<TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="80%" border=0><TBODY><TR><TD colSpan=4 height=29> กฎแห่งกรรม ทำดีได้ดี ทำดีได้ดีมีที่ไหน ทำชั่วได้ดีมีถมไป อาจจะเป็นคำกล่าวที่ติดปากสำหรับใครหลาย ๆ คน ในยามเมื่อคน ๆ นั้นทำอะไรแล้วไม่ได้ผลดั่งที่ตั้งใจไว้ </TD></TR><TR><TD width="29%"> </TD><TD width="1%"> </TD><TD width="35%"> </TD><TD width="35%"> </TD></TR><TR><TD> </TD><TD colSpan=2> </TD><TD>แต่งโดย อาวุธปญฺโญ ภิกขุ aomam_hipo@hotmail.com </TD></TR><TR><TD colSpan=4>ทำดีได้ดีมีที่ไหน ทำชั่วได้ดีมีถมไป อาจจะเป็นคำกล่าวที่ติดปากสำหรับใครหลาย ๆ คน ในยามเมื่อคน ๆ นั้นทำอะไรแล้วไม่ได้ผลดั่งที่ตั้งใจไว้ โดยสัญชาตญาณของมนุษย์แล้วเมื่อได้ลงทุนทำอะไรแล้ว เอาอย่างที่เป็นจริงเป็นจังก็ย่อมจะต้องมีความรู้สึกอยากจะได้อะไรตอบแทนบ้างไม่มากก็น้อย อย่างคนที่ทำงานในบริษัทเมื่อตั้งใจทำงานไม่เคยมาสายเลย มักจะหวังลึก ๆ ในใจอยากจะให้เจ้านายขึ้นเงินเดือนให้ นักการเมืองมีการเปิดปราศรัยหาเสียง แล้วแจกของก่อนจะมีการเลือกตั้งสักเดือนสองเดือน โดยมักป่าวประกาศออกเครื่องกระจายเสียงทุกครั้งที่ขึ้นปราศรัยว่า เงินส่วนนี้เป็นเงินของตนเองทั้งหมด ไม่เกี่ยวกับส่วนไหนเลย เพราะหวังผลประโยชน์ในอนาคต แม้กระทั้งผู้ที่มีศีลมีธรรมเข้าวัดทำบุญเป็นประจำก็ตาม ก็ยังไม่พ้นเรื่องเหล่านี้ เมื่อทำบุญเสร็จแล้วยังอธิษฐานเพื่อหวังกับบุญที่ตัวเองได้ทำ ขอเพียงแค่ว่าขอให้ข้าพเจ้าจงมีความสุขความเจริญ ปรารถนาสิ่งใดก็ให้ได้สิ่งนั้น อย่าให้มีโรคภัยไข้เจ็บมาเบียดเบียน ซึ่งสิ่งที่ขอนี้เป็นสิ่งที่ไม่ใช่วิสัยของนักปฏิบัติ นักปฏิบัติควรจะมีวิสัยโน้มไปในทางพระนิพพานซึ่งเป็นทางอันสูงสุดในชีวิต เมื่อคนกระทำความดีลงไปแล้วกลับไม่ได้ผลตอบแทนตามที่หวัง ส่วนมากก็จะละตายจากการกระทำความดี เนื่องจากไม่เห็นผลของคุณงามความดีนั้น ตรงข้ามกับการทำความชั่วเมื่อทำลงไปแล้วกลับได้ผลที่เห็นทันตาเช่น เมื่อขโมยของคนอื่นมา ผลของการกระทำนั้นมักเห็นทันคือมีของอยู่ในมือ สิ่งที่เกิดขึ้นเหล่านี้เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นจากความมีมิจฉาทิฐิ เหมือนมีคำพังเพยที่พูดกันติดปากว่า เห็นกรงจักรเป็นดอกบัว