เปิดชีวิต ชาวโรฮิงญา... อยู่รัฐอาระกัน ก็เหมือนรอคอยความตาย

ในห้อง 'จักรวาลคู่ขนาน' ตั้งกระทู้โดย sweetindy, 18 มกราคม 2013.

  1. sweetindy

    sweetindy เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 มกราคม 2013
    โพสต์:
    48
    ค่าพลัง:
    +381
    [​IMG]
    ขอขอบคุณภาพประกอบจาก ครอบครัวข่าว3

    เจ้าหน้าที่พบตัวชาวโรฮิงญาที่อพยพเข้ามาทางจังหวัดสตูลเพิ่มอีก 4 คน ที่ถูกช่วยเหลือไว้ในหมู่บ้านมุสลิม หลังจากที่พลัดหลงอยู่ในป่าบริเวณเทือกเขาแก้ว เขตรอยต่อจังหวัดสงขลา-สตูล ชี้ ยังมีชาวโรฮิงญาอีกนับ 200 ชีวิตที่ยังคงพลัดหลงอยู่ในป่า

    สืบเนื่องจากความคืบหน้าคดีมุสลิมโรฮิงญา 3 กลุ่ม ที่ได้รับการช่วยเหลือระหว่างถูกนำมาพักพิงไว้ในพื้นที่ ต.ปาดังเบซาร์ และ ต.สำนักขาม อ.สะเดา จ.สงขลา เพื่อรอการผลักดันกลับสู่ประเทศพม่า หลังจากการลักลอบนำพาเข้ามาและให้ที่พักพิงโดย นายประสิทธิ์ หรือ เบต เหล็มเหล๊ะ อดีตรองนายกเทศมนตรี เมืองปาดังเบซาร์ และนายจามานาดิน สัญชาติพม่า ที่ยังคงหลบหนีการจับกุมของเจ้าหน้าที่อยู่ ล่าสุดวานนี้ (16 มกราคม) เจ้าหน้าที่ก็ได้รับแจ้งจากเจ้าของปอเนาะเราฎอตุ้ลอูลูม ซึ่งอยู่บ้านม่วงค่าย ตำบลฉลุง ว่าพบชาวโรฮิงญาอีก 4 คนในสภาพอิดโรย จากการพลัดหลงอยู่ในป่าบริเวณเทือกเขาแก้ว เขตรอยต่อจังหวัดสงขลา-สตูล โดยเบื้องต้นเจ้าของปอเนาะเราฎอตุ้ลอูลูม ได้ให้การช่วยเหลือโดยนำอาหาร เสื้อผ้า และที่พักชั่วคราวให้แก่คนเหล่านั้นแล้ว

    หลังจากที่เจ้าหน้าที่เดินทางไปรับชาวโรฮิงญาเหล่านั้นมา ก็ได้สอบถาม นายมูฮัมหมัด อาลอ อายุ 26 ปี ซึ่งสามารถพูดภาษาอังกฤษได้ และได้ความว่า เขากับเพื่อน ๆ ชาย หญิง และเด็ก อีกนับ 200 ชีวิต ได้ลงเรือเดินทางมาจากพม่า และได้มาขึ้นฝั่งที่จังหวัดสตูล เพราะต้องการจะเดินทางได้หาญาติที่มาเลเซีย จากนั้นได้แยกย้ายกันเดินตามป่าเขาเป็นเวลา 7 วัน โดยอาศัยเพียงผลไม้และน้ำประทังชีวิต ขณะที่กำลังหลงทางก็ได้ยินเสียง เสียงอาซานเชิญชวนละหมาด จึงได้เดินตามเสียงมาจนพบกับหมู่บ้านชาวมุสลิม ด้านคนอื่น ๆ ตอนนี้ก็กระจายกันพลัดหลงอยู่ในป่า

