รวมเรื่องเล่า+ประสบการณ์;กรรมฐานมัชฌิมาฯตามรอยพระราหุล(ตามแบบแผนของพระพุทธเจ้า)

ในห้อง 'ประสบการณ์ เรื่องเล่า' ตั้งกระทู้โดย mature_na, 25 มีนาคม 2012.

  1. mature_na

    mature_na เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 กรกฎาคม 2005
    โพสต์:
    4,557
    ค่าพลัง:
    +6,760
    ปฏิบัติจิตภาวนา ถวายพระราชกุศลพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
    ที่ คณะ ๕ วัดราชสิทธาราม
    =============================
    -ข้อมูลสำหรับการศึกษาเพิ่มเติม
    Somdechsuk.org | เวทาสากุ
    Weera Sukmetup | Facebook

    http://www.themajjhima.com/
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • 20.jpg
      20.jpg
      ขนาดไฟล์:
      44 KB
      เปิดดู:
      934
  2. mature_na

    mature_na เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 กรกฎาคม 2005
    โพสต์:
    4,557
    ค่าพลัง:
    +6,760
    สวัสดีปีใหม่ปี2556กับสมาชิกทุกท่านครับ
     
  3. mature_na

    mature_na เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 กรกฎาคม 2005
    โพสต์:
    4,557
    ค่าพลัง:
    +6,760
    คำสอนของพระญาณสังวรเถร ( หลวงปู่สุก ไก่เถื่อน )

    พระภิกษุที่เรียนพระกรรมฐาน กับพระญาณสังวรเถร บางรูป บางองค์คนองปาก
    เวลาปฏิบัติธรรมรู้เห็นอะไรมักชอบเอามาพูดมาคุย หรือบางรูปได้ยินได้ฟังอะไร รู้เห็น
    อะไร แล้วนำมาพูดต่อ ซึ่งเป็นผิดจารีตพระกรรมฐาน พระองค์ท่าน ก็จะทรงสอนเพียง
    สั้นๆว่า ปิดหู ปิดตา ปิดปาก คือทรงสอนในเรื่องให้สังวรบางครั้งพระองค์ท่าน ก็ทรง
    ชี้ให้ไปดูที่พระปิดทวาร ซึ่งมีลักษณะ ปิดหู ปิดตา ปิดปาก หรือบางครั้งท่านาเขียนเป็น
    อักษรจีนไว้ สี่คำว่า ปิดหู ปิดตา ปิดปาก
    ครั้นเมื่อพบพระภิกษุ ประพฤติตัวเช่นว่านี้ ท่านก็จะชี้ให้ดู อักษรจีนที่พระองค์
    ท่านเขียนไว้สี่คำ พระบางรูปอ่านอักษรจีนไม่ได้ ถามพระองค์ท่าน ก็ไม่บอก ทรงนิ่ง
    เฉยเสีย ภิกษุรูปนั้นก็ ไปถามพระภิกษุที่รู้ภาษาจีน ภิกษุรูปนั้น ทราบความหมายแล้ว
    แต่นั้นมาก็ สงบ สำรวมขึ้น มากกว่าแต่ก่อน
    เนื่องจากพระญาณสังวร ทรงสามารถอ่าน เขียน ภาษาจีนได้ เพราะพระบิดาซึ่ง
    มีเชื้อจีน ทรงสอนให้เมื่อทรงพระเยาว์

    บางครั้งพระญาณสังวรเถร พระองค์ท่านจะมีคำสอนเพียงสั้นๆ สำหรับสอนพระศึกษา
    พระกรรมฐานอีกอย่าง คือ
    หูฟัง ใจสงบ ตาเป็นทิพย์
    หูฟัง คือ การได้ยินได้ฟังอะไร เป็นเสียงสรรเสริญก็ดี เสียงนินทาก็ดี ให้มีสติควบคุมจิตใจไว้ ไม่ยินดีเมื่อได้ฟังเสียงสรรเสริญ ไม่เสียใจเมื่อได้ยินเสียงนินทาว่าร้ายไม่แสดงอาการออกมา ให้สงบสำรวมระวัง เรียกว่า สังวร เพราะ สังวร เป็น ศีล

    ใจสงบ เมื่อได้ยินได้ฟังแล้วให้คุมสติ ทำใจให้สงบนิ่ง เป็นอุเบกขา ทำจิตให้ปราศจากจากนิวรณ์ และอกุศลธรรมต่างๆ มีจิตตั้งมั่น เรียกว่า สมาธิ

    ตาเป็นทิพย์ ได้แก่ ได้ยินได้ฟัง แล้วมีสติทำใจให้สงบเป็นอุเบกขาแล้วจะเกิดปัญญา แล้วใช้ปัญญาพิจารณาเรื่องราวต่างๆ ให้เห็นด้วยปัญญาของตนเองก่อนแล้ว จึงค่อยตอบปัญหา แก้ปัญหา หูฟัง หมายถึง การฟังด้วยความสำรวมสงบ ใจสงบ การมีสติ ตั้งมั่นเป็นสมาธิ ตาเป็นทิพย์ หมายถึง มีปัญญาพิจารณาให้รอบคอบ

    พระองค์ท่าน ทรงสอนในเรื่องของ การสังวร ตา หู และปาก และศีล สมาธิ
    ปัญญา อันเป็นลักษณะกิริยาอาการ ของพระกรรมฐาน คือให้ทำกิริยา เฉยๆไว้เท่านั้น
    เป็นบุคลิกของ พระกรรมฐาน

    พระประวัติสมเด็จพระสังฆราชญาณสังวร มหาเถรเจ้า (สุกไก่เถื่อน)
    Somdechsuk.org | เวทาสากุ
    หน้าที่ 300 - 301
    ขอบคุณเนื้อหา จาก ครูอาจารย์ที่ คณะ 5 วัดราชสิทธาราม ด้วยครับ
    สมเด็จพระสังฆราชสุก(ไก่เถื่อน)พระกรรมฐานมัชฌิมาแบบลำดับ
    =============================
    -ข้อมูลสำหรับการศึกษาเพิ่มเติม
    Somdechsuk.org | เวทาสากุ
    Weera Sukmetup | Facebook

    http://www.themajjhima.com/
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • 21.JPG
      21.JPG
      ขนาดไฟล์:
      89.1 KB
      เปิดดู:
      1,199
  4. mature_na

    mature_na เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 กรกฎาคม 2005
    โพสต์:
    4,557
    ค่าพลัง:
    +6,760
    เครื่องสักการะพระรัตนตรัย
    เมื่อขึ้นพระกรรมฐาน

    เมื่อจะเรียนพระกรรมฐานนั้น ต้องมอบตัวต่อพระรัตนตรัย คือ พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ และ อาจารย์ ผู้บอกพระกรรมฐาน โดยให้จัดเตรียม ดอกไม้ ๕ กระทง ข้าวตอก ๕ กระทง เทียน ๕ เล่ม ธูป ๕ ดอก ใส่เรียงกันในถาดสี่เหลี่ยมผืนผ้า มาขึ้นในวัน พฤหัสบดี ข้างขึ้น หรือ ข้างแรมก็ได้

    บททำวัตรพระ

    นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทธสฺส
    (ให้ว่า ๓ หน)

    พุทธํ ชีวิตํ ยาวนิพฺพานํ สรณํ คจฺฉามิ ฯ
    อิติปิโส ภควา อรหํ สมฺมาสมฺพุทโธ วิชฺชาจรณสมฺปนฺโน สุคโต โลกวิทู อนุตฺตโร ปุริสะทมฺมสารถิ สตฺถา เทวมนุสสานํ
    พุทโธ ภควาติ ฯ
    เย จ พุทธา อตีตา จ, เย จ พุทธา อนาคตา,
    ปจฺจุปฺปนฺนา จ เย พุทธา, อหํ วนฺทามิ สพฺพทา,
    พุทธานาหสฺมิ ทาโสว, พุทธา เม สามิกิสฺสรา,
    พุทธานญฺ จ สิเร ปาทา, มยฺหํ ติฏฐนฺตุ สพฺพทาฯ
    นตฺถิ เม สรณํ อญฺญํ, พุทโธ เม สรณํ วรํ,
    เอเตน สจฺจ วชฺเชน, โหตุ เม ชยฺมํ คลํ ฯ
    อุตฺตมํเคน วนฺเทหํ, ปาทปงฺสุง วรุตฺตมํ,
    พุทโธ โย ขลิโต โทโส, พุทโธ ขมตุ ตํ มมํ ฯ

    (กราบแล้วหมอบลงว่า)
    ข้าฯจะขอยึดหน่วงเอาซึ่งพระพุทธเจ้า และคุณพระพุทธเจ้า ในอดีต อนาคต ปัจจุบัน จงมาเป็นที่พึ่งแก่ข้าฯ ตราบเท่าเข้าสู่พระนิพพาน และข้าฯจะขอนมัสการกราบไหว้พระพุทธเจ้า อันเป็นอดีต อนาคต ปัจจุบัน สิ้นกาลนานทุกเมื่อ และข้าฯจะขอเป็นข้าแห่งพระพุทธเจ้า ขอพระพุทธเจ้าจงมาเป็นเจ้าเป็นใหญ่แก่ข้าฯ ขอพระบาทบาทาของพระพุทธเจ้า จงมาประดิษฐานอยู่เหนือเศียรเกล้าแห่งข้าฯสิ้นกาลนานทุกเมื่อ สิ่งอันอื่นจะได้เป็นที่พึ่งแก่ข้าฯหามิได้ ถ้าเว้นไว้แต่พระพุทธเจ้าเป็นที่พึ่งแก่ข้าฯเที่ยงแท้นักหนา ข้าฯไหว้ละอองธุลีพระบาท ทั้งพระลายลักษณ์สุริยะฉาย ชัยมงคลทั้งหลายจงมาบังเกิดมีแก่ข้าฯด้วยคำสัจนี้เถิด อนึ่ง โทษอันใดข้าฯได้ประมาทพลาดพลั้งไว้ในพระพุทธเจ้า อันเป็นอดีต อนาคต ปัจจุบัน ขอพระพุทธเจ้าจงมาอดโทษทั้งปวงนั้นให้แก่ข้าฯพระพุทธเจ้านี้เถิด ฯ (คำแปล พระเทพโมลีกลิ่น)
    (กราบ)

    ธมฺมํ ชีวิตํ ยาว นิพฺพานํ สรณํ คจฺฉามิ ฯ
    สวากฺขาโต ภควตา ธมฺโม สนฺทิฏฐิโก อกาลิโก เอหิปสฺสิโก โอปนยิโก ปจฺจตฺตํ เวทิตพฺโพ วิญญู***ติฯ
    เย จ ธมฺมา อตีตา จ, เย จ ธมฺมา อนาคตา,
    ปจฺจุปปนฺนา จ เย ธมฺมา, อหํ วนฺทามิ สพฺพทาฯ
    ธมฺมา นาหสฺสมิ ทาโสว, ธมฺมา เม สามิกิสฺสรา,
    สพฺเพ ธมฺมาปิ ติฏฐนฺตุ, มมํ สิเรว สพฺพทาฯ
    นตฺถิ เม สรณํ อญฺญํ, ธมฺโม เม สรณํ วรํ,
    เอเตน สจฺจ วชฺเชน, โหตุ เม ชยฺมํ คลํ ฯ
    อุตฺตมํ เคน วนฺเทหํ ธมฺมญฺ จ ทุวิธํ วรํ,
    ธมฺเม โย ขลิโต โทโส, ธมฺโม ขมตุ ตํ มมํฯ

