จิตพร้อม? รับภัยพิบัติ

ในห้อง 'ภัยพิบัติและการเตรียมการ' ตั้งกระทู้โดย ภูภู, 6 เมษายน 2012.

  1. Linda2009

    Linda2009 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 พฤษภาคม 2009
    โพสต์:
    956
    ค่าพลัง:
    +9,998
    ขอโต้ดค่ะ คุณภู ต่อมอยู่ลึกไม่ค่อยผุด ที่ผุดก็เป็นตอด้วนๆ ตอไม่อิโหน่อิเหน่ วันนี้ถ้าครูเพ็ญไม่สำทับว่า ให้เอาขึ้นฟาสฟูด ก็คงหายไปกับ หาดทราย สายลม และแสงแดด แถมคอมพ์ก็แฮงค์ไปมาน่าร้องให้
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • kjl.jpg
      kjl.jpg
      ขนาดไฟล์:
      8.9 KB
      เปิดดู:
      48
  2. Pugsley

    Pugsley เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 พฤษภาคม 2012
    โพสต์:
    282
    ค่าพลัง:
    +4,825
    ทางปฏิบัติ 7 สายของมนุษย์โลก

    1. ทางไปสู่การเป็นสัตว์นรก ==> โกรธเข้าไปมากๆ โกรธทุกๆวัน โกรธพร่ำเพรื่อ ผิดศีลให้เยอะๆ ==> คงไม่มีใครเลือกนะค่ะ

    2. ทางไปสู่การเป็นเปรต อสุรกาย ==> โลภเข้าไปเยอะๆ โลภไม่ลืมหูลืมตา ห่วงหวงสมบัติ คอรัปชั่น โกงกิน ==> คงไม่มีใครเลือกนะค่ะ

    3. ทางปฏิบัติไปสู่การเป็นสัตว์เดรัจฉาน ==> หลงเยอะๆเลยนะ หลงตัวเอง + หลงในตัวผู้อื่น และสรรพสิ่งต่างๆที่พึงพอใจ ==> คงไม่มีใครเลือกนะค่ะ

    4. ทางไปสู่การเป็นมนุษย์ ==> ตั้งใจรักษาศีล 5 เป็นนิจ ให้บริสุทธิ์ทั้งกาย วาจา ใจ ==> ไม่ควรที่จะเลือกอยู่ดี ชาตินี้ทุกท่านก็ได้อัตภาพนี้มาแล้ว เดินทางต่อไปอีกนิด...อย่าหลุด!ลงสู่ที่ต่ำนะค่ะ

    5. ทางไปสู่สวรรค์ ==> ตั้งใจรักษาศีล (อย่างน้อยศีล 5) และทำบุญ ทำทานไว้เยอะๆ ไหว้พระ สวดมนต์ ฟังเทศน์ ฟังธรรม สร้างโบสถ์ สร้างวิหาร ==> อย่าไปเลือกเลยค่ะ โอกาสล่วงลงมาจากฟ้ามีเยอะ ยังอยู่ในกามาวจรภูมิ

    6. ทางไปสู่พรหมโลก ==> เล่นสมถกรรมฐาน (ณาน) + เจริญพรหมวิหาร 4 ==> ไม่น่าเลือกหรอกค่ะ สุขนานก็จริงแต่ไม่ถาวร

    7. ทางไปสู่อริยบุคคล พระนิพพาน ==> วิปัสสนากรรมฐาน (ศีล+สมาธิ+ปัญญา) ==> เส้นทางไปสู่พระนิพพานนี่แล่ะที่ท่านผู้ฉลาดทั้งหลายสมควรเลือกให้เป็นเป้าหมายปลายทางสูงสุดในชีวิต ซึ่งแท้จริงแล้วก็เป็นหนทางเดียวที่จะนำพาท่านหลุดพ้นออกไปจากกิเลสและกองทุกข์ได้อย่างถาวร

    ชาตินี้ได้เกิดมาเป็นมนุษย์แล้ว มีเครื่องมืออุปกรณ์พร้อมแล้ว อย่าได้เดินหลงทางกันอีกต่อไปเลย

    เข้ามาเดินอยู่บนเส้นทางสายปัญญาด้วยกันเถิด มาทำ "จิตเกาะพระ" ด้วยกัน ซึ่งเป็นวิธีการเดินมรรค ศีล+สมาธิ+ปัญญา ตามแนวทางของพระพุทธองค์ทุกประการ

    เลือกเส้นทางนี้ ท่านมาถูกทางแล้ว ขึ้นมาวิ่งบนถนนทางด่วน-ทางพิเศษกันได้แล้ว อย่ามัวไปกินลมชมวิวตามถนนรอบนอกเลี่ยงเมืองกันอยู่เลย

    เวลาเหลือไม่มากแล้วนะค่ะ วันนี้ยังไม่ลงมือปฏิบัติ แล้วท่านมั่นใจได้อย่างไรว่าวันพรุ่งนี้ท่านจะยังคงหายใจเข้า-ออกได้เป็นปกติอยู่ อย่าประมาท! อย่าชะล่าใจ! กันอีกเลย...เริ่มปฏิบัติกันเสียที
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 15 ธันวาคม 2012
  3. ลูกพลัง

    ลูกพลัง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 เมษายน 2012
    โพสต์:
    413
    ค่าพลัง:
    +8,932
    ท่านมาถูกทางแล้ว..

    พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๒ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๔
    มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์

    ๙. สัมมาทิฏฐิสูตร
    ว่าด้วยความเห็นชอบ​


                 [๑๑๐] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้:-
                 สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิก-
    *เศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี ณ ที่นั้น ท่านพระสารีบุตรเรียกภิกษุทั้งหลายแล้ว ภิกษุพวกนั้น
    รับคำท่านพระสารีบุตรแล้ว ท่านพระสารีบุตรได้กล่าวคำนี้ว่า ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ที่เรียกว่า
    สัมมาทิฏฐิๆ ด้วยเหตุเพียงเท่าไรหนอ อริยสาวกจึงจะชื่อว่าเป็นสัมมาทิฏฐิ มีความเห็นดำเนินไป
    ตรงแล้ว ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันแน่วแน่ในธรรม มาสู่พระสัทธรรมนี้ พวกภิกษุกล่าวว่า
    ดูกรท่านผู้มีอายุ พวกกระผมมาจากที่ไกล ก็เพื่อจะรู้ทั่วถึงเนื้อความแห่งภาษิตนี้ ในสำนักของท่าน
    พระสารีบุตร ดังพวกกระผมขอโอกาส เนื้อความแห่งภาษิตนี้ จงแจ่มแจ้งกะท่านพระสารีบุตรเถิด
    ภิกษุทั้งหลายได้ฟังต่อท่านพระสารีบุตรแล้ว จักทรงจำไว้ ท่านพระสารีบุตรตอบว่า ถ้าอย่างนั้น
    จงฟังเถิด ท่านผู้มีอายุ จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว ภิกษุพวกนั้นรับคำท่านพระสารีบุตรแล้ว.
                 [๑๑๑] ท่านพระสารีบุตรได้กล่าวคำนี้ว่า ดูกรท่านผู้มีอายุ เมื่อใดอริยสาวกรู้ชัดซึ่ง
    อกุศลและรากเหง้าอกุศล รู้ชัดซึ่งกุศลและรากเหง้าของกุศล แม้ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ อริยสาวกชื่อว่า
    เป็นสัมมาทิฏฐิ มีความเห็นดำเนินไปตรงแล้วประกอบด้วยความเลื่อมใสอันแน่วแน่ในธรรม มาสู่
    พระสัทธรรมนี้ ก็อกุศลเป็นไฉน? ได้แก่ ฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ ประพฤติผิดในกาม พูดเท็จ
    พูดส่อเสียด พูดคำหยาบ พูดเพ้อเจ้อ อยากได้ของผู้อื่น ปองร้ายเขา เห็นผิด อันนี้เรียกว่า
    อกุศลแต่ละอย่างๆ รากเหง้าของอกุศลเป็นไฉน? ได้แก่ โลภะ โทสะ โมหะ อันนี้เรียกว่ารากเหง้า
    ของอกุศลแต่ละอย่างๆ กุศลเป็นไฉน? ได้แก่ ความเว้นจากฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ ประพฤติผิด
    ในกาม พูดเท็จ พูดส่อเสียด พูดคำหยาบ พูดเพ้อเจ้อ ไม่อยากได้ของผู้อื่น ไม่ปองร้ายเขา
    เห็นชอบ อันนี้เรียกว่า กุศลแต่ละอย่างๆ รากเหง้าของกุศลเป็นไฉน? ได้แก่ อโลภะ อโทสะ
    อโมหะ อันนี้เรียกว่า รากเหง้าของกุศลแต่ละอย่างๆ ดูกรท่านผู้มีอายุ เมื่อใด อริยสาวกรู้ชัด
    ซึ่งอกุศลและรากเหง้าของอกุศลอย่างนี้ๆ รู้ชัดซึ่งกุศลและรากเหง้าของกุศลอย่างนี้ๆ เมื่อนั้น ท่านละ
    ราคานุสัย บรรเทาปฏิฆานุสัย ถอนทิฏฐานุสัย และมานานุสัยว่า เรามีอยู่โดยประการทั้งปวง
    ละอวิชชา ยังวิชชาให้เกิด ย่อมกระทำที่สุดแห่งทุกข์ในปัจจุบันนี้เทียว แม้ด้วยเหตุเพียงเท่านี้
    อริยสาวกชื่อว่าเป็นสัมมาทิฏฐิ มีความเห็นดำเนินไปตรงแล้ว ประกอบด้วยความเลื่อมใสอัน
    แน่วแน่ในธรรม มาสู่พระสัทธรรมนี้
                 [๑๑๒] ภิกษุเหล่านั้นชื่นชม อนุโมทนาภาษิตของท่านพระสารีบุตรว่า สาธุ ท่านผู้มีอายุ
    แล้วได้ถามปัญหากะท่านพระสารีบุตรต่อไปว่า ดูกรท่านผู้มีอายุ จะพึงมีอยู่หรือปริยายแม้อย่างอื่น
    ที่อริยสาวกซึ่งชื่อว่าเป็นสัมมาทิฏฐิ มีความเห็นดำเนินไปตรงแล้ว ประกอบด้วยความเลื่อมใส
    อันแน่วแน่ในธรรม มาสู่พระสัทธรรมนี้.

