จิตพร้อม? รับภัยพิบัติ

ในห้อง 'ภัยพิบัติและการเตรียมการ' ตั้งกระทู้โดย ภูภู, 6 เมษายน 2012.

  1. watjojoj

    watjojoj เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 มิถุนายน 2012
    โพสต์:
    562
    ค่าพลัง:
    +9,793
    ใครเรียกครูลูกพลังว่าลุง ท่านเป็นปู่ทวดไปเลี้ยว ฮ่าๆๆๆๆ :boo::boo:
     
  2. Golden Sky

    Golden Sky เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 พฤศจิกายน 2012
    โพสต์:
    575
    ค่าพลัง:
    +8,976
    ซุปเปอร์ดีกรีของชีวิตมีอยู่ ๕ อย่าง
    ๑.ซุปเปอร์ซ้อม ทําบ่อยๆจนชํานาญพร้อมสรรพ์ทางกายวาจาใจเรา
    ๒.ซุปเปอร์อบ ทําให้สุกรอบของกายใจอย่าให้มีสนิมจับเกาะกรังได้
    ๓.ซุปเปอร์เผา ขัดเกลาเสมอภาคทุกสมัย เช้า เที่ยง เย็น ไม่เว้น
    ๔.ซุปเปอร์คม ทําให้แนบเนียนตามแบบฉบับอย่าให้บิดเบือนออกไป
    ๕.ซุปเปอร์ฝึก ขยันทําอยู่ทุกระยะของกายใจจนคล่องแค่ลวว่องไว
    ภาษาสติให้ระลึกรู้ ในกาย เวทนา จิต ธรรมนี้
    ภาษาปัญญา ให้รู้รอบ ในการเกิด แก่ เจ็บ ตาย
    ภาษาญาณ ให้หยั่งรู้ ในอนิจจัง ทุกขัง อนัตตานี้
    ภาษานิพพาน ให้ดับเย็น ในโลภะ โทสะ โมหะ เท่านั้น
    ภาษาวิมุตติ ให้หลุดพ้นในตัณหา ราคะ อรตี เท่านั้น
    ที่มา หนังสือ ธรรมะสาระของชีวิต(หลวงปู่ทองใบ ปภัสฺสโร)
     
  3. Golden Sky

    Golden Sky เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 พฤศจิกายน 2012
    โพสต์:
    575
    ค่าพลัง:
    +8,976
    "ไฟ" คือ สัญญาลักษณ์ ของ"ความร้อน"ที่ทําลาย เผาผลาญสัตว์โลกผู้เกิดมาในโลกนี้ เพราะเราถือว่า"ไฟ"นี้ทําลายได้ทุกอย่างที่ขวางหน้าถ้าไฟภายนอก ก็ทําลายสิ่งปลูกสร้าง อาคาร บ้านเรือน ทําลายป่าเขาต้นไม้อย่างที่เราเคยพบเห็นมานั้นอยู่เป็นประจํา แต่ไฟที่อยู่ภายในที่อยู่ในกายในใจเรานั้นจะทําลายเจ้าของใจมาหลายกัปปหลายกัณฑ์แล้ว จึงทําให้มาเวียนว่ายตายเกิดอยู่อย่างนี้ คือไฟ ทั้ง ๓ กองนี้ ถ้าเกิดขึ้นกับใครแล้วเป็นต้องร้อนรุ่มเผาผลาญตนเองท่านเปรียบไฟนี้ อันตรายมากเพราะไม่เคยทําให้ได้ดีมีสุข เพราะมันเผาเราอย่างเดียว แต่ผู้ฉลาดจึงต้องดับลงที่ใจ คือเอา"ธรรม" คือ สัญญาลักษณ์ของ"ความเย็น"เข้าแก้ไข และนํ้าธรรมนี่แหละที่ทําให้สัตว์โลกชุ่มเย็นและเพราะเย็นที่ใจ และความเย็นนี้ผู้ปฏิบัติจะอยู่กับความร้อน ความวุ่นวาย คนวุ่นวายแต่คนได้ธรรม(คือความเย็นเขาก็จะไม่วุ่นวายคือไม่ร้อนนั้นเอง) "ธรรม"คือ"นํ้าดับไฟ" จึงนํามากล่าวเพื่อเราๆท่านๆจะได้นํา"นํ้าธรรมมาดับไฟ"ที่มันเกิดขึ้นกับเราๆท่านๆได้ค่ะ.
     
  4. มาลินี UK

    มาลินี UK เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 พฤศจิกายน 2012
    โพสต์:
    807
    ค่าพลัง:
    +12,713
    ทุกขสัจ เหมือนโรคที่เกิดขึ้นในกาย

