การโพสต์แสดงความคิดเห็นที่เข้าข่ายเป็นการหมิ่นประมาท

ในห้อง 'ภัยพิบัติและการเตรียมการ' ตั้งกระทู้โดย ihappiness, 3 กรกฎาคม 2013.

  1. ihappiness

    ihappiness เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 ตุลาคม 2012
    โพสต์:
    164
    ค่าพลัง:
    +920
    คำแนะนำเกี่ยวกับการโพสต์แสดงความคิดเห็นที่เข้าข่ายเป็นการหมิ่นประมาท




    คำแนะนำเกี่ยวกับการโพสต์แสดงความคิดเห็นที่เข้าข่ายเป็นการหมิ่นประมาท

    การโพสต์แสดงความคิดเห็นพาดพิงถึงบุคคลอื่นบนเว็บไซต์โดยไม่ระวัง อาจทำให้ท่านได้รับความเดือดร้อนโดยไม่รู้ตัว ซึ่งเท่าที่ผ่านมา มีสมาชิกหลายๆท่าน ถูกดำเนินคดีตามกฎหมาย โดยไม่ทันตั้งตัวเนื่องจากโพสต์แสดงความคิดเห็นในลักษณะนี้ อาทิ

    - นาย ก. สั่งซื้อของทางอินเทอร์เน็ตแล้วไม่ได้รับสินค้า เลยโพสต์ด่าหาว่าคนขายโกงเงิน, คนขายขี้โกง เป็นต้น
    - นาง ข. ด่าผู้อื่นว่ารับสินบน, โกงกิน, รับส่วยใต้โต๊ะ, ประพฤติตนไม่สุจริต เป็นต้น
    - นาย ค. หรือ นาง ง. ด่าว่าคู่สมรสว่ามีชู้หรือมีเมียน้อย, ด่าว่าขายบริการทางเพศ เป็นต้น
    - นาย จ. โพสต์แสดงความติดเห็นในแง่ร้ายด่า นาง ฉ. แม้ว่าไม่ได้ใส่ชื่อ นาง ฉ. ลงไปตรงๆ ถ้ามีผู้ใดเข้ามาอ่านแล้วสามารถเข้าใจได้ว่า ข้อความดังกล่าวหมายถึง นาง ฉ. ก็เป็นความผิดได้ เป็นต้น
    ยอมเสียเวลาสักนิด เพื่อ ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับการหมิ่นประมาทในอินเทอร์เน็ต ดีกว่า

    กฎหมายได้กำหนดให้ การโพสต์ข้อความอันเข้าข่ายหมิ่นประมาทนั้น อาจเสี่ยงที่จะเป็นความผิดตามกฎหมายทั้งทางแพ่งและทางอาญาใน 3 มาตรา ดังนี้

    1) ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 326 “ผู้ใดใส่ความผู้อื่นต่อบุคคลที่สาม โดยประการที่น่าจะทำให้ผู้อื่นนั้นเสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่นหรือ ถูกเกลียดชัง ผู้นั้นกระทำความผิดฐานหมิ่นประมาท ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปีหรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ”

    2) ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 328 “ถ้าความผิดฐานหมิ่นประมาทได้กระทำโดยการโฆษณาด้วยเอกสาร ภาพวาด ภาพระบายสี ภาพยนตร์ ภาพหรือตัวอักษรที่ทำให้ปรากฏด้วยวิธีใด ๆ แผ่นเสียง หรือสิ่งบันทึกเสียงบันทึกภาพ หรือบันทึกอักษร กระทำโดยการกระจายเสียง หรือการกระจายภาพ หรือโดยกระทำการป่าวประกาศด้วยวิธีอื่น ผู้กระทำต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปีและปรับไม่เกินสองแสนบาท”