    อาหารวาร
                 [๑๑๓] ท่านพระสารีบุตรตอบว่า พึงมีอยู่ ท่านผู้มีอายุ เมื่อใดอริยสาวกรู้ชัดซึ่งอาหาร
    เหตุเกิดแห่งอาหาร ความดับอาหาร และทางที่จะให้ถึงความดับอาหาร แม้ด้วยเหตุเพียงเท่านี้
    อริยสาวกชื่อว่าเป็นสัมมาทิฏฐิ ... มาสู่พระสัทธรรมนี้ ก็อาหาร เหตุเกิดแห่งอาหาร ความดับอาหาร
    ทางที่จะให้ถึงความดับอาหาร เป็นไฉน? ได้แก่อาหาร ๔ อย่างเหล่านี้ เพื่อความดำรงอยู่ของหมู่
    สัตว์ผู้เกิดแล้ว หรือเพื่ออนุเคราะห์เหล่าสัตว์ผู้แสวงหาที่เกิด อาหาร ๔ อย่างเป็นไฉน? คือ
                 ๑ อาหาร คือ คำข้าว หยาบหรือละเอียด
                 ๒ อาหาร คือ ผัสสะ
                 ๓ อาหาร คือ ความคิดอ่าน [จงใจ]
                 ๔ อาหาร คือ วิญญาณ [ความรู้แจ้งทางทวาร ๖]
                 เหตุเกิดแห่งอาหารย่อมมีเพราะตัณหาเป็นเหตุให้เกิด ความดับอาหารย่อมมีเพราะตัณหา
    ดับ อริยมรรคประกอบด้วยองค์ ๘ นี้แหละ คือ ความเห็นชอบ ดำริชอบ เจรจาชอบ การงานชอบ
    เลี้ยงชีพชอบ พยายามชอบ ระลึกชอบ ตั้งใจชอบ ชื่อว่าทางที่จะให้ถึงความดับอาหาร ดูกรท่าน
    ผู้มีอายุ เมื่อใด อริยสาวกรู้ชัดซึ่งอาหาร เหตุเกิดแห่งอาหาร ความดับอาหาร ทางที่จะให้ถึง
    ความดับอาหารอย่างนี้ๆ เมื่อนั้น ท่านละราคานุสัย บรรเทาปฏิฆานุสัย ถอนทิฏฐานุสัย และ
    มานานุสัย ว่าเรามีอยู่ โดยประการทั้งปวง ละอวิชชา ยังวิชชาให้เกิด ย่อมกระทำที่สุดแห่งทุกข์
    ในปัจจุบันนี้เทียว แม้ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ อริยสาวกชื่อว่าเป็นสัมมาทิฏฐิ มีความเห็นดำเนินไป
    ตรงแล้ว ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันแน่วแน่ในธรรม มาสู่พระสัทธรรมนี้.
                 [๑๑๔] ภิกษุเหล่านั้น ชื่นชม อนุโมทนาภาษิตของท่านพระสารีบุตรว่า สาธุ ท่านผู้มีอายุ
    แล้วได้ถามปัญหากะท่านพระสารีบุตรต่อไปว่า ดูกรท่านผู้มีอายุ จะพึงมีอยู่หรือ ปริยายแม้อย่างอื่น
    อริยสาวก ... มาสู่พระสัทธรรมนี้.

    สัจจวาร
                 [๑๑๕] ท่านพระสารีบุตรตอบว่า พึงมีอยู่ ท่านผู้มีอายุ เมื่อใดอริยสาวกรู้ชัดซึ่งทุกข์
    ทุกขสมุทัย ทุกขนิโรธ ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา แม้ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ อริยสาวกชื่อว่าเป็น
    สัมมาทิฏฐิ ... มาสู่พระสัทธรรมนี้ ก็ทุกข์เป็นไฉน? ได้แก่ ความเกิด ความแก่ ความตาย ความ
    แห้งใจ ความพิไรรำพัน ความไม่สบายกาย ความเสียใจ ความคับแค้นใจ ความประจวบกับ
    สิ่งไม่เป็นที่รัก ความพลัดพรากจากสิ่งเป็นที่รัก ปรารถนาสิ่งใดไม่ได้สมหวัง แต่ละอย่างๆ ล้วน
    เป็นทุกข์ โดยย่อ อุปาทานขันธ์ทั้ง ๕ เป็นทุกข์ อันนี้เรียกว่า ความทุกข์ ก็ทุกขสมุทัยเป็นไฉน?
    ได้แก่ ตัณหาอันทำให้เกิดในภพใหม่ ประกอบด้วยความกำหนัด ด้วยสามารถแห่งความเพลิน
    เพลิดเพลินยิ่งในอารมณ์นั้นๆ คือ กามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหา อันนี้เรียกว่า ทุกขสมุทัย
    ทุกขนิโรธเป็นไฉน? ได้แก่ความดับด้วยสามารถแห่งความสำรอกโดยไม่เหลือ ความสละ ความ
    วาง ความปล่อย ความไม่พัวพัน แห่งตัณหานั้นแหละ อันนี้เรียกว่า ทุกขนิโรธ ทุกขนิโรธ-
    *คามินีปฏิปทาเป็นไฉน? ได้แก่ อริยมรรคประกอบด้วยองค์ ๘ นี้แหละ คือ ความเห็นชอบ ...
    ความตั้งใจชอบ อันนี้เรียกว่า ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา ดูกรผู้มีอายุ เมื่อใด อริยสาวกรู้ชัดซึ่งทุกข์
    ทุกขสมุทัย ทุกขนิโรธ ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอย่างนี้ๆ เมื่อนั้น ท่านละราคานุสัย ... แม้ด้วยเหตุ
    เพียงเท่านี้ อริยสาวกชื่อว่าเป็นสัมมาทิฏฐิ มีความเห็นดำเนินไปตรงแล้ว ประกอบด้วยความ
    เลื่อมใสอันแน่วแน่ในธรรม มาสู่พระสัทธรรมนี้.

    ชรามรณวาร
                 [๑๑๖] ภิกษุเหล่านั้น ชื่นชม อนุโมทนาภาษิตของท่านพระสารีบุตรว่า สาธุ ท่านผู้มีอายุ
    แล้วได้ถามปัญหากะท่านพระสารีบุตรต่อไปว่า ดูกรท่านผู้มีอายุ จะพึงมีอยู่หรือ ปริยายแม้อย่างอื่น
    อริยสาวก ... มาสู่พระสัทธรรมนี้.
                 [๑๑๗] ท่านพระสารีบุตรตอบว่า พึงมีอยู่ ท่านผู้มีอายุ เมื่อใด อริยสาวกรู้ชัดซึ่งชรา
    และมรณะ เหตุเกิดแห่งชราและมรณะ ความดับชราและมรณะ และทางที่จะให้ถึงความดับชรา
    และมรณะ แม้ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ อริยสาวกชื่อว่าเป็นสัมมาทิฏฐิ ... มาสู่พระสัทธรรมนี้ ก็ชรา
    และมรณะ เหตุเกิดแห่งชราและมรณะ ความดับชราและมรณะ ทางที่จะให้ถึงความดับชราและ
    มรณะ เป็นไฉน? ได้แก่ความแก่ ความคร่ำคร่า ฟันหลุด ผมหงอก หนังย่น ความเสื่อมแห่ง
    อายุ ความแก่หง่อมแห่งอินทรีย์ ในหมู่สัตว์นั้นๆ ของเหล่าสัตว์นั้นๆ อันนี้เรียกว่าชรา ความจุติ
    ความเคลื่อนไป ความแตกทำลาย ความหายไป มฤตยู ความตาย ความทำกาละ ความแตก
    แห่งขันธ์ ความทิ้งซากศพไว้ ความขาดไปแห่งชีวิตินทรีย์จากหมู่สัตว์นั้นๆ ของเหล่าสัตว์นั้นๆ
    อันนี้เรียกว่ามรณะ ชราและมรณะ ดังพรรณนามาฉะนี้ เรียกว่า ชราและมรณะ เหตุเกิดแห่งชรา
    และมรณะ ย่อมมีเพราะชาติเป็นเหตุให้เกิด ความดับชราและมรณะ ย่อมมีเพราะชาติดับ
    อริยมรรคประกอบด้วยองค์ ๘ นี้แหละ คือ ความเห็นชอบ ... ความตั้งใจชอบ ชื่อว่าปฏิปทาที่จะให้
    ถึงความดับชราและมรณะ ดูกรท่านผู้มีอายุ เมื่อใดแล อริยสาวกรู้ชัดซึ่งชราและมรณะ เหตุเกิด
    แห่งชราและมรณะ ความดับชราและมรณะ และปฏิปทาที่จะให้ถึงความดับแห่งชราและมรณะ
    อย่างนี้ๆ เมื่อนั้น ท่านละราคานุสัย ฯลฯ แม้ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ อริยสาวกชื่อว่าเป็นสัมมาทิฏฐิ
    มีความเห็นดำเนินไปตรงแล้ว ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันแน่วแน่ในธรรม มาสู่พระสัทธรรมนี้.

    ชาติวาร
                 [๑๑๘] ดูกรท่านผู้มีอายุ จะพึงมีอยู่หรือ ปริยายแม้อย่างอื่น ท่านพระสารีบุตรตอบว่า
    พึงมี ท่านผู้มีอายุ เมื่อใดแล อริยสาวกรู้ชัดซึ่งชาติ เหตุเกิดแห่งชาติ ความดับชาติ และ
    ปฏิปทาที่จะให้ถึงความดับชาติ แม้ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ อริยสาวกชื่อว่าเป็นสัมมาทิฏฐิ ... มาสู่
    พระสัทธรรมนี้ ก็ชาติ เหตุเกิดแห่งชาติ ความดับชาติ ปฏิปทาที่จะให้ถึงความดับชาติ เป็นไฉน?
    ความเกิด ความบังเกิด ความหยั่งลง เกิด เกิดเฉพาะ ความปรากฏแห่งขันธ์ ความได้อายตนะ
    ครบ ในหมู่สัตว์นั้นๆ ของเหล่าสัตว์นั้นๆ อันนี้เรียกว่า ชาติ เหตุเกิดแห่งชาติย่อมมีเพราะภพ
    เป็นเหตุให้เกิด ความดับชาติย่อมมี เพราะภพดับ อริยมรรคประกอบด้วยองค์ ๘ นี้แหละ คือ
    ความเห็นชอบ ... ความตั้งใจชอบ ชื่อว่าปฏิปทาที่จะให้ถึงความดับชาติ ดูกรท่านผู้มีอายุ เมื่อใดแล
    อริยสาวกรู้ชัดซึ่งชาติ เหตุเกิดแห่งชาติ ความดับชาติและปฏิปทาที่จะให้ถึงความดับชาติอย่างนี้ๆ
    เมื่อนั้น ท่านละราคานุสัย ... แม้ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ อริยสาวกชื่อว่าเป็นสัมมาทิฏฐิ ... มาสู่พระสัทธรรมนี้

