อย่าเลยพระพุทธเจ้า อย่าเลยครูอาจารย์

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย ปุณฑ์, 28 มีนาคม 2013.

  1. Satoranai

    Satoranai เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 ธันวาคม 2009
    โพสต์:
    80
    ค่าพลัง:
    +263
    ถามตรงๆไม่ยอกย้อนครับ ไม่ได้ล้อเล่นอะไรด้วย

    หากมีผู้กล่าวสอนว่า "ไม่มีหรอกอริยสัจ5น่ะ" ถามว่า
    1) ประโยคนี้ ถือเป็นคำของตถาคตหรือไม่
    2) ประโยคนี้ ถือเป็นหนึ่งในพระไตรปิฎกหรือไม่
    3) ประโยคนี้ถูกหรือผิดจากพระไตรปิฎก
    4) ประโยคนี้เอามาเป็นสาระเพื่อดำเนินแนวทางตามตถาคตได้หรือไม่

    หากมีผู้กล่าวสอนว่า "ไม่มีหรอกอริยสัจ4น่ะ" ถามว่า
    1) ประโยคนี้ ถือเป็นคำของตถาคตหรือไม่
    2) ประโยคนี้ ถือเป็นหนึ่งในพระไตรปิฎกหรือไม่
    3) ประโยคนี้ถูกหรือผิดจากพระไตรปิฎก
    4) ประโยคนี้เอามาเป็นสาระเพื่อดำเนินแนวทางตามตถาคตได้หรือไม่
     
  2. Satoranai

    Satoranai เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 ธันวาคม 2009
    โพสต์:
    80
    ค่าพลัง:
    +263
    ตอบให้ครับ ในความคิดของผมนะ
    "ไม่มีหรอกอริยสัจ5น่ะ" ไม่ใช่คำของตถาคตหรอก
    "ไม่มีหรอกอริยสัจ5น่ะ" อ้างอิงได้จากพระไตรปิฎกครับ
    "ไม่มีหรอกอริยสัจ5น่ะ" สนับสนุนได้ด้วยเนื้อหาในพระไตรปิฎก
    "ไม่มีหรอกอริยสัจ5น่ะ" นำมาเป็นสาระได้ ขึ้นอยู่กับบริบท เช่น
    ๑) "ไม่มีหรอกอริยสัจ5น่ะ มีแต่อริยสัจ๑" นี่แย่มาก
    ๒) "ไม่มีหรอกอริยสัจ5น่ะ มีแต่อริยสัจ๔" นี่ไปได้

    "ไม่มีหรอกอริยสัจ4น่ะ" ไม่ใช่คำของตถาคตครับ
    "ไม่มีหรอกอริยสัจ4น่ะ" ไม่มีในพระไตรปิฎก และอ้างอิงถึงพระไตรปิฎกก็ไม่ได้
    "ไม่มีหรอกอริยสัจ4น่ะ" ผิดแน่นอน
    "ไม่มีหรอกอริยสัจ4น่ะ" เอามาเป็นสาระไม่ได้ แต่งใหม่มั่วแน่นอน

    ....
    ....
    เห็นว่าอย่างไรครับ
     
  3. newamazing

    newamazing เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2012
    โพสต์:
    1,704
    ค่าพลัง:
    +1,381
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ข้อนี้แลเป็นทุกขอริยสัจ คือ ความเกิดก็เป็นทุกข์ ความแก่
    ก็เป็นทุกข์ ความเจ็บไข้ก็เป็นทุกข์ ความตายก็เป็นทุกข์ ความประจวบด้วยสิ่งที่ไม่เป็นที่รัก
    ก็เป็นทุกข์ ความพลัดพรากจากสิ่งเป็นที่รักก็เป็นทุกข์ ปรารถนาสิ่งใดไม่ได้สิ่งนั้นก็เป็นทุกข์
    โดยย่นย่อ อุปาทานขันธ์ ๕ เป็นทุกข์
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ข้อนี้แลเป็นทุกขสมุทัยอริยสัจ คือตัณหาอันทำให้เกิดอีก ประกอบ
    ด้วยความกำหนัดด้วยอำนาจความเพลิน มีปกติเพลิดเพลินในอารมณ์นั้นๆ คือ กามตัณหา
    ภวตัณหา วิภวตัณหา.
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ข้อนี้แลเป็นทุกขนิโรธอริยสัจ คือ ตัณหานั่นแลดับ โดยไม่เหลือ
    ด้วยมรรคคือวิราคะ สละ สละคืน ปล่อยไป ไม่พัวพัน.
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ข้อนี้แลเป็นทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ คือ อริยมรรคมีองค์ ๘
    นี้แหละ คือ ปัญญาเห็นชอบ ๑ ... ตั้งจิตชอบ ๑.
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็เมื่อใดแล ปัญญาอันรู้เห็นตามเป็นจริงของเรา ในอริยสัจ ๔ นี้
     
  4. Satoranai

    Satoranai เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 ธันวาคม 2009
    โพสต์:
    80
    ค่าพลัง:
    +263
    ยังไม่เข้าใจที่ผมพูดหรือเปล่าครับ
    ผมกำลังสื่อว่า ...

