป็นการสร้างพลเมืองดี มีศีลธรรมเทื่อรับใช้สถาบัน ชาติ ศาสนา และพระมหากษัติรย์ให้มั่นคงสถาพรสืบไป





    พระธรรมเทศนา

    อุ้มโลกไว้... ด้วยใจงาม

    เมื่อก่อน สังคมเราเคย
    เราจะปล่อยให้ชีวิตที่เคยสงบสุข กลายเป็นเพียงตำนานเท่านั้นหรือ?

    ถึงเวลาแล้ว ที่เราจะต้องหันหน้าเข้าหากัน เพื่อสร้างสรรค์โลกให้น่าอยู่ ซึ่งไม่เพียง แต่เจริญทางด้านวัตถุ แต่จิตใจต้องได้รับการพัฒนาให้เจริญควบคู่กันไป

    สิ่งเหล่านี้จะเกิดขึ้นได้ ต้องเริ่มจากใจของเราก่อน โดย ทำใจให้หยุด นิ่ง ภายใน ศูนย์ กลางกาย ซึ่งเป็นแหล่งแห่งความบริสุทธิ์ ความคิด คำพูด และการกระทำ เมื่อบริสุทธิ์ด้วยคุณธรรมแล้ว เป็นจุดเริ่มที่จะแผ่ขยายไปสู่บุคคลรอบข้าง ครอบครัว สังคม ประเทศชาติ การดำเนินชีวิตอยู่ในโลกนี้ ก็จะเต็มไปด้วยความสุข เพราะโลกได้รับการ โอบอุ้มด้วยใจ อันบริสุทธิ์ของเรา

    มาเถิด… มาทำใจให้หยุด ให้นิ่ง ใส บริสุทธิ์ เพื่อสันติสุขของโลกอย่างแท้จริง


    จากหนังสือ เพื่อสิ่งที่ดีที่สุดสำหรับชีวิต
    โดย พระสุธรรม สุธัมโมอยู่กันอย่างสงบสุข มีชีวิตเรียบง่าย มากมายด้วยน้ำใจ ความขัดแย้งใดที่เกิดขึ้น ขจัดได้ด้วยการให้อภัย แต่ปัจจุบัน วิวัฒนาการสู่ยุคโลกาภิวัฒน์ ความเจริญทางด้านวัตถุมีมากขึ้น ความเจริญทางด้านจิตใจกลับถดถอย สังคมเต็มไปด้วยความขัดแย้ง ความเห็นแก่ตัว ปัญหาเล็กน้อย กลับกลายเป็นปัญหาใหญ่โต มีผลกระทบ มากมายต่อเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม
     
  5. studio214

    studio214 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 สิงหาคม 2012
    โพสต์:
    654
    ค่าพลัง:
    +705
    ขอรับเกศาพระอาจารย์สมบูรณ์ครับ ขออนุโมทนา

    "ไฟความโลภ โกธร หลง ไฟมันดูเหมือนสวยงาม แมลงจึงบินเข้าไปนึกว่าจะเย็น ที่ไหนได้มันร้่อน ขนาดเอาน้ำเย็นไปตั้งบนไฟ น้ำยังเดือด
    เราจึงควรพยายามไม่ไปยุ่ง เมื่อรู้ว่ามันเป็นไฟ"

    พระอาจารย์สมบูรณ์ กนฺตสีโล วัดป่าสมบูรณ์ธรรม อ.ชาติตระการ พิษณุโลก   

    พระอาจารย์เป็นคนขอนแก่น เกิดเมื่อวันที่ 9 ธันวาคม พ.ศ.2483 เมื่ออายุพอสมควรได้ไปอยู่เป็นผ้าขาวกับหลวงปู่ฝั้น อาจาโร ณ วัดป่าอุดมสมพร อ.พรรณานิคม จ.สกลนคร ระยะหนึ่ง จากนั้นก็อุปสมบทและอยู่ปฏิบัติกับหลวงปู่ฝั้นมาตลอดจวบจนหลวงปู่ฝั้นมรณภาพ

    การบำเพ็ญเพียรของท่านอาจารย์นั้น ไม่ใช่ประเภทกินสนุก นอนสบาย ท่านตั้งอกตั้งใจถวายชีวิตบูชาธรรมโดยแท้ นิสัยอันตั้งตรงต่อธรรมนี้ยังคงติดตัวติดใจท่านมาจนถึงปัจจุบัน ทุกวันนี้ท่านก็ใช้ผ้า 3 ผืน, บิณฑบาตเป็นวัตร, ห่มสังฆาฏิซ้อนเวลาบิณฑบาต, ฉันมื้อเดียว, ตัด เย็บ ย้อม ผ้าไตรเอง ฯลฯ สิ่งต่าง ๆ เหล่านี้เป็นเครื่องชี้ให้เห็นถึงความมั่นคงในธรรมของท่าน แม้วันนี้ท่านจะเป็นพระเถระที่มีอายุถึง 57 ปีแล้ว ท่านก็ยังทำทุกอย่างเอง ไม่อยู่สบาย นอนสบายเพราะถือตนว่าเป็นครูบาอาจารย์
     
  6. Pimniyom

    Pimniyom Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 ตุลาคม 2012
    โพสต์:
    14
    ค่าพลัง:
    +86
    ขอรับเกศา ลป.บุญหนา

    ประวัติหลวงปู่บุญหนา ธัมมทินโน วัดป่าโสตถิผล จ.สกลนคร ศิษย์ธรรมสาย"หลวงปู่มั่น" หลวงตาบุญหนา ธัมมทินโนพระสายวิปัสสนากัมมัฏฐานที่เคร่งครัดในพระธรรมวินัยชื่อดังรูปหนึ่งแห่ง เมืองสกลนคร ซึ่งถือได้ว่าเป็นศิษย์หลวงปู่มั่นรุ่นสุดท้ายที่ยังดำรงอยู่ ณ วัดป่าโสตถิผล บ้านหนองโดก ต.ช้างมิ่ง อ.พรรณานิคม จ.สกลนคร