    สมุทัย เหมือนสมุฏฐานของโรค

    นิโรธ เหมือนความหายจากโรค

    มรรค เหมือนหลักการ วิธีการในการเยียวยารักษาโรค

    ทุกข์ เหมือนกับสิ่งที่อยู่ในที่มืด

    สมุทัย เหมือนความมืด นิโรธ เหมือนกับแสงสว่าง มรรค เหมือนสวิตช์ไฟ

    ในข้อปฏิบัติส่วนใหญ่ พระพุทธเจ้าจึงทรงเน้นไปที่ความมรรคสัจ เพราะการ

    ปฏิบัติมรรคสัจนั้นจะเป็นเหมือนกับการรับประทานอาหาร การรับประทานยา หรือการ

    อาบน้ำ ตลอดถึงการปลูกพืช ข้อสำคัญให้มีจุดเริ่มต้นที่ความดี

    อาหารที่เรารับประทานเข้าไปนั้น จะมีหน้าที่ขจัดเหตุแห่งความหิว

    เมื่อเหตุแห่งความหิวถูกขจัดไป ความหิวก็ลดลงไป ความอิ่มก็เกิดขึ้น

    ซึ่งอยู่ในขบวนการของอริยสัจ ยิ่งไปกว่านั้นอริยสัจก็คือคงสร้างในการที่

    จะศึกษาปัญหา ศึกษาถึงตัวปัญหา เหตุเกิดของปัญหา.

    ทุกข์ เหมือนตัวปัญหา

    สมุทัย เหมือนเหตุเกิดของปัญหา

    นิโรธ เหมือนกับความไม่มีปัญหา

    มรรค เหมือนหลักการและวิธีการในการแก้ปัญหา
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 21 มกราคม 2013
  5. มาลินี UK

    มาลินี UK เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 พฤศจิกายน 2012
    โพสต์:
    807
    ค่าพลัง:
    +12,713
    การพิจารณาธรรมะ ไม่จำเป็นจะต้องพิจารณาให้กว้างขวางมากมาย

    สำหรับผู้ต้องการความสงบสุขและสว่างไสว ความเฉลียวฉลาด การถอดถอนสิ่งที่เป็น

    ข้าศึกภายในใจ และกายของเรา ใจของเรานี้ เป็นสิ่งที่สมบูรณ์แล้งสำหรับเป็นสถานที่

    พิจารณา แต่การจะพิจารณานั้นไปเกี่ยวกับภายนอกเพื่อเทียบเข้ามากับเรื่องภายในนั้น

    เป็นธรรมอันสมควรแก่ท่านผู้ปฏิบัติเหมือนกัน ปัญญาขั้นต้น หากไม่สามารถให้เป็นปัญญา

    ขึ้นมาทีเดียว ก็กรุณาพิจารณาเอาสัญญาเป็นเครื่องคาดหมายไว้ แล้วจึงไตรตรองไปตาม

    สภาพความจริงของเขา เราจะแยกออกไปทางข้างนอกถึงสัตว์ ถึงบุคคล ถึงต้นไม้ภูเขา

    หรือสภาพทั่วๆ ไปที่ได้เห็นด้วยตา ได้ยินด้วยหู แล้วเทียบเคียงกันกับตัวของเรา จะมี

    อะไรเป็นหลักยืนตัวไว้ สำหรับสภาพทั้งหลายเหล่านั้นกับตัวของเราจะต้องปรากฏเรื่อง

    ของไตรลักษณ์เป็นหลักประจำโลกทั่วๆไป ไม่มีชิ้นใดส่วนใดที่จะเหนือจากหลักกของ

    ไตรลักษณ์ คือ อนิจจัง ทุกข์ขัง อนัตตา นี้ไปได้เลย สภาพเหล่านี้จะต้องดำเนินหรือ

    หมุนตัวไปตามหลักธรรมชาติอย่างนั้นตลอดมา เป็นเพียงว่าเราไม่สามารถจะทราบสิ่งเหล่า

    นี้ด้วยปัญญาของเราจึงไม่เห็นความจริงของหลักไตรลักษณ์ แล้วก็เป็นเหตุให้ใจของเราฝืน

    หลักไตรลักษณ์ แล้วนำทุกข์มาเผาผลาญตนเองให้ได้รับควา้มเดือดร้อน

    ถ้าพิจารณาให้เห็นตามหลักของไตรลักษณ์จริงๆ แล้วไม่กว้างขวางอะไรนักเพียง

    มองลงไปที่กายที่ใจของเรานี้ ก็จะเห็นเรื่องของไตรลักษณ์ประกาศตัวอยู่ทั้งวันทั้งคืน

    ยืน เดิน นั่ง นอน ไม่มีเวลาหยุดยั้งตัว ในหลักธรรมชาติที่มีอยู่ในกายในใจของเรานี้

    มีอยู่เป็นประจำแสดงตัวอยู่ในเรื่องของไตรลักษณ์ ทั่วทั้งกายทั้งใจของเราอยู่ทุกๆ ระยะ

    ไม่มีเวลาว่างเว้น ผู้มีปัญญ
    ทำไมจะไม่ทราบเรื่องความจริงของสิ่งเหล่านี้ด้วยปัญญาเหล่า.

    ธรรมะของหลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน วัดป่าบ้านตาด จังหวัดอุดรธานี.

    ลูกขอกราบขออนุญาตินำธรรมะของท่านมาเป็นธรรมทานด้วยเจ้าค่ะ กราบหลวงตาเจ้าค่ะ.
     