    ไม่ใช่ทุกคำที่มาจากตถาคต(ราก) โดยตรง
    แต่ ให้เป็นคำสอนในยุคหลัง(กิ่งก้านใบ) ที่สามารถอ้างอิงถึง
    พระอรรถกถา (ลำต้นแก่น) และไม่ขัดแย้งกับ คำของตถาคต (ราก)
    นั่นก็คือ ต้นไม้แห่งพุทธธรรมเดียวกัน
    ที่มีประโยชน์ต่อการละลดเลิกกิเลสได้

    ถามว่า แล้ว หลวงพ่อคึกฤทธิ์ ดำเนินแนวทางผิดตรงไหนหรือ??
    - ก่อนอื่นท่าน พยายามเสนอ "ราก" แต่นั่นหาใช่รากไม่ เพราะเป็นลำต้นหรือกิ่งของ "คำแปล" ฉบับสยามรัฐ โดยมหาเถรสมาคม
    - นั่นคือ "ผิด๑"
    - แต่ท่านพยามชี้ว่า "กิ่งก้านใบ" แขนงอื่น ไม่ใช่ "ราก" ... สิ่งที่ท่านเน้นย้ำคือ "ราก" ... ต้องเอาสิ่งที่ท่านหลงว่าเป็น "ราก" เท่านั้น อย่าไปเสียเวลากับ"กิ่งก้านใบ" อื่นๆ
    - นั่นก็ "ผิด๒"
    - แล้วท่านยังตู่ไปไกลอีกว่า "กิ่งก้านใบ" คำสอนของครูจารย์ทั้งสมัยพุทธกาล หรือ ปัจจุบันกาล มิควรนำมาเป็นสาระ เพราะ "แต่งขึ้นใหม่" ... จะของใครก็ตาม อย่าไปอ่านไปดู เพราะ "แต่งใหม่" "นอกรีต"
    - ทั้งที่ คำสอนเหล่านั้น แตกแขนงมาจากต้นเดียวกันนี้แหละ
    - นี้ก็ "ผิด๓"

    ความสุดโต่งดั่งกล่าว ที่พยายาม
    - แยก พระสงฆ์ (คำสอนของสงฆ์ในลำดับของกิ่งก้านใบ) ออกจากพระรัตนตรัย
    - คงไว้เพียง "พระพุทธ" ... ไม่เหลือซึ่งพระรัตยตรัย
    - แยก อรรถกถา ออกจากพระไตรปิฎก
    - คงไว้เพียง คำของตถาคต ... ไม่เหลือซึ่งพระไตรปิฎก

    นี่แหละจะกลายเป็น "กาฝาก" ของต้นแห่งพุทธะไปเสียฉิบ??
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 5 เมษายน 2013
  5. paetrix

    paetrix เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 เมษายน 2011
    โพสต์:
    2,478
    ค่าพลัง:
    +1,878
    .....ผมยังไม่เข้าใจการโจมตีพระสงฆ์โดยตรง...มันไม่มีทางมีประโยชน์ใดใดเลยในการทำทั้งต่อตนเองและสิ่งอื่น....เชื่อ ป่ะ:cool:
     
  6. newamazing

    newamazing เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2012
    โพสต์:
    1,704
    ค่าพลัง:
    +1,381
    ท่านนีเป็นคนเข้าใจอะไรยากจริงๆคำว่าห้ามแต่งใหม่ คือห้ามเพิ่มเติม ตัดทิ้ง ส่วนเรื่องการตีความนั้น การตีความเอาคำตนไปตีได้มัย ก็ต้องเอาคำพระพุทธเจ้าที่แสดงไว้นั้นแหล่ะตีความ เพราะท่านแสดงไว้หมดแล้วทั้งอรรถพยัญชนะ ก็ไปเอาส่วนที่พระองค์แสดงไว้ในพระสูตรอื่นๆมาตีความมาพสมกันได้ ไม่ใช่นึกเอามากล่าวเอง ถ้าท่านนึกเอามากล่าวเองโดยคำไหนที่ท่านไม่เคยกล่าวไว้เลย จะเรียกว่าพระองค์กล่าวไว้สมบูรณ์อย่างไร สมมุติคำว่าภังคญาณพระองค์ไม่เคยกล่าว มีมาได้อย่างไรแสดงว่าคิดคำใหม่ขึ้นใช่หรือไม ท่านลองพิจารณาดูเถอด ในภายภาคหน้าต่อไปมันก็จะมีแต่ของใหม่ ท่านรู้หรือเปล่าว่า ทำไม่ศาสนาถึงหมดไป เพราะคำสอนถูกบิดเบือนนี่ไง แค่คำสอนที่มีอยู่แล้วในบาลีสยามรัฐนั้นก็พอที่จะบรรลุธรรมได้แล้วในนั้นเองก็ยังมีคำแต่งใหม่มากอยู่แล้ว จะเพิ่มกันไปถึงไหน การขยายความต้องไปหาคำที่พระองค์กล่าวไว้มาแสดงให้ลงตัว ไม่ใช่นึกคำเอาเองนี่คือหลักที่ถูกต้อง ท่านต้องมองประเด็นเป็นประเด็นไป

    ส่วนในความเป็นจริง ชีวิตจริงๆนั้นจะทำไดกี่เปอร์เซ็นนั้นก็ว่ากันไป เพราะทางออกพระองค์ท่านก็บอกไว้แล้วว่าต้องทำอย่างไร ก็ตรวจทานเอาซิ ท่านก็เลิกเอาซิใคร เห็นใครดีเห็นใครน่านับถือกเลือกเอา อันนี้สิทธิส่วนบุคคลไม่มีใครว่า ท่านก็อย่าไปว่าคนอื่น ผมก็ไม่ได้ว่าคนอื่เขา เขาทำตามหลักความเป็นจริงเพื่อรักษาธรรมแท้ และที่ท่านเป็นอยู่ในขณะนี้เป็นความคิดของท่าน พวกเราเพียงทำตามในสิ่งที่พระองค์กล่าวไว้ว่าห้ามแต่งเติมตัดทิ้งเรื่องของธรรมเท่านั้น และพระท่านก็รวบรวมพุทธวจนมาใหเีาอ่าน เลือกเอาซิครับความรู้นะ