    อัตโนประวัติหลวงตาบุญหนา ท่านเป็นหลานแท้ๆ ของหลวงปู่ฝั้น อาจาโร แห่งวัดป่าอุดมสมพร ต.พรรณา อ.พรรณานิคม จ.สกลนคร เมื่ออายุ 12 ปีได้เข้าพิธีบรรพชา ณ วัดแจ้ง บ้านหนองโดก ต.ช้างมิ่ง อ.พรรณานิคม จ.สกลนคร ซึ่งเป็นวัดบ้านเกิดของท่านเอง หลวงปู่บุญหนา ท่านได้ปฏิบัติอุปัฏฐากรับใช้ครูบาอาจารย์นานถึง 12 ปี ตั้งแต่ครั้งสมัยเป็นสามเณร เช่น หลวงปู่ฝั้น อาจาโร ซึ่งเป็นหลวงอาได้นำท่านมาอยู่ด้วย และโดยเฉพาะกับพระอาจารย์อ่อน ญาณสิริ ศิษย์สายธรรมหลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต ในช่วงที่เป็นสามเณรอยู่กับพระอาจารย์อ่อนเคยไปกราบนมัสการหลวงปู่มั่น ณ วัดป่าบ้านหนองผือ (วัดป่าภูริทัตตถิราวาส) บ้านหนองผือ ต.นาใน อ.พรรณานิคม จ.สกลนคร เป็นประจำ โดยมีพระอาจารย์อ่อนนำพาไป สาเหตุที่ได้ปฏิบัติอุปัฏฐากรับใช้พระอาจารย์อ่อน ด้วยพระอาจารย์อ่อนเดินธุดงค์มาพำนักหาความสงบวิเวกอยู่ที่บริเวณป่าช้าบ้าน หนองโดก (ปัจจุบันคือวัดป่าโสตถิผล หรือวัดป่าบ้านหนองโดก) ตอนนั้นได้บรรพชาเป็นสามเณร แต่เป็นฝ่ายมหานิกาย พักอยู่วัดแจ้ง บ้านหนองโดก เป็นวัดบ้านของท่านเอง และไม่ไกลจากป่าช้าที่พระอาจารย์อ่อนไปพักอยู่นั้นมากนัก

    หลวงปู่บุญหนาท่านบอกว่า ตอนที่ไปกราบนมัสการพระอาจารย์มั่น ณ วัดป่าบ้านหนองผือ (วัดป่าภูริทัตตถิราวาส) ครั้งแรกไปกับพระอาจารย์อ่อน พร้อมกับสามเณรอีกรูปหนึ่งและญาติโยม 4-5 คน เดินมุ่งหน้าสู่เทือกเขาภูพานที่อยู่ทางทิศใต้ของหมู่บ้านหนองโดก ก่อนเดินทางถึงวัดป่าบ้านหนองผือ เวลาประมาณบ่าย 3 โมง พอเข้าไปภายในบริเวณวัด รู้สึกว่าภายในวัดร่มรื่นสงบเงียบ เหมือนกับไม่มีพระเณรทำให้ตื่นตาตื่นใจเป็นครั้งแรก เห็นพระเณรกำลังทำกิจวัตรกวาดลานวัดด้วยไม้ตาด ส่วนพระอาจารย์อ่อน พร้อมคณะ เข้าไปกราบนมัสการพระอาจารย์มั่นบนกุฏิ เสร็จแล้วก็กลับที่พัก ปัดกวาดลานวัด ตักน้ำใช้น้ำฉันจากบ่อน้ำ เสร็จจากนั้นก็เตรียมรอสรงน้ำพระอาจารย์มั่นบริเวณหน้ากุฏิ ซึ่งมีพระเตรียมน้ำสรงไว้โดยใช้น้ำร้อนผสมพอให้อุ่น เมื่อพระอาจารย์มั่นเข้ามานั่งบนตั่งแล้ว คราวนี้พระเณรทั้งหลายห้อมล้อม เพื่อเข้าไปถูหลังขัดไคลถวายอย่างเปี่ยมล้นด้วยศรัทธา ส่วนสามเณรบุญหนา มีโอกาสเข้าไปร่วมสรงน้ำท่านพระอาจารย์มั่นในครั้งนี้ด้วย


    เมื่อพระอาจารย์มั่นเห็นท่านซึ่งเป็นสามเณรมาใหม่ พระอาจารย์มั่นจึงพูดสำเนียงอีสานขึ้นว่า "เณรมาแต่ไส..." แต่สามเณรบุญหนาไม่ทันตอบ มีพระอาจารย์ทองคำตอบแทนว่า "เณรมากับครูบาอ่อน ข้าน้อย" จากนั้นท่านไม่ได้ว่าอะไรต่อไป จนเสร็จจากการสรงน้ำท่านในวันนั้น นอกจากนี้ ท่านยังได้ปฏิบัติอุปัฏฐากรับใช้ครูบาอาจารย์อื่นๆ อีก เช่น พระอาจารย์ชอบ ฐานสโม พระอาจารย์ตื้อ อจลธมฺโม พระอาจารย์ลี ธัมมธโร พระอาจารย์แหวน สุจิณโณ พระอาจารย์สิม พุทธาจาโร และพระอาจารย์จาม มหาปุญโญ เป็นต้น

    หลวงตาบุญหนา ได้มาพำนักจำพรรษาอยู่ ณ วัดป่าโสตถิผล บ้านหนองโดก ต.ช้างมิ่ง อ.พรรณานิคม จ.สกลนคร ตราบจนกระทั่งถึงปัจจุบัน นับได้ว่าท่านเป็นพระอริยสงฆ์ที่ควรค่าแก่การกราบไหว้ได้อย่างสนิทใจอีกรูป หนึ่งที่ยังเหลืออยู่ หลวงปู่บุญหนา ได้ให้สติแก่ญาติโยมผู้เดินทางมากราบนมัสการเสมอว่า ให้เป็นผู้มีสติ ระลึกรู้ในกาย สติระลึกรู้ในวาจาคำพูด สติระลึกรู้ในใจ เมื่อสติรู้ซักซ้อมอยู่ภายในกาย วาจา และใจแล้ว ทำ พูด คิด ถูกและผิด ก็ระลึกรู้อยู่ ปรับปรุงอยู่อย่างนี้เสมอ ซึ่งเป็นคำสอนของพระอาจารย์อ่อน ญาณสิริ ที่ได้เล่าเรื่องของท่านพระอาจารย์เสาร์ กนฺตสีโล เทศน์แสดงธรรมสั้นๆ ในช่วงที่เคยเดินทางไปกราบนมัสการหลวงปู่มั่นครั้งนั้นว่า "กายสุจริต วจีสุจริต มโนสุจริต กายบริสุทธิ์ วาจาบริสุทธิ์ ใจบริสุทธิ์"
     
  7. แม่จุ๋ม

    แม่จุ๋ม เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    277
    ค่าพลัง:
    +197
    ขอรับเส้นเกศาหลวงปู่บุญหนา
    หลวงปู่บุญหนาสอนว่า ทำทานร้อยครั้งอานิสงส์ ไม่เท่ารักษาศีลครั้งเดียว
    รักษาศีลหนึ่งครั้ง อานิสงส์ไม่เท่าภาวนาครั้งเดียว
    ให้หมั่นสร้างบุญเอา ทั้งทาน ศีล ภาวนา
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 28 กรกฎาคม 2013
  8. คนดีจ้า

    คนดีจ้า Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มกราคม 2013
    โพสต์:
    66
    ค่าพลัง:
    +94
    ขอรับเกศาหลวงปู่บุญหนาครับ
    คติธรรม "สติเป็นสิ่งสำคัญมาก สติระลึกรู้ในกาย สติระลึกรู้ในวาจาคำพูด สติระลึกรู้ในใจ เมื่อสติรูซักซ้อมอยู่ภายในกาย วาจา และใจแล้ว ทำ พูด คิด ถูกและผิด ก็ระลึกรู้อยู่ ปรับปรุงแยู่อย่างนี้เสมอ"
    เดี๋ยวผมส่งซองไปรับ ขอบพระคุณครับ
     
  9. rawatn

    rawatn เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    567
    ค่าพลัง:
    +988
    รบกวนขอรับเกศา หลวงปู่บุญหนา ธัมทินโน วัดป่าโสตถิผล สกลนคร ครับ.