หมายถึงเห็นสิ่งที่ชั่วเป็นความดี </TD></TR><TR><TD> </TD><TD colSpan=3> ในการทำความดีท่านกล่าวว่า ถ้าหวังผลมากก็ทุกข์มากเพราะไม่ได้ดั่งใจหวัง ภายในตัวความหวังนั้นก่อเกิดความมีอัตตาเกิดขึ้นมาในจิตใจ พอนำคำมาเปรียบเทียบถึงความหมายลึก ๆ แล้วก็จะได้ว่า คนมีอัตตามากก็ทุกข์มาก อัตตา คือ การเอาความไม่รู้เข้าไปยึดเข้าไปถือ กับสิ่งที่ไม่ใช่ความจริงแท้ ก็เลยเกิดความเดือดร้อน ถ้าจะมีสักคนที่รู้ความเป็นจริงแล้วหมั่นทำความดี โดยไม่ได้มีอัตตาคิดหวังจะได้ผลตอบแทนจากสิ่งนั้น คำที่ว่าทำดีได้ดีมีที่ไหน ทำชั่วได้ดีมีถมไป ก็จะลบเลือนหายไปจากจิตใจ ครูบาอาจารย์ผู้รู้ทั้งหลายท่านสอนไม่ให้มีอัตตา ดั่งเช่นมีครูบาอาจารย์องค์หนึ่งท่านไปงานนิมนต์โยมที่เป็นศรัทธาวัดคนหนึ่ง เมื่อไปถึงท่านก็นั่งที่อาสนะที่จัดเตรียมไว้ให้ ญาติโยมก็เตรียมข้าวเตรียมของอยู่ พอดีโยมที่อยู่ข้างห้องใส่เกี๊ยะเดินกันเสียงดัง เสียงดังนั้นผ่านเข้ามาในห้องที่กำลังทำพิธีอยู่ โยมที่เป็นเจ้าภาพเกิดอัตตาขึ้นมาทันที่เลยร้องสวนกลับไปว่า เฮ้ยอย่างเสียงดัง กำลังทำพิธีอยู่ แล้วพระก็ร้องสวนขึ้นทันทีว่า โยมก็อย่าเอาหูไปรองเกี๊ยะเขาซี่ เป็นเรื่องที่เป็นอุทาหรณ์ได้อย่างดีสำหรับคนที่มีอัตตา </TD></TR><TR><TD colSpan=4>ตามหลักของความเป็นจริงแล้วคนที่มีความเห็นผิดเกี่ยวกับเรื่องนี้ ปกติส่วนมากก็จะนึกเอาเฉพาะใกล้ ๆ สั้น ๆ เอาเฉพาะที่จำได้ ไม่ได้นึกไปข้างหน้าไปข้างหลังว่าแต่ก่อนเคยทำอะไรไว้ ถึงได้รับแต่ความไม่สมปรารถนาอย่างนี้ อาจจะเคยทำกรรมไว้ในชาติก่อนหรือชาตินี้แล้วผลกรรมนั้นย้อนกลับมาให้ผลก็เป็นได้ ถึงแม้จะกำลังทำความดีอยู่ก็ตามผลกรรมก็จะสามารถให้ผลของมันได้ไม่เลือก เราเพิ่งจะได้ยินข่าวเมื่อไม่นานมานี้ว่า มีเด็กที่ขาขาดเพราะล้อรถจักรยานยนต์ หลังจากที่พ่อแม่กลับจากทำบุญมาไม่นาน อาจทำให้หลาย ๆ คนไม่อยากทำบุญ </TD></TR><TR><TD> </TD><TD> </TD><TD> </TD><TD> </TD></TR><TR><TD colSpan=3>แต่บุคคลผู้มีปัญญาย่อมจะเชื่อในอานิสงฆ์ของการทำบุญ แม้ผลบุญจะยังไม่ให้ผลก็ตาม ด้วยความคิดว่าบุญนั้นไม่จำเป็นจะต้องให้ผลแม้ในชาตินี้อย่างเดียว อาจจะให้ผลในชาติหน้าก็ได้ เมื่อบุคคลใดคิดได้ดังนี้แล้ว ก็นับว่าเป็นผู้ที่ไม่ได้ตายจากความดี