    3) ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 423 “ผู้ใดกล่าวหรือไขข่าวแพร่หลายซึ่งข้อความอันฝ่าฝืนต่อความจริง เป็นที่เสียหาย แก่ชื่อเสียง หรือ เกียรติคุณ ของบุคคลอื่น ก็ดี หรือ เป็นที่เสียหาย แก่ทางทำมาหาได้ หรือ ทางเจริญของเขา โดยประการอื่น ก็ดี ท่านว่าผู้นั้นจะต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่เขาเพื่อความเสียหาย อย่างใดๆ อันเกิดแต่การนั้น แม้ทั้งเมื่อตนมิได้รู้ว่าข้อความนั้นไม่จริง แต่หากควรจะรู้ได้
    ผู้ใด ส่งข่าวสาร อันตนมิได้รู้ว่า เป็นความไม่จริง หากว่า ตนเอง หรือ ผู้รับข่าวสารนั้น มีทางได้เสีย โดยชอบ ในการนั้นด้วยแล้ว ท่านว่า เพียงที่ส่งข่าวสารเช่นนั้น หาทำให้ผู้นั้น ต้องรับผิด ใช้ค่าสินไหมทดแทนไม่”

    ดังนั้นการโพสต์ข้อความในอินเทอร์เน็ต ไม่ว่า คนโพสต์จะเป็น "ผู้ใด" หากทำให้คนอื่นเสียหาย ก็เป็นความผิดตามกฎหมายได้ เนื่องจากการ หมิ่นประมาทถ้าได้โพสต์หรือกล่าวพาดพิง ถึงใครให้คนอื่นฟัง ก็ถือเป็นการ "ใส่ความผู้อื่นต่อบุคคลที่สาม" ถ้าข้อความที่โพสต์ ทำให้ผู้อ่านรู้สึก ไม่ดีกับผู้ที่ถูกกล่าวพาดพิงย่อมเป็นการโพสต์หรือกล่าวที่อาจเข้าข่าย "โดยประการที่น่าจะทำให้ผู้อื่นนั้นเสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่น หรือถูกเกลียดชัง" ซึ่งเป็นความผิดตามกฎหมายได้ และเมื่อได้โพสต์ในอินเทอร์เน็ต ถือเป็นการ "หมิ่นประมาทโดยการโฆษณา" ซึ่งโทษหนักกว่า ตัวอย่างเช่น
    - นาย A โพสต์ด่า นาง B ว่าเป็นเมียน้อย (ฎ.472/2540)
    - นาย C ด่านาง D ว่าเป็น กระหรี่ มีผัวมาแล้วหลายคน (ฎ.621/2518)
    - นาง E ด่านาย F ว่าบ้ากาม หมายถึงเป็นคนมักมากในกามคุณผิดวิสัยบุคคลทั่วไป (ฎ.782/2524)
    - นาง G ด่านาย H ว่ากินสินบน (ฎ.2296/2514) เป็นต้น
    สรุปได้ว่าการโพสต์ข้อความละเมิดผู้อื่นบนเว็บไซต์สามารถเข้าข่ายมีความผิดฐานหมิ่นประมาทได้ ผู้โพสต์จึงอาจเสี่ยงที่จะถูกฟ้องร้อง ดำเนินคดีทางศาล และถูกตัดสินให้ต้องรับผิดตามการพิจารณาของศาลได้

    "อย่างไรก็ตามบางครั้งเมื่อท่านพบกับความไม่เป็นธรรม กฎหมายก็ไม่ได้ปิดปากท่านเสียทีเดียว"

    หากผู้โพสต์พิสูจน์ว่าการที่ตนได้โพสต์พาดพิงผู้อื่นเพื่อเรียกร้องความเป็นธรรมนั้น เข้าข้อยกเว้นตามกฎหมาย ดังนี้

