อารมณ์อัพยากฤตนั้น ไม่มีปรุงแต่ง จึงไม่มีอุปาทาน พ้นทุกข์ได้ก็ด้วยอารมณ์นี้

ในห้อง 'หลวงพ่อฤๅษีลิงดำ' ตั้งกระทู้โดย คนหลงเงา, 9 ธันวาคม 2011.

  1. คนหลงเงา

    คนหลงเงา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มีนาคม 2010
    โพสต์:
    71
    ค่าพลัง:
    +541
    อารมณ์อัพยากฤตนั้น ไม่มีปรุงแต่ง จึงไม่มีอุปาทาน พ้นทุกข์ได้ก็ด้วยอารมณ์นี้
    <O:p</O:p
    โดยปกติของผู้ที่มีศีลทรงตัวแล้ว พระท่านย่อมคุมจิตของผู้นั้นอยู่
    <O:p</O:p
    คนมักสอบตกเมื่อได้ฌานที่ ๓
    <O:p</O:p
    ธรรมะมีแต่ปัจจุบันรักษาอารมณ์ปัจจุบันให้ดีๆ สุข-ทุกข์พ้นได้ที่ตรงนี้
    <O:p</O:p
    บารมี ๑๐ เต็ม ก็ตัดสังโยชน์ ๑๐ ลงได้เด็ดขาด
    <O:p</O:p
    อานาปาเป็นฐานใหญ่ในการทำจิตให้สงบเป็นสุข และระงับเวทนาของกายได้ พระพุทธเจ้าทุก ๆ พระองค์ พระอรหันต์ทุกองค์ ท่านก็ไม่ทิ้งอานาปา
    <O:p</O:p
    มรณานุสสติจึงเป็นกรรมฐานที่ใช้ตัดกิเลสได้ฉับพลันทันใด<O:p</O:p
    <O:p</O:p
    พระพุทธเจ้าองค์ปฐม<O:p</O:p
    ..............................<O:p</O:p
    ธรรมนำไปสู่ความหลุดพ้น เล่ม ๑๖ เดือนกันยายน ๒๕๔๖<O:p</O:p
    รวบรวมโดย พล.ต.ท. นพ. สมศักดิ์ สืบสงวน<O:p</O:p
    ...............................<O:p</O:p