และความดีก็จะย้อนกลับมาให้ผลกับบุคคลนั้น แม้จะปฎิเสธยังไงก็ไม่สามารถหลีกหนีได้ทั้งความดีและความชั่ว อาจจะมีผู้ที่สงสัยว่า แล้วผู้ที่นับถือศาสนาอื่นละจะเป็นอย่างไร สำหับผู้นับถือศาสนาพุทธขอบอกว่าเหมือนกันทั้งนั้น เพราะอะไรเพราะว่า ลองนึกดูว่า คนยุโรปกินขนมปัง คนอินเดียกินโรตี กับคนไทยกินข้าวความอิมจะเหมือนกันไหม แน่นอนว่าย่อมจะไม่แต่ต่างกันเลย เราเปรียบเทียบได้ดังนี้แล้วก็รู้เลยว่าผลของความดีและความชั่วย่อมให้ผลกับทุกคนทุกเชื้อชาติ </TD><TD> </TD></TR><TR><TD colSpan=4>ฉะนั้นแล้ว เราควรจะพยายามกระทำแต่ความดีให้มาก อย่านึกว่าเราทำความไม่ดีแล้วจะไม่มีใครเห็น บุคคลใดที่คิดอย่างนี้แสดงว่าเป็นบุคคลที่กำลังหลอกลวงตัวเองอยู่ แต่คิดว่าตัวเองหลอกผู้อื่นโดยไม่รู้ตัว ถีงแม้ว่าคนอื่นจะไม่เห็นกับตัวเราก็ตาม อย่างน้อยแล้วตัวเราเองก็เห็นตัวเองว่าตอนนี้เราทำดีหรือทำชั่วอยู่ ไม่ต้องให้คนอื่นมาดูตัวเราให้เราเฝ้าดูมันเอง ดั่งคำสอนที่พระพุทธองค์ทรงสอนว่าให้มี หิริ ความละอายแก่ใจ และโอตัปป ความเกรงกลัวต่อบาปทุจริต เมื่อเรามีธรรมสองข้อนี้อยู่ในใจแล้วความชั่วอกุศลต่าง ๆ จะไม่มีทางเกิดขึ้นกับจิตใจของเราโดยสิ้นเชิง </TD></TR></TBODY></TABLE>http://www.santidham.com/karmmarule/karmma.html
การทำความดี ก็เหมือนกับการขัดเกลาตัวเอง จากปุถุชนให้กลายเป็นพระอริยบุคคล พ้นทุกข์ไปพระนิพพาน อนุโมทนาครับ สาธุ
อนุโมทนากับเจ้าของกระทู้ครับ สาธุ สาธุ สาธุ <O</O <O</O <O</O _____________________________<O</O เชิญร่วมบริจาคหนังสือ เข้าห้องสมุดชุมชนวัดย่านยาว<O</O http://palungjit.org/showthread.php?t=130823<O</O
ทำดีแล้วไม่ได้ดี ก็ไม่เป็นไร แต่ยิ่งทำดี ยิ่งรักษาศีล เจริญภาวนา ยิ่งมีอุปสรรค ยิ่งพบเจอแต่เรื่องเลวร้าย ยังงี้ไม่รู้จะทำดีไปเพื่ออะไร
อนุโมทนา สาธุ ๆ เชื่อครับ ทุกวันนีี้ผมคิดแต่จะทำดี ทำดีไม่เคยท้อเลยครับ แต่เวลาทำผิดทำไม่ดี รู้สึกผิด แล้วรู้สึกไม่สบายใจ เชื่อในเรื่องกฎแห่งกรรมจริงๆครับ
การไม่แม้แต่จะคิดเบียดเบียนคนอื่นและสัตว์ต่างๆ ถือว่าเป็นการทำดีหรือป่าวครับ ทำไมชีวิตผมจึงถูกเบียดเบียนจากสัตว์ที่เรียกตัวเองว่า คน อยู่ร่ำไป
