ปสาทสูตร ความเลื่อมใสในสิ่งเลิศ 4 ประการ

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย ปุณฑ์, 13 มิถุนายน 2013.

  1. ปุณฑ์

    ปุณฑ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 กันยายน 2008
    โพสต์:
    2,760
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +4,692
    ปสาทสูตร

    [๓๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความเลื่อมใสในสิ่งเลิศ ๔ ประการนี้
    ๔ ประการเป็นไฉน

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย สัตว์ทั้งหลาย.. ไม่มีเท้าก็ตาม ๒ เท้าก็ตาม
    ๔ เท้าก็ตาม มีเท้ามากก็ตาม มีรูปหรือไม่มีรูปก็ตาม มีสัญญาหรือไม่มีสัญญา
    ก็ตาม มีสัญญาก็ไม่ใช่ ไม่มีสัญญาก็ไม่ใช่ก็ตาม มีประมาณเพียงใด พระ
    ตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า อันชาวโลกกล่าวว่าเลิศกว่าสัตว์เหล่านั้น
    ชน
    เหล่าใดเลื่อมใสในพระพุทธเจ้า ชนเหล่านั้นชื่อว่าเลื่อมใสในสิ่งเลิศ และ
    วิบากอันเลิศย่อมมีแก่ชนผู้เลื่อมใสในสิ่งเลิศ

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมที่ปัจจัย
    ปรุงแต่งมีประมาณเท่าใด อริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ เรากล่าวว่าเลิศกว่า
    ธรรมเหล่านั้น
    ชนเหล่าใดเลื่อมใสในอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ ชนเหล่า
    นั้นชื่อว่าเลื่อมใสในสิ่งเลิศ และวิบากอันเลิศย่อมมีแก่ชนผู้เลื่อมใสในสิ่งเลิศ

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมที่ปัจจัยปรุงแต่งหรือไม่ปรุงแต่งมีประมาณเท่าใด วิราคะ
    คือ ธรรมอันย่ำยีความเมา ธรรมเครื่องกำจัดความกระหาย ความถอนเสียซึ่ง
    ความอาลัย ความเข้าไปตัดวัฏฏะ ธรรมเป็นที่สิ้นตัณหา ความคลายกำหนัด
    ความดับ นิพพาน เรากล่าวว่าเลิศกว่าธรรมเหล่านั้น ชนเหล่าใดเลื่อมใส
    ในวิราคะ ชนเหล่านั้นชื่อว่าเลื่อมใสในสิ่งเลิศ และวิบากอันเลิศย่อมมีแก่ชน
    ผู้เลื่อมใสในสิ่งเลิศ

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย หมู่ก็ดี คณะก็ดี มีประมาณเท่าใด
    พระสงฆ์สาวกของตถาคต คือ คู่บุรุษ ๔ บุรุษบุคคล ๘ นี้ คือ พระสงฆ์สาวก
    ของพระผู้มีพระภาค เป็นผู้ควรของคำนับ เป็นผู้ควรของต้อนรับ เป็นผู้ควรของ
    ทำบุญ เป็นผู้ควรทำอัญชลี เป็นนาบุญของโลก ไม่มีนาบุญอื่นยิ่งกว่า เรา
    กล่าวว่าเลิศกว่าหมู่หรือคณะเหล่านั้น
    ชนเหล่าใดเลื่อมใสในพระสงฆ์ ชนเหล่านั้น
    ชื่อว่าเลื่อมใสในสิ่งเลิศ และวิบากอันเลิศย่อมมีแก่ชนผู้เลื่อมใสในสิ่งเลิศ

    ดูกร
    ภิกษุทั้งหลาย ความเลื่อมใสในสิ่งเลิศ ๔ ประการนี้แล ฯ

    บุญที่เลิศ อายุ วรรณะ ยศ เกียรติคุณ สุข และพละ
    อันเลิศ ย่อมเจริญแก่บุคคลผู้รู้แจ้งซึ่งธรรมอันเลิศ เลื่อมใส
    โดยความเป็นของเลิศ เลื่อมใสในพระพุทธเจ้าผู้เลิศ ผู้เป็น
    ทักขิไณยบุคคลชั้นเยี่ยม เลื่อมใสในพระธรรมอันเลิศ
    ซึ่งเป็นธรรมปราศจากราคะ สงบและเป็นสุข เลื่อมใส
    ในพระสงฆ์ผู้เลิศ ซึ่งเป็นบุญเขตชั้นเยี่ยม ถวายทานใน
    ท่านผู้เลิศนั้น ผู้มีปัญญาตั้งมั่นแล้วในธรรมอันเลิศ ให้ทาน
    แก่ท่านผู้เป็นบุญเขตอันเลิศ จะเกิดเป็นเทวดาหรือมนุษย์
    ก็ตาม ย่อมถึงความเป็นผู้เลิศ บันเทิงอยู่ ฯ

