รังสีออร่าในตัวคุณ

ในห้อง 'ดูดวง และ ทำนายฝัน' ตั้งกระทู้โดย เฮียปอ ตำมะลัง, 16 กันยายน 2007.

  1. ananradmane

    ananradmane สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 กันยายน 2007
    โพสต์:
    2
    ค่าพลัง:
    +9
    สีม่วง : ฉลาดล้ำลึก และสันโดษ
    คุณมีจิตใจละเอียดอ่อน สนใจในศาสตร์ลึกลับจนบางครั้งดูเหมือนเป็นคนลึกลับ คุณมีประสาทสัมผัสที่ 6 สูง รักสันโดษจนดูเหมือนคุณจะเข้ากับใครไม่ได้ มักมีปัญหาบริเวณท้อง
    ข้อเสีย มักดูถูกความคิดผู้อื่น และเก็บความรู้สึกมากเกินไป

    ตรงน่ะครับแต่ไม่ทั้งหมด
     
  2. aonlin

    aonlin เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 กันยายน 2006
    โพสต์:
    199
    ค่าพลัง:
    +1,608
    สีม่วง : ฉลาดล้ำลึก และสันโดษ
    คุณมีจิตใจละเอียดอ่อน สนใจในศาสตร์ลึกลับจนบางครั้งดูเหมือนเป็นคนลึกลับ คุณมีประสาทสัมผัสที่ 6 สูง รักสันโดษจนดูเหมือนคุณจะเข้ากับใครไม่ได้ มักมีปัญหาบริเวณท้อง

    ข้อเสีย มักดูถูกความคิดผู้อื่น และเก็บความรู้สึกมากเกินไป
     
  3. พระหลวงพ่อ

    พระหลวงพ่อ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 มีนาคม 2007
    โพสต์:
    514
    ค่าพลัง:
    +892
    อิอิ สีเหลืองคับ
     
  4. แคท

    แคท เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2005
    โพสต์:
    616
    ค่าพลัง:
    +1,666
    [​IMG]
     
  5. อักขรสัญจร

    อักขรสัญจร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 ตุลาคม 2005
    โพสต์:
    4,513
    ค่าพลัง:
    +27,181
    บวกออกมาเป็น11 สีเงินง่ะ
    แต่ถ่ายรูปเป็นสีลูกกวาด
    ไม่มีสีเงินเลย
     
  6. vnss

    vnss เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 มีนาคม 2007
    โพสต์:
    415
    ค่าพลัง:
    +2,557
    ขอนำมาขยายความว่า คัมภีร์มหาปัฏฐานคืออะไร
    ในพระธัมมสังคณีภาคหนึ่งเล่มที่ ๑ คัมภีร์ที่ ๑ ในพระอภิธรรมเจ็ดคัมภีร์ บรรยายว่า พระพุทธเจ้าทุกพระองค์ ทรงแสดงพระอภิธรรม ๗ คัมภีร์

    เมื่อพระพุทธองค์ทรงแสดง เริ่มตั้งแต่พระคัมภีร์ที่ ๑ - ๖ เป็นการแสดงให้รู้สภาพธรรมตามความเป็นจริงของปรมัตถธรรมทั้งปวง ระยะนั้นไม่มีความพิศดารแปลกประหลาด

    แต่เมื่อทรงแสดงคัมภีร์ที่ ๗ มหาปัฏฐาน อันเป็นพระอภิธรรมประเสริฐยิ่ง ทรงปลื้มปิตี ยินดีอย่างล้นพ้น เกิดพระฉัพพรรณรังสี พระพุทธองค์ทรงพิจารณาธรรมนั้นอยู่ถึง ๗ วัน ด้วยสัพพัญญุตญาณของพระพุทธองค์ทุก ๆ พระองค์

    ฉัพพรรณรังสีมี ๖ สี คือ สีเขียว ขาว แดง เหลือง ม่วง และประภัสสร (เลื่อมพราย)
    {อ่านเพิ่มเติมที่นี่ค่ะhttp://www.thaimisc.com/freewebboard/php/vreply.php?user=konmeungbua&topic=1369}

    มหาปัฏฐานนั้นอยู่ในบทสุดท้ายของพระอภิธรรม

    พระอภิธรรมนี้ถือเป็นหลักธรรมชั้นสูงในพระพุทธศาสนา พระพุทธองค์ได้ทรงแสดงโปรดพุทธมารดา และเหล่าเทวดาบนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์เพียงครั้งเดียว นิยมสวดในงานศพมี ๗ คัมภีร์ เป็นพื้นฐาน ในอันที่จะสร้างสรรค์ให้มีสติว่องไว มั่นคง และมีปัญญาหลักแหลม

    พระอภิธรรม มี ๔๒,๐๐๐ พระธรรมขันธ์ จำแนกเป็น ๗ คัมภีร์ มีชื่อว่า
    ธัมมสังคณี วิภังค ธาตุกถา ปุคคลบัญญัติ กถาวัตถุ ยมก และ มหาปัฏฐาน
    หรือ ย่อเพื่อจำง่ายว่า สัง วิ ธา ปุ กะ ยะ ปะ

