การทำบุญ.....ที่ถูกลืม

ในห้อง 'พุทธศาสนา และ ธรรมะ' ตั้งกระทู้โดย GoldenFire, 28 พฤษภาคม 2013.

  1. GoldenFire

    GoldenFire เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 เมษายน 2013
    โพสต์:
    37
    ค่าพลัง:
    +124
    ส่วนหนึ่งของบทความจากเว็บแห่งหนึ่งครับ โดยท่านพระไพศาล วิสาโล

    "คุณนายแก้ว" เป็นเจ้าของโรงเรียนที่ชอบทำบุญมาก เป็นเจ้าภาพทอดผ้าป่าทอดกฐินอยู่เนือง ๆ ใครมาบอกบุญสร้างโบสถ์วิหารที่ไหน ไม่เคยปฎิเสธ เธอปลื้มปิติมากที่ถวายเงินนับแสนสร้างหอระฆังถวายวัดข้างโรงเรียน แต่เมื่อได้ทราบว่ามีนักเรียนคนหนึ่งไม่มีเงินจ่ายค่าเล่าเรียน ค้างชำระมาสองเทอมแล้ว เธอตัดสินใจไล่นักเรียนคนนั้นออกจากโรงเรียนทันที

    "สายใจ" พาป้าวัย ๗๐ และเพื่อนซึ่งมีขาพิการไปถวายภัตตาหารเช้าที่วัดแห่งหนึ่ง ซึ่งมีเจ้าอาวาสเป็นที่ศรัทธานับถือของประชาชนทั่วประเทศ เช้าวันนั้นมีคนมาทำบุญคับคั่ง จนลานวัดแน่นขนัดไปด้วยรถ เมื่อได้เวลาพระฉันเสร็จ ญาติโยมก็พากันกลับ สายใจพาหญิงชราและเพื่อผู้พิการเดินกระย่องกระแย่งฝ่าแดดกล้าไปยังถนนใหญ่ เพื่อขึ้นรถประจำทางกลับบ้าน ระหว่างนั้นมีรถเก๋งหลายสิบคันแล่นผ่านไป แต่ตลอดเส้นทางเกือบ ๓ กิโลเมตร ไม่มีผู้ใจบุญคนใดรับผู้เฒ่าและคนพิการขึ้นรถเพื่อไปส่งถนนใหญ่เลย

    เหตุการณ์ทำนองนี้มิใช่เป็นเรื่องแปลกประหลาดในสังคมไทย "ชอบทำบุญแต่ไร้น้ำใจ" เป็นพฤติกรรมที่พบเห็นได้ทั่วไปในหมู่ชาวพุทธ ทำให้เกิดคำถามขึ้นมาว่า คนไทยนับถือพุทธศาสนากันอย่างไร จึงมีพฤติกรรมแบบนี้กันมาก เหตุใดการนับถือพุทธศาสนาจึงไม่ช่วยให้คนไทยมีน้ำใจต่อเพื่อนมนุษย์ โดยเฉพาะผู้ที่ทุกข์ยาก การทำบุญไม่ช่วยให้คนไทยมีเมตตากรุณาต่อผู้อื่นเลยหรือ

