ทำบุญแต่ไม่ได้กรวดน้ำ

ในห้อง 'พุทธศาสนา และ ธรรมะ' ตั้งกระทู้โดย D_pat, 19 มีนาคม 2013.

  1. เนยนพนะโม

    เนยนพนะโม เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 มีนาคม 2013
    โพสต์:
    76
    ค่าพลัง:
    +429
    เราทำบุญด้วยความตั้งใจ ทำแล้วไม่เสียดาย ก็ได้บุญแล้ว หากเราทำแล้วเขาไม่ได้รับ บุญที่เราทำก็ตกอยู่ที่เราเอง:cool:
    อะไรก็ตามที่เรามีอยู่บนโลก เมื่อเราตายไปเราไม่สามารถเอาไปได้สักอย่าง มีเพียงความดีกับความชั่วเท่านั้นที่ติดตัวเราไป ถ้าไม่อยากขาดทุนก็ทำบุญกันเยอะๆ นะ :cool:
     
  2. itemnoi

    itemnoi เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 มกราคม 2013
    โพสต์:
    440
    ค่าพลัง:
    +323
    บางครั้งตักบาตรตอนเช้า ก็ลืมกรวดน้ำค่ะ
     
  3. pagorn

    pagorn เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    768
    ค่าพลัง:
    +2,848
    ปุจฉา
    กราบนมัสการ ขอเรียนถามพระอาจารย์ค่ะ เคยทราบมาว่า สมัยพุทธกาล พระพุทธเจ้าไม่เคยบอกสอนเรื่องการกรวดน้ำ จริงไหมคะ และสำหรับตนเองคิดว่าการอนุโมทนาบุญ แผ่เมตตา สำคัญกว่า

    วิสัชนา
    ในสมัยพุทธกาล พระพุทธองค์ทรงเคยแนะนำพระเจ้าพิมพิสารให้อุทิศส่วนบุญหลังจากการถวายทาน เรื่องมีอยู่ว่าคราวหนึ่งพระเจ้าพิมพิสารได้ถวายเวฬุวนอุทยานแก่พระพุทธองค์เพื่อเป็นพระอาราม คืนนั้นเองได้เกิดเสียงประหลาดน่าสะพรึงกลัวแก่พระเจ้าพิมพิสาร รุ่งเช้าพระองค์จึงไปเข้าเฝ้าพระพุทธองค์เพื่อเล่าเรื่องนี้

    พระพุทธองค์ทรงอธิบายว่า นั่นเป็นเสียงของญาติในอดีตของพระองค์ที่บังเกิดเป็นเปรต เปรตเหล่านี้มากันมาร้องขอส่วนบุญ เพราะเมื่อวานนี้พระองค์บริจาคทานแล้ว แต่ไม่ได้อุทิศส่วนบุญไปให้

    วันรุ่งขึ้นพระเจ้าพิมพิสารจึงอาราธนาพระพุทธองค์ไปรับทานอีกครั้งหนึ่ง เมื่อถวายภัตตาหารและไตรจีวรเสร็จ พระเจ้าพิมพิสารก็อุทิศส่วนบุญให้แก่ญาติทั้งหลาย โดยมีการหลั่งทักษิโณทกหรือกรวดน้ำไปพร้อมกัน ทันใดนั้นอานิสงส์แห่งบุญก็เกิดแก่เปรตทั้งหลาย ทำให้ได้รับทั้งอาหารทิพย์ผ้าทิพย์ ร่างกายอิ่มเอิบ ผิวพรรณผ่องใส

    จากเรื่องข้างต้นจะเห็นได้ว่าพระพุทธองค์ทรงเพียงแต่แนะนำให้พระเจ้าพิมพิสารอุทิศส่วนบุญให้แก่ญาติที่ล่วงลับในอดีตชาติ ส่วนการหลั่งทักษิโณทกนั้นเป็นประเพณีที่มีมานานแล้ว พระเจ้าพิมพิสารจึงนำประเพณีนี้มาใช้กับการอุทิศส่วนกุศล จึงกลายเป็นที่มาของการกรวดน้ำหลังจากการให้ทาน กลายเป็นประเพณีของชาวพุทธสืบมาจนทุกวันนี้

