เปิดจักระขั้นพื้นฐานผ่านหน้าเว๊บ

ในห้อง 'วิทยาศาสตร์ทางจิต - ลึกลับ' ตั้งกระทู้โดย มีแปปเดียว, 24 สิงหาคม 2010.

  1. Jasmin99999

    Jasmin99999 วันนี้ต้องดีกว่าเมื่อวาน

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 กุมภาพันธ์ 2010
    โพสต์:
    971
    ค่าพลัง:
    +3,332
    มาเติมความรู้ค่ะ

    อยากบอกว่าอธิบายได้ดีมากค่ะ สั้นๆแต่ได้ใจความ ได้เคยดูตามเว็ปต่างๆที่มีพระสุปฏิปันโนเทศน์ ไปเจอในยูทูปเจอหลวงปู่ต้นบุญได้เทศน์แนะนำญาติโยมในเรื่องการปฏิบัติ ท่านก็บอกคล้ายๆกันนี้แหละค่ะ ตอนนี้หนูก็จะพยายามทำไปเรื่อยๆ สะสมไปทีละนิดๆค่ะ

    ขอให้บุญรักษาทุกท่านนะคะ
     
  2. มีแปปเดียว

    มีแปปเดียว เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มกราคม 2010
    โพสต์:
    889
    ค่าพลัง:
    +3,876
    ข้าพเจ้าขอประนตน้อมด้วยเศียรเกล้าแด่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ซึ่งตรัสรู้ได้โดยพระองค์เองและเป็นผู้ไกลจากกิเลสทุกๆพระองค์

    อันปุถุชนและพระเสขะต่างต้องผจญกับโลกธรรม8มีสุขมีทุกข์ในชึวิตประจำวันไปตลอด ขอให้รู้ไว้ว่าแท้ที่จริงนามธรรมที่เราเรียกว่าจิต ที่หลายๆคนคิดว่าเป็นอะไรที่เที่ยงแท้ยั่งยืนนี้น ก็เกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป ตลอดเวลา
    ไม่มีใครที่ดีได้ตลอดเวลาและไม่มีใครที่เลวได้ตลอดเวลาเช่นกัน ทุกๆท่านสามารถบรรลุธรรมได้ทุกปัจจุบันเวลา อย่าให้อดีตที่หมองมัวมาเป็นอุปสรรคแห่งการก้าวหน้าในธรรม เพราะอดีตที่ผ่านมานั้นไม่ควรย้อนเอากลับมาคิดคำนึงให้เศร้าหมอง ส่วนอนาคตนั้นก็ยังมาไม่ถึงจึงไม่ควรคาดหวังกับสิ่งใดที่ไม่แน่นอน ปัจจุบันนี้แหละคือเวลาที่สำคัญที่สุด

    การดำรงชีวิตอยู่ของพุทธศาสนิกชนที่มีปัญญาคือเพียรพยายามและอดทน อดกลั้นกับกิเลสแลโลกธรรมที่เกิดขึ้นโดยระลึกถึงกฏไตรลักษณ์ไว้อยู่เสมอ ว่า เกิดขึ้นเพราะเหตุและปัจจัยมาประกอบกันเข้า เมื่อสิ้นเหตุและปัจจัยที่ประกอบกัน และก็ดับไปเป็นธรรมดา หามีสิ่งใดเป็นสาระให้เข้าไปยึดมั่นถือมั่นไม่
    ขอทุกๆท่านใช้ชีวิตด้วยความไม่ประมาทเทอญ
     
  3. มีแปปเดียว

    มีแปปเดียว เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มกราคม 2010
    โพสต์:
    889
    ค่าพลัง:
    +3,876
    จิตเปลี่ยนแปลงเร็วที่สุด

    ปัญหา อะไรเป็นธรรมชาติที่เปลี่ยนแปลงรวดเร็วที่สุด?

    พุทธดำรัสตอบ “ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราย่อมไม่เล็งเห็นธรรมอื่นแม้แต่อย่างเดียวที่เปลี่ยนแปลงได้รวดเร็วเหมือนจิต ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย แม้จะเปรียบเทียบให้เห็นว่า จิตเปลี่ยนแปลงได้รวดเร็วเพียงใดนั้น ก็กระทำไม่ได้ง่าย....”

    บาลีแห่งเอกธรรม เอก. อํ. (๔๙)
    ตบ. ๒๐ : ๑๑ ตท. ๒๐ : -
    ตอ. G.S. ๑ : ๗-๘
     
  4. weruwan

    weruwan เวฬุวัน ว.มุจลินทร์

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    106
    ค่าพลัง:
    +537
    หากมีจิตที่เมตตาแลงดงาม
    ย่อมได้รับการปกป้องด้วยผองธรรม

    คราก่อนเรายังก้าวเดินด้วยความอ่อนด้อยไร้เดียงสา
    แต่ปัจจุบันก็ยังเขลาอีกมากแล
    ในคราสักสามปีกว่า
    ได้มีวาระธรรมแถบเพชรเกษม
    ท่านอาจารย์ได้เมตตาช่วยเหลือความ
    แต่มีท่านหนึ่งมีจิตเป็นอาสามาช่วยเหลือท่าน
    ได้กระทำการตามจักระต่างต่างในร่างกายเรา
    เราปล่อยจิตไปหวังความในกุศลที่ชายท่านนั้นได้เมตตา
    ด้วยความอ่อนด้อยไร้ประสบการณ์แลหนคิดเป็นอกุศลไม่
    แต่ท้ายสุด
    สิ่งที่ก่อเกิด
    มีพลังงานสีดับมิต่างจากสีนิล
    ไหลพวยพุ่งมาสู่กายาเป็นสำคัญ
    พลันมีพลังงานสีขาวออกไปต้านให้ประจักษ์
    รักษาสมดุลไม่ก้าวรุกไปแลถอยร่น
    เป็นไปอย่างอัตโนมัติมิอาจสั่งการได้ด้วยจิตที่ยังด้อยไร้ปัญญา
    สักพักชายท่านนั้นผู้อาสาอาจารย์มาปรับกายธาตุ
    มาถามว่าเป็นเยี่ยงไร
    ก็ตอบกลับไปในพลังงานที่มาสู่
    ชายท่านนั้นกล่าวความว่า
    อย่าไปคิดอันใดเป็นให้มากความ
    ชายท่านนั้นให้เราหมายซัดพลังไปสู่เขาให้สุดแรงเกิด
    เราก็หากระทำความเป็นไม่
    จิตมิสั่งการอันใดให้ทำเยี่ยงนั้น
    แต่ถูกรุกเร้าเป็นคราสอง
    จึงเคลื่อนกำลังไปอย่างเสียมิได้
    แล้วท่านอาจารย์ก็ได้ตำหนิชายผู้อาสา
    ในจิตที่เป็นอกุศลนั้น

    จึงเป็นที่มาของอักษราวาจา
    “หากมีจิตที่เมตตาแลงดงาม
    ย่อมได้รับการปกป้องด้วยผองธรรม”
    กราบสวัสดี
    ท่านอาจารย์อัคนีวาตผู้เมตตา
    โปรดเฉลยความขานไข
    ท่านมีความเห็นชายผู้นั้นเป็นเช่นไร
    โปรดเมตตาความศิษย์ผู้นี้ด้วยเถิดท่าน
    ผลิว่าวันหนึ่ง
    เขาจักกลับมาทำความเดือดร้อนให้ผู้คน
    __________________
     
  5. มีแปปเดียว

    มีแปปเดียว เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มกราคม 2010
    โพสต์:
    889
    ค่าพลัง:
    +3,876
    วิธีปฏิบัติเมื่อถูกทำร้าย

    ปัญหา เมื่อภิกษุถูกเบียดเบียนทำร้าย ทางพระพุทธศาสนาสอนให้พิจารณาอย่างไร ?

    พุทธสารีบุตรตอบ “.....ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย หากชนเหล่าอื่นจะพยายามทำร้ายภิกษุนั้น ด้วยอาการที่ไม่น่าปรารถนา ไม่น่าใคร่ ไม่น่าพอใจ คือด้วยการประหารด้วยฝ่ามือบ้าง ด้วยการประหารด้วยก้อนดินบ้าง ด้วยการประหารด้วยท่อนไม้บ้าง ด้วยการประหารด้วยศัสตราบ้าง ภิกษุนั้นย่อมรู้ชัดอย่างนี้ว่า กายนี้เป็นสภาพที่เป็นไปด้วยการประหาร ด้วยฝ่ามือบ้าง ด้วยก้อนดินบ้าง.... ด้วยท่อนไม้บ้าง ด้วยศัสตราบ้าง อนึ่ง พระผู้มีพระภาคได้ตรัสไว้ในพระโอวาทอันเปรียบด้วยเลื่อยดังนี้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย แม้ว่าพวกโจรผู้มีความประพฤติต่ำช้า พึงตัดทอนอวัยวะใหญ่น้อยทั้งหลายด้วยเลื่อยอันมีด้ามสองข้างไซร้ ภิกษุผู้ที่ยังใจให้ประทุษร้ายในโจร แม้พวกนั้นย่อมไม่เชื่อว่าทำตามคำสอนของเรา..... อนึ่ง ความเพียรอันเราปรารภแล้ว จักไม่ย่อหย่อน สติอันเราตั้งไว้มั่นแล้วจักไม่หลงลืม กายอันเราให้สงบแล้ว จักไม่กระวนกระวาย จิตอันเราตั้งไว้มั่นแล้ว จักมีอารมณ์อย่างเดียว การประหารด้วยฝ่ามือ.... ด้วย ก้อนดิน.... ด้วยท่อนไม้.... ด้วยศัสตราทั้งหลาย จงเป็นไปในกายนี้เถิด คำสอนของพระพุทธเจ้า .... เราจะทำให้จงได้ดังนี้ ฯ ”