    ประวัติหลวงปู่บุญหนา ธัมมทินโน วัดป่าโสตถิผล จ.สกลนคร
    ประวัติหลวงปู่บุญหนา ธัมมทินโน วัดป่าโสตถิผล จ.สกลนคร Tweet ทวีต

    หลวงปู่บุญหนา วัดป่าโสตถิผล อ.พรรณานิคม จ.สกลนคร

    ประวัติหลวงปู่บุญหนา ธัมมทินโน วัดป่าโสตถิผล จ.สกลนคร ศิษย์ธรรมสาย"หลวงปู่มั่น" หลวงตาบุญหนา ธัมมทินโนพระสายวิปัสสนากัมมัฏฐานที่เคร่งครัดในพระธรรมวินัยชื่อดังรูปหนึ่งแห่ง เมืองสกลนคร ซึ่งถือได้ว่าเป็นศิษย์หลวงปู่มั่นรุ่นสุดท้ายที่ยังดำรงอยู่ ณ วัดป่าโสตถิผล บ้านหนองโดก ต.ช้างมิ่ง อ.พรรณานิคม จ.สกลนคร

    อัตโนประวัติหลวงตาบุญหนา ท่านเป็นหลานแท้ๆ ของหลวงปู่ฝั้น อาจาโร แห่งวัดป่าอุดมสมพร ต.พรรณา อ.พรรณานิคม จ.สกลนคร เมื่ออายุ 12 ปีได้เข้าพิธีบรรพชา ณ วัดแจ้ง บ้านหนองโดก ต.ช้างมิ่ง อ.พรรณานิคม จ.สกลนคร ซึ่งเป็นวัดบ้านเกิดของท่านเอง หลวงปู่บุญหนา ท่านได้ปฏิบัติอุปัฏฐากรับใช้ครูบาอาจารย์นานถึง 12 ปี ตั้งแต่ครั้งสมัยเป็นสามเณร เช่น หลวงปู่ฝั้น อาจาโร ซึ่งเป็นหลวงอาได้นำท่านมาอยู่ด้วย และโดยเฉพาะกับพระอาจารย์อ่อน ญาณสิริ ศิษย์สายธรรมหลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต ในช่วงที่เป็นสามเณรอยู่กับพระอาจารย์อ่อนเคยไปกราบนมัสการหลวงปู่มั่น ณ วัดป่าบ้านหนองผือ (วัดป่าภูริทัตตถิราวาส) บ้านหนองผือ ต.นาใน อ.พรรณานิคม จ.สกลนคร เป็นประจำ โดยมีพระอาจารย์อ่อนนำพาไป สาเหตุที่ได้ปฏิบัติอุปัฏฐากรับใช้พระอาจารย์อ่อน ด้วยพระอาจารย์อ่อนเดินธุดงค์มาพำนักหาความสงบวิเวกอยู่ที่บริเวณป่าช้าบ้าน หนองโดก (ปัจจุบันคือวัดป่าโสตถิผล หรือวัดป่าบ้านหนองโดก) ตอนนั้นได้บรรพชาเป็นสามเณร แต่เป็นฝ่ายมหานิกาย พักอยู่วัดแจ้ง บ้านหนองโดก เป็นวัดบ้านของท่านเอง และไม่ไกลจากป่าช้าที่พระอาจารย์อ่อนไปพักอยู่นั้นมากนัก

    หลวงปู่บุญหนาท่านบอกว่า ตอนที่ไปกราบนมัสการพระอาจารย์มั่น ณ วัดป่าบ้านหนองผือ (วัดป่าภูริทัตตถิราวาส) ครั้งแรกไปกับพระอาจารย์อ่อน พร้อมกับสามเณรอีกรูปหนึ่งและญาติโยม 4-5 คน เดินมุ่งหน้าสู่เทือกเขาภูพานที่อยู่ทางทิศใต้ของหมู่บ้านหนองโดก ก่อนเดินทางถึงวัดป่าบ้านหนองผือ เวลาประมาณบ่าย 3 โมง พอเข้าไปภายในบริเวณวัด รู้สึกว่าภายในวัดร่มรื่นสงบเงียบ เหมือนกับไม่มีพระเณรทำให้ตื่นตาตื่นใจเป็นครั้งแรก เห็นพระเณรกำลังทำกิจวัตรกวาดลานวัดด้วยไม้ตาด ส่วนพระอาจารย์อ่อน พร้อมคณะ เข้าไปกราบนมัสการพระอาจารย์มั่นบนกุฏิ เสร็จแล้วก็กลับที่พัก ปัดกวาดลานวัด ตักน้ำใช้น้ำฉันจากบ่อน้ำ เสร็จจากนั้นก็เตรียมรอสรงน้ำพระอาจารย์มั่นบริเวณหน้ากุฏิ ซึ่งมีพระเตรียมน้ำสรงไว้โดยใช้น้ำร้อนผสมพอให้อุ่น เมื่อพระอาจารย์มั่นเข้ามานั่งบนตั่งแล้ว คราวนี้พระเณรทั้งหลายห้อมล้อม เพื่อเข้าไปถูหลังขัดไคลถวายอย่างเปี่ยมล้นด้วยศรัทธา ส่วนสามเณรบุญหนา มีโอกาสเข้าไปร่วมสรงน้ำท่านพระอาจารย์มั่นในครั้งนี้ด้วย

    เมื่อพระอาจารย์มั่นเห็นท่านซึ่งเป็นสามเณรมาใหม่ พระอาจารย์มั่นจึงพูดสำเนียงอีสานขึ้นว่า "เณรมาแต่ไส..." แต่สามเณรบุญหนาไม่ทันตอบ มีพระอาจารย์ทองคำตอบแทนว่า "เณรมากับครูบาอ่อน ข้าน้อย" จากนั้นท่านไม่ได้ว่าอะไรต่อไป จนเสร็จจากการสรงน้ำท่านในวันนั้น นอกจากนี้ ท่านยังได้ปฏิบัติอุปัฏฐากรับใช้ครูบาอาจารย์อื่นๆ อีก เช่น พระอาจารย์ชอบ ฐานสโม พระอาจารย์ตื้อ อจลธมฺโม พระอาจารย์ลี ธัมมธโร พระอาจารย์แหวน สุจิณโณ พระอาจารย์สิม พุทธาจาโร และพระอาจารย์จาม มหาปุญโญ เป็นต้น