    ธรรมนำไปสู่ความหลุดพ้น เล่ม ๑๖ เดือนกันยายน ๒๕๔๖<O:p</O:p

    <O:p</O:p

    สมเด็จองค์ปฐมทรงตรัสสอนไว้ มีความสำคัญดังนี้
    <O:p</O:p
    ๑. ให้ยอมรับสัทธรรม คนเกิดมามีร่างกายแล้วไม่มีทุกข์ไม่มี ทุกคนเกิดมาก็ต้องแก่-ต้องป่วย-ต้องตายไปในที่สุด มองให้เห็นเป็นธรรมดา ทำใจให้สบาย แม้ร่างกายจักเหน็ดเหนื่อยก็จงทำใจให้สบาย ให้รู้ว่าการมีร่างกายก็ต้องทุกข์ เพราะการเหน็ดเหนื่อยในการทำงานอย่างนี้
    <O:p</O:p
    ๒. คนมักสอบตกเมื่อได้ฌานที่ ๓ ฌานเกิดจากอานาปานัสสติเมื่อเจริญฌานได้ตามลำดับ จากปฐมฌาน-ทุติยฌาน คำภาวนาหายไปพอเข้าฌานที่ ๓ จิตกับกายแยกออกจากกันมากขึ้น ตัวก็จะแข็ง-เกร็ง เคลื่อนไหวไม่ได้ แม้จิตจะพยายามให้กายเคลื่อนไหว มันก็ไม่ยอมรับคำสั่งของจิต พวกวิตกจริต-โมหะจริตสูง มีความกลัวตายมากพอขยับตัวไม่ได้-ตัวแข็งทื่อก็พยายามดิ้นรนจนจิตหลุดจากฌาน สอบตกกันตรงจุดนี้แหละ ผู้ฉลาดเขาไม่กลัวตาย เพราะรู้ว่าเขาคือจิตเป็นอมตะไม่เคยตาย ผู้ตายคือร่างกายจิตเขาสนใจแต่การทำจิตให้เป็นสุข ไม่สนใจเรื่องของกาย มันจะเป็นอย่างไรก็ช่างมัน จิตก็ผ่านเข้าสู่ฌาน ๔ ได้ จิตสงบเป็นสุข ฌาน ๔ นี้ มี ๓ ระดับ หยาบ-กลาง-ละเอียด ปฏิบัติถึงแล้วก็จะรู้ได้ด้วยตนเองเฉพาะตน
    <O:p</O:p
    ๓. จงอย่าสงสัย หรือลังเลกับสิ่งที่รู้ได้โดยไม่ต้องกำหนดจิตทรงให้เชื่ออารมณ์แรกที่จิตสัมผัสรู้โดยมิได้ตั้งใจไว้ก่อน หากไปปรุงแต่งธรรมเข้าอุปาทานก็กินจิต เสียท่ากิเลสทุกครั้งที่ปรุงแต่งธรรม ความกังวล-สงสัย ถ้าไม่ตัด กรรมฐานไม่มีผล เพราะโดยปกติของผู้ที่มีศีลทรงตัวแล้ว พระท่านย่อมคุมจิตของผู้นั้นอยู่จงอย่าลืมว่าอารมณ์อัพยากฤตนั้น ไม่มีปรุงแต่ง จึงไม่มีอุปาทาน พ้นทุกข์ได้ก็ด้วยอารมณ์นี้
    <O:p</O:p
    ๔. รักษากำลังใจให้ดี เรื่องอะไรเกิดขึ้นก็ให้ลงธรรมดาเสียให้หมด ธรรมะมีแต่ปัจจุบันรักษาอารมณ์ปัจจุบันให้ดีๆ สุข-ทุกข์พ้นได้ที่ตรงนี้เพราะหากอยู่ในปัจจุบัน อดีต-อนาคตก็เกิดไม่ได้แล้วตัวปัจจุบันอยู่ที่ไหน คำตอบก็คืออยู่ที่การกำหนดรู้ลมหายใจเข้าและออก หรืออานาปานัสสตินั่นเองดังนั้นอยากรักษากำลังใจให้ดี ก็ต้องอยู่ในอานาปานัสสติ
    <O:p</O:p
    ๕. สติที่ไม่ดีขาดความแจ่มใส ก็เพราะขาดอานาปานัสสติ การรักษากำลังใจตั้งมั่น จึงต้องพยายามกำหนดรู้ลมหายใจเข้า-ออกให้มากๆ สติจักได้ดี และแจ่มใส จักเป็นพระอริยเจ้าระดับไหนก็ตาม เขาไม่ทิ้งลมหายใจเข้าออกกัน
    <O:p</O:p
    ๖. พุทโธเข้าไว้ปลอดภัยทุกอย่าง จงทำใจให้สบาย ใครเขาจักเล่นคุณไสยอย่างไร ก็เรื่องของเขา จงทำใจเป็นผู้ไม่รับในสิ่งที่เขาให้ กรรมเหล่านี้ก็จักตกกับเขาเอง พุทโธเข้าไว้ปลอดภัยทุกอย่าง จงอาศัยอำนาจพุทธคุณ-ธัมมคุณ-สังฆคุณ รักษาตนให้พ้นภัยจากพาลทั้งปวงจงอย่าจำ-จงอย่างระลึก หรือไปนึกถึงเขาเหล่านั้น อย่าไปคิดว่าเขาเป็นอย่างไร-เขาทำอย่างไรให้คิดแต่เพียงว่าทุกอย่างอนัตตาไปหมด ไม่มีอะไรเหลือลบล้างสัญญาตอนนี้ไปให้หมดแล้วจิตจักสบาย กรรมทุกอย่างก็จักไปตกแก่ผู้กระทำเอง ให้ใช้คาถาของสมเด็จองค์ปฐม ที่ว่า "พุทโธ-ธัมโม-สังโฆ อัปมาโณ ปัด-ตัด ทุกขัง อนิจจัง อนัตตา" แล้วภาวนาอนันตาๆ ไปก็ได้
