พระพุทธศาสนา...พระโบราณ...พระในตำนาน...

ในห้อง 'งานบุญอื่นๆ' ตั้งกระทู้โดย บรรพชนทวา, 12 กันยายน 2012.

แท็ก: แก้ไข
  1. บรรพชนทวา

    บรรพชนทวา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2012
    โพสต์:
    2,025
    ค่าพลัง:
    +167
    ปกิณกะ ๑

    งานบุญต่างๆ คณะทำงานบรรพชนทวา กำหนดวางรวบรวมเอาไว้ในหมวดปกิณกะ ในหน้า 99 งานทางพระพุทธศาสนางานแรก อันเกี่ยวเนื่องกับพระบรมสารีริกธาตุ คือร่วมสร้างสมเด็จองค์ปฐมเนื้อเรซิ่นบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ

    เกือบ ๕ ปีมาแล้วที่มีโอกาสได้ร่วมสร้างสมเด็จองค์ปฐมเนื้อเรซิ่นบรรจุพระบรมสารีริกธาตุกับพี่ที่มอบพระบรมสารีริกธาตุสัณฐานต่างๆดัง post ข้างบนนี้ ครั้งนั้นมีมูลเหตุของการจัดสร้าง คือ พี่ที่ผมเคารพท่านหนึ่ง(ขอสงวนนาม) ครั้งหนึ่งราวๆ ๒๐ ปีที่ผ่านมาได้เคยไปอธิษฐานจิตขออัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุ ณ วัดป่าทะเมนชัย จ.บุรีรัมย์ ขณะอธิษฐานจิต และนั่งสมาธิสวดบทอัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุอยู่นั้น พระบรมสารีริกธาตุจำนวนหนึ่งได้เสด็จมาที่ศีรษะ บัดนี้พระบรมสารีริกธาตุที่เสด็จมามีจำนวนมากขึ้นๆ การเสด็จอีกหลายครั้งนั้นมาหลายวิธีจะไม่ขอกล่าวถึงด้วยเหตุที่เป็นเรื่องปัจจัตตัง พี่ท่านนี้ และผู้ทรงฌาณเป็นปกติอีกท่านหนึ่งจึงได้มีความคิดตรงกันว่าจะจัดสร้างพระพุทธรูปขึ้นมาซึ่งทำด้วยเรซิ่น เพื่อจะสามารถอัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุมาบรรจุภายใน จึงได้นำสมเด็จองค์ปฐมขนาดบูชา ๑๐ นิ้ว รุ่น ๑ ของวัดท่าซุงมาถอดแบบพิมพ์ ซึ่งพระเดชพระคุณหลวงพ่อฤาษีลิงดำได้เมตตาแนะนำทางมโนมยิทธิให้บรรจุพระบรมสารีริกธาตุไว้ภายในเรซิ่นให้เต็มองค์พระ โดยจัดสร้าง"พระสมเด็จองค์ปฐมเนื้อเรซิ่น" ขนาดหน้าตัก ๙.๙ นิ้ว จำนวน ๕๐ องค์ บรรจุพระบรมสารีริกธาตุเต็มองค์ เพื่อถวายวัดท่าซุง เนื่องในงานกฐิน วันที่ ๑๑ พฤศจิกายน ๒๕๕๐ ที่ผ่านมานี้ โดยตั้งเจตนาไว้ว่าจะถวายพระสมเด็จองค์ปฐมเนื้อเรซิ่น ขนาดหน้าตัก ๙.๙ นิ้วบรรจุพระบรมสารีริกธาตุเต็มองค์ จำนวน ๕๐ องค์นี้ที่วัดท่าซุง เพื่อมอบให้วัดต่างๆที่วัดท่าซุงเห็นชอบอีกทอดหนึ่ง

    พระบรมสารีริกธาตุที่จะอัญเชิญบรรจุภายในพระพุทธรูปสมเด็จองค์ปฐมทั้งหมดนี้เป็นพระบรมสารีริกธาตุของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าหลายๆพระองค์ซึ่งพระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระนาม"พระพุทธกัสสป" พระพุทธเจ้าองค์ที่ ๓ ของภัทรกัปป์นี้ พระองค์ท่านได้อธิษฐานจิตใช้กำลังพุทธานุภาพให้พระบรมสารีริกธาตุของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทุกๆพระองค์ให้มีลักษณะสัณฐานที่คล้ายกัน จะแตกต่างกันที่สีเท่านั้น การบรรจุพระพระบรมสารีริกธาตุของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าจะบรรจุตั้งแต่พระพุทธเกศจนสิ้นสุดที่ฐานที่เป็นช่วงพระวรกายของพระองค์ท่านเท่านั้น ส่วนฐานจะหล่อตันด้วยเรซิ่น รวมทั้งเรือนแก้วด้วยที่จะเป็นการหล่อตันเช่นเดียวกัน

    [​IMG][​IMG][​IMG]
    [​IMG][​IMG][​IMG]
    [​IMG][​IMG][​IMG]
    [​IMG][​IMG][​IMG]
    [​IMG][​IMG][​IMG]
    อีกเรื่องหนึ่งคือพิธีบวงสรวง และขอขมาพระพุทธเจ้าทุกๆพระองค์ ในวันอาทิตย์ที่ ๔ พฤศจิกายน ๒๕๕๐ ที่จันทบุรี สืบเนื่องจากการจัดสร้างสมเด็จองค์ปฐมเนื้อเรซิ่นบรรจุพระบรมสารีริกธาตุนี้ อาจจะเกิดความพลาดพลั้งล่วงเกินพระรัตนตรัยทั้งที่รู้ และไม่รู้ ทั้งกระบวนการแกะแบบ การเทเรซิ่น การบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ การพลิกพระพุทธรูปขึ้นลง มีโอกาสเกิดพลาดพลั้งปรามาสได้ จึงเห็นสมควรจะจัดพิธีบวงสรวง และขอขมาพระพุทธเจ้าทุกๆพระองค์ไปพร้อมกัน ผมเห็นว่าปัจจัยที่พวกเราได้ร่วมกันถวายนี้จะมีส่วนหนึ่งที่นำไปใช้ในการจัดงานในพิธีดังกล่าวด้วย จึงขอกล่าวโมทนาสาธุการมายังทุกๆท่านด้วยครับ เนื้อหาสำคัญของพิธีการขอขมาพระพุทธเจ้านี้ จะได้อธิษฐานจิตขอพระพุทธเจ้าทรงมีพระเมตตามอบหมายให้เทพยดาองค์ใดองค์หนึ่งมารักษาพระสมเด็จองค์ปฐมทุกๆองค์นี้ด้วย พิธีการที่จะขึ้นนี้จะจัดขึ้นที่บริเวณที่จัดสร้างสมเด็จองค์ปฐมทั้ง ๕๐ องค์ เวลาประมาณ ๑๐.๐๐ น. ในเวลาดังกล่าว ขอให้ท่านที่ได้ร่วมกันเป็นเจ้าภาพสร้างสมเด็จองค์ปฐมเนื้อเรซิ่นบรรจุพระบรมสารีริกธาตุได้กำหนดจิตพร้อมกัน ขอขมาพระพุทธเจ้าทุกๆพระองค์ และอธิษฐานจิตตามชอบใจครับ

    ภาพวันขอขมาพระรัตนตรัย และบวงสรวงสิ่งศักดิ์สิทธิ์ สามารถชมได้ที่ความเห็นตาม Link นี้ครับ เพื่อความรวดเร็ว

    มอบพระบรมสารีริกธาตุในการร่วมสร้างสมเด็จองค์ปฐมเนื้อเรซิ่นบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ - หน้า 9 - PaLungJit.com และ

    มอบพระบรมสารีริกธาตุในการร่วมสร้างสมเด็จองค์ปฐมเนื้อเรซิ่นบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ - หน้า 10 - PaLungJit.com

    ได้มอบพระบรมสารีริกธาตุให้กับผู้ร่วมสร้างสมเด็จองค์ปฐมเนื้อเรซิ่นบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ การแตกร้าวขององค์พระบรมสารีริกธาตุสัณฐานนี้เป็นธรรมดาของสัณฐานนี้ ขอให้สังเกตตอนที่ได้รับมาครั้งแรก แล้วปฏิบัติบูชาไปได้ระยะหนึ่ง แล้วอัญเชิญมาพิจารณาชมบารมีกันอีกครั้ง จะเห็นความ"ปัจจัตตัง"ที่ไม่สามารถจะบอกกล่าวออกไปได้ รู้ได้เฉพาะตัวบุคคลครับ ใช้จิตที่ละเอียดเพ่งพิจารณาด้วยศรัทธา และปัญญา อยากให้สักการะบูชากันไประยะหนึ่งก่อน จะเห็นการเปลี่ยนแปลงเอง ไม่อยากจะไปชี้นำใดๆ แต่เมื่อเพื่อนๆของเราท่านหนึ่งสังเกตการเปลี่ยนแปลงพบ จึงต้องบอกเล่าให้ฟังบางส่วนที่เหลือต้องไปปฏิบัติกันเองครับ อย่าได้เสียกำลังใจหากองค์ใดเกิดแตกหัก ขอให้ปฏิบัติบูชาด้วยพระคาถามงกุฏพระพุทธเจ้า ด้วยจิตที่คิดว่าจะแตกหัก หรือสมบูรณ์ก็ล้วนแต่เป็นองค์แทนสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า จังหวะของสภาวะจิตนี้ หากตั้งตรงระลึกถึงพระพุทธเจ้าอย่างน้อย ๓ พระองค์ได้จะดีที่สุดครับ

    ๑) สมเด็จพระพุทธสิกขีทศพล ที่ ๑ สมเด็จองค์ปฐมต้นบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้า

    ๒) สมเด็จพระพุทธกัสสปสัมมาสัมพุทธเจ้า องค์อธิษฐานจิตรวบรวมพระบรมสารีริกธาตุของพระพุทธเจ้าทุกๆพระองค์สัณฐานนี้

    ๓) สมเด็จพระพุทธสมณโคดมสัมมาสัมพุทธเจ้า ซึ่งเราทุกคนอยู่ในช่วงอายุพระศาสนาของพระองค์ท่านอยู่

    เรื่องราวในวันพิธีขอขมาฯนั้นยังความปิติซ่านมายังทุกผู้คนที่ได้ร่วมพิธีในวันนั้น จนกระทั่งเวลานี้ก็ยังติดตราตรึงในใจ ในความรู้สึกอยู่ ส่วนมากจะกลั้นน้ำตาความปิติเอาไว้ไม่อยู่ หากเจ้าพิธีไม่มี"หน้าที่"ที่ต้องประกอบพิธีให้เสร็จสิ้น คงกลั้นน้ำตาเอาไว้ไม่อยู่เช่นกัน มีไม่บ่อยที่จะเกิดความรู้สึกร่วมแบบนี้พร้อมๆกันในจำนวนมากๆเช่นนี้...

    ตอนหนึ่งของพิธีขอขมาพระรัตนตรัย ...

    เจ้าพิธียกพานขมา พานธูปเทียนแพ ขึ้นเหนือเศียรเกล้า กล่าวว่า..

    ให้ทุกท่านอธิษฐานจิต ให้บนมือของเราทุกคนกำลังประคองพานธูปเทียนแพ ดอกไม้แก้ว นั่งต่อหน้าองค์สมเด็จพระสัมมาพุทธเจ้าสมเด็จพระพุทธสิกขีทศพลองค์ปฐมบรมศาสดา เพื่อเราทุกคนจะได้น้อม...จิตขอขมาลาโทษต่อพระรัตนตรัยพร้อมเพรียงกัน ณ บัดนี้...

    "นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ
    นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ
    นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ

    สัพพัง อะปะราธัง ขะมะตุ โน ภันเต อุกาสะ ทวารัตตะเยนะ กะตัง
    สัพพัง อะปะราธัง ขะมะตุ โน ภันเต อุกาสะ ขะมามะ ภันเต ฯ"

    กรรมใดที่ข้าพเจ้าทั้งหลายได้เคยประมาทพลาดพลั้งล่วงเกินมาแล้ว หรือแม้ตลอดงานในพิธีแห่งการบำเพ็ญกุศลบารมีในครั้งนี้ ต่อพระรัตนตรัยอันมีองค์สมเด็จพระพุทธสิกขีทศพลปฐมองค์บรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้า พระพุทธเจ้าทุกๆพระองค์ พระปัจเจกพุทธเจ้าทุกๆพระองค์ พระธรรมทั้ง ๘๔,๐๐๐ พระธรรมขันธ์ พระอริยสงฆ์ สมมุติสงฆ์ พรหม เทวดา นางฟ้า พระมหาโพธิสัตว์เจ้าทุกๆพระองค์ ครูบาอาจารย์ บิดา มารดาทุกภพทุกชาติ ท่านผู้มีคุณ ตลอดจนเจ้ากรรมนายเวรทุกภพทุกชาติ ที่ข้าพเจ้าได้เคยล่วงเกินมาแล้วด้วยกายกรรม วจีกรรม มโนกรรม ทั้งที่เจตนาก็ดี ไม่ได้เจตนาก็ดี ระลึกได้ก็ดี ระลึกไม่ได้ก็ดี บัดนี้...ข้าพเจ้าทั้งหลาย ขอน้อมเศียรเกล้าถวายพานธูปเทียนแพ ดอกไม้แก้ว ด้วยจิตใจบริสุทธิ์สักการะบูชาองค์สมเด็จพระปฐมบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้า น้อม...กาย วาจา ดวงจิตอทิสมานกายกราบแทบเบื้องพระพุทธบาท ขอขมาลาโทษทุกประการที่ได้เคยล่วงเกินมาแล้ว ขอทุกๆพระองค์ ทุกๆท่าน โปรดอดโทษ งดโทษ ต่อข้าพเจ้า นับตั้งแต่บัดนี้ตราบเท่าเข้าสู่พระนิพพานด้วยเทอญ...