    (กราบแล้วหมอบลงว่า)
    ข้าฯจะขอยึดหน่วงเอาซึ่งพระปริยัติธรรมเจ้า และพระนวโลกุตตระธรรมเจ้า และคุณพระธรรมเจ้าในอดีต อนาคต ปัจจุบัน จงมาเป็นที่พึ่งแก่ข้าฯ ตราบเท่าเข้าสู่พระนิพพาน และข้าฯจะขอนมัสการกราบไหว้พระธรรมเจ้าทั้งมวล อันเป็นอดีต อนาคต ปัจจุบันสิ้นกาลทุกเมื่อ แลข้าฯจะขอเป็นข้าฯแห่งพระธรรมเจ้า ขอพระธรรมเจ้าทั้งมวลนั้นจงมาเป็นเจ้าเป็นใหญ่แก่ข้าฯ ข้าฯขออาราธนาพระธรรมเจ้าทั้งมวลนั้น จงมาประดิษฐานอยู่เหนือเศียรเกล้าแห่งข้าฯสิ้นกาลทุกเมื่อ สิ่งอันอื่นจะได้เป็นที่พึ่งแก่ข้าฯหามิได้ ถ้าเว้นไว้แต่พระธรรมเจ้าทั้งมวลนั้นเป็นที่พึ่งแก่ข้าฯเที่ยงแท้นักหนา ชัยมงคลทั้งหลายจงมาบังเกิดมีแก่ข้าฯด้วยคำสัจนี้เถิด ข้าฯขอกราบไหว้พระธรรมเจ้าทั้งสองประการอันประเสริฐ โทษอันใดข้าฯได้ประมาทพลาดพลั้งไว้ในพระธรรมเจ้าทั้งสองประการ ขอพระธรรมเจ้าทั้งสองประการ จงมาอดโทษทั้งปวงนั้นให้แก่ข้าฯพระพุทธเจ้านี้เถิดฯ
    (กราบ)

    สงฺฆํ ชีวิตตํ ยาวนิพฺพานํ สรณํ คจิฉามิ ฯ
    สุปฏิปนฺโน ภควโต สาวกสํโฆ, อุชุปฏิปนฺโน ภควโต สาวกสํโฆ, ญายปฏิปนฺโน ภควโต สาวกสํโฆ, สามีจิปฏิปนฺโน ภควโต สาวกสํโฆ, ยทิทํ จตฺตาริ ปุริสะยุคฺคานิ อฏฺฐะ ปุริสปุคะลา, เอส ภควโต สาวกสํโฆ, อาหุเนยโย ปาหุเนยโย ทกฺขิเนยโย อญฺชลีกรณีโย อนุตฺตรํ ปุญญกฺเขตตํ โลกสฺสาติ
    เย จ สงฺฆา อตีตา จ เย จ สงฺฆา อนาคตา
    ปจฺจุปปนฺนา จ เย สงฺฆา อหํ วนฺทามิ สพฺพทา ฯ
    สงฺฆานาหสฺสมิ ทาโสว สงฺฆา เม สามิกิสฺสรา
    เตสํ คุณาปิ ติฏฐนฺตุ มมํ สิเรว สพฺพทา ฯ
    นตฺถิ เม สรณํ อญฺญํ สงฺโฆ เม สรณํ วรํ
    เอเตน สจฺจวชฺเชน, โหตุ เม ชยฺมงฺคลํฯ
    อุตฺตมํ เคน วนฺเทหํ, สงฺฆญฺ จ ทุวิธุตฺตมํ,
    สงฺเฆ โย ขลิโต โทโส สงฺโฆ ขมตุ ตํ มมํ ฯ

    (หมอบกราบ แล้วว่า)
    ข้าฯขอยึดหน่วงเอาซึ่งพระอริยสงฆ์เจ้า และคุณพระอริยสงฆ์เจ้า ในอดีต อนาคต ปัจจุบัน จงมาเป็นที่พึ่งแก่ข้าฯตราบเท่าเข้าสู่พระนิพพาน และข้าฯจะขอนมัสการกราบไหว้พระอริยสงฆ์เจ้าอันเป็นอดีต อนาคต ปัจจุบัน สิ้นกาลทุกเมื่อ และข้าฯจะขอมอบตัวเป็นข้าฯแห่งพระอริยสงฆ์เจ้า ขอพระอริยสงฆ์เจ้าจงมาเป็นเจ้าเป็นใหญ่แก่ข้าฯ ข้าฯขออาราธนาคุณแห่งพระอริสงฆ์เจ้า จงมาประดิษฐานอยู่เหนือเศียรเกล้าแห่งข้าสิ้นกาลทุกเมื่อ สิ่งอันอื่นจะได้เป็นที่พึ่งแก่ข้าหามิได้ ถ้าเว้นไว้แต่พระอริยสงฆ์เจ้าป็นที่พึ่งแก่ข้าฯเที่ยงแท้นักหนา ชัยมงคลทั้งหลายจงมาบังเกิดมีแก่ข้าฯด้วยคำสัจนี้เถิด ข้าฯขอกราบไหว้พระอริยสงฆ์เจ้าทั้งสองประการอันประเสริฐ โทษอันใดข้าฯได้ประมาทพลาด พลั้งไว้ในพระอริยสงฆ์เจ้าทั้งสองประการ ขอพระอริยสงฆ์เจ้าทั้งสองประการ จงมาอดโทษทั้งปวงนั้นให้แก่ข้าฯพระพุทธเจ้านั้นเถิดฯ
    (กราบ)

    อธิบายบททำวัตรกรรมฐาน

    บททำวัตรสวดมนต์นี้มีมาแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยา ใช้สวดทำวัตรเช้า เย็น และใช้สวดทำวัตรในการขึ้นพระกรรมฐาน สมเด็จพระสังฆราช ไก่เถื่อน ได้นำมาจากกรุงศรีอยุธยา และใช้สวดกันเป็นประจำ ที่วัดราชสิทธารามนี้ มาเลิกสวดเมื่อ พ.ศ. ๒๕๐๔ แต่พระภิกษุที่เรียนพระกรรมฐานยังใช้สวดกันมาจนถึงทุกวันนี้ ส่วนคำแปลท้ายสวดมนต์นี้ มาแปลในสมัยรัชกาลที่ ๒ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ เมื่อคราวทำสังคายนาสวดมนต์ แปล พ.ศ. ๒๓๖๔


    ที่มา เว็บสมเด็จสุกฯ
    somdechsuk.com - เรื่องกรรมฐาน
    และ
    http://www.somdechsuk.com/download/kumausamatawipassanakammathan.doc
    =============================
    -ข้อมูลสำหรับการศึกษาเพิ่มเติม
    http://www.somdechsuk.org/
    Weera Sukmetup | Facebook

    http://www.themajjhima.com/
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • 22.jpeg
      22.jpeg
      ขนาดไฟล์:
      149.4 KB
      เปิดดู:
      963
  5. mature_na

    mature_na เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 กรกฎาคม 2005
    โพสต์:
    4,557
    ค่าพลัง:
    +6,760
    คาถาหัวใจไก่เถื่อน

    เวทาสากุ กุสาทาเว
    ทายะสาตะ ตะสายะทา
    สาสาทิกุ กุทิสาสา
    กุตะกุภู ภูกุตะกุ
    พระคาถาพญาไก่เถื่อน(ตำรับสมเด็จพระญาณสังวรสมเด็จพระสังฆราช สุก ไก่เถือน)

    พระคาถาพระยาไก่เถื่อน

    เป็น คาถานำพระคาถาทั้งปวง ใช้ในทางสำเร็จประโยชน์ แต่ผู้ใช้พระคาถานี้ต้องเป็นผู้มีสมาธิจิตเป็นเอกัคตาจิตขั้นสูง ถึงเมตตาเจโตวิมุตติ จึงจะใช้พระคาถานี้ได้ เพราะเป็นคาถามหาเมตตา เพื่อปลดปล่อยสัตว์และปลดปล่อยจิตของตัวเอง

    พระคาถาพระยาไก่เถื่อน นี้ ผู้ใดภาวนาได้สามเดือนทุกๆ วันโดยไม่ขาด ผู้นั้นจะมีปัญญาดั่งพระพุทธโฆษาฯ และไก่ป่านี้ขันขานไพเราะนัก ด้วยอำนาจแห่งพระคาถาพระยาไก่เถื่อน ให้สวดสามจบ จะไปเทศน์ ไปสวด ไปร้อง หรือไปเจรจาสิ่งใดๆ ดีนัก มีตบะเดชะนัก ถ้าแม้นสวดได้เจ็ดเดือน อาจสามารถรู้ใจคน เหมือนดังไก่ป่ารู้กลิ่นตัวคนฉะนั้น ถ้าสวดครบหนึ่งปีจะมีตบะเดชะเหนือกว่าคนทั้งหลายทั้งปวง

    แม้จะเดิน ทางไกล ให้สวดแปดจบเหมือนไก่ขันยาม เป็นสวัสดีกว่าคนทั้งหลาย ใช้เสกหิน เสกแร่ ไว้สี่มุมเรือน โจรผู้ร้ายไม่เข้าปล้นเหมือนไก่ป่าไม่ทิ้งรัง แม้ผีร้ายเข้ามาในเขตบ้าน ก็คร้ามกลัวยิ่งนัก เสกข้าวสารปรายหนทางก็ดี ประตูก็ดี ผีกลัวยิ่งนัก คนเดินไปถูกเข้าก็ล้มแล แพ้แก่อำนาจเรา