  6. ◎

    เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 กันยายน 2012
    โพสต์:
    428
    ค่าพลัง:
    +5,154
    การจับภาพพระ ก็คือการจับรูปสัญญา รูปนิมิต มาเป็นอารมณ์ (อารัมณูปนิชฌาน)
    ไม่ต่างจากการจับภาพกสิณ
    จุดมุ่งหมายของการฝึกฌานสมาธิ เพื่ออะไร
    ก็เพื่อถึงในอารมณ์ที่เป็นหนึ่ง หรือ เอกัคคตารมณ์
    มาเป็นฐานในการพิจารณา ให้เห็นแจ้งเป็นไตรลักษณ์

    แต่ที่บอกว่าทรงฌานตลอด24 ทั้งเป็นฌานระดับสูงในอัปปนา
    จะเป็นไปได้หรือ พร้อมกับประกอบกิจการงานในอิริยาบถเดิน

    หากยืน นั่ง นอน ก็ทำได้อยู่ หากจิตเข้าสู่ฌานในระดับสูงระหว่างที่เดิน
    กายสังขารจะหยุดการเคลื่อนไหว ต้องมาอยู่ในอิริยาบถยืน นั่ง
    จะเดินด้วยและเข้าอัปปนาฌานด้วย คงเป็นไม่ได้หรอก
    แต่หากอยู่ในอุปจาระ นั่นพอฟังขึ้น แน่นอนย่อมได้เคยเดินจงกรม คงจะเห็นในสภาวะนั้น

    ทรงฌานระดับสูง ก็ต้องระวังจะตกสูงด้วยล่ะ ไปอยู่ในอสัญญีสภาวะ
    หรืออรูปสภาวะ ระหว่างที่จะตายจับอยู่ในอารมณ์นั้น
    ไปเกิดเป็นอสัญญีพรหม หรืออรูปพรหม อีกนานเลย ก็จะไปหลงว่าเป็นอัตตา คือ เรา

    ก็อย่างที่บอกจุดมุ่งหมายของฌาน เพื่อถึงอารมณ์ที่เป็นหนึ่ง
    หรือจิตตั้งมั่น ของผู้ได้ฌาน มีจิตแนบแน่น มาเป็นกำลังในการพิจารณาสังขารต่างๆ

    พออยู่กับโลกประกอบกิจการงาน จับภาพพระปั๊บ ได้อารมณ์เป็นหนึ่ง
    เป็นฐานเป็นกำลัง มีสมาธิพละ สิ่งใดมากระทบทางอายตนะ มีสติพิจารณารู้ ละ
    คายอุปธิ ไม่คั่งค้างไว้ในใจ ไม่เกาะกุมเชื้อ เห็นการเกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไป
    สติสมาธิของคนๆนั้น ย่อมปราดเปรียวว่องไว (ลักขณูปนิชฌาน)

    ทำได้ก็ดี ดีกว่าทำไม่ได้ หรือไม่ได้ทำ แต่อย่าหลงในฌานเป็นใช้ได้ แต่ระวังหลงอีกอย่างนะ
    หลงว่ากำลังเข้าฌาน "ทูอินวัน" ทั้งที่สภาวะอยู่แค่อุปจาระ
    เพราะยังเดินประกอบกิจการงานได้ ล่ะเสร็จกัน

    ส่วนของผมหลับตาทีไร จะเห็นแต่วงธรรมจักรหมุนๆ อยู่กลางหน้าผาก
    คงไม่ต่างจากการจับภาพพระ พร้อมกำหนดลมหายใจ เป็น "โฮลอินวัน" พลั๊วะลงหลุม ◎^^

    อืม...จะว่าเป็นธรรมสัญญามาให้อ่านก็ได้นะ
    แต่เป็นปัญญาธรรม ของครูบาอาจารย์ เกี่ยวกับฌาน-สมาธิ
    ก็อยู่ที่เรา ว่า จะเอาไปเป็นสัญญา หรือนำไปเป็นปัญญา เท่านั้นเอง
    ลองคิกดู
    โมกขุบายวิธี

    สู้ต่อไป ให้ถึงที่สุด ขอบคุณ "ลูกพี่ลูกพลัง"
    ที่มาตอบกระทู้ ให้ได้เห็น ในการดำเนิน
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 21 มกราคม 2013
  7. ลูกพลัง

    ลูกพลัง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 เมษายน 2012
    โพสต์:
    413
    ค่าพลัง:
    +8,932
    เด้ว.. ถ้าเราโล่งๆแล้วจะกลับมาคุยกันต่อนะครับ.. :)
    (พอดีว่ากำลังจะเดินทางหลายร้อยกิโล+มีภาระกิจเล็กน้อย..ในวันนี้น่ะ)

    .
     
  8. dutchanee

    dutchanee เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มิถุนายน 2011
    โพสต์:
    1,127
    ค่าพลัง:
    +12,745