    ส่วนที่อำเภอสะเดา จังหวัดสงขลา วันนี้ครูและนักเรียน รวมทั้งผู้นำท้องถิ่น ก็ยังคงนำข้าวกล่อง น้ำดื่ม และเสื้อผ้า มามอบให้แก่ชาวโรฮิงญาที่ถูกควบคุมตัวที่ด่านตรวจคนเข้าเมืองอำเภอสะเดา และในช่วงบ่ายวันนี้ มีรายงานว่า ผู้ที่ถูกออกหมายจับ 1 ใน 3 คน จะเข้ามอบตัวที่สถานีตำรวจภูธรปาดังเบซาร์

    ข้อมูลจากสำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย จังหวัดระนอง ระบุว่าจากสถิติชาวโรฮิงญาลักลอบเข้าประเทศไทย ที่จับกุมได้ตั้งแต่ปี 2549 - 2554 พบว่ามีจำนวนหลักพันคนขึ้นไปในแต่ละปี มีเพียงปี 2552 ที่มีเพียง 93 คน ซึ่งยังไม่นับรวมชาวโรฮิงญาที่เล็ดลอดการจับกุมไปได้ และข้อมูลจากจังหวัดอื่น

    โดยแหล่งข่าวชาวโรฮิงญา เปิดเผยกับทีมข่าวว่า เป็นที่สังเกตว่าในช่วงนี้สถานการณ์กลุ่มโรฮิงญาอพยพออกจากพม่ามากขึ้น เพราะในอีก 2 ปี จะมีการเลือกตั้งใหม่ทำให้พม่ามีประชาธิปไตยเกิดขึ้น ซึ่งขณะนี้ยังออกมาไม่ถึงครึ่ง ซึ่งปัญหาเกิดจากพม่าไม่ยอมรับชาวโรฮิงญาเป็นพลเมือง จึงถูกกดดันจากทหารพม่าให้อยู่ในประเทศอย่างยากลำบาก พวกเขาจึงอยากให้สหประชาชาติ เข้ามาดูแลความปลอดภัยให้อยู่ร่วมกันในพม่าได้โดยไม่ต้องหนีออกนอกประเทศ

    สำหรับ ชาวโรฮิงญา นั้น พวกเขาเป็นกลุ่มชาติพันธุ์ที่นับถือศาสนาอิสลามในประเทศพม่า ที่ส่วนมากสืบเชื้อสายมาจากชาวอาหรับ เปอร์เซีย และปาทาน มีถิ่นอาศัยอยู่ทางตอนเหนือของรัฐยะไข่ หรือที่สมัยโบราณเรียกว่ารัฐอาระกัน ซึ่งตั้งอยู่ทางตะวันตกของพม่า ชาวโรฮิงญาในพม่านั้นถือเป็นชนกลุ่มน้อย ที่เรียกได้ว่าถูกละเมิดสิทธิมนุษยชนโดยรัฐบาลพม่ามากที่สุด แม้ว่าชาวโรฮิงญาเหล่านี้จะเกิดบนผืนแผ่นดินพม่า แต่พวกเขากลับถูกรัฐบาลพม่าปฏิเสธที่จะให้สัญชาติพม่า และถูกปฏิบัติอย่างโหดร้ายจากเหล่าทหาร พวกเขาถึงกับกล่าวว่าสิ่งที่ทหารพม่าได้กระทำกับพวกเขานั้นช่างราวกับพวกเขาไม่ใช่คน

    จากคำบอกเล่าของกลุ่มชาวโรฮิงญา ผู้ที่ถูกจับกุมได้ในประเทศไทย พวกเขาได้เผยความรู้สึกถึงประสบการณ์ในอดีตว่า นับตั้งแต่ที่ชาวโรฮิงญาถูกปกครองโดยรัฐบาลของพม่า พวกเขาเป็นชนกลุ่มน้อยเพียงกลุ่มเดียวที่ไม่เคยต่อสู้หรือเรียกร้องอะไรจากรัฐบาลหรือประเทศ แน่นอนว่าพวกเขาภูมิใจที่ได้เกิดที่รัฐอาระกัน มีความรักและความผูกพันต่อแผ่นดินเกิด แต่แผ่นดินที่พวกเขาเกิดกลับไม่ต้อนรับพวกเขาเลย สิ่งที่พวกเขาต้องการมีเพียง “สิทธิความเป็นคน” เท่าที่ประชาชนชาวพม่าคนหนึ่งจะพึงมีเพียงเท่านั้น ซึ่งพวกเขาก็ไม่เคยได้รับมัน กลับกันรัฐบาลพม่ากลับทำราวกับพวกเขาไม่มีตัวตนในประเทศ และรังเกียจพวกเขาเป็นที่สุด

