บทเรียนการนั่งสมาธิส่วนตัว

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย เข้าหาธรรม, 25 มกราคม 2013.

  1. เข้าหาธรรม

    เข้าหาธรรม เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 มกราคม 2011
    โพสต์:
    166
    ค่าพลัง:
    +514
    สวัสดีค่ะ

    ขอแนะนำตัวก่อนนะคะ คือตอนนี้ฝึกปฏิบัติธรรมแบบสติปัฏฐานค่ะ แล้วโดยส่วนตัวเป็นคนไม่สวดมนต์หรือนั่งสมาธิค่ะ
    แต่ดิฉันเป็นคนที่รักและเคารพพระรัตนตรัยมาก ตอนยังไม่ศึกษาธรรมะ อาจารย์สอนเรื่องประพุทธเจ้าแล้วรู้สึกขนลุกเป็นพักๆ และรู้สึกชอบมากค่ะ ซึ่งตอนนั้นยังไม่เป็นพุทธแท้นะคะ เป็นเพียงแต่ในทะเบียนบ้าน ซึ่งก่อนหน้านั้นอีก(ตอนป.หกได้)ได้อ่านเรื่องกามนิต และเขามีบอกตอนจะจบว่าวาสิถี(น่าจะเขียนไม่ถูก) ได้หลุดพ้นจากวัฏสงสาร คือแบบ ตอนนั้นทั้งที่ยังไม่ทราบรายละเอียดอะไรมากก็รู้สึกสงบมากโดยไม่ทราบสาเหตุค่ะ


    ทีนี้พอโตขึ้นมาก็ได้ฝึกวิปัสนากรรมฐานค่ะ และได้เข้าใจอะไรมากขึ้น แต่ว่าดิฉันอยากนั่งสมาธิควบคู่ด้วย สนใจเรื่องเข้าฌานค่ะ ซึ่งที่ไปปฏิบัติมาบอกว่าไม่จำเป็น ดิฉันเชื่อค่ะว่าไม่จำเป็นเพราะแค่มีสติก็ถือว่ามีสมาธิขั้นต้นๆ อยู่แล้ว และแค่มีศีลและสติ(สมาธิ+ปัญญา) ก็สามารถบรรลุธรรมได้ (และที่ปฏิบัติมีให้นั่งสมาธิด้วยค่ะ แต่จะเน้นแนวแบบ มีอะไรกระทบก็รู้) แต่ดิฉันอยากรู้แนวนี้บ้างค่ะ อยากลองศึกษาดู


    ทีนี้ดิฉันรู้แค่วิธีนี้แบบเดียว(เพิ่งเป็นน้องใหม่ในการปฏิบัติธรรมไม่นานนี้) ถ้าจะเข้าฌานต้องทำอย่างไรคะ ช่วยอธิบายแบบว่าดิฉันไม่มีความรู้เรื่องอันดับการนั่งสมาธิเลยนะคะ แบบ ดิฉันควรทำอะไรก่อน-หลัง ก่อนนั่งต้องทำอะไร พอนั่งแล้วดูลมหายใจใช่มั้ยคะ (ที่ปฏิบัติธรรมบอกให้ดูยุบ-พอง ไม่ต้องดูลมหายใจ แต่ดิฉันทำไม่ได้ คือมันจะรู้ลมหายใจด้วยน่ะค่ะ คือรู้ว่าหายใจเข้ามันผ่านจมูกแล้วไปทำให้ท้องพอง ประมาณนั้น สรุปคือรู้ทั้งลมหายใจทั้งพองยุบเลยค่ะT T)


    แล้วอธิบายด้วยว่าตอนนั่งควรจับอะไรดูอะไร ควรรู้สึกทุกสิ่งที่มากระทบหรือเปล่า ควรมีคำบริกรรมมั้ย สมมติมีเสียงมากระทบ เราควรรู้สึกถึงมันมั้ย หรือควรละตรงนั้นแล้วสนแต่สิ่งที่จับอยู่เช่นลมหายใจ(แรกๆ ตอนฝึกสมาธิคงยังได้ยินเสียงอยู่ใช่มั้ยล่ะคะ) แบบพอมีเสียงกระทบอีกก็รู้สึกอีกหรือเปล่า


    เอาแค่นี้ก่อนนะคะ พอปฏิบัติได้ขั้นแรกแล้วค่อยมาถามใหม่ค่ะ ดิฉันคิดว่าถามเยอะไปแล้วถ้ายังปฏิบัติไม่ได้จะลืมเสียเปล่าๆ แล้วติดขัดอะไรจะได้ถามได้ค่ะ เหมือนตอนนี้ดิฉันอยู่ป. 1 นะคะ เรียนรู้ของปีสูงๆ ไปก็ยังทำอะไรไม่ได้เพราะยังสอบไม่ผ่าน ไม่สามารถจะเข้าใจเนื้อหาที่สูงขึ้นไปได้ ดังนั้นขอให้ช่วยสอนขั้นแรกๆ ก่อนนะคะ เดี๋ยวสูงขึ้นไปจะถามเอง แล้วท่านค่อยอธิบายนะคะ

    หรือดิฉันควรพอแล้ว ฝึกแบบนี้ดีแล้วคะ? แบบ ไม่ต้องสนใจด้านฌาน ประมาณนั้น

    ขอบคุณค่ะ^^
     
  2. อินทรบุตร

    อินทรบุตร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มิถุนายน 2012
    โพสต์:
    2,511
    ค่าพลัง:
    +7,320
    สติปัฏฐาน ปฏิบัติไปเรื่อยๆ

    เวลาว่างๆ ก็นั่งสมาธิ แบบไม่ต้องบริกรรมอะไร แค่มีสติรับรู้ปัจจุบันอย่างเดียวก็พอ

    ส่วนใหญ่ จะรู้ในลมหายใจ แต่บางทีไปรู้อย่างอื่นก็เรื่องของมัน

    เมื่อปฏิบัติสติปัฏฐานจนชำนาญ ตรงนี้จะเข้าถึงฌานเอง
     
  3. Jasmin99999

    Jasmin99999 วันนี้ต้องดีกว่าเมื่อวาน

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 กุมภาพันธ์ 2010
    โพสต์:
    971
    ค่าพลัง:
    +3,332
    ที่คุณไปปฏิบัติมาน่าจะเหมือนแนวทางคำสอนของหลวงพ่อจรัญนะคะ พอดีเราเคยไปปฏิบัติที่วัดหลวงพ่อจรัญแล้วท่านก็เป็นอาจารย์กรรมฐานองค์แรกของเราเลยล่ะค่ะ