    มหาหัตถิปโทปมสูตร มู. ม. (๓๔๒)
    ตบ. ๑๒ : ๓๕๑ ตท.๑๒ : ๒๙๑
    ตอ. MLS. I : ๒๓๒
     
  6. มีแปปเดียว

    มีแปปเดียว เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มกราคม 2010
    โพสต์:
    889
    ค่าพลัง:
    +3,876
    มหาหัตถิปโทปมสูตร
    พุทธพจน์ และ พระสูตร ๒๕.
    พระไตรปิฎก ฉบับสยามรัฐ เล่มที่ ๑๒
    คลิกขวาเมนู
    อุปมาอริยสัจกับรอยเท้าช้าง และแสดงธาตุ ๔ ฯ.
    [๓๔๐] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้ สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อารามของท่านอานาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี.
    สมัยนั้นแล ท่านพระสารีบุตร เรียกภิกษุทั้งหลายมาว่า ดูกรภิกษุทั้งหลายผู้มีอายุ. ภิกษุเหล่านั้นรับคำของท่านพระสารีบุตรแล้ว.
    พระสารีบุตรได้กล่าวว่า ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย รอยเท้าเหล่าใดเหล่าหนึ่งแห่งสัตว์ ทั้งหลายผู้เที่ยวไปบนแผ่นดิน รอยเท้าเหล่านั้นทั้งหมด ย่อมถึงการประชุมลงในรอยเท้าช้าง รอยเท้าช้างชาวโลกย่อมกล่าวว่า เป็นยอดของรอยเท้าเหล่านั้น เพราะรอยเท้าช้างเป็นของใหญ่ แม้ฉันใด ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย กุศลธรรมเหล่าใดเหล่าหนึ่ง กุศลธรรมเหล่านั้นทั้งหมด ย่อมถึงการสงเคราะห์เข้าในอริยสัจสี่ ฉันนั้นเห็นเหมือนกันแล.
    ในอริยสัจสี่เหล่าไหน? คือ ในทุกขอริยสัจ(ทุกข์) ในทุกขสมุทัยอริยสัจ(สมุทัย) ในทุกขนิโรธอริยสัจ(นิโรธ) ในทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ(มรรค).
    [๓๔๑] ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ก็ทุกขอริยสัจเป็นไฉน?
    คือ แม้ความเกิดเป็นทุกข์ แม้ความแก่เป็นทุกข์ แม้ความตายเป็นทุกข์ แม้ความโศก ความรำพัน ความทุกข์กาย ความทุกข์ใจ ความคับแค้นใจ ก็เป็นทุกข์ แม้ความที่ไม่ได้สิ่งที่ตนอยากได้ ก็เป็นทุกข์ โดยย่อ อุปาทานขันธ์ ๕ เป็นทุกข์.
    ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ก็อุปทานขันธ์ห้าเป็นไฉน? คืออุปทานขันธ์คือรูป(หมายถึงรูปที่ประกอบด้วยอุปาทาน คือรูปูปาทานขันธ์ แต่บางทีก็กล่าวโดยย่อว่ารูป เช่นกัน) อุปทานขันธ์คือเวทนา(หมายถึงเวทนาที่ประกอบด้วยอุปาทาน คือเวทนูปาทานขันธ์ แต่บางทีก็กล่าวโดยย่อว่าเวทนา) อุปทานขันธ์คือสัญญา(หมายถึงสัญญาที่ประกอบด้วยอุปาทาน คือสัญญูปาทานขันธ์) อุปทานขันธ์คือสังขาร(หมายถึงสังขารที่ประกอบด้วยอุปาทาน คือสังขารูปาทานขันธ์) อุปทานขันธ์คือวิญญาณ(หมายถึงวิญญาณที่ประกอบด้วยอุปาทาน คือวิญญาณูปาทานขันธ์).
    ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ก็อุปทานขันธ์คือรูปเป็นไฉน? คือ มหาภูตรูป ๔ และรูปที่อาศัยมหาภูตรูป ๔ (อุปาทายรูป ๒๔)
    ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ก็มหาภูตรูป ๔ เป็นไฉน? คือปฐวีธาตุ อาโปธาตุ เตโชธาตุ วาโยธาตุ.
    ปฐวีธาตุ (ธาตุดิน)
    [๓๔๒] ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ปฐวีธาตุเป็นไฉน? คือ ปฐวีธาตุที่เป็นไปภายในก็มี ปฐมวีธาตุที่เป็นไปภายนอกก็มี.
    ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ก็ปฐวีธาตุ ที่เป็นไปภายในเป็นไฉน?
    คือ สิ่งที่เป็นอุปาทินนกรูปอันเป็นภายใน เป็นของเฉพาะตน เป็นของแข้นแข็ง เป็นของหยาบ คือ ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง เนื้อ เอ็น กระดูก เยื่อในกระดูก ม้าม หัวใจ ตับ พังผืด ไต ปอด ไส้ใหญ่ ไส้น้อย อาหารใหม่ อาหารเก่า ก็หรือสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ซึ่งเป็นอุปาทินนกรูป อันเป็นภายใน เป็นของเฉพาะตน เป็นของแข้นแข็ง เป็นของหยาบอย่างอื่น นี้เรียกว่า ปฐวีธาตุ เป็นไปภายใน.
    ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ก็ปฐวีธาตุอันใด แลเป็นไปภายใน และปฐวีธาตุอันใด เป็นไปภายนอก นั่นเป็นปฐวีธาตุแล.
    บัณฑิตพึงเห็น ปฐวีธาตุนั้น นั่น ด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา เราไม่เป็นนั่น นั่นไม่เป็นตนของเรา.
    บัณฑิตครั้นเห็นปฐวีธาตุนั่น ด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริง อย่างนี้แล้ว ย่อมเบื่อหน่ายในปฐวีธาตุ ย่อมยังจิตให้คลายกำหนัดในปฐวีธาตุ.
    ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย สมัยที่ปฐวีธาตุ ที่เป็นไปภายนอกกำเริบ ย่อมจะมีได้(ดังเช่น แผ่นดินไหว การขุด การเจาะ) แลในสมัยนั้น ปฐวีธาตุอันเป็นภายนอกจะเป็นของอันตรธานไป.
    ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ก็ชื่อว่าความที่แห่งปฐวีธาตุอันเป็นไปภายนอกนั้น ซึ่งใหญ่ถึงเพียงนั้น เป็นของไม่เที่ยง จักปรากฏได้ ความเป็น ของสิ้นไปเป็นธรรมดา จักปรากฏได้ ความเป็นของเสื่อมไปเป็นธรรมดา จักปรากฏได้ ความเป็น ของแปรปรวนไปเป็นธรรมดา จักปรากฏได้.
    ก็ไฉนความที่แห่งกายอันตัณหาเข้าไปถือเอาแล้ว ว่าเรา ว่าของเรา ว่าเรามีอยู่ อันตั้งอยู่ตลอด กาล(เพียง)นิดหน่อยนี้ เป็นของไม่เที่ยง เป็นของมีความสิ้นไปเป็นธรรมดา เป็นของมีความเสื่อมไปเป็นธรรมดา เป็นของมีความแปรปรวนไปเป็นธรรมดา จักไม่ปรากฏเล่า เมื่อเป็นเช่นนี้ ความยึดถือด้วยสามารถตัณหามานะและทิฏฐิในปฐวีธาตุ อันเป็นภายใน นั้นจะไม่มีแก่ผู้นั้นเลย.
    ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย หากว่า ชนเหล่าอื่นจะด่า จะตัดเพ้อ กระทบ กระเทียบ จะเบียดเบียน ภิกษุนั้นไซร้.
    ภิกษุนั้นย่อมรู้ชัดอย่างนี้ว่า ทุกขเวทนาอันเกิดแต่ โสตสัมผัสนี้เกิดขึ้นแล้วแก่เรา ก็แต่ว่า ทุกขเวทนานั้นแล อาศัยเหตุจึงมีได้ ไม่อาศัยเหตุจะมีไม่ได้
    ทุกขเวทนานี้ อาศัยอะไรจึงมีได้ ทุกขเวทนาอาศัยผัสสะจึงมีได้.
    ภิกษุนั้น ย่อมเห็นว่า ผัสสะเป็นของไม่เที่ยง
    ย่อมเห็นว่า เวทนาเป็นของไม่เที่ยง
    ย่อมเห็นว่า สัญญาเป็นของไม่เที่ยง
    ย่อมเห็นว่า สังขารทั้งหลายเป็นของไม่เที่ยง
    ย่อมเห็นว่า วิญญาณเป็นของไม่เที่ยง
    จิตอันมีธาตุ(หมายถึง พิจารณาอยู่ในธาตุ ๔)เป็นอารมณ์นั่นเทียวของภิกษุนั้น ย่อมแล่นไป ย่อมเสื่อมใส ย่อมตั้งอยู่ด้วยดี ย่อมหลุดพ้น.
    ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย หากว่า ชนเหล่าอื่นจะพยายามทำร้ายภิกษุนั้น ด้วยอาการที่ไม่น่าปรารถนา ไม่น่าใคร่ ไม่น่าชอบใจ คือด้วยการประหารด้วยฝ่ามือบ้าง ด้วยการประหารด้วยก้อนดินบ้าง ด้วยการประหารด้วยท่อนไม้บ้าง ด้วยการประหารด้วยศาตราบ้าง.
    ภิกษุนั้นย่อมรู้ ชัดอย่างนี้ว่า กายนี้เป็นสภาพเป็นที่เป็นไปแห่งการประหารด้วยฝ่ามือบ้าง เป็นที่เป็นไปแห่งการประหารก้อนดินบ้าง เป็นที่เป็นไปแห่งการประหารด้วยท่อนไม้บ้าง เป็นที่เป็นไปแห่งการประหารด้วยศาตราบ้าง.
    อนึ่ง พระผู้มีพระภาคได้ตรัสไว้ในพระโอวาทอันเปรียบด้วยเลื่อยดังนี้ว่า ดูกร ภิกษุทั้งหลาย แม้หากว่า พวกโจรผู้มีความประพฤติต่ำช้า พึงตัดทอนอวัยวะใหญ่น้อยทั้งหลายด้วยเลื่อยอันมีด้ามสองข้างไซร้ ภิกษุผู้ที่ยังใจให้ประทุษร้ายในพวกโจร แม้นั้น ย่อมไม่เป็นผู้ชื่อว่า ทำตามคำสั่งสอนของเราด้วยเหตุนั้น ดังนี้.
