โรงเรียนวัฒนธรรมเด็กกำพร้าน้ำพระทัยของราชวงศ์ไทยสู่เด็กน้อยชาวลาว

ในห้อง 'ข่าวทั่วไป' ตั้งกระทู้โดย NoOTa, 30 ตุลาคม 2007.

  1. NoOTa

    NoOTa Super Moderator ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มิถุนายน 2005
    โพสต์:
    20,125
    กระทู้เรื่องเด่น:
    349
    ค่าพลัง:
    +64,494
    'โรงเรียนวัฒนธรรมเด็กกำพร้า'น้ำพระทัยของราชวงศ์ไทยสู่เด็กน้อยชาวลาว

    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=4 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=headline vAlign=baseline align=left>จากฝั่งซ้ายแม่น้ำโขง ถึงริมฝั่งเจ้าพระยา 'โรงเรียนวัฒนธรรมเด็กกำพร้า' น้ำพระทัยของราชวงศ์ไทยสู่เด็กน้อยชาวลาว</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD bgColor=#cccccc height=1>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=4 border=0><TBODY><TR><TD class=body vAlign=baseline align=left>โดย ผู้จัดการรายวัน</TD><TD class=date vAlign=baseline align=left>29 ตุลาคม 2550 09:21 น.</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=4 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=center align=middle>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=4 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=center align=middle>
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 border=0><TBODY><TR><TD vAlign=bottom align=right width=1 height=1>[​IMG]</TD><TD vAlign=bottom align=middle background=/images/linedot_hori.gif height=1>[​IMG]</TD><TD vAlign=bottom align=left width=1 height=1>[​IMG]</TD></TR><TR><TD vAlign=center align=middle width=1 background=/images/linedot_vert.gif>[​IMG]</TD><TD><TABLE cellSpacing=5 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=center align=middle>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE></TD><TD vAlign=center align=middle width=1 background=/images/linedot_vert.gif>[​IMG]</TD></TR><TR><TD vAlign=top align=right width=1 height=1>[​IMG]</TD><TD vAlign=top align=middle background=/images/linedot_hori.gif height=1>[​IMG]</TD><TD vAlign=top align=left width=1 height=1>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE>
    </TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=bottom align=left height=12>[​IMG]</TD></TR><TR><TD bgColor=#cccccc><TABLE cellSpacing=1 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle bgColor=#ffffff><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%"><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle width=160><TABLE cellSpacing=4 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=body vAlign=baseline align=middle>คลิกที่ภาพเพื่อดูขนาดใหญ่ขึ้น</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=center align=middle>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=center align=middle>[​IMG]</TD></TR><TR><TD vAlign=baseline align=middle>อ.คำไหว ทองทีมะหาไชย ผอ.โรงเรียนวัฒนธรรมเด็กกำพร้า หลัก 67</TD></TR></TBODY></TABLE>
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=center align=middle>[​IMG]</TD></TR><TR><TD vAlign=baseline align=middle>โรงเลี้ยงหมูหลังโรงเรียน</TD></TR></TBODY></TABLE>
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=center align=middle>[​IMG]</TD></TR><TR><TD vAlign=baseline align=middle>รอยยิ้มที่ไร้เดียงสา</TD></TR></TBODY></TABLE>
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=center align=middle>[​IMG]</TD></TR><TR><TD vAlign=baseline align=middle>อาคารเรียน</TD></TR></TBODY></TABLE>
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=center align=middle>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=center align=middle>[​IMG]</TD></TR><TR><TD vAlign=baseline align=middle>โรงอาหาร</TD></TR></TBODY></TABLE>
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=center align=middle>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=center align=middle>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=center align=middle>[​IMG]</TD></TR><TR><TD vAlign=baseline align=middle>หม้อหุงข้าวต้มแกงแบบดั้งเดิมที่ต้องใช้ถังน้ำมันมาประยุกต์ ด้วยจำนวนนักเรียนที่มีมากเกือบสองร้อยคน</TD></TR></TBODY></TABLE>
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=center align=middle width=165 height=1>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE></TD><TD width=4 background=/images/linedot_vert3.gif>[​IMG]</TD><TD vAlign=top align=middle><TABLE cellSpacing=7 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=body vAlign=baseline align=left>ห้วงยามที่เสียงสวดมนต์และเพลงพระราชนิพนธ์สดุดีมหาราชาดังกระหึ่มก้องริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา เพื่อถวายพระพรให้สองพระองค์ผู้เป็นหน่อเชื้อพระวงศ์จักรีอันเป็นที่รักยิ่งของปวงชนชาวไทย ทรงหายจากอาการพระประชวร เสียงแห่งความจงรักภักดีนั้นไม่เพียงจำกัดอยู่เพียงริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยาเท่านั้น แต่ยังกระเพื่อมเป็นระลอกคลื่นหนุนเนื่องข้ามไปไกลถึงดินแดนฝั่งซ้ายของแม่น้ำโขง อันเป็นดินแดนของมหามิตรประเทศเพื่อนบ้านของไทยอย่างประเทศลาว