    ถ้าจะว่าตามแนวทางของหลวงพ่อแล้วนะคะคือ
    1. ก่อนนั่งก็สวดมนต์ตามแบบที่หลวงพ่อจรัญสอน สำหรับเราเองมีความรู้สึกว่าสวดมนต์ก่อนทำสมาธิทำให้ใจเรานิ่งลงและพร้อมในการทำสมาธิต่อไป(แต่ตัวเราเองต่อมาก็มาดัดแปลงเรื่อยๆตามความถนัดของตัวเองค่ะ)จากนั้นเดินจงกรม และนั่งสมาธิ
    2.เวลาเราเดินจงกรมก่อนนั่งสมาธิทำให้เวลานั่งสมาธิมีสมาธินิ่งกว่าการนั่งสมาธิอย่างเดียว
    3.เวลานั่งสมาธิก็กำหนดยุบหนอ-พองหนอ หายใจช้าๆให้สม่ำเสมอ ถ้ามีเสียงอะไรมากระทบก็กำหนดว่าเสียง...หนอ...เสียง...หนอ ตามลมหายใจเข้าออกของเราค่ะ และไม่ว่าจะมีอะไรมากระทบก็ให้เอาคำนั้นมาภาวนาได้เลย บวกกับพิจารณาไปด้วยว่าสิ่งที่มากระทบ เช่น เสียง กลิ่น ความฟุ้งซ่าน อะไรต่างๆ มากระทบนั้นมันก็แค่นั้น เป็นธรรมดาของมันเอง แล้วเราจะเห็นว่า มันเกิดขึ้น ตั้งอยู่ แล้วก็ดับไป ถ้าสิ่งที่มากระทบนั้นเราไม่รู้ว่าจะกำหนดอะไรก็ให้กำหนดคำภาวนาว่า รู้...หนอ...รู้...หนอ...ไปเรื่อยๆ พร้อมกับพิจารณา เมื่อสิ่งนั้นดับไป หรือถ้าเป็นเสียงที่ได้ยินเงียบไปเราก็รู้ แล้วเราก็กลับมาภาวนายุบหนอพองหนอต่อไป

    อันนี้เราก็พูดไปตามที่เคยฝึกมานะ เรื่องฌาน เราว่ามันเป็นผลพลอยได้เองค่ะ สำหรับเราไม่เคยสนใจว่าจะอยู่ฌานไหนหรือระดับไหน หลักๆเราก็จะมีทาน ศีล ภาวนา เป็นเบื้องต้น ต่อมาก็จะเป็นบารมี30ทัศ ซึ่งเราว่ามันจะเป็นไปเองอัตโนมัติ คือ เราสนใจทางธรรมะและปฏิบัติเอามาใช้ในชีวิตประจำวัน คือ เราระลึกว่าอันไหนจะผิดศีล5เราก็ไม่ทำไม่ไปข้องเกี่ยว เช่น มุสาวาทา คือไม่โกหก พอเราไม่โกหก พูดคำไหนก็เป็นคำนั้น เราก็ได้สัจจะบารมี เป็นต้น ซึ่งแค่เรามีศีล5และสวดมนต์"ภาวนาเป็นนิจ อธิษฐานจิตเป็นประจำ อโหสิกรรมก่อนแล้วค่อยแผ่เมตตา" (คำสอนของหลวงพ่อจรัญ) เราก็ว่าคุ้มแล้วที่เราได้เกิดมาในชาตินี้ค่ะ

    เราก็ไม่ใช่นักปฏิบัติอะไรนะ พูดตามที่เคยปฏิบัติที่วัดมา แล้วก็นำมาปฏิบัติต่อที่บ้านนี่แหละเอง ถึงจะปฏิบัติที่บ้าน แต่หน้าที่ทางโลกเราก็พยายามไม่ให้ขาดตกบกพร่องค่ะ ส่วนเรื่องทำบุญถ้ามีโอกาสทำบุญที่ไหนได้ก็ทำไปเรื่อยๆค่ะ
     
  4. markdee

    markdee เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 ธันวาคม 2010
    โพสต์:
    745
    ค่าพลัง:
    +1,911
    ในรูปแบบการทำสมาธิ เคยทำลองมาสารพัดวิธี ไม่ได้ผล สำหรับติฉันเลยไม่เอาแล้วทำไปก็ไม่เจริญก้าวหน้าไม่รู้อะไรเลย ทิ้งทุกอย่างไม่เอาแล้ว แล้วมาตั้งมั่นใหม่ ขอแค่รู้จักลมหายใจอย่างเดียวพอ หายใจเข้ารู้มั๊ย หายใจออกรู้หรือเปล่า หายใจเข้าสั้นเป็นอย่างไร หายใจออกสั้นเป็นเป็นอย่างไร เวลาโกรธลมหายใจเป็นอย่างไร ดีใจ เสียใจ หื่น พอใจ ไม่พอใจ ทุกอารมณ์เกิดขึ้นก็ดูที่ลมหายใจ ทำได้บ้าง ไม่ได้บ้าง สติตามอารมณ์ทันบ้างไม่ทันบ้าง อาศัยทำบ่อยๆ ทำได้ทั้งวัน ทั้งคืน ไม่เลือกกาลเวลา ทำได้แค่นี้เอง แค่นี้เอง
     