    <O:p</O:p
    ๗. ท่านพระสมปองสร้างพระยันสงคราม ท่านสร้างพระพุทธเจ้า ๕ พระองค์ คือพระพุทธกกุสันโธ-พระพุทธโกนาคม-พระพุทธกัสสป-พระพุทธสมณโคดมณ์ และสมเด็จองค์ปฐม(สมเด็จพระพุทธสิกขีทศพล) แล้วนำไปประดิษฐานไว้ตามภาคต่างๆ เพื่อยันสงคราม
    <O:p</O:p
    ๘. จงอย่ากังวลเรื่องรายรับ-รายจ่ายของการหล่อพระ ทุกอย่างตถาคตจักช่วยให้งานราบรื่นเป็นไปด้วยดี จงอย่ากังวลอันใดทั้งหมด อธิษฐานจิตให้ดีๆ แล้วทุกอย่างก็จักดีเอง
    <O:p</O:p
    ๙.พระวิสุทธิเทพองค์หลังที่จักประดิษฐานอยู่ตึกอำนวยการนั้น ก็มีอานุภาพยันสงคราม ทำให้วัดท่าซุงปลอดภัยจากสงครามเช่นกัน และถ้าอธิษฐานให้ดีๆ ก็จะทำให้สถานการณ์ในวัดท่าซุงดีขึ้นได้ รวมทั้งสามารถพิชิตมาร คือพวกทำคุณไสยเล่นอวิชชามนต์ดำได้เช่นกัน
    <O:p</O:p
    ๑๐. จิตคือตัวเรา จึงควรรักษาจิตให้มาก ทำใจให้สบาย จงอย่าไปคิดอะไรให้มากไปกว่าการทำจิตให้สบาย ร่างกายนี้อยู่ไม่นาน แต่จิตนั้นอยู่อีกนานแม้จักไปอยู่ดินแดนที่พ้นทุกข์ก็จิตนั่นแหละเป็นผู้อยู่ ดังนั้นพึงรักษาจิตให้มาก คำนึงถึงการรักษาจิตให้มากด้วย
    <O:p</O:p
    ๑๑. จงทำปัจจุบันให้เป็นสุข ทำใจให้ดี จงอย่ากังวลกับสิ่งใดๆ ทั้งปวง ไม่ว่าเรื่องงานส่วนตัว-เรื่องงานของวัด ทุกอย่างย่อมเป็นไปตามกฎของกรรม ทำเท่าที่จักทำได้ จงอย่ากังวลกับการงานที่ยังไม่ได้ทำจับตามองดูจิตของตนเอง จงอย่าให้มีความดิ้นรนไปด้วยกระแสของความหวั่นไหวทั้งปวง
    <O:p</O:p
    ๑๒. หากจิตไม่สงบ ปัญญาก็ไม่เกิด ทำใจให้สบาย ทำอะไรอย่ารีบร้อน จิตที่สงบย่อมมีปัญญาพิจารณาในธรรม ได้ดีกว่าจิตที่เร่าร้อนเร่งรีบ พยายามให้เยือกเย็นเข้าไว้ จิตจักได้มีความสุข ให้พยายามปล่อยวางจริยาของผู้อื่นด้วย
    <O:p</O:p
    ๑๓. ทำใจให้ดีเสียอย่างเดียว ทุกอย่างดีหมดไม่มีอะไรเป็นโทษถ้าใจดีเสียแล้ว ภาระของร่างกายก็มีอยู่ ทำตามปกติแต่ให้มุ่งทำภาระของจิตใจให้มาก เพราะเป็นเรื่องใหญ่ของผู้ต้องการไปพระนิพพานทุกคน
    <O:p</O:p
    ๑๔. โลกไม่เที่ยง-เป็นทุกข์-เป็นอนัตตา ทุกอย่างย่อมมีการเปลี่ยนแปลงไปตามสภาพ ตามวาระของกฎของกรรม จงอย่าคิดว่าจักมีอะไรในโลกนี้ที่เที่ยงแท้แน่นอน จงเห็นความผันผวนปรวนแปรของปกติโลก มีแต่จิตของตนเท่านั้น ถ้าฝึกปรือให้เป็นโลกุตรแล้ว นั่นแหละจึงเป็นของเที่ยง พยายามไปให้ถึงที่สุดของทุกข์ ฝึกฝนจนจิตสำรอกกาม ไม่ว่าจักเป็นกามตัณหา-ภวตัณหา-วิภวตัณหา ความปรารถนาใดๆ ไม่มีอยู่ในจิตแล้ว มีแต่ความสงบ คงที่แน่นอนไม่เปลี่ยนแปลงเห็นทุกสิ่งทุกอย่างเป็นของธรรมดา จิตไม่ติดอยู่ในธรรมดานั้นๆ ความผ่องใสเบาใจก็จักเกิด เมื่อเกิดแล้วจักต้องใช้ปัญญาพิจารณา ใช้ปัญญาประคองความผ่องใสเบาใจนั้น ให้มีอยู่ในจิตอย่างต่อเนื่องไปด้วย ไม่เสื่อมคลาย
    <O:p</O:p