    จะหลงในฌาน หรือ ติดในฌาน ก็เป็นได้ทุกเมื่อหากเอาสติตามเข้าไปไม่ทัน
    โมทนาสาธุกับท่านสุญญที่หลับตาทีไรเห็นวงกลมทุกที จิตระดับท่านแล้ว
    คงต้องทิ้งวงกลมได้แล้วมั้งจะไปเอาอะไรกับวงกลมอีกล่ะ ขอขมาหากล่วงก้าว
    จิตเกาะพระเมื่อถึงระดับที่ต้องทิ้งภาพพระก็ต้องทิ้ง เมื่อจิตทรงอยู่ในฌานและสติตามได้อย่างดี คงเหลือไว้แต่สติที่ตามดู
    ความวุ่นวายหรือความว่างในจิต เมื่อเห็นจิตอยู่บ่อยๆ ต่อไปก็ต้องให้เห็น
    ทั้งผู้ดูและผู้ถูกดูไปด้วย คือให้เห็นทั้งสติที่ตามจิตไปด้วย จิตเกาะพระทำได้ทั้งวัน ทำได้ตลอดแม้ยามนั่ง เดิน นอน ยืน หรือทำกิจการอันใด
    เพียงขอให้ฝึกสติเจริญตามเข้าไปให้เน้นๆเนื้อๆ เป็นใช้ได้
    การจะมาถามว่า ทำแล้วดีอย่างไรมีข้อดีอย่างไร อันนี้ก็สุดแต่จิตใคร
    จะถามไถ่ แต่ปกติแล้ว สงสัยก่อนทำ ต่างกับทำแล้วสงสัย เป็นเหลือหลาย
    หากเราเขียนใดๆไปแล้วทำให้เกิดการไม่เข้าใจหรือไม่ถูกต้องตาม
    ความเห็นของท่านก็ขอขมามา ณ ตรงนี้ และ
    โปรดยังความเห็นไปว่า พวกเราก็เดินมาทาง
    เดียวกันนั่นแหละ จะเป็นรถ หรือ รถไฟ หรือ เครื่องบิน
    ก็ยังคงไปทางเดียวกัน
    โมทนาสาธุ
     
  9. มณีตรี

    มณีตรี เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 มกราคม 2013
    โพสต์:
    74
    ค่าพลัง:
    +1,201
    [ame="http://www.youtube.com/watch?v=2CwJUUScEqs&feature=player_detailpage#t=3s"]???????????? - BIG ASS?Official Audio? - YouTube[/ame]"ลมเปลี่ยนทิศ"
    สวัสดียามเช้าทุกท่านค่ะ .....ขอให้เราก้าวเดินกันต่อไปด้วยความเข้าใจ...ทุกอย่างไม่มีอะไรแน่นอน สิ่งที่ไม่แน่นอน ....จะสอนเราเองคะ ...(สู้ต่อไป......อิอิๆๆๆ)
     
  10. UncleGee

    UncleGee เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มกราคม 2012
    โพสต์:
    4,086
    ค่าพลัง:
    +10,246
    ทีฆนขสูตร

    พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๓ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๕
    มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์

    [๒๖๙] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้:-
    สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ ถ้ำสุกรขาตาเขาคิชฌกูฏ เขตพระนครราชคฤห์.
    ครั้งนั้น ปริพาชกชื่อทีฆนขะ เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ได้ปราศรัยกับพระผู้มี
    พระภาค ครั้นผ่านการปราศรัยพอให้ระลึกถึงกันไปแล้ว ได้ยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่งแล้ว.
    ได้กราบทูลว่า ท่านพระโคดม ความจริงข้าพเจ้ามีปกติกล่าวอย่างนี้ มีปกติเห็นอย่างนี้ว่า สิ่ง
    ทั้งปวงไม่ควรแก่เรา.

    พระผู้มีพระภาคตรัสว่า อัคคิเวสสนะ แม้ความเห็นของท่านว่า สิ่งทั้งปวงไม่ควรแก่
    เรานั้น ก็ไม่ควรแก่ท่าน.

    ท่านพระโคดม ถ้าความเห็นนี้ควรแก่ข้าพเจ้า แม้ความเห็นนั้นก็พึงเป็นเช่นนั้น แม้ความ
    เห็นนั้นก็พึงเป็นเช่นนั้น.

    อัคคิเวสสนะ ชนในโลกผู้ที่กล่าวอย่างนี้ว่า แม้ความเห็นนั้นก็พึงเป็นเช่นนั้นทั้งนั้น
    แม้ความเห็นนั้นก็พึงเป็นเช่นนั้นทั้งนั้น ดังนี้ ชนเหล่านั้นละความเห็นนั้นไม่ได้ และยังยึดถือ
    ความเห็นอื่นนั้น มีมาก คือมากกว่าคนที่ละได้.

    อัคคิเวสสนะ ชนในโลกผู้ที่กล่าวอย่างนี้ว่า
    แม้ความเห็นนั้นก็พึงเป็นเช่นนั้นทั้งนั้น แม้ความเห็นนั้นก็พึงเป็นเช่นนั้นทั้งนั้น ดังนี้ ชนเหล่านั้น
    ละความเห็นนั้นได้ และไม่ยึดถือความเห็นอื่นนั้น มีน้อยคือน้อยกว่าคนที่ยังละไม่ได้.
     