  5. firstini

    firstini เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 มีนาคม 2006
    โพสต์:
    1,213
    ค่าพลัง:
    +3,770
    จริงๆแล้วป.๑ ในทางธรรมนั้น ถือว่าเป็นพระโสดาบัน หลักสูตรนี้จบแค่ป.๔
    เริ่มปฏิบัติสมาธิ เขาถือว่าเป็นขั้นเตรียมอนุบาล
    สมาธินั้นเริ่มต้นจากมีศีล ศีล ๕ ครบจิตสบาย สมาธิสงบ ปัญญาก็เกิด
    สมาธิในพระพุทธศาสนาเริ่มจากปฐมฌานเป็นสำคัญ มรรคผลที่ได้ต้องมีฌานรองรับ
    แต่ใครมาถึงนั่งปั๊บจะมาได้ปฐมฌานเลยก็... นับว่าหาได้ยากมากในปัจจุบันนี้
    ดังนั้นจึงมักจะเตาะแตะเริ่มต้นจากสมาธิที่เรียกว่า ขนิกสมาธิ หรือสมาธิเล็กน้อย
    แล้วก็ไต่ไปถึงสมาธิเฉียดฌาน คือ อุปจารสมาธิ จากนั้นก็เข้าสู่อัปปนาสมาธิ หรือได้ฌาน
    ขอให้อ่าน http://www.palungjit.org/smati/k40/smabat.htm
    เพื่อทำความเข้าใจกับสมาธิเพิ่มเติม และรู้ว่าจะเจออะไรในสมาธิบ้าง
    ถ้าจะเริ่มแบบง่ายๆ ก็อ่าน http://www.palungjit.org/smati/books/index.php?cat=148

    ตัวผมเองนั้น ถ้าฝึกกรรมฐานแบบเข้าคอร์สมีหลักสูตรจริงๆ ก็คือ ยุบหนอพองหนอ
    แต่พอทำไปทำมา มันทิ้งของเก่าไม่ได้ เลยคุยกับอาจารย์เจ้าอาวาส
    ท่านแนะนำให้ทำสมาธิเสีย จิตจะได้สบาย
    หลังจากกลับมาทำที่บ้าน ร้างไปพักหนึ่ง กลับมาทำใหม่แต่ไปคว้าอานาปานสติเข้า(ของเก่า)
    ก็พบว่าจิตสบายเหมือนยุบหนอพองหนอ และพัฒนาต่อได้อีกระดับหนึ่ง
    ก็เริ่มกลับไปหาของเก่า ก่อนที่จะยุบหนอพองหนอ แล้วค้นหาอาจารย์ที่จะแนะแนวทางนี้
    กว่าจะเจอก็นานเหมือนกัน เพราะมัววนไปวนมา คือเจอแล้วแต่ดันไม่รู้ว่าเป็นใคร

    บุคคลผู้หวังจะได้ฌานในสัมมาสมาธินั้น เป็นบุคคลที่กำลังใจบารมีค่อนข้างเต็ม
    เพราะคนทั่วไปกำลังใจไม่ถึงก็จะไม่คิดที่จะเอาดีในด้านนี้
    ในด้านมหาสติปัฏฐาน ๔ นั้น การเจริญอานาปานสติเป็นตัวต้นอยู่แล้ว
    ถ้าได้ลองอ่านพระสูตรนี้จริงๆ แล้วพิจารณาดู จะพบว่าทุกๆบรรพพระพุทธเจ้าเทศน์จบเหมือนกันหมด
    คือการไม่ยึดมั่นถือมั่นในอะไรทั้งหมด
    การเจริญสมาธิหรือมหาสติปัฏฐานนั้นสำคัญที่ตัวเดียวคือจิต
    โดยในเบื้องต้น สมาธิคือการกำหนดจิตรู้อารมณ์เดียว ตัดชำระนิวรณ์๕ ออกจากจิตชั่วคราว
    เมื่อฝึกฝนจนชำนาญแล้ว ปัญญาในการพิจารณาธรรมต่างๆก็จะเกิดขึ้น

    ธรรมอันสำคัญของผู้เจริญกรรมฐานคือ อิทธิบาท ๔
    ฉันทะ วิริยะ จิตตะ วิมังสา ถ้ามีครบแล้วฌานก็ไม่ไกล มรรคผลก็ไม่ยาก
    การเจริญฌาน คือการต่อเครื่องบิน จะยุ่งยากในเบื้องต้น แต่พอประกอบเป็นลำได้แล้วก็ไปเร็ว

    ในการเจริญสมาธิในอานาปานสติให้ได้ผลเร็วนั้น ครูบาอาจารย์ได้แนะนำอย่างนี้
    ใช้วิธีการนับ
    ลมหายใจเข้า ออก นับหนึ่ง
    ลมหายใจเข้า ออก นับสอง
    ลมหายใจเข้า ออก นับสาม
    ... จนไปถึง สิบ
    ทำอย่างนี้ในแต่ละวันบ่อยๆ วันละหลายๆหน สมาธิจะก้าวหน้าเร็ว
    จากสิบ ก็เป็นยี่สิบ เป็นห้าสิบ เป็นร้อย เป็นชั่วโมงหนึ่ง เป็นฌานได้ไม่ยาก

    สุดท้ายแล้ว สมาธิ แปลง่ายๆว่า ตั้งใจ
    ถ้าตั้งใจก็ได้สมาธิ ตั้งใจมั่นก็ได้ฌาน

    อนุโมทนาครับ
     
  6. คิดดีจัง

    คิดดีจัง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 มกราคม 2010
    โพสต์:
    1,626
    ค่าพลัง:
    +5,354
    เดินถูกทางแล้วครับ อนุโมทนาด้วยครับผม



    ภิกษุทั้งหลาย ! เมื่ออานาปานสติ อันบุคคลเจริญทำาให้มากแล้ว...
    ผลอานิสงส์อย่างใดอย่างหนึ่ง ในบรรดาผล ๒ ประการ เป็นสิ่งที่หวังได้
    คือ อรหัตตผลในปัจจุบัน หรือว่าถ้ายังมีอุปาทิเหลืออยู่ ก็จักเป็น อนาคามี.
    มหาวาร. สํ. ๑๙/๓๙๗/๑๓๑๓.

    ภิกษุทั้งหลาย ! อานาปานสติอันบุคคลเจริญ
    กระทำให้มากแล้ว ย่อมมีผลใหญ่ มีอานิสงส์ใหญ่
    ก็อานาปานสติ อันบุคคลเจริญแล้วอย่างไร กระทำให้มากแล้ว
    อย่างไร จึงมีผลใหญ่ มีอานิสงส์ใหญ่ ?