    เป็นส่วนหนึ่งของพิธีขอขมาพระรัตนตรัย และพิธีบวงสรวงในวันนั้น เรื่องอจินไตยอื่นๆไม่สะดวกในการบอกเล่าในที่นี้...

    ขอโมทนาสาธุ....

    พระบรมสารีริกธาตุสีฟ้าเทานี้ เป็นส่วนที่นำบรรจุที่พระยอดเกศของพระสมเด็จองค์ปฐมเนื้อเรซิ่นทั้ง ๕๐ องค์ เนื่องจากมีปริมาณที่น้อยมาก เดิมทีท่านผู้สร้างจะนำมาบรรจุทั้งองค์ แต่ปรากฎว่าไม่เพียงพอ จึงเป็นวรรณะสีที่นับว่าหายากมาก จึงอัญเชิญขึ้นบรรจุตรงส่วนยอดพระเกศสมเด็จองค์ปฐม..ผมได้รับมาเป็นการส่วนตัวเพียง ๗ องค์เท่านั้น เกรงว่าจะเกิดการเปลี่ยนสีเสียก่อน จึงอัญเชิญมาถ่ายภาพไว้ก่อน โดยเรียงลำดับจากสีฟ้าเทาเข้ม มา ฟ้าขาว
    [​IMG]

    พระบรมสารีริกธาตุวรรณะสีฟ้าจริงๆที่พบยากมากๆ บรรจุส่วนของยอดพระเกศ ได้รับมาเพียง ๕ องค์เท่านั้น ผมทดลองอัญเชิญวางบนผ้ากำมะหยี่สีแดง และสีกรมท่าเข้ม ก็ไม่พบว่าจะทำให้สีฟ้าขององค์พระบรมสารีริกธาตุเปลี่ยนแปลงไปตามสีของผ้าสีแดง หรือกรมท่าแต่อย่างใด...
    [​IMG][​IMG]

    วรรณะสีงาช้าง ivory จุดสีเหลืองบนองค์พระธาตุมาได้อย่างไรก็ไม่ทราบ ดูคล้ายกลุ่มดาวในระบบสุริยจักรวาล
    [​IMG]

    วรรณะ"สีฟ้าอมเหลืองอ่อน" ๓ องค์
    [​IMG]

    วรรณะ"สีทองอุไร" ๓ เฉดสีหลักๆ ผมแยกเป็นทองอุไร๑ - ทองอุไร๒ - ทองอุไร๓

    ในแต่ละกลุ่ม ก็มีโทนสีต่างกันออกไปอีกเล็กน้อย

    ทองอุไร๑ จำนวน ๘ องค์ ลำดับตามสี
    [​IMG]

    ทองอุไร๒ จำนวน ๕ องค์
    [​IMG]

    ทองอุไร๓ จำนวน ๕ หรือ ๖ องค์??? ลำดับตามสี

    ภาพนี้องค์สุดท้าย กำลังเสด็จเพิ่มจำนวน...
    [​IMG][​IMG]
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 26 มกราคม 2013
  2. บรรพชนทวา

    บรรพชนทวา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2012
    โพสต์:
    2,025
    ค่าพลัง:
    +167
    ปกิณกะ ๑

    ๒)งานทางพระพุทธศาสนางานที่ ๒ อันเกี่ยวเนื่องกับพระบรมสารีริกธาตุที่พวกเราภาคภูมิใจกันมากๆคือ ได้ร่วมกันนิมนต์พระบรมสารีริกธาตุจำนวน ๒ องค์ และผอบบรรจุพระบรมสารีริกธาตุสำริดสนิมเขียวถวายคืนพระพุทธศาสนา

    วันที่ ๒๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๕ เวลา ๒๒.๒๔ น. ถึง วันที่ ๒๓ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๕ เวลา ๑๓.๒๔ น.
    คณะทำงานบรรพชนทวาได้ดำเนินการนิมนต์พระบรมสารีริกธาตุจำนวน ๒ องค์ และผอบบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ เพื่อถวายคืนพระพุทธศาสนา โดยใช้เวลาทั้งสิ้นเพียง ๒๗ ช.ม. ในการดำเนินการ

    ในการนี้ได้มอบพระพิมพ์หลวงปู่พระอุปคุตเถระเจ้า กรุมหาวัน จำนวน ๓ องค์ให้กับผู้ร่วมสมทบปัจจัยนิมนต์ "พระบรมสารีริกธาตุ และผอบบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ" ถวายคืนพระพุทธศาสนา
    ผู้ร่วมสมทบหลัก
    ลำดับที่ ๑ คุณPinkcivil
    ลำดับที่ ๒ คุณwater1(ปัจจุบันคือ คุณwater2)
    ลำดับที่ ๓ คุณพิศดู

    ผู้ร่วมสมทบอื่นๆ
    ๑) คุณtrain@sss
    ๒) คุณปฐม
    ๓) ลุงไฟดูด

    นับแต่พระบรมธาตุเจดีย์ซึ่งได้บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ ๒ องค์ และผอบบรรจุพระบรมสารีริกธาตุสำริดสนิมเขียวนี้ล้มลง ก็มีคนหาของป่าแถบเชียงดาวได้ไปพบเข้าในป่าลึก ก็ได้นำออกมาขายให้กับคนในพื้นที่เชียงดาวเป็นทอดที่ ๒ และทอดที่ ๓ เป็นพ่อค้าขายพระหาของมาแลกเปลี่ยนซื้อขายกับบุคคลทอดที่ ๒ จนพวกเราไปพบเข้าได้มาเป็นทอดที่ ๔ และจะไม่มีโอกาสเป็นทอดที่ ๕..๖..๗..อีกอย่างแน่นอน เพราะพระบรมสารีริกธาตุส่วนสำคัญนี้จะบรรจุยังพระบรมธาตุเจดีย์แห่งใดแห่งหนึ่งจังหวัดใดจังหวัดหนึ่งอย่างแน่นอนในอนาคตอันใกล้นี้ สาธุชน และพรหมเทพเทวาจะได้สักการะถ้วนทั่วกันได้ และจะไม่มีการสลักชื่อใดๆที่บ่งบอกว่าคณะเราเป็นผู้ถวายบรรจุแต่อย่างใดทั้งสิ้น...

    โดยปกติการถวายบรรจุพระบรมสารีริกธาตุของคนสมัยโบราณ นอกจากจะบรรจุพระบรมสารีริกธาตุแล้ว ภายในผอบยังต้องรองรับด้วยอัญมณีของมีค่าแก้วแหวนเงินทองนพรัตน์นพเก้า หรือแร่รัตนชาติ การขุดค้นพบของคนหาของป่าจะต้องพบสิ่งเหล่านี้ในทอดแรก และถูกแยกส่วนจำหน่ายจ่ายโอนไปยังทอดที่ ๒ อย่างแน่นอน ผมได้สอบถามบุคคลทอดที่ ๓ แล้ว เขาก็ไม่ทราบเรื่องราวเหล่านี้....

    หากประเมินที่อายุของผอบสำริดสนิมเขียวใบนี้ที่พันปี ลองติดตามเรื่องราวเหนือจินตนาการเหล่านี้ได้ครับ เรื่องราวเหล่านี้อาจจะไม่เกี่ยวข้องกัน แต่ลองสังเกตในบางช่วงบางตอนนะครับว่า ผอบบรรจุพระบรมสารีริกธาตุสำริดสนิมเขียวใบนี้ยังเกิดขึ้นก่อนที่พญามังรายก่อสร้างอาณาจักรล้านนา(พ.ศ. ๑๘๓๙) เกือบ ๓๐๐ ปีเสียด้วยซ้ำไป...

    พระบรมสารีริกธาตุ ๒ องค์นี้ และผอบบรรจุโบราณสำริดสนิมเขียว อายุของผอบมากกว่าพันปี เท่ากับบอกทางอ้อมว่า พระบรมสารีริกธาตุก็มีอายุมากกว่าพันปีเช่นกัน ในราวปี พ.ศ. ๑๔๓๒ พระมหาไหล่ลาย มหาดเล็กแผ่นดินละโว้เดินทางไปลังกา(การที่มีนามว่า"ไหล่ลาย" ก็มีที่มาที่ไป) จนพระสังฆราชลังกาบวชให้ ท่านเดินทางไปสักการะพระพุทธบาท และพระธาตุเจดีย์หลายแห่งที่ลังกา ก่อนเดินทางกลับดินแดนสุวรรณภูมิ พระสังฆราชลังกาได้มอบพระบรมสารีริกธาตุจำนวน ๖๕๐ องค์ และต้นพระศรีมหาโพธิ์ โดยได้เดินทางไปบรรจุยังสถานที่ต่างๆ ซึ่งเท่ากับว่า พระบรมสารีริกธาตุส่วนสำคัญนี้ก็คือ ๒ ใน ๖๕๐ องค์ของพระพุทธเจ้าที่พระสังฆราชลังกามอบให้ครับ...

    ตำนานพระญาธัมมิกราชกับถ้ำเชียงดาว

    เว็บบอร์ด พลังจิต ดอทคอม
    วัดถ้ำเชียงดาว

    ตำนานถ้ำเชียงดาว

    เป็นนิยายปรัมปรายุคต้นพุทธกาล กล่าวถึงสมเด็จองค์อัมรินทราธิราชเจ้า ประมุขแห่งปวงเทพเทวาได้ดำริให้จัดทำสิ่งวิเศษ เพื่อพระศรีอาริยะเมตไตรยที่จะเสด็จมาเป็นพระเจ้าจักรพรรดิราชในกึ่งพุทธกาล ได้เล็งเห็นว่าถ้ำเชียงดาวเป็นสถานที่เหมาะสมแก่การเก็บรักษาของวิเศษเหล่านั้น เพราะลึกเข้าไปในถ้ำจนสุดประมาณมิได้ เป็นเมืองแห่งพวกครึ่งอสูรกาย เรียกว่าเมืองลับแล มีความเป็นอยู่ล้วนแต่เป็นทิพย์ ผู้คนทั้งหลายในมนุษย์โลกธรรมดาที่เต็มไปด้วยกิเลสยากนักที่จะเข้าไปพบเห็นได้ เพราะมีด่านภยันตรายต่างๆมากมายหลายชั้นกั้นขวาง ไว้เป็นอุปสรรค

    มียักษ์สองผัวเมียบำเพ็ญภาวนารักษาศีลเพราะได้ปฏิบัติตนเป็นผู้ถึงซึ่งพระรัตนตรัยจากสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า โดยมีนางผู้เลอโฉมนามว่า อินเหลา อยู่ปรนนิบัติบิดามารดาผู้ทรงศีลทั้งสอง จนวันหนึ่งได้พบกับ เจ้าหลวงสุวรรณคำแดง ยุวราชหนุ่ม ซึ่งเสด็จมาประพาสป่าจากแค้วนแดนไกล ได้บังเกิดความหลงใหลในความงามของนาง ก็ได้พยายามติดตามนางไปจนถึงถ้ำเชียงดาว และทิ้งกองทหารของพระองค์ไว้เบื้องหลัง จากนั้นก็ไม่กลับออกมาอีกเลย ว่ากันว่าเจ้าหลวงสุวรรณคำแดงอยู่ครองรักกับเจ้าแม่อินเหลาที่ถ้ำเชียงดาวนั่นเอง ผู้เฒ่าผู้แก่เล่าว่าจะมีเสียงดังสะเทือนจากดอยหลวงเชียงดาว ปรากฏเป็นลูกไฟ ขนาดลูกมะพร้าว สว่างจ้าพุ่งหายไปในดอยนางซึ่งอยู่ทางทิศเหนือของดอยหลวงเชียงดาว ซึ่งมีความเชื่อว่า เจ้าหลวงสุวรรณคำแดงลั่นอะม็อกไปเยี่ยมเจ้าแม่อินเหลาที่ดอยนาง

    นอกจากนี้ยังมีตำนานเจ้าหลวงคำแดง จากเอกสารที่เขียนขึ้นโดย พระมหาสถิตย์ ติกขญาโณ กล่าวไว้ว่า พระผู้เป็นเจ้าได้ปกาศิตให้เทวดายักษ์ตนหนึ่งนามว่า เจ้าหลวงคำแดง กับบริวาร 10,000 คนมารักษาของวิเศษในถ้ำเชียงดาว เพื่อรักษาไว้ให้ พระเจ้าทรงธรรมมิกราชใช้ปราบมนุษย์อธรรมในอนาคต ซึ่งนามเดิมของเจ้าหลวงคำแดง คือ เจ้าสุวรรณคำแดง ผู้ซึ่งจะมีหน้าที่เฝ้ารักษาถ้ำและดอยหลวงเชียงดาว จะหมดเวลาของการเฝ้ารักษาเมื่อพระเจ้าทรงธรรมมาปราบมนุษย์อธรรมเสียก่อน

    ที่มาhttp://www.chumchontai.com/detail.php?p_id=2104 (http://www.chumchontai.com/detail.php?p_id=2104)

    ตำนานเจ้าหลวงคำแดง

    ไพฑูรย์ พรหมวิจิตร แห่งสถาบันวิจัยสังคม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เป็นผู้หนึ่งที่ศึกษาตำนานเจ้าหลวงคำแดง ค้นคว้าเรื่องราวของเจ้าหลวงคำแดงจากเอกสารใบลานจากวัดต่างๆ ในเมืองเชียงใหม่ หนังสือประชุมตำนานล้านนาไทย