    อรรถกถาจารย์ในยุกต์นั้นล้วนมีความหวังดีกันทั้งนั้นผมเข้าใจแต่ความหวังดีมีทั้งเพราะความรูบ้างไม่รู้บ้าง ซึ่งตรงนีแหล่ะเป็นปัญหาอยู่มากเพราะความไม่รู้นี่แหล่ะครับเป็นของที่สาวกควรรู้ว่าตนเองไม่สามีความรู้เท่าพระองค์ได้เลย แม้แต่พระอรหันต์ก็ยังทำพลาดกันได้ เมื่อกาลเวลาผ่านมามีผู้ไปศึกษาจนพบคำสั่งของพระองค์ก็พยานมรวบรวมสิ่งที่ถูกที่สุดเท่าที่จะหาได้มาแสดงและปฎิบัติให้ถูกต้องตามคำสั่งพระพุทธองค์ก็ยังไม่เขาใจกันเนาะ บวกเยอะๆ ทำตัวตามปรกติที่เคยทำแล้วศึกษาพุทธวจนเยอะๆแล้วจะได้ความรู้มากและความรู้ตรง ไปฟังหลวงป่หลวงตา ถ้าสงสัยก็ตรวจทานเอาไม่ตรงก็ทิ้งไป ถ้าตรงก็เก็บไว้ปฎิบัติ ประเด็นก็มีอยู่แค่นี้แหล่ะ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 6 เมษายน 2013
  7. newamazing

    newamazing เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2012
    โพสต์:
    1,704
    ค่าพลัง:
    +1,381
    ใครโจมตีใครเหรอครับ อธิบายให้รู้นี่นะเรียกว่าโจมตี บวกหน่อย 1+1=2 2+2=4 เป็นป่าว สังคมจิตใจจะได้ดี
     
  8. natthaphon2526

    natthaphon2526 Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 เมษายน 2013
    โพสต์:
    18
    ค่าพลัง:
    +43
    ทำได้ก็รู้เอง

    ผมขอตอบแบบกำปั้นทุบดินได้ไหมครับ อดีตที่ผ่านมาไม่มีใครรู้ได้หรอกครับ ว่าอะไรจริงอะไรไม่จริง ถ้าอยากรู้ ปฏิบัติให้ได้ซิครับ เอาแบบให้ถึงย้อนอดีตรู้ถึงอนาคต ซัก100ชาติ1000ชาติไปเลย ก็คงจะรู้เองว่าอะไรจริงไม่จริง เอาง่ายๆนะครับ แค่มองไปในอดีตตอนเราเด็กแบบที่ยังคลานอยู่ ถ้าแม่บอกว่าเรา ตอนเด็กๆที่เราคลาน เราชอบเอาหัวไถ่กับพื้น ซึ่งอาจจะเป็นการหยอกเย้าเล่นของแม่เรา โดยที่เราไม่ได้เอาหัวไถ่ไปกับพื้นเลย แต่เราก็เชื่อเพราะแม่บอก แค่นี้เราก็ไม่รู้แล้วล่ะครับว่าความจริงเป็นไปตามที่แม่เราบอกหรือไม่ ผมเอามาให้พิจารณาดูว่าจะจริงหรือไม่เห็นด้วยไม่ ก็แล้วแต่บุคคลนะครับ
     
  9. newamazing

    newamazing เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2012
    โพสต์:
    1,704
    ค่าพลัง:
    +1,381
    ปฎิบัติอย่างไรครับ สมมุติว่าตามองเห็น มองเห็นอะไรครับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 6 เมษายน 2013
  10. สับสน!

    สับสน! เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 เมษายน 2010
    โพสต์:
    0
    ค่าพลัง:
    +3,984
    ..แล้วเอ็ง..เป็นพุทธบริษัท4..รึปล่าว
    เอ็งไม่เอากับเขาก็เฉยดิ กรรมใครกรรมมันเว้ยยยส์ แต่ที่เอ็งเข้ามาค้านอีกฝ่ายก็เท่ากับสนับสนุนอีกฝ่าย ข้อมูลเข้ามาแล้ว ศึกษาข้อมูล-เหตุผล โยนิโส ซะก่อนให้ดีอย่าเอาแต่แหกปากด่าอีกฝ่าย..ว่าทำลายพระสงฆ์..อย่าเอาผ้าเหลืองมาบังศาสนา..
    โยนิโสให้ดี และชั่งน้ำหนักเหตุผลว่าควรยุ่งรึไม่ ทำเพือ่อะไร เป็นเครื่องมือใครไหม และมีกำลังพอรึไม่ที่จะยุ่ง อิอิ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 6 เมษายน 2013
  11. สับสน!