    หากสังเกตุจะพบว่า การทำบุญของคนไทยมักจะกระทำต่อสิ่งที่อยู่สูงกว่าตน เช่น พระภิกษุสงฆ์ วัดวาอาราม พระพุทธเจ้า เป็นต้น แต่กับสิ่งที่ถือว่าอยู่ต่ำกว่าตน เช่น คนยากจนหรือสัตว์น้อยใหญ่ เรากลับละเลยกันมาก (ยกเว้นคนหรือสัตว์ที่ถือว่าเป็น "พวกกู" หรือ "ของกู") แม้แต่เวลาไปทำบุญที่วัด เราก็มักละเลยสามเณรและแม่ชี แต่กุลีกุจอเต็มที่กับพระสงฆ์ อะไรทำให้เราชอบทำบุญกับสิ่งที่อยู่สูงกว่าตน ใช่หรือไม่ว่าเป็นเพราะเราเชื่อว่าสิ่งที่อยู่สูงเหล่านั้น สามารถบันดาลความสุขหรือให้สิ่งดี ๆ ที่พึงปรารถนาแก่เราได้ เช่น ถ้าทำอาหารถวายพระ บริจาคเงินสร้างวัดหรือพระพุทธรูป ก็จะได้รับความมั่งมีศรีสุข มีอายุ วรรณะ สุขะ พละ เป็นต้น หรือช่วยให้ได้ไปเกิดในสวรรค์ มีความสุขสบายในชาติหน้า ในทางตรงกันข้าม สิ่งที่อยู่ต่ำกว่าเรานั้นไม่มีอำนาจที่จะบันดาลอะไรให้เราได้ หรือไม่ช่วยให้เราสุขสบายขึ้น เราจึงไม่สนใจที่จะช่วยเหลือเผื่อแผ่ให้แก่สิ่งเหล่านั้น

    นั่นแสดงว่าที่เราทำบุญกันมากมายก็เพราะหวังผลประโยชน์ส่วนตัวเป็นสำคัญ ดังนั้น ยิ่งทำบุญด้วยท่าทีแบบนี้ก็ยิ่งเห็นแก่ตัวมากขึ้น ผลคือ จิตใจยิ่งคับแคบ ความเมตตากรุณาต่อผู้ทุกข์ยากมีแต่จะน้อยลง ไม่ต้องสงสัยเลยว่าการทำบุญแบบนี้จะทำให้ได้บุญน้อยลงแน่ แน่นอนว่าประโยชน์ย่อมเกิดแก่ผู้รับอยู่แล้ว เช่น หากถวายอาหาร อาหารนั้นย่อมทำให้พระสงฆ์มีกำลังในการศีกษาปฎิบัติธรรมได้มากขึ้น แต่อานิสงส์ที่จะเกิดแก่ผู้ถวายนั้น ย่อมไม่เต็มเม็ดเต็มหน่วยเพราะเจือด้วยความเห็นแก่ตัว ยิ่งถ้าทำบุญ ๑๐๐ บาท เพราะหวังจะได้เงินล้าน บุญที่เกิดขึ้นย่อมน้อยลงไปอีกเพราะใช่หรือไม่ว่า นี่เป็นการ "ค้ากำไรเกินควร"

    บุญที่ทำในรูปของการถวายทานนั้น ไม่ว่าจะเป็นอาหารหรือเงินก็ตาม จุดหมายสูงสุดอยู่ที่การลดความยึดติดถือมั่นในตัวกู ของกู ยิ่งลดได้มากเท่าไร ก็ยิ่งเข้าใกล้พระนิพพานอันเป็นประโยชน์สูงสุดที่เรียกว่า "ปรมัตถะ" ซึ่งสูงกว่าสวรรค์ในชาติหน้า (สัมปรายิกัตถะ) หรือความมั่งมีศรีสุขในชาตินี้ (ทิฎฐธัมมิกัตถะ) แต่หากทำบุญเพราะหวังแต่ประโยชน์ส่วนตน อยากได้เข้าตัวมากๆ แทนที่จะสละออกไป ก็ยิ่งห่างไกลจากนิพพานหรือกลายเป็นอุปสรรคขวางกั้นนิพพานด้วยซ้ำ อันที่จริงอย่าว่าแต่นิพพานเลย แม้แต่ความสุขในปัจจุบันชาติก็อาจเกิดขึ้นได้ยาก เพราะจิตที่คิดแต่จะเอานั้นเป็นบ่อเกิดแห่งความทุกข์

