เทวดาสุภาษิต(พระผู้มีพระภาคตรัสว่า คำของพวกท่านทั้งหมดเป็นสุภาษิต)

ในห้อง 'พุทธศาสนา และ ธรรมะ' ตั้งกระทู้โดย thepkere, 8 พฤษภาคม 2013.

  1. thepkere

    thepkere เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 กุมภาพันธ์ 2012
    โพสต์:
    1,018
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +3,449
    [​IMG]
    สตุลลปกายิกวรรคที่ ๔
    สัพภิสูตรที่ ๑
    [๗๘]
    ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้
    สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อารามของท่าน อนาถบิณฑิก
    เศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี ครั้งนั้นแล เมื่อปฐมยามล่วงไปแล้ว พวกเทวดาสตุลลปกายิกา
    (ผู้เทิดทูนธรรมของสัตบุรุษ) มากด้วยกัน มีวรรณงาม ยังพระวิหารเชตวันให้สว่าง
    ทั่วกัน เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ครั้นแล้ว จึงถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาค แล้วจึง
    ยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ฯ
    [๗๙]
    เทวดาองค์หนึ่ง ครั้นยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่งแล้ว ได้กล่าวคาถานี้ในสำนัก
    พระผู้มีพระภาคว่า
    บุคคลควรนั่งร่วมกับพวกสัตบุรุษ ควรทำความสนิทกับพวกสัตบุรุษ
    บุคคลทราบสัทธรรมของพวกสัตบุรุษแล้ว มีแต่คุณอันประเสริฐ ไม่มี
    โทษอันลามกเลย ฯ

    [๘๐]
    ลำดับนั้น เทวดาอื่นอีกได้กล่าวคาถานี้ในสำนักพระผู้มีพระภาคว่า
    บุคคลควรนั่งร่วมกับพวกสัตบุรุษ ควรทำความสนิทกับพวกสัตบุรุษ
    บุคคลทราบสัทธรรมของพวกสัตบุรุษแล้ว ย่อมได้ปัญญา หาได้ปัญญาแต่
    คนอันธพาลอื่นไม่ ฯ

    [๘๑]
    ลำดับนั้นแล เทวดาอื่นอีกได้กล่าวคาถานี้ในสำนักพระผู้มีพระภาคว่า
    บุคคลควรนั่งร่วมกับพวกสัตบุรุษ ควรทำความสนิทกับพวกสัตบุรุษ
    บุคคลทราบสัทธรรมของพวกสัตบุรุษแล้ว ย่อมไม่เศร้าโศก ในท่าม
    กลางแห่งเรื่องเป็นที่ตั้งแห่งความเศร้าโศก ฯ

    [๘๒]
    ลำดับนั้นแล เทวดาอื่นอีกได้กล่าวคาถานี้ในสำนักพระผู้มีพระภาคว่า
    บุคคลควรนั่งร่วมกับพวกสัตบุรุษ ควรทำความสนิทกับพวกสัตบุรุษ
    บุคคลทราบสัทธรรมของพวกสัตบุรุษแล้ว ย่อมไพโรจน์ในท่ามกลาง
    แห่งญาติ ฯ

    [๘๓]
    ลำดับนั้นแล เทวดาอื่นอีกได้กล่าวคาถานี้ในสำนักพระผู้มีพระภาคว่า
    บุคคลควรนั่งร่วมกับพวกสัตบุรุษ ควรทำความสนิทกับพวกสัตบุรุษ
    สัตว์ทั้งหลายทราบสัทธรรมของพวกสัตบุรุษแล้วย่อมไปสู่สุคติ ฯ

    [๘๔]
    ในลำดับนั้นแล เทวดาอื่นอีก ได้กล่าวคาถานี้ในสำนักพระผู้มีพระภาคว่า
    บุคคลควรนั่งร่วมกับพวกสัตบุรุษ ควรทำความสนิทกับพวกสัตบุรุษ
    สัตว์ทั้งหลายทราบสัทธรรมของพวกสัตบุรุษแล้วย่อมดำรงอยู่สบาย
    เนืองๆ ฯ