    ภวาทิวาร
                 [๑๑๙] ดูกรท่านผู้มีอายุ จะพึงมีอยู่หรือ ปริยายแม้อย่างอื่น ... ท่านพระสารีบุตรตอบว่า
    พึงมี ท่านผู้มีอายุ เมื่อใดแล อริยสาวกรู้ชัดซึ่งภพ เหตุเกิดแห่งภพ ความดับภพ และปฏิปทา
    ที่จะให้ถึงความดับภพ แม้ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ อริยสาวกชื่อว่าเป็นสัมมาทิฏฐิ ... มาสู่พระสัทธรรมนี้
    ก็ภพ เหตุเกิดแห่งภพ ความดับภพ และปฏิปทาที่จะให้ถึงความดับภพ เป็นไฉน? ได้แก่ ภพ ๓
    เหล่านี้ คือ กามภพ รูปภพ อรูปภพ เหตุเกิดแห่งภพ ย่อมมีเพราะอุปาทานเป็นเหตุให้เกิด
    ความดับภพ ย่อมมีเพราะอุปาทานดับ อริยมรรคประกอบด้วยองค์ ๘ นี้แหละ คือ ความเห็นชอบ ...
    ความตั้งใจชอบ ชื่อว่าปฏิปทาที่จะให้ถึงความดับภพ ดูกรท่านผู้มีอายุ เมื่อใดแล อริยสาวกรู้ชัด
    ซึ่งภพ เหตุเกิดแห่งภพ ความดับภพ และปฏิปทาที่จะให้ถึงความดับภพอย่างนี้ๆ เมื่อนั้น ท่านละ
    ราคานุสัย ... แม้ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ อริยสาวกชื่อว่าเป็นสัมมาทิฏฐิ ... มาสู่พระสัทธรรมนี้.
                 [๑๒๐] ดูกรท่านผู้มีอายุ จะพึงมีอยู่หรือ ปริยายแม้อย่างอื่น ... ท่านพระสารีบุตรตอบว่า
    พึงมี ท่านผู้มีอายุ เมื่อใดแล อริยสาวกรู้ชัดซึ่งอุปาทาน เหตุเกิดแห่งอุปาทาน ความดับอุปาทาน
    และปฏิปทาที่จะให้ถึงความดับอุปาทาน แม้ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ อริยสาวกชื่อว่าเป็นสัมมาทิฏฐิ ...
    มาสู่พระสัทธรรมนี้ ก็อุปาทาน เหตุเกิดแห่งอุปาทาน ความดับอุปาทาน และปฏิปทาที่จะให้ถึง
    ความดับอุปาทาน เป็นไฉน? ได้แก่ อุปาทาน ๔ คือ กามุปาทาน ทิฏฐุปาทาน สีลัพพัตตุปาทาน
    อัตตวาทุปาทาน เหตุเกิดแห่งอุปาทาน ย่อมมีเพราะตัณหาเป็นเหตุให้เกิด ความดับอุปาทาน
    ย่อมมีเพราะตัณหาดับ อริยมรรคประกอบด้วยองค์ ๘ นี้แหละ คือ ความเห็นชอบ ... ความตั้งใจชอบ
    ชื่อว่าปฏิปทาที่จะให้ถึงความดับอุปาทาน ดูกรท่านผู้มีอายุ เมื่อใดแล อริยสาวกรู้ชัดซึ่งอุปาทาน
    เหตุเกิดแห่งอุปาทาน ความดับอุปาทาน และปฏิปทาที่จะให้ถึงความดับอุปาทานอย่างนี้ๆ เมื่อนั้น
    ท่านละราคานุสัย ... แม้ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ อริยสาวกชื่อว่าเป็นสัมมาทิฏฐิ ... มาสู่พระสัทธรรมนี้.

    ตัณหาทิวาร
                 [๑๒๑] ดูกรท่านผู้มีอายุ จะพึงมีอยู่หรือ ปริยายแม้อย่างอื่น ... ท่านพระสารีบุตรตอบว่า
    พึงมี ท่านผู้มีอายุ เมื่อใดแล อริยสาวกรู้ชัดซึ่งตัณหา เหตุเกิดแห่งตัณหา ความดับแห่งตัณหา
    และปฏิปทาที่จะให้ถึงความดับตัณหา แม้ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ อริยสาวกชื่อว่าเป็นสัมมาทิฏฐิ ...
    มาสู่พระสัทธรรมนี้ ก็ตัณหา เหตุเกิดแห่งตัณหา ความดับตัณหา และปฏิปทาที่จะให้ถึงความดับ
    ตัณหาเป็นไฉน? ได้แก่ ตัณหา ๖ หมวดเหล่านี้ คือ ตัณหาในรูป ตัณหาในเสียง ตัณหาในกลิ่น
    ตัณหาในรส ตัณหาในโผฏฐัพพะ ตัณหาในธรรม เหตุเกิดแห่งตัณหา ย่อมมีเพราะเวทนาเป็น
    เหตุให้เกิด ความดับตัณหา ย่อมมีเพราะเวทนาดับ อริยมรรคประกอบด้วยองค์ ๘ นี้แหละ คือ
    ความเห็นชอบ ... ความตั้งใจชอบ ชื่อว่าปฏิปทาที่จะให้ถึงความดับตัณหา ดูกรท่านผู้มีอายุ เมื่อใดแล
    อริยสาวกรู้ชัดซึ่งตัณหา เหตุเกิดแห่งตัณหา ความดับตัณหา และปฏิปทาที่จะให้ถึงความดับตัณหา
    อย่างนี้ๆ เมื่อนั้น ท่านละราคานุสัย ... แม้ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ อริยสาวกชื่อว่าเป็นสัมมาทิฏฐิ ...
    มาสู่พระสัทธรรมนี้.
                 [๑๒๒] ดูกรท่านผู้มีอายุ จะพึงมีอยู่หรือ ปริยายแม้อย่างอื่น ... ท่านพระสารีบุตรตอบว่า
    พึงมี ท่านผู้มีอายุ เมื่อใดแล อริยสาวกรู้ชัดซึ่งเวทนา เหตุเกิดแห่งเวทนา ความดับเวทนา และ
    ปฏิปทาที่จะให้ถึงความดับเวทนา แม้ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ อริยสาวกชื่อว่าเป็นสัมมาทิฏฐิ ... มาสู่
    พระสัทธรรมนี้ ก็เวทนา เหตุเกิดแห่งเวทนา ความดับเวทนา และปฏิปทาที่จะให้ถึงความดับ
    เวทนา เป็นไฉน? ได้แก่เวทนา ๖ หมวดเหล่านี้ คือ เวทนาที่เกิดแต่จักขุสัมผัส เวทนาที่เกิดแต่
    โสตสัมผัส เวทนาที่เกิดแต่ฆานสัมผัส เวทนาที่เกิดแต่ชิวหาสัมผัส เวทนาที่เกิดแต่กายสัมผัส
    เวทนาที่เกิดแต่มโนสัมผัส เหตุเกิดเวทนา ย่อมมีเพราะผัสสะเป็นเหตุให้เกิด ความดับเวทนา
    ย่อมมีเพราะผัสสะดับ อริยมรรคประกอบด้วยองค์ ๘ นี้แหละ คือความเห็นชอบ ... ความตั้งใจชอบ
    ชื่อว่าปฏิปทาที่จะให้ถึงความดับเวทนา ดูกรท่านผู้มีอายุ เมื่อใดแล อริยสาวกรู้ชัดซึ่งเวทนา เหตุ-
    *เกิดแห่งเวทนา ความดับเวทนา และปฏิปทาที่จะให้ถึงความดับเวทนาอย่างนี้ๆ เมื่อนั้น ท่าน
    ละราคานุสัย ... แม้ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ อริยสาวกชื่อว่าเป็นสัมมาทิฏฐิ ... มาสู่พระสัทธรรมนี้.
                 [๑๒๓] ดูกรท่านผู้มีอายุ จะพึงมีอยู่หรือ ปริยายแม้อย่างอื่น ... ท่านพระสารีบุตรตอบว่า
    พึงมี ท่านผู้มีอายุ เมื่อใดแล อริยสาวกรู้ชัดซึ่งผัสสะ เหตุเกิดแห่งผัสสะ ความดับผัสสะ และ
    ปฏิปทาที่จะให้ถึงความดับผัสสะ แม้ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ อริยสาวกชื่อว่าเป็นสัมมาทิฏฐิ ... มาสู่
    พระสัทธรรมนี้. ก็ผัสสะ เหตุเกิดแห่งผัสสะ ความดับผัสสะ และทางที่จะให้ถึงความดับผัสสะ
    เป็นไฉน? ได้แก่ ผัสสะ ๖ หมวด คือ จักขุสัมผัส โสตสัมผัส ฆานสัมผัส ชิวหาสัมผัส
    กายสัมผัส มโนสัมผัส เหตุเกิดแห่งผัสสะ ย่อมมีเพราะอายตนะ ๖ เป็นเหตุให้เกิด ความดับผัสสะ
    ย่อมมีเพราะอายตนะ ๖ ดับ อริยมรรคประกอบด้วยองค์ ๘ นี้แหละ คือความเห็นชอบ ... ความตั้งใจชอบ
    ชื่อว่าปฏิปทาที่จะให้ถึงความดับผัสสะ ดูกรท่านผู้มีอายุ เมื่อใดแล อริยสาวกรู้ชัดซึ่งผัสสะ
    เหตุเกิดแห่งผัสสะ ความดับผัสสะ และปฏิปทาที่จะให้ถึงความดับผัสสะอย่างนี้ๆ เมื่อนั้น ท่าน
    ละราคานุสัย ... แม้ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ อริยสาวกชื่อว่าเป็นสัมมาทิฏฐิ ... มาสู่พระสัทธรรมนี้.
                 [๑๒๔] ดูกรท่านผู้มีอายุ จะพึงมีอยู่หรือ ปริยายแม้อย่างอื่น ... ท่านพระสารีบุตรตอบว่า
    พึงมี ท่านผู้มีอายุ เมื่อใดแล อริยสาวกรู้ชัดซึ่งอายตนะ ๖ เหตุเกิดแห่งอายตนะ ๖ ความดับ
    แห่งอายตนะ ๖ และปฏิปทาที่จะให้ถึงความดับอายตนะ ๖ แม้ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ อริยสาวกชื่อว่า
    เป็นสัมมาทิฏฐิ ... มาสู่พระสัทธรรมนี้ ก็อายตนะ ๖ เหตุเกิดแห่งอายตนะ ๖ ความดับอายตนะ ๖
    และปฏิปทาที่จะให้ถึงความดับอายตนะ ๖ เป็นไฉน? ได้แก่ อายตนะ ๖ เหล่านี้ คือ ตา หู จมูก
    ลิ้น กาย ใจ เหตุเกิดแห่งอายตนะ ๖ ย่อมมีเพราะนามรูปเป็นเหตุให้เกิด ความดับอายตนะ ๖ ย่อมมี
    เพราะนามรูปดับ อริยมรรคประกอบด้วยองค์ ๘ นี้แหละ คือ ความเห็นชอบ ... ความตั้งใจชอบ
    ชื่อว่าปฏิปทาที่จะให้ถึงความดับอายตนะ ๖ ดูกรท่านผู้มีอายุ เมื่อใดแล อริยสาวกรู้ชัดซึ่งอายตนะ ๖
    เหตุเกิดอายตนะ ๖ ความดับอายตนะ ๖ และปฏิปทาที่จะให้ถึงความดับอายตนะ ๖ อย่างนี้ๆ
    เมื่อนั้น ท่านละราคานุสัย ... แม้ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ อริยสาวกชื่อว่าเป็นสัมมาทิฏฐิ ... มาสู่พระสัทธรรมนี้.