    ข้อยกเว้นตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 329

    การจะพิสูจน์เรื่องข้อยกเว้นนั้น จะต้องเข้าเงื่อนไข 2 ประการ ด้วยกัน คือ ต้องเป็นการแสดงความคิดเห็นโดยสุจริต คือ ต้องเป็นการพูดหรือโพสต์ที่เกิดจากการที่ตนได้ประสบพบเจอ เหตุการณ์นั้นๆโดยตรงและ ต้องเข้าเงื่อนไขข้อใดข้อหนึ่งต่อไปนี้ด้วย
    1) เพื่อความชอบธรรม ป้องกันตนหรือป้องกันส่วนได้เสียเกี่ยวกับตน ตามคลองธรรม เช่น
    - การแสดงความคิดเห็นโดยสุจริตคือเชื่อว่าเป็นจริง แม้จะเข้าใจผิดก็ได้รับความคุ้มครอง (ฎ.770/2526)
    - การแจ้งความตามสิทธิหรือแสดงความเห็นเมื่อเจ้าพนักงานถามโดยสุจริต ย่อมไม่เป็นหมิ่นประมาท (ฎ.370/2520)
    - การกล่าวตามความคิดของตน โดยเชื่อว่าเป็นความจริงเพื่อป้องกันส่วนได้เสียของตน (ฎ.1972/2517)
    - หากไม่ใช่การแสดงความคิดเห็นโดยสุจริตแต่มุ่งใส่ร้ายเป็นส่วนตัว ไม่เข้าข้อยกเว้นตามมาตรา 329(1) (ฎ.1203/2520)
    - พูดในลักษณะที่เป็นการประจาน จะยกเหตุเพื่อความชอบธรรมป้องกันตนตามคลองธรรมขึ้นปฏิเสธความผิดไม่ได้ (ฎ.3725/2538)
    2) ในฐานะเป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติการตามหน้าที่
    3) ติชมด้วยความเป็นธรรม ซึ่งบุคคลหรือสิ่งใดอันเป็นวิสัยของประชาชนย่อมกระทำ
    กรณีนี้ ส่วนใหญ่มักเป็นเรื่องของส่วนรวมที่ประชาชนชอบที่จะติชมได้ เช่น เรื่อง ศาสนา เรื่องการปฏิบัติหน้าที่ของราชการ เป็นต้น
    4) ในการแจ้งข่าวด้วยความเป็นธรรมเรื่องการดำเนินการอันเปิดเผยในศาลหรือในการประชุม
    ข้อยกเว้นตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 330

    การที่จำเลยจะนำสืบเพื่อพิสูจน์ความจริงได้นั้น กฎหมายได้จำกัดมิให้ใช้สิทธิในการพิสูจน์ไว้ ถ้าเข้ากรณี ดังนี้
    1) ถ้าข้อความที่หาว่าหมิ่นประมาทนั้น เป็นการใส่ความในเรื่องส่วนตัว และ
    2) การพิสูจน์ความจริงนั้น ไม่เป็นประโยชน์แก่ประชาชน
    แต่ทั้งนี้ต้องทำความเข้าใจให้ชัดเจนเสียก่อนว่า เมื่อเข้าข้อยกเว้นตามกฎหมายแล้วจะไม่เป็นการหมิ่นประมาทและจะไม่โดน ฟ้องร้องนั้นเป็นความเข้าใจที่ผิด เพราะ การที่จะพิสูจน์ว่าสิ่งที่ตนโพสต์นั้น เข้าข้อยกเว้นตามกฎหมายหรือไม่ เป็นเรื่องที่ต้องพิสูจน์ ในชั้นศาล ซึ่งเป็นเรื่องหลังจากที่ตนถูกฟ้องร้องไปแล้ว

    การโพสต์ข้อความบนอินเทอร์เน็ตไม่ใช่ท่านจะไม่มีตัวตนและไม่สามารถตามตัวท่านได้ เมื่อมีการโพสต์ข้อความอันเข้าข่ายหมิ่นประมาท ตามกฎหมาย หากพนักงานเจ้าหน้าที่ ของรัฐร้องขอข้อมูลของสมาชิกหรือไอพีแอดเดรส ที่โพสต์ข้อความดังกล่าว ทางเว็บไซต์ มีความจำเป็น ที่จะต้องเปิดเผยข้อมูลให้แก่พนักงานเจ้าหน้าที่ เนื่องจาก พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.2550 มาตรา 18(2), (3) กำหนดหน้าที่ดังกล่าวเอาไว้ ดังนี้

