วิธีปฎิบัติเพื่อความดีละความชั่วและจิตใจบริสุทธิ์+ข้อดีของการทําสมาธิ

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย ballbeamboy2, 14 เมษายน 2013.

  1. ballbeamboy2

    ballbeamboy2 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 สิงหาคม 2011
    โพสต์:
    1,622
    ค่าพลัง:
    +1,618
    อันนี้ ถ้าเข้าอ่าน เวปนี้ จะอ่านง่ายกว่านะครับ (สําหรับผมนะ) http://www.watpanonvivek.com/index.php?option=com_content&view=article&id=186:-m-m-s แล้วเครดิตก็เวปนั่นอะครับ โดย หลวงพ่อพระราชพรหมยาน


    "ธรรมทั้งหลายมีใจเป็นหัวหน้า มีใจประเสริฐสุด สำเร็จได้ด้วยใจ"



    เป็นอันว่า คนเราจะดีหรือจะชั่ว ก็อยู่ที่ใจตัวเดียว ถ้าใจดีเสียอย่างเดียว อารมณ์ใจ ดี กายและวาจาก็ดีไปด้วย

    กายก็ดี วาจาก็ดี จะทำดี จะพูดดี จะพูดชั่ว ขึ้นอยู่กับอารมณ์ ของใจ หรือใจเป็นผู้สั่ง ฉะนั้น องค์สมเด็จพระผู้มี

    พระภาคเจ้า จึงแนะนำ ท่านพุทธบริษัททั้งหลาย เพื่อหวัง ประโยชน์สุขแห่งตน คือพยายามฝึกใจให้เข้า ถึงความ

    ดี ทีนี้การเจริญพระกรรมฐาน ก็ชื่อ ว่าเราต้องการความดี ต้องการความสุขในทางใจ อารมณ์ใจมีความสุขเสีย

    อย่างเดียว กายและ วาจามันก็สุขด้วย เพราะว่า ความสุขหรือความทุกข์มันอยู่ที่อารมณ์ของใจ นี่การเจริญพระ

    กรรมฐานอันดับแรก

    ต่อแต่นี้ไปเป็นโอกาสแห่งการเจริญพระกรรมฐาน การเจริญพระกรรมฐานที่บรรดาท่านพุทธบริษัท ปฏิบัติใน

    อันดับแรกเราสมาทานศีลกันก่อน แล้วต่อไปก็สมาทานพระกรรมฐาน เพื่อปฏิบัติในด้านสมถ ภาวนา และ

    วิปัสสนา ภาวนา นี่การเจริญพระกรรมฐานนี้ เราปฏิบัติเพื่อเอาดีทางใจ เพราะว่าองค์สมเด็จพระจอมไตรบรม

    ศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงกล่าวว่า


    "ธรรมทั้งหลายมีใจเป็นหัวหน้า มีใจประเสริฐสุด สำเร็จได้ด้วยใจ"



    เป็นอันว่า คนเราจะดีหรือจะชั่ว ก็อยู่ที่ใจตัวเดียว ถ้าใจดีเสียอย่างเดียว อารมณ์ใจ ดี กายและวาจาก็ดีไปด้วย

    กายก็ดี วาจาก็ดี จะทำดี จะพูดดี จะพูดชั่ว ขึ้นอยู่กับอารมณ์ ของใจ หรือใจเป็นผู้สั่ง ฉะนั้น องค์สมเด็จพระผู้มี

    พระภาคเจ้า จึงแนะนำ ท่านพุทธบริษัททั้งหลาย เพื่อหวัง ประโยชน์สุขแห่งตน คือพยายามฝึกใจให้เข้า ถึง

    ความดี ทีนี้การเจริญพระกรรมฐาน ก็ชื่อ ว่าเราต้องการความดี ต้องการความสุขในทางใจ อารมณ์ใจมีความสุข

    เสียอย่างเดียว กายและ วาจามันก็สุขด้วย เพราะว่า ความสุขหรือความทุกข์มันอยู่ที่อารมณ์ของใจ นี่การเจริญ