    หลวงตาบุญหนา ได้มาพำนักจำพรรษาอยู่ ณ วัดป่าโสตถิผล บ้านหนองโดก ต.ช้างมิ่ง อ.พรรณานิคม จ.สกลนคร ตราบจนกระทั่งถึงปัจจุบัน นับได้ว่าท่านเป็นพระอริยสงฆ์ที่ควรค่าแก่การกราบไหว้ได้อย่างสนิทใจอีกรูป หนึ่งที่ยังเหลืออยู่ หลวงปู่บุญหนา ได้ให้สติแก่ญาติโยมผู้เดินทางมากราบนมัสการเสมอว่า ให้เป็นผู้มีสติ ระลึกรู้ในกาย สติระลึกรู้ในวาจาคำพูด สติระลึกรู้ในใจ เมื่อสติรู้ซักซ้อมอยู่ภายในกาย วาจา และใจแล้ว ทำ พูด คิด ถูกและผิด ก็ระลึกรู้อยู่ ปรับปรุงอยู่อย่างนี้เสมอ ซึ่งเป็นคำสอนของพระอาจารย์อ่อน ญาณสิริ ที่ได้เล่าเรื่องของท่านพระอาจารย์เสาร์ กนฺตสีโล เทศน์แสดงธรรมสั้นๆ ในช่วงที่เคยเดินทางไปกราบนมัสการหลวงปู่มั่นครั้งนั้นว่า "กายสุจริต วจีสุจริต มโนสุจริต กายบริสุทธิ์ วาจาบริสุทธิ์ ใจบริสุทธิ์"

    ขอบคุณครับ...
     
  10. auricle

    auricle เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 มีนาคม 2011
    โพสต์:
    88
    ค่าพลัง:
    +279
    ขอรับเส้นเกศาหลวงปู่บุญหนา ธัมทินโน ครับ

    ประวัติหลวงปู่บุญหนา ธัมมทินโน วัดป่าโสตถิผล จ.สกลนคร ศิษย์ธรรมสาย"หลวงปู่มั่น" หลวงตาบุญหนา ธัมมทินโนพระสายวิปัสสนากัมมัฏฐานที่เคร่งครัดในพระธรรมวินัยชื่อดังรูปหนึ่งแห่ง เมืองสกลนคร ซึ่งถือได้ว่าเป็นศิษย์หลวงปู่มั่นรุ่นสุดท้ายที่ยังดำรงอยู่ ณ วัดป่าโสตถิผล บ้านหนองโดก ต.ช้างมิ่ง อ.พรรณานิคม จ.สกลนคร

    อัตโนประวัติหลวงตาบุญหนา ท่านเป็นหลานแท้ๆ ของหลวงปู่ฝั้น อาจาโร แห่งวัดป่าอุดมสมพร ต.พรรณา อ.พรรณานิคม จ.สกลนคร เมื่ออายุ 12 ปีได้เข้าพิธีบรรพชา ณ วัดแจ้ง บ้านหนองโดก ต.ช้างมิ่ง อ.พรรณานิคม จ.สกลนคร ซึ่งเป็นวัดบ้านเกิดของท่านเอง หลวงปู่บุญหนา ท่านได้ปฏิบัติอุปัฏฐากรับใช้ครูบาอาจารย์นานถึง 12 ปี ตั้งแต่ครั้งสมัยเป็นสามเณร เช่น หลวงปู่ฝั้น อาจาโร ซึ่งเป็นหลวงอาได้นำท่านมาอยู่ด้วย และโดยเฉพาะกับพระอาจารย์อ่อน ญาณสิริ ศิษย์สายธรรมหลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต ในช่วงที่เป็นสามเณรอยู่กับพระอาจารย์อ่อนเคยไปกราบนมัสการหลวงปู่มั่น ณ วัดป่าบ้านหนองผือ (วัดป่าภูริทัตตถิราวาส) บ้านหนองผือ ต.นาใน อ.พรรณานิคม จ.สกลนคร เป็นประจำ โดยมีพระอาจารย์อ่อนนำพาไป สาเหตุที่ได้ปฏิบัติอุปัฏฐากรับใช้พระอาจารย์อ่อน ด้วยพระอาจารย์อ่อนเดินธุดงค์มาพำนักหาความสงบวิเวกอยู่ที่บริเวณป่าช้าบ้าน หนองโดก (ปัจจุบันคือวัดป่าโสตถิผล หรือวัดป่าบ้านหนองโดก) ตอนนั้นได้บรรพชาเป็นสามเณร แต่เป็นฝ่ายมหานิกาย พักอยู่วัดแจ้ง บ้านหนองโดก เป็นวัดบ้านของท่านเอง และไม่ไกลจากป่าช้าที่พระอาจารย์อ่อนไปพักอยู่นั้นมากนัก

    หลวงปู่บุญหนาท่านบอกว่า ตอนที่ไปกราบนมัสการพระอาจารย์มั่น ณ วัดป่าบ้านหนองผือ (วัดป่าภูริทัตตถิราวาส) ครั้งแรกไปกับพระอาจารย์อ่อน พร้อมกับสามเณรอีกรูปหนึ่งและญาติโยม 4-5 คน เดินมุ่งหน้าสู่เทือกเขาภูพานที่อยู่ทางทิศใต้ของหมู่บ้านหนองโดก ก่อนเดินทางถึงวัดป่าบ้านหนองผือ เวลาประมาณบ่าย 3 โมง พอเข้าไปภายในบริเวณวัด รู้สึกว่าภายในวัดร่มรื่นสงบเงียบ เหมือนกับไม่มีพระเณรทำให้ตื่นตาตื่นใจเป็นครั้งแรก เห็นพระเณรกำลังทำกิจวัตรกวาดลานวัดด้วยไม้ตาด ส่วนพระอาจารย์อ่อน พร้อมคณะ เข้าไปกราบนมัสการพระอาจารย์มั่นบนกุฏิ เสร็จแล้วก็กลับที่พัก ปัดกวาดลานวัด ตักน้ำใช้น้ำฉันจากบ่อน้ำ เสร็จจากนั้นก็เตรียมรอสรงน้ำพระอาจารย์มั่นบริเวณหน้ากุฏิ ซึ่งมีพระเตรียมน้ำสรงไว้โดยใช้น้ำร้อนผสมพอให้อุ่น เมื่อพระอาจารย์มั่นเข้ามานั่งบนตั่งแล้ว คราวนี้พระเณรทั้งหลายห้อมล้อม เพื่อเข้าไปถูหลังขัดไคลถวายอย่างเปี่ยมล้นด้วยศรัทธา ส่วนสามเณรบุญหนา มีโอกาสเข้าไปร่วมสรงน้ำท่านพระอาจารย์มั่นในครั้งนี้ด้วย


    เมื่อพระอาจารย์มั่นเห็นท่านซึ่งเป็นสามเณรมาใหม่ พระอาจารย์มั่นจึงพูดสำเนียงอีสานขึ้นว่า "เณรมาแต่ไส..." แต่สามเณรบุญหนาไม่ทันตอบ มีพระอาจารย์ทองคำตอบแทนว่า "เณรมากับครูบาอ่อน ข้าน้อย" จากนั้นท่านไม่ได้ว่าอะไรต่อไป จนเสร็จจากการสรงน้ำท่านในวันนั้น นอกจากนี้ ท่านยังได้ปฏิบัติอุปัฏฐากรับใช้ครูบาอาจารย์อื่นๆ อีก เช่น พระอาจารย์ชอบ ฐานสโม พระอาจารย์ตื้อ อจลธมฺโม พระอาจารย์ลี ธัมมธโร พระอาจารย์แหวน สุจิณโณ พระอาจารย์สิม พุทธาจาโร และพระอาจารย์จาม มหาปุญโญ เป็นต้น