    ๑๕. กำลังใจเท่านั้นเป็นสิ่งสำคัญที่สุดในการปฏิบัติธรรม ความดีหรือความชั่ว จักปรากฎได้ก็เพราะกำลังใจ ให้มุ่งจุดนี้เป็นสำคัญ บารมี ๑๐ จึงทิ้งไม่ได้ ต้องหมั่นทบทวนอยู่เสมอเพราะถ้าทานบารมีเต็ม ตัดโลภได้ ศีลบารมีเต็มตัดโกรธเนกขัมมะเต็ม ตัดกามารมณ์ได้ปัญญาเต็มตัดกิเลสได้ขาดวิริยะเต็ม ก็หมดขี้เกียจขันติเต็ม ก็ทนต่อความชั่วเข้ามากระทบได้สัจจะเต็ม ก็ตัดความโลเลในการปฏิบัติธรรมได้ อธิษฐานเต็ม ก็ทำทุกอย่างเพื่อพระนิพพานจุดเดียวเมตตาเต็ม ก็พ้นภัยตนเอง คือภัยจากอารมณ์จิตตนเอง ทำร้ายจิตตนเองอุเบกขาเต็ม ก็ตัดทุกข์ที่เกิดแก่กาย อะไรเกิดกับกาย ก็เป็นเรื่องของกาย และจิตได้มีอารมณ์วางเฉยได้ (สังขารุเบกขาญาณ)ดังนั้นหากบารมี ๑๐ เต็ม ก็ตัดสังโยชน์ ๑๐ ลงได้เด็ดขาด
    <O:p</O:p
    ๑๖. สังขารเป็นของไม่เที่ยง จงอย่าไปติดใจกับสังขารเพราะถ้าคิดว่าเที่ยง จิตก็ทุกข์อยู่ เพราะความกังวลนั้นพิจารณาตามความเป็นจริงให้เห็นความจริง แล้วความสุขใจก็จักบังเกิดเบาใจได้เลยในการเห็นธรรมดานั้นๆจิตผู้ฉลาดจะไม่ไหวไปกับอายตนะสัมผัสนั้นๆ อยู่ในอารมณ์สักแต่ว่า ไม่ปรุงแต่ง-ไม่เกาะติด เห็นสิ่งเหล่านั้นว่าไม่เที่ยง ยึดเข้าไปก็ทุกข์ทำใจให้สบายอย่าไปหนักใจกับอนาคตที่ยังมาไม่ถึง อะไรจักเกิดมันก็ต้องเกิด ให้ถือเป็นเรื่องธรรมดา
    <O:p</O:p
    ๑๗. ให้ยอมรับกฎของกรรม จงอย่าวุ่นวาย มองทุกอย่างให้เห็นตามความเป็นจริง ทั้งหมดเป็นเรื่องธรรมดา คนดีหรือไม่ดีธรรมดาของเขาเป็นอย่างนั้นเป็นปกติ จิตเราไปวุ่นวายกับเขาก็เป็นอันว่าเราเป็นผู้ไม่ยอมรับนับถือกฎของธรรมดา ให้ทำใจเสียใหม่ ถ้าหากทำใจได้ อารมณ์ก็จักแจ่มใส เบาใจได้ตลอดเวลา อารมณ์สักแต่ว่ารู้ เห็นสักแต่ว่าเห็น ต้องนำไปปฏิบัติให้ได้จริงจังและให้กำหนดรู้อารมณ์นี้เสมอ จักเป็นที่ตั้งแห่งความสันโดษ ยังจิตให้สงบเป็นสุขอย่างแท้จริง
    <O:p</O:p
    ๑๘. หากเลิกกลัวตายได้แม้เพียงชั่วคราว กิเลสทุกตัวก็ถูกระงับได้ทันที คนที่ยังกลัวตายอยู่ ก็เพราะหลงคิดว่าขันธ์ ๕ หรือร่างกายเป็นเรา-เป็นของเรา ยังมีอุปาทานขันธ์ ๕ อยู่เต็มจิต บาลีว่าสักกายทิฏฐิเราคือจิตซึ่งเป็นอมตะไม่เคยตาย มาอาศัยกายอยู่ชั่วคราว จัดว่าเป็นหลงตัวจริงจึงเกาะเปลือกตนเอง เกาะผู้อื่น เกาะญาติ เกาะเพื่อน แม้แต่วัตถุธาตุต่างๆ ว่าเป็นเรา เป็นของเรา
    <O:p</O:p
    ๑๙. อานาปาเป็นฐานใหญ่ในการทำจิตให้สงบเป็นสุข และระงับเวทนาของกายได้ พระพุทธเจ้าทุก ๆ พระองค์ พระอรหันต์ทุกองค์ ท่านก็ไม่ทิ้งอานาปา เมื่อยังมีชีวิตอยู่จงอย่าทิ้งอานาปา อย่าทิ้งรูปฌานและอรูปฌานแต่ไม่หลงติดอยู่ อาศัยเพียงแค่ใช้ระงับเวทนาของกาย และใช้เป็นกำลังช่วยให้จิตพิจารณาตัดกิเลสให้หมดไป เพื่อเข้าสู่พระนิพพานเท่านั้นหมดกายแล้วก็หมดความจำเป็นต้องใช้
    <O:p</O:p
    ๒๐. ให้หมั่นถามจิตบ่อยๆ ว่า หากกายตายแล้วจักไปไหน เพราะมรณานุสสติเป็นนิพพานสมบัติ ใครนึกถึงความตายบ่อยเท่าไหร่ ความประมาทก็น้อยลงเพียงนั้น ในบางครั้งจิตมันดื้อ ก็ให้ถามมันว่าหากกายตายขณะนี้ เจ้าจะไปไหน คนฉลาดรู้ทุกคนว่า หากตายในอารมณ์โกรธ จะลงนรกขุมใดขุมหนึ่ง หากตายในอารมณ์โลภ จะเป็นเปรตประเภทใดประเภทหนึ่ง และหากตายในอารมณ์หลงจะเป็นสัตว์เดรัจฉาน มรณานุสสติจึงเป็นกรรมฐานที่ใช้ตัดกิเลสได้ฉับพลันทันใด ถามบ่อยๆ จิตจักคลาย ปล่อยวางปัญหาทางโลกไปได้ตามลำดับ <O:p</O:p
    <O:p</O:p