    คัมภีร์ ธัมมสังคณี ว่าด้วย หมวดแห่งปรมัตถธรรม
    คัมภีร์ วิภังค ว่าด้วย การจำแนกปรมัตถธรรม
    คัมภีร์ ธาตุกถา ว่าด้วย ธาตุแห่งปรมัตถธรรม
    คัมภีร์ ปุคคลบัญญัติ ว่าด้วย บัญญัติ บุคคล และ ปรมัตถ
    คัมภีร์ กถาวัตถุ ว่าด้วย การถามและตอบในปรมัตถธรรม
    คัมภีร์ ยมก ว่าด้วย การแสดงปรมัตถธรรมเป็นคู่ ๆ
    คัมภีร์ มหาปัฏฐาน ว่าด้วย ปัจจัยของปรมัตถธรรม <O:p</O:p
    <O:p</O:p
    ี่มา http://board.dserver.org/s/sakyaputto/00000026.html<O:p></O:p>
     
  7. vnss

    vnss เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 มีนาคม 2007
    โพสต์:
    415
    ค่าพลัง:
    +2,557

    คำแปลมีดังนี้ค่ะ

    <TABLE cellSpacing=1 cellPadding=3 width="100%" align=center border=0 name="ListaBoard"><TBODY><TR><TD>พระสังคิณี ๓๙
    ว่าด้วยปรมัตถธรรมที่ถูกจัดรวมเป็นหมวดเป็นหมู่
    กุสะลา ธัมมา
    ธรรมที่เป็นกุศลให้ผลเป็นสุข มีกามาวจรกุศลเป็นต้น
    อะกุสลา ธัมมา
    ธรรมที่เป็นอกุศลให้ผลเป็นทุกข์ มีโลภมูลจิตแปดเป็นต้น
    อัพยากะตา ธัมมา
    ธรรมที่เป็นอัพยากฤตเป็นจิตกลางๆ มีอยู่ มีผัสสเจตนาเป็นต้น
    กะตะเม ธัมมา กุสะลา ยัสมิง สะมะเย
    ในสมัยใด ธรรมที่เป็นกุศลให้ผลเป็นสุข ย่อมบังเกิดขึ้นอย่างไรบ้าง
    กามาวะจะรัง กุสะลัง จิตตัง
    จิตที่เป็นกุศลให้ผลเป็นสุข ย่อมนำสัตว์ให้ไปเกิดในกามภพทั้ง ๗ คือ มนุษย์ ๑ สวรรค์ ๖
    อุปปันนัง โหติ
    ย่อมบังเกิดมีแก่ปุถุชนผู้เป็นสามัญชน
    โสมะนัสสะสะหะคะตัง
    เป็นไปพร้อมกับจิตด้วย ที่เป็นโสมนัสความสุขใจ
    ญาณะสัมปะยุตตัง
    ประกอบพร้อมด้วยญาณเครื่องรู้ คือ ปัญญา
    รูปารัมมะณัง วา
    มีจิตยินดีในรูป มีรูปพระพุทธเจ้าเป็นต้น เป็นอารมณ์บ้าง
    สัทธารัมมะณัง วา
    มีจิตยินดีในเสียง มีเสียงท่านแสดงพระสัทธรรมเป็นต้น เป็นอารมณ์บ้าง
    คันธารัมมะณัง วา
    มีจิตยินดีในกลิ่นหอม แล้วคิดถึงการกุศล มีพระพุทธบูชาเป็นต้น เป็นอารมณ์บ้าง
    ระสารัมมะณัง วา
    มีจิตยินดีในรสเครื่องบริโภค แล้วก็ยินดีใคร่บริจาคเป็นทานเป็นต้น เป็นอารมณ์บ้าง
    โผฏฐัพพารัมมะณัง วา
    มีจิตยินดีในของอันถูกต้อง แล้วก็คิดให้ทานเป็นต้น เป็นอารมณ์บ้าง
    ธัมมารัมมะณัง วา
    มีจิตยินดีในที่จะเจริญพระสัทธรรมกรรมฐาน มีพุทธานุสสติเป็นต้น เป็นอารมณ์บ้าง
    ยัง ยัง วา ปะนารัพภะ
    อีกอย่างหนึ่งความปรารภแห่งจิต ก็เกิดขึ้นในอารมณ์ใดๆ
    ตัสมิง สะมะเย ผัสโส โหติ
    ความกระทบผัสสะแห่งจิต จิตที่เป็นกุศล ก็ย่อมบังเกิดขึ้นในสมัยนั้น
    อะวิกเขโป โหติ
    อันว่าเอกัคคตาเจตสิกอันแน่แน่วในสันดานก็ย่อมบังเกิดขึ้น
    เย วา ปะนะ ตัสมิง สะมะเย
    อีกอย่างหนึ่ง ธรรมทั้งหลายเหล่าใด ก็ย่อมบังเกิดขึ้นในกาลสมัยนั้น
    อัญเญปิ อัตถิ ปะฏิจจะสะมุปปันนา
    ธรรมทั้งหลายอาศัยซึ่งจิตทั้งหลายอื่นมีอยู่ แล้วอาศัยกันและกันก็บังเกิดมีขึ้นพร้อม
    อะรูปิโน ธัมมา
    เป็นแต่นามธรรมทั้งหลายไม่มีรูป
    อิเม ธัมมา กุสะลา.
    ธรรมทั้งหลายเหล่านี้ ชื่อว่าเป็นกุศลให้ผลเป็นสุข แก่สัตว์ทั้งหลายแล.