    นามรูปาทิวาร
                 [๑๒๕] ดูกรท่านผู้มีอายุ จะพึงมีอยู่หรือ ปริยายแม้อย่างอื่น ... ท่านพระสารีบุตรตอบว่า
    พึงมี ท่านผู้มีอายุ เมื่อใดแล อริยสาวกรู้ชัดซึ่งนามรูป เหตุเกิดแห่งนามรูป ความดับนามรูป
    และปฏิปทาที่จะให้ถึงความดับนามรูป แม้ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ อริยสาวกชื่อว่าเป็นสัมมาทิฏฐิ ...
    มาสู่พระสัทธรรมนี้ ก็นามรูป เหตุเกิดแห่งนามรูป ความดับนามรูป และปฏิปทาที่จะให้ถึงความ
    ดับนามรูป เป็นไฉน? เวทนา สัญญา เจตนา ผัสสะ มนสิการ อันนี้เรียกว่า นาม มหาภูต-
    *รูป ๔ และรูปที่อาศัยมหาภูตรูป ๔ อันนี้เรียกว่ารูป นามและรูปดังพรรณนามาฉะนี้ เรียกว่า นามรูป
    เหตุเกิดแห่งนามรูป ย่อมมีเพราะวิญญาณเป็นเหตุให้เกิด ความดับนามรูป ย่อมมีเพราะวิญญาณ
    ดับ อริยมรรคประกอบด้วยองค์ ๘ นี้แหละ คือความเห็นชอบ ... ความตั้งใจชอบ ชื่อว่าปฏิปทา
    ที่จะให้ถึงความดับนามรูป ดูกรท่านผู้มีอายุ เมื่อใดแล อริยสาวกรู้ชัดซึ่งนามรูป เหตุเกิดแห่ง
    นามรูป ความดับนามรูป และปฏิปทาที่จะให้ถึงความดับนามรูปอย่างนี้ๆ เมื่อนั้น ท่านละราคา-
    *นุสัย ... แม้ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ อริยสาวกชื่อว่าเป็นสัมมาทิฏฐิ ... มาสู่พระสัทธรรมนี้.
                 [๑๒๖] ดูกรท่านผู้มีอายุ จะพึงมีอยู่หรือ ปริยายแม้อย่างอื่น ... ท่านพระสารีบุตรตอบว่า
    พึงมี ท่านผู้มีอายุ เมื่อใดแล อริยสาวกรู้ชัดซึ่งวิญญาณ เหตุเกิดแห่งวิญญาณ ความดับวิญญาณ
    และทางที่จะให้ถึงความดับวิญญาณ แม้ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ อริยสาวกชื่อว่าเป็นสัมมาทิฏฐิ ... มาสู่
    พระสัทธรรมนี้ ก็วิญญาณ เหตุเกิดแห่งวิญญาณ ความดับวิญญาณ ปฏิปทาที่จะให้ถึงความดับวิญญาณ
    เป็นไฉน? ได้แก่ วิญญาณ ๖ หมวดเหล่านี้ คือ จักขุวิญญาณ โสตวิญญาณ ฆานวิญญาณ
    ชิวหาวิญญาณ กายวิญญาณ มโนวิญญาณ เหตุเกิดแห่งวิญญาณ ย่อมมีเพราะสังขารเป็นเหตุ
    ให้เกิด ความดับวิญญาณ ย่อมมีเพราะสังขารดับ อริยมรรคประกอบด้วยองค์ ๘ นี้แหละ คือ
    ความเห็นชอบ ... ความตั้งใจชอบ ชื่อว่าปฏิปทาที่จะให้ถึงความดับวิญญาณ ดูกรท่านผู้มีอายุ เมื่อใด
    แล อริยสาวกรู้ชัดซึ่งวิญญาณ เหตุเกิดแห่งวิญญาณ ความดับวิญญาณ ปฏิปทาที่จะให้ถึงความ
    ดับวิญญาณ อย่างนี้ๆ เมื่อนั้น ท่านละราคานุสัย ... แม้ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ อริยสาวกชื่อว่าเป็น
    สัมมาทิฏฐิ ... มาสู่พระสัทธรรมนี้.

    สังขารวาร
                 [๑๒๗] ดูกรท่านผู้มีอายุ จะพึงมีอยู่หรือ ปริยายแม้อย่างอื่น ... ท่านพระสารีบุตรตอบว่า
    พึงมี ท่านผู้มีอายุ เมื่อใดแล อริยสาวกรู้ชัดซึ่งสังขาร เหตุเกิดแห่งสังขาร ความดับสังขาร และ
    ปฏิปทาที่จะให้ถึงความดับสังขาร แม้ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ อริยสาวกชื่อว่าเป็นสัมมาทิฏฐิ ... มาสู่
    พระสัทธรรมนี้ ก็สังขาร เหตุเกิดแห่งสังขาร ความดับสังขาร ทางที่จะให้ถึงความดับสังขาร
    เป็นไฉน? ได้แก่ สังขาร ๓ เหล่านี้ คือ กายสังขาร วจีสังขาร จิตตสังขาร เหตุเกิดแห่งสังขาร
    ย่อมมีเพราะอวิชชาเป็นเหตุให้เกิด ความดับสังขาร ย่อมมีเพราะอวิชชาดับ อริยมรรคประกอบ
    ด้วยองค์ ๘ นี้แหละ คือ ความเห็นชอบ ... ความตั้งใจชอบ ชื่อว่าทางที่จะให้ถึงความดับสังขาร
    ดูกรท่านผู้มีอายุ เมื่อใดแล อริยสาวกรู้ขัดซึ่งสังขาร เหตุเกิดแห่งสังขาร ความดับสังขาร ปฏิปทา
    ที่จะให้ถึงความดับสังขารอย่างนี้ๆ เมื่อนั้น ท่านละราคานุสัย ... แม้ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ อริยสาวก
    ชื่อว่าเป็นสัมมาทิฏฐิ ... มาสู่พระสัทธรรมนี้.

    อวิชชาวาร
                 [๑๒๘] ดูกรท่านผู้มีอายุ จะพึงมีอยู่หรือ ปริยายแม้อย่างอื่น ... ท่านพระสารีบุตรตอบว่า
    พึงมี ท่านผู้มีอายุ เมื่อใดแล อริยสาวกรู้ชัดซึ่งอวิชชา เหตุเกิดแห่งอวิชชา ความดับอวิชชา
    และปฏิปทาที่จะให้ถึงความดับอวิชชา แม้ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ อริยสาวกชื่อว่าเป็นสัมมาทิฏฐิ ...
    มาสู่พระสัทธรรมนี้ ก็อวิชชา เหตุเกิดแห่งอวิชชา ความดับอวิชชา และปฏิปทาที่จะให้ถึงความ
    ดับอวิชชา เป็นไฉน? ความไม่รู้ในทุกข์ ในเหตุเกิดแห่งทุกข์ ในความดับทุกข์ ในปฏิปทาที่จะให้ถึง
    ความดับทุกข์ อันนี้เรียกว่าอวิชชา เหตุเกิดแห่งอวิชชา ย่อมมีเพราะอาสวะเป็นเหตุให้เกิด
    ความดับอวิชชา ย่อมมีเพราะอาสวะดับ อริยมรรคประกอบด้วยองค์ ๘ นี้แหละ คือความเห็นชอบ
    ความตั้งใจชอบ ชื่อว่าปฏิปทาที่จะให้ถึงความดับอวิชชา ดูกรท่านผู้มีอายุ เมื่อใดแล อริยสาวก
    รู้ชัดซึ่งอวิชชา เหตุเกิดแห่งอวิชชา ความดับอวิชชา ทางที่จะให้ถึงความดับอวิชชาอย่างนี้ๆ เมื่อ
    นั้น ท่านละราคานุสัย ... แม้ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ อริยสาวกชื่อว่าเป็นสัมมาทิฏฐิ มีความเห็นดำเนิน
    ไปตรงแล้ว ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันแน่วแน่ในธรรม มาสู่พระสัทธรรมนี้.
                 [๑๒๙] ภิกษุเหล่านั้น ชื่นชม อนุโมทนาภาษิตของท่านพระสารีบุตรว่า สาธุ ท่านผู้มีอายุ
    แล้วได้ถามปัญหากะท่านพระสารีบุตรต่อไปว่า ดูกรท่านผู้มีอายุ จะพึงมีอยู่หรือปริยายแม้อย่างอื่น
    ที่อริยสาวกซึ่งชื่อว่าเป็นสัมมาทิฏฐิ มีความเห็นดำเนินไปตรงแล้ว ประกอบด้วยความเลื่อมใส
    อันแน่วแน่ในธรรม มาสู่พระสัทธรรมนี้.

    อาสววาร
                 [๑๓๐] ท่านพระสารีบุตรตอบว่า พึงมี ท่านผู้มีอายุ เมื่อใดแล อริยสาวกรู้ชัดซึ่งอาสวะ
    อาสวสมุทัย อาสวนิโรธ อาสวนิโรธคามินีปฏิปทา แม้ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ อริยสาวกชื่อว่า
    เป็นสัมมาทิฏฐิ มีความเห็นดำเนินไปตรงแล้ว ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันแน่วแน่ในธรรม
    มาสู่พระสัทธรรมนี้ ก็อาสวะ เหตุเกิดแห่งอาสวะ ความดับอาสวะ ทางที่จะให้ถึงความดับอาสวะ
    เป็นไฉน? ได้แก่ อาสวะ ๓ เหล่านี้ คือ กามาสวะ ภวาสวะ อวิชชาสวะ เหตุเกิดแห่งอาสวะ
    ย่อมมีเพราะอวิชชาเป็นเหตุให้เกิด ความดับอาสวะ ย่อมมีเพราะอวิชชาดับ อริยมรรคประกอบ
    ด้วยองค์ ๘ นี้แหละ คือ ความเห็นชอบ ดำริชอบ เจรจาชอบ การงานชอบ เลี้ยงชีพชอบ
    พยายามชอบ ระลึกชอบ ตั้งใจชอบ ชื่อว่าปฏิปทาที่จะให้ถึงความดับอาสวะ ดูกรท่านผู้มีอายุ
    เมื่อใด อริยสาวกรู้ชัดซึ่งอาสวะ เหตุเกิดแห่งอาสวะ ความดับอาสวะ ปฏิปทาที่จะให้ถึงความ
    ดับอาสวะ อย่างนี้ๆ เมื่อนั้นท่านละราคานุสัย บรรเทาปฏิฆานุสัย ถอนทิฏฐานุสัย และ
    มานานุสัย โดยประการทั้งปวง ละอวิชชา ยังวิชชาให้เกิด ย่อมกระทำซึ่งที่สุดแห่งทุกข์ในปัจจุบัน
    เทียว แม้ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ อริยสาวกชื่อว่าเป็นสัมมาทิฏฐิ มีความเห็นดำเนินไปตรงแล้ว
    ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันแน่วแน่ในธรรม มาสู่พระสัทธรรมนี้.
                 ท่านพระสารีบุตรได้กล่าวคำนี้แล้ว ภิกษุเหล่านั้น ชื่นชม ยินดีภาษิตของท่านพระสารีบุตรแล้วแล.