    อนึ่ง ความเพียรอันเราปรารภแล้ว จักเป็นคุณชาติ ไม่ย่อหย่อน สติอันเราเข้าไปตั้งไว้แล้ว จักเป็นคคุณชาติ ไม่หลงลืม กายอันเราให้สงบแล้ว จักเป็นสภาพไม่กระวนกระวาย จิตอันเราให้ตั้งมั่นแล้ว จักเป็นธรรมชาติมีอารมณ์เป็นอย่างเดียว คราวนี้ การประหารด้วยฝ่ามือทั้งหลาย จงเป็นไปในกายนี้ก็ดี การประหารด้วยก้อนดินทั้งหลาย จงเป็นไปในกายนี้ก็ดี การประหารด้วยท่อนไม้ทั้งหลาย จงเป็นไปในกายนี้ก็ดี การประหารด้วยศาตราทั้งหลาย จงเป็นไปในกายนี้ก็ดี ตามทีเถิด คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลายนี้ เราจะทำให้จงได้ ดังนี้. ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย หากว่า เมื่อภิกษุนั้นระลึกถึงพระพุทธเจ้าอยู่อย่างนี้ ระลึกถึงพระธรรมอยู่อย่างนี้ ระลึกถึงพระสงฆ์อยู่อย่างนี้ อุเบกขาอัน(ต้อง)อาศัยกุศลธรรม ย่อมไม่ตั้งอยู่พร้อมได้(เหตุเป็นเพราะว่า อุเบกขาต้องอาศัยกุศลธรรมเป็นเครื่องหล่อเลี้ยงอีกด้วย จึงตั้งอยู่ไม่ได้ เหตุก็เพราะ)ภิกษุนั้นย่อมสลดใจ ย่อมถึงความสลดใจ เพราะเหตุนั้นว่า(จึงปรุงแต่งฟุ้งซ่านไป ดังเช่นว่า)ไม่เป็นลาภของเราหนอ ลาภไม่มีแก่เราหนอ เราได้ไม่ดีแล้วหนอ การได้ด้วยดีไม่มีแก่เราหนอ ที่เราระลึกถึงพระพุทธเจ้าอยู่ อย่างนี้ ระลึกถึงพระธรรมอยู่อย่างนี้ ระลึกถึงพระสงฆ์อยู่อย่างนี้ อุเบกขาอันอาศัยกุศลธรรม ไม่ตั้งอยู่ได้ด้วยดี ดังนี้.
    ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย หญิงสะใภ้เห็นพ่อผัวแล้ว ย่อมสลดใจ ย่อมถึงความสลดใจ แม้ฉันใด
    ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย หากว่า เมื่อภิกษุนั้นระลึกถึงพระพุทธเจ้าอยู่อย่างนี้ ระลึกถึงพระธรรมอยู่อย่างนี้ ระลึกถึงพระสงฆ์อยู่อย่างนี้ อุเบกขาอันอาศัยกุศลธรรม ไม่ตั้งอยู่ ได้ด้วยดี. (เพราะว่า)ภิกษุนั้นย่อมสลดใจ ย่อมถึงความสลดใจ เพราะเหตุนั้นว่า ไม่เป็นลาภของเราหนอ ลาภของเราไม่มีหนอ เราได้ไม่ดีแล้วหนอ การได้ด้วยดีไม่มีแก่เราหนอ ที่เราระลึกถึงพระพุทธเจ้าอยู่อย่างนี้ ระลึกถึงพระธรรมอยู่อย่างนี้ ระลึกถึงพระสงฆ์อยู่อย่างนี้ อุเบกขาอันอาศัย กุศลธรรม ย่อมไม่ตั้งอยู่ได้ด้วยดี ดังนี้. ฉันนั้นเหมือนกันแล.
    ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย หากว่า เมื่อภิกษุนั้นระลึกถึงพระพุทธเจ้าอยู่อย่างนี้ ระลึกถึงพระธรรมอยู่อย่างนี้ ระลึกถึงพระสงฆ์อยู่อย่างนี้ อุเบกขาอันอาศัยกุศลธรรม ย่อมตั้งอยู่ได้ด้วยดีไซร้. ภิกษุนั้น ย่อมเป็นผู้ปลื้มใจ เพราะเหตุนั้น.
    ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ด้วยเหตุแม้มีประมาณเท่านี้แล คำสอนของพระผู้มี พระภาคเป็นอันภิกษุทำให้มากแล้ว.
    อาโปธาตุ (ธาตุนํ้า)
    [๓๔๓] ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ก็อาโปธาตุเป็นไฉน?
    คือ อาโปธาตุที่เป็นไปภายใน ก็มี อาโปธาตุที่เป็นไปภายนอกก็มี.
    ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ก็อาโปธาตุที่เป็นไปภายในเป็น ไฉน?
    คือ สิ่งที่เป็นอุปาทินนกรูปอันเป็นภายในเป็นของเฉพาะตน เป็นของเอิบอาบ ถึงความเอิบอาบ คือ ดี เสลด หนอง เลือด เหงื่อ มันข้น น้ำตา เปลวมัน น้ำลาย น้ำมูก ไขข้อ น้ำมูตร ก็หรือ สิ่งใดสิ่งหนึ่ง ซึ่งเป็นอุปาทินนกรูปอันเป็นภายใน เป็นของเฉพาะตน เป็นของเอิบอาบ ถึงความเป็นของเอิบอาบอย่างอื่น นี้เรียกว่า อาโปธาตุเป็นไปภายใน.
    ดูกร ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ก็อาโปธาตุอันใดแล เป็นไปภายใน และอาโปธาตุอันใด เป็นไปภายนอก นั้นเป็นอาโปธาตุแล.
    บัณฑิตพึงเห็นอาโปธาตุนั้นนั่น ด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริง อย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา เราไม่เป็นนั่น นั่นไม่เป็นตนของเรา.
    ครั้นเห็นอาโปธาตุนั่น ด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงอย่างนี้แล้ว ย่อมเบื่อหน่ายในอาโปธาตุ ย่อมยังจิตให้คลายกำหนัดในอาโปธาตุ.
    ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย สมัยที่อาโปธาตุ ที่เป็นไปภายนอกกำเริบ ย่อมจะมีได้แล อาโปธาตุอันเป็นภายนอกนั้น(ดังเช่น น้ำท่วม) ย่อมพัดเอาบ้านไปบ้าง พัดเอานิคมไปบ้าง พัดเอาเมืองไปบ้าง พัดเอาชนบทไปบ้าง ย่อมพัดเอาประเทศแห่งชนบทไปบ้าง.
    ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย สมัยที่น้ำในมหาสมุทรย่อมลึกลงไปร้อยโยชน์บ้าง สองร้อยโยชน์บ้าง สามร้อยโยชน์บ้าง สี่ร้อยโยชน์บ้าง ห้าร้อยโยชน์บ้าง หกร้อยโยชน์บ้าง เจ็ดร้อยโยชน์บ้าง ย่อมมีได้แล.
    ดูกร ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย สมัยที่น้ำในมหาสมุทรขังอยู่เจ็ดชั่วลำตาลบ้าง หกชั่วลำตาลบ้าง ห้าชั่ว ลำตาลบ้าง สี่ชั่วลำตาลบ้าง สามชั่วลำตาลบ้าง สองชั่วลำตาลบ้าง ชั่วลำตาลหนึ่งบ้าง ย่อมมี ได้แล.
    ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย สมัยที่น้ำในมหาสมุทรขังอยู่ ได้เจ็ดชั่วบุรุษบ้าง หกชั่วบุรุษ บ้าง ห้าชั่วบุรุษบ้าง สี่ชั่วบุรุษบ้าง สามชั่วบุรุษบ้าง สองชั่วบุรุษบ้าง ประมาณชั่วบุรุษหนึ่ง บ้าง ย่อมมีได้แล.
    ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ก็สมัยที่น้ำในมหาสมุทรขังอยู่ กึ่งชั่วบุรุษบ้าง ประมาณเพียงสะเอวบ้าง ประมาณเพียงเข่าบ้าง ประมาณเพียงข้อเท้าบ้าง ย่อมมีได้แล.
    ดูกร ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย สมัยที่น้ำแม้ประมาณพอเปียกข้อนิ้วมือจะไม่มีในมหาสมุทร ก็ย่อมมีได้ แล.
    ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ก็ชื่อว่า ความที่แห่งอาโปธาตุอันเป็นไปภายนอกนั้น ซึ่งมากถึงเพียงนั้น (ยัง)เป็นของไม่เที่ยง จักปรากฏได้ ความเป็นของสิ้นไปเป็นธรรมดา จักปรากฏได้ ความเป็นของเสื่อมไปเป็นธรรมดา จักปรากฏได้ ความเป็นของแปรปรวนไปเป็นธรรมดา จักปรากฏได้.
    ก็ไฉนความที่แห่งกายอันตัณหาเข้าไปถือเอาแล้ว ว่าเรา ว่าของเรา ว่าเรามีอยู่ อันตั้งอยู่ ตลอดกาลนิดหน่อยนี้ เป็นของไม่เที่ยง เป็นของมีความสิ้นไปเป็นธรรมดา เป็นของมีความ เสื่อมไปเป็นธรรมดา เป็นของมีความแปรปรวนไปเป็นธรรมดา จักไม่ปรากฏเล่า เมื่อเป็นเช่นนี้ ความยึดถือด้วยสามารถตัณหามานะและทิฏฐิ ในอาโปธาตุอันเป็นภายนอกนั้น จะไม่มีแก่ผู้นั้น เลย.
    ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย หากว่า เมื่อภิกษุนั้นระลึกถึงพระพุทธเจ้าอยู่อย่างนี้ ระลึกถึง พระธรรมอยู่อย่างนี้ ระลึกถึงพระสงฆ์อยู่อย่างนี้ อุเบกขาอันอาศัยกุศลธรรม ย่อมตั้งอยู่ได้ด้วยดี ไซร้ ภิกษุนั้น ย่อมเป็นผู้ปลื้มใจเพราะเหตุนั้น.
    ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ด้วยเหตุแม้มีประมาณ เท่านี้แล คำสอนของพระผู้มีพระภาคเป็นอันภิกษุทำให้มากแล้ว.
    เตโชธาตุ (ธาตุไฟ)
    [๓๔๔] ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ก็เตโชธาตุเป็นไฉน?
    คือ เตโชธาตุที่เป็นไปภายใน ก็มี เตโชธาตุที่เป็นไปภายนอกก็มี.
    ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ก็เตโชธาตุที่เป็นไปภายในเป็น ไฉน? คือ สิ่งที่เป็นอุปาทินนกรูปอันเป็นภายใน เป็นของเฉพาะตน เป็นของเร่าร้อน ถึงความเป็นของเร่าร้อน คือ สิ่งที่เป็นเครื่องอบอุ่นแห่งกาย(เพื่อยังชีวิต) สิ่งที่เป็นเครื่องทรุดโทรมแห่งกาย(เจ็บป่วย) สิ่งที่เป็นเครื่องเร่าร้อนแห่งกาย(ด้วยไฟกิเลสตัณหา) สิ่งที่เป็นเครื่องถึงความแปรปรวนไปด้วยดีแห่งของที่กินแล้ว ดื่มแล้ว เคี้ยวแล้ว และของที่ลิ้มรสแล้ว ก็หรือสิ่งใดสิ่งหนึ่งซึ่งเป็นอุปาทินนกรูป อันเป็นภายใน เป็นของเฉพาะตน เป็นของเร่าร้อน ถึงความเป็นของเร่าร้อน อย่างอื่น นี้เรียกว่า เตโชธาตุ อันเป็นไปภายใน.
    ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ก็เตโชธาตุอันใดแล เป็นไปภายใน และเตโชธาตุ อันใด เป็นภายนอก นั่นเป็นเตโชธาตุแล.
    บัณฑิตพึงเห็นเตโชธาตุนั้นนั่น ด้วยปัญญาอันชอบ ตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา เราไม่เป็นนั่น นั่นไม่เป็นของเรา.
    บัณฑิต ครั้นเห็นเตโชธาตุนั่น ด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงอย่างนี้แล้ว ย่อมเบื่อหน่ายใน เตโชธาตุ ย่อมยังจิตให้คลาย กำหนัดในเตโชธาตุ.
    ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย สมัย ที่เตโชธาตุอันเป็นไปภายนอก กำเริบ ย่อมจะมีได้แล เตโชธาตุอันเป็นภายนอกนั้น (ไฟภายนอก)ย่อมไหม้บ้านบ้าง ย่อมไหม้บ้านเมืองบ้าง ย่อมไหม้นิคมบ้าง ย่อมไหม้ชนบทบ้าง ย่อมไหม้ประเทศ แห่งชนบทบ้าง.
    เตโชธาตุอันเป็นภายนอกนั้นมาถึงหญ้าสด หนทาง ภูเขา น้ำ หรือภูมิภาค อันเป็นที่รื่นรมย์ ไม่มีเชื้อ ย่อมดับไปเอง.
    ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย สมัยที่ชนทั้งหลายแสวง หาไฟด้วยขนไก่บ้าง ด้วยการขูดหนังบ้าง ย่อมมีได้แล.
    ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ก็ชื่อว่า ความที่แห่งเตโชธาตุ อันเป็นไปภายนอกนั้น ซึ่งใหญ่ถึงเพียงนั้น เป็นของไม่เที่ยง จักปรากฏได้ ความเป็นของสิ้นไปเป็นธรรมดา จักปรากฏได้ ความเป็นของเสื่อมไปเป็นธรรมดา จักปรากฏได้ ความเป็นของแปรปรวนไปเป็นธรรมดา จักปรากฏได้.
    ก็ไฉนความที่แห่งกายอันตัณหาเข้าไปถือ เอาแล้ว ว่าเรา ว่าของเรา ว่าเรามีอยู่ อันตั้งอยู่ตลอดกาลนิดหน่อยนี้ เป็นของไม่เที่ยง เป็น ของมีความสิ้นไปเป็นธรรมดา เป็นของมีความเสื่อมไปเป็นธรรมดา เป็นของมีความแปรปรวน ไปเป็นธรรมดา จักไม่ปรากฏเล่า เมื่อเป็นเช่นนี้ ความยึดถือด้วยสามารถตัณหามานะ และทิฏฐิในเตโชธาตุนั้น จะไม่มีแก่ผู้นั้นเลย.
    ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย หากว่า เมื่อภิกษุ นั้นระลึกถึงพระพุทธเจ้าอยู่อย่างนี้ ระลึกถึงพระธรรมอยู่อย่างนี้ ระลึกถึงพระสงฆ์อยู่อย่างนี้ อุเบกขาอันอาศัยกุศลธรรม ย่อมตั้งอยู่ได้ด้วยดีไซร้.
    ภิกษุนั้น ย่อมเป็นผู้ปลื้มใจเพราะเหตุนั้น. ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ด้วยเหตุแม้มีประมาณเท่านั้นแล คำสอนของพระผู้มีพระภาคเป็นอัน ภิกษุทำให้มากแล้ว.
    วาโยธาตุ (ธาตุลม)
    [๓๔๕] ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ก็วาโยธาตุเป็นไฉน?
    คือ วาโยธาตุที่เป็นไปภายใน ก็มี วาโยธาตุที่เป็นภายนอกก็มี.
    ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ก็วาโยธาตุที่เป็นไปภายในเป็น ไฉน? คือ สิ่งที่เป็นอุปาทินนกรูปอันเป็นภายใน เป็นของเฉพาะตน เป็นของพัดไปมา ถึง ความเป็นของพัดไปมา คือ ลมพัดขึ้นเบื้องบน ลมพัดลงเบื้องต่ำ ลมอันอยู่ในท้อง ลมอันอยู่ในลำไส้ ลมอันแล่นไปตามอวัยวะน้อยใหญ่ ลมหายใจเข้า ลมหายใจออก ก็หรือสิ่งใด สิ่งหนึ่งซึ่งเป็นอุปาทินนกรูป อันเป็นภายใน เป็นของเฉพาะตน เป็นของพัดไปมา ถึงความเป็นของพัดไปมา อย่างอื่น นี้เรียกว่า วาโยธาตุเป็นไปภายใน.
    ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ก็วาโยธาตุอันใดแล เป็นไปภายใน และวาโยธาตุอันใด เป็นไปภายนอก นั่นเป็น วาโยธาตุแล.
    บัณฑิตพึงเห็นวาโยธาตุนั้นนั่น ด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา เราไม่เป็นนั่น นั่นไม่เป็นตนของเรา.
    บัณฑิตครั้นเห็นวาโยธาตุนั้น ด้วย ปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงอย่างนี้แล้ว ย่อมเบื่อหน่ายในวาโยธาตุ ย่อมยังจิตให้คลาย กำหนัดในวาโยธาตุ.
    ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย สมัยที่วาโยธาตุอันเป็นไปภายนอกกำเริบ ย่อมจะมีได้แล วาโยธาตุอันเป็นภายนอกนั้น(ดังเช่น พายุ) ย่อมพัดเอาบ้านไปบ้าง ย่อมพัดเอานิคมไปบ้าง ย่อมพัดเอานครไปบ้าง ย่อมพัดเอาชนบทไปบ้าง ย่อมพัดเอาประเทศแห่งชนบท ไปบ้าง.
    ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย สมัยที่ชนทั้งหลาย แสวงหาลมด้วยพัดใบตาลบ้าง ด้วยพัดสำหรับพัดไฟบ้าง ในเดือนท้ายแห่งฤดูร้อน แม้ในที่ชายคา หญ้าทั้งหลายก็ไม่ไหว ย่อมมีได้แล.
    ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ก็ชื่อว่าความที่แห่งวาโยธาตุ อันเป็นไปภายนอกนั้น ซึ่งใหญ่ถึงเพียงนั้น เป็นของไม่เที่ยง จักปรากฏได้ ความเป็นของสิ้นไปเป็นธรรมดา จักปรากฏได้ ความเป็นของเสื่อมไปเป็นธรรมดา จักปรากฏได้ ความเป็นของแปรปรวนไปเป็นธรรมดา จักปรากฏได้.
    ก็ไฉนความที่แห่งกายอันตัณหาเข้ายึดถือเอาแล้ว ว่าเรา ว่าของเรา ว่าเรามีอยู่ อันตั้ง อยู่ตลอดกาลนิดหน่อยนี้ เป็นของไม่เที่ยง เป็นของมีความสิ้นไปเป็นธรรมดา เป็น ของมีความเสื่อมไปเป็นธรรมดา เป็นของมีความแปรปรวนไปเป็นธรรมดา จักไม่ปรากฏเล่า เมื่อ เป็นเช่นนี้ ความยึดถือด้วยสามารถตัณหามานะและทิฏฐิในวาโยธาตุนั้น จะไม่มีแก่ผู้นั้นเลย.
    ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย หากว่า ชนเหล่าอื่นจะด่า จะตัดพ้อ จะกระทบกระเทียบ จะ เบียดเบียนภิกษุนั้นไซร้.
    ภิกษุนั้น ย่อมรู้ชัดอย่างนี้ว่า ทุกขเวทนาอันเกิดแต่โสตสัมผัสนี้ เกิดขึ้นแล้วแก่เรา ก็แต่ว่า ทุกขเวทนานั้นแล อาศัยเหตุพึงมีได้ ไม่อาศัยเหตุจะมีไม่ได้
    ทุกขเวทนานี้อาศัยอะไร จึงมีได้ ทุกขเวทนานี้อาศัยผัสสะ จึงมีได้.
    ภิกษุนั้นย่อมเห็นว่า ผัสสะเป็นของไม่เที่ยง ย่อมเห็นว่า เวทนาเป็นของไม่เที่ยง ย่อมเห็นว่า สัญญาเป็นของ ไม่เที่ยง
    ย่อมเห็นว่า สังขารทั้งหลายเป็นของไม่เที่ยง ย่อมเห็นว่า วิญญาณเป็นของไม่เที่ยง จิตอันมีธาตุเป็นอารมณ์นั่นเทียวของภิกษุนั้น ย่อมแล่นไป ย่อมเลื่อมใส ย่อมตั้งอยู่ด้วยดี ย่อมหลุดพ้น.
    การทำตามพระโอวาท
    ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย หากชนเหล่าอื่นจะพยายามทำร้ายภิกษุนั้น ด้วยอาการที่ไม่น่าปรารถนา ไม่น่าใคร่ ไม่น่าพอใจ คือ ด้วยการประหารด้วยฝ่ามือบ้าง ด้วยการประหารด้วยก้อนดินบ้าง ด้วยการประหารด้วยท่อนไม้บ้าง ด้วยการประหารด้วยศาตราบ้าง.
    ภิกษุนั้น ย่อมรู้ชัดอย่างนี้ว่า กายนี้เป็นสภาพเป็นที่เป็นไปแห่งการประหารด้วยฝ่ามือบ้าง เป็นที่เป็น ไปแห่งการประหารด้วยก้อนดินบ้าง เป็นที่เป็นไปแห่งการประหารด้วยท่อนไม้บ้าง เป็นที่เป็น ไปแห่งการประหารด้วยศาตราบ้าง.
    อนึ่ง พระผู้มีพระภาคได้ตรัสไว้ในพระโอวาท อันเปรียบด้วยเลื่อยดังนี้ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม้ว่าพวกโจรผู้มีความประพฤติต่ำช้า พึงตัดทอนอวัยวะ ใหญ่น้อยทั้งหลาย ด้วยเลื่อยอันมีด้ามสองข้างไซร้ ภิกษุผู้ที่ยังใจให้ประทุษร้าย(ตอบ)ในพวกโจรแม้นั้น ย่อมไม่เป็นผู้ชื่อว่าทำตามคำสอนของเราด้วยเหตุนั้น ดังนี้. อนึ่ง ความเพียรอันเรา ปรารภแล้ว จักเป็นคุณชาติไม่ย่อหย่อน สติอันเราเข้าไปตั้งไว้แล้ว จักเป็นคุณชาติไม่หลงลืม กายอันเราให้สงบแล้ว จักเป็นสภาพไม่กระวนกระวาย จิตอันเราให้ตั้งมั่นแล้ว จักเป็น ธรรมชาติมีอารมณ์เป็นอย่างเดียว คราวนี้ การประหารด้วยฝ่ามือทั้งหลาย จงเป็นไปใน กายนี้ก็ดี การประหารด้วยก้อนดินทั้งหลาย จงเป็นไปในกายนี้ก็ดี การประหารด้วยท่อนไม้ทั้งหลาย จงเป็นไปในกายนี้ก็ดี การประหารด้วยศาตราทั้งหลาย จงเป็นไปในกายนี้ก็ดี ตามทีเถิด คำสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลายนี้เราจะทำให้จงได้ ดังนี้. ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย หากว่า เมื่อภิกษุนั้นระลึกถึงพระพุทธเจ้าอยู่อย่าง(ผิด)นี้ ระลึกถึงพระธรรมอยู่อย่างนี้ ระลึกถึงพระสงฆ์อยู่อย่าง(ผิด)นี้ อุเบกขาอันอาศัยกุศลธรรม ย่อมไม่ตั้งอยู่ได้พร้อม(เป็นเพราะว่าเชื่อแต่คำสอน แต่มิได้ปฏิบัติอย่างถูกต้อง อุเบกขาอันต้องอาศัยกุศลธรรมย่อมอยู่ไม่ได้ เพราะ)ภิกษุนั้นย่อมสลดใจ ย่อมถึงความสลดใจ เพราะเหตุนั้นว่า(เพราะอเบกขาไม่ได้จึงปรุงแต่งฟุ้งซ่านไป ดังเช่น)ไม่เป็นลาภของเราหนอ ลาภไม่มีแก่เราหนอ เราได้ไม่ ดีแล้วหนอ การได้ด้วยดีไม่มีแก่เราแล้วหนอ ที่เราระลึกถึงพระพุทธเจ้าอยู่อย่างนี้ ระลึกถึง พระธรรมอยู่อย่างนี้ ระลึกถึงพระสงฆ์อยู่อย่างนี้ อุเบกขาอันอาศัยกุศลธรรม ไม่ตั้งอยู่ได้ด้วยดี ดังนี้ ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย หญิงสะใภ้เห็นพ่อผัวแล้ว ย่อมสลดใจ ย่อมถึงความสลดใจ แม้ฉันใด ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย หากว่า เมื่อภิกษุนั้นระลึกถึงพระพุทธเจ้าอยู่อย่าง(ผิด)นี้ ระลึกถึงพระธรรมอยู่อย่าง(ผิด)นี้ ระลึกถึงพระสงฆ์อยู่อย่าง(ผิด)นี้ อุเบกขาอันอาศัยกุศลธรรม ไม่ตั้งอยู่ได้ด้วยดี (ก็เพราะว่า)ภิกษุนั้นย่อมสลดใจ ย่อมถึงความสลดใจ เพราะเหตุนั้น(จึงปรุงแต่ง)ว่า ไม่เป็นลาภของเราหนอ ลาภของเราไม่มีหนอ เราได้ไม่ดีแล้วหนอ การได้ด้วยดีไม่มีแก่เราหนอ ที่เราระลึกถึงพระพุทธเจ้าอยู่อย่างนี้ ระลึกถึงพระธรรมอยู่อย่างนี้ ระลึกถึงพระสงฆ์อยู่อย่างนี้ อุเบกขาอันอาศัย กุศลธรรม ย่อมไม่ตั้งอยู่ได้ด้วยดี ดังนี้ ฉันนั้นเหมือนกันแล.
    ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย หากว่า เมื่อภิกษุนั้นระลึกถึงพระพุทธเจ้าอยู่อย่างนี้ ระลึกถึงพระธรรมอยู่อย่างนี้ ระลึกถึงพระสงฆ์ อย่างนี้ อุเบกขาอาศัยกุศลธรรม ย่อมตั้งอยู่ด้วยดีไซร้ ภิกษุนั้นย่อมเป็นผู้ปลื้มใจเพราะเหตุนั้น. ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ด้วยเหตุมีประมาณเท่านี้แล คำสอนของพระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นอันภิกษุ ทำให้มากแล้ว.
    ผู้เห็นธรรม
    [๓๔๖] ดูกรท่านมีอายุทั้งหลาย อากาศอาศัยไม้และอาศัยเถาวัลย์ ดินเหนียวและหญ้า แวดล้อมแล้ว ย่อมถึงความนับว่า เป็นเรือนฉันใด(ลักษณะของบ้านโดยทั่วไปในสมัยพุทธกาล) ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย อากาศอาศัยกระดูก และอาศัยเอ็นเนื้อและหนังแวดล้อมแล้ว ย่อมถึงความนับว่า รูป ฉันนั้นเหมือนกันแล. (เกิดแต่มีเหตุเป็นปัจจัยกัน หรือประชุมกันนั่นเอง)
    ดูกรท่าน ผู้มีอายุทั้งหลาย หากว่า จักษุอันเป็นไปในภายใน เป็นของไม่แตกทำลายแล้ว(น่าหมายถึง ยังมีชีวิตอยู่) และรูปทั้งหลายอันเป็นภายนอก ย่อมไม่มาสู่คลองจักษุ(น่าหมายถึง ยังไม่กระทบกัน) ทั้งความกำหนดอันเกิดแต่จักษุและรูปนั้นก็(ย่อมยัง)ไม่มี ความปรากฏแห่งส่วนแห่งวิญญาณอันเกิดแต่จักษุ และรูปนั้น ก็ยังมีไม่ได้ก่อน.
    ดูกรท่าน ผู้มีอายุทั้งหลาย หากว่า จักษุอันเป็นไปในภายใน เป็นของไม่แตกทำลายแล้ว และรูปทั้งหลายอันเป็นภายนอก ย่อมมาสู่คลองจักษุ แต่ความกำหนดอันเกิดแต่จักษุ และรูปนั้นไม่มี ความปรากฏแห่งส่วนแห่งวิญญาณอันเกิดแต่จักษุ และรูปนั้น ก็ยังมีไม่ได้ก่อน
    ดูกรท่าน ผู้มีอายุทั้งหลาย แต่ว่าในกาลใดแล จักษุอันเป็นไปในภายในเป็นของไม่แตกไม่ทำลายแล้ว และรูปทั้งหลายอันเป็น ภายนอก ย่อมมาสู่คลองจักษุ ทั้งความกำหนดอันเกิดแต่จักษุและรูปก็ย่อมมี ในกาลนั้น ความปรากฏแห่งส่วนแห่งวิญญาณอันเกิดแต่จักษุและรูปนั้น ย่อมมีได้ด้วยอาการอย่างนี้.
    รูปแห่งสภาพที่เป็นแล้วอย่างนั้น(ในสภาพที่มีการกำหนดหมายคือยึดไว้)อันใด รูปนั้น ย่อมถึงความสงเคราะห์ ในอุปาทานขันธ์ คือ รูป
    เวทนาแห่งสภาพที่เป็นแล้วอย่างนั้นอันใด เวทนานั้น ย่อมถึงความสงเคราะห์ในอุปาทานขันธ์ คือ เวทนา
    สัญญาแห่งสภาพที่เป็นแล้วอย่างนั้นอันใด สัญญานั้น ย่อมถึงความสงเคราะห์ ในอุปาทานขันธ์ คือ สัญญา
    สังขารแห่งสภาพที่เป็นแล้วอย่างนั้นเหล่าใด สังขารเหล่านั้น ย่อม ถึงความสงเคราะห์ในอุปาทาน คือ สังขาร
    วิญญาณแห่งสภาพที่เป็นแล้วอย่างนั้นอันใด วิญญาณนั้น ย่อมถึงความสงเคราะห์ ในอุปาทานขันธ์ คือ วิญญาณ
    ภิกษุนั้น ย่อมรู้ชัดอย่างนี้ว่า ได้ยินว่า การสงเคราะห์ การประชุมพร้อม หมวดหมู่แห่งอุปาทานขันธ์ ๕ เหล่านี้ ย่อมมีได้ ด้วยประ การอย่างนี้.
    อนึ่ง พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระพุทธพจน์นี้ไว้ว่า
    ผู้ใดเห็นปฏิจจสมุปบาท ผู้นั้นชื่อ ว่าเห็นธรรม
    ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นชื่อว่าเห็นปฏิจจสมุปบาท ดังนี้.
    ก็อุปาทานขันธ์ ๕ เหล่านี้ใด อุปาทานขันธ์ ๕ เหล่านี้ชื่อว่า ปฏิจจสมุปปันนธรรมแล.
    ความพอใจความอาลัย ความยินดี ความ ชื่นชอบ ในอุปาทานขันธ์ ๕ เหล่านี้อันใด อันนั้นชื่อว่าทุกขสมุทัย
    การกำจัดความกำหนัดด้วย สามารถความพอใจ การละความกำหนัดด้วยสามารถความพอใจในอุปาทานขันธ์ ๕ เหล่านี้อันใด อันนั้นชื่อว่าทุกขนิโรธแล.
    ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ด้วยเหตุแม้มีประมาณเท่านี้แล. คำสอนของ พระผู้มีพระภาคเจ้า เป็นอันภิกษุทำให้มากแล้ว.
    ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย หากว่า โสตะอันเป็นไปในภายในเป็นของไม่แตกทำลาย แล้ว ฯลฯ
    ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย หากว่า ฆานะอันเป็นไปในภายใน เป็นของไม่แตกทำลาย แล้ว ฯลฯ
    ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย หากว่า ชิวหา อันเป็นไปในภายใน เป็นของไม่แตกทำลาย แล้ว ฯลฯ
    ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย หากว่า กายอันเป็นไปในภายใน เป็นของไม่แตกทำลาย แล้ว ฯลฯ
    ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย หากว่า มนะอันเป็นไปในภายใน เป็นของไม่แตกทำลาย แล้ว และธรรมารมณ์ทั้งหลายอันเป็นภายนอก ย่อมไม่มาสู่คลอง ทั้งความกำหนดอันเกิด แต่มนะ และธรรมารมณ์นั้น ก็ไม่มี ความปรากฏแห่งส่วนแห่งวิญญาณอันเกิดแต่มนะและ ธรรมารมณ์นั้น ก็ยังมีไม่ได้ก่อน.
    ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย หากว่า มนะอันเป็นไปในภาย ใน เป็นของไม่แตกทำลายแล้ว และธรรมารมณ์ทั้งหลายอันเป็นภายนอก ย่อมมาสู่คลอง แต่ความกำหนดอันเกิดแต่มนะและธรรมารมณ์นั้นไม่มี ความปรากฏแห่งส่วนแห่งวิญญาณอัน เกิดแต่มนะและธรรมารมณ์นั้น ก็ยังมีไม่ได้ก่อน.
    ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย แต่ว่าในกาลใด แล มนะอันเป็นไปในภายในเป็นของไม่แตกทำลายแล้ว และธรรมารมณ์ทั้งหลายอันเป็นภาย นอก ย่อมมาสู่คลอง ทั้งความกำหนดอันเกิดแต่มนะและธรรมารมณ์นั้น ก็ย่อมมี ในกาล นั้น ความปรากฏแห่งส่วนแห่งส่วนแห่งวิญญาณอันเกิดแต่มนะและธรรมารมณ์นั้น ย่อมมีได้ ด้วยอาการอย่างนี้.
    รูปแห่งสภาพที่เป็นแล้วอย่างนั้นอันใด รูปนั้น ย่อมถึงความสงเคราะห์ ใน อุปาทานขันธ์คือรูป
    เวทนาแห่งสภาพที่เป็นแล้วอย่างนั้นอันใด เวทนานั้น ย่อมถึงความสงเคราะห์ ในอุปาทานขันธ์คือเวทนา
    สัญญาแห่งสภาพที่เป็นแล้วอย่างนั้นอันใด สัญญานั้น ย่อมถึงความสงเคราะห์ ในอุปาทานขันธ์คือสัญญา
    สังขารทั้งหลายแห่งสภาพที่เป็นแล้วอย่างนั้น เหล่าใด สังขารเหล่านั้น ย่อมถึงความสงเคราะห์ ในอุปาทานขันธ์คือสังขาร
    วิญญาณแห่งสภาพที่เป็นแล้วอย่างนั้นอันใด วิญญาณนั้น ย่อมถึงความสงเคราะห์ ในอุปาทานขันธ์ คือวิญญาณ.
    ภิกษุนั้นย่อมรู้ชัดอย่างนี้ว่า ได้ยินว่า การสงเคราะห์ การประชุมพร้อม หมวดหมู่แห่งอุปาทานขันธ์ ๕ เหล่านี้ ย่อมมีได้ ด้วยประการอย่างนี้.
    อนึ่ง พระผู้มีพระภาค ได้ตรัสพระพจน์นี้ไว้ว่า
    ผู้ใดเห็นปฏิจจสมุปบาท ผู้นั้นชื่อว่าเห็นธรรม
    ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้น ชื่อว่าเห็นปฏิจจสมุปบาท ดังนี้.
    ก็อุปาทานขันธ์ ๕ เหล่านี้ใด อุปาทานขันธ์ ๕ เหล่านี้ ชื่อว่า ปฏิจจสมุปปันนธรรมแล.
    ความพอใจ ความอาลัย ความยินดี ความชื่นชอบ ในอุปาทานขันธ์ ๕ เหล่านี้อันใด อันนี้ชื่อว่าทุกขสมุทัย
    การกำจัดความกำหนัดด้วยสามารถความพอใจ การละความกำหนัดด้วยสามารถความพอใจ ในอุปาทานขันธ์ ๕ เหล่านี้ อันใด อันนั้นชื่อว่า ทุกขนิโรธแล.
    ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ด้วยเหตุแม้มีประมาณเท่านี้แล คำสอนของพระผู้มี พระภาค เป็นอันภิกษุทำให้มากแล้ว.
    ท่านพระสารีบุตร ได้กล่าวธรรมปริยายนี้แล้ว ภิกษุเหล่านั้น ชื่นชม ยินดีภาษิต ของท่านพระสารีบุตรแล้วแล.
    จบ. มหาหัตถิปโทปมสูตรที่ ๘
     