    </TD></TR><TR><TD></TD></TR><TR bgColor=#c8dbda height=1><TD></TD></TR><TR><TD>พระวิภังค์ ๔๐
    ว่าด้วยการแยกขันธ์ ๕ เป็นข้อๆ
    ปัญจักขันธา
    กองทัพแห่งธรรมชาติทั้งหลายมีห้าประการ
    รูปักขันโธ
    รูป ๒๘ มีมหาภูตรูป ๔ เป็นต้น เป็นกองอันหนึ่ง
    เวทะนากขันโธ
    ความเสวยอารมณ์เป็นสุขและเป็นทุกข์ เป็นโสมนัสและโทมนัส และอุเบกขา เป็นกองอันหนึ่ง
    สัญญากขันโธ
    ความจำได้หมายรู้ ในรูป เสียง กลิ่น รส โผฏธัพพะ ธัมมารมณ์ อันบังเกิดในจิต เป็นกองอันหนึ่ง
    สังขารักขันโธ
    เจตสิกธรรม ๕๐ ดวง เป็นเครื่องปรุงแต่งจิตให้คิดอ่านไปต่างๆ มีบุญเจตสิกเป็นต้นให้สัตว์บังเกิด เป็นกองอันหนึ่ง
    วิญญาณักขันโธ
    วิญญาณจิต ๘๙ ดวงโดยสังเขป เป็นเครื่องรู้แจ้งวิเศษ มีจักขุวิญญาณเป็นต้น เป็นกองอันหนึ่ง
    ตัตถะ กะตะโม รูปักขันโธ
    กองแห่งรูปในปัญจขันธ์ทั้งหลายนั้นเป็นอย่างไรบ้าง
    ยังกิญจิ รูปัง
    รูปอันใดอันหนึ่ง
    อะตีตานาคะตะปัจจุปปันนัง
    รูปที่เป็นอดีตอันก้าวล่วงไปแล้ว และรูปที่เป็นอนาคตอันยังไม่มาถึง และรูปที่เป็นปัจจุบันอยู่
    อัชฌัตตัง วา เป็นรูปภายในหรือ
    พะหิทธา วา หรือว่าเป็นรูปภายนอก
    โอฬาริกัง วา เป็นรูปอันหยาบหรือ
    สุขุมัง วา หรือว่าเป็นรูปอันละเอียดสุขุม
    หีนัง วา เป็นรูปอันเลวทรามหรือ
    ปะณีตัง วา หรือว่าเป็นรูปอันประณีตบรรจง
    ยัง ทูเร วา เป็นรูปในที่ไกลหรือ
    สันติเก วา หรือว่าเป็นรูปในที่ใกล้
    ตะเทกัชฌัง อะภิสัญญูหิตวา
    พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงประมวลเข้ายิ่งแล้วซึ่งรูปนั้นเป็นหมวดเดียวกัน
    อะภิสังขิปิตวา
    พระผู้มีพระภาคเจ้า ย่นย่อเข้ายิ่งแล้ว
    อะยัง วุจจะติ รูปักขันโธ.
    กองแห่งรูปธรรมอันนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่าเป็นรูปขันธ์แล.




    </TD></TR><TR><TD></TD></TR><TR bgColor=#c8dbda height=1><TD></TD></TR><TR><TD>พระธาตุกกถา ๔๑
    ว่าด้วยธรรมะจัดระเบียบความสัมพันธ์ โดยถือธาตุเป็นหลัก
    สังคะโห
    พระพุทธองค์สงเคราะห์ซึ่งจิตเจตสิกรูปเข้าในขันธ์เป็นหมวด ๑
    อะสังคะโห
    พระพุทธองค์ไม่สงเคราะห์ซึ่งรูปธรรมทั้งหลายเข้าในขันธ์เป็นหมวด ๑
    สังคะหิเตนะ อะสังคะหิตัง
    พระพุทธองค์ไม่สงเคราะห์ซึ่งเจตสิกรูป ด้วยธรรมอันสงเคราะห์แล้ว
    อะสังคะหิเตนะ สังคะหิตัง
    พระพุทธองค์สงเคราะห์ซึ่งเจตสิกรูป ด้วยธรรมอันมิได้สงเคราะห์
    สังคะหิเตนะ สังคะหิตัง
    พระพุทธองค์สงเคราะห์ซึ่งเจตสิกรูป ด้วยธรรมอันสงเคราะห์แล้ว
    อะสังคะหิเตนะ อะสังคะหิตัง
    พระพุทธองค์ไม่สงเคราะห์ซึ่งเจตสิกรูป ด้วยธรรมอันไม่ได้สงเคราะห์
    สัมปะโยโค
    เจตสิกธรรมทั้งหลายอันประกอบพร้อมกับจิต ๕๕
    วิปปะโยโค
    เจตสิกธรรมทั้งหลาย อันประกอบแตกต่างกันกับจิต
    สัมปะยุตเตนะ วิปปะยุตตัง
    ประกอบเจตสิกอันต่างกัน ด้วยเจตสิกอันประกอบพร้อมกันเป็นหมวดเดียว
    วิปปะยุตเตนะ สัมปะยุตตัง
    ประกอบเจตสิกอันบังเกิดพร้อมกัน ด้วยเจตสิกอันต่างกันเป็นหมวดเดียว
    อะสังคะหิตัง.
    พระพุทธองค์ไม่สงเคราะห์ซึ่งธรรมอันไม่ควรสงเคราะห์ ให้ระคนกัน.