    หลวงตาบุญหนา ได้มาพำนักจำพรรษาอยู่ ณ วัดป่าโสตถิผล บ้านหนองโดก ต.ช้างมิ่ง อ.พรรณานิคม จ.สกลนคร ตราบจนกระทั่งถึงปัจจุบัน นับได้ว่าท่านเป็นพระอริยสงฆ์ที่ควรค่าแก่การกราบไหว้ได้อย่างสนิทใจอีกรูป หนึ่งที่ยังเหลืออยู่ หลวงปู่บุญหนา ได้ให้สติแก่ญาติโยมผู้เดินทางมากราบนมัสการเสมอว่า ให้เป็นผู้มีสติ ระลึกรู้ในกาย สติระลึกรู้ในวาจาคำพูด สติระลึกรู้ในใจ เมื่อสติรู้ซักซ้อมอยู่ภายในกาย วาจา และใจแล้ว ทำ พูด คิด ถูกและผิด ก็ระลึกรู้อยู่ ปรับปรุงอยู่อย่างนี้เสมอ ซึ่งเป็นคำสอนของพระอาจารย์อ่อน ญาณสิริ ที่ได้เล่าเรื่องของท่านพระอาจารย์เสาร์ กนฺตสีโล เทศน์แสดงธรรมสั้นๆ ในช่วงที่เคยเดินทางไปกราบนมัสการหลวงปู่มั่นครั้งนั้นว่า "กายสุจริต วจีสุจริต มโนสุจริต กายบริสุทธิ์ วาจาบริสุทธิ์ ใจบริสุทธิ์"
     
  11. chalita

    chalita Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 ธันวาคม 2011
    โพสต์:
    39
    ค่าพลัง:
    +49
    ขอรับ พระเกศา หลวงปู่แหวน ทยาลุโก ค่ะ อนุโมทนา สาธุ สาธุ สาธุ
    หลวงปู่แหวน ทยาลุโก วัดป่าหนองนกกด อ.พังโคน จ.สกลนคร
    เกิดเมื่อวันที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2487 ท่านเป็นศิษย์ของหลวงปู่สีลา อิสโร ซึ่งหลวงปู่สีลา อิสโร เป็นศิษย์คนโต ของพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต ท่านเป็นพระสายกรรมฐานที่ปฏิบัติดีประปฏิบัติชอบ ลูกศิษย์ลูกหาจึงให้ความศรัทธาในตัวท่านมาก ปัจจุบันลูกศิษย์ลูกหาของท่านมีมาก ไม่ว่าจะเป็นผู้หลักผู้ใหญ่ หรือบุคคลทั่วๆไปทั่วทุกภาค ปัจจุบันท่านอายุ 69 ปี ท่านเป็นพระที่เรียบง่ายตามแบบของพระสายกรรมฐาน อยู่วัดป่าแบบสมถะ มีเมตตาแก่ลูกศิษย์ที่ไปพบหาทุกคน เวลาไปพบท่าน ท่านจะสอนหลักธรรมะให้ฟังทุกครั้ง ท่านใดที่เคยเข้าไปกราบท่านจะรู้สึกได้ถึงความเมตตาของท่านเป็นอันมาก ท่านเป็นพระที่ยิ้มแย้ม แจ่มใส ตลอดเวลา ตามประสาชาวบ้านแถวนั้นเค้าบอกว่า ใบหน้าของท่านเป็นคนที่อิ่มบุญ
     
  12. sumaree

    sumaree Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 ธันวาคม 2011
    โพสต์:
    59
    ค่าพลัง:
    +62
    ขอรับเกศาหลวงปู่ศูนย์ จันทสุวัณโณค่ะ
    หลวงปู่ศูนย์ จันทสุวัณโณ เป็นพ่อแม่ครูอาจารย์อีกท่านหนึ่งที่ได้รับการยอมรับในปัจจุบัน ท่านเป็นศิษย์หลวงปู่อุ่น อุตตโม วัดอุดมรัตนาราม อ.อากาศอำนวย จ.สกลนคร (หลวงปู่ผ่าน เป็นศิษย์รุ่นพี่) ประสบการณ์เกี่ยวกับวัตถุมงคลของท่านมีหลายประการ แต่ท่านสร้างเพียงพระผง ,ล็อกเกตหลวงปู่สีลา, แต่ผู้ที่ได้ไปกราบท่าน มักแคล้วคลาด ปลอดภัยจากภัยอันตราย และที่สำคัญได้โชคลาภ เจริญรุ่งเรือง บางท่านอาจจะไม่ชอบนามของท่าน แต่นามของท่านมีนัยแฝงในหลายแง่ ในหลายมุมมองนะครับ เช่นหนี้ศูนย์สิ้นหมดหนี้ปลดสิ้น โรคภัยศูนย์หายหรือไม่มากล้ำกลาย อย่าที่หลวงปู่ท่านว่าการคนเราไม่มีโรคถือเป็นลาภอันประเสริฐแล้วค่ะลูกศิษย์หลวงปู่หลายท่านก็มีโชคมีลาภกับหลวงปู่หลายต่อหลายท่าน
     