    ภิกษุทั้งหลาย ! ในกรณีนี้ ภิกษุไปแล้วสู่ป่า
    หรือโคนไม้ หรือเรือนว่างก็ตาม นั่งคู้ขาเข้ามาโดยรอบ
    ตั้งกายตรง ดำรงสติเฉพาะหน้า เธอนั้น มีสติหายใจเข้า
    มีสติหายใจออก :
    เมื่อหายใจเข้ายาว ก็รู้ชัดว่าเราหายใจเข้ายาว,
    เมื่อหายใจออกยาว ก็รู้ชัดว่าเราหายใจออกยาว;
    เมื่อหายใจเข้าสั้น ก็รู้ชัดว่าเราหายใจเข้าสั้น,
    เมื่อหายใจออกสั้น ก็รู้ชัดว่าเราหายใจออกสั้น;
    เธอย่อมทำการฝึกหัดศึกษาว่า “เราเป็นผู้รู้พร้อม
    เฉพาะซึ่งกายทั้งปวง (สพฺพกายปฏิสํเวที) หายใจเข้า”,
    ว่า “เราเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะซึ่งกายทั้งปวง หายใจออก”;
    (บางส่วนของพระสูตรในเรื่องอานาปานสติครับ)
     
  7. เข้าหาธรรม

    เข้าหาธรรม เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 มกราคม 2011
    โพสต์:
    166
    ค่าพลัง:
    +514
    ขอบคุณทุกๆความเห็นมากค่ะ ส่วนตัวรักษาศีลห้าเป็นปกติมานานแล้วค่ะ^^ และบางทีคิดว่าแนวสติปัฎฐานนี้ถูกจริตดีแล้วค่ะ

    ดังนั้นตอนนี้จะเอาเป็นนั่งสมาธิแล้วกำหนดรู้ไปก่อนแล้วกันนะคะ ขอบคุณทุกคนค่ะ
     
  8. เข้าหาธรรม

    เข้าหาธรรม เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 มกราคม 2011
    โพสต์:
    166
    ค่าพลัง:
    +514
    เรื่องเล่าสอนใจ เรื่อง ธนาคาร “เวลา”

    **เรื่องเล่าสอนใจ เรื่อง ธนาคาร “เวลา” **

    ==========================================

    ถ้าหากในโลกนี้มีธนาคารแห่งหนึ่งเข้าบัญชีให้คุณทุกเช้า
    เป็นเงิน 86,400 บาท ไม่มีการยกยอดคงเหลือไปวันรุ่งขึ้น
    ทุกๆเที่ยงคืนจะลบยอดคงเหลือทั้งหมดไม่ว่าคุณจะได้ใช้มันหรือไม่ก็ตาม
    คุณจะทำอย่างไร? แน่นอนที่สุด คุณต้องถอนมาใช้ทุกบาททุกสตางค์ ใช่ไหม?!

    เราทุกคนมีธนาคารอย่างนั้นเหมือนกัน ธนาคารแห่งนี้ชื่อว่า “เวลา”
    มันเข้าบัญชีให้คุณ 86,400 วินาที
    ทุกเที่ยงคืนมันจะถูกล้างบัญชีถือว่าขาดทุนตามจำนวนที่คุณพลาดโอกาสที่จะใช้มัน
    มันไม่สะสมยอดคงเหลือ ไม่ให้เบิกเกินบัญชี ในแต่ละวันจะเปิดบัญชีใหม่ให้คุณ
    ทุกค่ำคืนจะลบยอดคงเหลือของทั้งวันออกหมด
    ถ้าคุณเสียโอกาสที่จะใช้ประโยชน์ในวันนั้นๆ ผลขาดทุนจะเป็นของคุณ
    ไม่สามารถถอยหลังกลับไปได้ และไม่มีการถอนของ “วันพรุ่งนี้” มาใช้ได้
    คุณต้องมีชีวิตอยู่กับปัจจุบันด้วยยอดเงินฝากของวันนี้
    ให้ลงทุนจากเงินฝากเหล่านี้เพื่อได้ผลตอบแทนมาสูงสุด
    ไม่ว่าจะเป็นเพื่อความสำเร็จ สุขภาพ ความสุข และครอบครัว
    นาฬิกากำลังเดิน ทำวันนี้ให้ดีที่สุด!!
    ถ้าอยากรู้ว่าเวลา 1ปีมีค่าขนาดไหน ถามนักศึกษาที่สอบตกต้องซ้ำชั้น
    อยากรู้ว่าเวลา 1เดือนมีค่าขนาดไหน ให้ถามคนที่คลอดก่อนกำหนด
    อยากรู้ว่าเวลา 1 วันมีค่าขนาดไหนให้ถาม บก. หนังสือรายสัปดาห์
    อยากรู้ว่าเวลา 1 ชม.มีค่าแค่ไหนให้ถามคนที่รอคอยคนรัก
    อยากรู้ว่าเวลา 1 นาทีมีค่าแค่ไหนให้ถามคนที่พลาดขบวนรถไฟ
    อยากรู้ว่าเวลา 1วินาทีมีค่าแค่ไหนให้ถามคนที่รอดตายจากอุบัติเหตุ
    อยากรู้ว่าเวลา เสี้ยววินาทีมีค่าแค่ไหนให้ถามนักกีฬาโอลิมปิกเหรียญทอง

    ปัจจุบัน สร้างอนาคต ทำวันนี้ให้ดีพอจนถึงผลลัพธ์^_^
    By..bas betterweather


    ทุกวินาทีมีค่าจริงๆ หากวันพรุ่งนี้เราต้องตาย เราควรจะใช้เวลาที่เหลืออยู่ให้คุ้มค่าจากการเจริญสตินะคะ เพราะไม่แน่ว่าวันใดวันหนึ่งคุณอาจนอนหลับและไม่ตื่นขึ้นมาอีกเลย กลืนน้ำแล้วสำลักเข้าหลอดลมตาย หรือรองเท้าขาดระหว่างข้ามถนน ทุกเหตุการณ์จะเกิดขึ้นเร็วมากจนคุณคาดไม่ถึง
    ซึ่งหากใช้เวลามาไม่คุ้มค่า มันอาจจะสายเกินไปก็ได้...
     