    จบ สัมมาทิฏฐิสูตร ที่ ๙
                 ดูกรท่านผู้มีอายุ ก็ ๖ บทที่กล่าวว่าเป็นไฉน ได้แก่ ทุกข์ ชรามรณะ อุปาทาน อายตนะ ๖
    นามรูป วิญญาณ ๔ บทที่กล่าวว่าเป็นไฉน ได้แก่ ชาติ ตัณหา เวทนา และหมวด ๔ แห่งอวิชชา ๕
    บทที่กล่าวว่าเป็นไฉน ได้แก่ อาหาร ภพ ผัสสะ สังขาร อาสวะเป็นที่ ๕ หกอย่างเป็นไฉน
    ข้าพเจ้าได้กล่าวแล้ว สี่อย่างเป็นไฉน ข้าพเจ้าได้กล่าวแล้ว ห้าอย่างเป็นไฉน ข้าพเจ้าได้กล่าวแล้ว
    บทแห่งสังขารทั้งปวง มี ๑๕ บท ฉะนี้แล.
    -----------------------------------------------------


    ขอให้ทุกๆท่านเจริญในธรรมยิ่งๆขึ้นไปด้วยเทอญ.. สาธุสวัสดี
     
  4. ลูกพลัง

    ลูกพลัง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 เมษายน 2012
    โพสต์:
    413
    ค่าพลัง:
    +8,932
    พระอนาคามี

     

    (พระธรรมที่ทรงตรัสสอนในเดือน พฤษภาคม ๒๕๓๘)

    สักกายทิฏฐิ ของพระอนาคามี


     
              หลวงปู่ขนมจีน(หลวงพ่อเล้ง) ท่านเมตตาสอนเพื่อนผมไว้ มีความสำคัญดังนี้

              ๑. การที่เจ้ามีความท้อใจในการปฏิบัติเพื่อตัดราคะและปฏิฆะมานานแล้วยังตัดไม่ได้ ก็เพราะไปหลงติดเวทนาของกาย ในขณะที่มีสัมผัสระหว่างเพศ ยึดว่าเวทนาของกายนั้นมีในเรา จิตติดกามสัญญา จึงได้ชื่อว่าหลงติดอยู่ใน สักกายทิฎฐิ

              ๒. ความโกรธก็เช่นกัน เวลาถูกเขาด่า เราไปยึดคำด่าของเขา ก็เท่ากับยึดร่างกายที่ถูกด่าว่าเป็นเรามีในเรา อารมณ์พอใจในกามสัญญาก็ดี อารมณ์ไม่พอใจเมื่อถูกเขาด่าก็ดี นี่แหละ คือสักายทิฎฐิ ของพระอนาคามี

              สมเด็จองค์ปฐม ทรงพระเมตตาตรัสสอนเรื่องนี้ให้ไว้ มีความสำคัญดังนี้

              ๑. เรื่องกำลังใจต้องอาศัยบารมี ๑๐ ช่วย จักต้องตรวจสอบดูอารมณ์ของเราอย่าให้เครียด ใช้ปัญญาพิจารณาให้เห็นชัด แล้วค่อยๆ ทำไปด้วยความไม่ประมาท ยก มรณานุสสติปรามจิตเอาไว้เสมอๆ ว่ามัวแต่คบกิเลส ความตายมันใกล้เข้ามาทุกที หากมัวแต่คบชั่วอยู่อย่างนี้ ตายแล้วจักไปไหน

              ๒. จำคำที่หลวงปู่ขนมจีนสอนเอาไว้ให้ดี ใคร่ครวญให้รอบคอบ พยายามทำจิตให้มีกำลังต่อสู้กับกิเลส แล้วสักวันหนึ่งข้างหน้าชัยชนะจักเป็นของเจ้า

              หลวงปู่ขนมจีน ท่านมากราบ สมเด็จองค์ปฐม แล้วสอนต่อดังนี้

              ๑. อย่าลืมที่บอกไว้เมื่อเช้านี้ เขาด่ามาเราจะห้ามหู ห้ามตาไม่ให้ได้ยิน ไม่ให้ได้เห็นนั้น มันเป็นไปไม่ได้ เพราะอายตนะสัมผัสมันทำงานเป็นปกติของมันอยู่อย่างนั้น ทางที่ถูกก็คือห้ามใจ เขาด่าเขาโกรธก็เรื่องของเขา ใจของเราไม่ต้องไปรับก็หมดเรื่อง ให้คิดเอาไว้เสมอ เขาด่าร่างกายของเรา ร่างกายนี้ไม่มีในเรา แล้วเราจะไปเดือดร้อนทำไมกัน

              ๒. เวทนาของกามสัมผัสก็เช่นกัน เวทนานั้นเป็นของกาย ซึ่งไม่ใช่เรา ไม่มีในเรา เราไม่ใช่ร่างกาย เรื่องอะไรจะไปยึดมันเข้าไว้ให้เป็นทุกข์ เมื่อรู้ว่าเป็นทุกข์ก็ต้องคอยละ ละที่ใจนี่แหละ คอยเอาสติสัมปชัญญะคุมใจเข้าไว้ อย่าให้หลงไปใน สักกายทิฎฐิ นั้น หลวงปู่ได้แต่บอกวิธีปฏิบัติให้ทำได้หรือไม่ได้ก็เรื่องของเอ็งละ

              สมเด็จองค์ปฐม ทรงตรัสว่า การกำหนดรู้จักทรงตัวก็ด้วยอานาปานัสสติ บวกกับ มรณานุสสติ เพราะฉะนั้น เจ้าอย่าทิ้งกรรมฐาน ๒ กองนี้เป็นอันขาด รวมทั้ง กายคตานุสสติ อสุภกรรมฐานก็อย่าทิ้ง พิจารณาไปให้เห็นตามสภาพความเป็นจริงของร่างกายพิจารณาให้เห็นชัดและมีความต่อเนื่อง แล้วเจ้าจักวางอุปาทานขันธ์นี้ลงได้ในที่สุด


    อารมณ์กลัวจะไม่มีกิน (กลัวอด)

              เพื่อนผมท่านมาอยู่วัด ทำงานให้วัดมาตลอด ต้องตื่นตั้งแต่ตี ๑ ตี ๒ ขึ้นมากวาดวัดเป็นปกติ ทำงานซ่อมโบสถ์ วิหาร เจดีย์เก่าของวัดมาหลายปี โดยไม่เคยได้รับเงินจากวัดเลย แต่สิ่งที่ท่านได้ คือ อริยทรัพย์ หรือ โลกุตรทรัพย์ ซึ่งสามารถเอาติดใจไปได้เมื่อกายตายแล้ว ทุกสิ่งที่ท่านทำนั้นล้วนเป็นวิหารทาน พระพุทธองค์ทรงตรัสว่า ถวายสังฆทาน ๑๐๐ ครั้ง ก็ยังไม่ได้บุญเท่ากับถวายวิหารทาน ๑ ครั้ง ท่านอยู่มาได้ทุกวันนี้ก็เพราะคนอื่นช่วยสงเคราะห์ทั้งสิ้น และรู้ด้วยว่าการกระทำหรือกรรมที่ตนทำอยู่นี้ เป็นการลดละ สักกายทิฏฐิ ได้อย่างดี ส่วนการบ่นนั้นทำจิตตนเองให้เศร้าหมอง เป็นการเพิ่ม สักกายทิฎฐิกรรมนี้ขาดทุน ทั้งๆ ที่รู้ๆ ก็ยังอดบ่นในใจไม่ได้ เลยชักกลุ้มใจกลัวว่าจะไม่มีกิน

              สมเด็จองค์ปฐม ทรงมีพระเมตตาตรัสสอนเรื่องนี้ไว้ดังนี้

              ๑. อารมณ์นั้นจักตัดได้จริงๆ ก็ต้องถึงความเป็นพระอรหันต์ ถ้าต่ำกว่านั้นตัดไม่ได้ เพียงแต่ระงับได้ชั่วคราวเท่านั้น ไม่มีความทรงตัว

              ๒. เพราะฉะนั้น การที่เจ้ากลัวอดตายจริงไม่ใช่ของแปลก เป็นเรื่องธรรมดาอย่างยิ่ง ไม่ต้องคิดว่าอารมณ์ที่ติดอยู่นั้นเป็นของเลว จริงๆ แล้วมันเป็นของธรรมดา

              ๓. อย่าไปห่วงเรื่องขันธ์ ๕ จะอดให้มากนัก มาใช้ความเพียรตัดอารมณ์กามฉันทะและปฏิฆะให้สิ้นซากไปเสียดีกว่า

              ๔. ทรงตรัสว่า หมู่นี้เจ้าทบทวนหลักสูตรใหม่แล้วรู้สึกเป็นอย่างไรบ้าง (ตอบว่า ดีขึ้นเล็กน้อย แต่ยังตัดอารมณ์ทางเพศไม่ได้)ทรงตรัส ก็เป็นธรรมดาอีก เพราะยังไม่ใช่พระอนาคามีผล น้ำอสุจิหรือระดูอันมาจากฮอร์โมนเพศยังไม่เหือดแห้งไป ร่างกายก็ต้องมีอาการกำหนัดเป็นธรรมดา

              ๕. อย่างที่เจ้าเพ่งร่างกายตนเองให้เหลือแต่โครงกระดูกเพื่อทำลายอาการกายกำหนัดนั้น ทำได้ถูกต้องแล้ว เพราะเนื้อไม่มี ระบบประสาทก็ไม่มี จักเอาอาการกำหนัดของกายมาจากไหน แต่พึงต้องเจริญอสุภะ นี้ให้ต่อเนื่องกันไป อย่าวางอารมณ์ของการปฏิบัติเป็นอันขาด

     
    รวบรวมโดย พล.ต.ท. นพ. สมศักดิ์ สืบสงวน
    ----------------------------------


    ความอัศจรรย์ของการเป็นพระอนาคามี​


    พระอาจารย์ กล่าวว่า "เรื่องของสภาพจิตใจที่อยู่เหนือร่างกาย ตัวอย่างที่จะเห็นได้อย่างชัดเจนก็คือ พระอริยเจ้า เพราะปกติคนทั่วไปเห็นว่าร่างกายต้องการอะไร เราก็ต้องตามใจ ความจริงไม่ใช่..ถ้าเราสู้เราก็จะชนะ 

    ในความเป็น พระอนาคามี เป็นอะไรที่อัศจรรย์มาก ระบบร่างกายจะพลิกเปลี่ยนใหม่ สมัยที่อาตมายังอยู่ วัดท่าซุง มีโยมผู้หญิงคนหนึ่งอายุไม่ถึง ๓๐ ปี คาดว่าก้าวเข้าถึงความเป็นพระอนาคามีแล้ว สาเหตุที่คาดว่า เพราะอยู่ๆ ประจำเดือนของเธอก็หมดไปเฉยๆ 

    อัศจรรย์กว่านั้นก็คือ ภรรยาหมดความรู้สึกทางเพศ แต่สามียังคึกเหมือนเดิม สามีก็พยายามที่จะขอมีเพศสัมพันธ์ด้วย แต่พอจับตัวภรรยาทีไรจะตกใจ เหมือนกับภรรยาเป็นไข้ ตัวร้อนมาก คิดว่าภรรยาไม่สบาย เขาก็ไม่ยุ่งด้วย วันหนึ่งสามีเมากลับมา ไม่ได้นอนกับเมียมานานก็หน้ามืดปล้ำเมียเลย..! 