    ตำนานเชียงใหม่ปางเดิมกล่าวถึง เจ้าชายสุวรรณคำแดง เป็นกษัตริย์องค์แรกในดินแดนล้านนาที่มีเชียงใหม่เป็นศูนย์กลาง มีชีวิตอยู่ในช่วง 1,000 ปีก่อนที่ประวัติศาสตร์จะบันทึกไว้ว่าพญามังรายเป็นผู้ก่อตั้งอาณาจักรล้านนาในปี พ.ศ. 1839

    เจ้าชายสุวรรณคำแดงมีชีวิตที่เกี่ยวข้องกับถ้ำเชียงดาวเมื่อครั้งที่ไล่ต้อนเนื้อทรายทองมาจนถึงหน้าถ้ำ แต่ไม่พบเนื้อทรายทองแต่พบสาวงามชื่อนางอินเหลา แล้วทั้งสองก็ได้ครองคู่กัน หลังจากนั้นเจ้าชายสุวรรณคำแดงยังต้องตามหาเนื้อทรายทองต่อไป จนกระทั่งมาถึงที่ราบลุ่มน้ำระมิงค์ ฤาษีจึงแนะนำให้สร้างเมือง ซึ่งมีชื่อว่าเมืองล้านนา หลังจากสร้างเมืองเสร็จกษัตริย์ล้านนาจึงกลับไปหานางอินเหลาและอยู่ร่วมกันในถ้ำเชียงดาว

    ในส่วนนี้เจ้าหลวงคำแดงจึงมีฐานะเป็นปฐมกษัตริย์ของอาณาจักรล้านนาและเป็นหัวหน้าผีอารักษ์หรือผีบ้านผีเมืองแห่งอาณาจักรล้านนา โดยมีอ่างสลุง ซึ่งเป็นพื้นที่ยอดดอยหลวงที่มีลักษณะเป็นอ่างเป็นที่ประชุมของผีอารักษ์ ดังนั้นการไหว้บูชาสิ่งศักดิ์สิทธิ์ต่างๆ ตามประเพณีล้านนาจึงต้องมีการบูชาถึงเจ้าหลวงคำแดง

    เรื่องราวอีกชุดหนึ่งของเจ้าหลวงคำแดง ปรากฎในพุทธตำนานที่แต่งขึ้นในสมัยพระเจ้ากือนาถึงสมัยของของพระเจ้าสามฝั่งแกน (พ.ศ.1866-1985) เรื่องพระเจ้าเลียบโลก ด้วยฤทธานุภาพทรงเหาะเหิรเดินอากาศมายังดินแดนล้านนา “พระพุทธเจ้าเสด็จไปถึงฝั่งแม่น้ำปิง ประทับรอยพระบาทไว้บนหินก้อนหนึ่งที่ผาสะแกง ในเขต อ.ฝาง จ.เชียงใหม่ จากนั้นเสด็จไปทางอากาศ แล้วชี้ไปที่ดอยแห่งหนึ่ง และทำนายว่าศาสนาจะมารุ่งเรืองในเมืองเชียงดาว จะบังเกิดมีอารามของพระยาคำแดง”

    พร้อมทั้งมีตำนานเกี่ยวกับดอยหลวงเชียงดาวและถ้ำเชียงดาว โดยตำนานอ่างสรงฉบับวัดสันป่าข่อย คัดลอกไว้ในปี พ.ศ.2431 หรือเมื่อ 116 ปีที่แล้ว แปลเป็นไทยได้ ดังนี้

    “ศรีสวัสดี ที่นี้จักกล่าวยังตำนานนิทานปางเมื่อพระพุทธเจ้าแห่งเรานิพพานไปแล้ว ยังเมืองกุฉินาราแล อรหันตาเจ้าทั้งหลาย 500 ตนก็เอายังธาตุพระเจ้ามาไว้ยังดอยสรงที่นี้ เลยได้ชื่อว่าอ่างสรงเชียงดาว พระยาอินทร์ พระยาพรหม และเทวดาเจ้าทั้งหลาย ก็จิ่งจักแปงก่อสร้างยังมหาเจดีย์ทองคำหลัง 1 แล้วด้วยทองคำทั้งแท่ง สูงได้ 3 คาวุตมาบรรจุไว้ยังพระบรมสารีริกธาตุของพระพุทธเจ้า แล้วอรหันตาเจ้าทั้งหลาย 500 ตนก็เลยนิพพานในถ้ำที่นั้น ยามนั้นยังมีพระยาตน 1 ชื่อว่าอานันทราชา กินเมืองเชียงดาวที่นั้น ก็ได้ส่งสการสรีระคาบยังอรหันตาเจ้าทั้งหลาย 500 ตน อันได้นิพพานไปนั้นทุกองค์…”

    และอารยันตคุปต์ เขียนในปี พ.ศ.2495 ซึ่งมีเนื้อหาตรงกับที่ปรากฏรวมอยู่ในเอกสารใบลานเรื่องตำนานอ่างสรงเชียงดาว ต้นฉบับเป็นของวัดสันป่าข่อย จ.เชียงใหม่ ต้นฉบับเป็นของวัดแสนฝาง จ.เชียงใหม่ และต้นฉบับเป็นของวัดป่าแดด จงเชียงใหม่ ว่า “ภายในถ้ำนั้น พรหมฤาษีผู้วิเศษได้เรียกประชุมอินทร์พรหมยมนาค เนรมิตของวิเศษหลายอย่างคือ พระพุทธรูปทองคำ พระเจดีย์ทองคำ ต้นโพธิ์วิเศษ ช้างวิเศษ ดาบวิเศษ ผ้าทิพย์ อาหารทิพย์ สิ่งของเหล่านี้นัยว่ามีไว้สำหรับพระยาธรรมิกราช ผู้จะมาเกิดในวันข้างหน้า โดยพระอิศวรสั่งให้เทวยักษ์ตนหนึ่ง คือเจ้าหลวงคำแดง หรือ เจ้าสุวรรณคำแดง เป็นผู้ดูแลรักษาไว้”

    ที่มา ..........

    คณะทำงานบรรพชนทวาได้รับพระบรมสารีริกธาตุจำนวน ๒ องค์ และผอบบรรจุพระบรมสารีริกธาตุสำริดสนิมเขียวจากบุคคลผู้นั้นเพียงห่อกระดาษทิชชู และบรรจุใส่ซองพลาสติกเอาไว้เท่านั้น แล้วส่ง EMS ใส่ซองกันกระแทก เมื่อเปิดซองออก ก็พบว่าผอบบรรจุมีขนาดเล็กมากไม่เกิน ๒ ข้อนิ้วมือเมื่อสวมปิด ผอบมีรอยกระเทาะออกมาเล็กน้อยเห็นสนิมเขียวร่อนหลุดออกมา ซึ่งจะเกิดจากขั้นตอนการบรรจุพระบรมสารีริกธาตุลงในผอบของบุคคลผู้นั้น ส่วนพระบรมสารีริกธาตุ ๒ องค์ งามมากจริงๆ ไม่เกิดความเสียหายแต่อย่างใด

    เช้าวันที่ ๒๗ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๕ คณะทำงานบรรพชนทวาได้เดินทางไปกราบนมัสการพระอาจารย์นิลที่วัดกระโจม และได้ถวายพระบรมสารีริกธาตุจำนวน ๒ องค์ และผอบบรรจุพระบรมสารีริกธาตุสำริดสนิมเขียว พระอาจารย์นิลท่านได้สอบถามถึงเจตนาแต่แรกว่า ต้องการอย่างไร ก็กราบเรียนพระอาจารย์นิลว่า เจตนาถวายพระอาจารย์นิลเพื่อบรรจุพระบรมธาตุเจดีย์ที่หนองคาย หากวันหนึ่งในกาลข้างหน้าท่านจะได้สร้างพระบรมธาตุเจดีย์ พระอาจารย์นิลได้กล่าวอนุโมทนา และจะบอกว่าจะประดิษฐานในที่เหมาะสมต่อไป...

    เรื่องของผอบบรรจุพระบรมสารีริกธาตุใบใหม่ที่จะสวมครอบใบเดิมนี้ พระอาจารย์นิลท่านขอเวลาพิจารณาอีกครั้งถึงความเหมาะสมในด้านของลักษณะรูปทรงของผอบ เนื้อวัสดุที่จะใช้จัดสร้าง และอื่นๆครับ...

    ขออนุโมทนาร่วมกันครับ
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 26 มกราคม 2013
  3. บรรพชนทวา

    บรรพชนทวา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2012
    โพสต์:
    2,025
    ค่าพลัง:
    +167
    ปกิณกะ ๑

    ๓) ร่วมสมทบทุนอัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุสัณฐานต่างๆไปประดิษฐานยังสถานที่ที่เหมาะสม

    หลังกึ่งพุทธกาลปรากฎพระบรมสารีริกธาตุสัณฐานต่างๆขึ้นมากมาย พระบรมสารีริกธาตุส่วนๆต่างๆดังต่อไปนี้ได้รับมาจากท่านผู้หนึ่งที่เก็บรักษาไว้ที่จังหวัดแห่งหนึ่งทางภาคเหนือ ผู้ทรงฌาน ๔ ทรงอารมณ์ของพระอริยเจ้าได้ตรวจสอบแล้ว ส่วนการตรวจสอบทางกายภาพได้ใช้เครื่องมือตรวจสอบอัญมณีตรวจสอบระดับความแข็งแกร่งแล้ว เช่นส่วนของสมอง มีความแข็งตามสเกลของโมส์ (Moh's scale)มีค่าความแข็งเท่ากับ ๗ และส่วนของพระยกนัง(ตับ)มีค่าความแข็งเท่ากับ ๖ รายละเอียดอื่นๆล้วนเป็นอจินไตย ไม่ขอกล่าวในรายละเอียด...

    ผมได้พูดคุยกับพี่ท่านหนึ่ง(ที่เคยเป็นแม่งานสร้างสมเด็จองค์ปฐมเนื้อเรซิ่น หน้าตัก ๙.๙ นิ้ว จำนวน ๕๐ องค์ บรรจุพระบรมสารีริกธาตุสัณฐานที่พระพุทธกัสสปอธิษฐานจิตไว้) และมีโอกาสได้เดินทางไปพบปะกัน ท่านได้มอบพระบรมสารีริกธาตุสัณฐานต่างๆมาให้จำนวนหนึ่งเพื่อสักการะบูชา และเผยแพร่ โดยมีความตั้งใจจะเก็บรวบรวมให้ครบถ้วนมากที่สุดตามอาการ ๓๒(ธาตุดิน ๒๐ ธาตุน้ำ ๑๒ ความจริงพระบรมสารีริกธาตุสัณฐานต่างๆมีมากกว่าอาการ ๓๒ เช่น น้ำในพระกรรณ ฯลฯ) เพื่ออัญเชิญไปประดิษฐานยังสถานที่ที่เหมาะสมต่อไปในอนาคต การเก็บรวบรวมพระบรมสารีริกธาตุสัณฐานต่างๆนี้มีความจำเป็นต้องใช้ปัจจัยทางโลกแลกเปลี่ยนเพื่อผลทางธรรมอันหาประมาณมิได้ ผมรู้จักกับพี่ท่านนี้มามากกว่า ๒๐ ปีแล้ว ขณะนั้นท่านก็ได้เกษียณอายุการทำงาน เนื่องจากโรคภัยไข้เจ็บ ได้รักษาตัวยังสถานที่ต่างๆ ก็ดำรงชีพด้วยการแนะนำพระกรรมฐานเน้นธรรมะเพื่อการเป็นพระอริยเจ้า ผู้คนก็สงเคราะห์อาหารการกิน ที่อยู่อาศัย ปัจจัย ๔ เล็กๆน้อยๆ ปัจจัยทางโลกไม่มีความสำคัญกับพี่ท่านนี้มากนัก แต่ก็มีความจำเป็นในการทำงานด้านพระพุทธศาสนาอยู่บ้าง

    คณะทำงานบรรพชนทวาเห็นว่า อยู่ในกรอบแนวทางเดียวกันของการทำงานเพื่อพระพุทธศาสนาที่คณะทำงานกระทำอยู่ จึงได้ถือโอกาสบอกกล่าวเพื่อร่วมกันสมทบทุนให้การทำงานเพื่อพระพุทธศาสนา เพื่อการอัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุสัณฐานต่างๆไปประดิษฐานยังสถานที่ที่เหมาะสมนี้ลุล่วงไปด้วยดี โดยที่ไม่ต้องกังวลใจกับปัจจัยทางโลก และหาทุนทรัพย์จำนวนหนึ่งเพื่อจัดทำหนังสือรวบรวมประวัติความเป็นมาต่างๆของพระบรมสารีริกธาตุสัณฐานต่างๆนี้ ผู้เห็นด้วยกับแนวทางการทำงานเพื่อพระพุทธศาสนาด้านนี้ และต้องการร่วมสมทบทุนทรัพย์สามารถPM แจ้งขอร่วมสมทบทุนไม่จำกัดจำนวนเงิน โดยทางคณะทำงานบรรพชนทวาจะไม่เผยแพร่รายละเอียดของเลขที่บัญชีใดๆในกระทู้ฯ เว้นแต่ผู้สนใจจะสอบถามทาง PM เท่านั้นครับ...
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  4. บรรพชนทวา

    บรรพชนทวา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2012
    โพสต์:
    2,025
    ค่าพลัง:
    +167
    เรียนเชิญผู้สนใจ และศรัทธาร่วมทำบุญ ๒ งานคือ

    1.ร่วมทอดผ้าป่าสามัคคีเพื่อสมทบทุน "กองทุน ๑๐๔ ปีหลวงปู่จาม มหาปุญฺโญ เพื่อพระภิกษุสงฆ์อาพาธ" วันจันทร์ที่ ๒๒ ก.ค. ๒๕๕๖ (ตรงกับวันอาสาฬหบูชา เวลา ๑๓.๓๐ น.)