  11. UncleGee

    UncleGee เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มกราคม 2012
    โพสต์:
    4,086
    ค่าพลัง:
    +10,246
    ทีฆนขสูตร (ต่อ)

    ทิฏฐิเป็นเหตุให้เกิดวิวาท

    [๒๗๐] อัคคิเวสสนะ สมณพราหมณ์พวกหนึ่งมักกล่าวอย่างนี้ มักเห็นอย่างนี้ว่า สิ่ง
    ทั้งปวงควรแก่เรา ดังนี้ ก็มี. สมณพราหมณ์พวกหนึ่งมักกล่าวอย่างนี้ มักเห็นอย่างนี้ สิ่งทั้งปวง
    ไม่ควรแก่เรา ดังนี้ ก็มี สมณพราหมณ์พวกหนึ่งมักกล่าวอย่างนี้ มักเห็นอย่างนี้ว่า บางสิ่ง
    ควรแก่เรา บางสิ่งไม่ควรแก่เรา ดังนี้ ก็มี

    อัคคิเวสสนะ บรรดาความเห็นนั้น ความเห็นของ
    สมณพราหมณ์พวกที่มักกล่าวอย่างนี้ มักเห็นอย่างนี้ว่า สิ่งทั้งปวงควรแก่เรานั้น ใกล้ข้างกิเลส
    อันเป็นไปกับด้วยความกำหนัด ใกล้ข้างกิเลสเครื่องประกอบสัตว์ไว้ ใกล้ข้างกิเลสเป็นเหตุ
    เพลิดเพลิน ใกล้ข้างกิเลสเป็นเหตุกล้ำกลืน ใกล้ข้างกิเลสเป็นเหตุยึดมั่น.

    อัคคิเวสสนะ
    บรรดาความเห็นนั้น ความเห็นของสมณพราหมณ์พวกที่มักกล่าวอย่างนี้ มักเห็นอย่างนี้ว่า สิ่ง
    ทั้งปวงไม่ควรแก่เรานั้น ใกล้ข้างธรรมไม่เป็นไปกับด้วยความกำหนัด ใกล้ข้างธรรมไม่เป็นเครื่อง
    ประกอบสัตว์ไว้ ใกล้ข้างธรรมไม่เป็นเหตุเพลิดเพลิน ใกล้ข้างธรรมไม่เป็นเหตุกล้ำกลืน ใกล้
    ข้างธรรมไม่เป็นเหตุยึดมั่น.

    เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว ทีฆนขปริพาชกได้กราบทูล
    พระผู้มีพระภาคว่า ท่านพระโคดมทรงยกย่องความเห็นของข้าพเจ้า ท่านพระโคดมทรงยกย่อง
    ความเห็นของข้าพเจ้า.

    อัคคิเวสสนะ ในความเห็นนั้นๆ ความเห็นของสมณพราหมณ์พวกที่มักกล่าวอย่างนี้
    มักเห็นอย่างนี้ว่า บางสิ่งควรแก่เรา บางสิ่งไม่ควรแก่เรา นั้นส่วนที่เห็นว่าควร ใกล้ข้างกิเลส
    อันเป็นไปกับด้วยความกำหนัด ใกล้ข้างกิเลสเครื่องประกอบสัตว์ไว้ ใกล้ข้างกิเลสเป็นเหตุ
    เพลิดเพลิน ใกล้ข้างกิเลสเป็นเหตุกล้ำกลืน ใกล้ข้างกิเลสเป็นเหตุยึดมั่น ส่วนที่เห็นว่าไม่ควร
    ใกล้ข้างธรรมไม่เป็นไปด้วยความกำหนัด ใกล้ข้างธรรมไม่เป็นเครื่องประกอบสัตว์ไว้ ใกล้ข้าง
    ธรรมไม่เป็นเหตุเพลิดเพลิน ใกล้ข้างธรรมไม่เป็นเหตุกล้ำกลืน ใกล้ข้างธรรมไม่เป็นเหตุยึดมั่น.
     
  12. UncleGee

    UncleGee เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มกราคม 2012
    โพสต์:
    4,086
    ค่าพลัง:
    +10,246
    ทีฆนขสูตร (ต่อ)

    [๒๗๑] อัคคิเวสสนะ บรรดาความเห็นนั้น ในความเห็นของสมณพราหมณ์ผู้ที่มัก
    กล่าวอย่างนี้ มักเห็นอย่างนี้ว่า สิ่งทั้งปวงควรแก่เรานั้น วิญญูชนย่อมเห็นตระหนักว่า เราจะ
    ยึดมั่น ถือมั่นซึ่งทิฏฐิของเราว่า สิ่งทั้งปวงควรแก่เรา ดังนี้ แล้วยืนยันโดยแข็งแรงว่า สิ่งนี้
    เท่านั้นจริง สิ่งอื่นเปล่า เราก็พึงถือผิดจากสมณพราหมณ์สองพวกนี้ คือ สมณพราหมณ์ผู้มัก
    กล่าวอย่างนี้ มักเห็นอย่างนี้ว่า สิ่งทั้งปวงไม่ควรแก่เรา ๑ สมณพราหมณ์ผู้มักกล่าวอย่างนี้
    มักเห็นอย่างนี้ว่า บางสิ่งควรแก่เรา บางสิ่งไม่ควรแก่เรา ๑. เมื่อความถือผิดกันมีอยู่ดังนี้ ความ
    ทุ่มเถียงกันก็มี เมื่อมีความทุ่มเถียงกัน ความแก่งแย่งกันก็มี. เมื่อมีความแก่งแย่งกัน ความ
    เบียดเบียนกันก็มี. วิญญูชนนั้นพิจารณาเห็นความถือผิดกัน ความทุ่มเถียงกัน ความแก่งแย่งกัน
    และความเบียดเบียนกัน ในตนดังนี้อยู่ จึงละทิฏฐินั้นเสียด้วย ไม่ยึดถือทิฏฐิอื่นด้วย การละ
    การสละคืนทิฏฐิเหล่านี้ ย่อมมีได้ด้วยประการฉะนี้.