    ไม่รู้ว่าท่านใดช่วย ภรรยาตบฉาดเดียว สามีปลิวติดข้างฝาเลย เสียงห้าวเป็นผู้ชาย บอกว่า "ถ้าทำอย่างนี้อีก คราวหน้าจะฆ่าให้ตาย..!" คึกขนาดไหนก็เฉาไปเลย แสดงว่าเทวดาคงไม่อยากให้ล่วงเกินพระอริยเจ้าระดับนั้น เพราะจะเกิดโทษแก่ตัวเอง ต้องบอกว่าสามีทำบุญไว้ดี ขนาดเทวดาต้องลงมาสงเคราะห์ 

    จะเห็นได้ชัดเจนว่าในสภาพจิตใจที่เหนือร่างกาย พอทำไปถึงระดับนั้น กำลังใจที่ก้าวผ่านไปแล้ว ทำให้ระบบร่างกายที่เกี่ยวกับทางเพศหยุดทำงานไป เหมือนกับหมดฮอร์โมนไปเฉยๆ ที่อัศจรรย์มากก็คือเธออายุน้อยมาก ฉะนั้น..ไม่ใช่ว่าคนที่อยู่มานานแล้วจะได้ดี คนที่มาทีหลังเขาแซงไปไม่รู้ตั้งเท่าไรแล้ว"

    "การเป็นพระอนาคามีนี่ปลอดภัยแล้ว อย่างไรเสียก็ไปรออยู่ข้างบน เพียงแต่จะเป็นพระอนาคามีแบบไหน ? 

    อันตราปรินิพพายี แปลว่า ปรินิพพานเสียในระหว่างอายุ ก็คือจะช่วงไหนก็ได้ 

    อุปหัจจปรินิพพายี ปรินิพพานเมื่ออายุได้กึ่งหนึ่ง เช่น ท่านมีอายุสองหมื่นมหากัป พออายุได้หนึ่งหมื่นมหากัป ท่านก็ปรินิพพานแล้ว 

    สสังขาราปรินิพพายี ปรินิพพานด้วยความเพียรพยายามอย่างสูง 

    อสังขาราปรินิพพายี ปรินิพพานโดยไม่ต้องใช้ความเพียรพยายามมาก 

    อุทธังโสตอกนิฏฐคามี เป็นพระอนาคามีระดับสูงสุด ก็คือ เป็นระดับอรหัตมรรคแล้ว

    ฉะนั้น..สุทธาวาสพรหม ๕ ชั้น จะมีความต่างอยู่ โดยเฉพาะชั้นที่ ๑๖ จะมี ธุสเจดีย์ เป็นพระเจดีย์ที่สร้างขึ้นเพื่อบรรจุผ้าที่ เจ้าชายสิทธัตถะ สละออกในวันมหาภิเนษกรมณ์ ใครที่ได้มโนมยิทธิลองขึ้นไปดูบ้าง ไม่อย่างนั้นเราจะรู้จักแต่ พระจุฬามณี อย่างเดียว ความงามความสำคัญของธุสเจดีย์ไม่ได้แพ้กัน แต่คนไม่ค่อยรู้จัก ที่ไม่รู้จักอาจจะเป็นเพราะถนัดไปแค่พระเจดีย์จุฬามณี" 


    สนทนากับพระครูธรรมธรเล็ก สุธมฺมปญฺโญ
    เก็บตกจากบ้านวิริยบารมี ต้นเดือนกรกฎาคม ๒๕๕๔
    ที่มา : เก็บตกจากบ้านวิริยบารมี ต้นเดือนกรกฎาคม ๒๕๕๔ - หน้า 4 - กระดานสนทนาวัดท่าขนุน


    ขอให้ทุกๆท่านเจริญในธรรมยิ่งๆขึ้นไปด้วยเทอญ.. สาธุสวัสดี
     
  5. ลูกพลัง

    ลูกพลัง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 เมษายน 2012
    โพสต์:
    413
    ค่าพลัง:
    +8,932
    555.. กสิณไฟนี้ มีเอาไว้รนก้นขันธ์5ตนเองก้าบบ..555
    เอาไปรนก้นท่านอื่นๆ ไม่ได้นะคร้าบบ.. เดี๋ยวผิดศีล หยาบ กลาง ละเอียดหมดเลย
    ให้ท่านๆใช้"สติ"หรือ"มหาสติ"ของท่านเอง ไปรนก้นท่านเองจะดีก่าเน้ออครับ..

    เอ้าวันหยุด.. ก็เอา"บทแผ่พลังเมตตาทั่วทั้งสามโลก"ไปฟังกันนะครับ

    [ame=http://www.youtube.com/watch?v=Q7Or4U4wrXA&feature=youtube_gdata_player]บทแผ่พลังเมตตาทั่วทั้งสามโลก - YouTube[/ame]


    .
     
  6. ลุงไชย

    ลุงไชย เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 มิถุนายน 2011
    โพสต์:
    645
    ค่าพลัง:
    +2,436
    ธรรมะสอนตน

    ใครจะมาว่าเราก็เป็นเรื่องปากเขาว่า จิตเรามีหน้าที่ภาวนา ไม่ต้องไปมัวว่าให้คนโน้นคนนี้ ติคนโน้น ชมคนนี้ ได้ประโยชน์อะไร

    ภาวนาในใจดีกว่า สงบกาย สงบวาจา สงบจิต ให้มีสติอยู่ตลอดเวลา ยืนให้มีสติ เดินให้มีสติ ทำอะไรให้มีสติ พูดอะไรให้มีสติ

    อย่าเพียงแต่ว่า พูดอะไร พูดได้ ก็พูดไป ขาดสติ จิตใจเลื่อนลอย ฟุ้งซ่าน ไม่มีเวลาจบ ไม่มีเวลาสิ้น นั่นแหละชื่อว่าตัณหา

    ดิ้นรนวุ่นวายไปตาม กามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหา จิตใจไม่สงบระงับ ไม่ตั้งมั่นเป็นสมาธิภาวนา เพราะหลงไหล

    ไปตามอาการภายนอก จิตไม่หยุด จิตไม่อยู่ จิตไม่รู้ภายใน รู้ภายนอก รู้ไปทำไม รู้ภายใน รู้กาย รู้จิตของตัวเองดีกว่า

    ที่มา : คำสอน พระญาณสิทธาจารย์ ( หลวงปู่สิม พุทธาจาโร )
     
  7. NOKMAM

    NOKMAM เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กุมภาพันธ์ 2011
    โพสต์:
    300
    ค่าพลัง:
    +6,157
    [​IMG]
     
  8. NOKMAM

    NOKMAM เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กุมภาพันธ์ 2011
    โพสต์:
    300
    ค่าพลัง:
    +6,157
    [​IMG]
     
  9. อุษาวดี

    อุษาวดี เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 เมษายน 2012
    โพสต์:
    531
    ค่าพลัง:
    +12,151
    “การปฏิบัติธรรมเป็นของประเสริฐ”

    โดยหลวงพ่อครูบาเจ้าเพชร วชิรมโน​


    "...นักรบทั้งนั้นนะผู้ปฏิบัติธรรม ที่นั่งๆ อยู่ที่นี่เป็นนักรบหรือเปล่า ไม่ใช่เจอสงครามแล้ววิ่งหนีกันหมด ดาบมันก็ทิ้งหมด สนิมกินดาบหมดแล้ว ไม่เคยมาฝึกมาซ้อมกันเลย เอ้า! เตรียมรบ ทหารมาปั๊บชักดาบไม่ขึ้น พอชักขึ้นมาสนิมเต็มหมด พอทหารมาปั๊บตัวมันใหญ่ทิ้งดาบหนีเลย

    แหม พอนั่งตอนแรกจะนั่งให้เต็มที่เลย พอหลับ จิตฟุ้งซ่านเท่านั้น มันหลุด
    "พอ"
    "เลิกเหอะ"

    "วันนี้ไม่ดี"
    "ฤกษ์ไม่ดี"
    "อากาศไม่เหมาะ"
    "ไม่สัปปายะ"
    "เมื่อเช้ากินน้อยไปหน่อย"
    "นอนน้อยไปนิดนึง"
    "เดี๋ยวไปนอนก่อน ตื่นมาเดี๋ยวเต็มที่เลย"
    มึงตื่นมามึงก็เหมือนเดิม...

    มันเป็นอย่างนี้จริงๆ ลูก พูดนี่ไม่ใช่โกรธใครนะ ธรรมมันผลิตออกมาแล้วพยายามสงเคราะห์ทุกคนนะ คือแปลให้ทุกคนเข้าใจว่า "นี่คือธรรม มันเป็นอย่างนี้" ธรรมมันเกิดจากใจมันเป็นของจริง แล้วธรรมเนี่ยเรามันเกิดจากใจรึยังล่ะ มันเกิดจากตำราหมด เข้าใจหมด เข้าใจไหม ขันธ์ ๕ เป็นทุกข์ ชีวิตเป็นทุกข์ ร่างกายเป็นทุกข์ สังขารเป็นทุกข์ ไม่เอาอีกแล้ว กูไม่อยากเกิด มึงก็ยังเกิดอยู่นั่นแหละ มึงไม่เห็นขันธ์ ๕ สักที เอาให้มันเห็นสิว่ามันเป็นยังไง...”

    ตอนหนึ่งของพระธรรมเทศนา ในงานบวชเนกขัมมะบารมี ณ ศูนย์พุทธศรัทธา

    ที่มา fb ศูนย์พุทธศรัทธา
     
  10. NOKMAM

    NOKMAM เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กุมภาพันธ์ 2011
    โพสต์:
    300
    ค่าพลัง:
    +6,157
    [​IMG]
     
  11. NOKMAM

    NOKMAM เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กุมภาพันธ์ 2011
    โพสต์:
    300
    ค่าพลัง:
    +6,157
    [​IMG]

    คนผู้ไม่รู้ว่า "ธรรมะ" เป็นของดีนั้น "โง่" กว่าผู้ที่รู้ว่า "ธรรมะ" เป็นของดีแท้ นั้นก็จริง แต่ผู้ที่รู้ว่า "ธรรมะ" เป็นของดีแท้ ทว่า… ไม่พยายามไขว่คว้าเอา "ธรรมะ" นั้นมาให้แก่ตนสิ "โง่" ยิ่งกว่าใครไปเสียอีกโดยแท้จริง
    ดังนั้นพยายามใดเพื่อ "โลกียารมณ์" เท่าไหร่ๆ เรายังพยายามได้ ก็ทำไมจะพยายามเพื่อ "โลกุตระ" ให้แก่ตนแท้ๆ จริงๆ บ้างไม่ได้เล่า?