คุณจะเชื่อเรื่องกฏแห่งกรรมรึป่าว ที่คุณโดนเบียดเบียนจากคน เพราะว่าคุณเคยไปเบียดเบียนคนเค้าก่อน เวรกรรมมันก็ไม่จบสิ้น เป็นวัฐจักรหมุนเวียน ถ้าไม่อยากจะเจอก็ต้องวิมุติไปเลย ดิฉันอยู่ในขั้นพระพุธศาสนาสำหรับผู้เริ่มต้น เข้ามาในฐานะสหายธรรม ไม่ได้มาสั่งสอน คุณเคยรักษาศีล เจริญภาวนา แสดงว่ายังมีความใฝ่ดีอยู่ไม่น้อย แต่มาเจอเรื่องเลวร้ายก็เลยท้อแท้ ที่คุณพูดว่าทำดีแล้วไม่ได้ดี ก็ไม่เป็นไร แต่ยิ่งทำดี ยิ่งรักษาศีล เจริญภาวนา ยิ่งมีอุปสรรค ยิ่งพบเจอแต่เรื่องเลวร้าย ยังงี้ไม่รู้จะทำดีไปเพื่ออะไร " ก็เพื่อตัวของคุณเองไม่ใช่เพื่อใคร "
หลวงพ่อจรัญท่านบอกว่า มารไม่มี บารมีไม่เกิดครับผม ขอให้อดทนทำต่อไปครับ ขอเป็นกำลังใจให้ครับ อนุโมทนาสาธุ
คิดเสียว่า เราทำเขาก่อน ชาตินี้เราต้องใช้กรรมครับ ดั่งคำที่ท่านสมเด็จโต ท่านตัดสินภิกษุสองรูปทะเลาะกัน อนุโมทนาสาธุครับ
ใช่ทำดีตลอดมาและยังคงศรัธาเสมอเพราะใครไม่รู้เรารู้ก็ไม่ต้องการให้ใครเห็นแต่ที่ท้อเพราะคำว่ากรรมเก่าเหมือนไม่มีเหตุผลนะก็ระลึกชาติไม่ได้นี่ถ้ารู้ก็ยอมแต่โดยดีแต่นี่ชาตินี้ชาติเดียวทำดีตลอดแล้วยังยัง
นั่นสิ เราเองก็ยึดมั่นและศรัทธาในพราะพุทธศาสนามาโดยตลอด ตั้งแต่เล็กจนเข้าวัยกลางคน ทำบุญ ให้ทาน เมตตาสัตว์ผู้ยากไร้ สวดมนต์ ไม่ไปเบียดเบียนใคร อะไรที่ผิดเราจะไม่ทำ แต่ ผลคือเราต้องมานั่งเสียใจกับคนที่เราช่วยเหลือมาตลอด เป็นคนตรงอะไรที่ผิดไม่ทำ (เรารับผิดชอบค่าใช้จ่ายในบริษัทที่ทำงาน)รักษาผลประโยชน์ให้เจ้านาย ผลคือมีคนเกลียดเรา หาว่าเราได้อะไรมั๊ยกับการรักษาผลประโยชน์นี้ มีแต่โดนเจ้านายว่า เงินเดือนก็น้อยกว่าคนอื่นเขาทั้งที่อยู่ก่อนเขา มันก็จริงอย่างที่โดนว่านะ บางทีท้อจนร้องไห้ ว่าทำดีแล้วทำไมถึงมีแต่ความทุกข์ หาเพื่อนที่แท้จริงใจก็ยาก อยู่อย่างเดียวดาย แต่คนที่พูดปากปราศรัยน้ำใจเชือดคอ หวานต่อหน้า คนก็รู้แต่เขากลับมีแต่คนห้อมล้อม ยืนหยัดอยู่ในสังคม ทำไมถึงเป็นเช่นนี้ บุญ กรรม ทำไมถึงให้ผลช้า เร็วต่างกัน ทำดีต้องรอผลชาติหน้า คนทำดีก็ท้อถอยและลดปริมาณลง ทำไม่ดีแต่ให้ผลพอใจเร็ว คนถึงชอบและนับวันจะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ขอผู้รู้ช่วยเปิดทางสว่างให้ทีค่ะเพราะกำลังทุกข์ใจเหลือเกิน ปรึกษาใครก็ไม่ได้