    รวบรวมโดย พล.ต.ท. นพ. สมศักดิ์ สืบสงวน<O:p</O:p
    .............................<O:p</O:p
    ที่มาของข้อมูล<O:p</O:p
    ธรรมนำไปสู่ความหลุดพ้น เล่ม ๑๖ เดือนกันยายน ๒๕๔๖<O:p</O:p
    หนังสือ ธรรมนำไปสู่ความหลุดพ้น ทุกเล่ม<O:p</O:p
    หาข้อมูลศึกษาได้จาก.......<O:p</O:p
    http://www.tangnipparn.com/page_book_all.html<O:p</O:p
    ต้องขอโมทนาทุกท่านที่ช่วยเผยแพร่ผลงานของพระพุทธเจ้าหรือหลวงพ่อหรือพระอริยเจ้าทั้งหลายในทุกรูปแบบทั้งทางหนังสือและอินเตอร์เน็ต<O:p</O:p
    ขอความเจริญในธรรมจงมีแด่ทุกๆท่านครับ<O:p</O:p
    …………………………………
    <O:p
    </O:p</O:p
     
  2. Chang_oncb

    Chang_oncb ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 สิงหาคม 2011
    โพสต์:
    12,276
    ค่าพลัง:
    +80,027
  3. furasaka

    furasaka สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 ธันวาคม 2011
    โพสต์:
    12
    ค่าพลัง:
    +9
    อนุโมทนาสาธุค่ะ...มีข่าวสารอะไรดีๆแ้จ้งให้พวกเราทราบด้วยนะคะ :)
     
  4. deelek

    deelek เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 มิถุนายน 2009
    โพสต์:
    6,696
    ค่าพลัง:
    +16,254
    อนุโมทนา สาธุ ๆ
    กับการให้ธรรมะเป็นธรรมทานด้วยครับ
    นิพพานัง ปัจจโย โหตุ
     
  5. Noppadolt

    Noppadolt สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กันยายน 2010
    โพสต์:
    6
    ค่าพลัง:
    +14
    สาธุๆ อนุโมทนาครับ และขออนุญาติกอบปี้ เอาไปเก็บไว้อ่านนะครับ
     