    2.ร่วมงานบุญ"งานบำเพ็ญกุศลถวายสรีระสังขารหลวงปู่จาม มหาปุญฺโญ" ตั้งแต่วันที่มรณภาพ ๑๙ ม.ค ๒๕๕๖ จนถึงวันพิธีพระราชทานเพลิงสรีระสังขาร วันเสาร์ที่ ๑๘ ม.ค. ๒๕๕๗(ปีหน้า)
    ____________________________________________________​

    1.รายละเอียดงานร่วมทอดผ้าป่าสามัคคีเพื่อสมทบทุน "กองทุน ๑๐๔ ปี หลวงปู่จาม มหาปุญฺโญ เพื่อพระภิกษุสงฆ์อาพาธ" วันจันทร์ที่ ๒๒ ก.ค. ๒๕๕๖ (ตรงกับวันอาสาฬหบูชา เวลา ๑๓.๓๐ น.)(หรือดูภาพถ่ายเอกสารของทางวัดประกอบ)

    ขอเรียนเชิญร่วมทอดผ้าป่าสามัคคี

    ร่วมทำบุญเพื่อสมทบทุน

    กองทุน ๑๐๔ ปี หลวงปู่จาม มหาปุญฺโญ เพื่อพระภิกษุสงฆ์อาพาธ

    ณ วัดป่าวิเวกวัฒนาราม(ธ)บ้านห้วยทราย อำเภอคำชะอี จังหวัดมุกดาหาร ๔๙๑๑๐

    วันจันทร์ที่ ๒๒ ก.ค. ๒๕๕๖ (ตรงกับวันอาสาฬหบูชา เวลา ๑๓.๓๐ น.)
    ____________________________________________________________________​

    กองทุน ๑๐๔ ปี หลวงปู่จาม มหาปุญฺโญ เพื่อพระภิกษุสงฆ์อาพาธ ภายในโรงพยาบาลมุกดาหาร ได้ดำเนินการให้การสงเคราะห์พระภิกษุ และสามเณรอาพาธ ตั้งแต่ ๑๙ พฤษภาคม ๒๕๕๖ เป็นต้นมา ซึ่งการดูแลพระภิกษุ และสามเณรอาพาธ ในโรงพยาบาลมุกดาหารส่วนใหญ่มักจะเป็นพระภิกษุสามเณรที่อาพาธหนักที่ส่งต่อมาจากโรงพยาบาลอื่นๆ ค่าใช้จ่ายต่างๆจึงมักจะสูงตามไปด้วย ซึ่งมากเกินกว่าที่ทางโรงพยาบาลมุกดาหารจะถวายการรักษาให้ได้ทั้งหมด

    ด้วยเหตุผลดังกล่าวนี้คณะสงฆ์มุกดาหาร และคณะกรรมการกองทุนฯ จึงขอเรียนท่านผู้มีจิตศรัทธาร่วมทำบุญเพื่อสมทบ"กองทุน ๑๐๔ ปี หลวงปู่จาม มหาปุญฺโญ เพื่อพระภิกษุสงฆ์อาพาธ" ไว้เป็นค่าใช้จ่ายสำหรับพระภิกษุ และสามเณรอาพาธ ในโรงพยาบาลมุกดาหาร โดยได้กำหนดให้มีการทอดผ้าป่าสามัคคีเพื่อระดมทุนตามวันเวลาดังกล่าว

    จึงขอเรียนแจ้งบุญบอกมายังท่าน เพื่อร่วมอนุโมทนา ร่วมทอดผ้าป่าสามัคคีในครั้งนี้ด้วย พร้อมนี้ขออำนาจเดชะคุณพระศรีรัตนตรัย และสิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลายจลดลบันดาลให้ท่านทั้งครอบครัวจงประสบแต่ความสุข เป็นผู้เจริญด้วยอายุ วรรณะ สุขะ พละ ปฏิภาณ ธนสารสมบัติทุกเมื่อเทอญ

    ด้วยความนับถือ
    โรงพยาบาลมุกดาหาร ร่วมกับคณะศิษย์วัดป่าวิเวกวัฒนาราม

    กำหนดงานบุญทอดผ้าป่าสามัคคี
    เพื่อระดมทุนสมทบกองทุน ๑๐๔ ปี หลวงปู่จาม มหาปุญฺโญ เพื่อพระภิกษุสงฆ์อาพาธ
    ณ วัดป่าวิเวกวัฒนาราม(ธ)วันจันทร์ที่ ๒๒ ก.ค. ๒๕๕๖ (ตรงกับวันอาสาฬหบูชา เวลา ๑๓.๓๐ น.)
    ____________________________________________________________________​

    เวลา ๐๘.๐๐ น.-๑๓.๓๐ น.
    -ตั้งองค์ผ้าป่า

    เวลา ๑๓.๓๐ น.
    -ทำพิธีทอดผ้าป่า
    -ไหว้พระ,รับศีล
    -กล่าวถวายจตุปัจจัยไทยธรรม,พระสงฆ์อนุโมทนาให้พร
    -เสร็จพิธีมหาบุญ,รับหนังสือธรรมะ หรืออื่นๆ(ถ้ามี)

    หมายเหตุ:สามารถขอรับใบอนุโมทนาบัตรได้

    หมายเหตุ: กรุณานำซองร่วมบุญส่งรพ.มุกดาหาร หรือร่วมบุญเข้าบัญชี ธนาคารกรุงไทย สาขามุกดาหาร

    ชื่อบัญชี กองทุน ๑๐๔ ปี หลวงปู่จาม มหาปุญฺโญ เพื่อพระภิกษุสงฆ์อาพาธ บัญชีเลขที่ ๔๒๐-๐-๕๒๗๐๕-๗

    ____________________________________________________​

    2.รายละเอียด"งานบำเพ็ญกุศลถวายสรีระสังขารหลวงปู่จาม มหาปุญฺโญ" ตั้งแต่วันที่มรณภาพ ๑๙ ม.ค ๒๕๕๖ จนถึงวันพิธีพระราชทานเพลิงสรีระสังขาร วันเสาร์ที่ ๑๘ ม.ค. ๒๕๕๗(ปีหน้า)(หรือดูภาพถ่ายหนังสือธรรมประวัติของทางวัดประกอบ)

    ก่อนที่จะถึงวันพระราชทานเพลิงสรีระสังขารหลวงปู่จาม มหาปุญฺโญ ในวันที่ ๑๘ มกราคม ๒๕๕๗ ท่านผู้มีจิตศรัทธาสามารถร่วมทำบุญเพื่อร่วมสมทบได้หลายรูปแบบ รูปแบบหนึ่งที่น่าสนใจคือ ร่วมทำบุญหนังสือ"ธรรมประวัติหลวงปู่จาม มหาปุญฺโญ ผู้มากมีบุญ" กันได้ โดยหนังสือเล่มนี้มีความหนา ๖๐๘ หน้า แบ่งเนื้อหาเป็น ๖ ภาค รวม ๔๙๔ ข้อด้วยกันคือ
    -เรื่องที่องค์หลวงปู่บอกไว้
    -ภาค ๑ วัยต้นชีวิต(ข้อ ๑-๔๑)
    -ภาค ๒ วัยติดตนต้นธรรม(ข้อ ๔๒-๑๒๔)
    -ภาค ๓ เดินทางเสาะหาครู สู่เมืองเหนือล้านนา(ข้อ ๑๒๕-๒๑๖)
    -ภาค ๔ ครั้นคืนสู่อีสานบ้านเกิด เชิดชูธรรม(ข้อ ๒๑๗-๒๓๒)
    -ภาค ๕ กลับเมืองเหนือ เครือคร่าววัยธรรม(ข้อ ๒๓๓-๓๙๘)
    -ภาค ๖ อยู่ประจำวัดป่าวิเวกวัฒนาราม เป็นหลวงปู่จาม วัยสุดท้ายบ่พ่ายแพ้แก่ตน(ข้อ ๓๙๙-๔๙๔)

    โดยได้ติดต่อขอร่วมทำบุญหนังสือกับผอ.อุทิศ ผิวขำ(๐๘๑-๙๙๙๔๗๑๓) ๑ ในคณะทำงาน"งานบำเพ็ญกุศลกราบสรีระสังขารฯ" ซึ่งปรากฎชื่อในบัญชีธนาคารของงานบำเพ็ญกุศลกราบสรีระสังขารฯ ท่านได้บอกว่า หนังสือเล่มนี้ หากได้ร่วมสมทบงานบุญในระหว่างนี้ ก็สมทบทุนเล่มละ ๑๖๐ บาท บางท่านก็สมทบไปมากกว่านั้น เช่น ๒๐๐ เป็นต้น(ทางวัดส่งพัสดุมาให้ มีค่าส่ง ๒๐ บาท)หลังงานพระราชทานเพลิงสรีระสังขารหลวงปู่จาม มหาปุญฺโญ น่าจะเป็นเล่มละ ๓๐๐ กว่าบาท ก็เป็นหนังสือธรรมะที่ดีมากเล่มหนึ่ง(เพียงอ่าน"เรื่องที่องค์หลวงปู่บอกไว้" ก็พอจะทราบวัตรปฏิบัติ และปฏิปทาขององค์หลวงปู่จาม มหาปุญฺโญ ได้เป็นอย่างดี) ซึ่งปัจจุบันได้จัดพิมพ์เป็นครั้งที่ ๗ ยอดพิมพ์ตั้งแต่ครั้งที่ ๑(พ.ศ.๒๕๕๐)-ครั้งที่ ๗(กันยายน ๒๕๕๕) รวมทั้งสิ้น ๕๐,๗๐๐ เล่ม

    "เรื่องที่องค์หลวงปู่บอกไว้"

    ๑.สมบัติใดๆเป็นของกลาง เป็นของสาธารณะ เป็นของวัด เป็นของศาสนา เป็นของสงฆ์ ก็ให้เป็นของโดยส่วนรวมนั้น

    ๒.สมณบริขารทั้งหมดของผู้ข้าฯ ขอยกมอบให้คณะสงฆ์ พระเณรที่อยู่ในวัดนี้ได้ร่วมกันพิจารณาตามเหมาะสม

    ๓.การศพ การเผา อย่าให้เอิกเกริกวุ่นวาย เป็นหน้าที่ของญาติโยมเขาจะทำกันไป อย่าเก็บศพเอาไว้ ตายวันใดเผาวันนั้นยิ่งดี
    (ผู้เขียนต่อรองเรียนขอว่า ๗ วัน,๑๐ วัน,๑๕ วัน องค์หลวงปู่วางเฉยอยู่ไม่พูดอะไร, ส่วนที่ประชุมเพลิงจะไว้ที่ตะวันออกของเจดีย์, ขออนุญาตรวบรวมบริขารไว้เป็นพิพิธภัณฑ์ องค์ท่านว่า "อย่าได้ก่อเป็นเจดีย์ขึ้นมา แข่งเจดีย์พระธาตุมิแม่นแนว")

    ๔.พระธาตุเจดีย์ให้รักษาเอาไว้ ยึดตามประเพณีที่เคยทำมาแล้ว

    ๕.กุฏิผู้ข้าฯ นอนนี้ให้ทำเป็นโรงสังฆกรรม หรือสุดแท้แต่สมภารวัดจะจัดการดูแล

    ๖.การก่อสร้างร่างแปลนใดๆนั้น มีเงินพร้อมแล้วจึงให้ทำ เงินไม่มีอย่าทำ อย่าไปขอ อย่าไปเรี่ยไร เมื่อทำให้เป็นเรื่องของศรัทธาญาติโยม สูเจ้านักบวชให้ตั้งพระธรรมวินัย ตั้งใจภาวนาไป

    ๗.โลกนี้มันไม่เที่ยง การเกิด แก่ ไข้ เจ็บ ตาย เป็นเรื่องร้ายอย่างยิ่ง ทำอย่างใดจะดับธรรมนี้ได้ให้เป็นธรรมดา

    ๘.ตายแล้วอย่าทำบุญอุทิศให้ บุญของผู้ข้าฯ ทำไว้แล้ว การสวดกุสลามาติกาก็อย่าทำให้เป็นเรื่องยุ่งยากวุ่นวาย ผ้าบังสุกุล ผู้ข้าฯ ก็ไม่เอา เอาแต่ไฟเผา ขี้เถ้ากระดูกเหลือก็ให้ขุดหลุมฝังเสียให้เรียบร้อย หรือไม่ก็เอาไปทิ้งแม่น้ำโขงให้หมดเรื่องไป อย่าได้เมาเถ้าเมากระดูก


    หมายเหตุ ความคิดคติธรรมขององค์หลวงปู่จาม มหาปุญฺโญ ในเรื่องทั้งหมดนี้ องค์ท่านได้ปรารภกับผู้เขียนไว้เมื่อวันที่ ๓๑ ธันวาคม ๒๕๔๒ เวลา ๐๔.๑๐ น.ที่บ้านกรุงเทพภาวนา เป็นครั้งที่ ๑ และเมื่อวันที่ ๕ กรกฏาคม ๒๕๔๗ เวลา ๑๗.๕๐ น.ที่กุฏิขององค์ท่าน เป็นครั้งที่ ๒

    ผู้เขียนคือ พระธมฺมธโร ครูบาแจ๋ว


    ท่านผู้มีจิตศรัทธาสามารถร่วมทำบุญเพื่อร่วมสมทบงานบำเพ็ญกุศลกราบสรีระสังขารฯ โดยร่วมทำบุญหนังสือ"ธรรมประวัติหลวงปู่จาม มหาปุญฺโญ ผู้มากมีบุญ" กันได้ โดยโอนเงินผ่านทางธนาคารได้ตามนี้ โดยมติของคณะกรรมการวัด ได้เปิดบัญชีดังนี้ ...