    ไม่เพียงคนไทยที่ซาบซึ้งในน้ำพระราชหฤทัยของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ และบรรดาพระบรมวงศานุวงศ์ที่ทรงมีต่อเหล่าพสกนิกร ชาวลาวส่วนหนึ่งก็ได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากสายธารน้ำพระทัยของพระมหากษัตริย์ไทยที่เผื่อแผ่ไปถึง ปรากฏในรูปของการให้การสนับสนุนโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริแก่ประชาชนลาว ตั้งแต่ชาวนายากไร้ ไปจนถึงเด็กกำพร้าที่ไร้ญาติขาดมิตร

    กิโลเมตร 0 เวียงจันทน์

    'สบายดี' เสียงทักทายที่ได้ยินไม่ขาดเมื่อเหยียบย่างแผ่นดินสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว แววตาใสซื่อ พร้อมรอยยิ้มที่พร้อมจะหยิบยื่นให้ผู้มาเยือนง่ายๆ ทำให้หลายคนหลงมนต์เสน่ห์ประเทศเล็กๆ ที่ไม่มีพรมแดนออกสู่ทะเลแห่งนี้

    แต่ในอีกด้าน ลาวก็พยายามพัฒนาประเทศให้เท่าทันกับเพื่อนบ้านอย่างไทย ทั้งทางด้านเศรษฐกิจ สังคม การศึกษา หรือสาธารณสุข แม้รัฐบาลลาวจะยังสงวนไว้เฉพาะด้านการเมืองและวัฒนธรรมที่ยังคงเป็นแบบอนุรักษ์นิยมเต็มที่ แต่นครหลวงอย่างเวียงจันทน์ในพ.ศ.นี้ ก็เจริญผิดหูผิดตาจนแทบไม่ต่างจากเมืองใหญ่อื่นๆ ของไทย

    กลางเดือนตุลาฯ ในคืนที่ลมหนาวเริ่มโบกโบยจากแม่น้ำโขงขึ้นสู่ฝั่ง นักข่าวต่างสำนักสามชีวิตพากันโบกรถสามล้อเครื่องจากหน้าที่พักริมโขง มุ่งหน้าสู่ถนนสายกลางคืนที่จัดว่าเป็น 'เซ็นเตอร์พอยท์' ของเวียงจันทน์ ด้วยสนนราคาหัวละ 20 บาท ก่อนที่สารถีจะปล่อยพวกเราลงกลางสี่แยกแห่งหนึ่งที่ไม่รู้จักชื่อ

    "นี่น่ะหรือที่ที่เด็กวัยรุ่นลาวชอบมาเที่ยวกัน" นักข่าวหญิงรุ่นพี่คนหนึ่งเอ่ยถามคนขับอย่างไม่ค่อยแน่ใจนัก กับภาพที่เห็นตรงหน้า...