  9. Jasmin99999

    Jasmin99999 วันนี้ต้องดีกว่าเมื่อวาน

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 กุมภาพันธ์ 2010
    โพสต์:
    971
    ค่าพลัง:
    +3,332
    อ่านเจอความเห็นของคุณPhanudet เลยก็อปมาให้อ่านนะคะ ในเรื่องของระดับสมาธิหรือฌานค่ะ


    อาการและอารมณ์ของอุปจารสมาธิ



    อาการของอุปจารสมาธิคือปีติได้แก่อารมณ์ความอิ่มใจเมื่อทำมาถึงตอนนี้อารมณ์
    จะชุ่มชื่นมาก อารมณ์สะอาดเยือกเย็น มีความเป็นสุขอย่างยอดเยี่ยมไม่เคยพบความสุข
    อย่างนี้มาก่อนเลยในชีวิตตอนนี้เวลาภาวนาลมหายใจจะเบากว่าปกติมาก อารมณ์เป็นสุข
    ร่างกายของนักปฏิบัติที่เข้าถึงระดับนี้ผิวหนังจะนวลขึ้นเพราะอารมณ์ที่มีความสุขแต่อาการ
    ทางร่างกายนี่สิที่ทำให้นักปฏิบัติตกใจกันมากนั่นก็คือ

    ๑.อาการขนลุกซู่ซ่าเมื่อเกิดอาการอย่างนี้หรืออย่างอื่นที่กล่าวถึงต่อไปจะมีอารมณ์
    ใจเป็นสุขขอให้ทุกท่านปล่อยอาการอย่างนั้นไปตามสภาพของร่างกาย จงอย่าสนใจเมื่อสมาธิ
    สูงขึ้นหรือลดตัวลงต่ำกว่านั้น อาการอย่างนั้นก็จะหมดไปเองอาการขนลุกพองถ้ามีขึ้นพึงควร
    ภูมิใจว่าเราเข้าถึงอาการของปีติระดับหนึ่งแล้ว อย่ากังวลอาการของร่างกาย

    ๒. อาการของปีติขั้นที่ ๒ได้แก่อาการน้ำตาไหล

    ๓.อาการของปีติขั้นที่ ๓คือร่างกายโยกโคลงโยกไปข้างหน้าบ้างข้างหลังบ้าง
    บางคราวโยกแรง จนศีรษะใกล้ถึงพื้น

    ๔.อาการของปีติขั้นที่ ๔ตามตำราท่านว่าตัวลอยขึ้นบนอากาศแต่ผลของการปฏิบัติ
    ไม่แน่นัก บางรายก็เต้นเหมือนปลุกตัว บางรายก็ตัวลอยขึ้นบนอากาศเมื่อลอยไปแล้ว ถ้าสมาธิ
    คลายตัวก็กลับมาที่เดิมเอง(อย่าตกใจ)

    ๕. อาการของปีติขั้นที่ ๕คือมีอาการแผ่ซ่านในร่างกายซู่ซ่าเหมือนมีลมไหลออก
    ในที่สุดเหมือนตัวใหญ่และสูงขึ้นหน้าใหญ่แล้วมีอาการเหมือนลมไหลออกจากกายในที่สุด
    ก็มีความรู้สึกว่าตัวหายไปเหลือแต่ท่อนหัว

    อาการทั้งหมดนี้ เมื่อเกิดขึ้นอารมณ์ใจจะมีความสุข ฉะนั้นนักปฏิบัติให้ถืออารมณ์ใจ
    เป็นสำคัญอย่าตกใจในอาการตามที่กล่าวมาแล้วนั้นพอสมาธิสูงถึงระดับฌานก็จะสลายตัว
    ไปเองปีตินี้เมื่อเกิดขึ้นแล้วอารมณ์จะเป็นสุขคือถึงระดับที่สี่ ที่จะเข้าถึงปฐมฌาน ต่อไปก็
    เป็นปฐมฌานเพราะอยู่ชิดกัน

    **************************************************

    อัปปนาสมาธิหรือฌาน

    ต่อไปนี้จะพูดหรือแนะนำใน อัปปนาสมาธิคำว่า อัปปนาสมาธิ เป็นสมาธิใหญ่ มีอารมณ์
    มั่นคง เข้าถึงระดับฌาน ตั้งแต่ฌานที่หนึ่งถึงฌานที่สี่ แต่ก่อนที่จะพูดถึง อัปปนาสมาธิ ขอย้อน
    มาอธิบายถึงอุปจารสมาธิเล็กน้อยก่อน การที่พูดมาแล้วเป็นการพูดในเรื่องของนิมิตโดยตรง
    ท่านที่ไม่นิยมนิมิตจะไม่เข้าใจ

    อุปจารสมาธิระดับสุดท้าย
    เมื่อจิตเข้าถึงอุปจารสมาธิขั้นสุดท้าย ถ้าผู้ปฏิบัติไม่สนใจในนิมิต หรือสร้างนิมิตให้เกิดขึ้น
    ไม่ได้ ให้สังเกตอารมณ์ใจดังนี้ อารมณ์นี้มีเหมือนกันทั้งท่านที่ถือนิมิตหรือไม่ถือนิมิต คือจะมี
    ความรู้สึกว่ามีอารมณ์ตั้งมั่นทรงตัวดี มีความชุ่มชื่นไม่อิ่มไม่เบื่อในการปฏิบัติ มีอารมณ์เป็นสุข
    เยือกเย็นมาก ซึ่งไม่เคยพบมาเลยในชีวิต และมีอารมณ์เป็นหนึ่ง กำหนดอารมณ์ไว้อย่างไร
    อารมณ์ไม่เคลื่อนจากที่ตั้งอยู่ได้นาน ตอนนี้เป็น ฌาน อารมณ์ที่สังเกตได้คือ