  13. Pimniyom

    Pimniyom Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 ตุลาคม 2012
    โพสต์:
    14
    ค่าพลัง:
    +86
    ขอเกศา ลป. บุญเพ็ง
    คำสอน
    หลวงปู่สอนลูกศิษย์อยู่เสมอ ให้สำนึกในพระมหากรุณาธิคุณขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าที่ทรงอุตส่าห์ ทนทุกข์ทรมานแสนสาหัสเพื่อให้ได้ธรรมะ เป็นแบบอย่างให้พวกเราได้มีโอกาสรู้ตามท่าน หลวงปู่สอนว่าอันที่จริงบารมีขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าท่านเต็มแล้ว ไม่จำเป็นต้องบำเพ็ญทุกรกิริยาก็สำเร็จอนุตรสัมมาสัมโพธิญาณได้ แต่ด้วยความเมตตาเวไนยสัตว์ที่จะรู้ตามท่านภายหลัง พระองค์จึงแสดงให้เห็นสิ่งที่ไม่ใช่หนทางเพื่อพวกเราจะไม่ต้องไปลำบากลำบนเช่นนั้นอีก แม้กระทั่งครูบาอาจารย์ทั้งหลาย มีหลวงปู่เสาร์ หลวงปู่มั่น หลวงปู่เจ้าคุณอุบาลีคุณูปมาจารย์ หลวงปู่สมเด็จมหาวีรวงศ์(พิมพ์) หลวง ปู่สิงห์ หลวงปู่สิม หลวงปู่ตื้อ หลวงปู่แหวน ฯลฯ ท่านก็ยกมาอ้างอิงในการอบรมสั่งสอนของท่านว่าองค์นั้นให้ธรรมะอย่างนั้น อย่างนั้น องค์นี้ให้ธรรมะอย่างนี้ อย่างนี้ทั้งนี้หลวงปู่วิเคราะห์วิจารณ์และสรุปรวบยอดได้อย่างหมดจดงดงามหาผู้ใดเสมอ ยาก พวกเราจึงมีความสำนึกในความเมตตาของครูบาอาจารย์รุ่นเก่าที่ได้ทนทุกข์ยาก ลำบากแลกเอาธรรมะมาสืบสานต่อจนถึงพวกเราทุกวันนี้ ยามใดที่เรามีความเกียจคร้าน ท้อถอย แม้เพียงน้อยนิด หลวงปู่ก็จะยกเอาความทุกข์ยากและประวัติการต่อสู้ของครูบาอาจารย์มากระตุ้น เตือนเสมอในส่วนขององค์พระมหากษัตริย์ก็เช่นกัน หลวงปู่สอนให้เราสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณของพระมหากษัตริย์ไทยตั้งแต่โบราณ กาลมาจนกระทั่งปัจจุบัน วัดวาอารามทุกแห่งได้รับการยกเว้นภาษีอากร ที่ดินก็ได้รับพระราชทานให้ บางแห่งแม้ซื้อหามาเองแต่ก็ได้รับการยกเว้นค่าธรรมเนียมและได้รับพระราชทาน วิสุงคามสีมา ในการปฏิบัติธรรม ท่านก็ทรงคุ้มครองและให้สิทธิทุกอย่าง แม้พระองค์เองก็ทรงเป็นแบบอย่างของพุทธศาสนิกชนที่ปฏิบัติธรรมสม่ำเสมอ หลวงปู่ให้พวกเราพากันปฏิบัติเพื่อถวายเป็นพระราชกุศลอยู่เสมอ ทั้งยังยกตัวอย่างเจ้าฟ้ามหากษัตริย์ที่มีความเพียรในการบำเพ็ญภาวนาจนได้ ผลดีหลายพระองค์ลูกศิษย์ทั่งหลายถูกสอนให้รู้จักสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ เช่นนี้ เราจึงรู้จักสำนึกถึงความเมตตากรุณาและความเสียสละของหลวงปู่ที่มีต่อพวกเรา มุ่งหวังเพียงเพื่อให้พวกเราได้พ้นจากทุกข์ พ้นจากพญามารทั้งหลายอันมีกิเลสมารเป็นต้นและมีมัจจุมารเป็นที่สุด แม้จะยังไม่พ้นในชาติปัจจุบันท่านก็หวังว่าจะช่วยให้ภพชาติของเราจะสั้นเข้า ไม่ใช่ปล่อยให้ทำบุญไปโดยไม่มีที่สิ้นสุดกัณฑ์เทศน์ที่ท่านอบรมสั่งสอนและ บันทึกไว้แล้วเป็นพยานได้ดีว่าท่านพยายามชี้แนะให้ข้อคิดแก่เราให้เป็นที่ พึ่งแห่งตนเองได้ ให้เข้าใจในผลบุญที่แท้ และกระตุ้นเตือนให้พวกเรามุ่งไปในแนวทางปฏิบัติภาวนาโดยตลอด ท่านมุ่งที่จะให้เราชำระจิตให้หมดจากกิเลสโดยปัญญาญาณที่เกิดขึ้นจากจิตที่ สงบบริสุทธิ์หมดจดสมดั่งสมณศักดิ์ “พระโสภณวิสุทธิคุณ” ดั่งนี้ ฯ
    This entry was posted in หลวงปู่บุญเพ็ง กัปปฺโก. Bookmark the permalink

    http://www.boonpengkappago.com/หลวงปู่บุญเพ็งกัปปโก/
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 28 กรกฎาคม 2013
  14. bum92

    bum92 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 กรกฎาคม 2012
    โพสต์:
    237
    ค่าพลัง:
    +161
    รับเกศาหลวงปู่คำผา ฆรมุตฺโต

    ประวัติหลวงปู่คำผา ฆรมุตฺโต
    การดำเนินชีวิตตั้งแต่วันเกิดเป็นมนุษย์มา
    หลวงปู่เอากำเนิดในตระกูลมณีเทพฝ่ายบิดา ฝ่ายมารดานามสกุลอุฒาธรรม มารดาเล่าให้หลวงปู่ฟัง ก่อนหลวงปู่จะลงสู่ครรถ์มารดามารดาฝันว่าหลวงปู่ที พันฺธุโล เอามีดโกนมาให้ ซึ่งหลวงปู่ที เป็นญาติของหลวงปู่ฝ่ายมารดา แต่นั้นมาจนคลอดออกมาบิดามารดา ตั้งชื่อให้ว่า คำผา มณีเทพ หลวงปู่เกิดวันที่ ๒ ธันวาคม ๒๔๗๒ วันจันทร์ บิดานามว่า อ่อน มณีเทพ มารดานามว่า หมิด อุฒาธรรม เกิดในตระกูลยากจน เกิดที่บ้านนาเตียง หมู่ ๔ ตำบลตาลเนิ้ง อำเภอบ้านหัน จังหวัดสกลนคร สมัยนี้เป็นอำเภอสว่างแดนดิน สมัยก่อนความเจริญไม่มี การศึกษาก็โรงเรียนที่วัด วันหยุดก็วันเดียวคือวันพระน้อยวันพระใหญ่ หลวงปู่เรียนจบชั้นประถมปีที่ ๔ หลวงปู่เป็นบุตรคนที่ ๓ ออกโรงเรียน พ.ศ. ๒๔๘๔-๒๔๘๕ มารดาเสียชีวิตหลวงปู่ได้ดูแลครอบครัวมาตลอด เป็นทั้งผู้ชายและผู้หญิง จนอายุได้ ๑๘ ปีได้เข้าบวชกับหลวงปู่ที พันธุโล ญาติของหลวงปู่เอง บวชเป็นสามเณรอยู่ ๓ ปีบวชเป็นพระอีก ๑ ปี ได้สิกขาลาเพศออกไปช่วยบิดาและน้องๆทำงาน เมื่ออายุได้ ๒๑ ปีได้แต่งงานกับ นาง สม โคตรสมบูรณ์ มีบุตรด้วยกัน ๑๐ คน ชาย ๕ คน หญิง ๕ คน
    ในปี พ.ศ. ๒๕๐๓ เกิดขัดสนทางการทำมาหากินจึงได้ย้ายครอบครัวมาอยู่บ้านหนองหว้า ตำบลทรายมูล อำเภอสว่างแดนดิน ห่างจากบ้านเดิมประมาณ ๑๐-๒๐ กิโลเมตร ได้อยู่กินกันมาตลอดถึง ๒๐กว่าปี จนอายุหลวงปู่ได้ ๕๒ ปีจึงได้เข้าร่มกาสาวพัสตร์