    โศลกธรรม จากครูอาจารย์
     
  12. อุษาวดี

    อุษาวดี เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 เมษายน 2012
    โพสต์:
    531
    ค่าพลัง:
    +12,151
    วิธีกราบพระให้ได้อานิสงส์มาก ๆ
    หลวงพ่อฤาษี วัดท่าซุงตอบปัญหาธรรม

    ผู้ถาม :- กราบเท้าหลวงพ่อที่เคารพอย่างสูง คือว่าลูกจะขอทราบเกี่ยวกับเรื่องอานิสงส์สักเรื่องหนึ่งว่า วิธีที่จะกราบพระให้ถูกต้องตามแบบฉบับ เพื่อจะมีผลานิสงส์มาก ๆ นั้น จะต้องกราบแบบไหน ขอแบบฉบับวัดท่าซุงเป็นตัวอย่างด้วยเจ้าค่ะ?

    หลวงพ่อ :- ให้กราบด้วยความเคารพอย่างเดียวพอ ให้จิตเคารพนะ
    ก่อนที่จะกราบพระพุทธเจ้า นึกถึงพระพุทธเจ้า นึกถึงพระพุทธรูปก่อน

    กราบครั้งที่ ๒ กราบพระธรรม นึกถึงดอกมะลิแก้ว ให้ไหลจากพระโอษฐ์พระพุทธเจ้าลงหัวเรา
    กราบครั้งที่ ๓ นึกถึงพระสงฆ์องค์ใดองค์หนึ่งที่เราเคารพ...
    พอ เอาใจสำคัญกราบด้วยเบญจางคประดิษฐ์ ถ้าใจไม่เคารพ ไม่มีความหมาย
     
  13. อุษาวดี

    อุษาวดี เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 เมษายน 2012
    โพสต์:
    531
    ค่าพลัง:
    +12,151
    "...สำหรับศีลนี่ ก็อย่าพึ่งคิดว่าอยู่ ๆ ก็จะทรงศีลได้บริสุทธิ์ ต้องมีการกระทบเสียก่อน ถ้ากระทบกระทั่งกับอารมณ์ที่จะเป็นปัจจัยให้ทำลายศีลเสียก่อน แต่เราไม่ทำลายศีล นั่นชื่อว่าเป็นผู้มีความมั่นคงในศีล..."

    พระราชพรหมยาน
    หัวใจแห่งการปฏิบัติ เล่ม 3 หน้า 60
     
  14. ลูกพลัง

    ลูกพลัง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 เมษายน 2012
    โพสต์:
    413
    ค่าพลัง:
    +8,932
    มรรคผลนิพพานก็ไม่ต้องเอา..



    ธรรมโอวาท
    ของ
    พระญาณสิทธาจารย์
    (หลวงปู่สิม พุทธาจาโร)
    วัดถ้ำผาปล่อง ต.บ้านถ้ำ อ.เชียงดาว จ.เชียงใหม่



    ครั้งหนึ่งมีพระลูกศิษย์ไปเรียนถามหลวงปู่ว่า
    ภาวนาจิตสงบแล้วต่อไปจะทำอย่างไร ?

    หลวงปู่ตอบว่า

    "ภาวนาไม่เป็นนี่...
    เราสอนให้ภาวนาละกิเลส แต่นี่ภาวนาเอากิเลส"

    ฟังแล้วก็งง หลวงปู่ก็เลยอธิบายต่อว่า

    "เห็นในปัจจุบันเป็นหนึ่งเดียว
    มีสติเห็นตามความเป็นจริงเท่าที่เห็น
    มีปัญญา เลิกละความยึดมั่นถือมั่น จิตก็หยุดไม่สงสัย
    เป็นการเห็นเพื่อละทั้งหมด เป็นการรู้เพื่อละทั้งหมด"

    "...การภาวนานั้นไม่ได้เอา เป็นการละกิเลส
    อะไรๆ ที่จิตมันชอบ ไม่ชอบ บังเกิดมีขึ้นน่ะ บ่ต้องไปเอา
    มรรคผลนิพพานก็ไม่ต้องเอา..."



    คัดลอกเนื้อหาจาก
    หนังสือละอองธรรม
    สิงหาคม, ๒๕๕๕. หน้า ๓๑​


    ขอให้ทุกๆท่านเจริญในธรรมยิ่งๆขึ้นไปด้วยเทอญ.. สาธุสวัสดี
     
  15. ลูกพลัง

    ลูกพลัง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 เมษายน 2012
    โพสต์:
    413
    ค่าพลัง:
    +8,932

    หลวงปู่เสาร์ ปรารถนาปัจเจกภูมิ
    หลวงปู่มั่น ปรารถนาพุทธภูมิ


    โดย
    พระธรรมวิสุทธิมงคล
    (หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน)
    วัดป่าบ้านตาด อ.เมือง จ.อุดรธานี



    พระพุทธเจ้าพระองค์ใดก็ตาม ได้ทรงทำนายใครแล้วนั้น
    เรียกว่าลบไม่สูญเลย เช่นคนนี้ปรารถนาจะเป็นพระพุทธเจ้า
    กำลังเป็นพระโพธิสัตว์ปรารถนา
    พุทธภูมิจะเป็นพระพุทธเจ้าข้างหน้า
    พระพุทธเจ้าทรงเล็งญาณดูแล้วยืนยันแล้วว่าในกัปกัลป์นั้น
    เธอจะได้เป็นพระพุทธเจ้าชื่อว่าอย่างนั้น
    แล้วสาวกข้างซ้ายชื่อว่าอย่างนั้น ข้างขวาชื่อว่าอย่างนั้น
    นี่ยังไงก็ลบไม่สูญเลยแน่แล้วนั่น จะต้องถึงจุดนั้นเลย

    ถ้ายังไม่ได้ทรงทำนายแล้วพลิกได้นะ คือจะไปนี้ยังไม่ถึงไหนเลย
    ปลีกออกเสียจากพุทธภูมิไปเป็นสาวกภูมิเสียก็ได้
    อันนี้ก็ยกตัวอย่างเช่น หลวงปู่มั่น เรา
    ท่านเคยเล่าให้ฟัง ทีแรกท่านปรารถนาเป็นพุทธภุมิ
    ท่านว่างั้นนะ เพราะฉะนั้นลวดลายของท่านจึงมี
    ความรู้ความฉลาดนี้เป็นลวดลายของพุทธภูมิยังติดอยู่ในนั้นนะ
    ทีนี้เวลาท่านพิจารณา พอจะเข้าด้ายเข้าเข็มทีไร
    มันจะพุ่งทีไร พุทธภูมิจะผ่านเข้ามาๆ
    ก็ทำให้เสียดายพุทธภูมิถอยเสีย ท่านว่าเป็นงั้นนะ
    พอกำหนดเข้าไปที่จะเข้าด้ายเข้าเข็มทีไร เรื่องพุทธภูมิจะสวนกันเข้ามาเลย
    เสียดายพุทธภูมิ ก็ถอยเสีย

    ทีนี้หลายต่อหลายครั้ง เอ๊ ว่าเป็นพุทธภูมิ ก็ไม่ได้ประมาทพระพุทธเจ้า
    ความสิ้นกิเลสสิ้นด้วยกัน
    เป็นแต่เพียงทำประโยชน์ให้โลกได้มากน้อยต่างกันกับสาวกเท่านั้นเอง
    เราได้แค่นี้เราก็เอาละ
    เราไม่ได้เป็นพระพุทธเจ้าก็ตาม
    ขอให้จิตบริสุทธิ์อย่างเดียวแค่นี้ก็เอาละ
    พออย่างนั้นท่านก็ขอหยุดอธิษฐานเป็นพุทธภูมินะ
    จากนั้นจิตก็พุ่งเลยท่านว่า อย่างนั้นแล้วอารมณ์อันนี้ไม่ครอบ
    นี้คือยังไม่ได้รับลัทธิพยากรณ์
    พระพุทธเจ้าพระองค์ใดพระองค์หนึ่งยังไม่พยากรณ์
    ถ้าลงได้พยากรณ์แล้วยังไงก็ลบไม่สูญเลย พุ่งถึงนั้น ถึงจุดนั้นเลย
    เรียกว่าลบไม่สูญ ลงเป็นอย่างนั้นแน่นอน
    ถ้ายังไม่ทำนายนี้มันเอียงได้ เอียงนั้นเอียงนี้ไปได้

    อย่างหลวงปู่มั่นท่านเล่าให้ฟัง เพราะฉะนั้นนิสัยพุทธภูมิของท่านยังมีอยู่
    ลวดลายของพุทธภูมิยังมี ความรู้ภายนอกภายในอะไรนี้คล่องแคล่วทุกอย่าง
    เรื่องจิตรวมฟาดนี้เหาะเหินเดินฟ้า
    ใครจะเก่งยิ่งไปกว่าท่านอาจารย์มั่นวะ
    พรึบนี้ลงพื้นปฐพี พรึบไปเลย ผึงนี้ก็ขึ้นเลย
    อันนี้ท่านเล่าให้ฟัง
    จนกระทั่งท่านอาจารย์เสาร์ท่านว่า
    ท่านมั่นนี้มันผาดโผนเกินไป



    ท่านอาจารย์เสาร์ ท่านไม่ค่อยชอบพูด
    ท่านปรารถนาปัจเจกภูมิ แต่ท่านก็พลิกอย่างเดียวกัน
    เพราะฉะนั้นนิสัยท่านจึงไม่ชอบพูด นั่งที่ไหนเหมือนหัวตอ
    ไม่พูดไม่คุยกับใครเลย
    ถ้าจะพูดก็ เออ พากันทำบุญนะ บาปมันเผาหัวเด้ เท่านั้นแหละไม่มาก
    บาปมันเผาหัวทั้งนั้นแหละ บุญเป็นความสุขเท่านั้น ท่านไม่พูดมากเป็นพระปัจเจก

    ทีนี้เวลาท่านอาจารย์หลวงปู่มั่นเรานี้เล่าเรื่องภาวนาสู่ท่านฟัง
    เล่าภาวนาทีไรก็ฟาดไปแต่เรื่องปิติเรื่องตัวลอย
    สำหรับท่านอาจารย์เสาร์นี้ พอนั่งภาวนานี้ตัวลอยขึ้นๆ ลอยทีแรกขึ้นไปได้เมตรหนึ่ง
    พอรู้สึก เอ๊ นี่เหมือนตัวลอย ลืมตาขึ้นมา จิตมันปล่อยหมด มันก็หนัก ตูมลงเลย เจ็บเอว
    โหย ตั้งหลายวัน ท่านว่า คือมันเป็นทีแรกท่านสงสัย
    เอ๊ นี่ทำไมเหมือนตัวลอยน้าท่านว่างั้น
    เหมือนว่าตัวลอยขึ้นๆ เลยลืมตาขึ้น มันไม่มีกำลังพยุงใช่ไหมล่ะ