    จบสูตรที่ ๔

    http://www.84000.org/tipitaka/pitaka2/v.php?B=21&A=912&Z=944


    วิราคธรรมซึ่งหมายถึงนิพพานหรือมรรคจิต จัดอยู่ในฝ่ายอสังขตธรรม(ส่วนมรรคจิตจัดอยู่ในฝ่ายสังขตธรรม)
    ...ในบาลีอัคคัปปสาทสูตร จตุกกนิกาย
    แสดงอริยรรคมีองค์แปด เป็นเลิศในสังขตธรรมทั้งหลาย(ธรรมที่มีปัจจัยปรุงแต่ง)
    แสดงวิราคธรรมว่าเป็นยอดแห่งธรรมทั้งปวง ทั้งที่เป็นสังขตธรรม(ธรรมที่มีปัจจัยปรุงแต่ง)และอสังขตธรรม(ธรรมที่ไม่มีปัจจัยปรุงแต่ง)

    อสังขตธรรมคืออะไร
    ปัญหา อสังขตธรรมคืออะไร? ทางปฏิบัติเพื่อบรรลุอสังขตธรรมคืออะไรบ้าง ?
    พุุทธดำรัสตอบ “ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความสิ้นราคะ ความสิ้นโทสะ ความสิ้นโมหะ นี้เรียกว่าอสังขตธรรม ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ทางที่จะให้ถึงอสังขตธรรมเป็นอย่างไร? กายคตาสติ นี้เรียกว่าทางที่จะให้ถึงอสังขตธรรม...สมถะและวิปัสสนา...สมาธิที่มีทั้งวิตกวิจาร สมาธิที่ไม่มีวิตกมีแต่วิจาร...สมาธิที่ไม่มีทั้งวกตกวิจาร สุญญตสมาธิ อนิมิตตสมาธิ อัปปณิหิตสมาธิ... สติปัฏฐาน ๔.... สัมมัปปทาน ๔.... อิทธิบาท ๔... อินทรีย์ ๕... พละ ๕.... โพชฌงค์ ๗... อริยมรรคประกอบด้วยองค์ ๘ นี้เรียกว่าทางที่จะให้ถึงอสังขตธรรรม...
    “ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อสังขตธรรม.... ทางที่จะให้ถึงอสังขตธรรม เราแสดงแล้วแก่เธอทั้งหลาย....นั่นโคนไม้ นั่นเรือนว่าง...เธอทั้งหลายจงเพ่ง อย่าประมาท อย่างได้เป็นผู้เสียใจในภายหลัง นี้เป็นคำสอนของเราเพื่อนทั้งหลาย ....”

    421
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 14 มิถุนายน 2013
  2. ปุณฑ์

    ปุณฑ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 กันยายน 2008
    โพสต์:
    2,760
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +4,692
    ๔. ปสาทสูตร