    ๑.รู้ลมหายใจเข้า รู้ลมหายใจออกคำภาวนาทรงตัว ไม่ลืมไม่เผลอไม่ฟุ้งไปสู่เรื่องอื่น
    นอกเหนือจากที่คิดจะภาวนา มีอารมณ์เต็มเปี่ยมด้วยกำลังใจไม่อิ่มไม่เบื่อไม่อยากลุกออกจากที่
    มีความสุขหรรษาเป็นพิเศษ ซึ่งไม่เคยมีความสุขใดในชีวิตที่เคยพบมาก่อนเลยมีอารมณ์ตั้งมั่นดิ่ง
    อยู่ในที่เดียวเป็นพิเศษ (ข้อห้านี้เป็นฌาน)หูได้ยินเสียงทุกอย่างชัดเจนมากที่เข้ามากระทบ
    ประสาทหู เสียงคนหรือเสียงสัตว์ธรรมดาไม่ใช่เสียงทิพย์ แม้แต่เสียงเครื่องขยายเสียงที่มีเสียงดัง
    มาก ตอนนี้ได้ยินทุกอย่างชัดเจนตามปกติแต่ไม่รำคาญในเสียงนั้นเลย คงภาวนาหรือกำหนดรู้ลม
    หายใจเข้าออกได้เป็นปกติเหมือนไม่มีเสียงรบกวนลมหายใจจะเบากว่าเวลาปกติจนสังเกตได้ชัด
    อาการอย่างนี้ท่านเรียกว่า ปฐมฌาน คือฌานที่หนึ่ง

    ๒.เมื่อจิตเป็นสมาธิในฌานที่สองมีความรู้สึกดังนี้คือจะรู้สึกว่าคำภาวนาหายไป
    บางท่านหรือหลายท่านควรจะพูดว่า มากท่านก็คงไม่ผิดเมื่ออารมณ์เข้าถึงฌานที่สองใหม่ๆ
    อารมณ์ยังไม่ชิน เมื่อขณะที่จิตทรงอยู่ในฌานนี้ จะมีความอิ่มเอิบสุขสบาย จะเผลอตัว เมื่อจิต
    มีสมาธิลดลง เพราะกำลังจิตถอยสมาธิ จะลดลงอยู่ที่อุปจารสมาธิ ตอนนี้อารมณ์คิด คือความ
    รู้สึกก็เกิดขึ้น เมื่อจิตตั้งอยู่ในฌานจะไม่สามารถคิดอะไรได้ เพราะเอกัคคตารมณ์คืออารมณ์
    เป็นหนึ่งไม่มีอารมณ์คิดจะทรงตัวเฉยอยู่และไม่มีคำภาวนา คำภาวนานี้ตั้งแต่ฌานที่สองถึงฌาน
    ที่สี่จะไม่มีคำภาวนาเมื่อรู้สึกตัวว่าไม่ได้ภาวนาก็จะคิดว่าตนเองหลับไปหรือเผลอไป ความจริง
    ไม่ใช่ ซึ่งเป็นอาการของฌานที่สอง

    ๓.เมื่อจิตมีสมาธิเข้าถึงฌานที่สามตอนนี้จะรู้สึกว่า ลมหายใจเบาลงมาเกือบไม่รู้สึก
    ว่าหายใจ แต่ความจริงยังรู้สึกถนัดอยู่แต่เบามากนั่นเอง อาการทางร่างกายจะรู้สึกเหมือนเกร็งไป
    ทั้งร่าง แต่ความจริงร่างกายเป็นปกติ แต่ที่มีความรู้สึกอย่างนั้นเป็นอาการของสมาธิ เสียงภายนอก
    ที่เข้ามากระทบหูเกือบไม่ได้ยินเสียงนั้นเลยได้ยินแต่เบามาก จิตทรงอารมณ์เป็นหนึ่งสงัดดีมาก
    เป็นพิเศษ อย่างนี้เป็นอาการของฌานที่สาม

    ๔.อาการของฌานที่สี่เมื่อจิตเข้าถึงฌานที่สี่ ฌานสี่นี้มีสองขั้นคือ หยาบ กับ ละเอียด
    สำหรับฌานหนึ่ง สอง สาม นั้น แต่ละฌานมีสามชั้นคือ หยาบ กลาง ละเอียด ที่ไม่อธิบายไว้ ก็
    เพราะกลัวจะเฝือ เพราะเมื่อฝึกได้ใหม่ยังไม่มีกำลังใจที่แน่นอน ประเดี๋ยวได้ประเดี๋ยวสลายตัว
    อธิบายละเอียดเข้าแทนที่จะเป็นผลดี จะกลายเป็นอาหารผสมยาพิษไปจุกจิกใจเข้าเลยเลิกดีกว่า
    เป็นอันว่ารู้กันว่าเป็นฌานชั้นที่สี่ก็พอ ฌานอื่นๆ พอรู้ว่าถึงฌานก็พอ จงอย่าลืมว่าเมื่อถึง
    ฌานแล้วเวลาไม่นานก็พลัดจากฌาน คืออารมณ์ลดลงมาที่อารมณ์ปกติ ให้คิดว่าเราถึงฌานได้แล้ว
    จะอยู่นานหรือไม่นานก็ช่าง เป็นอันว่าเราเข้าถึงธงชัยแล้วก็ดีถมไป วันนี้ฌานสลายตัววันหน้าเวลา
    หน้ายังมีอีก เมื่อเรายังไม่ตายเพียงใด เราก็เล่นเพลิดเพลินในฌานให้อารมณ์เป็นสุข เพื่อเพราะ
    กำลังสมาธิไว้เป็นกำลังช่วยตัดกิเลสในโอกาสหน้าต่อไป