  6. nikorn

    nikorn Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 ตุลาคม 2005
    โพสต์:
    45
    ค่าพลัง:
    +65
    มหาอนุโมทนาสาธุนะครับ บุญกุศลทั้งหลายที่ท่านได้ทำมาตั้งแต่อดีตชาติจนถึงปัจจุบันชาติท่านได้บุญนั้นเพียงใด ข้าพเจ้าขอมหาโมทนาบุญกับท่านทั้งหลายด้วยเทอญ สาธุ
     
  7. ชนะ สิริไพโรจน์

    ชนะ สิริไพโรจน์ ทีมผูัดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    5,891
    กระทู้เรื่องเด่น:
    14
    ค่าพลัง:
    +35,260
    สาธุ ขออนุโมทนาเป็นอย่างสูงครับ
    เชิญแวะอ่านธรรมะของหลวงพ่อฤาษีฯ วัดท่าซุง ที่
    เฟสบุ๊ค ศูนย์พุทธศรัทธา
    และร่วมกันแบ่งปันธรรมะของหลวงพ่อฯ ไปยังกระดานของท่านเพื่อเป็นธรรมทาน

    เว็บทางนิพพาน เว็บไซด์ เผยแพร่ ธรรมที่นำไปสู่ความหลุดพ้น
    ที่รวบรวมโดย พล.ต.ท.นพ.สมศักดิ์ สืบสงวน
    ขอเชิญทุกท่านเข้าไปอ่านได้ที่www.tangnipparn.com
    ขอเชิญแวะเยี่ยมชมและโมทนาบุญเว็บศูนย์พุทธศรัทธา
     
  8. pjjit

    pjjit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 ธันวาคม 2012
    โพสต์:
    34
    ค่าพลัง:
    +125
    ขอบพระคุณมากครับ
     
  9. ศิษย์พุทโธ

    ศิษย์พุทโธ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2011
    โพสต์:
    1,061
    ค่าพลัง:
    +1,901
    ขออนุโมทนา..สาธุทั้งหมดทั้งมวลครับ :cool:
     
  10. yo09()

    yo09() เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 ธันวาคม 2012
    โพสต์:
    296
    ค่าพลัง:
    +4,897
    ขออนุโมทนาในบุญกุศลของผู้ทรงความดี ในโลกและในสากลจักรวาล
    ทุกๆท่าน ทุกๆตนด้วยครับ


    เกิด แก่ เจ็บ ตายเป็นทุกข์
    ยืน เดิน นั่ง นอนเป็นทุกข์ยิ่ง
    เกิดอีกก็ทุกข์อีกไม่จบไม่สิ้น

    " นิพพานชาตินี้กันเถอะ "
     
  11. วิษณุ12

    วิษณุ12 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    5,337
    ค่าพลัง:
    +6,846
    เนื้อแท้อันตรธาน