    มาตรา 18 “ภายใต้บังคับมาตรา 19 เพื่อประโยชน์ในการสืบสวนและสอบสวนในกรณีที่มีเหตุอันควรเชื่อได้ว่ามีการ กระทำความผิดตามพระราชบัญญัตินี้ ให้พนักงานเจ้าหน้าที่มี อำนาจอย่างหนึ่งอย่างใด ดังต่อไปนี้ เฉพาะที่จำเป็นเพื่อประโยชน์ในการใช้เป็นหลักฐานเกี่ยวกับการกระทำความผิด และหาตัวผู้กระทำความผิด...
    (2) เรียกข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์จากผู้ให้บริการเกี่ยวกับการติดต่อสื่อสาร ผ่านระบบคอมพิวเตอร์หรือจากบุคคลอื่นที่เกี่ยวข้อง
    (3) สั่งให้ผู้ให้บริการส่งมอบข้อมูลเกี่ยวกับผู้ใช้บริการที่ต้องเก็บตามมาตรา 26 หรือ ที่อยู่ในความครอบครองหรือ ควบคุมให้แก่พนักงาน เจ้าหน้าที่ี่ ...”

    โปรด ระมัดระวังในการโพสต์แสดงความคิดเห็นในเว็บไซต์ ทั้งนี้ เพื่อประโยชน์แก่ตัวท่านเอง

    คำแนะนำนี้ เป็นเพียงรายละเอียดเบื้องต้นเท่านั้น ไม่สามารถใช้ในการอ้างอิงได้ หากต้องการหาข้อมูลเพิ่มเติม สามารถหาอ่านได้จาก หนังสือกฎหมาย หรือเว็บไซต์ต่างๆได้ อาทิ

    “สมศักดิ์ เอี่ยมพลับใหญ่ และ ทนงศักดิ์ ดุลยกาญจน์, “หมิ่นประมาทและดูหมิ่น”, พิมพ์ครั้งที่ 2, (กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์นิติธรรม, 2549)”
    “หยุด แสงอุทัย, “กฎหมายอาญา ภาค 2-3”, คำสอนปริญญาตรี คณะนิติศาสตร์, พิมพ์ครั้งที่ 5, (กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2520)”
    “จิตติ ติงศภัทิย์, “คำอธิบายประมวลกฎหมายอาญา ภาค 2ตอนที่ 2 และภาค 3”, พิมพ์ครั้งที่ 3, (กรุงเทพมหานคร: สำนักอบรมกฎหมายแห่งเนติบัณฑิตยสภา), 2524”
    https://report.thaihotline.org/InternetLaw.php?act=sh&l=&Id=MQ==
    พลังจิต เว็บ พระพุทธศาสนา ธรรมะ พระไตรปิฎก ลึกลับ อภิญญา วิทยาศาสตร์ทางจิต Buddhism Buddhist
    http://thaiparents.net/articles/title.php?t=546
    เป็นต้น


    ที่มา: Pantip.com |
     
  2. ihappiness

    ihappiness เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 ตุลาคม 2012
    โพสต์:
    164
    ค่าพลัง:
    +920
    ทนายสอนน้อง ...เรื่อง ไม่เอา ไม่พูด!!
    ดูถูก ดูหมิ่น ต่างกับหมิ่นประมาท

    เรื่องที่ 1137
    จงรักษ์ พรมศิริเดช (ทนายความ)
    ทีมงานพันทิป

    เมื่อพูดความจริงก็ผิดได้ แล้วถ้าพูดคำหยาบ คำไม่สุภาพ (ด่า ) กับคนอื่นล่ะจะมีความผิดหรือเปล่า อันนี้ผิดแน่นอน และอาจจะมีสิ่งไม่คาด คิดตามมาในทันใดนั้น (โพล๊ะ !!!)
    มาตรา 393 บัญญัติเรื่องความผิดฐานดูหมิ่นไว้ว่า “ผู้ใดดู หมิ่นผู้อื่นซึ่งหน้าหรือด้วยการโฆษณา ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่ง เดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ”
    คำด่าที่แสดงข้อความที่น่าจะทำให้ผู้อื่นเสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่น หรือถูก เกลียดชังก็เป็นหมิ่นประมาทได้ เช่นด่าผู้เสียหายว่า อีดอกทอง คำนี้เป็นคำ ด่ากันด้วยคำหยาบคายไม่ใช่ใส่ความคนอื่น แต่หากพูดยืนยันข้อเท็จจริงต่อไป อีกว่าผู้เสียหายเป็นหญิงไม่ดีเที่ยวร่วมประเวณีกับคนทั่วไปโดยไม่เลือกสถาน ที่ น่าจะทำให้ผู้เสียหายเสียชื่อเสียงถูกดูหมิ่น หรือถูกเกลียดชัง จึงเป็น ความผิดฐานหมิ่นประมาท