    การกรวดน้ำมีไหมในสมัยพุทธกาล

    โดยพระไพศาล วิสาโล - Phra Paisal Visalo
    วันที่ 19 กรกฎาคม 2011
    จากหน้า พระไพศาล วิสาโล - Phra Paisal Visalo

    ในสมัยพุทธกาล แท้จริง..ไม่มีการกรวดน้ำ..

    ..การทำบุญอุัทิศให้ญา่ติของพระเจ้าพิมพิสารในสมัยพุทธกาล
    แท้จริง..ไม่มีการกรวดน้ำ..

    ..จากพระไตรปิฎกชุด91เล่ม มมร.ปกสีน้ำเงิน เล่ม39 หน้า284..

    "พระราชาถวายน้ำทักษิโณทก (แก่พระพุทธเจ้า) ทรงอุทิศ (ทันที) ว่า
    ขอทานนี้จงมีแก่พวกญาติของเรา.

    ทันใดนั้นเอง สระโบกขรณีดารดาษด้วยปทุม ก็บังเกิดแก่เปรต พวกนั้น.
    เปรตพวกนั้นก็อาบและดื่มในสระโบกขรณีนั้น ระงับความกระวนกระวาย
    ความลำบากและหิวกระหายได้แล้ว มีผิวพรรณดุจทอง
    ลำดับนั้น พระราชาถวายข้าวยาคู ของเคี้ยว ของกินเป็นต้น (แก่พระพุทธเจ้า)
    แล้วทรงอุทิศ.(ทันที) ในทันใดนั้นเอง ข้าวยาคูของเคี้ยวและของกินอันเป็นทิพย์
    ก็บังเกิดแก่เปรตพวกนั้น. เปรตพวกนั้น ก็พากินบริโภคของทิพย์เหล่านั้น
    มีอินทรีย์เอิบอิ่ม.

    ลำดับนั้น พระราชาถวายผ้าและเสนาสนะเป็นต้น(แก่พระพุทธเจ้า) ทรงอุทิศ(ทันที) ให้เครื่องอลังการต่าง ๆ มีผ้าทิพย์ ยานทิพย์ ปราสาททิพย์ เครื่องปูลาดและที่นอนเป็นต้น ก็บังเกิดแก่เปรตพวกนั้น. สมบัติแม้นั้นของเปรตพวกนั้น ปรากฏทุกอย่าง
    โดยประการใด พระผู้มีพระภาคเจ้า ก็ทรงอธิษฐาน (ให้พระราชาทรงเห็น) โดยประการนั้น. พระราชาทรงดีพระทัยยิ่ง."

    **ติดตามอ่านเกร็ดธรรมจากพระไตรปิฎกได้อย่างต่อเนื่องทุกวันที่
    http://www.facebook.com/Oui.Yooyeudt ค่ะ**

    สาธุค่ะ

     
  4. chawtru

    chawtru Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 มีนาคม 2011
    โพสต์:
    18
    ค่าพลัง:
    +44
    จากพระไตรปิฎก ไม่เคยมีปรากฎว่าพระพุทธเจ้าของเรากรวดน้ำแต่อย่างใด พระอาจารย์ผมท่านบอกว่าเป็นธรรมเนียมของชาวไทยโบราณ รวมทั้งเป็นธรรมเนียมกษัตริย์ คือ การหลั่งน้ำทักษิโณทก ชาวบ้านจึงยึดปฏิบัติกันมา ที่จริงแล้วบุญเกิดแต่การอนุโมทนาที่เราอุทิศไปให้