    พระกรรมฐานอันดับแรก

    วันนี้จะขอพูดแบบเจริญพระกรรมฐาน แบบง่ายๆ เพื่อหวังผลตั้งแต่เล็กถึงใหญ่ ใน อันดับแรกขอให้บรรดาท่าน

    พุทธบริษัททั้งหลาย ขอให้ทำตนให้เข้าถึงความเป็นมนุษย์เสียก่อน เพราะว่าคนส่วนใหญ่ เมื่อเกิดเป็นมนุษย์แล้ว

    ตายแล้ว มักไม่ได้กลับมาเกิดเป็นมนุษย์

    การที่เราจะกลับมาเกิดเป็นมนุษย์ได้ ต้องมีศีล ๕ เป็นที่พึ่ง ทั้งนี้ก็หมายความว่า เราเป็นผู้มีใจรักษาศีล ๕

    และรักษา ศีล ๕ ไว้ เป็นปกติ ถ้าบรรดาท่านพุทธบริษัทนึกถึงศีล ๕ เป็นปกติ แล้วระมัดระวังไม่ให้ศีล ๕ บก

    พร่อง ความจริงในระดับ เบื้องต้น เราเกิดเป็น มนุษย์ก็จริงแหล่ แต่สติสัมปชัญญะมันก็ฟันเฝือไปบ้าง ตามอำนาจ

    ของอกุศลกรรมมันจะบันดาลให้ จิตใจของเราเห็นผิดเป็นชอบ ฉะนั้น ในตอนนี้องค์สมเด็จพระมหามุนีจึงสอนให้

    บรรดาพุทธบริษัทเป็นผู้ทรงสติสัมปชัญญะ เป็นสำคัญ และจงทราบไว้ว่าเราเกิดเป็นมนุษย์แล้วนี้ จะกลับมาเกิด

    เป็นมนุษย์อีกได้ ก็ต้องอาศัยศีล ๕ หรือกรรมบถ ๑๐ เฉพาะเวลานี้สิ่งที่นิยมสมาทานกันก็คือศีล ๕ ก็ถือว่าใช้ได้



    ฉะนั้นนับตั้งแต่นี้เป็นต้นไป ขอบรรดา ท่านพุทธบริษัททั้งหลายจงตั้งใจคิดว่า อย่างเลวที่สุดเราจะกลับมาเกิดเป็น

    มนุษย์ให้ได้ ทีนี้ วิธีที่เราจะเกิดเป็นมนุษย์ได้จริงๆ ก็ต้องเคารพ ในศีล ๕ คิดไว้เสมอว่า ศีล ๕ เป็นปกติ เป็นศีลที่

    เราจำจัก ต้องรักษา และตั้งใจไว้ว่าศีล ๕ มีอะไรบ้าง คือ

    ๑. ฆ่าสัตว์

    ๒. ลักทรัพย์

    ๓. ประพฤติผิดในกาม

    ๔. กล่าววาจาที่ไม่จริง

    ๕. ดื่มสุราเมรัย ที่ทำจิตใจตกอยู่ใน ความประมาท

    อาการทั้ง ๕ อย่างนี้ องค์สมเด็จพระบรมโลกนาถ ตรัสว่าถ้าใครละเมิด ก็ไม่มีโอกาสจะกลับมาเกิดเป็นมนุษย์

    ความจริงมาได้เหมือนกัน แต่ว่านานนัก เพราะต้องไปเสวยทุกข์ในนรกบ้าง เปรต อสุรกายบ้าง สัตว์เดรัจฉานบ้าง

    ฉะนั้นเราจะต้องการจะกลับมาเกิดเป็นมนุษย์ ก็ตั้งใจตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป ว่าเราจะไม่ปล่อยให้ศีล ๕ ประการบก

    พร่องไปจากใจ เราจะไม่ละเมิดศีลด้วยตนเอง จะไม่แนะนำให้บุคคลอื่นละเมิดศีล และจะไม่ยินดีเมื่อบุคคลอื่นละ