    นอกจากกลุ่มทหาร พวกเขายังถูกชาวพม่าดูถูกเหยียดหยามและทำร้ายร่างกาย ไม่สามารถสมัครงานที่ไหนได้ พวกเขาไม่มีสิทธิในด้านที่ดิน การศึกษา หรือสถานพยาบาลใด ๆ ในพม่า ทั้งยังถูกกีดกันทางด้านการเดินทาง โดยเฉพาะการเดินทางข้ามเขตที่ไม่สามารถกระทำได้เลย แถมพืชพันธุ์ในหมู่บ้านก็ถูกทหารเข้ามาแย่งเก็บเกี่ยว หากใครขายของได้เงินก็จะถูกทหารเข้ามาแย่งยึดไป ทำให้พวกเขาต้องอยู่อย่างอดอยาก ไม่มีแม้แต่ข้าวจะกินครบ 3 มื้อ บางครั้งพวกผู้ชายก็ต้องยอมอดข้าวเพื่อให้ลูกเมียได้กิน


    [​IMG]

    ชาวมุสลิมโรฮิงญา กลุ่มนี้ยังเผยความรู้สึกอีกว่า ทุกคนรักบ้านเกิด ไม่มีใครที่ต้องการดิ้นรน หรือดั้นด้นเดินทางออกจากบ้านเกิด มีแต่ทุกคนดิ้นรนเพื่อที่จะอาศัยอยู่ในบ้านเกิดหรือถิ่นฐานที่ตนถือกำเนิด แต่จากความโหดร้ายที่พวกเราได้รับ มันสุดที่จะบรรยายให้เห็นหรือให้รับรู้ได้ หากไม่เจอด้วยตนเองยากที่จะบรรยายจริง ๆ

    และจากสภาพที่แร้นแค้น ไร้อนาคตจนถึงขีดสุด ทำให้คนเหล่านี้ตัดสินใจที่จะหาความหวังของชีวิต ละทิ้งแผ่นดินเกิดอพยพหนีไปยังพื้นที่ต่าง ๆ ท่ามกลางการตามล่าของทหารพม่า ซึ่งหากพวกเขาถูกจับได้ก็จะถูกทำการทรมานอย่างหนักจนอาจถึงแก่ชีวิต จนถึงตอนนี้ มีชาวโรฮิงญาจำนวนมากที่ขึ้นเรืออพยพเข้ามายังประเทศไทย โดยเฉพาะทางฝั่งจังหวัดสตูล และระนอง เพื่อจะข้ามไปยังประเทศที่ 3 แต่เป็นที่น่าเศร้าใจ หลังจากที่พวกเขาหนีการจับกุมและการทรมานของเหล่าทหารพม่ามาได้ แต่กลับต้องตกเป็นเหยื่อของแก๊งค้ามนุษย์ซ้ำอีก จนถึงขณะนี้ แม้ว่าพวกชาวโรฮิงญาผู้อพยพมาจะถูกกักขังอยู่ แต่สำหรับพวกเขาแล้ว ห้องคุมขังก็ไม่ต่างจากโรงแรมชั้น 1 ซึ่งพวกเขาจะได้มีอาหารครบ 3 มื้อ และได้รับน้ำใจจากประชาชนชาวไทย พวกเขาล้วนคิดว่าคนไทยนั้นช่างโชคดี ที่ได้เกิดบนผืนแผ่นดินที่เต็มไปด้วยความสุขนี้ ซึ่งต่างจากแผ่นดินที่เปี่ยมไปด้วยความทุกข์ของพวกเขา