    ในทางกลับกันผมสังเกตุหลายคน เวลากรวดน้ำมีจิตกังวลอยู่กับน้ำ แต่ไม่ได้มีจิตที่เป็นสมาธิเพื่อที่จะอุทิศส่วนบุญ ดังนั้นบุญจะเกิดเท่ากับเวลาที่เรามีเมตตาจิตแผ่ส่วนบุญไม่ได้ บุญที่เกิดจากเราขึ้นอยู่กับว่าเรามีศรัทธามากหรือน้อย และผู้รับจะได้รับเต็มที่ไหมขึ้นอยู่กับว่าเขาอยู่ภูมิไหนครับ
     
  5. โอ้รัก

    โอ้รัก Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 มิถุนายน 2012
    โพสต์:
    23
    ค่าพลัง:
    +44
    กรวดแห้งตามก็ได้เนาะ ถึงแน่ๆ เพราะเป็นพลังจิต

    ใจเป็นใหญ่ ใจเป็นประธาน ทุกอย่างสำเร็จด้วยใจ

    สาธุ โมทนาบุญทุกบุญ
     
  6. รัศมีสีทอง

    รัศมีสีทอง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 กุมภาพันธ์ 2012
    โพสต์:
    129
    ค่าพลัง:
    +391
    การกรวดน้ำไม่มีในคำสอนของพระพุทธเจ้าจริงครับ แต่เป็นวิธีปฏิบัติเดิมๆของพราหมณ์เขา คำว่าน้ำทักขิโณทกคือน้ำที่หลั่งลงรดมือของผู้ทรงศีลนั่นเอง เป็นอาการกิริยาของพวกพราหมณ์ ซึ่งพระพุทธองค์ก็ไม่ได้ปฏิเสธสิ่งที่เขาทำมาก่อน (อนุวัติตาม) แต่มุ่งที่ธรรมที่เขาจะได้รับมากกว่า (ในการให้ทานของพระเวสสันดรก็มีการหลั่งน้ำทักขิโณทกเช่นกัน) บ้านเราเรียกง่ายๆว่า กรวด คำว่ากรวดแปลว่า หลั่ง หรือหยาด หรือเท ซึ่งไม่ใช่ขอเสียหายอะไร เพราะพราหมณ์เขาติดในธรรมเนียมเก่าๆอยู่
     
  7. petchy9

    petchy9 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 ธันวาคม 2009
    โพสต์:
    136
    ค่าพลัง:
    +583
    จุดประสงค์การกรวดน้ำ
    ๑. กรวดน้ำตัดขาดจากกัน
    ๒. กรวดน้ำยกกรรมสิทธิ์ให้
    ๓. กรวดน้ำตั้งความปรารถนา
    ๔. กรวดน้ำแผ่ส่วนกุศล

    การกรวดน้ำเพื่อแผ่ส่วนกุศลเดิมพระพุทธองค์ก็ไม่ได้แสดงว่าต้องทำทุกครั้งเมื่อจะอุทิศบุญกุศล แต่เมื่อพระเจ้าพิมพิสารทำบุญ ด้วยความที่ท่านเป็นพราหมณ์ก็มีการกรวดน้ำตามธรรมเนียม พระพุทธเจ้าก็ไม่ทรงห้ามปราม ก็เลยการเป็นธรรมเนียมปฏิบัติสืบต่อมา เป็นเพียงสัญลักษณ์ในการอุทิศบุญอย่างหนึ่ง ไม่ใช่สาระสำคัญที่จำเป็นต้องมี ที่สำคัญคือจิต ไม่ใช่ตัวน้ำ ถ้าจิตไม่พร้อมถึงจะกรวดน้ำสิบโอ่งก็ไม่มีประโยชน์ บางคนห่วงกับการไม่มีน้ำกรวด จิตก็กลายเป็นอกุศลไป บุญก็หดหาย หรือบางทีกลายเป็นชนวนกระทบกระทั่งกันไปก็มี เห็นอยู่บ่อย พอถึงเวลากรวดน้ำ หาน้ำกรวดไม่ไม่ได้ก็โทษกันไปมา คนนั้นไม่เตรียม คนนี้ไม่เตรียม ทะเลาะกันไป จิตกลายเป็นโทสะครอบ ทำจิตให้พร้อมคือสิ่งสำคัญ