    รถเข็นขายอาหารเครื่องดื่มประมาณ 7-8 คัน กระจายตั้งโต๊ะอยู่บนบาทวิถีริมถนน ประตูร้านค้าส่วนใหญ่ปิดสนิทเกือบหมดแล้ว เหลือเพียงตึกใหญ่ที่เปิดไฟส่องสว่าง ตั้งแผงขายสินค้าอยู่ฝั่งตรงข้าม ซึ่งขนาดของมันนั้นจะเรียกว่าห้างสรรพสินค้าไม่ได้เต็มปากนัก แต่ข้อนี้ไม่น่าแปลกใจเพราะได้รับฟังคำบอกเล่าจากไกด์ชาวลาวก่อนหน้านี้แล้วว่าที่นี่ไม่มีห้างสรรพสินค้าใหญ่ๆ เพราะทางการลาวห้ามสร้างตึกที่มีความสูงเกินกว่า 4 ชั้น

    หลังจากได้รับคำยืนยันว่ามาไม่ผิดที่แล้ว พวกเราก็เลือกหาโต๊ะนั่ง แล้วสั่งน้ำเต้าหู้ร้อนๆ ใส่เฉาก๊วยตามสูตรเวียงจันทน์ พร้อมซาลาเปาอีกสองลูก มานั่งซดดื่มพลางมองภาพวิถีชีวิตของเวียงจันทน์ยามค่ำคืน ลูกค้าส่วนใหญ่ที่เห็นเป็นคนหนุ่มสาว เด็กวัยรุ่นค่อนข้างบางตา ทว่าต่างแต่งตัวอย่างตั้งใจมาประชันกันเต็มที่ เด็กหนุ่มๆ ไว้ผมทรงทันสมัยเฉียบ ที่ขาดไม่ได้คือแจ๊คเก็ตและกางเกงยีน ขณะที่สาวๆ ก็แต่งตัวเหมือนเด็กวัยรุ่นไทยทั่วไป แต่ไม่มีเอวลอยหรือสายเดี่ยว มีบ้างที่ยังคงนุ่งซิ่นให้เห็นพอรู้ว่ากำลังนั่งอยู่ที่ไหน

    แล้วความแปลกใจในตอนแรกก็ได้รับการเฉลย แม่ค้าน้ำเต้าหู้บอกกับเราว่าคืนนั้นมีคอนเสิร์ตที่ศูนย์วัฒนธรรมลาว บรรดาวัยรุ่นส่วนใหญ่ต่างไปรวมตัวกันที่นั่นหมด เมื่อคอนเสิร์ตเลิก จึงค่อยเห็นเด็กหนุ่มสาวกลุ่มใหญ่ทยอยกันมากินน้ำเต้าหู้ที่นี่

    เด็กสาวกลุ่มหนึ่งตรงเข้ามาจับจองที่นั่ง พวกเธอมากันกลุ่มใหญ่ เป็นหญิงล้วนเกือบทั้งหมด มีเด็กสาวในร่างเด็กหนุ่มคนหนึ่งแทรกเข้ามาด้วย ต่างแย่งกันสั่งน้ำเต้าหู้เป็นพัลวัน เรียกเสียงหัวเราะได้อย่างสนุกสนานเมื่อลูกสาวตัวน้อยของเจ้าของร้าน จำรายการที่สั่งสารพัดนั้นไม่ได้ ถึงกับออกปากว่าชักงง

    เสียงหัวเราะเบิกบานนั้นเรียกสายตาจากโต๊ะอื่นให้เหลียวมามอง รวมทั้งโต๊ะของเราด้วย ใบหน้าเยาว์วัยและรอยยิ้มแจ่มใสนั้นทำให้ผู้ที่พบเห็นอดยิ้มตามไปด้วยไม่ได้ แต่แล้วรอยยิ้มสดใสของเหล่าดรุณีแรกรุ่นเหล่านั้นก็ค่อยๆ ถูกแทนที่ด้วยดวงตาหม่นหมองที่ฉายแววเศร้าสร้อยที่เพิ่งพบเห็นมาเมื่อตอนกลางวัน