    อรรถกถาปสาทสูตรที่ ๔
    พึงทราบวินิจฉัยในปสาทสูตรที่ ๔ ดังต่อไปนี้ :-
    ชื่ออัคคัปปสาทะ เพราะอรรถว่าเลื่อมใสในวัตถุอันเลิศ หรือความเลื่อมใสอันเลิศ.
    บทว่า ยาวตา คือ ประมาณเท่าใด.
    บทว่า อปทา ได้แก่ พวกสัตว์ไม่มีเท้ามีงูและปลาเป็นต้น.
    บทว่า ทฺวิปทา ได้แก่ พวกสัตว์ ๒ เท้ามีมนุษย์และนกเป็นต้น.
    บทว่า จตุปฺปทา ได้แก่ สัตว์ ๔ เท้ามีช้างและม้าเป็นต้น.
    บทว่า พหุปฺปทา ได้แก่ พวกสัตว์เท้ามากมีตะขาบเป็นต้น.
    บทว่า เนวสญฺญีนาสญฺญิโน ได้แก่ พวกสัตว์ที่เกิดในภวัคคพรหม.
    บทว่า อคฺคมกฺขายติ ความว่า พระตถาคตปราชญ์กล่าวว่าเป็นยอด คือประเสริฐสูงสุดโดยคุณทั้งหลาย.
    บทว่า อสงฺขตา ความว่า ท่านกล่าวถือเอาพระนิพพานเท่านั้น.
    บทเป็นอาทิว่า วิราโค เป็นชื่อของพระนิพพานแท้. เพราะว่า มาถึงพระนิพพานนั้นแล้ว กิเลสทั้งหลายก็คลายไปหมด ความเมาทั้งหลายมีความเมาเพราะราคะเป็นต้น ก็หายเมาไปหมด คือไม่มี ความกระหายทั้งหลายก็หายไปหมด อาลัยทั้งหลายก็เพิกถอนไปหมด วัฏฏะทั้งหลายก็ขาด ตัณหาก็สิ้น วัฏฏทุกข์ก็ดับ ความเร่าร้อนทั้งปวง ก็ดับไป เพราะฉะนั้น นิพพานจึงได้ชื่อเหล่านั้น.
    บทที่เหลือในสูตรนี้ ง่ายทั้งนั้นแล.

    จบอรรถกถาปสาทสูตรที่ ๔

    http://www.84000.org/tipitaka/pitaka2/v.php?B=21&A=912&Z=944
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 13 มิถุนายน 2013
  3. ปุณฑ์

    ปุณฑ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 กันยายน 2008
    โพสต์:
    2,760
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +4,692
    ยุคนัทธวรรค วิราคกถา

    [๕๘๘] วิราคะเป็นมรรค วิมุติเป็นผล วิราคะเป็นมรรคอย่างไร
    ในขณะโสดาปัตติมรรค สัมมาทิฐิด้วยอรรถว่าเห็น ย่อมคลายจากมิจฉา-
    *ทิฐิ จากกิเลสอันเป็นไปตามมิจฉาทิฐินั้น จากขันธ์ และจากสรรพนิมิตภายนอก
    วิราคะ (มรรค) มีวิราคะ (นิพพาน) เป็นอารมณ์ มีวิราคะเป็นโคจร เข้ามา
    ประชุมในวิราคะ ตั้งอยู่ในวิราคะ ประดิษฐานอยู่ในวิราคะ วิราคะในคำว่า
    วิราโค นี้มี ๒ คือ นิพพานเป็นวิราคะ ๑ ธรรมทั้งปวงที่เกิดเพราะสัมมาทิฐิมี
    นิพพานเป็นอารมณ์เป็นวิราคะ ๑
    เพราะฉะนั้น มรรคจึงเป็นวิราคะ องค์ ๗ ที่
    เป็นสหชาติ ย่อมถึงความเป็นวิราคะ
    เพราะฉะนั้น วิราคะจึงเป็นมรรค
    พระพุทธเจ้า พระปัจเจกพุทธเจ้า และพระสาวก ย่อมถึงนิพพานอันเป็นทิศที่
    ไม่เคยไปด้วยมรรคนี้
    เพราะฉะนั้น อริยมรรคอันมีองค์ ๘ นี้เท่านั้น จึงล้ำเลิศ
    เป็นประธาน สูงสุด และประเสริฐกว่ามรรคของสมณพราหมณ์เป็นอันมากผู้ถือ
    ลัทธิอื่น เพราะฉะนั้น อัฏฐังคิกมรรคจึงประเสริฐกว่ามรรคทั้งหลาย ฯ