    ประวัติของหลวงปู่ตอนเข้าสู่ร่มผ้ากาสาวพัสตร์
    ขอลาแม่ออกอยู่ถึง ๓ ปี เขาจึงอนุญาตให้อุปสมบท วันที่ ๑๕ มกราคม พ.ศ. ๒๕๒๕ ที่พัทธสีมา วัดสามัคคีบำเพ็ญผล บ้านนาเตียง ตำบลตาลเนิ้ง อำเภอสว่างแดนดิน จังหวัดสกลนคร โดย พระครูวิทิตคุณาภรณ์(เกิ่ง) วิทิโต เป็นอุปัชฌาย์ พระครูพิศาลปัญญาคม เป็นกรรมวาจาจารย์ พระอาจารย์สมัย ทีฆายุโก เป็นอนุสาวนาจารย์ ให้ฉายาว่า พระคำผา ฆรมุตฺโต แปลว่า ผู้พ้นจากเรือนแล้ว
    พรรษาที่ ๑ จำพรรษาที่ถำ้โพธิ์ทอง
    พรรษาที่ ๒ จำพรรษาที่วัดป่าหนองหว้า
    พรรษาที่ ๓ จำพรรษาที่วัดป่าแก้วเจริญธรรม บ้านคำเจริญ อำเภอวานรนิวาส จังหวัดสกลนคร
    จากนั้น เมื่อออกพรรษาก็เที่ยวธุดงค์ไปที่ต่างๆ เช่น จังหวัดนครพนม ไปฟังธรรมจากครูบาอาจารย์ มี หลวงปู่หล้า เขมปัตฺโต หลวงปู่ลือ หลวงปู่สาม ทางจังหวัดอุดรธานี อำเภอหนองบัวลำภู ไปกราบนมัสการ หลวงปู่ขาว หลวงปู่อ่อน หลวงปู่คำฟอง หลวงปู่บุญเพ็ง หลวงปู่จันทา ถึงฤดูเข้าพรรษาก็จำพรรษากับครูบาอาจารย์
    ปีพ.ศ.๒๕๒๙ ญาติโยมบ้านดงสวรรค์ไปนิมนต์หลวงปู่มาอยู่วัดป่าคำนกถัว เพราะวัดป่าคำนกถัวไม่มีพระนำปฏิบัติและไม่มีผู้บูรณะวัดวาศาสนา แต่ไม่ได้จำพรรษาที่นี่ พอออกพรรษาญาติโยมไปนิมนต์หลวงปู่กลับมา ตั้งแต่ปี ๒๕๓๐ เป็นต้นมาญาติโยมเขาไม่ให้หนีถ้าหลวงปู่ไม่กลับมา วัดจะร้างเขาว่าอย่างนั้น เพราะว่าหลวงปู่ก็นับวันแก่ลง ไปไหนก็ลำบาก อีกอย่างหลวงปู่เป็นพระพูดจริงทำจริง และเป็นพระหน้าด้านนักรบ ไม่ใช่พระนักหลบใครว่าอะไรอย่างไรหลวงปู่เฉยไม่สนใจ ขอแค่ทำถูกต้อง
     
  15. wanassa

    wanassa Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มิถุนายน 2011
    โพสต์:
    70
    ค่าพลัง:
    +28
    ถ้ายังทัน
    ขอรับเกศา หลวงพ่อสมบูรณ์ กันตสีโล วัดป่าสมบูรณ์ธรรม พิษณุโลก ด้วยค่ะ

    ท่านพระอาจารย์สมบูรณ์ เป็นคนขอนแก่น เกิดเมื่อวันที่ 9 ธันวาคม พ.ศ.2483 เมื่ออายุพอสมควรได้ไปอยู่เป็นผ้าขาวกับหลวงปู่ฝั้น อาจาโร ณ วัดป่าอุดมสมพร อ.พรรณานิคม จ.สกลนคร ระยะหนึ่ง จากนั้นก็อุปสมบทและอยู่ปฏิบัติกับหลวงปู่ฝั้นมาตลอดจวบจนหลวงปู่ฝั้นมรณภาพ

    การบำเพ็ญเพียรของท่านอาจารย์นั้น ไม่ใช่ประเภทกินสนุก นอนสบาย ท่านตั้งอกตั้งใจถวายชีวิตบูชาธรรมโดยแท้ นิสัยอันตั้งตรงต่อธรรมนี้ยังคงติดตัวติดใจท่านมาจนถึงปัจจุบัน ทุกวันนี้ท่านก็ใช้ผ้า 3 ผืน, บิณฑบาตเป็นวัตร, ห่มสังฆาฏิซ้อนเวลาบิณฑบาต, ฉันมื้อเดียว, ตัด เย็บ ย้อม ผ้าไตรเอง ฯลฯ สิ่งต่าง ๆ เหล่านี้เป็นเครื่องชี้ให้เห็นถึงความมั่นคงในธรรมของท่าน
     
  16. Pimniyom

    Pimniyom Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 ตุลาคม 2012
    โพสต์:
    14
    ค่าพลัง:
    +86
    ขอเกศา ลป.บุญเพ็ง กัปปโก
    เพิ่มเติม ประวัติ ลปบุญเพ็ง
    ชาติกำเนิด

    หลวงปู่มีนามก่อนอุปสมบทว่า บุญเพ็ง เหล่าหงษา เป็นบุตรของนายเอี่ยม และนางคง เหล่าหงษา เกิดในวันมาฆบูชา ปีมะโรง พ.ศ.2471 ที่บ้านบัวบาน ตำบลกู่ทอง อำเภอเชียงยืน จังหวัดมหาสารคาม มีพี่น้อง 7 คน หลวงปู่เป็นบุตรคนสุดท้อง