  7. มีแปปเดียว

    มีแปปเดียว เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มกราคม 2010
    โพสต์:
    889
    ค่าพลัง:
    +3,876
    ผู้ชนะที่แท้จริง

    ปัญหา อสุรินทกภารทวาชพราหมณ์ ได้ทราบว่าพราหมณ์ผู้ร่วมนามสกุลภารทวาชหลายคน ได้จากเรือนไปบวชในสำนักของพระพุทธเจ้าก็โกรธ จึงตรงไปด่าบริภาษพระผู้มีพระภาคถึงพระเวฬุวัน แต่พระผู้มีพระภาคทรงนิ่งเสีย ไม่ได้โต้ตอบ ฝ่ายพราหมณ์เมื่อเป็นพระผู้มีพระภาคทรงนิ่ง ก็ดีใจประกาศว่าเราชนะท่านแล้ว เราชนะท่านแล้ว?

    พุทธดำรัสตอบ “ชนพาลกล่าวคำหยาบด้วยวาจา ย่อมสำคัญว่าชนะทีเดียว แต่ความอดกลั้นได้ เป็นความชนะของบัณฑิตผู้รู้แจ้งอยู่ ผู้ใดโกรธ ตอบบุคคลผู้โกรธแล้ว ผู้นั้นเป็นผู้ลามกกว่าบุคคลผู้โกรธแล้ว เพราะการโกรธตอบนั้น บุคคลไม่โกรธตอบบุคคลผู้โกรธแล้ว ย่อมชื่อว่าชนะสงครามอันบุคคลชนะได้โดยยาก ผู้ใดรู้ว่าผู้อื่นโกรธแล้ว เป็นผู้มีสติ สงบอยู่ได้ ผู้นั้นย่อมชื่อว่าประพฤติประโยชน์แก่ทั้งสองฝ่าย คือ แก่ตนและแก่ผู้อื่น เมื่อผู้นั้นรักษาประโยชน์ทั้ง ๒ ฝ่าย คือของตนและของผู้อื่น ชนทั้งหลายผู้ไม่ฉลาดในธรรม ย่อมสำคัญบุคคลนั้นว่า เป็นคนเขลา ดังนี้”

    อสุรินทกสูตรที่ ๓ ส. สํ. (๖๓๖)
    ตบ. ๑๕ : ๒๔๐ ตท. ๑๕ : ๒๒๗
    ตอ. K.S. I : ๒๐๔
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 17 มกราคม 2013
  8. มีแปปเดียว

    มีแปปเดียว เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มกราคม 2010
    โพสต์:
    889
    ค่าพลัง:
    +3,876
    รากเหง้าของกรรม

    ปัญหา อะไรคือรากเหง้าของกรรม และกรรมจะได้ผลเมื่อใด?