    </TD></TR><TR><TD></TD></TR><TR bgColor=#c8dbda height=1><TD></TD></TR><TR><TD>พระปุคคลปัญญัตติ ๔๒
    ว่าด้วยบัญญัติ ๖ อย่าง และแสดงรายละเอียดเฉพาะบัญญัติอันเกี่ยวกับบุคคล
    ฉะ ปัญญัตติโย
    ธรรมชาติทั้งหลาย ๖ อันบัณฑิตพึงแต่งตั้งบัญญัติไว้
    ขันธะปัญญัตติ
    กองแห่งรูปและนามเป็นธรรมชาติ อันบัณฑิตพึงแต่งตั้งบัญญัติไว้
    อายะตะนะปัญญัตติ
    บ่อเกิดแห่งตัณหา คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ อันบัณฑิตพึงแต่งตั้งบัญญัติไว้
    ธาตุปัญญัตติ
    ธาตุทั้ง ๔ คือ ดิน น้ำ ไฟ ลม เป็นธรรมชาติอันบัณฑิตพึงแต่งตั้งบัญญัติไว้
    สัจจะปัญญัตติ
    ของจริงอย่างประเสริฐคือ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค เป็นธรรมชาติอันบัณฑิตพึงแต่งตั้งบัญญัติไว้
    อินทริยะปัญญัติ
    อินทรีย์ ๒๒ เป็นธรรมชาติอันบัณฑิตพึงแต่งตั้งบัญญัติไว้
    ปุคคะละปัญญัตติ
    บุคคลที่เป็นธรรมชาติอันบัณฑิตพึงแต่งตั้งบัญญัติไว้
    กิตตาวะตา ปุคคะลานัง
    แห่งบุคคลทั้งหลายนี่มีกี่จำพวกเชียวหนอ
    ปุคคะละปัญญัตติ
    บุคคลที่เป็นธรรมชาติอันบัณฑิตพึงแต่งตั้งบัญญัติไว้
    สะมะยะวิมุตโต
    พระอริยบุคคล ผู้มีจิตพ้นวิเศษเป็นสมัยอยู่ มีพระโสดาบัน เป็นต้น
    อะสะมะยะวิมุตโต
    พระอริยบุคคล ผู้มีจิตพ้นวิเศษไม่มีเป็นสมัย มีพระอรหันต์ เป็นต้น
    กุปปะธัมโม
    ฌานที่เป็นเครื่องเผากิเลส อันบุคคลได้แล้ว ย่อมกำเริบสูญไป
    อะกุปปะธัมโม
    ฌานที่เป็นเครื่องเผากิเลส อันบุคคลได้แล้ว ย่อมไม่กำเริบ
    ปะริหานะธัมโม
    ฌานที่เป็นเครื่องฆ่ากิเลส อันบุคคลได้สูงขึ้นไปแล้ว ย่อมเสื่อมถอยลง
    อะปะริหานะธัมโม
    ฌานที่เป็นเครื่องฆ่ากิเลส อันบุคคลได้สูงขึ้นไปแล้ว ย่อมไม่เสื่อมถอยลง
    เจตะนาภัพโพ
    ฌานที่เป็นเครื่องฆ่ากิเลส อันบุคคลได้แล้ว ไม่สามารถที่จะรักษาไว้ในสันดาน
    อะนุรักขะนาภัพโพ
    ฌานที่เป็นเครื่องฆ่ากิเลส อันบุคคลได้แล้ว ก็ตามรักษาไว้ในสันดาน
    ปุถุชชะโน
    บุคคลที่มีอาสวะเครื่องย้อมใจ อันหนาแน่นในสันดาน
    โคตระภู
    บุคคลผู้เจริญในพระกรรมฐานตลอดขึ้นไปถึงโคตรภู
    ภะยูปะระโต
    บุคคลผู้เป็นปุถุชน ย่อมมีความกลัวเป็นเบื้องหน้า
    อะภะยูปะระโต
    พระขีณาสพ บุคคลผู้มีความกลัวอันสิ้นแล้ว
    ภัพพาคะมะโน
    บุคคลผู้มีวาสนาอันแรงกล้า สามารถจะได้มรรคและผลในชาตินั้น
    อะภัพพาคะมะโน
    บุคคลผู้มีวาสนาอันน้อย ไม่สามารถจะได้มรรคผลในชาตินั้น
    นิยะโต
    บุคคลผู้กระทำซึ่งปัญจอนันตริยกรรม มีปิตุฆาตเป็นต้น ตายแล้วไปตกนรกเป็นแน่
    อะนิยะโต
    บุคคลผู้มีคติปฏิสนธิไม่เที่ยง ย่อมเป็นไปตามยถากรรม
    ปะฏิปันนะโก
    บุคคลผู้ปฏิบัติมั่น เหมาะในพระกรรมฐาน เพื่อจะได้พระอริยมรรค
    ผะเลฏฐิโต
    บุคคลผู้ตั้งอยู่ในพระอริยผล มีพระโสดาปัตติผลเป็นต้น ตามลำดับ
    อะระหา
    บุคคลผู้ตั้งอยู่ในพระอรหัตผล เป็นผู้ควรแล้ว เป็นผู้ไกลแล้วจากกิเลส
    อะระหัตตายะ ปะฏิปันโน.
    บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อจะให้ถึงพระอรหัตผล เป็นผู้ควรแล้ว เป็นผู้ไกลแล้วจากกิเลส.