    เลอะเทอะมาเสียนาน ตอนนี้เข้าตอนฌานสี่กันเถอะ เมื่อจิตเข้าถึงฌานสี่หยาบตอนนั้นจะมี
    ความรู้สึกว่า ลมหายใจหายไป ไม่รู้สึกว่าหายใจ แต่ที่จริงแล้วลมหายใจยังมีตามปกติแต่ทว่าจิต
    ไม่รับทราบว่าร่างกายทำอะไร หายใจหรือไม่ จิตใจย่อมไม่รับรู้ตามท่านพูดว่าจิตกับประสาทแยก
    กันเด็ดขาด แต่ตอนฌานสี่หยาบนี้จิตแยกออกจากประสาทจริงแต่ยังไปไม่ไกลนัก ฉะนั้นเมื่อมี
    เสียงดังขนาดเครื่องขยายเสียงที่ดังมากๆ ตั้งอยู่ใกล้หูยังพอได้ยินแว่วๆ เหมือนอยู่ไกลกันมาก
    เมื่อจิตเข้าถึงฌานสี่ละเอียด ตอนนี้สบายมาก เพราะไม่รู้อะไรเลย (ไม่ใช่หลับ) ภายใน
    กำลังของจิตเข็มแข็งมาก มีความสว่างโพลง แต่จิตไม่ยอมรับรู้เรื่องของประสาทเลย ไม่ว่า
    เสียงหรือการกระทบกาย จิตไม่ยอมรับทราบด้วยประการทั้งปวง อาการของฌานสี่ที่ละเอียด
    เป็นอย่างนี้

    ที่นำอาการของฌานมากล่าวไว้ที่นี้ก็เพราะว่าการปฏิบัติในหมวดสุกขวิปัสสโก ก็ทรงฌาน
    เหมือนหมวดอื่นเหมือนกัน เพื่อนักปฏิบัติจะได้ทราบอาการเอาไว้ เพราะมีผู้มาถามเรื่องอาการ
    ของฌานนี้นับรายไม่ถ้วน บางรายถามแล้วถามอีกถามบ่อยๆ ชักสงสัยว่าทำจริงหรือเปล่า เพราะ
    ผู้ทำจริงเขาไม่ถามบ่อย เมื่อถามแล้วเอาไปปฏิบัติได้แล้วรู้เรื่องก็ไม่มีเรื่องถามต่อไป

    **************************************************

    เข้าศึกษาได้ตั่งแต่เริ่มต้น...ทั้งหมด....ได้ที่นี่....หนังสือเล่มนี้เนื้อหาเพียงพอสำหรับผู้ที่จะปฏิบัติด้วยตนเอง....รวบรวมวิธี...และอาการทางสมาธิ...ทั้งหมด....ควรศึกษาให้เข้าใจสัก 1 รอบ(ไม่ยาวนัก)แล้วปฏิบัติได้เลย....คำถามทางสมาธิส่วนใหญ่ที่ถามในบอร์ดมักอยู่ที่นี่.......
    วิธีฝึกกรรมฐานด้วยตนเองแบบง่ายๆ....โดยหลวงพ่อพระราชพรหมยาน ( ฤาษีลิงดำ )
    http://www.palungjit.org/smati/books/index.php?cat=7
     
  10. เล่าปัง

    เล่าปัง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    4,787
    ค่าพลัง:
    +7,918
    สังเกตุให้ดีๆ พยายาม ดูที่พฤตจิตตนเอง การ พิจารณาพฤติจิตของตน
    เอง เขาเรียกว่า " การสดับธรรมจากพระพุทธองค์ " ส่วนการ สดับธรรมะแบบ
    ถามตอบเอากับคนอื่น หรือ แม้แต่ตัวเอง ถึงจุดๆหนึ่ง จะเรียกว่า "ฝุ้งซ่าน"

    จากคำถามทั้งหมด ไม่ใช่ว่า คุณจะมาถามว่า ต้องอย่างไหนถึงจะดี

    แต่ จิตคุณเองนั่นแหละ กำลังหิว อินทรีย์ บางอย่าง

    แล้ว จิตคุณ ก็รู้ด้วยว่า หิวอะไร ขาดอาหารตัวไหน

    แต่ที่ไม่แล่นไป ไม่อนุโลมญาณตามไปตามที่จิต แสดงธรรมให้ฟัง อาจจะ
    มีหลายสาเหตุ แต่โดยมากคือ ศรัทธาในพระพุทธพร่อง ถ้าไม่เช่นนั้น คือ
    มีเวรกรรม คือ เคยทำอะไรที่ ขัดศรัทธาชาวบ้านเขาไว้ ทำให้ ใจตนต้อง
    เสวยกรรมคือ " ไม่กล้าอนุโลมไปตามความดี " ที่ควรอย่างยิ่ง

    ปัจจัยที่สอง คือ ฟังธรรมนอกศาสนาอยู่ โดย เฉพาะคำว่า " ฌาณ " ถ้า
    ใจยังเอร็ดอร่อยกับ ธรรมนอกศาสนา เห็น รสฌาณ ว่าเลิศ ตรงนี้ ก็จะปิด
    กั้นความดีของตนเอง ไม่กระทำในสิ่งที่ควรกระทำให้ถึงที่สุด ไปละล้า
    ละลัง ยิ่งละล้าละลังแล้วคบหากัลยาณมิตรผิด จะยิ่ง ล้มประดาตาย คือ
    ยิ่ง สนทนาธรรมเท่าไหร่ ก็ยิ่งห่างไกลจิตพุทธะ จิตของนักปฏิบัติดี ปฏิบัติ
    ชอบไปมากเท่านั้น

    ปัจจัยที่สาม ให้เลิกถามตอบตัวเอง การที่เราไม่สดัลธรรมภายนอก ไม่
    ฟังจากคนอื่น สัตว์อื่น เหลือแต่ การสดับพฤติจิต เห็นอาการของจิตตน
    ส่งออก เดี๋ยวก็ส่งออก เดี๋ยวก็แล่นออก ไม่อยู่ที่ฐาน หาฐานจิตไม่เจอ
    ( รู้สึกว่า ขาดกำลัง ขาดพละ บางอย่าง ) อันนี้ก็เพราะ ยังเอาแต่ถาม
    ตอบอยู่กับตัวเอง เพราะไปเชื่อใจที่ไหลไปคิด แทนที่จะเห็นใจมัน
    ไหลไปคิด ไปโอนอ่อนให้จิตที่ส่งออก(ไหลไปคิด) จิตมันก็ถูกตัด
    รอนกำลัง แต่ถ้า รู้ทันจิตที่ไหลไปคิด จะค่อยๆเห็น " จิตที่ตั้งมั่น "