    สัมมาสังกัปปะด้วยอรรถว่าดำริ ย่อมคลายจากมิจฉาสังกัปปะ สัมมา-
    *วาจาด้วยอรรถว่ากำหนด ย่อมคลายจากมิจฉาวาจา สัมมากัมมันตะด้วยอรรถว่าตั้ง
    ขึ้นด้วยดี ย่อมคลายจากมิจฉากัมมันตะ สัมมาอาชีวะด้วยอรรถว่าชำระอาชีวะให้
    ผ่องแผ้ว ย่อมคลายจากมิจฉาอาชีวะ สัมมาวายามะด้วยอรรถว่าประคองไว้ ย่อม
    คลายจากมิจฉาวายามะ สัมมาสติด้วยอรรถว่าตั้งมั่น ย่อมคลายจากมิจฉาสติ
    สัมมาสมาธิด้วยอรรถว่าไม่ฟุ้งซ่าน ย่อมคลายจากมิจฉาสมาธิ จากกิเลสที่เป็น
    ไปตามมิจฉาสังกัปปะเป็นต้นนั้น จากขันธ์และสรรพนิมิตภายนอก วิราคะมีวิราคะ
    เป็นอารมณ์ มีวิราคะเป็นโคจร เข้ามาประชุมในวิราคะ ตั้งอยู่ในวิราคะ ประ
    ดิษฐานอยู่ในวิราคะ วิราคะในคำว่า วิราโค นี้มี ๒ คือ นิพพาน เป็นวิราคะ ๑
    ธรรมทั้งปวงที่เกิดเพราะสัมมาสังกัปปะเป็นต้นนั้น มีนิพพานเป็นอารมณ์เป็น
    วิราคะ ๑
    เพราะฉะนั้น วิราคะจึงเป็นมรรค องค์ ๗ ที่เป็นสหชาติ ย่อมถึงความ
    เป็นวิราคะ
    เพราะฉะนั้น มรรคจึงเป็นวิราคะ พระพุทธเจ้า พระปัจเจกพุทธเจ้า
    และพระสาวก ย่อมไปถึงนิพพานอันเป็นทิศที่ไม่เคยไปด้วยมรรคนี้
    เพราะฉะนั้น
    อริยมรรคมีองค์ ๘ นี้เท่านั้น จึงล้ำเลิศ เป็นประธาน สูงสุดและประเสริฐกว่า
    มรรคของสมณพราหมณ์เป็นอันมาก ผู้ถือลัทธิอื่น เพราะฉะนั้น อัฏฐังคิกมรรค
    จึงประเสริฐกว่ามรรคทั้งหลาย ฯ


    [๕๘๙] ในขณะสกทาคามิมรรค สัมมาทิฐิด้วยอรรถว่าเห็น ฯลฯ
    สัมมาสมาธิด้วยอรรถว่าไม่ฟุ้งซ่าน ย่อมคลายจากกามราคสังโยชน์ ปฏิฆสังโยชน์
    กามราคานุสัย ปฏิฆานุสัยส่วนหยาบๆคลายจากกิเลสที่เป็นไปตามมิจฉาสมาธินั้น
    จากขันธ์ และจากสรรพนิมิตภายนอก วิราคะมีวิราคะเป็นอารมณ์ ฯลฯ
    เพราะฉะนั้น อัฏฐังคิกมรรคจึงประเสริฐกว่ามรรคทั้งหลาย ฯ

    [๕๙๐] ในขณะอนาคามิมรรค สัมมาทิฐิด้วยอรรถว่าเห็น ฯลฯ สัมมา-
    *สมาธิด้วยอรรถว่าไม่ฟุ้งซ่าน ย่อมคลายจากกามราคสังโยชน์ ปฏิฆสังโยชน์
    กามราคานุสัย ปฏิฆานุสัย ส่วนละเอียดๆคลายจากกิเลสที่เป็นไปตามมิจฉา-
    *สมาธินั้น จากขันธ์ และจากสรรพนิมิตภายนอก วิราคะมีวิราคะเป็นอารมณ์
    ฯลฯ เพราะฉะนั้น อัฏฐังคิกมรรคจึงประเสริฐกว่ามรรคทั้งหลาย ฯ

    [๕๙๑] ในขณะอรหัตมรรค สัมมาทิฐิด้วยอรรถว่าเห็น ฯลฯ สัมมา-
    *สมาธิด้วยอรรถว่าไม่ฟุ้งซ่าน ย่อมคลายจากรูปราคะ อรูปราคะ มานะ อุทธัจจะ
    อวิชชา มานานุสัย ภวราคานุสัย อวิชชานุสัย คลายจากกิเลสที่เป็นไปตาม
    มิจฉาสมาธินั้น จากขันธ์และจากสรรพนิมิตภายนอก วิราคะมีวิราคะเป็นอารมณ์
    มีวิราคะเป็นโคจร เข้ามาประชุมในวิราคะ ตั้งอยู่ในวิราคะ ประดิษฐานอยู่ใน
    วิราคะ วิราคะในคำว่า วิราโค นี้มี ๒ คือ นิพพานเป็นวิราคะ ๑ ธรรมทั้งปวง
    ที่เกิดเพราะสัมมาสมาธิมีนิพพานเป็นอารมณ์ เป็นวิราคะ ๑ เพราะฉะนั้นมรรค
    จึงเป็นวิราคะ องค์ ๗ ที่เป็นสหชาติ ย่อมถึงความเป็นวิราคะ เพราะฉะนั้น
    วิราคะจึงเป็นมรรค พระพุทธเจ้า พระปัจเจกพุทธเจ้า และพระสาวก ย่อมถึง
    นิพพานอันเป็นทิศที่ไม่เคยไปด้วยมรรคนี้ เพราะฉะนั้น อริยมรรคมีองค์ ๘ นี้
    เท่านั้น จึงล้ำเลิศ เป็นประธาน สูงสุด และประเสริฐกว่ามรรคของสมณ-
    *พราหมณ์เป็นอันมากผู้ถือลัทธิอื่น เพราะฉะนั้น อัฏฐังคิกมรรคจึงประเสริฐกว่า
    มรรคทั้งหลาย ฯ
    ...