    - บัญชี งานบำเพ็ญกุศลกราบสรีระสังขารฯ ธนาคารกรุงไทย สาขาคำชะอี เลขที่ 436-0-28353-9
    (ชื่อบัญชี นายนิพนธ์ เสียงล้ำ, นายอุทิศ ผิวขำ, นายบุญจันทร์ ผิวขำ)

    - บัญชีงานบำเพ็ญกุศลสรีระสังขารฯ ธนาคารกสิกรไทย สาขามุกดาหาร เลขที่ 270-2-49982-0

    ** หมายเหตุ ทางธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) และ ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) ได้ยกเว้นค่าธรรมเนียมการโอน


    โดยแจ้งชื่อที่อยู่เพื่อจัดส่งหนังสือไปที่ผอ.อุทิศ ผิวขำ(๐๘๑-๙๙๙๔๗๑๓) ๑ ในคณะทำงาน"งานบำเพ็ญกุศลกราบสรีระสังขารฯ" ซึ่งปรากฎชื่อในบัญชีธนาคารของงานบำเพ็ญกุศลกราบสรีระสังขารฯข้างต้น
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • P6281829.JPG
      P6281829.JPG
      ขนาดไฟล์:
      187.4 KB
      เปิดดู:
      69
    • P6281830.JPG
      P6281830.JPG
      ขนาดไฟล์:
      108.4 KB
      เปิดดู:
      215
    • P6281831.JPG
      P6281831.JPG
      ขนาดไฟล์:
      162.3 KB
      เปิดดู:
      64
    • P6281841.JPG
      P6281841.JPG
      ขนาดไฟล์:
      141.4 KB
      เปิดดู:
      63
    • P6281843.JPG
      P6281843.JPG
      ขนาดไฟล์:
      157.8 KB
      เปิดดู:
      232
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 29 มิถุนายน 2013
  5. บรรพชนทวา

    บรรพชนทวา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2012
    โพสต์:
    2,025
    ค่าพลัง:
    +167
    เดือนนี้(กรกฎาคม)เป็นเดือนที่มีความเกี่ยวข้องกับสถานที่ที่หนึ่งที่มีประวัติความเป็นมาของการสร้างรูปหล่อที่เป็นตำนาน จึงขอนำมาบอกเล่า และระลึกถึงคุณความดีของท่านที่ยังคงดูแลช่วยเหลือคนไข้ และคนดีอยู่ตลอดเวลา ขึ้นอยู่กับว่าใครจะติดต่อหรือมองเห็นท่านได้ เพราะท่านอยู่คนละภูมิ ซึ่งซ้อนอยู่กับภูมิมนุษย์ของเรา

    ประวัติ และอภินิหาร ท้าวหิรัญพนาสูร (ฮู)
    อสูรผู้ภักดีในล้นเกล้า รัชกาลที่ 6
    โดย...รณธรรม ธาราพันธุ์


    “วังพญาไท” ในยุคปรัตยุบันไม่ใคร่มีใครรู้จักเสียแล้ว กาลที่เนิ่นนานผ่านมากว่า 71 ปีย่อมกลืนกินทุกสรรพสิ่ง ไม่ว่ารูปหรือนาม ความทรงจำถึง “วังพญาไท” ในวันนี้ ย่อมมีอยู่เพียงหน้าหนึ่งในประวัติศาสตร์ชาติไทย

    แต่ถ้ากล่าวถึง “โรงพยาบาลพระมงกุฏฯ” หลายคนคงเคยสดับฟังและอาจเคยเข้ารับการรักษา หรืออาจถือกำเนิดที่นี่ซ้ำไป ทราบกันไหมว่าโรงพยาบาลพระมงกุฏในวันนี้ อดีตเคยเป็นวังอันสวยสดงามสง่า และเป็นที่ประทับของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 มาก่อน

    ลึกเข้าไปทางด้านทิศเหนือของ “วังพญาไท” ซึ่งติดกับคลองสามเสน ปรากฏศาลเทพารักษ์อันโดดเด่นงดงาม ประดับกระจกสีพร่างพรายล้อแสงตะวันระยิบระยับอยู่ใกล้ ๆกับต้นไทรใบดกหนา ภายในศาลประดิษฐานอยู่ด้วยรูปหล่อทองสัมฤทธิ์ขนาดใหญ่กว่าคนจริงเล็กน้อย รูปร่างล่ำสันสมชายชาตรี

    ร่างงามนั้น สวมชฎาทรงเทริด (เซิด) อย่างไทยโบราณ ถือไม้เท้าเป็นเครื่องประดับ นุ่งผ้าโจงกระเบนอย่างผู้มียศศักดิ์ สวมสร้อยสังวาลย์ และพาหุรัด อีกทั้งกำไลมือ กำไลเท้าสมภาคภูมิ

    หากใครสักคนไปเฝ้าดูอยู่ที่นั่น จะพบว่ามีผู้คนมากหน้าหลายตาหลากอาชีพมาสักการะบูชาอยู่มิได้ขาด ท่านผู้นั้นเป็นใครหรือจึงมีคนเคารพบูชาเพียงนั้น แม้ว่าเป็นภูมิเจ้าที่ธรรมดา การแต่งกายก็บ่งชัดว่าไม่ใช่

    เชิญเถิดท่านทั้งหลายมาทำความรู้จักกับ “อสูรผู้ภักดี” อย่างน่าสรรเสริญท่านนี้กันเถิด

    ย้อนหลังไปในอดีตกาลที่ผ่านพ้นมาถึง 90 ปี ครั้งกระนั้น พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ยังทรงดำรงพระอิสริยยศเป็น “สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชสยามมกุฎราชกุมาร” ได้ทรงเสด็จพระราชดำเนินไปประพาส ณ มณฑลพายัพ โดยขบวนรถไฟหลวง

    ครั้นถึงจังหวัดนครสวรรค์ ก็เสด็จพระราชดำเนินโดยขบวนเรือพระที่นั่งไปขึ้นบกที่จังหวัดอุตรดิตถ์ จากนั้นพระองค์ก็เสด็จพระราชดำเนินโดยทรงม้าต่อไป ซึ่งในครั้งกระโน้น อุตรดิตถ์และดินแดนทางฝ่ายเหนือยังมีสภาพเป็นป่ารกชัฏ อุดมสมบูรณ์ด้วยแมกไม้นานาพรรณ แลเกลื่อนกล่นด้วยส่ำสัตว์น้อยใหญ่ ไม่ปรากฏถนนหนทางดังเช่นปัจจุบัน

    ใช่เพียงหมู่สัตว์ร้ายและไข้ป่าที่ขึ้นชื่อลือชาว่าน่าหวาดสยองเป็นที่สุดเท่านั้น ความเงียบของไพรพฤกษ์ ความมืดครึ้มของดงดิบ ก็มีผลที่จะสั่นคลอนประสาทของผู้เป็นข้าราชบริพารที่ว่าแข็งให้หวั่นไหวได้อย่างน่าประหลาด ภูตผีปีศาจเป็นเรื่องที่ฝังรากหยั่งลึกอยู่ในจิตใจของคนไทยมาช้านาน ไม่อาจบอกได้ว่าเริ่มมาแต่ครั้งไหน ทว่ามันยังมีอิทธิพลเรื่อยมาทุกรุ่นทุกคนจนทุกวันนี้ ผู้ตามเสด็จในขบวนทั้งหลายก็ยังมีความเชื่ออย่างนี้เช่นกัน ด้วยความวิตกในจิตใจและความแบบบางของร่างกายอย่างชาววัง จึงได้มีผู้ล้มป่วยเป็นไข้ป่าอยู่เป็นอันมาก

    วันหนึ่งของการเดินทางเมื่อพลบค่ำ ข้าราชการที่ตามเสด็จไปด้วยก็จัดเตรียมพลับพลาที่ประทับในป่าถวาย สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ ดังเช่นที่เคยปฏิบัติมา

    ในราตรีนั้นเอง สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ ได้ทรงสุบินนิมิตเห็นปรากฏแก่สายพระเนตร เป็นบุรุษชาติผู้หนึ่ง กอปรด้วยรูปร่างที่ใหญ่โตแลกล้ามเนื้ออันล่ำสันบึกบึน มีผิวกายคล้ำเยี่ยงคนกรำแดด ที่ตัวนั้นมิได้สวมเสื้อ คงนุ่งเพียงผ้าเตี่ยวมีลายเชิงสีแดงคาดรัดเอวอย่างงดงาม ร่างกายล้วนเต็มไปด้วยอาภรณ์สูงค่าประดับองค์ บนศีรษะครอบไว้ด้วยชฎาทรงเทริดอันเป็นเครื่องบ่งถึง “ภพภูมิ” ที่ไม่ “ธรรมดา”

    บุรุษลึกลับผู้นั้นย่างกายเข้ามาอย่างองอาจผ่าเผย ทว่าแฝงไว้ด้วยความอ่อนน้อมในที เมื่อร่างอัศจรรย์มาหยุดยืนอยู่เบื้องปลายแท่นพระบรรทมแล้ว ก็ยกมือขึ้นประนม แล้วกราบบังคมทูลด้วยเสียงที่อ่อนโยนลุ่มลึกขึ้นว่า

    “ข้าพระพุทธเจ้าชื่อ ฮู เป็นอสูรชาวป่าซึ่งยึดมั่นอยู่ในสัมมาปฏิบัติ มีความศรัทธาเลื่อมใสในพระองค์ จะขอถวายตัวเพื่อเป็นข้าราชบริพารคอยรับใช้ และติดตามเสด็จไปด้วยทุกหนแห่งเพื่อพิทักษ์เบื้องพระยุคลบาท มิให้ภยันตรายมากร้ำกรายพระองค์”

    สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ ทรงสดับฟังด้วยความสุขุมอย่างเข้าพระทัย เมื่ออสูรนามว่า “ฮู” กล่าวจบลง พระองค์จึงทรงมีพระราชดำรัสถามว่า

    “แล้วจะให้ข้าพเจ้าปฏิบัติอย่างไร”

    อสูรผู้มีป่าเป็นเรือนพักได้กราบบังคมทูลว่า

    “ไม่ต้องมีอะไรมาก โปรดพระราชทานที่เฉพาะให้ข้าพระพุทธเจ้าอยู่ และแบ่งพระกระยาหารจากเครื่องเสวยของพระองค์ ก็เพียงพอแล้ว”

    เมื่อจบการสนทนา อสูรชาวป่าก็ถวายบังคมลาอันตรธานไปจากพลับพลาที่ประทับในราตรีนั้น

    ครั้นอรุณรุ่ง พระองค์ก็ทรงมีพระราชวินิจฉัยอยู่ในพระราชหฤทัยอยู่เพียงพระองค์เดียวว่า เมื่อคืนนั้นจักทรงพระสุบินไปโดยธรรมดาของธาตุขันธุ์ หรือเป็น “เทพนิมิต” ทว่าหลังจากนั้นไม่นาน บรรดาข้าราชบริพารทั้งหลายทั้งปวงที่เป็นไข้ป่ากันงอมแงมก็พากันหายจากอาการเจ็บป่วยโดยสิ้นเชิง และผู้ที่ไม่เคยเป็นก็พากันรอดพ้นจากไข้ป่าแลภัยทั้งหลายทั้งปวง

    เมื่อทรงทอดพระเนตรเห็นดังนั้น ก็ดูเป็นการสมจริงดังคำอ้างของบุรุษผู้มีที่มาอันพิสดารได้กล่าวรับรองไว้ ยิ่งไปกว่านั้น ประดาข้าราชบริพารที่ตามเสด็จไปด้วย ก็เกิดพบเห็นชายรูปร่างใหญ่โตน่าเกรงขามคนหนึ่งมักยืนหรือนั่งอยู่ใต้ต้นไม้ใกล้ ๆที่ประทับของพระองค์เสมอ ๆ

    บางครั้งก็เห็นเพียงคนเดียว แต่บางครั้งก็พากันเห็นพร้อมกันหลายคน ทำเอาข้าราชบริพารทั้งนั้นวิพากษ์วิจารณ์กันอย่างอกสั่นขวัญแขวน เพราะในกลุ่มผู้ที่ตามเสด็จทั้งหลายไม่มีชายรูปร่างหน้าตาอย่างนี้มาด้วยเลย เมื่อความข้อนี้ทราบถึงพระเนตรพระกรรณ จึงทรงมีพระราชดำรัสให้จัดธูปเทียนและเครื่องโภชนาการเลิศรสไปสังเวยที่ริมป่าละเมาะใกล้กับพลับพลาที่ประทับนั้น เวลาเสวยก็ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้แบ่งพระกระยาหารจาก “เครื่องต้น” ไปเซ่นสรวงเสมอ และได้ถือเป็นพระราชกรณียกิจจนกระทั่งสิ้นรัชกาล

    ข้าราชบริพารที่ใกล้ชิดในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวสมัยนั้น มักพบเห็นพิธีการอันแปลกประหลาดอยู่อย่างหนึ่งเป็นประจำทั้งเช้าและเย็น นั่นคือการแบ่งเครื่องเสวยออกสังเวยท่านฮูอยู่เป็นประจำมิได้ขาด โดยหลวงปราโมทย์กระยานุกิจ (มา) เป็นผู้รับผิดชอบในการเซ่นสรวง

    เกี่ยวกับเรื่องนี้ “พระมหาเทพกษัตรสมุห” สมัยที่เป็นมหาดเล็กตั้งเครื่องเสวยเล่าว่า