    สับสน! เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 เมษายน 2010
    โพสต์:
    0
    ค่าพลัง:
    +3,984

    ..แต่ผมรู้..ว่า เปิดมูลนิธิรับเงินบริจาค..หลังจากใช้สื่อปั้น.."พุทธวัจนะ" จนดัง ผมระแวงว่าจุดประสงค์ ผิด..พุทธวัจนะ แน่นอน:boo:
     
  12. newamazing

    newamazing เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2012
    โพสต์:
    1,704
    ค่าพลัง:
    +1,381
    เมื่อมีการเติบโตสิ่งเหล่านั้นย่อมเข้ามาเป็นธรรมดา เพราะแรงศรัทธาของบุคคลเห็นความดีของพุทธวจนเพราะแต่ล่ะท่านได้รู้ได้เข้าใจก็อยากจะเผยแผ่ให้ผู้อื่นรู้ถึงพุทธวจน ก็เลยต้องการบริจาคเพื่อเป็นธรรมทาน จึงมีการเปิดให้บริจาค ทุกคนทั่วโลกขอหนังสือได้ฟรีครับ คำตภาคตยิ่งเปิดเผยยิ่งรุ่งเรือง พระองค์กล่าวไว้ และการให้ธรรมทานนันอนิสงส์มากคนจึงบริจาคมากครับ ส่วนอื่นท่านจะเอาไปทำอะไรนอกเหนือจากนั้นมันเป็นเรื่องที่เราห้ามไม่ได้ แต่เราจงเชื่อในความดีเถอะ ส่วนอืนใครทำอะไรก็ไดส่วนของตนเอง กรรมไม่เคยเอียง เรามีแต่เอียง
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 6 เมษายน 2013
  13. diors

    diors เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 กุมภาพันธ์ 2009
    โพสต์:
    115
    ค่าพลัง:
    +126
    พุทธวจนะ ดีครับ แต่ผมไม่เห็นด้วยที่จะไม่เชื่อพระอริยะเจ้าเลย
     
  14. paetrix

    paetrix เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 เมษายน 2011
    โพสต์:
    2,478
    ค่าพลัง:
    +1,878
    ...............คุณต้องเข้าใจว่า คำว่าอรรถพยัญชนะ นั้น ให้สมบูรรืจริงจริง ก็ต้อง ภาษาบาลี....แต่ที่คุยกันด้วยภาษาไทย นี่ การแปลการทำความเข้าใจ ทั้งนั้น(การเรียนรู้เพื่อที่จะเข้าใจความหมาย ว่าหมายถึงอะไร) ส่วนใหญ่พระสงฆ์ทั่วทั่วไปที่เทศนา ที่ว่าด้วยเรื่องสุญตา นั้น ก็คือ การแปล พระสูตรเป็นภาษาไทยทั้งนั้นแหละ..(ก็ถือได้ว่าคือบริษัทชื่อว่า หงายของที่คว่ำเปิดของที่ปิด ชื่อว่าบริษัทอันเลิศ).ตัวพระสูตรเองที่เป็นภาษาบาลีที่เป็นพระไตรปิฎกก็ยังคงอยู่อย่างนั้น..:cool:------------.ส่วนคุณจะทำความเข้าใจได้หรือไม่เรื่อง ขณิกะ อัปนาสมาธิ(อันเป้นการอธิบายสภาวะของสมาธิ) เหมือนผมพูดว่า...จิตตั้งมั่น คุณจะพอเข้าใจว่าคือ อาการที่จิตเข้าสู่ สมาธิ ....เหมือนเราคนไทย รับได้กับคำว่าจิตตั้งมั่น แต่ รับไม่ได้กับคำว่า อัปนาสมาธิ...งง ใหม?:cool:
     
  15. newamazing

    newamazing เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2012
    โพสต์:
    1,704
    ค่าพลัง:
    +1,381
    เข้าใจได้นะ ผมกำลังกล่าวว่าพวกคำแต่งใหม่ที่เป็นบาลีนันแหล่ะ ถ้าพระองค์ไม่ได้แสดงก็อย่าไปแต่งใหม่เชื่อเถอะ ต่อไปมันจะไม่เหลือของเดิม
     
  16. ปุณฑ์

    ปุณฑ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 กันยายน 2008
    โพสต์:
    2,760
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +4,692
    พระไตรปิฎก
    "ปิฎกสาม"; ปิฎก แปลตามศัพท์อย่างพื้นๆ ว่า กระจาดหรือตะกร้า อันเป็นภาชนะสำหรับ
    ใส่รวมของต่างๆ เข้าไว้ นำมาใช้ในความหมายว่า เป็นที่รวบรวมคำสอนในพระพุทธศาสนาที่จัดเป็นหมวดหมู่แล้ว
    โดยนัยนี้ ไตรปิฎกจึงแปลว่า คัมภีร์ที่บรรจุพุทธพจน์ ( และเรื่องราวชั้นเดิมของพระพุทธศาสนา ) ๓ ชุด หรือ ประ
    มวลแห่งคัมภีร์ที่รวบรวมพระธรรมวินัย ๓ หมวด กล่าวคือ วินัยปิฎก สุตตันตปิฎก และอภิธรรมปิฎก ; พระไตร
    ปิฎก จัดแบ่งหมวดหมู่โดยย่อดังนี้