    [๕๙๓] วิมุติเป็นผลอย่างไร ในขณะโสดาปัตติผล สัมมาทิฐิด้วยอรรถ
    ว่าเห็น พ้นจากมิจฉาทิฐิ พ้นจากกิเลสที่เป็นไปตามมิจฉาทิฐินั้น จากขันธ์และ
    จากสรรพนิมิตภายนอก วิมุติมีวิมุติเป็นอารมณ์ มีวิมุติเป็นโคจร เข้ามา
    ประชุมในวิมุติ ตั้งอยู่ในวิมุติ ประดิษฐานอยู่ในวิมุติ วิมุติในคำว่า วิมุตฺติ
    นี้มี ๒ คือ นิพพาน เป็นวิมุติ ๑ ธรรมทั้งปวงที่เกิดเพราะสัมมาทิฐิมีนิพพาน
    เป็นอารมณ์ เป็นวิมุติ ๑
    เพราะฉะนั้น วิมุติจึงเป็นผล สัมมาสังกัปปะด้วยอรรถ
    ว่าดำริ พ้นจากมิจฉาสังกัปปะ ฯลฯ สัมมาวาจาด้วยอรรถว่ากำหนดพ้นจาก
    มิจฉาวาจา ฯลฯ สัมมากัมมันตะด้วยอรรถว่าตั้งไว้ด้วยดี พ้นจากมิจฉากัมมันตะ
    ฯลฯ สัมมาอาชีวะด้วยอรรถว่าชำระอาชีพให้ผ่องแผ้ว พ้นจากมิจฉาอาชีวะ ฯลฯ
    สัมมาวายามะด้วยอรรถว่าประคองไว้ พ้นจากมิจฉาวายามะ ฯลฯ สัมมาสติ
    ด้วยอรรถว่าตั้งมั่น พ้นจากมิจฉาสติ ฯลฯ สัมมาสมาธิด้วยอรรถว่าไม่ฟุ้งซ่าน
    พ้นจากมิจฉาสมาธิ พ้นจากกิเลสที่เป็นไปตามมิจฉาสังกัปปะเป็นต้นนั้น จากขันธ์
    และจากสรรพนิมิตรภายนอก วิมุติมีวิมุติเป็นอารมณ์ มีวิมุติเป็นโคจร ประชุม
    เข้าในวิมุติ ตั้งอยู่ในวิมุติ ประดิษฐานอยู่ในวิมุติ วิมุติในคำว่า วิมุตฺติ นี้มี ๒
    คือ นิพพานเป็นวิมุติ ๑ ธรรมทั้งปวงที่เกิดเพราะมีนิพพานเป็นอารมณ์เป็นวิมุติ
    ๑ เพราะฉะนั้น วิมุติจึงเป็นผล ฯ
    ...

    http://www.84000.org/tipitaka/pitaka2/v.php?B=31&A=8692&Z=8832
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 14 มิถุนายน 2013
  4. jinny95

    jinny95 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    6,074
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +9,666
    อยากจะได้ที่สุดเลย อนุโมทนา สาธุ สาธุ สาธุ
     
  5. มังคละมุนี

    มังคละมุนี เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 พฤษภาคม 2010
    โพสต์:
    246
    ค่าพลัง:
    +608
    วิราคะ รอยต่อ ที่สำคัญ

    พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๖ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๘
    สังยุตตนิกาย นิทานวรรค


    ๓. อุปนิสสูตร​
    .
    .
    .
    [๖๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อธรรมเป็นที่สิ้นไป เกิดขึ้นแล้ว ญาณ (อรหัตผล)
    ในธรรมเป็นที่สิ้นไป อันนั้นแม้ใดมีอยู่