    อัคคิเวสสนะ บรรดาความเห็นนั้น ใน
    ทิฏฐิของสมณพราหมณ์ผู้ที่มักกล่าวอย่างนี้ มักเห็นอย่างนี้ว่า สิ่งทั้งปวงไม่ควรแก่เรา ดังนี้นั้น
    วิญญูชนย่อมเห็นตระหนักว่า ถ้าเราจะยึดมั่น ถือมั่นซึ่งทิฏฐิของเราว่า สิ่งทั้งปวงไม่ควรแก่เรา
    ดังนี้ แล้วยืนยันโดยแข็งแรงว่า สิ่งนี้เท่านั้นจริง สิ่งอื่นเปล่า เราก็พึงถือผิดจากสมณพราหมณ์
    สองพวกนี้ คือ สมณพราหมณ์ผู้มักกล่าวอย่างนี้ มักเห็นอย่างนี้ว่า สิ่งทั้งปวงควรแก่เรา ๑
    สมณพราหมณ์ผู้มักกล่าวอย่างนี้ มักเห็นอย่างนี้ว่า บางสิ่งควรแก่เรา บางสิ่งไม่ควรแก่เรา ๑.
    เมื่อความถือผิดกันมีอยู่ดังนี้ ความทุ่มเถียงกันก็มี เมื่อมีความทุ่มเถียงกัน ความแก่งแย่งกันก็มี
    เมื่อมีความแก่งแย่งกัน ความเบียดเบียนกันก็มี. วิญญูชนนั้นพิจารณาเห็นความถือผิดกัน ความ
    ทุ่มเถียงกัน ความแก่งแย่งกัน และความเบียดเบียนกัน ในตนดังนี้อยู่ จึงละทิฏฐินั้นเสียด้วย
    ไม่ยึดถือทิฏฐิอื่นด้วย. การละ การสละคืนทิฏฐิเหล่านั้น ย่อมมีได้ด้วยประการฉะนี้.

    อัคคิเวสสนะ
    บรรดาความเห็นนั้น ในทิฏฐิของสมณพราหมณ์ผู้มักกล่าวอย่างนี้ มักเห็นอย่างนี้ว่า บางสิ่งควร
    แก่เรา บางสิ่งไม่ควรแก่เรา ดังนี้นั้น วิญญูชนย่อมเห็นตระหนักว่า ถ้าเราจะยึดมั่นถือมั่น ซึ่ง
    ทิฏฐิของเราว่า บางสิ่งควรแก่เรา บางสิ่งไม่ควรแก่เราดังนี้ แล้วยืนยันโดยแข็งแรงว่า สิ่งนี้
    เท่านั้นจริง สิ่งอื่นเปล่า เราก็พึงถือผิดจากสมณพราหมณ์สองพวกนี้ คือ สมณพราหมณ์ผู้มัก
    กล่าวอย่างนี้ มักเห็นอย่างนี้ว่า สิ่งทั้งปวงควรแก่เรา ๑ สมณพราหมณ์ผู้มักกล่าวอย่างนี้ มักเห็น
    อย่างนี้ว่า สิ่งทั้งปวงไม่ควรแก่เรา ๑. เมื่อความถือผิดกันมีอยู่ดังนี้ ความทุ่มเถียงกันก็มี เมื่อมี
    ความทุ่มเถียงกัน ความแก่งแย่งกันก็มี เมื่อมีความแก่งแย่งกัน ความเบียดเบียนกันก็มี. วิญญูชน
    นั้นพิจารณาเห็นความถือผิดกัน ความทุ่มเถียงกัน ความแก่งแย่งกัน และความเบียดเบียนกัน
    ในตนดังนี้อยู่ จึงละทิฏฐินั้นเสียด้วย ไม่ยึดถือทิฏฐิอื่นด้วย การละ การสละคืนทิฏฐิเหล่านั้น
    ย่อมมีได้ด้วยประการฉะนี้.
     
  13. UncleGee

    UncleGee เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มกราคม 2012
    โพสต์:
    4,086
    ค่าพลัง:
    +10,246
    ทีฆนขสูตร (ต่อ)

    [๒๗๒] อัคคิเวสสนะ ก็กายนี้มีรูป เป็นที่ประชุมมหาภูตทั้งสี่ มีมารดาบิดาเป็น
    แดนเกิด เจริญด้วยข้าวสุกและขนมสด ต้องอบและขัดสีกันเป็นนิจ มีความแตกกระจัดกระจาย
    เป็นธรรมดา ท่านควรพิจารณาโดยความเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นโรค เป็นดังหัวฝี เป็น
    ดังลูกศร เป็นความลำบาก เป็นความเจ็บไข้ เป็นดังผู้อื่น เป็นของทรุดโทรม เป็นของว่างเปล่า
    เป็นของมิใช่ตน.

    เมื่อท่านพิจารณาเห็นกายนี้ โดยความเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นโรค
    เป็นดังหัวฝี เป็นดังลูกศร เป็นความลำบาก เป็นความเจ็บไข้ เป็นดังผู้อื่น เป็นของทรุดโทรม
    เป็นของว่างเปล่า เป็นของมิใช่ตนอยู่ ท่านย่อมละความพอใจในกาย ความเยื่อใยในกาย ความ
    อยู่ในอำนาจของกายในกายได้.
     