    พุทธดำรัสตอบ “ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เหตุ ๓ ประการนี้เป็นเหตุให้เกิดกรรม
    เหตุ ๓ ประการคืออะไร? คือโลภะ ๑ โทสะ ๑ โมหะ ๑
    “ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย กรรมที่กระทำด้วยความโลภ เกิดแต่ความโลภ มีความโลภเป็นเหตุ มีความโลภเป็นแดนเกิด ย่อมให้ผลในทีที่อัตตภาพของเขาเกิดขึ้น กรรมนั้นให้ผลในที่ใด เขาย่อมเสวยวิบากแห่งกรรมนั้นในที่นั้น ในปัจจุบันนี้เองหรือในตอนอื่นๆ...

    “ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย กรรมที่กระทำด้วยความโกรธ..... ความหลง เกิดแต่ความโกรธ... ความหลง.... ย่อมให้ผลในที่ที่อัตตาภาพของเขาเกิดขึ้น กรรมนั้นให้ผลในที่ใด เขาจะต้องเสวยผลกรรมนั้นในที่นั้นในปัจจุบันนี้เองหรือในตอนต่อ ๆ ไป....

    “เปรียบเหมือนเมล็ดพืชที่ไม่แตกหัก ไม่เน่าเสีย ไม่เสียหายเพราะลมและแดด ยังไม่แก่น เก็บงำไว้ดี เขาหว่านลงไปบนพื้นดินที่เตรียมไว้เป็นอย่างดี ในนาที่ดี ทั้งฝนก็ตกดีตามฤดูกาล เมล็ดพืชเหล่านั้นย่อมถึงความเจริญงอกงามไพบูลย์โดยแท้ทีเดียว....”


    นิพพานสูตร ติก. อํ. (๗๔๓)
    ตบ. ๒๐ : ๑๗๑-๑๗๒ ตท. ๒๐ : ๑๕๒-๑๕๓
    ตอ. G.S. ๑ : ๑๑๗-๑๑๘
     
  9. มีแปปเดียว

    มีแปปเดียว เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มกราคม 2010
    โพสต์:
    889
    ค่าพลัง:
    +3,876
    ผู้ก่อกรรมย่อมได้รับผลแห่งการกระทำนั้น
    หากเราทำใจเราให้เหมือน น้ำ ดิน ไฟ ลม
    ย่อมไม่สะทกสะท้านต่อการประทุษร้ายใดใด
    แลมีพระรัตนตรัยเป็นสรณะที่พึ่ง ที่เคารพ
    พิจารณาด้วยปรมัตถสัจจะที่ว่า ธรรมทั้งปวงเป็นอนัตตา
    หากมิใช่คู่เวรที่ผูกพยาบาทมาแต่บรรพ์
    ความมุ่งร้ายนั้นย่อมระงับดับไปได้ด้วยอุเบกขานั่นแล
    ด้วยท้ายที่สุด หาได้มีเราหรือเขาใดใดไม่
    แค่เพียงปรากฏการณ์ธรรมชาติที่เกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไปเท่านั้น
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 17 มกราคม 2013
  10. มีแปปเดียว

    มีแปปเดียว เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มกราคม 2010
    โพสต์:
    889
    ค่าพลัง:
    +3,876
    ปฐมขมสูตร ว่าด้วยปฏิปทา ๔

    [๑๖๔] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

    ปฏิปทา ๔ นี้ ปฏิปทา ๔ เป็นไฉน คือ

    อกฺขมา ปฏิปทา ปฏิบัติไม่อดทน

    ขมา ปฏิปทา ปฏิบัติอดทน

    ทมา ปฏิปทา ปฏิบัติข่มใจ

    สมา ปฏิปทา ปฏิบัติรำงับ

    ปฏิบัติไม่อดทนเป็นไฉน ? บุคคลบางคนเขาด่า ย่อมด่าตอบ เขา

    โกรธ ย่อมโกรธตอบ เขาวิวาท ย่อมวิวาทตอบ นี้เรียกว่า ปฏิบัติไม่อดทน.

    ปฏิบัติอดทนเป็นไฉน ? บุคคลบางคน เขาด่า ไม่ด่าตอบ เขาโกรธ

    ไม่โกรธตอบ เขาวิวาท ไม่วิวาทตอบ นี้เรียกว่า ปฏิบัติอดทน.

    ปฏิบัติข่มใจเป็นไฉน ? ภิกษุในพระธรรมวินัย เห็นรูปด้วยตาแล้ว

    เป็นผู้ไม่ถือโดยนิมิต ไม่ถือโดยอนุพยัญชนะ อภิชฌา โทมนัส อกุศลบาป-

    ธรรมทั้งหลาย จะพึงไหลไปตามภิกษุผู้ไม่สำรวมอินทรีย์คือตา เพราะเหตุ

    ความไม่สำรวมอินทรีย์คือตาอันใด ปฏิบัติเพื่อปิดกั้นเสียซึ่งอินทรีย์คือตา

    อันนั้น รักษาอินทรีย์คือตา ถึงความสำรวมในอินทรีย์คือตา ฟังเสียงด้วยหู

    แล้ว ดมกลิ่นด้วยจมูกแล้ว ลิ้มรสด้วยลิ่นแล้ว ถูกต้องโผฏฐัพพะด้วยกายแล้ว

    รู้ธรรมารมณ์ด้วยใจแล้ว เป็นผู้ไม่ถือโดยนิมิต ไม่ถือโดยอนุพยัญชนะ.

    อภิชฌาโทมนัสอกุศลบาปธรรมทั้งหลายจะพึงไหลไปตามภิกษุ ผู้ไม่สำรวม

    อินทรีย์ คือ หู จมูก ลิ้น กาย ใจ เพราะเหตุความไม่สำรวมอินทรีย์ คือ

    หู จมูก ลิ้น กาย ใจอันใด ปฏิบัติเพื่อปิดกั้นเสียซึ่งอินทรีย์ คือ หู จมูก

    ลิ้น กาย ใจอันนั้น รักษาอินทรีย์ คือ หู จมูก ลิ้น กาย ใจ นี้เรียกว่า

    ปฏิบัติข่มใจ
     
  11. มีแปปเดียว

    มีแปปเดียว เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มกราคม 2010
    โพสต์:
    889
    ค่าพลัง:
    +3,876
    พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 281

    คำว่า ขนฺติ ได้แก่อธิวาสนขันติ ที่ท่านกล่าวไว้อย่างนี้ "บรรดา

    ธรรมเหล่านั้น ขันติ คืออะไร คือ ความอด ความทน ความกลั้น ความไม่

    เดือดดาล ความไม่หุนหันพลันแล่น ความใจเย็น แห่งจิต". คำว่า โสรจฺจํ

    ได้แก่ความเสงี่ยม ที่ท่านกล่าวไว้อยู่ไว้อย่างนี้ว่า "บรรดาธรรมเหล่านั้น โสรัจจะ

    คืออะไร คือ ความไม่ล่วงล้นออกมาทางกาย ความไม่ล่วงล้นออกมาทางวาจา

    ความไม่ล่วงล้นออกมาทางกายและวาจา, นี้เรียกว่า โสรัจจะ, แม้ศีลสังวร

    ทั้งหมด ก็จัดว่าเป็นโสรัจจะ".
     
  12. ใส้เดือน

    ใส้เดือน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 กุมภาพันธ์ 2012
    โพสต์:
    508
    ค่าพลัง:
    +2,085
    ขอคำแนะนำด้วยครับ
    จักระที่ 7 ผมเปิดตลอดเวลา วันนี้อาการหนักมากๆ ครับ เปิดแรงจนเห็นเส้นผมตรงจักระที่ 7 ขยับเป็นวงสลับกันตังชูขึ้น ดูจากกระจกครับ เที่ยงของวันนี้เหมือนมีอะไรอัดดันลงตรงกลางจนปวดท้ายทอย จนผมต้องทรุดตัวลงนั่ง ตอนนี้ก็เบาบางลงนิดเพราะอยู่ที่ที่มีร่มเงา ออกแสงแดดไม่ได้ ปวดระหว่างคิ้วด้วย รู้สึกไม่สะบายกระทันหัน
    หากท่านใดแวะเข้ามาพอแนะนำได้ช่วยแนะนำทีครับ จะเป็นพระคุณอย่างยิ่ง
     
  13. มีแปปเดียว

    มีแปปเดียว เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มกราคม 2010
    โพสต์:
    889
    ค่าพลัง:
    +3,876
    อาบน้ำชำระร่างกายให้สะอาด
    แต่งกายด้วยเสื้อผ้าที่สวมใส่สบาย
    สวดมนต์ระลึกถึงคุณพระศรีรัตนตรัย
    กราบ9ครั้งระลึก
    3ครั้งแรก กราบพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ไม่มีสิ้นสุดไม่มีประมาณระลึกว่าสรณะสูงสุดของข้าพเจ้าคือพระรัตนตรัย ข้าพเจ้าขอนอบน้อมต่อพระรัตนตรัยเป็นที่พึ่ง ที่เคารพตลอดกาลนาน
    กราบครั้งที่4 กราบพระปัจเจกพุทธเจ้า
    กราบครั้งที่5 ระลึกถึงพระมหาโพธิสัตว์ทั้งหลายและพระโพธิสัตว์ทั้งหลาย ไม่มีสิ้นสุดไม่มีประมาณ
    กราบครั้งที่6 ระลึกถึงคุณบิดา มารดา ทั้งที่ให้กำเนิด และที่ชุบเลี้ยงให้เติบใหญ่ ทุกๆท่านไม่มีสิ้นสุดไม่มีประมาณ
    กราบครั้งที่7 ระลึกถึงคุณอุปัชชาจารย์ ครูบาอาจารย์ ครูตำหรับตำรา ครูพักลักจำ ทุกๆท่านที่ประสิทธิประสาทวิชาให้ทั้งทางโลกและทางธรรม
    กราบครั้งที่8 ระลึกถึงคุณแห่งหรพมและเทพยดาทั้งหลาย ตั้งแต่อรูปพรหมไปถึงยมทูตทุกๆท่านไม่มีสิ้นสุดไม่มีประมาณ
    กราบครั้งที่9 ระลึกถึงคุณแห่งธรรมชาติทั้งหมด ดิน น้ำ ลม ไฟ อากาศ นิพพาน
    ทำใจให้สงบ สบาย โปร่ง โล่ง นั่งตัวตรงดำรงสติ หรือยืนในอิริยาบทที่สบาย หรือนอนหงายในอิริยาบทที่สบาย
    สูดลมหายใจเข้าทางจมูกให้ลึกที่สุดเท่าที่จะทำได้ กระดกลิ้นแตะที่เพดานปากด้านบนไว้ กักลมหายใจไว้ นับ1-5 ค่อยๆผ่อนลมหายใจออกให้ช้าๆและนานที่สุดจนหมดปอด
    ทำจนกว่ารู้สึกว่ามีพลังงานความร้อนปรากฏที่ท้องน้อย
     