    มหาวรรคที่ ๗
    ๑. อัสสุตวตาสูตรที่ ๑
    [๒๓๐] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้-
    สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของท่าน
    อนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคตรัสเรียก
    ภิกษุทั้งหลายว่า ... ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปุถุชนผู้มิได้สดับ จะพึงเบื่อหน่ายบ้าง
    คลายกำหนัดบ้าง หลุดพ้นบ้าง ในร่างกายอันเป็นที่ประชุมแห่งมหาภูตทั้ง ๔ นี้ ข้อ
    นั้นเพราะเหตุไร เพราะเหตุว่า ความเจริญก็ดี ความเสื่อมก็ดี การเกิดก็ดี การตาย
    ก็ดี ของร่างกายอันเป็นที่ประชุมแห่งมหาภูตทั้ง ๔ นี้ ย่อมปรากฏ ปุถุชนผู้มิได้สดับ
    จึงเบื่อหน่ายบ้าง คลายกำหนัดบ้าง หลุดพ้นบ้าง ในร่างกายนั้น แต่ตถาคตเรียก
    ร่างกายอันเป็นที่ประชุมแห่งมหาภูตทั้ง ๔ นี้ว่า จิตบ้าง มโนบ้าง วิญญาณบ้าง
    ปุถุชนผู้มิได้สดับ ไม่อาจเบื่อหน่าย คลายกำหนัด หลุดพ้นในจิต เป็นต้นนั้นได้
    เลย ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะว่าจิตเป็นต้นนี้ อันปุถุชนมิได้สดับ รวบรัดถือ
    ไว้ด้วยตัณหา ยึดถือด้วยทิฐิว่า นั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่นเป็นตัวตนของเรา
    ดังนี้ ตลอดกาลช้านานฉะนั้น ปุถุชนผู้มิได้สดับ จึงไม่อาจจะเบื่อหน่าย คลาย
    กำหนัด หลุดพ้นในจิตเป็นต้นนั้นได้เลย ฯ
    [๒๓๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปุถุชนผู้มิได้สดับ จะพึงเข้าไปยึดถือเอา
    ร่างกายอันเป็นที่ประชุมแห่งมหาภูต ๔ นี้ โดยความเป็นตน ยังชอบกว่า แต่จะ
    เข้าไปยึดถือเอาจิตโดยความเป็นตนหาชอบไม่ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะร่างกาย
    อันเป็นที่ประชุมแห่งมหาภูตทั้ง ๔ นี้ เมื่อดำรงอยู่ ปีหนึ่งบ้าง สองปีบ้าง สามปี
    บ้าง สี่ปีบ้าง ห้าปีบ้าง สิบปีบ้าง ยี่สิบปีบ้าง สามสิบปีบ้าง สี่สิบปีบ้าง ห้าสิบปี
    บ้าง ร้อยปีบ้าง ยิ่งกว่าร้อยปีบ้าง ย่อมปรากฏ แต่ว่าตถาคตเรียกร่างกายอันเป็น
    ที่ประชุมแห่งมหาภูตทั้ง ๔ นี้ว่า จิตบ้าง มโนบ้าง วิญญาณบ้าง จิตเป็นต้นนั้น
    ดวงหนึ่งเกิดขึ้น ดวงหนึ่งดับไป ในกลางคืนและกลางวัน ฯ
    [๒๓๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย วานรเมื่อเที่ยวไปในป่าใหญ่จับกิ่งไม้ ปล่อย
    กิ่งนั้น ยึดเอากิ่งอื่น ปล่อยกิ่งที่ยึดเดิม เหนี่ยวกิ่งใหม่ต่อไป แม้ฉันใด ร่างกาย
    อันเป็นที่ประชุมแห่งมหาภูตทั้ง ๔ นี้ ที่ตถาคตเรียกว่า จิตบ้าง มโนบ้าง วิญญาณ
    บ้าง จิตเป็นต้นนั้นดวงหนึ่งเกิดขึ้น ดวงหนึ่งดับไป ในกลางคืนและกลางวัน ก็ฉัน
    นั้นแล ฯ
    [๒๓๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้สดับ ย่อมใส่ใจโดยแยบคาย
    ด้วยดีถึงปฏิจจสมุปบาทธรรม ในร่างกายและจิตที่ตถาคตกล่าวมานั้นว่า เพราะเหตุ
    ดังนี้ เมื่อสิ่งนี้มี สิ่งนี้จึงมี เพราะสิ่งนี้เกิดขึ้น สิ่งนี้จึงเกิดขึ้น เมื่อสิ่งนี้ไม่มี
    สิ่งนี้จึงไม่มี เพราะสิ่งนี้ดับ สิ่งนี้จึงดับ คือ เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย จึงมีสังขาร
    เพราะสังขารเป็นปัจจัย จึงมีวิญญาณ เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย จึงมีนามรูป
    เพราะนามรูปเป็นปัจจัย จึงมีสฬายตนะ เพราะสฬายตนะเป็นปัจจัย จึงมีผัสสะ
    เพราะผัสสะเป็นปัจจัย จึงมีเวทนา เพราะเวทนาเป็นปัจจัย จึงมีตัณหา เพราะ
    ตัณหาเป็นปัจจัย จึงมีอุปาทาน เพราะอุปาทานเป็นปัจจัย จึงมีภพ เพราะภพ
    เป็นปัจจัย จึงมีชาติ เพราะชาติเป็นปัจจัย จึงมีชราและมรณะ โสกปริเทวทุกข-
    *โทมนัสและอุปายาส ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้
    อนึ่ง เพราะอวิชชาดับด้วยสำรอกโดยไม่เหลือ สังขารจึงดับ เพราะสังขารดับ
    วิญญาณจึงดับ ฯลฯ ความดับแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้ ฯ
    [๒๓๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับ มาพิจารณาอยู่อย่างนี้
    ย่อมหน่ายแม้ในรูป ย่อมหน่ายแม้ในเวทนา ย่อมหน่ายแม้ในสัญญา ย่อมหน่าย
    แม้ในสังขารทั้งหลาย ย่อมหน่ายแม้ในวิญญาณ เมื่อหน่าย ย่อมคลายกำหนัด
    เพราะคลายกำหนัดจึงหลุดพ้น เมื่อหลุดพ้นแล้ว ก็เกิดญาณหยั่งรู้ว่าหลุดพ้นแล้ว
    ย่อมทราบชัดว่าชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำ ทำเสร็จแล้ว
    กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี ดังนี้แล ฯ
    จบสูตรที่ ๑