    กิโลเมตรที่ 67

    ห่างจากนครหลวงเวียงจันทน์ไปทางทิศเหนือประมาณ 67 กิโลเมตร แยกจากถนนใหญ่ที่ลาดยางเรียบสู่ถนนดินแดงตัดแยกสู่ถนนเล็กๆ ที่ตัดผ่านป่าเขาเขียวขจีและโรงเลื่อยไม้ขนาดใหญ่ที่มีไม้ซุงขนาดหลายคนโอบทอดวางให้เห็นระเกะระกะ จุดหมายปลายทางคือ ที่ตั้งของโรงเรียนวัฒนธรรมเด็กกำพร้าหลักที่ 67

    เมื่อมหาสงครามอินโดจีนครั้งที่ 2 อุบัติขึ้นในภูมิภาคเอเชียอาคเนย์แห่งนี้ ประเทศลาวถูกใช้เป็นเส้นทางยุทธศาสตร์ทางการทหารเพื่อสู้รบ ผลพวงจากสงครามนั้นก่อให้เกิดสงครามกลางเมืองและรัฐประหารในลาวหลายครั้งด้วยกัน ชาวลาวจำนวนมากต้องบาดเจ็บล้มตายราวใบไม้ร่วง เด็กลาวนับหมื่นต้องกลายเป็นเด็กกำพร้าไร้ญาติขาดมิตร

    โดยเฉพาะในแขวงเชียงขวาง ที่เคยเป็นสมรภูมิรบอันดุเดือดนับครั้งไม่ถ้วน เพราะในอดีตเชียงขวางคือจุดยุทธศาสตร์สำคัญแห่งหนึ่งของประเทศลาว ซึ่งตั้งอยู่ทางตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศ อยู่ห่างจากนครเวียงจันทน์ประมาณ 400 กิโลเมตร และจากเมืองโพนสะหวันซึ่งเป็นเมืองหลวงของเชียงขวาง ไปสิ้นสุดที่ด่านน้ำกลั่น ชายแดนทางตอนเหนือของประเทศเวียดนามระยะทางเพียงแค่ 130 กิโลเมตร ในช่วงสงครามอินโดจีนเส้นทางสายนี้จึงเคยใช้เป็นเส้นทางส่งกำลังบำรุงรวมทั้งอาวุธยุโธปกรณ์ต่างๆจากประเทศเวียดนามเหนือ สู่ขบวนการประเทศลาวซึ่งในขณะนั้นเป็นพันธมิตรซึ่งกันและกัน

    ความที่อยู่ใกล้เวียดนามเหนือทำให้ขบวนการลาวตัดสินใจตั้งกองบัญชาการใหญ่ขึ้นที่นี่ กองทัพอากาศอเมริกันจึงส่งเครื่องบินทิ้งระเบิด บี 52 เข้ามาทิ้งระเบิดปูพรมหมายทำลายล้างขบวนการลาวอย่างหนัก หมู่บ้านใหญ่น้อยหลายร้อยแห่งตลอดจนวัดวาอารามถูกทำลายแทบทั้งหมด ส่งผลให้ราษฏรและทหารฝ่ายขบวนการประเทศลาวต้องอพยพเข้าไปอยู่ตามถ้ำและหุบเขาทั่วไปในแขวงเชียงขวางและข้างเคียง

    แม้สงครามอินโดจีนจะผ่านพ้นไปสามสิบกว่าปีแล้ว แต่บาดแผลจากสงครามยังคงมีร่องรอยให้เห็นอยู่โดยทั่วไปในประเทศลาว ไม่เพียงแต่ความเสียหายทางด้านวัตถุเท่านั้น แต่บาดแผลในจิตใจยังยากสมาน และทิ้งผลพวงแห่งสงครามที่กลายเป็นบาดแผลเรื้อรังที่รักษาไม่หายติดตามมาอีกหลายสิบปี นั่นคือ 'ความยากจน'