  14. tjs

    tjs ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 เมษายน 2012
    โพสต์:
    3,654
    ค่าพลัง:
    +20,364
    =====

    ผู้ที่รู้ใจผู้อื่น แต่ยังไม่รู้ใจตน จัดว่ายังไม่ใช้ผู้รู้
    แต่เขาผู้นั้นยังเป็นผู้โง่อยู่ โง่อยู่ด้วยอะไร
    เขาผู้นั้นยังโง่อยู่ด้วยอวิชา เพราะอะไร
    เพราะเขายังไม่รู้เลยว่า อันตัวเขาเองมัวแต่สนใจรู้ผู้อื่นอยู่
    แต่ไม่รู้เลยว่า ตนควรสนใจรู้ในจิตตนอย่างไร
    ผู้รู้ทั้งหลาย จึงควรเตือนตนให้รู้ในจิตตนครับ สาธุ
     
  15. UncleGee

    UncleGee เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มกราคม 2012
    โพสต์:
    4,086
    ค่าพลัง:
    +10,246
    ทีฆนขสูตร (ต่อ)

    เวทนา ๓

    [๒๗๓] อัคคิเวสสนะ เวทนาสามอย่างนี้ คือ สุขเวทนา ๑ ทุกขเวทนา ๑ อทุกขม
    สุขเวทนา ๑.

    อัคคิเวสสนะ สมัยใดได้เสวยสุขเวทนา ในสมัยนั้นไม่ได้เสวยทุกขเวทนา ไม่
    ได้เสวยอทุกขมสุขเวทนา ได้เสวยแต่สุขเวทนาเท่านั้น.

    ในสมัยใดได้เสวยทุกขเวทนา ใน
    สมัยนั้นไม่ได้เสวยสุขเวทนา ไม่ได้เสวยอทุกขมสุขเวทนา ได้เสวยแต่ทุกขเวทนาเท่านั้น.

    ในสมัยใดได้เสวยอทุกขมสุขเวทนา ในสมัยนั้นไม่ได้เสวยสุขเวทนา ไม่ได้เสวยทุกขเวทนา ได้
    เสวยแต่อทุกขมสุขเวทนาเท่านั้น.

    อัคคิเวสสนะ สุขเวทนาไม่เที่ยง อันปัจจัยปรุงแต่งขึ้น
    อาศัยปัจจัยเกิดขึ้น มีความสิ้นไป เสื่อมไป คลายไป ดับไปเป็นธรรมดา.

    แม้ทุกขเวทนาก็
    ไม่เที่ยง อันปัจจัยปรุงแต่งขึ้น อาศัยปัจจัยเกิดขึ้น มีความสิ้นไป เสื่อมไป คลายไป ดับไป
    เป็นธรรมดา.

    แม้อทุกขมสุขเวทนาก็ไม่เที่ยง อันปัจจัยปรุงแต่งขึ้น อาศัยปัจจัยเกิดขึ้น มีความ
    สิ้นไป เสื่อมไป คลายไป ดับไปเป็นธรรมดา.

    อัคคิเวสสนะ อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว เมื่อ
    เห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมหน่ายทั้งในสุขเวทนา ทั้งในทุกขเวทนา ทั้งในอทุกขมสุขเวทนา เมื่อหน่าย
    ย่อมคลายกำหนัด เพราะคลายกำหนัด ย่อมหลุดพ้น เมื่อหลุดพ้นแล้ว ก็มีญาณหยั่งรู้ว่าหลุดพ้น
    แล้ว รู้ชัดว่าชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำสำเร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็น
    อย่างนี้มิได้มี.

    อัคคิเวสสนะ ภิกษุผู้มีจิตหลุดพ้นแล้วอย่างนี้แล ย่อมไม่วิวาทแก่งแย่งกับใคร ๆ
    โวหารใดที่ชาวโลกพูดกัน ก็พูดไปตามโวหารนั้น แต่ไม่ยึดมั่นด้วยทิฏฐิ.
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 21 มกราคม 2013
  16. UncleGee

    UncleGee เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มกราคม 2012
    โพสต์:
    4,086
    ค่าพลัง:
    +10,246
    ทีฆนขสูตร (ต่อ)

    [๒๗๔] ก็โดยสมัยนั้น ท่านพระสารีบุตรนั่งถวายอยู่งานพัด ณ เบื้องพระปฤษฎางค์
    พระผู้มีพระภาค.

    ได้มีความดำริว่า ได้ยินว่า พระผู้มีพระภาคตรัสการละธรรมเหล่านั้น ด้วย
    ปัญญาอันยิ่งแก่เราทั้งหลาย ได้ยินว่า พระสุคตตรัสการสละคืนธรรมเหล่านั้น ด้วยปัญญาอันยิ่ง
    แก่เราทั้งหลาย เมื่อท่านพระสารีบุตรเห็นตระหนักดังนี้ จิตก็หลุดพ้นแล้ว จากอาสวะทั้งหลาย
    ไม่ถือมั่นด้วยอุปาทาน

    ธรรมจักษุปราศจากธุลี ปราศจากมลทิน ได้เกิดขึ้นแล้ว แก่ทีฆนข-
    *ปริพาชกว่า สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งหมดมีความดับไปเป็นธรรมดา.
     