    “เวลาผมตั้งเครื่องวันไหนแล้ว หลวงปราโมทย์กระยานุกิจ แผนกวรภาชน์ซึ่งเป็นผู้จัดแบ่งพระกระยาหารไปเซ่นสรวงท้าวหิรัญฮู ลืมเอาไปเซ่นสรวง มักจะมีถ้วยชามแตกโฉ่งฉ่างให้ได้ยินไปถึงพระกรรณจนถูกกริ้ว หรือไม่เช่นนั้นก็มีเรื่องอื่นๆทำให้หลวงปราโมทย์กระยานุกิจถูกกริ้วทุกครั้งไป จนถึงกลับถูกถอดจากหลวงเป็นขุน จากขุนเป็นนายมา (ชื่อเดิมของท่าน) แล้วก็ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เป็นหลวงอีก เวลามีอะไรเกิดขึ้น ผมว่ากับหลวงปราโมทย์ฯ ซึ่งเป็นเพื่อนกันว่า ลืมอีกล่ะซิ แกบอกว่าลืมจริง ๆ”

    ในช่วงเวลานี้เอง ที่สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชเจ้าได้ทรงโปรดเกล้าให้ “พระยาอนุศาสตร์จิตรกร” ช่างเขียนประจำพระองค์ ร่างรูปท่านฮูขึ้นตามที่ทรงพระสุบินให้ทอดพระเนตร ทรงทักท้วงและอธิบายแก้ไขจนได้รูปร่างลักษณะตลอดจนเครื่องประดับประดาเป็นที่พอพระราชหฤทัยแล้ว ก็ทรงให้พระยาอนุศาสตร์จิตรกรไปเขียนเป็นภาพให้งดงามตามพระราชประสงค์ต่อไป

    ---------------------------------
    ลุมาถึงปี พ.ศ. 2453 สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชสยามมกุฎราชกุมาร ได้เสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติเป็น “พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว” จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้หล่อรูปท่านฮู ขึ้นด้วยทองสัมฤทธิ์ขนาดเล็ก สูง 20 เซ็นติเมตร เป็นจำนวน 4 รูป เมื่อเดือนเมษายน 2454 ซึ่งถือเป็นรูปหล่อ “รุ่นแรก” ของท่านฮู

    จากนั้นก็มีพระราชพิธีเชิญดวงวิญญาณท่านฮูมาสถิตสถาพรในรูปจำลองทั้ง 4 องค์ และโปรดเกล้าฯพระราชทานนามเป็นพิเศษว่า “ท้าวหิรัญพนาสูร” และได้ทรงนำไปติดไว้ที่หน้ารถยนต์พระที่นั่งสีขาวชื่อ “เนเปีย” รูปหนึ่ง

    ทรงประดิษฐานไว้ข้างพระที่ในห้องพระบรรทมรูปหนึ่ง (ปัจจุบันอยู่ที่วังรื่นฤดี ซอย 38 ถนนสุขุมวิท ซึ่งเป็นวังที่ประทับของ “สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอฟ้าเพชรรัตนราชสุภาสิริโสภาพัณณวดี” และได้ทรงตั้งเครี่องเสวยเซ่นสรวงเป็นกิจวัตร)

    อยู่ที่บ้าน “พระยาอนิรุทธเทวา (ม.ล.ฟื้น พึ่งบุญ)” ซึ่งทายาทยังคงเก็บประดิษฐานไว้ที่บ้านปากคลองเทเวศน์ตราบเท่าทุกวันนี้

    และอีกรูปหนึ่ง พ.อ.สุชาติ ปาลวัฒน์วิไชย กับ พ.ต.อุลิศ ลีนะวัติ (ยศในปี พ.ศ. 2504) ได้นำมาประดิษฐานไว้ให้คนเจ็บไข้ได้สักการะหลังหมวดพระยาบาลที่ 8 โรงพยาบาลพระมงกุฏเกล้า (เป็นเรือนไม้ 2 ชั้น ทาสีเขียวแก่ อยู่ทางทิศตะวันตกของวังพญาไท ต่อมาภายหลังได้ถูกรื้อแล้วสร้างเป็นโรงเรียนพยาบาลผดุงครรภ์และอนามัยกองทัพบก ในปี พ.ศ. 2506 และในปัจจุบันได้ย้ายไปประดิษฐานอยู่ที่หน้า “พระที่นั่งอุดมวนาภรณ์” ในโรงพยาบาลพระมงกุฏฯ นั่นเอง)

    กล่าวถึงรูปหล่อท่านท้าวหิรัญฮูองค์แรกที่ทรงโปรดฯ ให้นำไปติดไว้ที่หน้ารถพระที่นั่ง “เนเปีย” นั้น พระมหาเทพกษัตรสมุห กรุณาเล่าว่า

    “ท้าวหิรัญฮู ที่พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯให้หล่อขึ้น พระองค์โปรดฯ ให้นำไปติดไว้ที่หน้ารถพระที่นั่ง เพราะเมื่อเวลาที่เสวยพระราชสมบัติแล้ว พระองค์เสด็จไปทรงซ้อมรบเป็นประจำ เป็นเหตุให้ทรงพบเห็นภูติผีปีศาจอยู่บ่อย ๆ แต่พอติดรูปหล่อท่านท้าวหิรัญฮูแล้ว ก็ไม่ทรงพบภูติผีปีศาจอีกเลย

    โดยปกติพระองค์จะทรงทำบุญให้ท้าวหิรัญฮูทุกปี แต่จำไม่ได้ว่าวันไหน ซึ่งมีอยู่สองวันคือ วันจักรีกับวันสงกรานต์ พระองค์ทรงทำบุญแล้วก็ทรงทำทานด้วย การทำทานนั้นพระองค์ทรงโปรยสตางค์ใหม่ แย่งกันสนุก ผมก็ยังแย่งมาถึง พ.ศ. 2460”

    นั่นคือคำบอกเล่าของพระมหาเทพกษัตรสมุห ข้าราชบริพารท่านหนึ่งที่ได้ทรงใกล้ชิดกับองค์พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว จนสิ้นราชการ

    สำหรับรูปหล่อองค์ที่ติดอยู่หน้ารถพระที่นั่งนั้น มักปรากฏเหตุอัศจรรย์อยู่เสมอ จะเพราะด้วยเป็นรูปที่ใกล้ชิดกับองค์ล้นเกล้ารัชกาลที่ 6 ก็ไม่อาจทราบได้

    เพราะเมื่อล้นเกล้ารัชกาลที่ 6 เสด็จสวรรคต “พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7” ก็พระราชทานรถพระที่นั่ง “เนเปีย” ให้กับ “กรมหมื่นอนุวัตรจาตุรนต์” ซึ่งกรมหมื่นอนุวัตรฯ ได้ใช้ขับเข้าเฝ้าทุกวัน ต่อมาไม่นานกรมหมื่นอนุวัตรฯ ก็ได้พบเห็นเหตุการณ์ที่ชวนแปลกประหลาดใจเป็นอย่างยิ่ง เพราะบ่อยครั้งที่รถพระที่นั่งซึ่งจอดอยู่ในโรงเก็บรถในวัง (ตรงสี่แยกถนนหลานหลวง หลังกรมโยธาเทศบาลเดี๋ยวนี้) จะเปิดไฟสว่างจ้าเองเสมอ

    ทีแรกก็คิดว่ามีใครไปเปิดเล่น แต่เมื่อลงไปตรวจดูแล้วก็ไม่พบเห็นผู้หนึ่งผู้ใดเลย แล้ววันแห่งการบอกลาระหว่างเชื้อพระวงศ์ชั้นสูงกับรถ “อสูรสถิต” คันนี้ก็มาถึง เมื่อคืนวันหนึ่งรถเจ้าปัญหาได้เปิดไฟสว่างจ้าเหมือนเช่นเคย มิหนำซ้ำยังจอดขวางอยู่ในโรงเก็บรถที่แคบแสนแคบ

    การที่รถพระที่นั่งจอดขวางในโรงเก็บด้วยลักษณะการเช่นนี้ ต่อให้ใครที่ว่าเก่งแสนเก่งก็ขับรถกลับออกจากโรงรถไม่ได้ ด้วยเหตุนี้เอง เมื่อคนขับรถจะเอารถพระที่นั่งออกจึงต้องใช้วิธีขึ้นแม่แรงยกรถเป็นการใหญ่ใช้เวลาร่วม 2 ชั่วโมง รุ่งขึ้นกรมหมื่นอนุวัตรฯ กระหืดกระหอบเข้าเฝ้าพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว แล้วเล่าเรื่องนี้ถวายให้ทรงทราบ และพูดให้พระมหาเทพกษัตรสมุหฟังว่า

    “ทำให้ฉันไม่กล้าขี่รถคันนี้”

    จากนั้นกรมหมื่นอนุวัตรฯ ก็ถวายรถคืนพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ด้วยไม่กล้าที่จะเอาไว้เพราะเหตุนี้เอง

    ---------------------------------
    ย้อนกลับไปในรัชสมัยของล้นเกล้ารัชกาลที่ 6 อีกครั้ง พระองค์โปรดฯ ให้สร้างวังพญาไทขึ้นจนเสร็จสมบูรณ์ใน พ.ศ. 2465 ก็ได้ทรงมีพระราชดำริที่จะให้วังพญาไทมีศาลเทพารักษ์ เข้าทำนองศาลพระภูมิประจำบ้านคนไทยโดยทั่วไป

    ทรงมีพระราชประสงค์ที่จะให้ท่านท้าวหิรัญพนาสูร (ฮู) เป็นเทพารักษ์ประจำวัง จึงได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระยาอาทรจุรศิลป์ (มล.ช่วง กุญชร) นายช่างกรมศิลปากรสมัยนั้นดำเนินการสร้างโดยด่วน แต่มาติดขัดที่คนซึ่งมีลักษณะล่ำสันแข็งแรงและใหญ่โตมาเป็นแบบนั้น ครั้นแล้วก็ทรงนึกถึง “นายตาบ พรพยัคฆ์” มหาดเล็กรับใช้ของพระองค์ ซึ่งมีรูปร่างสูงใหญ่ มีกำลังร่างกายแข็งแรงมาก จึงโปรดเกล้าฯ ให้ “เจ้าพระยาธรรมา” กรมมหาดเล็กหลวงนำตัวนายตาบมาเป็นต้นแบบในการขึ้นรูปท้าวหิรัญพนาสูร

    ทรงโปรดเกล้าฯ ให้มิสเตอร์ “แกลเล็ตตี” นายช่างชาวอิตาลีซึ่งมาทำงานประจำอยู่ที่กรมศิลปากรเป็นผู้หล่อด้วยทองสัมฤทธิ์ ดังนั้นองค์ท้าวหิรัญพนาสูรจึงละม้ายคล้ายคลึงนายตาบทุกประการ เว้นเพียงท้าวหิรัญพนาสูรไม่มีหนวดเหมือนนายตาบเท่านั้นเอง

    เมื่อหล่อเสร็จสรรพเรียบร้อย ก็ทรงโปรดฯ ให้มีคำจารึกที่ฐานเทพารักษ์ว่า

    “พระบาทสมเด็จพระรามาธิบดี ศรีสินทรมหาวชิราวุธมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นเมื่อวันเสาร์ที่ 15 กรกฎาคม พุทธศักราช 2465 เวลา 5 นาฬิกา กับ 9 นาที 41 วินาที หลังเที่ยง”

    มีเรื่องแปลกก่อนที่จะยกองค์ท้าวหิรัญพนาสูรขึ้นบนศาลเรื่องหนึ่งเพราะนายช่างแกลเลตตี เป็นชาวอิตาเลียน ไม่เชื่อในเรื่องลึกลับอัศจรรย์แต่ประการใด เธอจึงใช้เชือกผูกคอรูปหล่อ เพื่อชักขึ้นตั้งบนฐานในศาลจตุรมุข ก็ในทันทีนั้นเอง เธอเกิดเป็นโรคคอเคล็ดเหลียวไปมาไม่ได้เป็นที่น่าอัศจรรย์ เพราะเธอทำกับรูปท่านอย่างไร ผล อย่างเดียวกันนั้นก็กลับมาที่เธอ

    เมื่อเธอยอมใจให้กับท่านฮู ก็จัดหาดอกไม้ธูปเทียนมาขอขมาลาโทษ ประหลาดนักเธอก็พลันหายจากโรคคอเคล็ดในบันดล! นับว่าอำนาจของท่านฮูนั้ไม่ใช่น้อยนิดเลย

    [​IMG][​IMG]
    ท้าวหิรัญพนาสูร (ฮู) เมื่อหล่อและประดิษฐานบนศาลเรียบร้อยแล้ว ก็ได้กระทำพระราชพิธีบวงสรวงอย่างเป็นทางการเมื่อวันเสาร์ที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2465 ต่อมานั้นราวอีก 2 เดือน ก็ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง นายตาบ พรพยัคฆ์ มหาดเล็กซึ่งเป็นต้นแบบในการปั้นรูปท้าวหิรัญฮู ให้มีบรรดาศักดิ์เป็น “ขุนหิรัญปราสาท” เพื่อให้มีชื่อสอดคล้องกับท้าวหิรัญพนาสูร กับให้มีสร้อยเกี่ยวพันถึงปราสาทราชวังด้วย การที่นายตาบได้รับพระราชทานยศศักดิ์ครั้งนี้เห็นจะเป็นด้วยบารมีของท่านฮูเป็นแน่แท้

    -----------------------------------------------------------------
    ฤทธานุภาพท้าวหิรัญพนาสูร

    นับแต่ชื่อท่านฮู เป็นที่แพร่หลายไปในหมู่ชาววัง ความขลังของท่านก็ดูจะครอบคลุมไปทั่วคุ้มทั่ววังและหาได้หยุดยั้งลงเพียงนั้นไม่ กลับลามเลียเข้าสู่หัวใจของชาวบ้านผู้สนใจในท่านอีกหลายร้อยหลายพันคน