    </TD></TR><TR><TD></TD></TR><TR bgColor=#c8dbda height=1><TD></TD></TR><TR><TD>พระกถาวัตถุ ๔๓
    ว่าด้วยคำถาม-ตอบในหลักธรรม เพื่อเป็นหลักในการตัดสินพระปรมัตถธรรม
    ปุคคะโล
    มีคำถามว่าสัตว์ ว่าบุคคล ว่าหญิง ว่าชาย
    อุปะลัพภะติ
    อันท่านควรรู้ด้วยปัญญา อันบังเกิดในสันดานของท่านเถิด
    สัจฉิกัตถะปะระมัตเถนาติ
    โดยปรมัตถ์คือคุณอรรถอันอุดม เป็นอรรถอันจริงแท้มิได้แปรผันดังนี้ มีอยู่หรือ
    อามันตา
    มีคำแก้ตอบว่าจริง สัตว์บุคคลหญิงชายมีอยู่
    โย
    มีคำถามว่า ปรมัตถธรรมมีประการ ๕๗ มีขันธ์ ๕ เป็นต้น ทั้งหลายเหล่าใด
    สัจฉิกัตโถ ปะระมัตโถ
    เป็นปรมัตถ์คืออรรถอันอุดม เป็นอรรถอันจริงแท้มิได้แปรผัน
    ตะโต โส
    โดยปรมัตถธรรมมีประการ ๕๗ มีขันธ์ ๕ เป็นต้นเหล่านั้น
    ปุคคะโล
    ว่าเป็นสัตว์เป็นบุคคลเป็นหญิงเป็นชาย
    อุปะลัพภะติ
    อันท่านควรรู้ด้วยปัญญา อันบังเกิดในสันดานของท่าน
    สัจฉิกัตถะปะระมัตเถนาติ
    โดยปรมัตถ์คืออรรถอันอุดม เป็นอรรถอันจริงแท้มิได้แปรผันดังนี้ มีอยู่หรือ
    นะ เหวัง วัตตัพเพ
    มีคำแก้ตอบว่า ประเภทของปรมัตถ์มีขันธ์ ๕ เป็นต้น เราไม่มีพึงกล่าวเชียวหนอ
    อาชานาหิ นิคคะหัง
    ผู้ถามกล่าวตอบว่า ท่านจงรับเสียเถิด ซึ่งถ้อยคำอันท่านกล่าวแล้วผิด
    หัญจิ ปุคคะโล
    ผิแลว่าเป็นสัตว์เป็นบุคคลเป็นหญิงเป็นชาย
    อุปะลัพภะติ
    อันท่านควรรู้ด้วยปัญญา อันบังเกิดในสันดานของท่าน
    สัจฉิกัตถะปะระมัตเถนะ
    โดยปรมัตถ์คืออรรถอันอุดม เป็นอรรถอันจริงแท้มิได้แปรผัน
    เตนะ
    โดยประการอันเรากล่าวแล้วนั้น
    วะตะ เร
    ดังเรากำหนด ดูก่อนท่านผู้มีหน้าอันเจริญ
    วัตตัพเพ โย
    ปรมัตถธรรมมีประการ ๕๗ มีขันธ์ ๕ เป็นต้น อันเราพึงกล่าว
    สัจฉิกัตโถ ปะระมัตโถ
    เป็นอรรถอันกระทำให้สว่างแจ้งชัด เป็นอรรถอันอุดม
    ตะโต โส
    โดยปรมัตถธรรมมีประการ ๕๗ มีขันธ์ ๕ เป็นต้นเหล่านั้น
    ปุคคะโล
    ว่าเป็นสัตว์เป็นบุคคลเป็นหญิงเป็นชาย
    อุปะลัพภะติ
    อันท่านควรรู้ด้วยปัญญา อันบังเกิดในสันดานของท่าน
    สัจฉิกัตถะปะระมัตเถนาติ
    โดยปรมัตถ์คืออรรถอันอุดม เป็นอรรถอันจริงแท้มิได้แปรผันดังนี้
    มิจฉา.
    ท่านกล่าวในปัญหาเบื้องต้นกับปัญหาเบื้องปลาย ผิดกันไม่ตรงกัน.




    </TD></TR><TR><TD><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" align=center border=0><TBODY><TR><TD><DD></DD></TD><TD align=right></TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR bgColor=#c8dbda height=1><TD></TD></TR><TR><TD>พระยมก ๔๔
    ว่าด้วยปรมัตถธรรมคือ จิตและสิ่งที่อาศัยจิตเกิดคือเจตสิก
    เย เกจิ
    จิตและเจตสิกบางพวกทั้งหลายเหล่าใด
    กุสะลา ธัมมา
    ธรรมที่เป็นกุศลให้ผลเป็นสุข อันบัณฑิตควรสะสมไว้
    สัพเพ เต
    จิตและเจตสิกทั้งหลายทั้งปวงเหล่านั้น
    กุสะละมูลา
    เป็นมูลเป็นที่ตั้งรากเหง้าแห่งกุศล ให้ผลเป็นสุข อันบัณฑิตควรสะสมไว้
    เย วา ปะนะ
    อีกอย่างหนึ่ง จิตและเจตสิกทั้งหลายเหล่านั้น
    กุสะละมูลา
    เป็นมูลเป็นที่ตั้งของรากเหง้าแห่งกุศล ให้ผลเป็นสุข อันบัณฑิตควรสะสมไว้