    พระ คาถานี้ได้เมื่อพระกกุสันโธเสวยพระชาติเป็นไก่ป่า เป็นอาการสามสิบสองของพระพุทธเจ้าทั้งห้าพระองค์ คือ พระกกุสันโธ พระโกนาคมโน พระกัสสโป พระโคตโม พระศรีอริยเมตไตย พระคาถาบทนี้ ถ้าจำเริญภาวนา จะมีอานุภาพมาก ผู้ใดภาวนาเป็นนิจสิน จะเกิดลาภยศมิรู้ขาด ทำมาค้าขึ้น ทำนา ทำสวน ทำไร่ เจริญงอกงามดี ทั้งทำให้บังเกิดสติปัญญาด้วย ถ้าเดินทางไปทางบกหรือเข้าป่า สวดภาวนาให้คลาดแคล้วจากภัยอันตรายดีนักแล ในบั้นปลายก็จะบรรลุพระนิพพานด้วยเมตตาบารมีนี้เอง
    =============================
    -ข้อมูลสำหรับการศึกษาเพิ่มเติม
    Somdechsuk.org | เวทาสากุ
    Weera Sukmetup | Facebook

    http://www.themajjhima.com/
     
  6. mature_na

    mature_na เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 กรกฎาคม 2005
    โพสต์:
    4,557
    ค่าพลัง:
    +6,760
    เวทาสากุ กุสาทาเว-ทายะสาตะ ตะสายะทา-สาสาทิกุ กุทิสาสา-กุตะกุภู-ภูกุตะกุ
    พระเถราวุฒาจารย์ ครูบารุ่งเรือง ได้สอนพระคาถา แก่ สมเด็จพระสังฆราชสุก กล่าวว่าเป็นคาถานํา พระคาถาทั้งปวง ใช้ในทางสําเร็จประโยชน์ ผู้ใช้พระคาถานี้ ต้องมีสมาธิจิตเป็นเอกัคตาจิตชั้นสูง ถึงเมตตาเจโตวิมุตติ จึงจะใช้พระคาถานี้ได้
    เพราะเป็นพระคาถา ปลดปล่อยสัตว์ และปลดปล่อยจิตตัวเอง
    พระอริยเถราจารย์ครูบารุ่งเรือง ท่านเห็นธรรมอะไร ในพระคาถา พระยาไก่เถื่อนบ้าง พระอาจารย์สุกนั้นทรงใกล้ชิดกับไก่ป่า มาแต่ยังทรงพระเยาว์ และทรงเรียนรู้ พระคัมภีร์มิลินท์ปัญหา มาแล้ว พระองค์ท่านจึงทราบธรรม ที่เกียวกับไก่ป่าอย่างมากมาย
    ทรงกล่าวกับพระอริยเถราจารย์ว่า
    ไก่ป่านี้ปราศเปรียว คอยหนีคน หนีภัยอย่างเดียว เหมือนกับจิตของคน ไก่ป่าเชื่องคนยากเหมือนจิตของคนเรา ซึ่งเชื่องต่ออารมณ์ยากมากเหมือนกัน ไก่ป่าแม้เสกข้าวด้วยเมตตาให้กิน แรกๆมันก็ไม่กล้าเข้ามาหาคน นานๆเข้าจึงจะกล้าเข้ามาหาคน เหมือนจิตคนเราก็ชอบท่องเทียว ไปไก :040:ลตามธรรมารมณ์ต่าง ฝึกตั้งจิตเป็นสมาธิแรกๆนั้น จิตมักจะอยู่พักเดียวก็เตลิดไป ต่อๆนาน จิตชินกับอารมณ์ดีเเล้ว จึงจะเชื่องและ ตั้งมั่นเป็นสมาธิ
    พระอริยเถราจารย์ครูบารุ่งเรือง ถามพระอาจารย์สุกอีกว่า
    พระคาถาไก่เถื่อน สี่วรรค แต่ละวรรค กลับไป-กลับมา เป็น อนุโลม-ปฏิโลม หมายถึงอะไร
    พระอาจารย์สุกตอบว่า
    แต่ละวรรค หมายถึงโลกธรรมแปด วรรคหนึ่งหมายถึง มีลาภเสื่อมลาภ วรรคสองหมายถึง มียศเสื่อมยศ วรรคสามหมายถึง มีสรรเสริญก็มีนินทา วรรคสี่ หมายถึงมีสุขก็มีทุกข์ ทุกอย่างย่อมแปลปรวนมีดีและมีชั่ว
    ไม่แน่นอน ไม่ควรยึดติด มีหยาบ ก็มีละเอียด
    =============================
    -ข้อมูลสำหรับการศึกษาเพิ่มเติม
    Somdechsuk.org | เวทาสากุ
    Weera Sukmetup | Facebook

    http://www.themajjhima.com/
     
  7. mature_na

    mature_na เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 กรกฎาคม 2005
    โพสต์:
    4,557
    ค่าพลัง:
    +6,760
    ต่อมาพระอาจารย์สุก ทรงยกคุณแห่งไก่ป่าใน มิลินท์ปัญหา มาให้พระอริยเถราจารย์ครูบารุ่งเรืองฟังว่า ผู้ที่จะบรรลุ มรรค ผล นิพพานต้องประกอบด้วย คุณสมบัติอันเปรียบเทียบได้กับไก่ หรือไก่ป่า มี 5 ประการดังนี้คือ
    1.เมื่อเวลายังมืดอยู่ ก็ไม่บินลงหากิน
    2.พอสว่างก็บินลงหากิน
    3.จะกินอาหารต้องใช้เท้าเขี่ยเสียก่อน แล้วจึงจิกกิน
    4.กลางวันมีตาใสสว่างเห็นอะไร ได้ถนัดแต่เวลากลางคืน ตาฟางคล้ายคนตาบอด
    5.เมื่อถูกเขาขว้างปา หรือถูกตะเพิดไม่ให้เข้ารัง ก็ไม่ทิ้งรังของตน นี้ เป็นองค์คุณ 5 ประการของไก่
    ผู้มุ่งมรรคผลต้องประกอบให้ได้กับคุณสมบัติ อันเปรียบเทียบได้กับ องค์คุณเหล่านี้
    1.เวลาเช้าปัดกวาดที่อยู่และจัดตั้งเครื่องใช้สอย ให้เรียบร้อย อาบนํ้าชําระกายให้สะอาด บูชากราบไหว้ปูชนียวัตถุ
    2.ครั้นสว่างแล้วจึงกระทําการ หาเลี้ยงชีพ ตามหน้าที่ของเพศตน
    3.พิจราณาก่อนแล้วจึงบริโภค ดังพุทธภาสิตว่า ผู้บริโภคอาหารพึงพิจราณา เห็นเหมือนคนบริโภคเนื้อบุตร ของตนในทางกันดาร และไม่มัวเมา มุ่งแต่ทรงชีวิตไว้ เพื่อทําประโยชน์สุขแก่ตน และผู้อื่น
    4.ตาไม่บอดก็พึงทําเหมือนคนตาบอด คือไม่ยินดียินร้าย ดุจภาษิต ที่พระมหากัจจายนะ กล่าวไว้ว่า มีตาดีก็พึงทําเหมือนคนตาบอด มีหูดีก็พึงเป็นเหมือนหูหนวก มีลิ้นเจรจาได้ก็พึงเหมือนเป็นใบ้ มีกําลัง ก็พึงเหมือนคนอ่อนเพลีย เรื่องร้ายเกิดขึ้น ก็พึงนอนนิ่งเสีย เหมือนคนนอนเฉยอยู่ฉะนั้น
    5.จะทํา จะพูด ไม่พึงละสติ สัมปชัญญะ ประหนึ่ง ไก่ป่า ไม่ทิ้งรังฉะนั้น

    ถ้าปฏิบัติได้ อย่างนี้ จะบรรลุมรรคผลนิพพาน

    จากหนังสือพระประวัติ สมเด็จพระสังฆราช สุก ไก่เถื่อน
    วัดราชสิทธาราม(พลับ)

    =============================
    -ข้อมูลสำหรับการศึกษาเพิ่มเติม
    Somdechsuk.org | เวทาสากุ
    Weera Sukmetup | Facebook

    http://www.themajjhima.com/
     
  8. mature_na

    mature_na เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 กรกฎาคม 2005
    โพสต์:
    4,557
    ค่าพลัง:
    +6,760
    "ฉายาและราชทินนาม" ของหลวงปู่สุก ไก่เถื่อน เป็นมาอย่างไร

    ๑. ทรงมีพระฉายานามว่า ไก่เถื่อน

    นับแต่พระอาจารย์สุก เจริญภาวนาแผ่เมตตาจิต คุ้มครองไก่ป่า และสัตว์ทั้งหลายครั้งนั้น ก็เป็นที่เรื่องลือกันทั่วไปในหมู่คนไทยอิสลาม และหมู่คนไทยพุทธ ในหมู่บ้านใกล้เคียง ครั้นพระองค์ท่านมาสถิตวัดพลับแล้ว พระองค์ท่านทรงเดินไปมา ที่ไหนๆภายในวัดพลับนี้ ก็จะมีไก่ป่าทั้งหลาย เดินเยอะย่างตามพระองค์ท่านไปบ้าง บินตามพระองค์ท่านไปเป็นระยะๆบ้าง เหมือนลูกไก่ ตามแม่ไก่

    เมื่อพระองค์ท่าน ประทับนั่งอยู่ ณ.ที่ใดภายในวัด ไก่ป่าพันธุ์ต่างๆ ก็จะพากันมารุมล้อม พระองค์ท่านทุกครั้งเสมอไป บางตัวยืนอยู่บนพระเพลาทั้งสองของพระองค์ท่านบ้าง บางครั้งพระองค์ท่านอยู่ภายในกุฏิ ไก่ป่า ก็จะอยู่ใกล้ๆบริเวณกุฏิของพระองค์ท่าน

    แต่นั้นมาพระองค์ท่าน จึงทรงได้รับ พระฉายานามว่า
    พระอาจารย์สุก ไก่เถื่อนบ้าง หลวงพ่อไก่เถื่อนบ้าง หลวงปู่สุก ไก่เถื่อนบ้าง
    บางคนคนองปากหน่อย เรียกขานพระนามของพระองค์ท่านว่า ปู่เจ้าสมิงพราย พระนามนี้ไม่ค่อยจะมีผู้คนเรียกขานกัน เพราะกลัวบาป กลัวกรรม จึงมีคำพูดติดปากของผู้คนในสมัยนั้นว่า

    อย่าว่าแต่ไก่ป่าเลยที่มารุมล้อมพระองค์ท่าน แม้ไก่บ้านก็ยังมารุมล้อมพระองค์ท่าน เมื่อท่านสถิตอยู่ภายในวัด ทุกครั้งเสมอมา

    พระองค์ท่านไม่อยู่ ไก่ป่า นกกา ไม่ขัน ไม่ร้อง
    กล่าวว่า เมื่อพระองค์ท่านสถิตอยู่ภายในวัด พวกไก่ป่า พวกนก พวกกา จะพากันขัน ร้อง กันเซ็งแซ่ไปหมด เมื่อพระองค์ท่าน มีธุระเสด็จ ไปนอกวัด ไก่ป่า นก กา ก็จะพากันเงียบ หงอยเหงา ครั้นพระองค์ท่าน ทรงกลับมาวัดแล้ว พวกไก่ป่า นก กา มันก็จะพากันขัน พากันร้อง เซ่งแซ่อยู่สักพักใหญ่ครู่หนึ่ง นี้เป็นสัญญาณให้พระภิกษุภายในวัดได้รู้ว่า พระองค์ท่าน ทรงเสด็จกลับมาวัดแล้ว