    อาจารย์คำไหว ทองทีมะหาไชย ผู้อำนวยการโรงเรียนวัฒนธรรมเด็กกำพร้าหลักที่ 67 กล่าวถึงความเป็นมาของโรงเรียนแห่งนี้ว่า ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 7 พฤศจิกายน พ.ศ.2519 โดยทุนของรัฐบาลลาวในยุคนั้น ที่ได้จัดตั้งโรงเรียนขึ้นเพื่อรวบรวมเด็กกำพร้าที่พ่อแม่เสียชีวิตจากสงครามอินโดจีนทั่วประเทศมาดูแล ท่ามกลางการสนับสนุนขององค์การสากลนานาชาติ จนถึงวันนี้ก็ล่วงผ่านมากว่า 30 ปีแล้ว ปัจจุบัน เด็กกำพร้าจากสงครามอินโดจีนแทบไม่เหลืออยู่แล้ว ต่างเติบโตเป็นผู้ใหญ่ไปหมด จะมีก็แต่เด็กกำพร้าและเด็กยากไร้อนาถาจากพื้นที่แขวงต่างๆ ของลาวเท่านั้นที่ทางโรงเรียนคัดเลือกมาดูแล

    ต่อมา สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จฯ เยือนสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ครั้งแรกระหว่างวันที่ 15-22 มีนาคม 2533 ได้มีผู้มีจิตศรัทธาบริจาคทุนทรัพย์โดยเสด็จพระราชกุศลเป็นเงิน 12 ล้านกีบ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้นำเงินไปก่อสร้างเรือนนอนให้แก่โรงเรียนวัฒนธรรมเด็กกำพร้า ที่ทรงพระราชทานชื่อว่า "อาคารสิรินธร" โดยมีพระราชดำริที่จะช่วยเหลือนักเรียนให้มีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น ในรูปแบบของโครงการเกษตรเพื่ออาหารกลางวัน ซึ่งนำแนวทางที่ดำเนินการในประเทศไทยมาประยุกต์ใช้ ส่งเสริมให้มีการเลี้ยงปลาในหนองคู่ เลี้ยงปลาในบ่อดิน การเลี้ยงสุกร รวมถึงการจัดทำแปลงการเกษตรและส่งเสริมการปลูกผักอินทรีย์

    นอกจากนี้ ยังทรงสนับสนุนการประกอบอาชีพเสริม อาทิ อบรมการทำขนม อบรมช่างไฟฟ้า ช่างไม้ ฯลฯ โดยสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษาของไทย เพื่อให้นักเรียนมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น มีการกองทุนหมุนเวียน โรงเรียนได้จัดตั้งสหกรณ์โรงเรียน (ร้าน - ดื่มของโรงเรียน) เพื่อจำหน่ายสินค้าอุปโภค - บริโภค ของใช้ประจำวัน ให้แก่บุคลากรในโรงเรียนโดยใช้เงินทุนจากการจำหน่ายสินค้าในงานเลี้ยงน้ำชา ณ สถานเอกอัครราชทูต ภายใต้การดูแลและสนับสนุนของสำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ (กปร.)

    อาคารเรือนนอนไม้เก่าแก่ถูกปรับปรุงให้ดีขึ้น จากสภาพเดิมที่แทบจะเรียกได้ว่าเป็นที่ไว้ซุกหัวนอนจริงๆ ตลอดจนได้ก่อสร้างและปรับปรุงอาคารเรียน พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานให้จัดทำระบบสาธารณูปโภคด้านน้ำอุปโภค - บริโภค ปรับปรุงสโมสร โรงครัวและโรงอาหารให้ถูกสุขลักษณะและเหมาะสมกับสภาพชีวิตความเป็นอยู่ของนักเรียน ในปีการศึกษา 2550 โรงเรียนฯ มีนักเรียนทั้งสิน 717 คน เป็นหญิง 250 คน และ ชาย 467 คน มีครูและเจ้าหน้าที่ 115 คน

    และเป็นพระมหากรุณาธิคุณต่อเด็กกำพร้าชาวลาวอย่างล้นพ้น เมื่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้พระราชทานอุปกรณ์การศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียมแก่โรงเรียนแห่งนี้ เพื่อถ่ายทอดความรู้และประสบการณ์ในด้านการจัดการเทคโนโลยีและวัฒนธรรมใหม่ของการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม เด็กๆ ชาวลาวจึงได้มีโอกาสเรียนรู้วิชาการต่างๆ เช่นเดียวกับเด็กไทย