    บรรพชาและอุปสมบท

    ปีที่หลวงปู่ถือกำเนิดคือปี พ.ศ.2471 เป็นปีเดียวกับที่หลวงปู่สิงห์ ขันตยาคโม เดินทางจากจังหวัดอุบลราชธานีมาธุดงค์กรรมฐานที่โคกเหล่างา (วัดป่าวิเวกธรรมในปัจจุบัน) ซึ่งเป็นป่ารก ผีดุแล้วก็มีหลวงปู่เทสก์ เทสรังสี หลวงปู่อ่อน ญาณสิริ หลวงปู่ภูมี ฐิตธัมโม หลวงปู่ฝั้น อาจาโร หลวงปู่กงมา จิรปุญโญ หลวงปู่คำดี ปภาโส หลวงปู่สีโห เขมโก และพระอาจารย์รูปอื่นๆ อีกมากติดตามมาอยู่รับการอบรมธรรมปฏิบัติจากหลวงปู่สิงห์ เมื่อออกพรรษาเข้าหน้าแล้ง บรรดาท่านเหล่านี้ก็พากันไปแสวงหาที่วิเวกภาวนา โดย หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี ได้ไปแสวงหาที่วิเวกกรรมฐานทางจังหวัด มหาสารคาม โดยไปพักอยู่ที่ป่าช้าหัวหนองตอกแป้น บ้านบัวบาน อำเภอเชียงยืน และ ได้อบรมหลักการปฏิบัติธรรมแก่ญาติโยมบ้านบัวบาน รวมทั้งโยมบิดา มารดา ของหลวงปู่บุญเพ็ง ด้วย โยมบิดามารดาของหลวงปู่เลื่อมใสศรัทธาหลวงปู่เทสก์มาก จึงได้ให้บุตรชายบวชทุกคนหลวงปู่บรรพชาและอุปสมบทในวันที่ 3 พฤษภาคม 2492 ที่วัดศรีจันทร์ (ธ) จังหวัดขอนแก่น โดยมีพระพิศาลสารคุณ (ต่อมาเป็นพระเทพบัณฑิต (อินทร์ ถิรเสวี )) เป็นพระอุปัชฌาย์ ได้ฉายา “กปฺปโก” แปลว่า “ผู้สำเร็จ” เมื่ออุปสมบทแล้วจำพรรษาที่วัดเทพนิมิต บ้านบัวบาน เป็นเวลา 2 ปี ระหว่างนั้น โยมบิดาได้ป่วย และเสียชีวิตในปี พ .ศ. 2493 หลัง จากจัดการฌาปนกิจศพโยมบิดาเรียบร้อยแล้ว จึงเดินทางมาศึกษาปริยัติธรรมและพำนักยังวัดสุทธจินดา อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา จนถึงเดือนสิงหาคม พ.ศ.2494 โยมมารดาเสียชีวิต ท่านจึงเดินทางกลับมายังจังหวัดมหาสารคาม เพื่อจัดการงานศพของโยมมารดา และศึกษาปริยัติธรรมต่อที่จังหวัดมหาสารคามจนได้วิทยฐานะเป็นนักธรรมโท ต่อมาเมื่อปี พ.ศ. 2499 หลวงปู่จึงมาจำพรรษาที่วัดป่าวิเวกธรรม

    หลวงปู่ได้รับแต่งตั้งเป็นพระครูวินัยธร ฐานานุกรมของพระเทพบัณฑิต (อินทร์ ถิรเสวี) เมื่อปี พ.ศ. 2522 ต่อมาในปี พ.ศ. 2525 ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็นพระครูสัญญาบัตรเจ้าอาวาสวัดราษฎร์ชั้น โทที่พระครูวิเวกวัฒนาทร (จร.ชท.) พ.ศ. 2538 ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระครูสัญญาบัตรเจ้าอาวาสวัดราษฎร์ชั้น โทที่พระครูวิเวกวัฒนาทร (จร.ชอ.) และพ.ศ. 2544 ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระครูสัญญาบัตรเทียบผู้ช่วยเจ้าอาวาสพระอารามหลวงชั้นเอกที่พระครูวิเวกวัฒนาทร (ทผจล.ชอ.)

    ล่าสุดเมื่อวันที่ 5 ธันวาคม พ .ศ.2550 ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะชั้นสามัญที่ พระโสภณวิสุทธิคุณ สย.วิ

    http://www.boonpengkappago.com/หลวงปู่บุญเพ็งกัปปโก/
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 28 กรกฎาคม 2013
  17. Preedaa

    Preedaa สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 สิงหาคม 2012
    โพสต์:
    17
    ค่าพลัง:
    +14
    “พระอาจารย์สุธรรม สุธัมโม” เป็นพระผู้ปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบ กอปรด้วยศีลและธรรม มีศีลาจริยวัตรที่งดงาม เป็นพระที่ปฏิบัติตามพระธรรมวินัย คำสั่งสอนของพระบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้า ตลอดจนปฏิบัติตามคำสั่งสอนของหลวงปู่สิม พุทธาจาโร, หลวงปู่ฝั้น อาจาโร และหลวงปู่สิงห์ทอง ธมฺมวโร บูรพาจารย์สายพระป่า

    พระอาจารย์สุธรรม มีนามเดิมว่า สุธรรม แซ่จึง เกิดเมื่อวันที่ 21 ตุลาคม พุทธศักราช 2492 ตรงกับวันศุกร์ แรม 14 ค่ำ เดือน 11 ปีฉลู ณ จังหวัดระยอง โยมบิดา-โยมมารดาชื่อ นายบุญเลี้ยง และนางเซี้ยม แซ่จึง มีพี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกันทั้งหมด 14 คน ท่านเป็นบุตรคนที่ 2

    ปัจจุบัน ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดป่าหนองไผ่ บ้านหนองไผ่ ต.ดงมะไฟ อ.เมือง จ.สกลนคร

    ขอรับเกศา พระอาจารย์สุธรรม สุธัมโม ครับผม
     
  18. อ้วนผอม

    อ้วนผอม เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 มกราคม 2010
    โพสต์:
    233
    ค่าพลัง:
    +161
    ขอเกศาของหลวงปู่บุญเพ็งไว้บูชาด้วยความเคารพยิ่ง

    “....มันน่าจะทดสอบด้วยตนเอง ทดสอบด้วยการภาวนา ทดสอบด้วยการทำความสงบ ทำยังไงมันจึงจะมีความสงบได้ ถ้าสงบได้ มันก็จะได้รู้ได้เห็นด้วยตนเอง ถ้าทำความสงบไม่ได้ ความรู้เองเห็นเองมันก็ยาก ทั้งที่เราอยากได้ อยากรู้เองเห็นเองนี่ล่ะ ถ้ามันรู้เองเห็นเองแล้วมันจะเป็นยังไงก็ให้มันเป็นไปซะ มันจะตายเพราะรู้เองเห็นเองก็ให้มันตายไปเลย หรือมันจะอดจะอยาก จะทุกข์จะยาก ก็ให้ลองดูว่ามันจะเป็นไปอย่างนั้นหรือไม่ ถ้ารู้เองเห็นเองถ้ามันไม่ดี ถ้าไม่มีความสุข ถ้าจะอดอยากทุกข์ยาก พระพุทธเจ้าก็คงจะไม่บอกให้เราทำ อย่าไปคิดว่าความสงบไม่ดี แล้วก็พากันไปนั่งคิด แล้วผลของการปฏิบัติมันจะไปสิ้นสุดได้ที่ตรงไหน.....” หลวงปู่บุญเพ็ง กัปปโก ...28 มีนาคม 2544
     
  19. เทียน

    เทียน Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 สิงหาคม 2006
    โพสต์:
    66
    ค่าพลัง:
    +67
    ปิดการแจกตั้งแต่นี้ไปนะครับ มีลงชื่อเกินมาบ้างบางองค์ และลงก่อนเวลาที่กำหนดบ้าง ก็ได้รับแบ่งเช่นกันแต่อาจน้อยลงกว่า ท่านที่ลงชื่อก่อนและลงตามเวลา ผมจะส่งที่อยู่ไปให้ทุกท่านทางข้อความครับ
     
  20. solopao

    solopao เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มกราคม 2013
    โพสต์:
    158
    ค่าพลัง:
    +1,518
    อนุโมทนาและขอบพระคุณมากครับ ^_^
     

แชร์หน้านี้

Loading...