    เช่นเดียวกับการแผ่เมตตา ไม่ได้อยู่ที่บทสวด บางคนสวดแผ่เมตตาไปตบยุงไป แล้วจะมีเมตตาที่ไหนแผ่ คนที่จะแผ่เมตตาได้ผล จิตต้องมีเมตตาเปี่ยมล้น เราจะให้เงินขอทาน ตัวเราก็ต้องมีเงินก่อน ไม่ใช่พอเห็นขอทานก็วิ่งไปหาเงิน เหมือนหัดว่ายน้ำ ต้องหัดให้เป็นก่อนจะตกน้ำ ไม่ใช่ไปหัดตอนไปตกน้ำแล้ว ต้องหัดแผ่เมตตาบ่อยๆ แผ่แล้วใจเราต้องมีความสุขไปด้วย ไม่ใช่โกรธใครอยู่แล้วก็แผ่เมตตา ตอนนั้นแผ่เมตตาไม่ออกหรอก มีแต่แผ่รังสีพิฆาต หัดแผ่บ่อยๆนึกได้ก็แผ่ จิตเราจะค่อยๆนุ่มนวลขึ้น สร้างความเป็นมิตรเตรียมพร้อมอยู่ในจิต มีเมตตาอยู่ในจิตตัวเองก่อน ถึงจะแผ่ให้คนอื่นได้ จำบทแผ่เมตตาไม่ได้ก็ไม่ใช่เรื่องสำคัญ ที่สำคัญคือจิต บางทีห่วงกับบทสวด จิตก็สับสนไม่ใช่จิตมีเมตตาหรอก ไม่จำเป็นว่าต้องแผ่หลังภาวนา ระหว่างวันนี้แหละแผ่ไปเรื่อยๆ โดยเฉพาะเวลาที่รู้สึกมีความสุขไม่ว่าจากเหตุใดที่เกิดจากกุศล ไม่ใช่หลังจากเตะหมาแล้วมีความสุขนะ พอรู้สึกมีความสุขก็นึกต่อเลย ขอให้สรรพสัตว์ทั้งหลายมีความสุขเช่นเดียวกับเราในขณะนี้ หรืออยากแผ่ให้ใครก็นึก ถ้าแผ่เมตตาได้ผลจะรู้สึกเหมือนมีพลังแผ่ซ่านออกจากตัวเรา หัดบ่อยๆต่อไปพอรู้สึกมีความสุขจิตจะแผ่เมตตาออกไปโดยอัตโนมัติไม่ต้องนึก เหมือนมีพลังแผ่ซ่านออกจากร่างเราโดยไม่ต้องนึกเลย
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 28 มีนาคม 2013
  8. ติงติง

    ติงติง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มีนาคม 2009
    โพสต์:
    38,272
    ค่าพลัง:
    +82,731
    เราเองไม่ติดนิสัยกรวดน้ำเลย
    แต่จะใช้จิตที่ตั้งมั่นอุทิศบุญแทนค่ะ
    ระบุชื่อ สกุลของผู้ที่จะอุทิศบุญให้ หรือนึกถึงใบหน้า
    แต่ถ้ามีน้ำ ก็กรวดน้ำค่ะ
     
  9. ในนภา

    ในนภา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 สิงหาคม 2011
    โพสต์:
    690
    ค่าพลัง:
    +1,670
    ได้ความรู้ดีมากเลยครับ บางครั้งผมก็กรวดน้ำ
    หลายครั้งตอนนี้ก็ใช้วิธีอุทิศบุญตามแบบหลวงพ่อจรัญครับ
     

แชร์หน้านี้

Loading...