    ญิงฮั่ว บุญนำ เป็นเด็กกำพร้าชาวลาวผู้หนึ่งที่ทางการลาวได้รับมาอุปถัมภ์ที่โรงเรียนแห่งนี้ พ่อแม่ของเธอเสียชีวิตจากไปตั้งแต่อายุไม่ถึง 10 ขวบ ญาติพี่น้องของเธอเองก็ยากจนไม่มีใครสามารถรับเธอไปเลี้ยงดูได้ โชคดีที่ญิงฮั่วได้รับการคัดเลือกจากจำนวนเด็กกำพร้าอีกนับพัน ให้มีโอกาสจากบ้านที่แขวงอุดมไชยมาเล่าเรียนที่นี่

    ญิงฮั่วเล่าว่าเธอเพื่อนๆ แต่ละคนก็มาจากคนละที่กัน แต่ก็ได้มาเรียนรู้ และกินนอนร่วมกันที่โรงเรียนแห่งนี้ ส่วนอาหารการกินแม้จะมีเพียงวันละสองมื้อ แต่ญิงฮั่วถือว่านั่นดีมากแล้ว เพราะหากไม่ได้เรียนที่นี่ คงไม่มีแม้แต่จะกินสักมื้อ

    "ตอนอยู่ที่บ้านก็พออยู่พอกินเพราะว่ามีพ่อแม่เลี้ยงดูอยู่ แต่ว่าเมื่อพ่อแม่ได้สูญเสียไปแล้ว ชีวิตก็มีการทรุดโทรมลง จึงมีโอกาสที่ได้รับจากองค์การจัดตั้งให้เข้ามาเรียนโรงเรียนแห่งนี้ ครูอาจารย์ที่โรงเรียนก็ได้ให้ความอบอุ่นแก่นักเรียนดีโดยตลอดมา เพิ่นก็ได้สอนให้นักเรียนมีความรู้ในวิชาการต่างๆ และมีคุณสมบัติที่ดี เรื่องการศึกษาทางไกลก็ได้ให้ความรู้หลายอย่าง ไม่ว่าจะเป็นภาษาอังกฤษ หรือว่าภาษาไทย ซึ่งโรงเรียนก็ได้มีโทรทัศน์สอนในแต่ละห้อง ทำให้เราได้ความรู้จากการศึกษาทางไกลจากประเทศไทยในหลายด้าน"

    ระบบการศึกษาลาวต่างจากไทย ตรงที่ประเทศลาวนั้นจะเรียนชั้นประถมศึกษาแค่ 5 ปี, มัธยมศึกษา 6 ปี ต่อด้วยระดับอุดมศึกษาอีก 5 ปี ตามระเบียบแล้ว นักเรียนที่โรงเรียนวัฒนธรรมเด็กกำพร้าหลักที่ 67 เมื่อจบการศึกษาไปแล้ว ทางการจะเป็นผู้พิจารณาเองว่าใครเหมาะสมกับการศึกษาต่อทางด้านสาขาวิชาใด โดยมากเด็กๆ มักจะได้ไปเรียนต่อที่โรงเรียนฝึกอาชีพ ดังเช่นที่ญิงฮั่วบอกว่า "เมื่อน้องเรียนจบแล้ว อาชีพก็แล้วแต่ทางองค์การจัดตั้งเพิ่นจะส่งไป จะไปเรียนวิชาอาชีพใดก็แล้วแต่ความรู้ของพวกน้องที่มีอยู่ จริงๆ แล้วน้องก็อยากจะเป็นตำรวจ แต่บ่ฮู้ว่าทางองค์การจัดตั้งเพิ่นจะส่งไปทางใด"

    เช่นเดียวกับ ทิพพาพอน วงสา นักเรียนชั้น ม.6 ที่เกือบพลาดโอกาสได้เรียนต่อแล้ว เมื่อพ่อที่เลี้ยงดูเธอมาเสียชีวิตกะทันหันจากไปเมื่อเดือนก่อน ขณะที่เธอกำพร้าแม่มาตั้งแต่ยังเล็กๆ แต่ในที่สุดทิพาพอนก็กลับมามีโอกาสที่จะสานฝันได้เข้าเรียนต่อที่มหาวิทยาลัยแห่งชาติของลาว หรือมหาวิทยาลัยดงโดกในอนาคต