    เมิดศีล แล้วในระยะต้นมันก็จะเผลอไปบ้าง นี่เป็นเรื่องธรรมดา ถ้าหากว่าท่านทั้งหลายตั้งใจเอาจิตเข้าควบคุมไว้

    เป็นปกติ ภายในไม่ช้าอาการของจิต คือ สติสัมปชัญญะ ก็จะมีความชิน จะเห็นว่า เรื่องของศีล ๕ เป็นเรื่องธรรมดา เป็น

    เรื่องที่รักษาได้ง่าย ไม่ยากตอนนี้เมื่อบรรดาท่านพุทธบริษัทสมาทานศีล ๕ และนึกถึงศีล ๕ อยู่เป็นปกติ อันนี้

    พระพุทธเจ้าเรียกว่า สีลานุสสติกรรมฐาน เป็นกรรมฐานกองหนึ่ง การเจริญพระกรรมฐาน นี่ไม่ได้หมายความว่า ใช้เวลานั่ง

    สมาธิเสมอไป ถ้าเราใช้แต่เวลาที่นั่งสมาธิมีเวลาสงัด จิตใจของเราจึงจะกำหนดถึงศีล อย่างนี้ใช้ไม่ได้

    แต่เนื้อแท้การเจริญกรรมฐานกองใดกองหนึ่งก็ตาม ต้องใช้อารมณ์ของเรานี้นึกถึงกรรมฐานเป็นปกติตลอดวัน

    อย่างนี้จึงจะได้ชื่อว่า ท่านเข้าถึงพระกรรมฐาน และพระกรรมฐานเข้าถึงท่าน นี่กรรมฐานสำหรับสีลานุสสติกรรมฐาน

    ถ้าบรรดาท่านพุทธบริษัททำได้อย่างต่ำท่านก็จะเกิดมาเป็นมนุษย์ได้ และถ้าเป็นมนุษย์ก็เป็นมนุษย์ที่มีร่างกายผ่องใส

    มีอายุยืน ไม่มีโรคภัยไข้เจ็บรบกวน มีทรัพย์สมบัติอยู่ อย่างสบายไม่มีใครรบกวนเหมือนกันต่อจากนั้นก็ขยับจิตของเราขึ้นไป

    ว่า เราเป็นมนุษย์ได้แล้ว บริบูรณ์สมบูรณ์แล้ว ต่อจากนี้ไปเราก็จะเกิดเป็นเทวดา จะเอาคุณธรรมของเทวดามาใส่ใจ

    ทำใจของเราให้เป็นใจของเทวดา หรือเรียกว่าทำอทิสสมานกาย หรือกายภายในให้เป็นเทวดา



    การทำกายภายในหรือใจของเราให้เป็นใจเทวดานั้น องค์สมเด็จพระภควันต์ตรัสว่า ให้เราทรงคุณธรรม ๒ ประการ

    กล่าวคือ หิริ และโอตตัปปะ หิริ แปลว่า อายความชั่ว โอตตัปปะ เกรงผลแห่งความชั่ว ขึ้นชื่อว่า ความชั่วแล้ว

    เราจะไม่ทำทั้งในที่ลับและที่แจ้ง นี่เป็นคุณธรรมอย่างหนึ่ง



    ทีนี้มาพูดกันสำหรับนักเจริญพระกรรมฐาน ถ้าเราเจริญในสีลานุสสติกรรมฐาน หรือว่า พุทธานุสสติกรรมฐาน

    ธัมมานุสสติกรรมฐาน สังฆานุสสติกรรมฐาน จาคานุสสติ เทวตานุสสติก็ตาม หรือว่ากรรมฐานกองใดกองหนึ่งก็ตามไม่

    เลือกในกรรมฐานทั้ง ๔๐ กอง มีผลเสมอกัน บรรดาท่านพุทธบริษัททุกท่านมีศีลบริสุทธิ์ แล้วก็ตั้งใจเจริญสมาธิ