    สำหรับในตอนนี้ ระหว่างที่เจ้าหน้าที่กำลังผลักดันเพื่อส่งตัวกลุ่มชาวโรฮิงญากลับพม่านี้ เจ้าหน้าที่ก็ได้พยายามค้นหาทางออกเพื่อแก้ไขปัญหาของพวกเขา และพยายามประสานกับองค์กรระหว่างประเทศให้เข้ามาช่วยเหลือชาวมุสลิมโรฮิงญาและร่วมหาทางออกร่วมกัน เพราะต่างก็ทราบดีว่า การที่ส่งตัวพวกเขากลับไปยังประเทศพม่านั้น ก็ไม่ต่างจากส่งพวกเขากลับไปยังนรกขุมเดิม พร้อมกับบอกว่า หากให้พวกเขากลับไปอยู่ที่รัฐอาระกัน ก็เหมือนกับไปรอคอยความตาย อยู่ไปก็อยู่อย่างไร้อนาคต ไม่มีสภาพความเป็นคน ไม่สามารถเดินทางไปไหนมาไหน เดินทางไปมาได้ก็เฉพาะภายในจังหวัดที่ตั้งถิ่นฐานอยู่เท่านั้น โดนกดดันจากทหารพม่าตลอดเวลา นอกจากนี้พวกเขายังโดนดูถูกเหยียดหยามจากชาวพม่า ที่ผ่านมาโดนทั้งทำร้ายร่างกาย รวมถึงถ่มน้ำลายใส่ก็มี

    และนี่คือชีวิตบางส่วนของ ชาวโรฮิงญา ที่วันนี้ของพวกเขาล้วนเผชิญกับโชคชะตาที่มากกว่าคำว่า..โหดร้าย นอกจากจะโดนรังแกจากทหารพม่าแล้ว ยังถูกดูหมิ่นจากคนร่วมชาติจากชาวพม่าด้วยกันเอง


    ที่มา: ชาวโรฮิงญา เปิดใจ โรฮิงญา ในพม่า เจอแต่ความโหดร้าย
     
  2. Naraporn_N

    Naraporn_N เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 มกราคม 2010
    โพสต์:
    214
    ค่าพลัง:
    +1,002
    สำนักอิสลามกลางจังหวัดสงขลามีรับบริจาคเงิน ชื่อบัญชี สำนักงานคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดสงขลา (กองทุนช่วยเหลือชาวโรฮิงญา) บัญชีเลขที่ 934-1-48557-6 ธนาคารอิสลามแห่งประไทย สาขาหาดใหญ่

    หรือ ขอเชิญร่วมบริจาคเสื้อผ้าให้กับชาวโรฮิงญาในไทยได้ที่ สตม.สะเดา และปาดังเบซาร์

    ด่านตรวจคนเข้าเมืองสะเดา
    ที่อยู่ หมู่ 7 ถนนกาญจนวนิช ตำบลสำนักขาม อำเภอสะเดา สงขลา 90120
    โทรศัพท์ 074 301010, 074 301107

    ด่านตรวจคนเข้าเมือง ปาดังเบซาร์
    ตำบลปาดังเบซาร์ อำเภอสะเดา จังหวัดสงขลา 90240
    โทรศัพท์ 074444167

    ฝ่ายอำนวยการ
    กก.บริการคนต่างด้าว
    ที่อยู่ 94 ม.1 ต.ทุ่งตำเสา อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา 90110
    โทรศัพท์ 074-250801-2 โทรสาร 074-250803-4

    นนมผงสำหรับเด็กเล็ก สามารถบริจาคได้ที่ "บ้านพักเด็กและครอบครัว จ.สงขลา" (ผู้หญิงและเด็กแยกพักที่นี่)

    ปล. ส่งแบบพัสดุไปรษณีย์ (กล่องเหมาฯ) ถูกกว่าส่งแบบ EMS และ ลงทะเบียนค่ะ (วงเล็บด้วยก็ได้ว่าบริจาคเสื้อผ้าให้ชาวโรฮิงญา)
     
  3. kanokkarndd

    kanokkarndd Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 มกราคม 2013
    โพสต์:
    38
    ค่าพลัง:
    +35
    น่าสงสารมาก เมื่อก่อนก็สงสัยว่าชาวโรฮิงยาผิดอะไร ทำไมไม่มีใครต้อนรับพวกเขาเลย
     

แชร์หน้านี้

Loading...