    "พ่อแม่ได้เสียชีวิตไปแล้ว ครอบครัวทุกข์ยากไม่สามารถที่จะส่งเสียให้น้องเรียนได้ น้องก็มีความภูมิใจหลายและดีใจหลายที่ได้มาเรียนที่โรงเรียนแห่งนี้ เพราะว่าน้องเองก็เคยพลาดโอกาสที่จะเรียน แต่ก็มีโอกาสอีกครั้งหนึ่งได้กลับมาเรียนต่อ ทำให้น้องมีอนาคต ดีใจหลายที่มีพระเทพฯและในหลวงมาสนับสนุนเรื่องอุปกรณ์การเรียน จึงอยากจะขอบใจในหลวงและพระเทพที่ทำให้พวกน้องมีอนาคตที่ดี มีอาหารการกินที่สมบูรณ์"

    ครั้นเมื่อถามถึงความรู้สึกที่มีต่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระเทพฯ ฝ่ายญิงฮั่ว บอกด้วยน้ำเสียงซื่อๆ ว่า

    "เมื่อก่อนก็ไม่ได้รู้จักเพิ่น (ท่าน) ดีปานใด จนเมื่อได้เข้ามาอยู่โรงเรียนแห่งนี้ จึงได้รู้จากครูอาจารย์เพิ่นเล่าให้ฟังว่า โรงเรียนแห่งนี้สมเด็จพระเทพฯ เพิ่นได้มาช่วยสร้างไว้ และท่านได้มาช่วยสนับสนุนในทางด้านอุปกรณ์การเรียนต่างๆ และได้พัฒนาทางด้านอาคารเรียนของโรงเรียนแห่งนี้จนดีขึ้น"

    หนูอยากจะพูดถึงพระเจ้าอยู่หัวไหม? ญิงฮั่วรีบตอบทันทีว่า "เจ้า"

    "ก็ได้ยินข่าวว่าเพิ่นประชวรอยู่ ก็ขอให้เพิ่นทรงหายป่วยไวๆ มีสุขภาพที่แข็งแรงทั้งทางด้านการกินอยู่และการดำรงชีวิตของท่านก็ขอให้ดีขึ้น การเฮ็ดเวียก (พระราชกรณียกิจ) ก็ให้มีความก้าวหน้าทางด้านเวียกงานต่างๆ และอยากขอขอบใจพระองค์ที่ได้มาช่วยทำให้โรงเรียนแห่งนี้พัฒนาที่ดีขึ้น ทำให้เด็กน้อยกำพร้ากำพลอยนี้มีอนาคตที่ดีขึ้นเรื่อยไป น้องก็จะตั้งใจจะทำความดีและเป็นนักเรียนที่ดีของโรงเรียนแห่งนี้ ให้สมกับท่านที่ได้มาส่งเสริมทางด้านการเรียนการสอนให้โรงเรียนแห่งนี้เจ้า"

    แม้จะอยู่กันคนละฝั่งลำน้ำ แต่น้ำพระทัยของพระบรมวงศานุวงศ์ไทยมิได้แบ่งแยกตามเชื้อชาติ เผ่าพันธุ์ ยังผลมาซึ่งความปลื้มปิติแก่ผู้ที่ได้รับโดยเสมอภาคกัน เช่นเดียวกับเด็กกำพร้าที่โรงเรียนวัฒนธรรมเด็กกำพร้าหลักที่ 67 แห่งสปป.ลาวได้รับพระเมตตาจากพระองค์ โดยระยะทางที่ห่างไกลมิได้เป็นอุปสรรคหรือกำแพงขวางกั้นใดๆ เลย

    </TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR><TD vAlign=top align=right height=10>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=4 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=center align=middle>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>
     

แชร์หน้านี้

Loading...