    กำหนดรู้ลมหายใจเข้าออก หายใจเข้ารู้อยู่ว่าหายใจเข้า หายใจออกรู้อยู่ว่าหายใจออก

    เราจะใช้คำภาวนาหรือพิจารณาบทไหนก็ได้ตามอัธยาศัย อันนี้ไม่ขัดข้อง เพราะมีผลเสมอกัน



    นี่การทรงจิตภาวนาของท่านนั้น ถ้าจิตของท่านว่างจากความชั่ว หมายความว่าอารมณ์ที่คิดจะไปลักไปขโมยเขา

    ไปฆ่าเขา จะทำร้ายเขา จะโกหกมดเท็จเขา จะละเมิดความรักของบุคคลอื่น อย่างใดอย่างหนึ่งไม่มีในจิต

    จิตมีอารมณ์สบาย รักษาเฉพาะลมหายใจเข้าออก และอารมณ์ภาวนา ทรงไว้ได้ชั่วขณะจิตหนึ่ง ๑ นาที

    ๒-๓ นาที จิตก็จะเคลื่อนไปสู่อารมณ์อื่นนึกถึงเรื่องราวต่างๆ ภายนอกซึ่งไม่ใช่ อารมณ์ของกรรมฐาน

    ถ้าหากว่าพอมีสติสัมปชัญญะนึกได้ขึ้นมาว่า เราเผลอไปเสีย เอาอารมณ์ภายนอกเข้ามาใช้ ก็กลับ

    เข้ามาทวนจับอารมณ์ใหม่ ทรงลมหายใจเข้าออกและใช้อารมณ์ภาวนาด้วย ความเคารพในพระพุทธเจ้า

    ทำอย่างนี้ก็ทรงไว้ ได้บ้างไม่ได้บ้าง สลับกันไป ท่านเรียกว่า ขณิกสมาธิ แปลว่า สมาธิเล็กน้อย

    ถ้าหากว่าท่านพุทธบริษัททรงความดีประเภทนี้ไว้ได้ องค์สมเด็จพระจอมไตรบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสว่า

    ท่านเกิดเป็นเทวดาขั้นหนึ่งขั้นใดที่ต่ำกว่าอากาศเทวดา คือ ภุมมเทวดาก็ดี รุกขเทวดาก็ดีได้แบบสบาย

    อันนี้เรียกว่าเทวดาเด็กๆ ได้

    ต่อไปถ้าอารมณ์ใจของท่านพุทธบริษัทสูงขึ้น เวลาที่เจริญพระกรรมฐานอยู่ก็ดี ยามว่างไม่ได้เจริญพระกรรมฐานก็ดี

    มีอารมณ์ใจชุ่มชื่น มีอารมณ์ผูกพันอยู่ในด้านของพระกรรมฐานเป็นปกติ คิดเสียว่าเราพอใจในการเจริญพระกรรมฐาน

    เราว่างเมื่อไร เราทำเมื่อนั้น นึกถึงอารมณ์ของพระกรรมฐานขึ้นมาก็มีความ อิ่มใจ มีความสุขใจ

    นี่องค์สมเด็จพระจอมไตรบรมศาสดาทรงตรัสว่า ท่านเข้าถึงอุปจารสมาธิ ถ้าอารมณ์ของท่านพุทธบริษัทเข้าถึง

    อุปจารสมาธิแล้ว องค์สมเด็จพระประทีปแก้วตรัสว่า ท่านผู้นี้ตายจากความเป็นมนุษย์ ก็ไปเกิดเป็นเทวดาชั้นยามา

    นี่ สำหรับผู้ทรงอุปจารสมาธิ หรือว่าพอใจในการสวดมนต์เป็นปกติ นี่ก็ถือว่าไม่ยากไม่ลำบากอะไรนักถ้าหากว่า

    ท่านพุทธบริษัทมีอารมณ์สูง ขึ้นไปกว่านั้น มีจิตใจสบายรักษาอารมณ์หายใจเข้าออก หรือคำว่าภาวนาอย่างใด