    เปรียบเทียบความแตกต่างระหว่าง ดูหมิ่นกับหมิ่นประมาท

    ดูหมิ่น (ม.393)

    1. หมายถึงการดูถูกดูแคลน เหยียดหยาม ทำให้อับอาย การด่า การสบประมาท
    2. ผู้กระทำเป็นผู้ดูหมิ่นผู้เสียหาย
    3. ไม่จำต้องกล่าวต่อบุคคลที่สาม
    4. การด่าผู้อื่นไม่ทำให้ผู้ถูกด่าเสียชื่อเสียง หรือถูกดูหมิ่นก็ได้ ตรง กันข้าม กลับทำให้ผู้ด่านั้นเองเสียชื่อเสียงที่ใช้ถ้อยคำหยาบคาย ไม่เป็น ผู้ดี เป็นที่ดูหมิ่นของผู้ฟังด้วยซ้ำไป ดังนั้นการดูหมิ่น จึงอาจไม่ถึง ขนาดหมิ่นประมาท
    5. เป็นความผิด ยอมความไม่ได้
    ตัวอย่างการกล่าวดูหมิ่น เช่นคำว่า อ้ายเหี้ย อ้ายสัตว์เดียรัจฉาน อ้ายชาติ หมา หมายความว่า เลวทราม โดยผู้กล่าวดูถูก ดูหมิ่นเหยียดหยามผู้ถูกด่านั่น เอง ไม่ใช่ให้ผู้อื่นดูหมิ่นหรือเกลียดชังผู้ถูกด่า จึงไม่เป็นหมิ่นประมาท

    หมิ่นประมาท (ม. 326)

    1. หมายถึงการใส่ความ ทำให้เสียชื่อเสียงถูกดูหมิ่น หรือถูกเกลียดชัง
    2. บุคคลที่สามเป็นผู้ดูหมิ่น หรือเกลียดชังผู้เสียหาย
    3. ต้องกล่าวต่อบุคคลที่สาม
    4. การหมิ่นประมาทด้วยถ้อยคำหยาบคายอาจเป็นการดูหมิ่นไปในตัวได้ จึงเป็น กรรมเดียวผิดฐานดูหมิ่นบทหนึ่งฐานหมิ่นประมาทอีกบทหนึ่ง แต่การหมิ่นประมาท ด้วยถ้อยคำสุภาพย่อมไม่เป็นการดูหมิ่น
    5. เป็นความผิดอันยอมความได้

    “คนที่ไม่เคยกระทำผิดคือคนที่ไม่ได้ค้นหาสิ่งใด”
    คำคมจาก www.mthai.com/poetry/index_quote.shtml

    :: FPM :: Consultant Feasibility Study
    e-mail : jongrak@fpmconsultant.com
     
  3. ihappiness

    ihappiness เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 ตุลาคม 2012
    โพสต์:
    164
    ค่าพลัง:
    +920
    หมิ่นประมาท, ดูหมิ่น

    เรื่องคดีดูหมิ่นหมิ่นประมาทในทางอาญาและหมิ่นประมาทในทางแพ่งแตกต่างกัน อย่างไร เพราะบางครั้งมีการแจ้งความฟ้องศาลให้ลงโทษจำคุกได้ แต่บางครั้งฟ้องเรียกแต่ค่าเสียหายกันอย่างเดียว