  17. UncleGee

    UncleGee เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มกราคม 2012
    โพสต์:
    4,086
    ค่าพลัง:
    +10,246
    ทีฆนขสูตร (ต่อ)

    ทีฆนขปริพาชกแสดงตนเป็นอุบาสก

    [๒๗๕] ลำดับนั้น ทีฆนขปริพาชกมีธรรมอันเห็นแล้ว มีธรรมอันถึงแล้ว มีธรรมอัน
    ทราบแล้ว มีธรรมอันหยั่งลงแล้ว ข้ามความสงสัยได้แล้ว ปราศจากความเคลือบแคลง ถึงความ
    เป็นผู้แกล้วกล้า ไม่ต้องเชื่อต่อผู้อื่นในคำสอนของพระศาสดา ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า
    ข้าแต่ท่านพระโคดม ภาษิตของพระองค์แจ่มแจ้งนัก ข้าแต่ท่านพระโคดม ภาษิตของพระองค์
    แจ่มแจ้งนัก เปรียบเหมือนบุคคลหงายของที่คว่ำ เปิดของที่ปิด บอกทางให้แก่คนหลงทาง
    หรือตามประทีปในที่มืด ด้วยคิดว่า ผู้มีจักษุเห็นรูป ดังนี้ ฉันใด ท่านพระโคดมทรงประกาศธรรม
    โดยอเนกปริยาย ฉันนั้นเหมือนกัน ข้าพระองค์ขอถึงพระผู้มีพระภาค พระธรรม และพระ
    ภิกษุสงฆ์ว่าเป็นสรณะ ขอท่านพระโคดมจงทรงจำข้าพระองค์ว่าเป็นอุบาสก ผู้ถึงสรณะตลอดชีวิต
    ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป ดังนี้แล.

    จบ ทีฆนขสูตร ที่ ๔.
     
  18. tjs

    tjs ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 เมษายน 2012
    โพสต์:
    3,654
    ค่าพลัง:
    +20,364
    ========
    =======

    กระผมเห็นว่า ท่านผู้อื่นจะเรียนรู้ศึกษามาอย่างไร มีจิตใจเป็นอย่างไร ก็ไม่สำคัญเท่ากับ ควรรู้ว่า ตนมีปัญญาก้าวหน้าอย่างไร ตนได้ปฏิบัติ เพื่อรู้ทันจิตตนมากน้อยอย่างไร อย่าไปดูเลยว่าจิตผู้อื่นสะอาดหรือสกปรกอย่างไร ดูจิตตนเถิดครับ ดูให้มากๆนะครับ จะได้ตัดอวิชชาให้หมดไป สาธุครับ
     
  19. ◎

    เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 กันยายน 2012
    โพสต์:
    428
    ค่าพลัง:
    +5,154
    อารัมมนูปนิชฌาน คือการเพ่งอารมณ์จับภาพนิมิต เช่นพวกกสิณต่างๆ
    คุณ tjs กลับบอกกสิณ ต่างจาก อารัมนูปนิชฌาน
    อย่าพยายามบัญญัติศัพท์ใหม่ สภาวะใหม่ ให้นอกเหนือจากพระไตรปิฏก หรือ วิสุทธิมรรคเลยน่า

    เพราะร่ายไปถึง "มหาปฏิภาคนิมิต" "มหาฌาน" ต้องนี้ไม่เคยได้ยิน อรูปก็คืออรูป
    อย่าบอกนะว่า เคยเข้า "สัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติ" คือ ฌานขั้นสูงสุด
    ซ้ำยังมีอิทธิฤทธิ์ โอ้..เจอของจริงซะแล้ว

    นี่คุณ tjs รูปหล่อหน้าเฟช ญ.ล้อมสังขาร

    ถามตรงๆเหอะ สังโยชน์3 ขาดสะบั้นไปหรือยัง ซ้ำยังก่าวก่ายไปถึงระดับมหาสติ มหาปัญญา
    หรือคุณ tjs จะเป็นอนาคา

    ก็ไม่จำเป็นห้อยท้าย ด้วยคำว่า สาธุ หรอกน่า ^^

    ผมสนใจ สุญญตสมาธิ อนิมิตตสมาธิ อัปปณิหิตสมาธิ พอจะแนะนำหน่อยได้ไหมครับ สาธุครับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 21 มกราคม 2013
  20. ◎

    เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 กันยายน 2012
    โพสต์:
    428
    ค่าพลัง:
    +5,154
    ถ้าหากผมส่งใจไปดูอาการจิตคุณ tjs

    จะบอกว่า จิตยังทื่อๆอยู่ จิตกระด้างที่แฝงไว้ในความนุ่มนอก
    หากเทียบกับศิษย์ร่วมรุ่น ในกระทู้นี้นะ

    ดังนั้น นอกจากดูอาการจิตตนแล้ว ผมยังชอบที่จะดูอาการจิตผู้อื่น
    เพราะว่า ยังไม่ถึงเวลาที่จะตัดอวิชชา ^^
     

แชร์หน้านี้

Loading...