    ในลำดับนั้นแล เทวดาอื่นอีก ได้กราบทูลคำนี้กะพระผู้มีพระภาคว่า
    ข้าแต่พระผู้มีพระภาค คำของใครหนอแลเป็นสุภาษิต ฯ
    [๘๕]
    พระผู้มีพระภาคตรัสบอกว่า คำของพวกท่านทั้งหมดเป็นสุภาษิต
    โดยปริยาย ก็แต่พวกท่านจงฟังซึ่งคำของเราบ้าง

    บุคคลควรนั่งร่วมกับพวกสัตบุรุษ ควรทำความสนิทกับพวกสัตบุรุษ
    บุคคลทราบสัทธรรมของพวกสัตบุรุษแล้ว ย่อมพ้นจากทุกข์ทั้งปวง ฯ


    มัจฉริยสูตรที่ ๒
    [๘๖]
    สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อารามของท่าน
    อนาถบิณฑิตเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี ครั้งนั้นแล เมื่อปฐมยามล่วงไป แล้ว พวกเทวดา
    สตุลลปกายิกามากด้วยกัน มีวรรณงาม ยังพระวิหารเชตวันทั้งสิ้นให้สว่าง เข้าไปเฝ้า
    พระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ครั้นแล้วจึงถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาค แล้วยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วน
    ข้างหนึ่ง ฯ
    [๘๗]
    เทวดาตนหนึ่ง ครั้นยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่งแล้ว ได้กล่าวคาถานี้ในสำนักพระผู้มีพระภาคว่า
    เพราะความตระหนี่ และความประมาทอย่างนี้ บุคคลจึงให้ทานไม่ได้
    บุคคลผู้หวังบุญ รู้แจ้งอยู่ พึงให้ทานได้ ฯ

    [๘๘]
    ในลำดับนั้นแล เทวดาอื่นอีก ได้กล่าวคาถาทั้งหลายนี้ในสำนักพระผู้มีพระภาคว่า
    คนตระหนี่กลัวภัยใดย่อมให้ทานไม่ได้ ภัยนั้นนั่นแลย่อมมีแก่คน
    ตระหนี่ผู้ไม่ให้ทาน คนตระหนี่ย่อมกลัวความหิวและความกระหายใด
    ความหิวและความกระหายนั้นย่อมถูกต้องคนตระหนี่นั้นนั่นแลผู้เป็น
    พาลทั้งในโลกนี้และในโลกหน้า ฉะนั้นบุคคลควรกำจัดความตระหนี่อัน
    เป็นสนิมในใจ ให้ทานเถิดเพราะบุญทั้งหลายย่อมเป็นที่พึ่งของสัตว์
    ทั้งหลายในโลกหน้า ฯ

    [๘๙]
    ในลำดับนั้นแล เทวดาอื่นอีก ได้กล่าวคาถาทั้งหลายนี้ในสำนัก พระผู้มีพระภาคว่า
    ชนทั้งหลายเหล่าใด เมื่อของมีน้อยก็แบ่งให้ เหมือนพวกเดินทางไกล
    ก็แบ่งของให้แก่พวกที่เดินทางร่วมกัน ชนทั้งหลายเหล่านั้น เมื่อบุคคล
    ทั้งหลายเหล่าอื่นตายแล้ว ก็ชื่อว่าย่อมไม่ตาย ธรรมนี้เป็นของบัณฑิตแต่
    ปางก่อน ชนพวกหนึ่งเมื่อของมีน้อยก็แบ่งให้ ชนพวกหนึ่งมีของมากก็
    ไม่ให้ ทักษิณาที่ให้แต่ของน้อย นับเสมอด้วยพัน ฯ

    [๙๐]
    ในลำดับนั้นแล เทวดาอื่นอีก ได้กล่าวคาถาทั้งหลายนี้ในสำนักพระผู้มีพระภาคว่า
    ทาน พวกพาลชนเมื่อให้ ให้ได้ยาก กุศลธรรม พวกพาลชนเมื่อทำ
    ทำได้ยาก พวกอสัตบุรุษย่อมไม่ทำตาม ธรรมของสัตบุรุษ อันพวก
    อสัตบุรุษดำเนินตามได้แสนยาก เพราะฉะนั้น การไปจากโลกนี้ของพวก
    สัตบุรุษและของพวกอสัตบุรุษจึงต่างกัน พวกอสัตบุรุษย่อมไปสู่นรก พวก
    สัตบุรุษย่อมเป็นผู้ดำเนินไปสู่สวรรค์ ฯ