    ๑. พระวินัยปิฎก ประมวลพุทธพจน์หมวดพระวินัย คือพุทธบัญญัติเกี่ยวกับความประพฤติ ความเป็นอยู่ ขนบ
    ธรรมเนียมและการดำเนินกิจการต่างๆ ของภิกษุสงฆ์และภิกษุณีสงฆ์แบ่งเป็น ๕ คัมภีร์ (เรียกย่อหรือหัวใจว่า อา ปา ม จุ ป) คือ
    ๑. อาทิกัมมิกะ หรือ ปาราชิก ว่าด้วยสิกขาบทที่เกี่ยวกับอาบัติหนักของฝ่ายภิกษุสงฆ์ ตั้งแต่ปาราชิกถึงอนิยต
    ๒. ปาจิตตีย์ ว่าด้วยสิกขาบทที่เกี่ยวกับอาบัติเบา ตั้งแต่นิสสัคคิยปาจิตตีย์ถึงเสขิยะ รวมตลอดทั้งภิกขุนีวิภังค์ทั้งหมด
    ๓. มหาวรรค ว่าด้วยสิกขาบทนอกปาฏิโมกข์ตอนต้น ๑๐ ขันธกะ หรือ ๑๐ ตอน
    ๔. จุลวรรค ว่าด้วยสิกขาบทนอกปาฏิโมกข์ตอนปลาย ๑๒ ขันธกะ
    ๕. ปริวาร คัมภีร์ประกอบหรือคู่มือ บรรจุคำถามคำตอบสำหรับซ้อมความรู้พระวินัย
    พระวินัยปิฎกนี้ แบ่งอีกแบบหนึ่งเป็น ๕ คัมภีร์เหมือนกัน (จัด ๒ ข้อในแบบต้นนั้นใหม่)คือ
    ๑. มหาวิภังค์ หรือ ภิกขุวิภังค์ ว่าด้วยสิกขาบทในปาฏิโมกข์ (ศีล ๒๒๗ ข้อ) ฝ่ายภิกษุสงฆ์
    ๒. ภิกขุนีวิภังค์ ว่าด้วยสิกขาบทในปาฏิโมกข์ (ศีล ๓๑๑ ข้อ) ฝ่ายภิกษุณีสงฆ์
    ๓. มหาวรรค ๔. จุลวรรค ๕. ปริวาร
    บางทีท่านจัดให้ย่นย่อเข้าอีก แบ่งพระวินัยปิฎกเป็น ๓ หมวด คือ
    ๑. วิภังค์ ว่าด้วยสิกขาบทในปาฏิโมกข์ทั้งฝ่ายภิกษุสงฆ์และฝ่ายภิกษุณีสงฆ์ (คือรวมข้อ ๑ และ ๒ ข้างต้นทั้งสองแบบ
    เข้าด้วยกัน)
    ๒. ขันธกะ ว่าด้วยสิกขาบทนอกปาฏิโมกข์ทั้ง ๒๒ ขันธกะหรือ ๒๒ บทตอน (คือรวมข้อ ๓ และ ๔ เข้าด้วยกัน)
    ๓. ปริวาร ว่า คัมภีร์ประกอบ (คือข้อ ๕ ข้างบน)

    ๒. พระสุตตันตปิฎก ประมวลพุทธพจน์หมวดพระสูตร คือ พระธรรมเทศนา คำบรรยายธรรมต่างๆ ที่ตรัส
    ยักเยื้องให้เหมาะกับบุคคลและโอกาสตลอดจนบทประพันธ์ เรื่องเล่า และเรื่องราวทั้งหลายที่เป็นชั้นเดิมในพระพุทธ
    ศาสนา แบ่งเป็น ๕ นิกาย (เรียกย่อหรือหัวใจว่า ที ม สํ อํ ขุ) คือ
    ๑. ทีฆนิกาย ชุมนุมพระสูตรที่มีขนาดยาว ๓๔ สูตร
    ๒. มัชฌิมนิกาย ชุมนุมพระสูตรที่มีความยาวปานกลาง ๑๕๒ สูตร
    ๓. สังยุตตนิกาย ชุมนุมพระสูตรที่จัดรวมเข้าเป็นกลุ่มๆ เรียกว่าสังยุตต์หนึ่งๆ ตามเรื่องที่เนื่องกัน หรือตามหัวข้อ
    หรือบุคคลที่เกี่ยวข้องรวม ๕๖ สังยุตต์ มี ๗,๗๖๒ สูตร
    ๔. อังคุตตรนิกาย ชุมนุมพระสูตรที่จัดรวมเข้าเป็นหมวดๆ เรียกว่านิบาตหนึ่งๆ ตามลำดับจำนวนหัวข้อธรรม รวม
    ๑๑ นิบาต หรือ ๑๑ หมวดธรรม มี ๙,๕๕๗ สูตร
    ๕. ขุททกนิกาย ชุมนุมพระสูตร คาถาภาษิต คำอธิบาย และเรื่องราวเบ็ดเตล็ดที่จัดเข้าในสี่นิกายแรกไม่ได้มี ๑๕ คัมภีร์