    สัพเพ เต ธัมมา
    ธรรมคือจิตและเจตสิกทั้งหลายทั้งปวงเหล่านั้น
    กุสะลา
    ชื่อว่าเป็นกุศลให้ผลเป็นสุข อันบัณฑิตควรสะสมไว้
    เย เกจิ
    จิตและเจตสิกบางพวกทั้งหลายเหล่าใด
    กุสะลา ธัมมา
    เป็นธรรมเป็นกุศลให้ผลเป็นสุข อันบัณฑิตควรสะสมไว้
    สัพเพ เต
    จิตและเจตสิกทั้งหลายทั้งปวงเหล่านั้น
    กุสะละมูเลนะ เอกะมูลา
    เป็นมูลอันหนึ่งด้วยเป็นมูลเป็นที่ตั้งแห่งกุศลให้ผลเป็นสุข อันบัณฑิตควรสะสมไว้
    เย วา ปะนะ
    อีกอย่างหนึ่ง จิตและเจตสิกทั้งหลายเหล่าใด
    กุสะละมูเลนะ เอกะมูลา
    เป็นมูลอันหนึ่งด้วยเป็นมูลเป็นที่ตั้งแห่งกุศลให้ผลเป็นสุข อันบัณฑิตควรสะสมไว้
    สัพเพ เต ธัมมา
    ธรรมคือจิตและเจตสิกทั้งหลายทั้งปวงเหล่านั้น
    กุสะลา.
    ชื่อว่าเป็นกุศลให้ผลเป็นสุข อันบัณฑิตควรสะสมไว้.




    </TD></TR><TR><TD></TD></TR><TR bgColor=#c8dbda height=1><TD></TD></TR><TR><TD>พระมหาปัฏฐาน ๔๕
    ว่าด้วยสิ่งที่เป็นปัจจัยเกื้อกูลสนับสนุนกันและกัน ๒๔ อย่าง
    เหตุปัจจะโย
    ความไม่โลภไม่โกรธไม่หลงเป็นต้น เป็นเครื่องอาศัยเป็นปัจจัยให้เกิดในที่สุข
    อารัมมะณะปัจจะโย
    อารมณ์ความยินดีในรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ เป็นเครื่องอาศัยเป็นปัจจัยให้บังเกิด
    อะธิปะติปัจจะโย
    ธรรมที่เชื่อว่าอธิบดี ๔ ประการ คือ ฉันทะ วิริยะ จิตตะ วิมังสา เป็นเครื่องอาศัยเป็นปัจจัยให้บังเกิด
    อะนันตะระปัจจะโย
    จิตอันกำหนดในวัตถุและรู้แจ้งวิเศษในทวารทั้ง ๖ เนื่องกันไม่มีระหว่าง เป็นเครื่องอาศัยเป็นปัจจัยให้บังเกิด
    สะมะนันตะระปัจจะโย
    จิตอันกำหนดในวัตถุและรูวิเศษในทวารทั้ง ๖ พร้อมกันไม่มีระหว่าง เป็นเครื่องอาศัยเป็นปัจจัยให้บังเกิด
    สะหะชาตะปัจจะโย
    จิตและเจตสิกอันบังเกิดกับดับพร้อม เป็นเครื่องอาศัยเป็นปัจจัยให้บังเกิด
    อัญญะมัญญะปัจจะโย
    จิตและเจตสิกค้ำชูซึ่งกันและกัน เป็นเครื่องอาศัยเป็นปัจจัยให้บังเกิด
    นิสสะยะปัจจะโย
    จิตและเจตสิกอาศัยซึ่งกันและกัน เป็นเครื่องอาศัยเป็นปัจจัยให้บังเกิด
    อุปะนิสสะยะปัจจะโย
    จิตและเจตสิกอันเข้าไปใกล้อาศัยซึ่งกันและกัน เป็นเครื่องอาศัยเป็นปัจจัยให้บังเกิด
    ปุเรชาตะปัจจะโย
    อารมณ์ ๕ มีรูปเป็นต้น มากระทบซึ่งจักษุ เป็นเครื่องอาศัยเป็นปัจจัยให้บังเกิด
    ปัจฉาชาตะปัจจะโย
    จิตและเจตสิกที่บังเกิดภายหลังรูป เป็นเครื่องอาศัยเป็นปัจจัยให้บังเกิด
    อาเสวะนะปัจจะโย
    ชวนจิตที่แล่นไปซ่องเสพซึ่งอารมณ์ต่อกัน เป็นเครื่องอาศัยเป็นปัจจัยให้บังเกิด
    กัมมะปัจจะโย
    บุญบาปอันบุคคลกระทำแล้ว เป็นเครื่องอาศัยเป็นปัจจัยให้บังเกิดในที่ดีหรือที่ชั่ว
    วิปากะปัจจะโย
    และวิเศษแห่งกรรมอันบุคคลกระทำแล้ว เป็นเครื่องอาศัยเป็นปัจจัยให้บังเกิดในที่ดีที่ชั่ว
    อาหาระปัจจะโย
    อาหาร ๔ มีผัสสาหารเป็นต้น เป็นเครื่องอาศัยเป็นปัจจัยให้บังเกิด
    อินทริยะปัจจะโย
    ธรรมชาติที่เป็นใหญ่ ในตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ เป็นเครื่องอาศัยเป็นปัจจัยให้บังเกิด
    ฌานะปัจจะโย
    ธรรมชาติเครื่องฆ่ากิเลส เป็นเครื่องอาศัยเป็นปัจจัยให้บังเกิดในรูปพรหม
    มัคคะปัจจะโย
    อัฏฐังคิกมรรค มีสัมมาทิฏฐิเป็นต้น เป็นเครื่องอาศัยเป็นปัจจัยให้บังเกิดในโลกอุดร
    สัมปะยุตตะปัจจะโย
    จิตและเจตสิกอันบังเกิดสัมปยุตพร้อมในอารมณ์เดียวกัน เป็นเครื่องอาศัยเป็นปัจจัยให้บังเกิด
    วิปปะยุตตะปัจจะโย
    รูปธรรมนามธรรมที่แยกต่างกัน มิได้ระคนกัน เป็นเครื่องอาศัยเป็นปัจจัยให้บังเกิด
    อัตถิปัจจะโย
    รูปธรรมนามธรรมที่ยังไม่ดับ เป็นปัจจัยซึ่งกันและกัน เป็นเครื่องอาศัยเป็นปัจจัยให้บังเกิด
    นัตถิปัจจะโย
    จิตและเจตสิกที่ดับแล้ว เป็นเครื่องอาศัยเป็นปัจจัยให้บังเกิดจิตและเจตสิกในปัจจุบัน
    วิคะตะปัจจะโย
    จิตและเจตสิกที่แยกต่างกัน เป็นเครื่องอาศัยเป็นปัจจัยให้บังเกิด จิตและเจตสิกในปัจจุบัน
    อะวิคะตะปัจจะโย.
    จิตและเจตสิกที่ดับและมิได้ต่างกัน เป็นเครื่องอาศัยเป็นปัจจัยให้บังเกิดจิตและเจตสิกในปัจจุบัน.