    กล่าวว่าพระองค์ท่านจะทรงแผ่เมตตา ออกบัวบานพรหมวิหารทุกวัน จนกระทั้งพวกไก่ป่า นก กา ที่อยู่นอกเขตป่าวัดพลับ บินหลงเข้ามาในเขตป่าวัดพลับแล้ว ก็จะหลงติดอยู่ที่ป่าวัดพลับเลย ทั้งนี้เป็นเพราะพลังแห่งการแผ่เมตตาจิต ของพระอาจารย์สุก และเหล่าพระภิกษุสงฆ์สมถะในวัดพลับ
    =============================
    -ข้อมูลสำหรับการศึกษาเพิ่มเติม
    Somdechsuk.org | เวทาสากุ
    http://www.facebook.com/phrakrusittisongvon

    http://www.themajjhima.com/
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • 22.jpg
      22.jpg
      ขนาดไฟล์:
      68.9 KB
      เปิดดู:
      885
  9. mature_na

    mature_na เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 กรกฎาคม 2005
    โพสต์:
    4,557
    ค่าพลัง:
    +6,760
    ๒. ทรงแต่งตั้ง พระอาจารย์สุกเป็นพระราชาคณะที่ พระญาณสังวรเถร
    พระราชดำริเดิม ตั้งพระทัยจะทรงแต่งตั้งพระอาจารย์สุก เป็นพระราชาคณะที่ พระญาณไตรโลก
    ต่อมาภายหลัง ทรงเห็นว่าราชทินนามนี้ ไม่เหมาะสมกับพระองค์ท่าน จึงได้ทรงปรึกษากับเจ้ากรมอาลักษณ์ (แก้ว) ให้ขนานราชทินนาม พระอาจารย์สุกใหม่ให้เหมาะสมกับพระลักษณะนิสัย และคุณธรรม ความรู้ความสามารถของพระองค์

    ท่านเจ้ากรมอาลักษณ์ จึงขนานราชทินนามให้ใหม่ว่า พระญาณสังวรเถร
    ซึ่งมีความหมายว่า เป็นผู้มีความรู้ในเหตุในผล ทั้งทางดี ทางชั่ว ช่วยป้องกันความดีของผู้อื่น
    ญาณ คือ ความรู้ จึงเป็นเหตุสำรวม พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวก็ทรงพอพระราชหฤทัยในราชทินนามนี้

    ครั้นพระยาโหราธิบดี คำนวณ หาฤกษ์ได้ฤกษ์มงคลดีแล้ว จึงให้เจ้ากรมสังการีไปอาราธนานิมนต์ พระอาจารย์สุก กับพระสังฆเถรอีกสามรูป ให้เข้ามารับ พระนาม ณ.พระราชมณเฑียรชั่วคราว ใพระบรมมหาราชวัง
    ครั้นถึง ณ. วันพฤหัสบดี ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๘ ปีเถาะ จุลศักราช ๑๑๔๕ เบญจศก ตรงกับพุทธศักราช ๒๓๒๖ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯแต่งตั้งให้
    พระอาจารย์สุก วัดพลับเป็น พระญาณสังวรเถร พระราชาคณะฝ่ายวิปัสสนาธุระ

    หมายเหตุ ราชทินนามที่ ญาณสังวร ก็มีปรากกฏในยุคอยุธยา สมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราชคือ ราชทินนามที่ พระครูญาณสังวร สถิตวัดดงตาล หรือวัดอัมพวัน เมืองสิงห์บุรี


    คัดลอกมาจาก (บางส่วน)
    หนังสือ พระประวัติสมเด็จพระสังฆราชญาณสังวร มหาเถรเจ้า (สุกไก่เถื่อน)
    พระครูสังฆรักษ์วีระ ฐานวีโร รวบรวม เรียบเรียง
    somdechsuk.com - หน้าแรก
    ขอบคุณภาพจาก http://sphotos-e.ak.fbcdn.net/,http://i868.photobucket.com/
    =============================
    -ข้อมูลสำหรับการศึกษาเพิ่มเติม
    Somdechsuk.org | เวทาสากุ
    http://www.facebook.com/phrakrusittisongvon

    http://www.themajjhima.com/
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • 23.jpg
      23.jpg
      ขนาดไฟล์:
      105.1 KB
      เปิดดู:
      1,153
  10. mature_na

    mature_na เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 กรกฎาคม 2005
    โพสต์:
    4,557
    ค่าพลัง:
    +6,760
    สมเด็จพระสังฆราช (สุก ญาณสังวร)
    ภาพจาก พิพิธภัณฑ์สักทอง วัดเทวราชกุญชร วรวิหาร เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร

    ๓. สถาปนาพระญาณสังวรขึ้นเป็นสมเด็จราชาคณะที่ สมเด็จพระญาณสังวร
    ครั้งนั้น มีพระดำริ จะสถาปนาพระญาณสังวรเถร ขึ้นเป็นสมเด็จพระราชาคณะ พระองค์แรกของกรุงรัตนโกสินทร์ ปีพระพุทธศักราช ๒๓๕๙ พระสังฆราช (ศุก ) วัดมหาธาตุ สิ้นพระชนม์ลง ณ. วันพุธ แรม ๑๓ ค่ำ เดือน๖ ปีขาล

    มูลเหตุตั้ง
    พระญาณสังวรเถร เป็นสมเด็จพระราชาคณะ พระสังฆราช(ศุข) วัดมหาธาตุ สิ้นพระชนม์ลงนั้น ครั้นทำพระเมรุผ้าขาวถวายพระเพลิง ณ. ท้องสนามหลวงแล้ว พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ทรงพระราชดำริว่าจะสถาปนา พระสังฆราชพระองค์ต่อไป

    ทรงพระราชดำริต่อไปอีกว่า พระราชาคณะที่จะทรงสถาปนา ขึ้นเป็นสมเด็จพระสังฆราชมี ๒ พระองค์ คือ
    พระพนรัต (มี)วัดราชบูรณะ และ พระญาณสังวรเถร วัดพลับ
    ครั้งนั้นจะทรงตั้ง พระพนรัต (มี)เป็นพระสังฆราช แต่ก็มีพระพรรษายุกาลน้อยกว่า พระญาณสังวร ถึง ๑๗ พรรษา จึงยังเป็นการไม่สมควรก่อน

    จึงทรงมีพระบรมราชโองการสั่งให้ เจ้ากรมสังการีไปอาราธนานิมนต์ พระญาณสังวร รับหน้าที่พระสังฆราช แต่พระญาณสังวร ไม่ทรงยอมรับตำแหน่งนี้ พระองค์ท่านทรงกล่าวว่าให้สถาปนา พระพนรัต (มี) เป็นพระสังฆราช
    ความทราบถึงพระพนรัต (มี)พระองค์ท่านทรงกล่าวว่า อาตมาภาพมีพระพรรษายุกาลน้อยกว่า พระญาณสังวรถึง ๑๗ พรรษา ถ้ารับพระเมตตาไว้ ก็เท่ากับว่าไม่เคารพพระวินัย ไม่เคารพธรรม ไม่เคารพพระอาจารย์

    พระอาจารย์นั้น หมายถึงพระญาณสังวร (สุก) พระองค์ท่าน ทรงเป็นพระอาจารย์บอกวิปัสสนา ของพระพนรัต (มี) อีกทั้งพระองค์ท่านยังมีพระพรรษากาลแก่กว่ามากนักถึง ๑๗ พรรษา
    ต่อมาพระญาณสังวร ได้บอกให้ พระพนรัต (มี) รับเป็นพระสังฆราชเพราะเป็นธรรมเนียมว่า ตำแหน่พระสังฆราช ต้องมาจากฝ่ายคันถธุระ จึงสมควรหลังจากนั้นก็ค่อยทำการแก้ไขกันใหม่ พระพนรัต (มี) พระองค์ท่านจึงยอมรับตำแหน่ง พระสังฆราช
    =============================
    -ข้อมูลสำหรับการศึกษาเพิ่มเติม
    Somdechsuk.org | เวทาสากุ
    http://www.facebook.com/phrakrusittisongvon

    http://www.themajjhima.com/
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • 24.jpg
      24.jpg
      ขนาดไฟล์:
      64.1 KB
      เปิดดู:
      775
  11. mature_na

    mature_na เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 กรกฎาคม 2005
    โพสต์:
    4,557
    ค่าพลัง:
    +6,760
    เมื่อทรงรับตำแหน่งแล้ว ทางราชสำนักต้องประชุมหาทางออก แก้ไขระเบียบต่างๆว่าจะทำอย่างไร พระญาณสังวร ผู้มีพรรษยุกาลมาก จะนั่งหน้าพระสังฆราช ได้ อย่างไม่ทำลายบทบัญญัติแห่งพระวินัย และสมพระเกียรติด้วย อีกทั้งไม่เสียพระเกียรติยศ ของพระสังฆราชพระองค์ใหม่ด้วย

    ครั้งนั้น พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๒ จึงทรงมีพระราชดำริว่า จะสถาปนาพระญาณสังวร ขึ้นเป็นสมเด็จพระราชาคณะ พระองค์แรกของกรุงรัตนโกสินทร์ จึงจะสมพระเกียรติยศของทั้งสองพระองค์ต้นกรุงรัตนโกสินทร์นั้น
    ตำแหน่งพระสังฆราช ไม่มีคำว่า สมเด็จ นำหน้าพระนามเช่น พระสังฆราช (สี) วัดระฆัง พระสังฆราช (ศุก) วัดมหาธาตุฯ เพิ่งมีคำว่า สมเด็จนำหน้าพระนามพระสังฆราช (มี) วัดราชบูรณะ และนำหน้าพระนามพระญาณสังวร(สุก) วัดพลับในรัชสมัยรัชกาลที่ ๒ นี้เอง เช่น สมเด็จพระสังฆราช (มี) วัดราชบูรณะ สมเด็จพระญาณสังวร (สุก) วัดราชสิทธาราม
    และสมเด็จพระราชาคณะอีกสององค์ต่อมาในปลายรัชสมัย รัชกาลที่ ๒ เมื่อคราวสถาปนา สมเด็จพระญาณสังวร ขึ้นเป็นสมเด็จพระสังฆราช คือ สมเด็จพระพนรัต (ด่อน) วัดสระเกศ สมเด็จพระพุฒาจารย์(เป้า) วัดธรรมาวาส อยุธยา

    ถึง ณ. วันพฤหัสบดี แรม ๗ ค่ำ เดือน ๙ ปีชวด พุทธศักราช ๒๓๕๙ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้
    พระญาณสังวรขึ้นเป็น สมเด็จพระญาณสังวร พุทธศักราช สไมยะสหัสสสังวัจฉรไตรยสตาธฤกษ์เอกุนสัฎฐิเตสมปัจจุบันกาล มุกสิก สังวัจฉรมาส กาลปักษย์คุรุวาร สัตตคฤษถี ปริเฉทกาลอุกฤษฐ์ สมเด็จพระบรมธรรม มฤกมหาราชารามาธิราชเจ้า ผู้ทรงทศพิธราชธรรมอนันตคุณวิบุลย์มหาประเสริฐ ทรงพระราชศรัทธา มีพระราชโองการมาณพระบัณฑูร สุรสิงหนาทดำรัสสั่งพระราชูทิศสถาปนาให้
    พระญาณสังวรขึ้นเป็น สมเด็จพระญาณสังวร อดิศรสังฆเถรา สัตตวิสุทธิจริยาปริณายก สปิฏกธรามหาอุดมศีลอนันต์ อรัญวาสี สถิตในราชสิทธาวาสวรวิหาร พระอารามหลวง