    ผู้ไปบนบานศาลกล่าว ผู้มีทุกข์ร้อนอันไม่เหลือวิสัย เมื่อไปอ้อนวอนขอพรท่านฮู ก็มักปรากฏเหตุอัศจรรย์ให้เขาเหล่านั้นผ่านพ้นภัยพิบัติต่าง ๆมาได้ตลอด ยิ่งทำให้ชื่อเสียงของผู้ศักดิ์สิทธิ์ท่านนี้เอิกเกริกครึกโครมยิ่งขึ้น

    วัตถุมงคลของท้าวหิรัญพนาสูร

    รูปหล่อรุ่นแรก สร้างเมื่อเดือนเมษายน พ.ศ. 2454 โดยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม ให้หล่อขึ้นด้วยทองสัมฤทธิ์ขนาดเล็ก สูง 20 ซม. (8 นิ้ว) เป็นจำนวน 4 องค์ ปัจจุบันล้วนตกอยู่กับเจ้าฟ้าและทายาทข้าราชบริพารในเบื้องยุคลบาทของล้นเกล้ารัชกาลที่ 6 เท่านั้น ใครที่คิดอยากได้ ขอให้ลืมความคิดนั้นเสีย

    [​IMG]
    องค์ที่ 1 องค์แรกเดิมประดิษฐานอยู่ข้างพระที่ในห้องพระบรรทม ปัจจุบันอยู่ที่วังรื่นฤดี ซึ่งสมเด็จเจ้าฟ้าเพชรัตนราชสุดาสิริโสภาพัณณวดียังคงให้มีการถวายเครี่องเซ่นเป็นประจำทุกวัน

    [​IMG]
    องค์ที่ 2 โปรดให้อัญเชิญไว้หน้าหม้อรถยนต์พระที่นั่ง ปัจจุบันอยู่ที่หมวดรถยนต์หลวง โดยอัญเชิญไว้บนหิ้งบูชา

    [​IMG]
    องค์ที่ 3 โปรดให้อัญเชิญไว้ที่กรมมหาดเล็กหลวง ปัจจุบันอยู่ที่พระที่นั่งราชกรัญยสภา ในพระบรมมหาราชวัง

    [​IMG]
    องค์ที่ 4 องค์สุดท้ายอยู่ที่บ้านพระยาอนิรุทธเทวา อดีตอธิบดีกรมมหาดเล็กหลวงในสมัยรัชกาลที่ 6

    แหล่งอ้างอิงข้อมูล:-
    คุณรณธรรม ธาราพันธุ์ หน้าแรก

    http://topicstock.pantip.com/library/to ... 57042.html
    http://www.kingvajiravudh.org/main/inde ... 8-10-32-26 และ

    คุณจิ้งจก ท้าวหิรัญพนาสูร เทพผู้พิทักษ์รัชกาลที่ 6 : บทความ - เรื่องราวน่ารู้ - 2

    เหรียญในตำนาน

    สำหรับเหรียญรุ่นแรก เป็นเหรียญอลูมิเนียมกะไหล่ทอง สร้างเมื่อตอนยกรูปหล่อใหญ่ของท่านขึ้นประทับบนศาลใหญ่เมื่อปี พ.ศ. 2465 นั่นเรียกว่าเป็นเหรียญรุ่นแรกจริงๆ แต่ทุกวันนี้หายากมากเสียแล้ว ในวงการจึงยกเหรียญรุ่นปี พ.ศ. 2525 ที่พระโพธิสังวรเถร หรือ หลวงพ่อฑูรย์ อัตตทีโป วัดโพธินิมิตรสถิตมหาสีมาราม ตลาดพลู กรุงเทพ เป็นองค์อธิษฐานจิต-ปลุกเสกไว้

    ความพิเศษของเหรียญรุ่นแรก เป็นการสร้าง(วันที่ 15 กรกฎาคม 2465)ก่อนที่ร.6 จะเสด็จสวรรคต(วันที่ 26 พฤศจิกายน 2468) 3 ปีเศษ เป็นเหรียญอลูมิเนียมกะไหล่ทองบาง ตัวอักษร และภาพปั๊มนูน ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้มีคำจารึกรอบเหรียญว่า "วันเสาร์ที่ ๑๕ กรกฎาคม พุทธศักราช ๒๔๖๕ เวลา ๕ นาฬิกา กับ ๙ นาที ๔๑ วินาที หลังเที่ยง" พระราชพิธีหลวง และเทวาภิเษก จำนวนเหรียญนับว่ามีจำนวนที่น้อยมากเพื่อแจกข้าราชบริพารเป็นการเฉพาะเท่านั้น

    คาถาบูชา ท่านท้าวหิรัญพนาสูร( เทพเจ้าแห่งดงพญาเย็น ) ผู้ทรงฤทธิ์ ช่วยเหลือผู้ป่วย และผู้มีอันตรายได้จริง

    (จุดธูป 16 ดอก)
    นะโม 3 จบ
    ระหินะ ภูมาสี
    ภะสะติ นิรันตะรัง
    ลาภะสุขัง ภะวันตุเม

    (สวด 9 จบ )

    อุปเท่ห์ ผู้ใดสวดบูชาประจำ ป้องกันภัย มีโชคลาภ ค้าขายดี มีอำนาจ หายจากโรคภัยไข้เจ็บ ร่มเย็นเป็นสุข ตลอดกาล ฯลฯ เมื่อท่านสำเร็จผล ควรจะถวายสังฆทานให้ท่านท้าวหิรัญพนาสูร

    สิ่งที่ควรถวายท่านท้าวหิรัญพนาสูร
    บายศรีพรหม บายศรีเทพ บายศรีปากชาม
    หมูหนาม(ขนุน)
    มะพร้าวอ่อน 2 ลูก
    กล้วยน้ำว้า 1 หวี
    ดาวเรือง 9 พวง
    สับปะรด
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 30 กรกฎาคม 2013
  6. ake7440

    ake7440 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    1,528
    ค่าพลัง:
    +405
     
  7. บรรพชนทวา

    บรรพชนทวา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2012
    โพสต์:
    2,025
    ค่าพลัง:
    +167
    หนังสือวิปัสสนากรรมฐานเล่มหนึ่งที่มีการพิมพ์ ๕ ครั้ง ตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๕๑๓ เป็นต้นมา เป็น ๑ ในจำนวน ๗ เล่มที่หลวงปู่กัสสปมุนี สำนักสงฆ์ปิปผลิวนาราม จ.ระยอง ได้เขียนบันทึกขึ้นจากประสบการณ์การปฏิบัติของท่านเอง โดยหลวงปู่ท่านได้เขียนภาพเปรียบเทียบด้วยลายเส้นของจิตวิญญาณในระดับต่างๆ และอื่นๆอีกมากมาย โดยหลวงปู่สมเด็จพระวันรัต วัดพระเชตุพนฯ ได้เขียนคำอาจาริยกถาในการพิมพ์ครั้งที่ ๑ ปีพ.ศ.๒๕๑๓ หลวงปู่ท่านกล่าวว่า .."เป็นหนังสือที่ช่วยเปิดแสงสว่างให้แก่ผู้สนใจได้เป็นอย่างดี แต่ขึ้นกับผู้สนใจในการปฏิบัติอย่างแท้จริง ไม่ใช่เรื่องของคนอยากได้แต่ไม่กระทำ คนลักษณะนี้แม้จะมีตำราดีอย่างไร แม้จะมีอาจารย์ดีอย่างไร ก็ไม่มีวิสัยจะเข้าถึงธรรมได้.."จะพยายามทยอยนำลงให้ได้อ่าน และปฏิบัติกันครับ

    อัตชีวประวัติของหลวงพ่อกัสสปมุนี เถราจาริย์

    หลวงพ่อกัสสปมุนี เกิดเมื่อวันที่ ๒๒ กันยายน พ.ศ. ๒๔๕๒ ที่กรุงเทพมหานคร ท่านมีนามก่อนบวชว่า "ประจงวาศ" ต่อมาเปลี่ยนเป็น"ประยุทธิ วรวุธิ" นามสกุล"อาภรณ์สิริ" โยมบิดาชื่อ พระพาหิรรัชฏ์พิบูลย์ (ประวัติ อาภรณ์สิริ) โยมมารดาชื่อ นางพาหิรรัชฏพิบูลย์ (เผื่อน อาภรณ์สิริ) พี่น้องหลวงพ่อทั้งหมดรวมหลวงพ่อด้วยมี ๓ คน พี่ชายหลวงพ่อชื่อ ประไพวงศ์ คล้องจองกับชื่อประจงวาศ น้องชายคนกลางคือหลวงพ่อ และประสาทศิลป์ เป็นคนสุดท้าย ทั้งสิ้นเป็นชายล้วน (ทุกท่านสิ้นชีวิตไปแล้ว น้องชายคนเล็กสิ้นชีวิตไปหลังจากหลวงพ่อถึงแก่มรณภาพเพียง ๑ ปี) สมัยเป็นฆราวาส ท่านได้สมรสกับนางประชุมศรี อาภรณ์สิริ มีบุตรชาย ๒ คน บุตรหญิง ๒ คน

    หลวงพ่อท่านเล่าให้ฟังว่า คุณปู่ของท่าน คือพระยาภูษามาลา (ผู้พี่) และเจ้าพระยามหินทรศักดิ์ดำรง (ผู้น้อง) มีถิ่นกำเนิดที่ จ. กำแพงเพชร ได้เข้ามารับใช้ฉลองพระเดชพระคุณพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ ๔ เป็นต้นมา ในกองพระภูษามาลาและกองมูรธาภิเษก ในพระบรมมหาราชวัง เป็นต้นสกุล “อาภรณ์สิริ” และ “เพ็ญกุล” ตามลำดับ เนื่องจากสายสกุลของหลวงพ่อ มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และพระราชวงศ์อย่างมาก หลวงพ่อจึงมีความจงรักภักดีต่อองค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทุกพระองค์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งต่อ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (ได้ประดิษฐานไม้แกะสลักเป็นรูปพระองค์ท่านที่หน้ากุฏิหลวงพ่อ เห็นได้จนปัจจุบัน หลวงพ่อท่านมีความสัมพันธ์ทางจิตใจ มีความภักดีในพระองค์ท่านอย่างลึกซึ้ง) องค์รัชทายาท และพระราชวงศ์ทุกพระองค์ หลวงพ่อก็ให้ความจงรักภักดี เทอดทูนเสมอมา

    การศึกษาของหลวงพ่อเริ่มต้นที่โรงเรียนกรุงเทพคริสเตียน กรุงเทพฯ แต่เล่าเรียนอยู่ไม่นานนัก ก็ได้ย้ายไปที่โรงเรียนอัสสัมชัญ อำเภอบางรัก กรุงเทพฯ หลวงพ่อเรียนภาษาอังกฤษเป็นวิชาเลือก จนจบชั้นสูงสุดในสมัยก่อน คือ ชั้นมัธยมปีที่ ๖ หรือชั้นสแตนดาร์ด ๗ ปี ในปี พ.ศ. ๒๔๗๑ ขณะมีอายุ ๑๙ ปีบริบูรณ์

    เมื่อจบชั้นมัธยมบริบูรณ์แล้ว เนื่องจากภาษาอังกฤษของหลวงพ่อดีมาก (ตอนเป็นพระภิกษุ ได้แนะนำ สนทนา วิพากษ์วิจารณ์หลักธรรมทางพุทธศาสนากับชาวต่างชาติได้อย่างคล่องแคล่ว และลึกซึ้ง) สามารถพูดและเขียนภาษาอังกฤษได้คล่องแคล่ว จึงได้ไปสมัครทำงานที่บริษัทวินเซอร์ของชาวอังกฤษ ได้ทำงานอยู่ไม่นานเพียง ๑-๒ สัปดาห์ บิดาท่านทราบในภายหลัง จึงไม่ยินยอม และให้ออกจากงาน แล้วให้ไปสมัครทำงานที่กรมสรรพากร กระทรวงการคลัง แทน (ผู้เขียนเรียนถามท่านว่าเหตุใดบิดาท่านจึงไม่ยอม ท่านตอบโดยยิ้มๆว่า บิดาท่านชาตินิยม อยากให้ช่วยประเทศชาติชาวไทยมากกว่า) หลวงพ่อจึงเข้ารับราชการตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังในสมัยนั้น คือ พระยาไชยยศสมบัติ เป็นหลวงประดิษฐ์มนูธรรมในภายหลังถัดมา

    หลวงพ่อรับราชการเริ่มต้นอัตราตำแหน่งเสมียนโท เงินเดือน ๓๐ บาท (สมัยนั้นก๋วยเตี๋ยว ๑ ชามใหญ่ ราคา ๑๐ สตางค์) เกี่ยวกับงานติดตามรายวันของกรมสรรพากร กระทรวงการคลัง ในปีพ.ศ. ๒๔๗๑ ในปีพ.ศ. ๒๔๗๗ ได้ถูกโอนไปรับงานด้านเลขานุการ สำนักงาน ร.ม.ต.กระทรวงการคลัง จนถึงพ.ศ. ๒๔๘๓ ได้เลื่อนตำแหน่งจากเสมียนโท เป็นเสมียน ๓, เสมียนจัตวา สุดท้ายเป็นข้าราชการพลเรือนชั้นตรี โอนไปอยู่กรมสรรพสามิต แผนกกองรายได้ฝิ่น อัตราเงินเดือน ๘๐ บาท ในปีพ.ศ. ๒๔๘๓ ตอนปลายปีจึงถูกโอนไปแผนกสถิติ และโต้ตอบจดหมาย กองกลาง สำนักงานปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม และตอนต้นปีพ.ศ. ๒๔๘๗ ได้เลื่อนตำแหน่งเป็นข้าราชการพลเรือนชั้นโท และเป็นหัวหน้าแผนกสถิติ กองกลาง สำนักงานปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม อัตราเงินเดือน ๑๔๐ บาท