    เรากล่าวญาณแม้นั้นว่ามีเหตุเป็นที่อิงอาศัย มิได้กล่าวว่า ไม่มีเหตุเป็นที่อิงอาศัย
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อะไรเล่าเป็นเหตุที่อิงอาศัยแห่งญาณในธรรมเป็นที่สิ้นไป ควรกล่าวว่า วิมุตติ

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวแม้ซึ่งวิมุตติว่ามีเหตุที่อิงอาศัย มิได้กล่าวว่าไม่มีเหตุที่อิงอาศัย
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อะไรเล่า เป็นเหตุที่อิงอาศัยแห่งวิมุตติ ควรกล่าวว่า วิราคะ

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวแม้ซึ่งวิราคะว่ามีเหตุที่อิงอาศัย มิได้กล่าวว่าไม่มีเหตุที่อิงอาศัย
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อะไรเล่า เป็นเหตุที่อิงอาศัยแห่งวิราคะ ควรกล่าวว่า นิพพิทา

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวแม้ซึ่งนิพพิทาว่ามีเหตุที่อิงอาศัย มิได้กล่าวว่าไม่มีเหตุที่อิงอาศัย
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อะไรเล่า เป็นเหตุที่อิงอาศัยแห่งนิพพิทา ควรกล่าวว่า ยถาภูตญาณทัสสนะ

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวแม้ซึ่งยถาภูตญาณทัสสนะว่า มีเหตุที่อิงอาศัย มิได้กล่าวว่าไม่มีเหตุที่อิงอาศัย
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อะไรเล่า เป็นเหตุที่อิงอาศัยแห่งยถาภูตญาณทัสสนะ ควรกล่าวว่า สมาธิ

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวแม้ซึ่งสมาธิว่ามีเหตุที่อิงอาศัย มิได้กล่าวว่าไม่มีเหตุที่อิงอาศัย
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อะไรเล่า เป็นเหตุที่อิงอาศัยแห่งสมาธิ ควรกล่าวว่า สุข

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวแม้ซึ่งสุขว่า มีเหตุที่อิงอาศัย มิได้กล่าวว่าไม่มีเหตุที่อิงอาศัย
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อะไรเล่า เป็นเหตุที่อิงอาศัยแห่งสุข ควรกล่าวว่า ปัสสัทธิ

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวแม้ซึ่งปัสสัทธิว่ามีเหตุที่อิงอาศัย มิได้กล่าวว่า ไม่มีเหตุที่อิงอาศัย
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อะไรเล่าเป็นเหตุที่อิงอาศัยแห่งปัสสัทธิ ควรกล่าวว่า ปีติ

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวแม้ซึ่งปีติว่ามีเหตุที่อิงอาศัย มิได้กล่าวว่าไม่มีเหตุที่อิงอาศัย
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อะไรเล่า เป็นเหตุที่อิงอาศัยแห่งปีติ ควรกล่าวว่า ความปราโมทย์

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวแม้ซึ่งความปราโมทย์ ว่ามีเหตุที่อิงอาศัย มิได้กล่าวว่าไม่มีเหตุที่อิงอาศัย
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อะไรเล่า เป็นเหตุที่อิงอาศัยแห่งความปราโมทย์ ควรกล่าวว่า ศรัทธา

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวแม้ซึ่งศรัทธาว่ามีเหตุที่อิงอาศัย มิได้กล่าวว่าไม่มีเหตุที่อิงอาศัย
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อะไรเล่า เป็นเหตุที่อิงอาศัย แห่งศรัทธา ควรกล่าวว่า ทุกข์

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวแม้ซึ่งทุกข์ว่ามีเหตุที่อิงอาศัย มิได้กล่าวว่าไม่มีเหตุที่อิงอาศัย
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อะไรเล่า เป็นเหตุที่อิงอาศัยแห่งทุกข์ ควรกล่าวว่า ชาติ

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวแม้ซึ่งชาติว่ามีเหตุที่อิงอาศัย มิได้กล่าวว่าไม่มีเหตุที่อิงอาศัย
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อะไรเล่า เป็นเหตุที่อิงอาศัยแห่งชาติ ควรกล่าวว่า ภพ

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวแม้ซึ่งภพว่ามีเหตุที่อิงอาศัย มิได้กล่าวว่าไม่มีเหตุที่อิงอาศัย
    ดูกรภิกษุทั้งหลายก็อะไรเล่า เป็นเหตุที่อิงอาศัยแห่งภพ ควรกล่าวว่า อุปาทาน