    ภาพจาก พิพิธภัณฑ์สักทอง วัดเทวราชกุญชร วรวิหาร เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร
    =============================
    -ข้อมูลสำหรับการศึกษาเพิ่มเติม
    Somdechsuk.org | เวทาสากุ
    http://www.facebook.com/phrakrusittisongvon

    http://www.themajjhima.com/
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • 25.jpg
      25.jpg
      ขนาดไฟล์:
      92.9 KB
      เปิดดู:
      905
  12. mature_na

    mature_na เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 กรกฎาคม 2005
    โพสต์:
    4,557
    ค่าพลัง:
    +6,760
    ๔. สถาปนาสมเด็จพระญาณสังวร ขึ้นเป็น สมเด็จพระสังฆราช
    ณ. วันพฤหัสบดี เดือนอ้าย ขึ้น ๒ ค่ำ ปี มะ โรง โทศก จุลศักราช ๑๑๘๒ (พ.ศ.๒๓๖๓) สถาปนา สมเด็จพระญาณสังวรเถร ขึ้นเป็น สมเด็จพระสังฆราช มีสำเนาประกาศ ดังนี้

    สำเนาสถาปนาสมเด็จพระสังฆราช ไก่เถื่อน
    ศริศยุภอดีตกาล พุทธศักราช ชไมยสหัสสสังวัจฉรไตรสตาธฤกไตรสัตฐีสัตมาศ ปัตยุบันกาล นาคสังวัจฉรมฤคศฤระมาศ ศุกขปักขคุรุวาระนวมีดิถี ปริจเฉทกาลอุกฤษฐ สมเด็จพระบรมธรรมมฤกะมหาราชารามาธิราชเจ้า ผู้ทรงพระทศพิธราชธรรม์ อนันตคุณวิบูลยปรีชาอันมหาประเสริฐ มีพระบรมราชโองการมาณพระบัณฑูรสุรสิงหานาทดำรัสสั่งพระราชูทิศถาปนาให้

    สมเด็จพระญาณสังวร เป็น สมเด็จพระอริยวงษญาณ ปริยัติวราสังฆราชาธิบดี ศรีสมณุตมาปรินายก ติปิฏกธราจารย์ สฤทธิขัติยสารสุนทร มหาคณฤศร วรทักษิณา สฤทธิสังฆารามคามวาสี อรัญวาสี เป็นประธานถานาทุกคณาธิกร จัตุพิธบรรพสัช สถิตในวัดพระศรีรัตนมหาธาตุบวรวิหาร พระอารามหลวง

    แต่สมเด็จพระสังฆราช ไม่ได้เสด็จไปสถิตวัดมหาธาตุฯ ตามใบประกาศพระนาม เพราะพระองค์ท่านเป็นพระป่า ทรงคุ้นเคยกับการอยู่ป่าอันเงียบสงบ พระองค์ท่านทรงสถิตอยู่ ณ. วัดราชสิทธารามอันเป็นผาสุขวิหาร ของพระองค์ท่าน จนสิ้นพระชนม์พระองค์ท่าน ได้รับพระราชทานสถาปนาเป็น สมเด็จพระสังฆราชแล้ว ผู้คนทั้งหลายยังเรียกขานพระนามของพระองค์ท่านว่า สมเด็จพระสังฆราช ไก่เถื่อน มาจนทุกวันนี้


    คัดลอกมาจาก (บางส่วน)
    หนังสือ พระประวัติสมเด็จพระสังฆราชญาณสังวร มหาเถรเจ้า (สุกไก่เถื่อน)
    พระครูสังฆรักษ์วีระ ฐานวีโร รวบรวม เรียบเรียง somdechsuk.com - หน้าแรก
    ขอบคุณภาพจาก สมเด็จพระสังฆราช (สุก ญาณสังวร) พิพิธภัณฑ์สักทอง : GoldenTeakMuseum.com

    =============================
    -ข้อมูลสำหรับการศึกษาเพิ่มเติม
    Somdechsuk.org | เวทาสากุ
    http://www.facebook.com/phrakrusittisongvon

    http://www.themajjhima.com/
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • 26.jpg
      26.jpg
      ขนาดไฟล์:
      68.6 KB
      เปิดดู:
      892
  13. mature_na

    mature_na เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 กรกฎาคม 2005
    โพสต์:
    4,557
    ค่าพลัง:
    +6,760
    พระประวัติ "พระสังฆราชสุก ไก่เถื่อน" ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการสร้างพระเครื่อง

    พระสมเด็จ อรหัง วัดมหาธาตุ กรุงเทพมหานคร
    ก่อนกำเนิดพระเครื่อง พิมพ์สมเด็จวัดระฆังฯ นั้น พระสมเด็จอรหัง นับว่าเป็นยอดพระเครื่อง ต้นสกุลพระ ทรงสี่เหลี่ยมผืนผ้า หรือ แบบชิ้นฟัก มาก่อนนานแล้วผู้ริเริ่มพระเครื่องที่เรียกเราเรียกกันจนติดปากมาจนทุกวันนี้ว่า พระสมเด็จฯ และเป็นผู้สร้างพระสมเด็จ อรหัง ด้วยนั้นก็คือ สมเด็จพระสังฆราช สุก ไก่เถื่อน

    พระสมเด็จพระสังฆราช หรือเรียกกันสั้น ๆ ว่า พระสังฆราชไก่เถื่อน นี้นับเป็นพระอาจารย์ผู้ยิ่งยงในวิทยาคมด้านเมตตามหานิยมผู้เป็นพระอาจารย์ของสมเด็จพระพุฒาจารย์ โต พรหมรังสี และยังเป็นพระบรมราชาจารย์ของล้นเกล้าฯ ในรัชกาลที่ 2, ที่ 3 และที่ 4 อีกด้วย

    พระสังฆราชญาณสังวร สุก ไก่เถื่อน ผู้ให้กำเนิดต้นสกุล พระพิมพ์สมเด็จ องค์นี้ ประสูติเมื่อวันศุกร์ เดือน 2 ขึ้น 10 ค่ำ ปีฉลู จุลศักราช 1095 หรือ พ.ศ. 2276 ซึ่งตรงกับสมัยอยุธยา ในรัชกาลของพระเจ้าอยู่หัวบรมโกษฐ์ ท่านเป็นชาวกรุงเก่าชื่อ สุก และเข้าใจว่าก่อนถึงอายุ 34 ปี คือ พ.ศ. 2310 ซึ่งเป็นระยะที่กรุงศรีอยุธยาแตกครั้งสุดท้ายนั้น ท่านได้บวชมาก่อนแล้วหลายพรรษา จนปรากฏชัดจากพงศาวดารว่า ท่านได้เป็นเจ้าอาวาสอยู่ที่ วัดท่าหอย เมื่อสมัยกรุงธนบุรี นี่เอง

    พระอาจารย์สุก หรือ พระญาณสังวรเถระ หรือ สมเด็จพระสังฆราชองค์ที่ 4 ของราชวงศ์จักรีนี้ นับว่าเป็นผู้หนึ่งที่ยืนดูการกระทำอันโหดร้ายของพม่าเมื่อคราวกรุงแตกมาแล้ว เหตุผลที่พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก โปรดให้อาราธนาลงมาอยู่ที่วัดราชสิทธารามนั้น ก็เห็นจะเป็นด้วย พระองค์ประสูติ เมื่อ พ.ศ. 2279 ในรัชกาลพระเจ้าอยู่หัวบรมโกษฐ์เช่นกัน

    นับแต่พระองค์ได้รับราชการเมื่อปลายสมัยอยุธยาจนกรุงแตกแล้วนั้น ก็ได้ทราบถึงเกียรติคุณของ พระอาจารย์สุก มาบ้างแล้ว จึงได้อาราธนาท่านลงมาอยู่ที่วัดพลับเมื่อประมาณ พ.ศ. 2325

    สมเด็จพระสังฆราช ได้รับสถาปนาเป็นสมเด็จพระสังฆราชองค์ที่ 4 ของกรุงรัตนโกสินทร์ เมื่อ พ.ศ. 2363 ตรงกับวันพฤหัสบดี เดือนอ้าย ขึ้น 2 ค่ำปีมะโรง และได้ย้ายจากวัดพลับมาอยู่ที่วัดมหาธาตุได้เพียงปีเศษก็สิ้นพระชนม์ ณ วัดมหาธาตุ พระนคร เมื่อวันศุกร์เดือน 10 แรม 4 ค่ำ ปีมะเมีย ในรัชกาลของพระพุทธเลิศหล้านภาลัย จึงนับว่าเป็นสมเด็จพระสังฆราชองค์เดียว ที่ได้เห็นเหตุการณ์พม่าเผากรุงศรีอยุธยาและผนวชอยู่ในพระบวรพุทธศาสนาตั้งแต่สมัยอยุธยา, สมัยกรุงธนบุรี, จนถึงสมัยรัตนโกสินทร์, รวมพระชนมายุได้ถึง 90 ปี

    พระญาณสังวร สุก ไก่เถื่อน ระหว่างอยู่ที่วัดราชสิทธารามนั้น ปรากฏว่าได้เป็นที่นับถือของชาวบ้านตลอดขึ้นไปจนถึงเจ้านายเชื้อพระวงศ์ ต่างก็พากันไปฝากตัวเป็นลูกศิษย์ท่านเป็นจำนวนมาก ทั้งนี้ก็เห็นจะเป็นเพราะบรรดาสานุศิษย์เหล่านั้นต่างก็ได้เห็นกฤตยาคมอันขลังด้านเมตตาพรหมวิหารของท่าน ซึ่งสามารถเรียก ไก่เถื่อน จากป่าเป็นฝูง ๆ มากรับการโปรยทานจากท่านเต็มลานวัดทุก ๆ วันนั้นเอง

    เหตุนี้ชาวบ้านสมัยนั้นจึงพากันเรียกท่านว่า พระสังฆราชไก่เถื่อน เพราะท่านสามารถเรียกไก่เถื่อนออกมาจากป่าด้วยแรงอาคม และยิ่งได้ลิ้มรสอาหารเสกจากท่านด้วยแล้ว ไก่เถื่อนที่ว่าถึงกับไม่ยอมกลับเข้าป่า และเชื่องเป็นไก่บ้านไปเลย
    ======================
    ภาพพระสมเด็จอรหัง พิมพ์ 3ชั้น วัดสร้อยทอง
    =============================
    -ข้อมูลสำหรับการศึกษาเพิ่มเติม
    Somdechsuk.org | เวทาสากุ
    http://www.facebook.com/phrakrusittisongvon

    http://www.themajjhima.com/
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • 27.jpg
      27.jpg
      ขนาดไฟล์:
      415.4 KB
      เปิดดู:
      12,842
  14. mature_na

    mature_na เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 กรกฎาคม 2005
    โพสต์:
    4,557
    ค่าพลัง:
    +6,760
    การกำเนิดพระสมเด็จ อรหัง
    นับตั้งแต่พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ได้ทรงโปรดให้พระอาจารย์สุกหรือพระญาณสังวรเถระ มาอยู่ที่วัดราชสิทธารามหรือวัดพลับ ที่ อ. บางกอกใหญ่ นครหลวงฝั่งธนบุรี แล้ว ต่อมาวัดนี้ก็เจริญรุ่งเรืองขึ้นเป็นลำดับ การทรงผนวชของพระราชวงศ์แต่ละพระองค์นั้น
    ภายหลังมักจะเสด็จไปศึกษาวิปัสสนา ที่สำนักพระญาณสังวร ณ วัดราชสิทธารามอยู่เสมอ เช่นพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย, พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว, และพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว นั้น พระญาณสังวร สุก ไก่เถื่อน ก็ได้เป็นพระบรมราชาจารย์ของพระมหากษัตริย์ทั้ง 3 พระองค์นี้ด้วย