    การฟ้องให้ลงโทษจำคุกจะเป็นเรื่องของความรับผิดทางอาญา ส่วนการฟ้องเรียกค่าเสียหายจะเป็นเรื่องของความรับผิดในทางแพ่ง ซึ่งการหมิ่นประมาทนั้นอาจเป็นทั้งความรับผิดในทางอาญาและทางแพ่ง หรืออาจเป็นเพียงความผิดฟ้องเรียกค่าเสียหายในทางแพ่งได้อย่างเดียว หรืออาจจะเป็นความรับผิดในทางอาญาอย่างเดียว ซึ่งมีรายละเอียดเกี่ยวกับการหมิ่นประมาทในทางอาญาและทางแพ่งนั้นมีมากมายใน ที่นี้จึงขออธิบายเพียงกว้าง ๆ ว่าการหมิ่นประมาทในทางแพ่งและหมิ่นประมาทในทางอาญานั้นโดยทั่วไปมีความ คล้ายกัน ซึ่งพอจะแยกความแตกต่างได้บ้างคือ

    1.ดูจากเจตนา กล่าวคือ ในทางอาญา การหมิ่นประมาทนั้นต้องเป็นการกระทำโดยเจตนาเท่านั้น ดังนั้นถ้าเป็นการกระทำโดยไม่เจตนาหรือเป็นการกระทำโดยประมาทในความรับผิด ทางอาญาจะไม่ถือว่าเป็นการหมิ่นประมาท แต่หมิ่นประมาทในทางแพ่งนั้นนอกจากจะกระทำโดยเจตนาคือ จงใจกระทำแล้ว ในบางกรณีแม้เป็นการกระทำโดยประมาทเลินเล่อในการกล่าวหรือไขข่าว ก็อาจมีความผิดในทางแพ่งเรื่องละเมิดได้ แม้ว่าผู้กล่าวหรือไขข่าวจะไม่มีเจตนาให้ผู้อื่นได้รับความเสียหายต่อชื่อ เสียงเกียรติคุณ และทางทำมาหาได้หรือทางเจริญของผู้อื่น

    2.ดูจากความที่กล่าวหรือไขข่าว กล่าวคือ การหมิ่นประมาทในทางแพ่งนั่นถ้าเป็นการพูดเรื่องจริง กล่าวหรือไขข่าวในข้อความที่เป็นจริงจะไม่ถือว่าเป็นการละเมิด เพราะว่าหากเป็นเรื่องจริงผู้ถูกกล่าวถึงนั้นย่อมไม่ได้รับความเสียหาย แต่สำหรับความรับผิดทางอาญานั้น แม้ข้อความที่กล่าวนั้นจะเป็นเรื่องจริงก็อาจเป็นความรับผิดทางอาญาได้ โดยจะเห็นได้จากในประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 330 ที่ห้ามไม่ให้พิสูจน์ว่าเป็นจริงหรือไม่จริง ถ้าหากคำกล่าวหรือข้อความที่กล่าวใส่ความนั้นเป็นเรื่องส่วนตัวและการ พิสูจน์นั้นไม่เป็นประโยชน์กับประชาชน

    3.ดูเรื่องความเสียหายที่ได้รับ ในทางอาญาผลของการใส่ความจะเป็นการเสียหายต่อชื่อเสียง ทำให้ถูกดูหมิ่น ถูกเกลียดชัง แต่การหมิ่นประมาทในทางแพ่งนั้น กฎหมายจะกำหนดความเสียหายไว้กว้างกว่าคือ นอกจากจะเป็นการเสียหายต่อชื่อเสียงแล้ว ยังรวมถึงความเสียหายต่อทางทำมาหาได้ เกียรติคุณหรือทางเจริญด้วย
    นอกจากนี้ในความรับผิดทางอาญานั้น บางครั้งการพูดดูถูกผู้อื่นอาจเป็นเพียงการดูหมิ่นอันเป็นเพียงความผิดที่มี โทษเพียงเล็กน้อยซึ่งเรียกว่า ความผิดลหุโทษ คือ ความผิดฐานดูหมิ่นนั้นจะมีโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งพันบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ โดยการกระทำด้วยประการใด ๆ อันเป็นการเหยียดหยามบุคคลอื่น แต่ไม่ถึงกับทำให้ผู้อื่นได้รับความเสียหายแก่ชื่อเสียงเกียรติคุณเพราะคำดู หมิ่นนั้นไม่อาจจะเป็นความจริงได้ ได้แก่คำด่าต่าง ๆ เช่น คำว่า ไอ้สัตว์เดรัจฉาน ไอ้เหี้ย ไอ้ผีปอบ ฯลฯ หรืออาจเป็นอาการดูหมิ่นต่าง ๆ เช่น การแลบลิ้นใส่ การยกเท้าแสดงอาการไม่สุภาพ ฯลฯโดยไม่ต้องเป็นการกล่าวต่อบุคคลที่สาม