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวแม้ซึ่งอุปาทานว่า มีเหตุที่อิงอาศัย มิได้กล่าวว่าไม่มีเหตุที่อิงอาศัย
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อะไรเล่า เป็นเหตุที่อิงอาศัยแห่งอุปาทาน ควรกล่าวว่า ตัณหา

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวแม้ซึ่งตัณหาว่า มีเหตุที่อิงอาศัย มิได้กล่าวว่าไม่มีเหตุที่อิงอาศัย
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อะไรเล่า เป็นเหตุที่อิงอาศัยแห่งตัณหา ควรกล่าวว่า เวทนา

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวแม้ซึ่งเวทนาว่ามีเหตุที่อิงอาศัย มิได้กล่าวว่าไม่มีเหตุที่อิงอาศัย
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อะไรเล่า เป็นเหตุที่อิงอาศัยแห่งเวทนา ควรกล่าวว่า ผัสสะ

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวแม้ซึ่งผัสสะว่ามีเหตุที่อิงอาศัย มิได้กล่าวว่าไม่มีเหตุที่อิงอาศัย
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อะไรเล่าเป็นเหตุที่อิงอาศัยแห่งผัสสะ ควรกล่าวว่า สฬายตนะ

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวแม้ซึ่งสฬายตนะว่า มีเหตุที่อิงอาศัย มิได้กล่าวว่าไม่มีเหตุที่อิงอาศัย
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อะไรเล่า เป็นเหตุที่อิงอาศัยแห่งสฬายตนะ ควรกล่าวว่า นามรูป

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวแม้ซึ่งนามรูปว่า มีเหตุที่อิงอาศัย มิได้กล่าวว่าไม่มีเหตุที่อิงอาศัย
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อะไรเล่า เป็นเหตุที่อิงอาศัยแห่งนามรูป ควรกล่าวว่า วิญญาณ

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวแม้ซึ่งวิญญาณว่า มีเหตุที่อิงอาศัย มิได้กล่าวว่าไม่มีเหตุที่อิงอาศัย
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อะไรเล่า เป็นเหตุที่อิงอาศัยแห่งวิญญาณ ควรกล่าวว่า สังขารทั้งหลาย

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวแม้ซึ่งสังขารทั้งหลายว่า มีเหตุที่อิงอาศัย มิได้กล่าวว่าไม่มีเหตุที่อิงอาศัย
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อะไรเล่า เป็นเหตุที่อิงอาศัยแห่งสังขารทั้งหลาย ควรกล่าวว่า อวิชชา

    ด้วยเหตุดังนี้แล ภิกษุทั้งหลาย
    สังขารทั้งหลาย มีอวิชชา เป็นที่อิงอาศัย
    วิญญาณ มี สังขาร เป็นที่อิงอาศัย
    นามรูป มี วิญญาณ เป็นที่อิงอาศัย
    สฬายตนะ มี นามรูป เป็นที่อิงอาศัย
    ผัสสะ มี สฬายตนะ เป็นที่อิงอาศัย
    เวทนา มี ผัสสะ เป็นที่อิงอาศัย
    ตัณหา มี เวทนา เป็นที่อิงอาศัย
    อุปาทาน มี ตัณหา เป็นที่อิงอาศัย
    ภพ มี อุปาทาน เป็นที่อิงอาศัย
    ชาติ มี ภพ เป็นที่อิงอาศัย
    ทุกข์ มี ชาติ เป็นที่อิงอาศัย
    ศรัทธา มี ทุกข์ เป็นที่อิงอาศัย
    ความปราโมทย์ มี ศรัทธา เป็นที่อิงอาศัย
    ปีติ มี ปราโมทย์ เป็นที่อิงอาศัย
    ปัสสัทธิ มี ปีติ เป็นที่อิงอาศัย
    สุข มี ปัสสัทธิ เป็นที่อิงอาศัย
    สมาธิ มี สุข เป็นที่อิงอาศัย
    ยถาภูตญาณทัสสนะ มี สมาธิ เป็นที่อิงอาศัย
    นิพพิทา มี ยถาภูตญาณทัสสนะ เป็นที่อิงอาศัย
    วิราคะ มี นิพพิทา เป็นที่อิงอาศัย
    วิมุตติ มี วิราคะ เป็นที่อิงอาศัย
    ญาณในธรรมเป็นที่สิ้นไป มี วิมุตติ เป็นที่อิงอาศัย ฯ