    อย่างหนึ่งตามอัธยาศัย หูได้ยินเสียงภายนอกอย่างสบาย

    ใครเขาพูดอะไร เขาว่าอะไรรู้เรื่องหมด แต่ ปรากฏว่าใจของเราไม่รำคาญในเสียงนั้น สามารถควบคุมคำภาวนา

    หรือการพิจารณา หรือ ลมหายใจเข้าออกได้แบบสบายไม่รำคาญในเสียงการควบคุมอารมณ์อยู่อย่างนี้จะช้าหรือ

    จะเร็วสัก ๒-๓ นาที ๕ นาที ๑๐ นาทีก็ได้ ไม่เลือก ทรงได้นานหรือไม่ได้นานก็ตามใจ อันนี้พระพุทธเจ้าไม่ได้บังคับ

    ไว้อย่างนี้ องค์สมเด็จพระจอมไตรตรัสว่า ท่านทั้งหลายเข้าถึง ปฐมฌาน

    การเข้าถึงปฐมฌานก็ดี ฌานที่ ๒ ที่ ๓ ที่ ๔ ถึงฌานที่ ๘ ก็ตาม เป็นคุณธรรมที่จะทำให้บรรดาท่านพุทธบริษัทให้

    เกิดเป็นพรหม หากว่าท่านทรงความดีอย่างนี้ไว้ได้ เมื่อตายท่านก็เกิดเป็นพรหม ทีนี้ถ้าหากว่า บรรดาท่านพุทธบริษัท

    ยังไม่นิยม ว่า การเกิดเป็นพรหมยังไม่พ้นวัฏสงสาร ต้องการพระนิพพานเป็นที่ไป อันนี้ก็ขอให้บรรดาท่านพุทธบริษัท

    ทั้งหลายจงคิดว่า โลกทั้งโลกมีตัวเราเป็นต้น และมีบุคคลอื่น สัตว์ อื่น วัตถุอื่น ทั้งหมดเป็นสภาวะไม่เที่ยง มันไม่มีอะไร

    ทรงตัว มีความเกิดขึ้นในเบื้องต้น มีความเปลี่ยนแปลงในท่ามกลาง มีความทุกข์ในขณะที่ทรงอยู่ และมีการตายในที่สุด

    ถ้าเรายังมีการยึดมั่นตัวเรา เป็นของเราก็ดี ญาติพี่น้องหรือบุคคลที่เนื่องถึงเราก็ดี หรือ วัตถุใดๆ ก็ตามที

    ถ้ายังถืออยู่แบบนี้ก็ได้ชื่อว่า เราต้องกลับมาเกิด ในโลกมีความทุกข์อยู่ต่อไป องค์สมเด็จพระจอมไตรทรงแนะนำว่า

    การเกิดเป็นทุกข์ แดนที่ไม่ทุกข์มีอยู่ เราจะเกิดเป็นมนุษย์ ก็ดี พรหมก็ดี ยังไม่สิ้นความทุกข์ ยิ่งเกิดใน นรก เปรต

    อสุรกาย สัตว์เดรัจฉานด้วยแล้ว กลับทุกข์ใหญ่

    องค์สมเด็จพระจอมไตรทรงแนะนำว่า การถึงพระนิพพานสิ้นความทุกข์ ขึ้นชื่อว่าความขัดข้องของจิตนิดหนึ่งก็ไม่มี

    คนที่จะถึงพระนิพพานได้นี้ องค์สมเด็จพระชินสีห์ทรงสอน ให้ปล่อยกายเสีย ถ้าเราปล่อยกายเสียได้อย่างเดียว

    วัตถุต่างๆ หรือบุคคลอื่นเราก็ปล่อยได้ เพราะสิ่งที่เรารักมากที่สุด ต้องการมากที่สุดก็ คือกาย

    วิธีปล่อยกายก็ค่อยๆ คิดว่าเราเกิดมาจะต้องตาย เวลาที่ทรงกายอยู่ก็เต็มไปด้วยความทุกข์หาความสุขไม่ได้