    ในลำดับนั้นแล เทวดาอื่นอีก ได้กราบทูลคำนี้กะพระผู้มีพระภาคว่า
    ข้าแต่พระผู้มีพระภาค คำของใครหนอแลเป็นสุภาษิต ฯ
    [๙๑]
    พระผู้มีพระภาคตรัสว่า คำของพวกท่านทั้งหมดเป็นสุภาษิตโดยปริยาย ก็แต่
    พวกท่านจงฟังซึ่งคำของเราบ้าง

    บุคคลแม้ใด ย่อมประพฤติธรรม ประพฤติสะอาด เป็นผู้เลี้ยงภริยา
    และเมื่อของมีน้อยก็ให้ได้ เมื่อบุรุษแสนหนึ่งบูชาภิกษุพันหนึ่ง หรือ
    บริจาคทรัพย์พันกหาปณะ การบูชาของบุคคลเหล่านั้น ย่อมไม่ถึงส่วน
    ร้อย ของบุคคลอย่างนั้น ฯ


    [๙๒]
    ในลำดับนั้นแล เทวดาอื่นอีก ได้กล่าวกะพระผู้มีพระภาคด้วยคาถาว่า
    การบูชาอันไพบูลย์ใหญ่โตนี้ ย่อมไม่เท่าถึงส่วนแห่งทานที่บุคคลให้
    ด้วยความประพฤติธรรม เพราะเหตุอะไร เมื่อบุรุษแสนหนึ่งบูชาภิกษุ
    พันหนึ่ง หรือบริจาคทรัพย์พันกหาปณะการบูชาของบุรุษเหล่านั้นย่อม
    ไม่ถึงส่วนร้อยของบุคคลอย่างนั้น ฯ

    [๙๓]
    ในลำดับนั้นแล พระผู้มีพระภาคได้ตรัสกะเทวดานั้นด้วย พระคาถาว่า
    บุคคลเหล่าหนึ่ง ตั้งอยู่ในกรรมปราศจากความสงบ (ปราศจากธรรม)
    โบยเขา ฆ่าเขา ทำให้เขาเศร้าโศกแล้วให้ทานทานนั้นจัดว่าทาน
    มีหน้าอันนองด้วยน้ำตา จัดว่าทานเป็นไปกับด้วยอาชญา จึงย่อมไม่เท่า
    ถึงส่วนแห่งทานที่ให้ด้วยความสงบ(ประพฤติธรรม) เมื่อบุรุษแสนหนึ่ง
    บูชาภิกษุพันหนึ่ง หรือบริจาคทรัพย์พันกหาปณะ การบูชาของบุรุษ
    เหล่านั้น ย่อมไม่ถึงส่วนร้อยของบุคคลอย่างนั้น โดยนัยอย่างนี้ ฯ


    สาธุสูตรที่ ๓
    [๙๔]
    ครั้งนั้นแล เมื่อปฐมยามล่วงไปแล้ว พวกเทวดาสตุลลปกายิกามากด้วยกัน
    มีวรรณงาม ยังพระวิหารเชตวันทั้งสิ้นให้สว่าง เข้าไปเฝ้าพระผู้มี พระภาคถึงที่
    ประทับ ครั้นถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาคแล้ว จึงได้ยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ฯ
    [๙๕]
    เทวดาองค์หนึ่ง ครั้นยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่งแล้ว ได้เปล่งอุทานนี้ในสำนักพระผู้มีพระภาคว่า
    ข้าแต่พระองค์ผู้ไม่มีทุกข์ ทานยังประโยชน์ให้สำเร็จได้แลเพราะความ
    ตระหนี่และความประมาทอย่างนี้ บุคคลจึงให้ทานไม่ได้ อันบุคคล
    ผู้หวังบุญ รู้แจ้งอยู่ พึงให้ทานได้ ฯ