    [๗๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย
    เมื่อฝนเมล็ดใหญ่ตกอยู่บนยอดภูเขา น้ำนั้นไหลไปตามที่ลุ่ม ยังซอกเขาระแหงและห้วยให้เต็ม
    ซอกเขาระแหงและห้วยทั้งหลาย เต็มเปี่ยมแล้ว ย่อมยังหนองทั้งหลายให้เต็ม
    หนองทั้งหลาย เต็มเปี่ยมแล้ว ย่อมยังบึงทั้งหลายให้เต็ม
    บึงทั้งหลาย เต็มเปี่ยมแล้ว ย่อมยังแม่น้ำน้อยๆ ให้เต็ม
    แม่น้ำน้อยๆ เต็มเปี่ยมแล้ว ย่อมยังแม่น้ำใหญ่ๆ ให้เต็ม
    แม้น้ำใหญ่ๆ เต็มเปี่ยมแล้ว ย่อมยังมหาสมุทรให้เต็ม

    แม้ฉันใด ดูกรภิกษุทั้งหลาย
    สังขารทั้งหลายมีอวิชชาเป็นที่อิงอาศัย ฯลฯ ญาณในธรรมเป็นที่สิ้นไป มีวิมุตติเป็นที่อิงอาศัย ฉันนั้นเหมือนกันแล ฯ

    ______________________________________________________________________________________________


    วิราคะ ถ้าเป็นผล ก็เป็นผลจาก นิพพิทา (วิราคะ เป็น จุดสุดท้ายของ สังขตะ)
    วิราคะ ถ้าเป็นเหตุ ก็เป็นเหตุให้ วิมุตติ ปรากฏ (วิราคะ เป็น จุดแรกของ อสังขตะ)

    ทำให้วิราคะ เป็นธรรมที่มีลักษณะพิเศษ โดยมีความหมายได้ ทั้ง๒ฝ่าย คือ

    จะเป็น สังขตธรรม ก็ได้ (เป็นผลตัวสุดท้าย ของ สังขตธรรม)
    หรือ
    จะเป็น อสังขตธรรม ก็ได้ (เป็นเหตุให้ วิมุตติ ปรากฏ ซึ่งวิมุตติเป็นไวพจน์ของนิพพาน แล้ว วิราคะก็เป็นไวพจน์ของนิพพานด้วย วิราคะจึงเรียกแทนนิพพานได้เลย)

    ด้วยเหตุนี้ ที่ ทำให้พุทธะ ท่านตรัสว่า
    วิราคะ อันบัณฑิตกล่าวว่า เลิศกว่า สังขตธรรม และ อสังขตธรรม”

    คือถ้ามี คำถามว่า อะไรเป็น เลิศใน สังขตธรรม ก็ตอบ ได้ว่า วิราคะ
    แล้วถ้ามี คำถามอีกว่า อะไรเป็น เลิศใน อสังขตธรรม ก็ตอบ ได้ว่า วิราคะ
    วิราคะ จึงเป็น 2in1 ซึ่งเป็นคำๆเดียว ที่ใช้ตอบ แสดงความเป็นเลิศ ในธรรมทั้ง๒ฝ่าย ได้ทันที

    ทั้ง สังขตะ และ อสังขตะ จึงมี วิราคะ เป็นเลิศ ด้วย ประการฉะนี้

    นิพพิทา วิราคะ วิมุตติ

    อนิจจานุปัสสี...วิราคานุปัสสี...นิโรธานุปัสสี...ปฏินิสสัคคานุปัสสี...
    เขียนมาเจอที่เดิมอีก จนได้...


    .
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 13 มิถุนายน 2013
  6. ปุณฑ์

    ปุณฑ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 กันยายน 2008
    โพสต์:
    2,760
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +4,692
    เราอาจจะกล่าว
    วิราคะเป็นมรรค วิมุตติเป็นผล นิพพานเป็นที่สุด

    หรือนิพพานเป็นผล มรรคเป็นเหตุ
    ทุกข์-สมุทัย(ผล-เหตุ)
    นิโรธ-มรรค(ผล-เหตุ)

    แล้วแต่จุดมุ่งหมายในแต่ละกรณี
     
  7. maokvid-1800

    maokvid-1800 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,907
    ค่าพลัง:
    +2,252

แชร์หน้านี้

Loading...