    จนกระทั่งถึงวันที่ ๑ ธันวาคม ๒๕๐๔ ตอนอายุ ๕๒ ปี ท่านมีความเบื่อหน่ายต่อชีวิตฆราวาส และประสพกับความสงบ ความสุข เห็นแจ้งในสภาวสัจจธรรม อันเนื่องจากการปฏิบัติสมาธิ-วิปัสสนากรรมฐาน ซึ่งท่านได้ประพฤติปฏิบัติอย่างขั้นอุกฤษฏ์ ในช่วง ๕ ปีหลังในชีวิตรับราชการ แม้ทางการอนุมัติตำแหน่งรองอธิบดีกระทรวงอุตสาหกรรมให้แล้วก็ตาม ท่านขอลาออกจากราชการก่อนกำหนดการปลดเกษียณอายุถึง ๓ ปี (เกษียณอายุราชการสมัยนั้นใช้เกณฑ์อายุ ๕๕ ปี) อัตราเงินเดือนของท่านขั้นสุดท้าย ๒,๕๐๐ บาท มีอายุราชการ ๓๖ ปีเต็ม เพื่อไม่ให้มีความกังวล และให้การปฏิบัติธรรมต่อเป็นไปอย่างเด็ดขาด จริงจัง และต่อเนื่อง จึงขอรับบำเหน็จเป็นเงิน ๙๐,๐๐๐ บาท พร้อมทั้งโอนที่ดินและทรัพย์สินทั้งหมดให้แก่ครอบครัวท่านต่อไป

    หลังจากได้รับอนุมัติการลาออกจากราชการ เมื่อวันที่ ๓๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๐๔ แล้ว จึงขออุปสมบทที่วัดพระเชตุพนฯ(วัดโพธิ์)ท่าเตียน โดยมีสมเด็จพระวันรัต (ต่อมาได้รับสถาปนาเป็นสมเด็จพระสังฆราช) เจ้าอาวาสวัดเป็นพระอุปัชฌาย์ และมีหลวงปู่โต๊ะ (พระราชสังวราภิมนฑ์) เป็นพระกรรมวาจาจารย์ หลวงพ่ออยู่ในสมณเพศตลอด โดยสมาทานธุดงควัตร ๔ ข้อ คือ ทรงผ้าบังสุกุลเป็นวัตร ครองจีวรชุดเดียว (จะเปลี่ยนก็ต่อเมื่อเก่า หรือชำรุด) เป็นวัตร รับบิณฑบาตเป็นวัตร และอยู่ป่าเป็นวัตร จนกระทั่งถึงแก่มรณภาพด้วยโรคปอดอักเสบ (หลวงพ่ออายุมาก ใกล้จะ ๘๐ ปี เผอิญปีที่หลวงพ่อถึงมรณภาพ ก่อนเข้าพรรษาเพียง ๑ สัปดาห์ ฝนตกอย่างมากขณะรับบิณฑบาต จีวรเปียกโชก มีอาการหนาวสั่น เป็นสาเหตุ) อย่างกระทันหัน เมื่อวันที่ ๑๑ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๓๑

    ขอย้อนกล่าวไปถึงในระยะเวลาที่หลวงพ่อรับราชการยาวนานถึง ๓๖ ปีเต็ม ใน ๒ กระทรวงหลัก ได้แก่ กระทรวงการคลัง และกระทรวงอุตสาหกรรม ได้ประสบการณ์มากมาย เป็นที่รักไว้วางใจของผู้บังคับบัญชาและเป็นที่เคารพรักของผู้ใต้บังคับบัญชาเป็นอย่างมาก เพราะท่านให้ความเอ็นดู มีเมตตาธรรมและความยุติธรรมแก่เขาอย่างจริงใจ เนื่องจากท่านเป็นผู้ที่ชอบอ่านหนังสืออย่างมาก โดยเฉพาะหนังสือพระไตรปิฎก (เน้นหนักไปที่พระวินัย และพระสูตร) หลวงพ่อบอกว่าได้อ่านทบทวนไปมาถึง ๓ เที่ยว เนื่องจากสมัยที่หลวงพ่อบวช หนังสือพระไตรปิฎกยังมีการพิมพ์ไม่แพร่หลายนัก พระสูตรที่สำคัญๆ หลวงพ่อต้องคัดออกมาด้วยลายมือเอง โดยความเป็นระเบียบ และงดงาม นอกจากพระไตรปิฎกแล้ว หลวงพ่อสนใจอ่านหนังสือเกี่ยวกับพงศาวดารจีน อาทิ สามก๊ก เลียดก๊ก โฮ้วป่า ฯลฯ ส่วนตำราอื่นๆที่สนใจก็มี เช่น พรหมศาสตร์ ทำนายฝัน ลางสังหรณ์ต่างๆ ทำนายไฝ-ฝ้า ตำราโหงวเฮ้ง ฯลฯ

    นอกจากการอ่านหนังสือดังกล่าวแล้ว หลวงพ่อยังมีความชำนาญในการประพันธ์ทั้งร้อยแก้วและร้อยกรอง ตั้งแต่สมัยเป็นฆราวาส สมัยที่ยังรับราชการในกระทรวงอุตสาหกรรม ยังได้รับตำแหน่งให้เป็นคณะกรรมการ และเจ้าหน้าที่หนังสือนิตยสาร “อุตสาหกร” ประจำกระทรวงอุตสาหกรรมด้วย ข้อเขียนของหลวงพ่อมีทั้งเรื่องสั้น เรื่องยาว ลงพิมพ์ในหนังสือนิตยสารประจำกระทรวงและที่อื่นๆ โดยใช้นามปากกาต่างๆกัน เช่น “เมรุมาส” เกี่ยวกับเรื่องการเมือง “ศรีธรรมาโศก” เกี่ยวกับเรื่องศาสนา และ “เวทางค์” เกี่ยวกับเรื่องความรักโรแมนติก เป็นต้น บทประพันธ์ร้อยกรองของหลวงพ่อ ประกอบด้วยร่าย (สั้น และยาว) โคลงสอง โคลงสาม โคลงสี่ กลอนหก กลอนแปด เป็นต้น โดยเฉพาะโคลงสี่ ซึ่งจะแต่งให้ไพเราะได้ยากกว่าโคลงสี่สุภาพ หลวงพ่อมีความเชี่ยวชาญมาก

    หนังสือที่หลวงพ่อเขียนขณะเป็นบรรพชิตมีหลายเล่ม แต่ละเล่มได้บรรยายถึงความเป็นมา ความตั้งใจจริงจังในการปฏิบัติธรรมในสถานที่ และสถานการณ์ต่างๆกัน ตลอดจนการได้รับผลจากการปฏิบัติอันแน่วแน่อย่างอุกฤษฏ์ หลายเล่มได้ใช้เป็นปัจจัยให้มีการก่อสร้างอาคารสถานที่ในระยะเริ่มต้นก่อสร้างวัดปิปผลิวนาราม อาทิ ห้องสมุดเพื่อการศึกษาค้นคว้าขนาดใหญ่ อุโบสถชั่วคราวที่เชิงเขา และหอฉัน เป็นต้น หนังสือที่หลวงพ่อเขียนเรียงตามลำดับก่อนหลังมีดังนี้
    - ๖ เดือนบนภูกระดึง
    - ปัญจมาสในชมพูทวีป
    - โป๊ยเซียน (ข้อมูลต่างๆ เตรียมไว้ตั้งแต่เป็นฆราวาสแล้ว หากยังไม่มีโอกาสเขียน)
    - กฏและระเบียบของวัด และการปฏิบัติพระกรรมฐาน
    - สภาวะสังขารธรรม
    - สัปปุริสธรรม และสมาธิภาวนาเบื้องต้น
    - เมื่อข้าพเจ้ามาพบที่ใหม่ เป็นเล่มสุดท้ายที่หลวงพ่อเขียนก่อนถึงมรณภาพเพียง ๔ ปี

    ขอแนะนำให้ศิษย์ของหลวงพ่อ และผู้ที่สนใจในธรรมะของท่าน โปรดได้อ่านโดยทั่วกัน โดยเฉพาะเรื่อง สภาวะสังขารธรรม หลวงพ่อต้องใช้พลังสมาธิและปัญญาอย่างมากในการเขียนเรียบเรียงจนสมบูรณ์เป็นรูปเล่ม อาจจะต้องใช้สมาธิในการอ่านถึง ๒-๓ เที่ยว จึงจะได้สัมผัสประสบกับความละเอียดลึกซึ้งในธรรมะแห่งพระพุทธองค์ และรู้สึกถึงความไพเราะนุ่มนวลในเชิงวรรณศิลป์ที่หลวงพ่อได้บรรจงเขียน และประกอบด้วยภาพเปรียบเทียบให้เห็น และเข้าใจได้ง่าย

    ข้อมูลอัตชีวประวัติ และภาพถ่ายนำมาจาก...
    http://www.vimokkhadhamma.com/kassapamunee.html
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 19 ตุลาคม 2013
  8. บรรพชนทวา

    บรรพชนทวา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2012
    โพสต์:
    2,025
    ค่าพลัง:
    +167
    หนังสือสมถวิปัสสนากรรมฐานที่ดีมากเล่มหนึ่งชื่อว่า "โลกุตตระ" ซึ่งมียอดการพิมพ์รวม ๔ ครั้ง ตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๕๓๗-๒๕๔๙ จำนวนรวม ๒๐,๖๐๐ เล่ม ได้รับมอบจากพระอาจารย์รูปหนึ่งซึ่งปฏิบัติธรรมอยู่ทางภาคเหนือ และได้จดลิขสิทธิ์เอาไว้กับกรมทรัพย์สินทางปัญญาเอาไว้แล้ว ดังนั้นการเผยแผ่ธรรมทานนี้ ทางคณะทำงานฯต้องระมัดระวังจะไปกระทบกับลิขสิทธิ์แห่งปัญญานั้น เราคงทำได้เพียงการสรุปความเข้าใจ และผูก Link ให้ไปศึกษาเพิ่มเติมยังเวปไซด์ของทางวัดถ้ำขวัญเมืองโดยตรง ด้วยจำนวนการพิมพ์ก็ไม่มาก และไม่น้อย แต่ไม่พบว่ามีหมุนเวียนในตลาดหนังสือเก่าเลย จึงคิดว่าน่าจะอยู่ในความครอบครองของเหล่าศิษยานุศิษย์ก็เป็นไปได้ เนื่องจากหลายปีก่อนได้ไปรู้จักกับศิษย์กรรมฐานของวัดถ้ำขวัญเมือง จึงได้สอบถามถึง และให้ช่วยหาหนังสือ "ชีวิต และผลงาน ของพระครูภาวนาภิรมย์(หลวงปู่สรวง ปริสุทโธ)" ซึ่งได้พิมพ์เป็นที่ระลึกเนื่องในงานพระราชทานเพลิงศพของหลวงปู่ท่านในวันที่ ๑๑ เมษายน ๒๕๓๙ หน้าปกสีน้ำตาลแดง เป็นภาพกายซ้อนกาย จำนวนการพิมพ์เพียง ๑๐,๐๐๐ เล่ม ซึ่งเข้าใจว่าน่าจะมีรายละเอียดที่มากกว่าเล่มแรก(คือโลกุตตระ)ก็ได้ความว่า ไม่สามารถหาให้ได้ แต่ละคนมีในความครอบครองเพียง ๑ เล่ม และในสำนักมีการเรียนการสอนการปฏิบันติในวงจำกัดมาก จนวันนี้ก็ได้พบหนังสือแนวสมถวิปัสนาเล่มนี้เข้าด้วยความบังเอิญ เมื่ออ่านดูเนื้อหาภายในคร่าวๆแล้ว ก็พบว่า ส่วนของ"โลกุตตระ" เป็นส่วนที่เหมือนกับหนังสือ"โลกุตตระ" นั่นเอง เพียงแต่เพิ่มเนื้อหาในส่วนของ นิราศพุทธศาสน์ และธรรมบรรยายเข้าไปเพื่อขยายความให้ส่วนของโลกุตตระสมบูรณ์ยิ่งขึ้น และยังพบว่า หนังสือที่ระลึกเล่มนี้ได้มีข้อความ"อนุญาตให้อ้างอิงได้" จึงเป็นอันว่าน่าจะสามารถสรุปเนื้อหาย่อๆ ไม่ใช่การหยิบยกมาทั้งประโยค และข้อความเลยทีเดียว จนเมื่อผู้สนใจเกิดความสนใจแล้วจึงค่อยเข้าไปศึกษากรรมฐานโดยตรงจากทางวัดถ้ำขวัญเมืองต่อไป จึงน่าจะเหมาะสมในด้านการเผยแผ่...

    ภาพแผนผังการปฏิบัติวิปัสนากรรมฐานนำมาจากข้อมูลบางส่วนของเวปไซด์วัดถ้ำขวัญเมือง ผู้สนใจสามารถเข้าไปค้นหาข้อมูลเพิ่มในเวปไซด์ของวัดถ้ำขวัญเมืองที่
    http://www.wattham.org/historylungpu.php
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 24 ตุลาคม 2013
  9. อนัตตัง

    อนัตตัง สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กุมภาพันธ์ 2011
    โพสต์:
    471
    ค่าพลัง:
    +12
    :cool:ขอบคุณ ทีมงาน บรรพชนทวา ที่ให้ความรู้
     
  10. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    43,441
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,037
    เรื่องราวที่ดีแบบนี้น่าจะไปอยู่ด้านพุทธศาสนาค่ะ
     

แชร์หน้านี้

Loading...