    จากการที่สมเด็จฯ ท่านยิ่งใหญ่ด้านอาคมขลังจนเป็นที่เลื่องลือกันไปทั่วนั้นจะเป็นด้วยทนการวิงวอนจากบรรดาสานุศิษย์หรือผู้คนที่นับถือท่านมากราย อยากจะได้พระเครื่องของท่านไว้คุ้มครองบ้างก็ได้ ด้วยเหตุนี้เอง, พระเครื่องพิมพ์สี่เหลี่ยมผืนผ้าแบบชิ้นฟัก ซึ่งสร้างด้วยผงวิเศษสีขาวนั้น สมเด็จพระสังฆราชองค์นี้ จึงได้ให้กำเนิดพระสมเด็จดังกล่าวนี้ขึ้นมาเป็นครั้งแรก เมื่อประมาณ พ.ศ. 2360

    เล่ากันว่า พระสมเด็จอรหัง ที่สมเด็จพระสังฆราชไก่เถื่อนได้เริ่มสร้างเป็นครั้งแรกนั้น ท่านยังดำรงตำแหน่งเป็นพระราชาคณะอยู่ที่วัดพลับ พระเครื่องพิมพ์สมเด็จฯส่วนหนึ่งเมื่อได้รับการปลุกเสกแล้ว ท่านก็แจกจ่ายให้ไปบูชากันโดยถ้วนทั่วและเป็นที่เข้าใจกันว่า พระสมเด็จอรหัง พิมพ์ปฐมฤกษ์นั้นก็คือ พิมพ์ เกศเปลวเพลิง ซึ่งด้านหลังจะไม่ปรากฏมีอักขระคำว่า อรหัง จารึกลงไว้เลย

    สมเด็จพระสังฆราชไก่เถื่อน ท่านได้ใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์โดยการสร้างพระพิมพ์สมเด็จอรหังต่อมาอีก มีหลายพิมพ์ที่เสร็จแล้วท่านก็แจกสานุศิษย์ต่อไปโดยมิได้ลงกรุ แต่พระอีกจำนวนหนึ่งนั้น เมื่อท่านได้รับสถาปนาเป็นสมเด็จพระสังฆราช และได้ย้ายมาอยู่ที่วัดมหาธาตุแล้ว ก็เข้าใจว่าพระสมเด็จอรหังส่วนหลังนั้น ท่านคงได้นำมาบรรจุไว้ในเจดีย์ที่วัดมหาธาตุแห่งนี้ไว้เป็นจำนวนมากทีเดียว
    =============================
    -ข้อมูลสำหรับการศึกษาเพิ่มเติม
    Somdechsuk.org | เวทาสากุ
    http://www.facebook.com/phrakrusittisongvon

    http://www.themajjhima.com/
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • 28.jpg
      28.jpg
      ขนาดไฟล์:
      29.7 KB
      เปิดดู:
      1,215
    • 29.jpg
      29.jpg
      ขนาดไฟล์:
      33.6 KB
      เปิดดู:
      1,131
  15. mature_na

    mature_na เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 กรกฎาคม 2005
    โพสต์:
    4,557
    ค่าพลัง:
    +6,760
    สมเด็จอรหัง ปี 19 หลังลายเซ็น สมเด็จพระญาณสังวร วัดบวรนิเวศวิหาร (ด้านหลังมีเส้นพระเกสา) องค์นี้พิมพ์ โต๊ะกัง


    พุทธลักษณะ, เนื้อ,และพิมพ์
    พระสมเด็จอรหัง ของสมเด็จพระสังฆราชไก่เถื่อนนี้ เท่านี้ปรากฏอยู่ในวงการพระเมื่อ 10 กว่าปีมาแล้ว จะแยกแบบออกได้ถึง 5 พิมพ์ ด้วยกันดังนี้

    1.สมเด็จอรหัง พิมพ์สังฆาฏิ เป็นพระเนื้อผงสีขาวที่นิยมกันมากมีขนาดกว้าง 2 ซ.ม. สูง 3 ซ.ม. ครึ่ง พุทธลักษณะเป็นพระปางสมาธิประทับนั่งบนฐาน 3 ชั้น เห็นชายสังฆาฏิห้อยชัดเจนทุกองค์ ด้านขอบข้างองค์พระจะถูกอัดออกมาตามแบบแม่พิมพ์โดยไม่มีการตัดด้วยเส้นตอกเลย และโปรดสังเกตการประทับนั่ง เข่าจะแคบและตรง ส่วนด้านหลังจะปรากฏอักขระคำว่า อรหัง จารึกไว้ด้วย พระสมเด็จพิมพ์นี้แยกออกเป็น 2 แบบ คือ
    1.1 แบบเศียรโต และ
    1.2 แบบเศียรเล็ก

    2. พระสมเด็จอรหัง พิมพ์ฐานคู่ เป็นพระเนื้อผงสีขาว เข่ากว้างและโค้งกว่าพระพิมพ์สังฆาฏิ โดยเฉพาะฐานสร้างเป็นเส้นเล็กคู่ นอกจากนั้นทั้งขนาด, ขอบด้านข้าง, และหลัง คงเหมือนกับ พิมพ์สังฆาฏิ ทุกอย่าง

    3. พระสมเด็จอรหัง พิมพ์เกศเปลวเพลิง นี่เป็นอีกพิมพ์หนึ่งซึ่งนอกจากจะมีน้อยแล้ว แม้จะหาชมก็ยากนัก พระพิมพ์นี้ทั้งความงามและขนาดจะเหมือนกับ พิมพ์สังฆาฏิ มีเพี้ยนอยู่บ้างก็ตรงที่มีเกศขมวดม้วนเป็นตัว อุ และรูปทรงค่อนข้างชะลูด ส่วนฐานประทับถึงแม้จะเป็นแบบ 3 ชั้น แต่ก็หนาวกว่ากันมาก พระพิมพ์นี้เป็นพระเนื้อผงสีขาว ด้านหลังเป็นแบบราบโดยไม่มีอักขระขอมปรากฏให้เห็นเลย ส่วนขนาดจะเท่ากับพิมพ์แรก ๆ

    4. พระสมเด็จอรหัง พิมพ์โต๊ะกัง ขนาดพระพิมพ์นี้จะเท่ากับ 3 พิมพ์แรกสัญลักษณ์ที่ควรจดจำกับพระสมเด็จพิมพ์โต๊ะกัง นี้ได้ง่าย ๆ ก็คือ เป็นพระผงผสมว่านเนื้อออกสีแดงคล้าย ปูนแห้ง แม้ค่อนข้างหย่อนงามไปบ้าง แต่ก็เป็นอีกพิมพ์หนึ่งที่หาชมได้ยาก ด้านหลังของพระพิมพ์นี้จะถูกปั๊มลึก ปรากฏเป็นอักขระคำว่า อรหัง นูนขึ้นมา ผิดกับ 3 พิมพ์แรกซึ่งถูกจารึกบุ๋มลงไปด้วยการจารึกเส้นเล็ก ๆ ด้วยมือตอนเนื้อพระยังไม่แห้ง

    5. พระสมเด็จอรหัง พิมพ์เล็ก พระพิมพ์นี้จะมีขนาดสูงเพียง 2.3 ซ.ม. เท่านั้น เป็นพระเนื้อผงสีขาว ซึ่งมีพุทธลักษณะเหมือนเช่นกับทุก ๆ พิมพ์ที่กล่าวไปแล้ว หากแต่ได้เพิ่มประภามณฑลล้อมรอบเศียรขึ้นมาอีกแบบเท่านั้นเอง นับว่าเป็นพระอีกพิมพ์หนึ่งที่หาชมได้ยากพอ ๆ กับพิมพ์เกศเปลวเพลิงทีเดียวสำหรับด้านหลังจะลงจารึกคำว่า อะระหัง ไว้ด้วยเช่นกัน
    =============================
    -ข้อมูลสำหรับการศึกษาเพิ่มเติม
    Somdechsuk.org | เวทาสากุ
    http://www.facebook.com/phrakrusittisongvon

    http://www.themajjhima.com/
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • 30.jpg
      30.jpg
      ขนาดไฟล์:
      59.1 KB
      เปิดดู:
      974
  16. mature_na

    mature_na เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 กรกฎาคม 2005
    โพสต์:
    4,557
    ค่าพลัง:
    +6,760
    พระสมเด็จอรหัง มีสองกรุ
    พระสมเด็จอรหังทั้ง 5 พิมพ์ ดังได้กล่าวไปแล้วนั้น บางพิมพ์ตรงกัน แต่เนื้อกลับไม่เหมือนกัน หรือบางพิมพ์จารึกที่ลงไว้ด้านหลังกลับเป็นอักขระเล็กบ้าง, ใหญ่บ้าง, โดยไม่เท่ากันนั้น ก็เพราะพระสมเด็จอรหังนี้ มีแยกออกเป็น 2 กรุดังจะกล่าวไว้พอเป็นสังเขปดังนี้

    1. พระสมเด็จอรหัง กรุวัดมหาธาตุ กล่าวกันว่ามีผู้พบพระเพียง 3 พิมพ์เท่านั้น คือ
    1. พิมพ์สังฆาฏิ
    2. พิมพ์ฐานคู่
    3. พิมพ์เล็ก
    โดยจะเป็นพระเนื้อผงสีขาวทั้งหมดส่วนพิมพ์เกศเปลวเพลิงนั้น ต่างก็พูดกันว่า เป็นพระเครื่องพิมพ์แรกที่สมเด็จท่านอาจทำเป็นการทดลอง และได้แจกจ่ายไปก่อนแล้ว ตั้งแต่เมื่อครั้งอยู่ที่วัดพลับก็ว่าได้ พระสมเด็จกรุวัดมหาธาตุนี้ โดยทางเนื้อจะละเอียดขาวและมีความแน่นตัวมาก พระทุก ๆ องค์หากมิได้ใช้ หรือเมื่ออกจากกรุใหม่ ๆ จะมีฝ้าคราบขาวนวลหุ้มติดอยู่ทุกองค์บางองค์ก็ปิดทองล่องชาด และบางองค์ถึงกับเนื้องอกแบบพระวัดพลับก็มี ส่วนด้านหลังอักขระที่จารึกไว้นั้น ตัวอักษรจะเท่ากัน และค่อนข้างใหญ่กว่าของกรุวัดสร้อยทองอีกเล็กน้อย