    [๙๖]
    ในลำดับนั้นแล เทวดาอื่นอีก ได้เปล่งอุทานนี้ในสำนักพระผู้มีพระภาคว่า
    ข้าแต่พระองค์ผู้ไม่มีทุกข์ ทานยังประโยชน์ให้สำเร็จได้แลอนึ่ง แม้เมื่อ
    ของมีอยู่น้อย ทานก็ยังประโยชน์ให้สำเร็จได้บุคคลพวกหนึ่ง เมื่อของ
    มีน้อย ย่อมแบ่งให้ได้ บุคคลพวกหนึ่ง มีของมากก็ให้ไม่ได้ ทักษิณา
    ที่ให้แต่ของน้อย ก็นับเสมอด้วยพัน ฯ

    [๙๗]
    ในลำดับนั้นแล เทวดาอื่นอีก ได้เปล่งอุทานนี้ในสำนักพระผู้มีพระภาคว่า
    ข้าแต่พระองค์ผู้ไม่มีทุกข์ ทานยังประโยชน์ให้สำเร็จได้แลแม้เมื่อ
    ของมีอยู่น้อย ทานก็ยังประโยชน์ให้สำเร็จได้ อนึ่งทานที่ให้แม้ด้วยศรัทธา
    ก็ยังประโยชน์ให้สำเร็จได้ นักปราชญ์ทั้งหลายกล่าวว่าทานและการรบ
    เสมอกัน พวกวีรบุรุษแม้มีน้อย ย่อมชนะคนขลาดที่มากได้ ถ้าบุคคล
    เชื่ออยู่ย่อมให้สิ่งของแม้น้อยได้ เพราะฉะนั้นแล ทายกนั้นย่อมเป็นผู้มี
    ความสุขในโลกหน้า ฯ

    [๙๘]
    ในลำดับนั้นแล เทวดาอื่นอีก ได้เปล่งอุทานนี้ในสำนักพระผู้มีพระภาคว่า
    ข้าแต่พระองค์ผู้ไม่มีทุกข์ ทานยังประโยชน์ให้สำเร็จได้แลแม้เมื่อของ
    มีอยู่น้อย การให้ทานได้เป็นการดี อนึ่ง ทานที่ให้แม้ด้วยศรัทธาก็ยัง
    ประโยชน์ให้สำเร็จได้ อนึ่ง ทานที่ให้แก่บุคคลผู้มีธรรมอันได้แล้ว
    ยิ่งเป็นการดี บุคคลใดเกิดมาย่อมให้ทานแก่ผู้มีธรรมอันได้แล้ว ผู้มี
    ธรรมอันบรรลุแล้วด้วยความหมั่นและความเพียร บุคคลนั้นล่วงพ้นนรก
    แห่งยมราช ย่อมเข้าถึงสถานอันเป็นทิพย์ ฯ

    [๙๙]
    ในลำดับนั้นแล เทวดาอื่นอีก ได้เปล่งอุทานนี้ในสำนักพระผู้มีพระภาคว่า
    ข้าแต่พระองค์ผู้ไม่มีทุกข์ ทานยังประโยชน์ให้สำเร็จได้แล แม้เมื่อของ
    มีอยู่น้อย การให้ทานได้เป็นการดี ทานที่ให้แม้ด้วยศรัทธาก็ยัง
    ประโยชน์ให้สำเร็จได้ ทานที่ให้แก่บุคคลผู้มีธรรมอันได้แล้ว ยิ่งเป็น
    การดี อนึ่ง ทานที่บุคคลเลือกให้ยิ่งเป็นการดี ทานที่เลือกให้ พระสุคต
    ทรงสรรเสริญแล้วบุคคลทั้งหลายผู้ควรแก่ทักษิณา ย่อมมีอยู่ในโลกคือ
    หมู่สัตว์นี้ ทานทั้งหลาย อันบุคคลให้แล้วในบุคคลทั้งหลายนั้น ย่อม
    มีผลมาก เหมือนพืชทั้งหลายที่บุคคลหว่านแล้วในนาดี ฯ