    http://www.thaiwebwizard.com/member/mummy/showdetail.asp?boardid=66


    </TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  8. เฮียปอ ตำมะลัง

    เฮียปอ ตำมะลัง ทุกสิ่งจบสิ้นลงด้วยความตาย วุ่นวายทำไม ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 มีนาคม 2007
    โพสต์:
    24,969
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +91,130
    อนุโมทนา สาธุ

    ขอขอบคุณ คุณvnss ครับ
     
  9. yokine

    yokine เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 กันยายน 2007
    โพสต์:
    494
    ค่าพลัง:
    +602
    555+ สีน้ำเงิน แม่นอีหลี เลยครับ
     
  10. Greenshade

    Greenshade เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 สิงหาคม 2005
    โพสต์:
    74
    ค่าพลัง:
    +103
    12. สีทอง : ไม่มีขอบเขตจำกัด
    คุณสามารถทำเรื่องใหญ่ให้กลายเป็นเรื่องเล็ก หรือทำงานใหญ่ให้กลายเป็นเรื่องปอกกล้วยเข้าปาก คุณจะประสบความสำเร็จไปแทบทุกเรื่อง เป็นคนมีเสน่ห์จูงใจ ทำงานหนักเอาเบาสู้ มีเป้าหมาย ในการทำงานที่แน่นอน มีอุดมคติและความสามารถสูง เป็นผู้นำสามารถโน้มน้าวจิตใจผู้อื่นได้
     
  11. BirdSoul

    BirdSoul เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 กันยายน 2007
    โพสต์:
    4,248
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +12,020
    4. สีเขียว : รักษาโรค
    คุณเป็นคนรักสงบ ละเอียดอ่อน ชอบช่วยเหลือผู้อื่น จิตใจดี มีพลังจิต ไว้วางใจได้ คุณอาจมีลักษณะภายนอกหงิมๆ หรือเรียบง่าย แต่ส่วนลึกแล้วดื้อน่าดู คุณเป็นพวกสู้งาน หนักเอาเบาสู้ มีความสามารถในการใช้มือ เป็นสีแห่งความสมดุลและปรับตัว
    ข้อเสีย ดื้นรั้น ไม่รับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น


    รู้สึกว่าข้อเสียเนี่ยจะตรงมากกว่าอ่ะ
     
  12. STARLINE

    STARLINE Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    9
    ค่าพลัง:
    +39
    สีเขียว ตรงมากๆ ขอบคุณค่ะ
     
  13. WCH

    WCH เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 ตุลาคม 2005
    โพสต์:
    44
    ค่าพลัง:
    +154
    สีเหลืองทองครับ(ตรงจริงๆด้วยครับ)
     
  14. Maxxyzzz

    Maxxyzzz เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2006
    โพสต์:
    50
    ค่าพลัง:
    +823
    11. สีเงิน : นักอุดมคติ
    คุณมีประสาทสัมผัสที่ 6 มีศักยภาพสูงในหลายๆ ด้าน
    เต็มไปด้วยความคิดแปลกๆ ใหม่ๆ ชอบฝันหวาน แต่คุณมักจะฝันมากกว่าลงมือทำจริงๆ เป็นคนซื่อสัตย์ มีความเชื่อมั่นในตัวเอง มองโลกในแง่ดี ถ้ามุมานะสร้างความฝันให้เป็นความจริงคุณจะไปได้ไกลมากทีเดียว

    ข้อเสีย ขี้เกียจ และบางครั้งจะเครียดจนใครๆ ไม่กล้าเข้าใกล้
    ควรหาเวลาพักผ่อน ฝึกสมาธิ หรือโยคะ
     