    แต่ถ้าเป็นความผิดฐานหมิ่นประมาทในทางอาญาแล้วจะต้องมี องค์ประกอบสำคัญเข้ามาอีกประการหนึ่งคือ ต้องเป็นการยกข้อเท็จจริงขึ้นมากล่าวอ้างต่อบุคคลที่สามด้วย ซึ่งจะทำให้บุคคลที่สามได้เห็นพฤติกรรมการกระทำของบุคคลนั้น และความผิดฐานหมิ่นประมาทในทางอาญานั้นโทษจะหนักกว่าคือ จำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินสองพันบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ.

    อ้างถึง:
    BTS
     
  4. ihappiness

    ihappiness เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 ตุลาคม 2012
    โพสต์:
    164
    ค่าพลัง:
    +920
    Admin แอบเคือง มีเพื่อนของAdmin
    ถูกว่าต่อหน้า ว่า "ตอแหล" เลยนำเรื่องนี้นำมาบอกเล่าพร้อมกับกฎหมายดีดี ดีกว่าคะมาตรา 393" ผู้ใดดูหมิ่นผู้อื่นซึ่งหน้าหรือด้วยการโฆษณา ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ"การดูหมิ่นผู้อื่น หมายถึง การดูถูก สบประมาท หรือ ทำให้ผู้อื่นอับอาย (ในเรื่องการดูหมิ่นโดยใช้คำว่า "ตอแหล" มีคำพิพากษาฎีกาตัดสินไว้ ตามคำพิพากษาฎีกาที่ 8919/2552คะ)


    คำพิพากษาฎีกาที่8919/2552 การดูหมิ่นผู้อื่น หมายถึง การดูถูกเหยียดหยาม สบประมาทหรือทำให้อับอาย การวินิจฉัยว่าการกล่าววาจาอย่างไรเป็นการดูหมิ่นผู้อื่นหรือไม่จึงต้องพิจารณาว่าถ้อยคำที่กล่าวเป็นการดูถูกเหยียดหยาม สบประมาทผู้ที่ถูกกล่าว
    หรือทำให้ผู้ที่ถูกกล่าวอับอายหรือไม่หากเป็นเช่นนั้นก็ถือได้ว่าเป็นการดูหมิ่นแล้วเมื่อตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถานให้ความหมายคำว่า "ตอแหล" ว่าเป็นการด่าคนที่พูดเท็จ ซึ่งมีความหมายในทางเสื่อมเสีย การที่จำเลยกล่าวถ้อยคำดังกล่าวต่อผู้เสียหายจึงเป็นการด่าผู้เสียหายเป็นการดูถูกเหยียดหยามและสบประมาทผู้เสียหายว่าเป็นคนพูดเท็จจึงเป็นการดูหมิ่นผู้เสียหายอันเป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 393 อย่างนี้ใครจะด่าจะว่าคนอื่นว่า"ตอแหล" ก็มีความผิดตามกฎหมายอาญาด้วยคะ ^^

    ที่มา : https://www.facebook.com/LawDD.net/p...44210728986437
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 3 กรกฎาคม 2013
  5. ihappiness

    ihappiness เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 ตุลาคม 2012
    โพสต์:
    164
    ค่าพลัง:
    +920
    คำด่าที่เข้าข่ายหมิ่นประมาท