    ๓. พระอภิธรรมปิฎก ประมวลพระพุทธพจน์หมวดพระอภิธรรม คือ หลักธรรมและคำอธิบายที่เป็นหลักวิชา
    ล้วนๆ ไม่เกี่ยวด้วยบุคคลหรือเหตุการณ์ แบ่งเป็น ๗ คัมภีร์ (เรียกย่อหรือหัวใจว่า สํ วิ ธา ปุ ก ย ป) คือ
    ๑. สังคณี หรือ ธัมมสังคณี รวมข้อธรรมเข้าเป็นหมวดหมู่แล้วอธิบายทีละประเภท ๆ
    ๒. วิภังค์ ยกหมวดธรรมสำคัญ ๆ ขึ้นตั้งเป็นหัวเรื่องแล้วแยกแยะออกอธิบายชี้แจงวินิจฉัยโดยละเอียด
    ๓. ธาตุกถา สงเคราะห์ข้อธรรมต่าง ๆ เข้าในขันธ์ อายตนะ ธาตุ
    ๔. ปุคคลบัญญัติ บัญญัติความหมายของบุคคลประเภทต่างๆ ตามคุณธรรมที่มีอยู่ในบุคคลนั้นๆ
    ๕. กถาวัตถุ แถลงและวินิจฉัยทัศนะของนิกายต่างๆ สมัยสังคายนาครั้งที่ ๓
    ๖. ยมก ยกหัวข้อธรรมขึ้นวินิจฉัยด้วยวิธีถามตอบ โดยตั้งคำถามย้อนกันเป็นคู่ๆ
    ๗. ปัฏฐาน หรือ มหาปกรณ์ อธิบายปัจจัย๒๔ แสดงความสัมพันธ์เนื่องอาศัยกันแห่งธรรมทั้งหลายโดยพิสดาร
     
  17. ปุณฑ์

    ปุณฑ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 กันยายน 2008
    โพสต์:
    2,760
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +4,692
    พระสุตตันปิฎก ๒๕ เล่ม
    ๑. ทีฆนิกาย ๓ เล่ม
    เล่ม ๙ สีลขันธวรรค มีพระสูตรขนาดยาว ๑๓ สูตร หลายสูตรกล่าวถึงจุลศีล มัชฌิมศีล มหาศีล
    เล่ม ๑๐ มหาวรรค มีพระสูตรยาว ๑๐ สูตร ส่วนมากชื่อเริ่มด้วย "มหา" เช่น มหาปรินิพพานสูตร มหาสติ
    ปัฏฐานสูตร เป็นต้น
    เล่ม ๑๑ ปาฏิกวรรค มีพระสูตรยาว ๑๑ สูตร เริ่มด้วยปาฏิกสูตร หลายสูตรมีชื่อเสียงเช่น จักกวัตติสูตร อัคคัญญ
    สูตร สิงคาลกสูตร และสังคีติสูตร
    ๒. มัชฌิมนิกาย ๓ เล่ม
    เล่ม ๑๒ มูลปัณณาสก์ บั้นต้น มีพระสูตรขนาดกลาง ๕๐ สูตร
    เล่ม ๑๓ มัชฌิมปัณณาสก์ บั้นกลางมีพระสูตรขนาดกลาง ๕๐ สูตร
    เล่ม ๑๔ อุปริปัณณาสก์ บั้นปลายมีพระสูตรขนาดกลาง ๕๒ สูตร
    ๓. สังยุตตนิกาย ๕ เล่ม
    เล่ม ๑๕ สคาถวรรค รวมคาถาภาษิตที่ตรัสและกล่าวตอบบุคคลต่างๆ เช่นเทวดามาร ภิกษุณี พราหมณ์ พระเจ้า
    โกศล เป็นต้น จัดเป็นกลุ่มเรื่องตามบุคคลและสถานที่ มี ๑๑ สังยุตต์
    เล่ม ๑๖ นิทานวรรค ครึ่งเล่มว่าด้วยเหตุปัจจัย คือหลักปฏิจจสมุปบาท นอกนั้น มีเรื่องธาตุ การบรรลุธรรม สังสาร
    วัฏ ลาภสักการะ เป็นต้น จัด เป็น ๑๐ สังยุตต์
    เล่ม ๑๗ ขันธวารวรรค ว่าด้วยเรื่องขันธ์ ๕ ในแง่มุมต่างๆ มีเรื่องเบ็ดเตล็ดรวมทั้งเรื่อง สมาธิและทิฏฐิต่างๆ
    ปะปนอยู่บ้าง จัดเป็น ๑๓ สังยุตต์
    เล่ม ๑๘ สฬายตนวรรค เกือบครึ่งเล่มว่าด้วยอายตนะ ๖ ตามแนวไตรลักษณ์ เรื่องอื่นมีเบญจศีล ข้อปฏิบัติให้ถึง
    อสังขตะ อันตคาหิกทิฏฐิ เป็นต้น จัดเป็น ๑๐ สังยุตต์
    เล่ม ๑๙ มหาวรรค ว่าด้วยโพธิปักขิยธรรม ๓๗ แต่เรียงลำดับเป็นมรรค โพชฌงค์ สติปัฏฐาน อินทรีย์ สัมมัปปธาน
    พละ อิทธิบาท รวมทั้งเรื่องที่เกี่ยวข้อง เช่น นิวรณ์ สังโยชน์ อริยสัจจ์ ฌาน ตลอดถึงองค์คุณของพระโสดาบันและอา
    นิสงส์ของการบรรลุโสดาปัตติผล จัดเป็น ๑๒ สังยุตต์ (พึงสังเกตว่าคัมภีร์นี้เริ่มต้นด้วยการย้ำความสำคัญของความ
    มีกัลยาณมิตร เป็นจุดเริ่มต้นเข้าสู่มรรค)
    ๔. อังคุตตรนิกาย ๕ เล่ม
    เล่ม ๒๐ เอก-ทุก-ติกนิบาต ว่าด้วยธรรม หมวด ๑ หมวด ๒ หมวด ๓ รวมทั้งเรื่องเอตทัคคะ
    เล่ม ๒๑ จตุกกนิบาต ว่าด้วยธรรมหมวด ๔
    เล่ม ๒๒ ปัญจก-ฉักกนิบาต ว่าด้วยธรรมหมวด ๕-๖
    เล่ม ๒๓ สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต ว่าด้วยธรรมหมวด ๗-๘-๙
    เล่ม ๒๔ ทสก-เอกาทสกนิบาต ว่าด้วยธรรมหมวด ๑๐-๑๑
    ในอังคุตตรนิกายมีข้อธรรมหลากหลายลักษณะ ตั้งแต่ทิฏฐธัมมิกัตถะถึงปรมัตถะ ทั้งสำหรับบรรพชิต และ
    สำหรับคฤหัสถ์ กระจายกันอยู่โดยเรียงตามจำนวน
    ๕. ขุททกนิกาย ๙ เล่ม
    เล่ม ๒๕ รวมคัมภีร์ย่อย ๕ คือ ขุททกปาฐะ(บทสวดย่อยๆ โดยเฉพาะมงคลสูตร รตนสูตร กรณียเมตตสูตร)
    ธรรมบท(เฉพาะตัวคาถาทั้ง ๔๒๓) อุทาน(พุทธอุทาน ๘๐) อิติวุตตกะ(พระสูตรที่ไม่ขึ้นต้นด้วย "เอวมฺเม สุตํ"
    แต่เชื่อมความเข้าสู่คาถาด้วยคำว่า "อิติ วุจฺจติ" รวม ๑๑๒ สูตร) และสุตตนิบาต(ชุมนุมพระสูตรชุดพิเศษ ซึ่ง
    เป็นคาถาล้วนหรือมีความนำเป็นร้อยแก้ว รวม ๗๑ สูตร)
    เล่ม ๒๖ มีคัมภีร์ย่อยที่เป็นคาถาล้วน ๔ คือ วิมานวัตถุ(เรื่องผู้เกิดในสวรรค์อยู่วิมาน เล่าการทำความดีของตนใน
    อดีต ที่ทำให้ได้ไปเกิดเช่นนั้น ๘๕ เรื่อง) เปตวัตถุ(เรื่องเปรตเล่ากรรมชั่วในอดีตของตน ๕๑ เรื่อง) เถรคาถา(คาถา
    ของพระอรหันตเถระ ๒๖๔ รูปที่กล่าวแสดงความรู้สึกสงบประณีตในการบรรลุธรรมเป็นต้น) เถรีคาถา(คาถาของ
    พระอรหันตเถรี ๗๓ รูป ที่กล่าวแสดงความรู้สึกเช่นนั้น)