    [๑๐๐]
    ในลำดับนั้นแล เทวดาอื่นอีก ได้เปล่งอุทานนี้ในสำนักพระผู้มีพระภาคว่า
    ข้าแต่พระองค์ผู้ไม่มีทุกข์ ทานยังประโยชน์ให้สำเร็จได้แล แม้เมื่อของ
    มีอยู่น้อย การให้ทานได้เป็นการดี ทานที่ให้แม้ด้วยศรัทธาก็ให้
    ประโยชน์สำเร็จได้ ทานที่ให้แก่บุคคลผู้มีธรรมอันได้แล้วยิ่งเป็นการดี
    อนึ่ง ทานที่บุคคลเลือกให้ยิ่งเป็นการดี อนึ่ง ความสำรวมแม้ในสัตว์
    ทั้งหลายยิ่งเป็นการดีบุคคลใดประพฤติเป็นผู้ไม่เบียดเบียนสัตว์ทั้งหลาย
    อยู่ ไม่ทำบาป เพราะกลัวความติเตียนแห่งผู้อื่น บัณฑิตทั้งหลายย่อม
    สรรเสริญบุคคลซึ่งเป็นผู้กลัวบาป แต่ไม่สรรเสริญบุคคลผู้กล้าในการ
    ทำบาปนั้น สัตบุรุษทั้งหลายย่อมไม่ทำบาป เพราะความกลัวบาป
    แท้จริง ฯ


    ในลำดับนั้นแล เทวดาอื่นอีก ได้กล่าวคำนี้กะพระผู้มีพระภาคว่า
    ข้าแต่พระผู้มีพระภาค คำของใครหนอแลเป็นสุภาษิต ฯ
    [๑๐๑]
    พระผู้มีพระภาคตรัสว่า คำของพวกท่านทั้งหมดเป็นสุภาษิต โดยปริยาย
    แต่ว่าพวก ท่านจงฟังซึ่งคำของเราบ้าง

    ก็ทานอันบัณฑิตสรรเสริญแล้วโดยส่วนมากโดยแท้ ก็แต่ธรรมบท
    ( นิพพาน) แหละประเสริฐว่าทาน เพราะว่าสัตบุรุษทั้งหลายผู้มีปัญญา
    ในกาลก่อนก็ดี ในกาลก่อนกว่าก็ดี บรรลุซึ่งนิพพานแล้วแท้จริง ฯ


    พระไตรปิฎก ฉบับบาลีสยามรัฐ (ภาษาไทย) เล่มที่ ๑๕
    พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๗ สังยุตตนิกาย สคาถวรรค
    หน้าที่ ๒๐/๒๘๙
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • w049.jpg
      w049.jpg
      ขนาดไฟล์:
      255 KB
      เปิดดู:
      644
  2. thepkere

    thepkere เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 กุมภาพันธ์ 2012
    โพสต์:
    1,018
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +3,449
    ชนเหล่าใด จักนับถือถ้อยคำของเรานั้นว่า เป็นถ้อยคำอันตนควรฟัง ควรเชื่อ
    ความนับถือของชนเหล่านั้น จักเป็นไปเพื่อประโยชน์ เพื่อสุขตลอดกาลนาน.

    พระผู้มีพระภาคผู้พระสุคตศาสดา ครั้นตรัสไวยากรณ์ภาษิตนี้จบแล้ว จึงได้ตรัสคาถา
    ประพันธ์ต่อไปอีกว่า

    โลกนี้และโลกหน้า เราผู้รู้อยู่ ประกาศดีแล้ว เราเป็นผู้ตรัสรู้เอง
    ทราบชัดซึ่งสรรพโลก ทั้งที่เป็นโลกอันมารถึงได้ ทั้งที่เป็นโลกอัน
    มัจจุถึงไม่ได้ด้วยความรู้ยิ่ง จึงได้เปิดอริยมรรคอันเป็นประตูแห่งอมตะ
    เพื่อให้ถึงนิพพานอันเป็นแดนเกษม กระแสแห่งมารอันลามก เราตัดแล้ว
    กำจัดแล้ว ทำให้ปราศจากความเหิมแล้ว ดูกรภิกษุทั้งหลาย พวกเธอจง
    เป็นผู้มากด้วยความปราโมทย์ ปรารถนาถึงธรรมอันเป็นแดนเกษมเถิด
    ดังนี้
    .