  15. Primarry

    Primarry เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    47
    ค่าพลัง:
    +233
    4. สีเขียว : รักษาโรค
    คุณเป็นคนรักสงบ ละเอียดอ่อน ชอบช่วยเหลือผู้อื่น จิตใจดี มีพลังจิต ไว้วางใจได้ คุณอาจมีลักษณะภายนอกหงิมๆ หรือเรียบง่าย แต่ส่วนลึกแล้วดื้อน่าดู คุณเป็นพวกสู้งาน หนักเอาเบาสู้ มีความสามารถในการใช้มือ เป็นสีแห่งความสมดุลและปรับตัว
    ข้อเสีย ดื้นรั้น ไม่รับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น

    ได้สีเขียวครับ 555 ขอบคุณนะครับ ^.^
     
  16. เทวดาขงเบ้ง

    เทวดาขงเบ้ง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 พฤษภาคม 2007
    โพสต์:
    361
    ค่าพลัง:
    +604
    ของผม 6. สีคราม : มีความรับผิดชอบสูง
    คุณชอบงานด้านสังคมสงเคราะห์ ช่วยเหลือผู้อื่น ชอบรับผิดชอบงาน จิตใจโอบอ้อมอารี เป็นที่พึ่งของผู้อื่นได้ ไม่เห็นแก่ตัว เป็นสีของพลังจิต สัมผัสที่ 6 โทรจิตต่างๆ มีความคิดฉลาดล้ำลึกและสร้างสรรค์ นิยมความเป็นหนึ่งเดียวกับธรรมชาติ มีความจริงใจ ชอบค้นหาสัจจะความจริงของชีวิต
    ข้อเสีย ปฏิเสธใครไม่เป็น ควรหาเวลาเป็นตัวของตัวเองบ้าง มีมาตรฐานการทำงานสูง จึงมักหงุดหงิดกับอะไรๆ ที่ไม่ได้ตามมาตรฐานของตนเอง


    ตรงแฮะ โดยเฉพาะข้อเสียเนี่ยตรงสุดๆ
     
  17. kvon

    kvon สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 กรกฎาคม 2007
    โพสต์:
    2
    ค่าพลัง:
    +9
    5. สีน้ำเงิน : เป็นได้ทุกอย่าง
    คุณเป็นพวกมองโลกในแง่ดี แม้ชีวิตจะลุ่มๆ ดอนๆ ไปบ้างแต่ยังยิ้มสู้เสมอ เชื่อมั่นในตนเอง ซื่อตรง พยายามยืนหยัดด้วยตัวเอง แสงออร่าของคุณจึงกว้างและสว่างไสวเสมอ ทำให้กระชุ่มกระชวยดูอ่อนกว่าวัย
    คุณมีความจริงใจ ซื่อสัตย์ ปากกับใจตรงกัน รักการผจญภัย มีความคิดสร้างสรรค์และมีจินตนาการ ชอบพบปะผู้คน และสนใจการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรม มีพรสวรรค์หลายๆ ด้าน
    ข้อเสีย ชอบทำงานหลายๆ อย่างในคราวเดียวกัน จึงกลายเป็นคนจับจด ทำอะไรไม่สำเร็จสักอย่างนอกจากนั้นยังเป็นพวกชีพจรลงเท้า และขาดความอดทนอีกด้วย



    (deejai) แม่นมากค่ะ ขอบคุณสำหรับข้อมูลนะค้ะ
     
  18. kvon

    kvon สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 กรกฎาคม 2007
    โพสต์:
    2
    ค่าพลัง:
    +9
    5. สีน้ำเงิน : เป็นได้ทุกอย่าง
    คุณเป็นพวกมองโลกในแง่ดี แม้ชีวิตจะลุ่มๆ ดอนๆ ไปบ้างแต่ยังยิ้มสู้เสมอ เชื่อมั่นในตนเอง ซื่อตรง พยายามยืนหยัดด้วยตัวเอง แสงออร่าของคุณจึงกว้างและสว่างไสวเสมอ ทำให้กระชุ่มกระชวยดูอ่อนกว่าวัย
    คุณมีความจริงใจ ซื่อสัตย์ ปากกับใจตรงกัน รักการผจญภัย มีความคิดสร้างสรรค์และมีจินตนาการ ชอบพบปะผู้คน และสนใจการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรม มีพรสวรรค์หลายๆ ด้าน
    ข้อเสีย ชอบทำงานหลายๆ อย่างในคราวเดียวกัน จึงกลายเป็นคนจับจด ทำอะไรไม่สำเร็จสักอย่างนอกจากนั้นยังเป็นพวกชีพจรลงเท้า และขาดความอดทนอีกด้วย

    แม่นมากค่ะ ขอบคุณสำหรับข้อมูลนะค้ะ
     
  19. สังขารไม่เที่ยง

    สังขารไม่เที่ยง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 สิงหาคม 2007
    โพสต์:
    5,943
    ค่าพลัง:
    +24,697
    ได้ข้อ 7 สีม่วงค่ะ ชอบปวดท้องจริงๆด้วยค่ะ
     
  20. kikinlala

    kikinlala เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 พฤศจิกายน 2005
    โพสต์:
    4,939
    ค่าพลัง:
    +8,843
    ได้สีแดง (เอ๊ะ ..คิดผิดรึเปล่า)
    เดี๋ยวค่อยมาคิดใหม่
     

แชร์หน้านี้

Loading...