    เล่ม ๒๗ ชาดก ภาค ๑ รวมคาถาแสดงคติธรรมที่พระพุทธเจ้าตรัสเมื่อครั้งเป็นพระโพธิสัตว์ในอดีตชาติ และมี
    คาถาภาษิตของผู้อื่นปนอยู่บ้าง ภาคแรก ตั้งแต่เรื่องที่มีคาถาเดียว (เอกนิบาต) ถึงเรื่องมี ๔๐ คาถา (จัตตาฬีสนิบาต)
    รวม ๕๒๕ เรื่อง
    เล่ม ๒๘ ชาดก ภาค ๒ รวมคาถาอย่างในภาค ๑ นั้น เพิ่มอีก แต่เป็นเรื่องอย่างยาว ตั้งแต่เรื่องมี ๕๐ คาถา (ปัญญา
    สนิบาต) ถึงเรื่องมีคาถามากมาย (มหานิบาต) จบลงด้วยมหาเวสสันดรชาดก ซึ่งมี ๑,๐๐๐ คาถา รวมอีก ๒๒ เรื่อง
    บรรจบทั้งสองภาค เป็น ๕๔๗ ชาดก
    เล่ม ๒๙ มหานิทเทส ภาษิตของพระสารีบุตรอธิบายขยายความพระสูตร ๑๖ สูตร ในอัฏฐกวรรคแห่งสุตตนิบาต
    เล่ม ๓๐ จูฬนิทเทส ภาษิตของพระสารีบุตรอธิบายขยายความพระสูตร ๑๖ สูตร ในปารายนวรรคและขัคควิสาณ
    สูตร ในอุรควรรค แห่งสุตตนิบาต
    เล่ม ๓๑ ปฏิสัมภิทามรรค ภาษิตของพระสารีบุตรอธิบายข้อธรรมที่ลึกซึ้งต่างๆ เช่นเรื่อง ญาณ ทิฏฐิ อานาปาน
    อินทรีย์ วิโมกข์ เป็นต้น อย่างพิสดาร เป็นทางแห่งปัญญาแตกฉาน