    http://www.84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=16&A=2519&Z=2566




    เนื้อแท้อันตรธาน

    --------------------------------------------------------------------------------


    ๗. อาณิสูตร
    .
    [๖๗๒] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของท่าน อนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี ...

    พระผู้มีพระภาคได้ตรัสว่า ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย เรื่องเคยมีมาแล้ว ตะโพนชื่ออานกะของพวกกษัตริย์ผู้มีพระนามว่า ทสารหะได้มีแล้ว เมื่อตะโพนแตก พวกทสารหะได้ตอกลิ่มอื่นลงไป

    สมัยต่อมา โครงเก่าของตะโพนชื่ออานกะก็หายไป ยังเหลือแต่โครงลิ่ม แม้ฉันใด ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย พวกภิกษุในอนาคตกาล เมื่อเขากล่าวพระสูตรที่ตถาคตกล่าวแล้ว อันลึก มีอรรถอันลึก เป็นโลกุตตระ ประกอบด้วยสุญญตธรรม อยู่ จักไม่ปรารถนาฟัง จักไม่เข้าไปตั้งจิตเพื่อรู้ และจักไม่สำคัญธรรมเหล่านั้น ว่าควรเล่าเรียน ควรศึกษา

    แต่ว่าเมื่อเขากล่าวพระสูตรอันนักปราชญ์รจนาไว้ อันนักปราชญ์ร้อยกรองไว้ มี อักษรอันวิจิตร มีพยัญชนะอันวิจิตร เป็นของภายนอก เป็นสาวกภาษิต อยู่ จัก ปรารถนาฟังด้วยดี จักเงี่ยโสตลงสดับ จักเข้าไปตั้งไว้ซึ่งจิตเพื่อรู้ และจักสำคัญ ธรรมเหล่านั้น ว่าควรเรียน ควรศึกษา ฯ

    [๖๗๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย พระสูตรเหล่านั้น ที่ตถาคตกล่าวแล้ว อันลึก มีอรรถอันลึก เป็นโลกุตตระ ประกอบด้วยสุญญตธรรม จักอันตรธาน ฉันนั้นเหมือนกัน

    เพราะเหตุดังนี้นั้น เธอทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้ว่า เมื่อเขา กล่าวพระสูตรที่ตถาคตกล่าวแล้ว อันลึก มีอรรถอันลึก เป็นโลกุตตระ ประกอบ ด้วยสุญญตธรรม อยู่ พวกเราจักฟังด้วยดี จักเงี่ยโสตลงสดับ จักเข้าไปตั้งไว้ซึ่ง จิตเพื่อรู้ และจักสำคัญธรรมเหล่านั้นว่า ควรเรียน ควรศึกษา ดังนี้ ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย เธอทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้แหละ ฯ



    จบสูตรที่ ๗

    http://palungjit.org/threads/เนื้อแท้อันตรธาน.281271/
     
  12. chuchart_11

    chuchart_11 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 ตุลาคม 2011
    โพสต์:
    764
    ค่าพลัง:
    +2,932
    ขออนุโมทนาสาธุ ธรรมใดที่ท่านสำเร็จแล้ว ขอข้าพเจ้าสำเร็จด้วยเทอญ สาธุๆๆ
     
  13. Aunyadham

    Aunyadham ธรรมใด เกิดขึ้นเพราะเหตุใด ย่อมดับที่เหตุนั้นแล

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 เมษายน 2012
    โพสต์:
    441
    ค่าพลัง:
    +627
    จิตเป็นอมตะ จิตที่พ้นแล้ว ยังใช้จิตไปนิพพาน เอาจิตไปสู่แดนนิพพาน ? ตรงนี้องค์พระปฐมกล่าวจริงๆหรอครับ สงสัย.....
     

แชร์หน้านี้

Loading...