  14. มีแปปเดียว

    มีแปปเดียว เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มกราคม 2010
    โพสต์:
    889
    ค่าพลัง:
    +3,876
    เซฟรูปข้างบนไว้ใช้เปิดจักระ
    ลืมตามองรูปแบบสบายๆ
    ให้นึกภาพตัวเองซ้อนในรูปนั้น
    วาดมโนภาพถึงพระพุทธเจ้า หรือดวงอาทิตย์ก็ได้ ว่าแผ่รัศมีเป็นลำแสงพุ่งทะลุจักรที่7คือยอดกระหม่อมลงมา
    นึกมโนภาพว่าแสงนี้ทะลุลำตัวจากปลายศีรษะทะลุฝีเย็บ
    มองที่รูป มองจักระที่7 หลับตาให้ภาพเรากับรูปซ้อนกัน
    นึกว่าจักระเอ๋ย จงเปิดออกเถิด
    ไล่ตั้งแต่7-6-5-4-3-2 ยกเว้น1ไว้
    หากจักระถูกเปิดจะรู้สึกว่ามีพลังงานวนที่กระหม่อม เหมือนบนหัวมีอะไรมาไต่ๆ
    กระตุ้นจักรแบบนี้ทุกๆวันอย่างน้อยครั้งละ3นาที
    เมื่อพลังงานมาให้นึำว่าขอสิ่งดีๆที่เป็นมงคลจงมา ขอสิ่งต่างๆที่ไม่เป็นมงคล โรคภัยไข้เจ็บจงเปลื่ยนแปลงไปเป็นสิ่งดีๆ
    จบชั้นพื้นฐาน

    ฝึกเสร็จให้กราบ9ครั้งอีกครั้ง แผ่เมตตาไม่มีสื้นสุดไม่มีประมาณ ทั้ง31ภพ ไม่มีสิ้นสุดไม่มีประมาณ
     
  15. ใส้เดือน

    ใส้เดือน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 กุมภาพันธ์ 2012
    โพสต์:
    508
    ค่าพลัง:
    +2,085
    อนุโมทนาบุญและขอขอบพระคุณเป็นอย่างยิ่งครับผม จะเริ่มทำตามคำแนะนำตอนนี้เลยครับ
     
  16. aapinyah

    aapinyah เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กันยายน 2012
    โพสต์:
    84
    ค่าพลัง:
    +160
    สุ่มอ่านมาบ้างแล้วเลยชอบนะค่ะ แต่ก่อนเคยฝึกเดินลมปราณเอง แล้วตอนหลังมาฝึกหายใจ รู้สึกว่าร้อนทั้งตัว ตั้งแต่หัวถึงเท้า แล้วลองมาอ่านของท่านอัคนีวาต ที่เขียนไว้แรกๆ ก็รู้สึกตามได้ เช่น รู้สึกขนหัวลุก ไชๆ ตรงหน้าผาก เลยไม่กล้าฝึกเปิดจักระตามที่ท่านบอก กลัวว่าตัวจะร้อนมากกว่า นี้นะ ไม่ทราบว่าจะมีอันตรายอะไรไหม ถ้าจะทำจริงๆ และทุกๆ วัน
     
  17. ใส้เดือน

    ใส้เดือน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 กุมภาพันธ์ 2012
    โพสต์:
    508
    ค่าพลัง:
    +2,085
    ผมได้ทำตามคำแนะนำแล้วครับ ตอนนี้อาการปวดหายไป แต่จักระที่ 7 จะเปิดรับพลังตลอด เมื่อเอาจิตไปรับรู้พลังจะผ่านมาที่จักระที่ 6 ครับ อาการข้างเคียงเกิดขึ้นครับ พลังกัก วนอยู่สองจักระครับ 7 และ 6 แล้วเกิดร้อนในทั้งร่างกาย มีลมดันขึ้นที่ 3 4 5 ต้องทรงสมาธิระงับทั้งคืน นิ่ง เฉย ว่างเปล่า แต่ความร้อนร่างกายทวียิ่งขึ้นครับ ไม่ทราบว่าผมปฏิบัติผิดขั้นตอนใดครับ ตอนนี้ลมยังดันขึ้นตลอดครับ ส่วนจักระ 6 7 ยังเปิดกระตุก บีบอัด ตลอดเวลาครับ
    โปรดชี้แนวทางเพิ่มเติมครับ ขอบคุณครับ
     
  18. มีแปปเดียว

    มีแปปเดียว เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มกราคม 2010
    โพสต์:
    889
    ค่าพลัง:
    +3,876
    เพราะกลัว ลังเล สงสัย จึงเกิดอาการดังกล่าว
    พลังจักรวาลและลมปราณนั้นย่อมเกิดพลังงานความร้อนอันเป็นหยาง
    ทิ้งความลังเลสงสัยและหมุนจักระทั้ง6ยกเว้นจักรที่หนึ่งให้คล่อง
    เมื่อฝึกใหม่ๆจักระจะหมุนแรงเราจะสังเกตได้ หากฝึกไปเรื่อยๆจักระจะหมุนอย่างละเอียดขึ้นจนบางทีถ้าไม่กำหนดจิตบางคนจะคิดว่าจักระของตนเองปิดเพราะไม่เห็นหมุนตลอดเหมือนตอนฝึกใหม่ๆ
    วิธีให้ร่างกายไม่ร้อนจนเกินไปคือออกไปที่สวน เข้าไปที่ร่มไม้
    เปลือยเท้าเหยียบต้นหญ้า ยืนท่าม้า
    นึกภาพว่าพลังจากแม่ธรณีและต้นไม้ป่าเขาเป็นพลังสีเขียวผ่านเข้ามาทางกลางฝ่าเท้า
    หลอมรวมเข้ากับโลก จนสัมผัสได้ถึงความรักที่โลกมีให้เหมือนมารดาที่อบอุ่น
    แผ่เมตตาให้กับทุกสรรพสัตว์ ด้วยความสงบเย็น
     
  19. มีแปปเดียว

    มีแปปเดียว เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มกราคม 2010
    โพสต์:
    889
    ค่าพลัง:
    +3,876
    ใจที่ประกอบด้วยเมตตาเป็นใจที่อบอุ่น
    อย่าพึงฝึกวิชาด้วยความอยากได้ใคร่ดี
    หากแต่ฝึกเพื่อยังประโยชน์ให้ตนเองและผู้อื่น
    พึงตั้งจิตให้เป็นกุศล
    ประกอบด้วยพรหมวิหาร4 คือเมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา
    มีความละอายและเกรงกลัวต่อบาปและอกุศธรรมทั้งปวง
    มีความนอบโน้มถ่อมตนเหมือนประหนึ่งเราคืออนูหนี่งอนูเท่านั้น
    มีความรักและศรัทราอย่างหนักแน่นไม่แคลนคลอนต่อพระรัตนตรัย
    มีความกตัญญูกตเวทีค่อบิดา มารดา ครูบาอาจารย์
    สำนึกอยู่ตลอดเวลาถึงความเป็นอนัตตาของทุกสัตว์และสรรพสิ่ง มีมรณะสติ
    เมื่อยิ่งฝึกยิ่งไม่เก่ง
    ยิ่งฝึกยิ่งธรรมดา
    เหมือนไม่ได้ฝึกอะไรเลย
    จึงบรรลุมรรคาแห่งวิชา
    คือเข้าถึงความไม่มีอะไรให้เป็นสาระ
     
  20. มีแปปเดียว

    มีแปปเดียว เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มกราคม 2010
    โพสต์:
    889
    ค่าพลัง:
    +3,876
    ฝึกด้วยสำนึกว่าอะไรจะเกิดก็ต้องเกิด เราเป็นแต่ผู้ดูจักระและความเป็นไปของกายและจิตหาใช่ผู้บังคับจักระให้เป็นไป
    จักระจะหมุนอย่างไรเราแค่รับรู้ไม่ไปบังคับแลข่ม
    ธรรมชาติจะจักสรรเอง
    ถ้าร้อนไปก็ให้เข้าไปใต้ร่มไม้
    ยืนท่าม้าเหยียบดิน
    หรือลงไปแช่ในสระน้ำหรือทะเลที่คลื่นลมสงบ
    จินตนาการว่าเราระบายความร้อนออกทางลมหายใจทางปากและกายนี้ให้กับธรรมชาติ
    สิ่งสำคัญคือ
    อย่าฝึกเพราะอยากได้ใคร่ดี
    หรือเพื่อให้ตนเป็นผู้วิเศษใดใด
    อกุศลจิตย่อมยังให้ไฟธาตุแตกได้
     

แชร์หน้านี้

Loading...