    เล่ม ๓๒ อปทาน ภาค ๑ คาถาประพันธ์แสดงประวัติโดยเฉพาะในอดีตชาติ เริ่มด้วยพุทธอปทาน (ประวัติของ
    พระพุทธเจ้า) ปัจเจกพุทธอปทาน (เรื่องราวของพระปัจเจกพุทธเจ้า) ต่อด้วยเถรอปทาน (อัตตประวัติแห่งพระอร
    หันตเถระ) เรียงลำดับเริ่มแต่พระสารีบุตร ตามด้วยพระมหาโมคคัลลานะ พระมหากัสสปะ พระอนุรุทธ พระปุณณ
    มันตานีบุตร พระอุบาลี พระอัญญาโกณฑัญญะ พระปิณโฑลภารทวาชะ พระขทิรวนิยเรวตะ พระอานนท์ ต่อเรื่อย
    ไปจนจบภาค ๑ รวม พระอรหันตเถระ ๔๑๐ รูป
    เล่ม ๓๓ อปทาน ภาค ๒ คาถาประพันธ์แสดงอัตตประวัติพระอรหันตเถระต่ออีกจนถึงรูปที่ ๕๕๐ ต่อนั้น เป็น
    เถรีอปทานแสดงเรื่องราวของพระอรหันตเถรี ๔๐ เรื่อง เริ่มด้วยพระเถรีที่ไม่คุ้นนาม ๑๖ รูป ต่อด้วยพระเถรีที่
    สำคัญเรียงลำดับคือพระมหาปชาบดีโคตมี พระเขมา พระอุบลวรรณา พระปฏาจารา พระกุณฑลเกสี พระกีสา
    โคตมี พระธรรมทินนา พระสกุลา พระนันทา พระโสณา พระภัททกาปิลานี พระยโสธรา และท่านอื่นๆ ต่อไปจน
    จบ ครั้นจบอปทานแล้ว
    ท้ายเล่ม ๓๓ นี้ มีคัมภีร์ พุทธวงส์ เป็นคาถาประพันธ์แสดงเรื่องของพระพุทธเจ้าในอดีต
    ๒๔ พระองค์ที่พระพุทธเจ้าพระองค์ปัจจุบันเคยได้ทรงเฝ้าและได้รับพยากรณ์จนถึงประวัติของพระองค์เองรวม
    เป็นพระพุทธเจ้า ๒๕ พระองค์ จบแล้วมีคัมภีร์สั้นๆ ชื่อ จริยาปิฎก เป็นท้ายสุด แสดงพุทธจริยาในอดีตชาติ ๓๕
    เรื่องที่มีแล้วในชาดก แต่เล่าด้วยคาถาประพันธ์ใหม่ ชี้ตัวอย่างการบำเพ็ญบารมีบางข้อ

    http://www.84000.org/tipitaka/pitaka3/definition.html
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 6 เมษายน 2013
  18. ปุณฑ์

    ปุณฑ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 กันยายน 2008
    โพสต์:
    2,760
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +4,692
    ธรรมบรรยายของพระสารีบุตร

    พระสารีบุตรได้แสดงธรรมอันลึกซึ้ง ปรากฏอยู่มากมายในพระไตรปิฎก เช่น

    คัมภีร์ปฏิสัมภิทามรรค ในพระไตรปิฎก เล่มที่ 31
    สังคีติสูตร ในพระไตรปิฎก เล่มที่ 11
    ทสุตตรสูตร ในพระไตรปิฎก เล่มที่ 11
    ตอนท้ายของธรรมทายาทสูตร ในพระไตรปิฎก เล่มที่ 12
    อนังคณสูตร ในพระไตรปิฎก เล่มที่ 12
    สัมมาทิฏฐิสูตร ในพระไตรปิฎก เล่มที่ 12
    มหาหัตถิปโทปมสูตร ในพระไตรปิฎก เล่มที่ 12
    ธนัญชานิสูตร ในพระไตรปิฎก เล่มที่ 13
    ฉันโนวาทสูตร ในพระไตรปิฎก เล่มที่ 14
    ชัมพุขาทกสังยุตต์ ในพระไตรปิฎก เล่มที่ 18

    สามารถเข้าไปอ่านได้ โดยไปที่วิกิพิเดีย จะมีลิงค์ตามที่โพสต์จ๊ะ
    พระสารีบุตร - วิกิพีเดีย
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 6 เมษายน 2013
  19. newamazing

    newamazing เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2012
    โพสต์:
    1,704
    ค่าพลัง:
    +1,381
    ท่านพยายามจังเลยดีจัง ห้ามฟัังคำสาวกแต่งใหม่นะครับ พระองค์สั่งไว้นะจ๊ะ เพราะสมบูรณ์แล้ว แต่ถ้าจำคำมากล่าวก็ฟังได้นะ หรือคำที่เทียบเคียงแล้วลงได้ก็ฟังได้นะจ๊ะๆ
     
  20. natthaphon2526

    natthaphon2526 Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 เมษายน 2013
    โพสต์:
    18
    ค่าพลัง:
    +43
    คำถามนี้ที่ถามว่า ปฏิบัติอย่างไร ผมตอบไม่ได้หรอกครับว่าปฏิบัติอย่างไร ทุกวันนี้ผมก็แค่สวดมนต์ นั่งสมาธิ เอาเท่าที่เข้าใจตามจิตสำนึกและที่เคยๆเรียนมาตอนบวชเณร ถามว่า สงบไหม เห็นอะไรหรือเปล่า ผมไม่เห็นอะไรเลยครับ สงบไหม จิตผมยังวุ่นวายอยู่เลยครับ
    ส่วน สมุติว่ามองเห็น ในที่นี้ผตีความหมายไปในทางการย้อนอดีต ถ้านะครับ ถ้า ย้อนอดีตได้เราก้จะรู้เองแหละครับ ว่าอะไรคือความจริง อะไรที่มันไม่จริง อย่างตัวอย่างที่ผมได้ยกไปแล้วนั้น ว่า ตอนเด็กเราเอาหัวคลานหรือไม่ ถ้าเราย้อนได้ เราก็จะรู้ทันที่ว่า ตอนเด็ก เราเอาหัวคลานหรือเปล่า บ้างทีอาจจะคคาน บ้างทีอาจจะไม่ได้เอาหัวคลาน ใครจะรู้ได้ ก็ตัวเราที่ย้อนได้นะแหละ ที่จะรู้ได้
     

แชร์หน้านี้

Loading...