    เมื่อไหร่ก็ตามที่รู้จัก " จิตตั้งมั่น " เมื่อนั้น จะรู้ว่า " ฌาณ " เป็นเรื่อง
    ของชาวบ้านเขาจะหลงรสกัน เพราะ เราสำเร็จฌาณ และ ผ่านไปแล้ว
    และ ไม่ได้ทำหายไปไหน มีอยู่บริบูรณ์ เพียงแต่ ยังไม่ส่งออกไปใช้

    แต่ถ้ายังไม่สำเร็จ ก็นั่นแหละ ใจที่ส่งออก ไปเห็น ไปรู้ ไปพูดได้ เหล่า
    นันคือ ตัวบั่นทอนกำลัง พละ อินทรีย์

    *********************

    ที่กล่าวไปนี้ แท้จริงแล้วก็ไม่จำเป็น

    เพราะ ในโพสที่ กล่าวถึง "ธนาคารเวลา" ตรงนี้เป็น สัญญาณ ที่จิต
    คุณปติวัติตัวเองได้ เพียงแต่ ต้องโกย อรัมภบทนอกแนว เรื่อง ธนาคาร
    เวลาทิ้งให้หมด แล้ว เหลือเพียง " มรณานุสติ " ที่ไม่ใช่เรื่องนอกแนว
    ว่าด้วยสุญญตาโดยเฉพาะ

    ธนาคารเวลา จัดว่าเป็นเรื่องนอกแนว เพราะ ไม่ใช่ สุญญตา แต่เป็น
    เรื่องว่าด้วยการอยู่ของสัตว์ ธรรมะที่เนื่องกับความเป็นสัตว์ ธรรมะ
    นั้นเป็นยาพิษ

    ยกตัวอย่างเช่น

    "ภาวนาสติปัฏฐานไปเถอะ หากชาตินี้ไม่ได้อะไร อย่างน้อยก็เป็นบุญสะสมไปชาติหน้า "

    การปรารภแบบนี้ หากปรารภด้วยใจที่ เล็งเห็นความเป็น สัตว์ จะจัดเป็นเรื่อง
    นอกแนว ไม่ใช่การว่า ด้วยสุญญตา ทันที

    แต่ถ้า ปรารภในเชิง เล็งเห็นว่า มันเกิดเพราะ ปัจจัยมันมี คือ ทำกุศล ย่อม
    เป็นปัจจัยให้ได้รับผล มีอานิสงค์ อันเป็นเรื่อง พฤติจิต ธรรมดาๆ ( ไม่ใช่
    การเห็นว่า จิตเป็นสัตว์ ) ตรงนี้ก็จะผลิก เป็นการ กล่าวแบบสุญญตา

    **********************

    อานาปานสติ เป็น กรรมฐานทีมีอานิสงค์ใหญ่ หากสำเร็จอานาปานสติ จะ
    ได้อรหันต์ในชาตินี้ หากไม่ได้ในชาตินี้ ก็จะไม่กลับมาเกิดในโลกมนุษย์อีก
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 26 มกราคม 2013
  11. อภิมาร

    อภิมาร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 ตุลาคม 2012
    โพสต์:
    711
    ค่าพลัง:
    +2,154




    ฌาณเป็นสภาวะหนึ่งครูอาจารย์เคยบอก

    เหมือนเป็นของแถม ถ้าของเก่าเคยมีมาถึงเวลา

    ก็จะปรากฏเอง yimm โดยเราแค่รู้ว่ามีก็พอ

    แต่งานหลักคือการเจริญสติ และภาวนาตามรูปแบบ

    ที่ทำแล้วถูกกับจริตของเราเอาผลที่ได้ถ้าจิตรสงบและเป็นสมาธิ

    :z9 เป็นใช้ได้ ขยันก็ทำ เหนื่อยก็ทำ ขี้เกียจก็ทำ ทำไป

    เพลินๆเอาแค่หลับสบายก็พอ ;k06 ขออนุโมทนา.
     
  12. name4022

    name4022 สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 มิถุนายน 2012
    โพสต์:
    7
    ค่าพลัง:
    +5
    มันต้องอยู่กับปัจจุบันให้ได้ตลอดครับ แบ่งเป็นสองสภาวะอยู่กับคำบริกรรม(ลมหายใจก็ได้) หรือ ใช้สติตามรู้กิริยาอื่นที่มันเคลื่อนหนีคำบริกรรม แต่เป้าหมายคือหาจิตให้เจอก่อนครับ พยายามนะครับ
     
  13. newamazing

    newamazing เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2012
    โพสต์:
    1,704
    ค่าพลัง:
    +1,381
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าภิกษุเจริญเมตตาจิต แม้ชั่วกาลเพียงลัดนิ้วมือเดียวเท่านั้น
    ภิกษุนี้เรากล่าวว่า อยู่ไม่เหินห่างจากฌาน ทำตามคำสอนของ พระศาสดา ปฏิบัติตามโอวาท
    ไม่ฉันบิณฑบาตของชาวแว่นแคว้นเปล่า ก็จะกล่าวไยถึงผู้ทำเมตตาจิตนั้นให้มากเล่า ฯ
     
  14. เชษฐ์ดนัย

    เชษฐ์ดนัย สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 กุมภาพันธ์ 2013
    โพสต์:
    8
    ค่าพลัง:
    +10
    -ลองภาวนา " สัมมา อะระหัง " ดูครับ ไม่ต้องตามลมหายใจ ไม่สนใจอะไรนอกจากคำภาวนาอย่างเดียวครับ
     
  15. คุณตุ๊ก

    คุณตุ๊ก เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 พฤศจิกายน 2009
    โพสต์:
    127
    ค่าพลัง:
    +131
    เลือกเอาสักอัน ที่ทำแล้วรู้สึกว่าตัวเอง สบาย เข้าใจ และ พัฒนา

    อย่าทำหลายๆ อย่าง เพราะมันจะเป็นการลังเล ตั้งใจให้แน่วแน่

    พอเห็นทางก็ลุยเลยครับ อนโทนา สาธุ
     

แชร์หน้านี้

Loading...