    2. พระสมเด็จอรหัง กรุวัดสร้อยทอง พระสมเด็จกรุนี้ได้มีผู้พบภายหลังจากกรุวัดมหาธาตุ ได้เผยโฉมออกมาแล้ว พระที่พบคือสมเด็จอรหังพิมพ์สังฆาฏิ, พิมพ์โต๊ะกัง, และพิมพ์ฐานคู่ ซึ่งเป็นพิมพ์ใหญ่ทั้งหมด พิมพ์แรกจะเห็นชายสังฆาฏิชัดเจน เช่นเดียวกับกรุวัดมหาธาตุแต่เนื้อจะหยาบกว่า แก่ผงเกสรดอกไม้และมีทรายปนอยู่ด้วย ส่วน พิมพ์โต๊ะกัง เป็นพระเนื้อสีแดง มีคราบกรุจับนวลขาวทั่วไป ตราปั๊มด้านหลังจะปรากฏแบบลึกนูนขึ้นมาชัดเจนอ่านง่าย ส่วนพิมพ์เล็กไม่ปรากฏพบอยู่ในกรุนี้เลย

    เรื่องสมเด็จอรหังกรุวัดสร้อยทองนี้ บางท่านก็ว่าสมเด็จพระสังฆราชสุก ท่านได้สร้างให้กับวัดนี้ไว้ แต่พระภิกษุผู้ชราชื่อ แพร ซึ่งอยู่ที่วัดสร้อยทอง ได้เล่าให้ผู้เขียนฟังว่า... พระสมเด็จกรุนี้ ความจริงแล้ว ผู้สร้างคือพระอาจารย์ กุย ซึ่งเป็นศิษย์ของสมเด็จพระสังฆราชไก่เถื่อนอีกองค์หนึ่ง ท่านได้สร้างไว้โดยใช้แม่พิมพ์เดิม แต่เนื้อและการลงจารึกด้านหลังจะเล็กผิดกว่ากันมาก

    ส่วนเรื่องพระสมเด็จอรหัง พิมพ์โต๊ะกัง นั้นเข้าใจว่าได้มีชาวจีนสร้างเป็นกุศลร่วมลงกรุไว้ที่วัดสร้อยทอง พระพิมพ์นี้จึงมีสีแดง สีแห่งความรุ่งโรจน์ ซึ่งชาวจีนนิยมกันมาก และที่เรียกว่า พิมพ์โต๊ะกัง ก็เห็นจะเป็นเพราะตราด้านหลังคำว่า อรหัง ซึ่งโดยปกติแล้ว จะใช้เหล็กแหลมเขียน แต่พระสมเด็จอรหังสีแดงพิมพ์นี้กลับใช้ตราปั๊มลึกนูน โดยตัวอักขระหนังสือจะนูนขึ้นมาเหมือนกับตราปั๊มของร้านทอง ตั้งโต๊ะกัง ที่ปั๊มติดกับสร้อย เลยเป็นเหตุให้นักเลงพระยุคนั้นเห็นดีเห็นชอบเรียกชื่อพระพิมพ์นี้ว่า พระสมเด็จอรหัง พิมพ์โต๊ะกัง ตั้งแต่นั้นมา

    เดี๋ยวนี้ ไม่ว่าคุณจะมีพระสมเด็จอรหังพิมพ์โต๊ะกังหรือไม่โต๊ะกังก็ตามที ขอให้มีพระองค์พอสวยก็แล้วกัน ถ้าไม่พูดถึงพระพุทธคุณท่านเด็ดในทางมหานิยมอยู่แล้ว ผมขอรับรองว่าคุณ ๆ ที่มีพระพิมพ์นี้ไว้จะยืน ยิ้มแบบโต๊ะกัง ได้อย่างสบายมาก เพราะขณะนี้เขาเสนอราคาเช่ากันองค์ละใกล้แสนหรืออาจจะเลยแสนไปแล้วก็ว่าได้
    =============================
    -ข้อมูลสำหรับการศึกษาเพิ่มเติม
    Somdechsuk.org | เวทาสากุ
    http://www.facebook.com/phrakrusittisongvon

    http://www.themajjhima.com/
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • 31.jpg
      31.jpg
      ขนาดไฟล์:
      175 KB
      เปิดดู:
      743
  17. mature_na

    mature_na เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 กรกฎาคม 2005
    โพสต์:
    4,557
    ค่าพลัง:
    +6,760
    พุทธคุณของพระสมเด็จอรหัง
    สำหรับเรื่องพุทธคุณการใช้จากผู้ได้ประสบการณ์กับพระสมเด็จพิมพ์นี้มาแล้วนั้นถึงแม้ว่าจะไม่ดังกระฉ่อนเช่นพระสมเด็จวัดระฆังฯ หรือสมเด็จบางขุนพรหมก็ตาม ได้มีนักเผชิญโชคผู้ได้มีประสบการณ์อันมหัศจรรย์จากพระสมเด็จอรหังมาแล้ว ถึงกับตื่นตะลึงและหวงแหนกันยิ่งนัก
    เพราะพระสมเด็จพิมพ์นี้ดี ทางเมตตามหานิยม และแคล้วคลาดเหมือนเช่นพระสมเด็จวัดระฆังฯทุกอย่าง
    ยกเว้นพระสมเด็จอรหังสีแดงเท่านั้น ซึ่งนอกจากจะมีมหานิยมแล้วยังเพิ่มด้านกระพันชาตรีไว้อีกทางหนึ่งด้วย

    เพื่อให้เรื่องพระสมเด็จอรหัง ยอดพระ ต้นสกุลพระสมเด็จ ของ สมเด็จพระสังฆราชไก่เถื่อน ได้จบลงอย่างสมบูรณ์ ต่อไปนี้ผมจึงขอเสนอเรื่องราวตอนหนึ่งที่คุณ เฉลิม แก้วสีรุ้ง ซึ่งเป็นชาวนนทบุรี ได้เผชิญกับอิทธิปาฏิหาริย์จากพระสมเด็จอรหังจนถึงกับตะลึงงันอยู่กับที่มาแล้ว เป็นเรื่องทิ้งท้ายไว้ดังต่อไปนี้...

    เรื่องก็มีอยู่ว่า เมื่อ พ.ศ. 2508 คุณเฉลิมมีอาชีพรับซื้อขายผลไม้เป็นประจำอยู่ที่เมืองนนท์ วันหนึ่งมีชาวสวนข้างบ้านมาบอกจะขายทุเรียนส่วนหนึ่งให้ และขอร้องให้ไปดูด่วนด้วย คุณเฉลิมรักทุเรียนมากจนลืมลั่นกุญแจบ้าน และลืมจนกระทั่ง พระสมเด็จอรหัง พร้อมด้วยสร้อยคอทองคำหนัก 3 บาท กับกระเป๋าเงินซึ่งมีเงินอยู่ในนั้นถึงแปดพันบาทด้วย

    คุณเฉลิมมานึกขึ้นได้ก็เหตุการณ์ได้ผ่านไปแล้วถึง 3 ชั่วโมง เขาจึงรีบกลับบ้านทันทีแต่ก็ต้องถึงกับตะลึงงันอยู่กับที่เมื่อมาถึงบ้าน เพราะขณะนั้นประตูบ้านได้เปิดอ้า ข้าวของในบ้านถูกรื้อกระจัดกระจายเกลื่อน เสื้อผ้าส่วนหนึ่งและเข็มขัดนาคของภรรยาเขาได้ถูกคนร้ายลักไป

    แต่...คุณพระช่วย ครับ, คุณพระได้ช่วยคุณเฉลิมไว้อย่างปาฏิหาริย์จริง ๆ ด้วย
    ที่ว่าปาฏิหาริย์ก็เพราะ ทั้งสร้อยคอรวมทั้งพระและเงินอีกแปดพันบาท ที่กองอยู่หน้าโต๊ะเครื่องแป้งอย่างชนิดที่ใครโผล่เข้าไปในบ้านก็ต้องมองเห็นได้อย่างถนัดตาทีเดียวนั้น
    ของดังกล่าวยังคงอยู่ ณ ที่นั้นโดยไม่มีใครมาขยับไปไหนเลย

    เรื่องนี้คุณเฉลิมบอกกับผู้เขียนว่า นั่นคือผลแห่งการแคล้วคลาด อันเกิดจากอิทธิปฏิหาริย์ของพระสมเด็จอรหังได้พรางตาคนร้ายไว้แน่ ๆ หรือถ้าใครว่าไม่แน่ละก้อคนร้ายกลุ่มนั้นก็คงจะตาบอดเท่านั้นเอง

    คุณเฉลิมบอกว่า ขณะนี้ผมได้ย้ายบ้านและเป็นเจ้าของสวนลำไยอยู่ที่เชียงใหม่แล้ว สาเหตุที่ได้เปลี่ยนอาชีพ จนพอจะมีกินกับเขาบ้างแล้วนี้ ก็เรื่อง พระสมเด็จอรหัง ท่านช่วยผมอีกเหมือนกัน

    ผมได้อาราธนาบูชาขอโชคลาภท่าน เพื่อขอทุนไปซื้อลำไย ด้วยการไปซื้อลอตเตอรี่ที่จังหวัด 2 ใบ
    คุณเฉลิมยืนยันว่า ไม่ชอบและไม่เคยซื้อกับเขาเลย นอกจากครั้งนี้เท่านั้น
    พอถึงเวลาหวยออก ทั้งเขาและภรรยาดีใจจนแทบเป็นลมเป็นแล้งเอาทีเดียว
    ทั้งนี้ก็เพราะสลากลอตเตอรี่ทั้ง 2 ใบนั้น ใบแรกถูกรางวัลที่ 3 และอีกใบหนึ่งก็ถูกเลขท้าย 3 ตัวด้วย

    นี่คือเรื่องราวที่คุณเฉลม แก้วสีรุ้ง ได้เล่าให้กับผู้เขียนฟังเมื่อ พ.ศ. 2512 ซึ่งขณะนั้นเขาและครอบครัวได้ครองเรือนกันอย่างผาสุกด้วยฐานะที่มั่นคงพอสมควรแล้ว และสิ่งเดียวที่ไม่มีใครมาพรากจากคอเขาได้เลยคือ พระสมเด็จอรหัง เนื้อผงสีขาวองค์เดียวที่เขารักหวงแหนราวกับชีวิตติดตัวเขาอยู่ตลอดเวลาทีเดียว