    ถ้าเราเกิดมาใหม่ก็ดีไม่มีประโยชน์อะไร เพราะร่างกายก็ดีทรัพย์สมบัติก็ดี นี้มันไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเรา

    เราไม่มีในมัน มันไม่มีในเรา ทั้งนี้เพราะอะไร เพราะร่างกายเป็นธาตุ ๔ คือ ธาตุน้ำ ธาตุดิน ธาตุลม ธาตุไฟ

    เป็นเรือนร่างที่จิตเข้ามาอาศัยชั่วคราว เมื่อร่างกายพังแล้ว จิตก็คือเราต้องไปสู่ความสุขหรือความทุกข์

    หาชาติหาภพเป็นที่เกิด เมื่อเกิดขึ้นอีกก็ต้องประสบกับความทุกข์แบบนี้ กระทบกับความไม่เที่ยง

    พบกับความเป็นทุกข์ พบกับการสลายตัว



    ถ้าหากว่าเราปล่อยร่างกายเสียได้เมื่อไร คิดเสียว่าการเกิดเป็นทุกข์ เราไม่ต้องการความเกิด

    เกิดเป็นมนุษย์ก็เป็นทุกข์ เกิดเป็นเทวดา หรือพรหมก็ไม่สิ้นความทุกข์ ทำจิตไว้เป็นปกติ คิดไว้ว่า

    การเกิดมีขันธ์ ๕ เป็นมนุษย์ก็ดี เป็น สัตว์หรือว่าเกิดมีอทิสสมานกายเป็นเทวดา หรือ พรหมก็ตามเราไม่ต้องการ

    สิ่งที่เราต้องการก็คือพระนิพพานอย่างเดียว ต้องพยายามทำจิตปล่อย คิดเห็นอะไร ก็ตามเห็นว่ามันพังเป็นปกติ

    รู้ตัวร่างกายของเราว่า สักวันหนึ่งข้างหน้ามันจะต้องพัง มีญาติ มีพี่น้อง มีสามี ภรรยา มีบุตร ธิดา มีทรัพย์สินต่าง ๆ

    เราก็คิด ร่างกายแต่ละบุคคล หรือ ทรัพย์สินทั้งหลาย เหล่านี้เป็นของโลก เราไม่ สามารถจะครองหรือจะอยู่

    ได้ตลอดกาลตลอด สมัยเมื่อถึงวาระที่สุดต่างคนก็ต่างตาย ต่างคนก็ต่างพัง สิ่งทั้งหลายเหล่านี้

    เราไม่ต้องการมันอีก ขึ้นชื่อว่ามนุษยโลกก็ดี เทวโลกก็ดี พรหมโลกก็ดี เราไม่ต้องการ และเราจะไม่เห็นว่ามนุษยโลก

    เทวโลก พรหมโลก เป็นดินแดน ที่สวยงาม เราเห็นว่าเป็นดินแดนประกอบไปด้วยความทุกข์ เราต้องการดินแดน

    ที่มีความสุขคือ พระนิพพาน และจากนั้นก็ตั้งใจยอมรับนับถือกฎของธรรมดา ถ้าความแก่เกิดขึ้น ความป่วยไข้

    ไม่สบายเกิดขึ้น ความพลัดพรากจากของรักของชอบใจเกิดขึ้น ความตายเกิดขึ้นแก่เราหรือบุคคลอื่นก็ตาม

    ถือว่านี่เป็นเรื่องธรรมดาของโลก เราไม่ยุ่ง เราไม่หนักใจ และโดยเฉพาะอย่างยิ่งโลกธรรมทั้ง ๘ ประการ

    ก็คือ

    การได้ลาภ แล้วก็เสื่อมลาภ ได้ยศแล้ว ยศก็เสื่อมไป นินทา หรือว่าสรรเสริญ สุข หรือทุกข์

    เหตุทั้ง ๘ ประการนี้เข้าใจ รู้ไว้เสมอว่า มันเป็นสมบัติของโลก เมื่อเกิดมาในโลกแล้ว มันต้องพบ