    1. อีตอแหล (ทำให้ถูกเข้าใจว่าเป็นคนพูดจาโกหกเป็นนิสัย)
    2. อีดอ กทอง (ทำให้ถูกเข้าใจว่าเป็นคนสำส่อน)--กรณีนี้เคยมีฟ้องร้องกันมาจริงๆแล้วแถมคนถูกด่าชนะด้วย ใครเคยเรียนกฏหมายสื่อสารมวลชนน่าจะเคยศึกษาเคสนี้ เพราะเป็นกรณีศึกษาคลาสสิคอันนึง
    3. นายXXXคิดล้มเจ้า
    4. นายXXXขี้โกง (แม้จะเคยโกงจริง แต่ถ้าด่าเขาแบบเหมารวมว่าขี้โกง แบบนี้เข้าข่ายหมิ่นประมาท เพราะเป็นการทำให้เขาถูกคิดว่าเป็นคนที่โกงเป็นนิสัย ทั้งๆที่อาจจะเคยโกงเพียงครั้งเดียว)
    5. นาย ก. เป็นชู้กับนาง ข. แบบนี้แม้เขาจะเป็นชู้กันจริงถ้าพูดออกไปก็เข้าข่ายหมิ่นประมาท เพราะมันเป็นเรื่องส่วนตัว และไม่มีกฏหมายข้อใดห้ามนาย ก.และนาง ข. เอากัน
    6. ลูกนักการเมืองXXXยิงตำรวจตาย แบบนี้ถ้าศาลตัดสินแล้วว่าลูกนักการเมืองนั้นบริสุทธิ์ การพูดว่าเขายิงตำรวจตายเข้าข่ายหมิ่นประมาท


    อธิบายง่ายๆให้ฟังดังนี้

    หมิ่นประมาทคือการกล่าวความจริงหรือเท็จต่อหน้าบุคคลที่3โดยวิธีการใดๆก็ตาม(พูด พิมพ์ โพสท์ ฯลฯ) อันเป็นเหตุให้บุคคลหนึ่งบุคคลใดได้รับความอับอายหรือเสื่อมเสียหรือถูกดูหมิ่นเกลียดชัง โดยคำกล่าวนั้นๆมิได้เป็นไปเพื่อการดำรงไว้ซึ่งความถูกต้อง ยุติธรรม ศีลธรรม หรือสิ่งดีงามต่างๆของสังคม เป็นเพียงการกล่าวเพื่อมีจุดประสงค์เพื่อให้ผู้อื่นเสื่อมเสียเท่านั้น แบบนี้เข้าข่ายหมิ่นประมาท
     
  6. numphol aryupha

    numphol aryupha เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    466
    ค่าพลัง:
    +1,156
    แล้วไอ้เวบดูหมิ่นสถาบัน เวบล้มเจ้าเยอะแยะทำไมตำรวจหรือ รัฐบาลไม่จัดการเสียที คอยแต่ะมาจัดการเวบด่ารัฐบาล
     
  7. เห็ดถอบ

    เห็ดถอบ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กรกฎาคม 2013
    โพสต์:
    126
    ค่าพลัง:
    +300
    :cool:จริงครับ...เห็นกลาดเกลื่อนไปซะหมด
     
  8. อนิจฺจํ

    อนิจฺจํ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 พฤศจิกายน 2010
    โพสต์:
    1,374
    ค่าพลัง:
    +2,949
    แป่ว....fly_pigfly_pigfly_pig
     
  9. สิงหราชพล

    สิงหราชพล เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 ธันวาคม 2011
    โพสต์:
    177
    ค่าพลัง:
    +230
    เชิญรับยาที่ช่อง 7
     
  10. ธรรมแท้ว่าง

    ธรรมแท้ว่าง กายเบาใจเบา

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มีนาคม 2011
    โพสต์:
    12,288
    ค่าพลัง:
    +12,620
    ไม่น่าเชื่อว่ากำลังมีคนพยายามใช้เงินซื้อศาล!?!!!
    (หากซื้อไม่ได้อาจจะใช้กำลังเข้าถล่มศาล)

    เเล้วถ้าซื้อได้กฏหมายหมิ่นจะไม่ยอมขายให้หรา!!?!!
    ผมคิดเเบบคนบ้า!?!!กฎหมายไม่เอาเรื่องคนบ้าผมรอด หุหุ!!!
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 13 กรกฎาคม 2013

แชร์หน้านี้

Loading...