    บุคคลจะได้ชื่อว่าเป็นคนใจบุญ ไม่ใช่เพราะนิยมทำบุญกับสิ่งที่อยู่สูงกว่าตนเท่านั้น หากยังยินดีที่จะทำบุญกับสิ่งที่เสมอกับตนหรืออยู่ต่ำกว่าคนอีกด้วย แม้เขาจะไม่สามารถให้คุณให้โทษแก่ตนได้ ก็ช่วยเหลือด้วยความเต็มใจ ทั้งนี้ เพราะมิได้หวังผลประโยชน์ใดๆ นอกจากความปรารถนาให้เขาพ้นทุกข์ นี้คือกรุณาที่แท้ในพุทธศาสนา การทำดีโดยหวังผลประโยชน์หรือยังมีการแบ่งแยกและเลือกปฎิบัติอยู่ ย่อมไม่อาจเรียกว่าทำด้วยเมตตากรุณาอย่างแท้จริง

    ในแง่ของชาวพุทธ การช่วยเหลือผู้ที่ทุกข์ยากเดือนร้อน ทั้งๆ ที่เขาไม่สามารถให้คุณให้โทษแก่เราได้เป็นเครื่องฝึกใจให้มีเมตตา กรุณาและลดละความเห็นแก่ตัวได้เป็นอย่างดี ยิ่งทำมากเท่าไร จิตใจก็ยิ่งเปิดกว้าง อัตตาก็ยิ่งเล็กลง ทำให้มีที่ว่างเปิดรับความสุขได้มากขึ้น ยิ่งให้ความสุขแก่เขามากเท่าไร เราเองก็ยิ่งมีความสุขมากเท่านั้น สมดังพุทธพจน์ว่า "ผู้ให้ย่อมได้รับความสุข" เป็นความสุขที่ไม่หวังจะได้รับ แต่ยิ่งไม่อยากก็ยิ่งได้ ในทางตรงข้ามยิ่งอยากก็ยิ่งไม่ได้

    บทความค่อนข้างยาวครับ โปรดอ่านทั้งหมดได้ที่ link นี้
    การทำบุญ.....ที่ถูกลืม :: papamama @ Hunsa I-AM
     
  2. weerachai_12@ho

    weerachai_12@ho เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 มีนาคม 2006
    โพสต์:
    309
    ค่าพลัง:
    +1,022
    สาูธุ ที่ชี้ทางสวรรค์นิพพานที่ละความเห็นแก่ตัว ความแล้งน้ำใจ เป็นกัลยมิตรที่ดี น้อมรับเพื่อโยนิโสมนสิการนำไปใช้ต่อไปเมื่อถึงเวลาอันควร ขอบคุณมากครับ...
     
  3. tjs

    tjs ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 เมษายน 2012
    โพสต์:
    3,654
    ค่าพลัง:
    +20,365
    เธอเหล่านั้น อาศัยทำบุญทานด้วยความศรัทธา ศรัทธาของเธอเหล่านั้นมีมาก็จริงอยู่ แต่ที่สุดแห่งศรัทธา เธอเหล่านั้นสักวันต้องเกิดปัญญา ปัญญาเท่านั้นเป็นเครื่องขัดเกลาจิตใจเธอให้ดีงามอ่อนโยนยิ่งๆขึ้นไป กิเลสคือความเห็นแก่ตัวทั้งหลายจะเบาบางลง จนที่สุดคือเต็มเปี่ยมด้วยความดีเป็นจิตบุญ

    ไม่แปลกที่คนที่ทำบุญทานมามากแต่ยังเห็นแก่ตัว เห็นแก่หน้าตาเกียรติยศชื่อเสียงพวกพ้อง กิเลสเหล่านี้ อันความศรัทธาหรือกำลังบุญแค่นี้ไม่สามารถชำระได้
    ที่สุดแห่งบุญทานเมื่อไหร่ปัญญาย่อมเกิด เมื่อปัญญาเกิดเธอทั้งหลายย่อมเป็นผู้มีกิเลสน้อยลงเพราะบุญทานให้ปัญญาชำระจิตเธอให้ดีงามสะอาดยิ่งๆขึ้นไปแล้วนี่เอง ครับ สาธุ

     

แชร์หน้านี้

Loading...