    เมื่อพบแล้วก็ทำใจเฉย ๆ มีลาภ เกิดขึ้น ก็จงนึกว่าลาภ มันจะต้องเสื่อม เมื่อมันเสื่อมเราก็ไม่เสียใจ

    เกิดหามาได้ ก็ไม่ดีใจเกินไป ได้รับยศก็ไม่ดีใจเกินไป ถือ ว่ายศมันสลายตัวไป เมื่อยศสลายตัวก็ไม่เสียใจ

    เพราะรู้ตัวอยู่แล้ว เมื่อพบใครเขานินทา ก็คิดว่านี่มันเรื่องธรรมดาของคนที่เกิดมาจะต้องถูกนินทา แม้แต่

    องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้ามีคุณประเสริฐก็ยังมีคนนินทาว่าร้าย เราก็ไม่สนใจกับคำนินทา

    ใครเขาสรรเสริญว่าดี ประเสริฐยังไงเราก็พิจารณาตัวเรา ถ้าเราไม่ดี ตามคำพูดของเขาเราไม่รับฟัง

    ฟังเหมือนกัน แต่ไม่ยินดีด้วยกับคำสรรเสริญ

    ทีนี้ความสุขกับความทุกข์อันเนื่องด้วยโลกียวิสัยเกิดขึ้นกับใจ ก็ถือว่า นี่เป็นเรื่องหลอกลวงหาความจริงมิได้

    ขึ้นชื่อว่าโลกธรรมทั้ง ๘ ประการเราจะต้องวางเสีย จะต้องทิ้งเสีย คือค่อยๆ ทิ้ง ค่อยๆ วางไป เมื่อกระทบกับ

    อารมณ์อย่างใดอย่างหนึ่งเกิดขึ้น ก็ถือว่าเป็นเรื่องธรรมดา เราจะอดทนต่อสู้กับมันไปจนกว่าจะสิ้นลมปราณ

    เมื่อเราสิ้นลมปราณคือร่างกาย นี้สลายตัวเมื่อไร เราจะไปพระนิพพานเมื่อนั้น

    เอาละบรรดาท่านพุทธบริษัททุกท่าน แนะนำพระกรรมฐานขั้นต้นจนขั้นสุดท้ายอย่างง่ายๆ

    เวลาบรรดาท่านพุทธบริษัทจับหลักการ ปฏิบัติตามลำดับบารมี อันนี้ถ้าหากว่าบรรดาท่านพุทธบริษัท

    พอใจกรรมฐานตอนใดตอนหนึ่ง พอแก่อัธยาศัยของตน ก็ขอให้บรรดาท่านพุทธบริษัททั้งหลาย

    ปฏิบัติตามความพอใจ ของท่านที่จะพึงประสงค์ต่อจากนี้ขอบรรดาท่านพุทธบริษัทพากันตั้งกายให้ตรง

    ดำรงจิตให้มั่น ใช้คำภาวนาและพิจารณาตามอัธยาศัย จนกว่าจะได้ยินสัญญาณบอกหมดเวลา นะ

    เครดิตครับ หลวงพ่อพระราชพรหมยาน

    ธรรมทั้งหลายมีใจเป็นหัวหน้า มีใจประเสริฐสุด สำเร็จได้ด้วยใจ

    จริงๆข้อดีของการทําสมาธิ เพราะสติมั่นด้วย แล้วความจําจะดีมาก (พระอานนท์ พระพุทธเจ้ายกย่องว่า มีสติเป็นเลิศ) ท่านจําธรรมที่พระพุทธเจ้าสอนได้หมดเลย (อันนี้อาจจะดูเหมือนเป็นไปไม่ได้ แต่เป็นไปแล้ว ลองทําดูเพื่อจะความจําดีและแม่น) แต่ถ้าจะให้พรรณา คุณของสมาธินี่อธิบายไม่หมด

    อ่านนะครับ http://www.84000.org/tipitaka/pitaka2/v.php?B=21&A=1188&Z=1233
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 14 เมษายน 2013

แชร์หน้านี้

Loading...