    เดี๋ยวนี้เราก็รู้แล้วว่า พระสมเด็จอรหัง นอกจากผู้สร้างจะเป็นสมเด็จพระสังฆราชเป็นพระบรมราชาจารย์ของในหลวงทั้ง 3 พระองค์แล้ว ยังเป็นพระอาจารย์ของสมเด็จพระพุฒาจารย์ อีกด้วย
    และสำหรับด้านพระเครื่องฯ พระสมเด็จอรหัง ก็คือพระต้นสกุลพระสมเด็จทั้งหมด
    อันเปรียบได้ดั่ง จักรพรรดิพระสมเด็จ ซึ่งเปี่ยมด้วยพุทธาคมมนต์ขลังด้านมหานิยมและแคล้วคลาด จากสมเด็จพระสังฆราชไก่เถื่อน ผู้เลี้ยงไก่ป่าให้เชื่องได้ดังไก่บ้านไว้เต็มลานนั่นเอง


    อ้างอิง
    tumnan.com: The Leading Thailand Travel Site on the Net
    Monk Main Page
    ขอบคุณภาพจาก http://amuletshop.asia/,http://www....www.be2hand.com/,http://c.static.fsanook.com/

    =============================
    -ข้อมูลสำหรับการศึกษาเพิ่มเติม
    Somdechsuk.org | เวทาสากุ
    http://www.facebook.com/phrakrusittisongvon

    http://www.themajjhima.com/
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • 32.jpg
      32.jpg
      ขนาดไฟล์:
      60 KB
      เปิดดู:
      605
  18. mature_na

    mature_na เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 กรกฎาคม 2005
    โพสต์:
    4,557
    ค่าพลัง:
    +6,760
    เกี่ยวกับ พระสิราศนเจดีย์ และ พระสิรจุมภฏเจดีย์ หน้าอุโบสถวัดราชสิทธาราม

    ปีพระพุทธศักราช ๒๓๗๓ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๓ ทรงสถาปนาพระเจดีย์ย่อมุมไม้สิบสองขนาดใหญ่ เพื่อบรรจุพระอัฏฐิธาตุ และพระอังคาร ของสมเด็จพระสังฆราช (สุก ไก่เถื่อน)

    ส่วนที่คณะสงฆ์เก็บไว้ที่วัดราชสิทธารามพร้อมกันนั้นก็ได้บรรจุอัฏฐิธาตุ และอังคาร ของพระมหาสงฆเถระทั้งเจ็ดองค์ ไว้ในพระเจดีย์องค์เดียวกันนี้ในครั้งนั้นด้วย พระเจดีย์องค์นี้ทรงสถาปนาไว้ทางด้านหน้าพระอุโบสถข้างทิศไต้ พร้อมกันนั้นก็ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้ทำการบูรณะวัดราชสิทธารามเป็นการใหญ่ในปีนั้นด้วย

    ทำการฉลองในปีพระพุทธศักราช ๒๓๗๔ปรากฏ ในหนังสือประชุมพงศาวดารประกาศ รัชกาลที่ ๔ ภาค ๒๕ ปีพระพุทธศักราช ๒๔๖๕ หน้า ๗๒ ตอนหนึ่งว่า

    “พระสถูปเจดีย์ทั้งคู่มี พระอัคฆิยเจดีย์ ๔ ทิศเป็นบริวาร ที่หน้าพระอุโบสถวัดราชสิทธาราม พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าฯเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๓ พระบรมเชษฐาธิราชทรงสถาปนาไว้ในหมู่ข้างใต้แต่ก่อน ครั้งนี้มีพระราชศรัทธา (หมายถึงรัชกาลที่ ๔) ทรงอุตสาหะปฏิสังขรณ์ ให้วัฒนาถาวรดีกว่าเก่า “

    ปีพระพุทธศักราช ๒๓๙๗ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔ทรงสถาปนาเป็นพระเจดีย์แบบลังกาทรงเครื่อง มีสังวาลย์พาดห้อยประกอบด้วยลวดลาย ปิดทองประดับกระจก คลอบพระเจดีย์แบบย่อมุมไม้สิบสององค์เดิม
    มีเจดีย์ย่อมุมไม้สิบสองขนาดเล็ก ๔ ทิศ ๔ มุมเป็นบริวาร อันเป็นของพระบาทสมเด็จนั่งเกล้าพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๓ ที่ทรงสถาปนาไว้หน้าพระอุโบสถ ข้างทิศใต้มาแต่ก่อน
    =============================
    -ข้อมูลสำหรับการศึกษาเพิ่มเติม
    Somdechsuk.org | เวทาสากุ
    http://www.facebook.com/phrakrusittisongvon

    http://www.themajjhima.com/
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • 34.gif
      34.gif
      ขนาดไฟล์:
      24.7 KB
      เปิดดู:
      1,966
  19. mature_na

    mature_na เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 กรกฎาคม 2005
    โพสต์:
    4,557
    ค่าพลัง:
    +6,760
    และพร้อมกันนั้นก็ได้ทรงสถาปนาพระเจดีย์แบบลังกาทรงเครื่องอย่างเดียวกันไว้ ทางหน้าพระอุโบสถข้างทิศเหนือ แล้วพระราชทานนามพระเจดีย์ของสมเด็จพระนั่งเกล้าฯเจ้าอยู่หัวว่า พระสิราศนเจดีย์

    และพระราชทานขนานพระนามพระสถูปเจดีย์ ด้วยการสถาปนาไว้ด้วยพระองค์เองว่า พระสิรจุมภฏเจดีย์



    ที่มาเนื้อหา อ่านเต็ม ๆ ได้ที่นี่ จ้า
    ๘. ประวัติพระญาณโกศลเถร (มาก)

    เจดีย์ทรงเครื่อง :

    “เจดีย์ทรงเครื่องเป็นเจดีย์ที่ประดับลาย*เฟื่องรอบองค์ระฆังเพื่อแสดงลักษณะเด่นพิเศษจากเจดีย์องค์อื่น

    เจดีย์ทรงเครื่องนี้มักสร้างขึ้นเป็นอนุสรณ์แก่ผู้ทรงเกียรติเช่น ที่วัดราชสิทธาราม (วัดพลับ) พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 ทรงสร้างถวายเป็นพระราชอุทิศ แด่พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 (ด้านทิศตะวันออก) และสร้างขึ้นเป็นส่วนพระองค์โดยเฉพาะ (ด้านทิศตะวันตก)

    ขยายความลักษณะพิเศษก็คือการประดับองค์ระฆังด้วยปูนปั้นเป็นลายเฟื่องนั้น น่าจะสื่อความหมายเช่นเดียวกับพระพุทธรูปทรงเครื่อง ที่มีความเชื่อกันว่าเป็นพระพุทธรูปที่มีความหมายมาจากความเชื่อจักรพรรดิราชาที่มีอยู่ทั้งในพุทธศาสนาทั้งในมหายานและเถรวาท

    (หนังสือพจนานุกรม สถาปัตยกรรมและศิลปเกี่ยวเนื่อง ของ ผู้ช่วยศาสตราจารย์โชติกัลยาณ มิตร)

    *ลายเฟื่องคือลายไทยอย่างหนึ่งที่มีแรงบันดาลใจมาจากธรรมชาติรอบตัว***
    =============================
    -ข้อมูลสำหรับการศึกษาเพิ่มเติม
    Somdechsuk.org | เวทาสากุ
    http://www.facebook.com/phrakrusittisongvon

    http://www.themajjhima.com/
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • 33.jpg
      33.jpg
      ขนาดไฟล์:
      32.1 KB
      เปิดดู:
      621
  20. mature_na

    mature_na เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 กรกฎาคม 2005
    โพสต์:
    4,557
    ค่าพลัง:
    +6,760
    พระพุทธศาสนาในประเทศไทย สมัยรัตนโกสินทร์


    ขอบคุณภาพประกอบจาก http://1.bp.blogspot.com/

    รัชกาลที่ ๑ (๒๓๒๕ - ๒๓๕๒)
    พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช เสด็จขึ้นครองราชย์เมื่อปี พ.ศ. ๒๓๒๕ ต่อจากพระเจ้าตากสินมหาราช ทรงย้ายเมืองจากธนบุรี มาตั้งราชธานีใหม่ เรียกชื่อว่า "กรุงเทพมหานครอมรรัตนโกสินทร์" ทรงสร้างและปฏิสังขรณ์วัดต่าง ๆเช่นสร้างวัดพระศรีรัตนศาสดาราม วัดสุทัศนเทพวราราม วัดสระเกศ และวัดพระเชตุพน ฯ เป็นต้น ทรงโปรดให้มีการสังคายนาพระไตรปิฎกครั้งที่ ๙ และถือเป็นครั้งที่ ๒ ในประเทศไทย ณ วัดมหาธาตุ ได้มีการสอนพระปริยัติธรรมในพระบรมมหาราชวัง ตลอดจนตามวังเจ้านายและบ้านเรือนของข้าราชการผู้ใหญ่ ทรงตรากฎหมายคณะสงฆ์ขึ้น เพื่อจัดระเบียบการปกครองของสงฆ์ให้เรียบร้อย ทรงจัดให้มีการสอบพระปริยัติธรรมทรงสถาปนาสมเด็จพระสังฆราชองค์แรกของกรุงรัตนโกสินทร์ โดยสถาปนา พระสังฆราช (ศรี) เป็นสมเด็จพระสังฆราช เมื่อปี พ.ศ. ๒๓๕๒

    รัชกาลที่ ๒ (๒๓๕๒- ๒๓๖๗)
    พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย เสด็จขึ้นครองราชย์เมื่อ พ.ศ. ๒๓๕๒ เป็นทรงทำนุบำรุงส่งเสริมพระพุทธศาสนาเหมือนอย่างพระมหากษัตริย์ไทยแต่โบราณ ในรัชสมัยของพระองค์ได้ทรงสถาปนาสมเด็จพระสังฆราชถึง ๓ พระองค์ คือ สมเด็จพระสังฆราช( สุก ) สมเด็จพระสังฆราช( มี ) และ สมเด็จพระสังฆราช ( สุก ญาณสังวร)
    ในปี พ.ศ. ๒๓๕๗ ทรงจัดส่งสมณทูต ๘ รูป ไปฟื้นฟูพระพุทธศาสนาในประเทศลังกา ได้จัดให้มีการจัดงานวันวิสาขบูชาขึ้นเป็นครั้งแรกในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ เมื่อ พ.ศ. ๒๓๖๐ ซึ่งแต่เดิมก็เคยปฏิบัติถือกันมาเมื่อครั้งกรุงสุโขทัย แต่ได้ขาดตอนไปตั้งแต่เสียกรุงศรีอยุธยาแก่พม่า จึงได้มีการฟื้นฟู วันวิสาขบูชา ใหม่ ได้โปรดให้มีการเปลี่ยนแปลงแก้ไขวิธีการสอบไล่ปริยัติธรรมขึ้นใหม่ ได้ขยายหลักสูตร ๓ ชั้น คือ เปรียญตรี -โท - เอก เป็น ๙ ชั้น คือชั้นประโยค ๑ - ๙

    =============================
    -ข้อมูลสำหรับการศึกษาเพิ่มเติม
    Somdechsuk.org | เวทาสากุ
    http://www.facebook.com/phrakrusittisongvon

    http://www.themajjhima.com/
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • 35.jpg
      35.jpg
      ขนาดไฟล์:
      151.4 KB
      เปิดดู:
      1,612

แชร์หน้านี้

Loading...