    จบ จูฬโคปาลสูตร ที่ ๔.
    พระไตรปิฎก ฉบับบาลีสยามรัฐ (ภาษาไทย) เล่มที่ ๑๒
    พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๔ มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์
    หน้าที่ ๒๙๘/๔๓๐
     
  3. thepkere

    thepkere เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 กุมภาพันธ์ 2012
    โพสต์:
    1,018
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +3,449
    พระผู้มีพระภาคทรงตรวจดูสัตวโลกด้วยพุทธจักษุ ได้ทรงเห็นสัตว์ทั้งหลาย บางพวก
    มีธุลีคือกิเลสในจักษุน้อย บางพวกมีธุลีคือกิเลสในจักษุมาก บางพวกมีอินทรีย์แก่กล้า
    บางพวกมีอินทรีย์อ่อน บางพวกมีอาการดี บางพวกมีอาการทราม บางพวกสอนให้รู้ได้ง่าย
    บางพวกสอนให้รู้ได้ยาก บางพวกมีปกติเห็นปรโลกและโทษโดยความเป็นภัยอยู่ ฉันนั้น
    เหมือนกัน ครั้นแล้วได้ตรัสคาถาตอบท้าวสหัมบดีพรหมว่า ดังนี้:-
    เราเปิดประตูอมตะแก่ท่านแล้ว สัตว์เหล่าใดจะฟัง
    จงปล่อยศรัทธามาเถิด ดูกรพรหม เพราะเรา
    มีความสำคัญในความลำบาก จึงไม่แสดงธรรม
    ที่เราคล่องแคล่ว ประณีต ในหมู่มนุษย์.

    ครั้นท้าวสหัมบดีพรหมทราบว่า พระผู้มีพระภาคทรงประทานโอกาสเพื่อจะแสดงธรรม
    แล้ว จึงถวายบังคมพระผู้มีพระภาคทำประทักษิณแล้ว อันตรธานไปในที่นั้นแล.

    พรหมยาจนกถา จบ
    _____________
    พระไตรปิฎก ฉบับบาลีสยามรัฐ (ภาษาไทย) เล่มที่ ๔
    พระวินัยปิฎก เล่มที่ ๔ มหาวรรค ภาค ๑
    หน้าที่ ๑๑/๓๐๔
     
  4. thepkere

    thepkere เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 กุมภาพันธ์ 2012
    โพสต์:
    1,018
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +3,449
    (คำตถาคต สีน้ำเงิน ให้ความหมายลึกและกว้างกว่าและถูกมากกว่าเต็มสมบูรณ์ที่สุด มีใครคิดอย่างผมบ้างไหมครับ)
    ย่อมพ้นจากทุกข์ทั้งปวง ฯ


    (๑)มีแต่คุณอันประเสริฐ ไม่มีโทษอันลามกเลย ฯ

    (๒)ย่อมได้ปัญญา หาได้ปัญญาแต่คนอันธพาลอื่นไม่ ฯ

    (๓)ย่อมไม่เศร้าโศก ในท่ามกลางแห่งเรื่องเป็นที่ตั้งแห่งความเศร้าโศก ฯ

    (๔)ย่อมไพโรจน์ในท่ามกลางแห่งญาติ ฯ

    (๕)ย่อมไปสู่สุคติ ฯ

    (๖)ย่อมดำรงอยู่สบายเนืองๆ ฯ

     
  5. thepkere

    thepkere เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 กุมภาพันธ์ 2012
    โพสต์:
    1,018
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +3,449
    บุคคลควรนั่งร่วมกับพวกสัตบุรุษ ควรทำความสนิทกับพวกสัตบุรุษ
    บุคคลทราบสัทธรรมของพวกสัตบุรุษแล้ว

    ย่อมพ้นจากทุกข์ทั้งปวง ฯ
     

แชร์หน้านี้

Loading...