    ตั้งแต่นั้นมาท่านเลยทดลองใหม่ เอาใหม่
    ทีนี้ท่านเอาเช่นอย่างท่านเอาเศษไม้หรืออะไรไปเหน็บไว้
    เพื่อความแน่นอนท่านว่า
    พอมันลอยขึ้นไป คือพยุงจิตไว้นะ นี่ละถ้ามันเจ็บแล้วต้องเข็ดเข้าใจไหม ต้องพยุง
    ทีนี้พยายามดู พอขึ้นไปๆ ถึงหญ้า พอถึงหญ้าแล้ว ท่านก็เอามือคลำจับเอาอันนี้ออกมา
    แล้วท่านก็ค่อยลืมตา จิตท่านก็ยับยั้งเอาไว้นะไม่ปล่อย
    ถ้าปล่อยก็ตูมเลย ค่อยพยุงๆ แล้วค่อยลงๆ กี๊กถึงพื้นๆ
    นี่พลังของจิตพยุงไว้
    ถ้าปล่อยอย่างที่ท่านตกใจนั่นนะ พอขึ้น โอ๊ย มันตก
    พอว่างั้น จิตมันออกหมดทั้งตัวมันก็ตูมเลย จากนั้นมา ท่านก็พยุง

    นี่ท่านพูดถึงเรื่องจิตของท่าน
    จิตของท่านเป็นอย่างนี้นะ
    จิตของผมมันไม่เป็นอย่างนั้น ว่างั้นนะ
    ทีนี่ มันเป็นยังไงท่านว่า
    โอ๊ย เวลามันลงนี้ฟาดนี้ทะลุแผ่นดินนี้ไม่มีเหลือพุ่งลงเลยพื้นพิภพพิเภ็พ
    ทีไหนก็ไม่ทราบ เวลามันขึ้นก็พุ่งเลย
    โอ๊ย มันพิลึกท่าน ท่านไม่พูดมากละ พิลึกท่าน พูดอย่างนั้น
    จิตของผมยังไม่เป็นอย่างนั้นเป็นอย่างนี้แหละ
    จิตของท่านมันพิลึก ท่านว่านี่คือความผาดโผนของจิต
    หลวงปู่มั่นเรานี้ไปแบบหนึ่ง
    ส่วนหลวงปู่เสาร์ก็ไปอย่างนี้แหละ ไปเรียบๆ
    นี่ก็อัฐิเป็นพระธาตุเหมือนกันนะ
    หลวงปู่เสาร์ เป็นพระธาตุ
    หลวงปู่มั่นก็เรียกว่าเป็นมาแล้ว
    นั่นก็เป็นตั้งแต่ นู้นแหละ ตั้งแต่มรณภาพแล้วทีแรก

    หลวงปู่เสาร์ก็เป็นเหมือนกัน
    ท่านเป็นคู่กัน ไปที่ไหนไปด้วยกัน ท่านติดกันมาตั้งแต่นู้นแหละ
    นี่ละสององค์นี้เบิกกรรมฐานเรานะ
    จากนั้นก็หลวงปู่มั่นเป็นผู้เบิกจริงๆ เบิกกรรมฐาน
    จึงได้มีร่องรอยมาจนกระทั่งทุกวันนี้ มาจากหลวงปู่มั่นเรา



    ที่มา : พระธรรมวิสุทธิมงคล (หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน).
    ชาติสุดท้าย, หน้า ๑๔-๑๗.



     
  16. ลูกพลัง

    ลูกพลัง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 เมษายน 2012
    โพสต์:
    413
    ค่าพลัง:
    +8,932
    นรกแตก

    นรกแตก

    หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี



    วันนี้จะเทศน์ถึงเรื่องนรกแตกให้ฟัง

    พอพูดถึงนรกใครก็กลัวทุกคน แต่ยังไม่เห็นนรกเลยสักที
    มันไหม้เผาผลาญสัตว์อยู่ตลอดวันตลอดคืน

    นรกไม่ใช่มันจะเรียกเอาตัวของเราไป แต่เราตกไปเองต่างหาก

    เหตุที่จะไม่ให้ตกนรกนั้นมีอยู่ แต่เราไม่มีการป้องกันตัว...

    ...นรกแตก คือว่า ความโกรธ
    ความไม่พอใจมันร้อนเต็มที่แล้ว มันแตกกระจายออกไป
    เห็นสิ่งต่างๆ แล้วไม่พอใจไปทั้งหมด
    วัตถุสิ่งของใดๆ ที่อยู่รอบด้านรอบตัวของเรา เห็นเป็นพิษเป็นสงไปหมด
    ผู้คนต่างๆ ที่อยู่รอบตัวของเรา แม้แต่ญาติมิตร
    พวกพ้องพี่น้องของเรา มีบิดามารดาเป็นต้น ก็เห็นเป็นภัยหมด
    อันนั้นแหละ หม้อนรกแตก

    มันแตกออกมาจากใจ แล้วก็กระจายไปทั่วทุกแห่งหน
    ไหม้ตลอดหมด เรียกว่า นรกแตก
    มันแตกเป็นหม้อเล็กหม้อน้อยออกไป
    นั่นแหละใครไม่รู้จักนรก ให้ดูเสีย ให้เข้าใจเสีย
    นรก คือความโกรธ ความโกรธนี้เมื่อมีในตัวของเราแล้ว
    เราไม่อดกลั้นมันเลยปล่อยกระจายออกภายนอก
    ไหม้เผาผลาญไปทั่วบ้านทั่วเมือง...

    “นรก” เป็นคำบาลี แปลว่า นรชน คือคนเรานี่แหละ
    ทุกๆ คนมีอยู่แล้ว ไม่ต้องไปดูที่อื่นไกล
    ดูตัวของเราก็แล้วกัน เวลามันโกรธขึ้นมา มันมืดมิดหมดทุกสิ่งทุกอย่าง
    ท่านเรียกว่า นรกโลกันต์ คือมืดมิดหมด ไม่เห็นแสงเห็นแดดอะไรเลย

    ...ท่านสอนให้ดับไฟนรก ต้องเอาที่ต้นตอของมันจริงๆ จังๆ
    ต้นตอของนรกจริง คือ ใจ
    ถ้าเราเห็นใจแล้ว มันไม่มีอะไรหรอก ไฟนรกก็ดับ ความโกรธก็ไม่มี
    เช่นว่า เราโกรธพอกำหนดสติ เห็นใจเราเท่านั้น ความโกรธนั้นหายไปเลย

    ความโลภ ความหลง ความมานะทิฏฐิก็เหมือนกัน
    หากเราเข้าไปเห็นตัวใจแล้ว ของเหล่านั้นดับหายไปหมด

    ใจ คือ ตัวเป็นกลาง ไม่เอนเอียงไปในอดีต
    ในอนาคตไม่คิดนึกอะไร นิ่งเฉยอยู่
    ตัวนั้นแหละเป็นใจ เราดับไฟตรงนั้นเลย
    ไม่ต้องดับที่อื่นไกล ตรงเข้าไปตรงนั้นเลยทีเดียว
    คือ ตรงเข้าถึงใจ ที่มันเป็นกลางนั่นเลย

    แต่มันดับไม่หมดทีเดียวนะ...ไฟอันนั้นพิษมันร้ายแรงมาก
    ท่านหมายถึง ความโกรธนั่นแหละ แม้จะน้อยนิดเดียวก็ตาม
    พอมันโกรธขึ้นมาแล้ว มันอาจจะล้มทุกสิ่งทุกอย่างระเนระนาดได้
    ความโกรธไม่มีตัว ไม่ทราบว่าตั้งอยู่ในสถานที่ใด
    ใครเป็นพ่อเป็นแม่ของมันก็ไม่ทราบ ใครเป็นพี่เป็นน้องมันก็ไม่ทราบ
    แต่มันเกิดขึ้นมาเอง เกิดขึ้นมาแล้วก็ขยายกว้างขวางออกไป
    แพร่พันธุ์ลูกๆ หลานๆ กว้างขวางมาก
    ได้แก่ มานะทิฏฐิ ถือตนถือตัว เกิดอะไรต่างๆ ได้สารพัดทุกอย่าง
    ออกมาจากความโกรธความไม่พอใจทั้งนั้น

    ...อวัยวะ มือ เท้า ฯลฯ มีอยู่ทุกคนนั่นแหละ สามารถที่จะฆ่าจะแกงเขาได้
    แต่ว่าเราระมัดระวัง สังวร สำรวมกาย วาจา ใจ จึงไม่สามารถที่จะทำเขาได้
    ไม่สามารถที่จะฆ่าจะแกงเขาได้ กิเลสอันนั้น ถ้าเอาออกมาใช้เมื่อไร
    ก็ใช้ได้เหมือนกันมันเหมือนเก่านั่นแหละ แต่ท่านผู้วิเศษทั้งหลายท่านไม่ใช้
    กิเลสยังอยู่เท่าเก่า หู ตา จมูก ลิ้น กาย มันก็ยังอยู่เท่าเก่า
    มันประสบพบเห็นสิ่งต่างๆ ก็เท่าเก่านั่นแหละ
    ไม่ใช่ท่านไม่มีหู ไม่มีตา ไม่มีแขน ไม่มีอวัยวะต่างๆ
    ท่านมีเหมือนกันกับพวกเราแต่ท่านเป็นผู้สำรวมแล้ว ท่านระวังแล้วตลอดเวลา

    เหตุนั้นพวกเราฝึกหัดปฏิบัติอยู่นี่ ก็ปฏิบัติเพื่อให้มันชำนิชำนาญ
    ในเรื่องการสำรวมระวังเมื่อมีอะไรมากระทบเข้าเพื่อไม่ให้เกิดความเดือดร้อน
    เพื่อไม่ให้เกิดความวุ่นวายขึ้นมาได้
    ไม่ให้มันขุ่นขึ้นมานั่นเอง ให้มันใสแจ๋วอยู่ตลอดเวลา
    มันจึงจะพ้นจากทุกข์ พ้นจากนรก

    ถ้ามีอะไรมากระทบปั๊บเวลาใด เกิดขุ่นมัวขึ้น
    เกิดประหัตประหาร ฆ่าฟันกันด้วยประการต่างๆ
    เกิดด่าเกิดว่ากันขึ้น มันเป็นเหตุให้เดือดร้อนทั้งต้นและคนอื่น
    เหตุนั้นจึงควรระวังทุกๆ คน เป็นมนุษย์อยู่หมู่มากด้วยกัน มันต้องมีการกระทบ
    จะอยู่บ้านหรืออยู่ที่ไหนก็ตามเถิด ให้คอยระวังอยู่ตลอดเวลา
    การระวังสังวร พระพุทธเจ้าจึงทรงสอนให้พากันทำให้นักหนา
    ให้พากันรักษานักหนา

    ...พระพุทธเจ้าก็ตรัสเทศนาเหมือนกัน
    ความอดกลั้น เป็นตปะอย่างยิ่ง คือ ระงับดับกิเลสได้

    ทางโบราณท่านสอนว่า ก่อนจะทำอะไรลงไปให้นับสิบเสียก่อน

    ทีนี้มันไม่ทันนับสิบน่ะซิ มันออกไปก่อน
    วาจามันเร็วที่สุด ใจยังเร็วกว่านั้นอีก
    มันอยากจะพูดซ้อนๆ กัน 2-3 คำ นั่นน่ะ ตรงที่มันออกไปไม่ทันใจ
    พอพูดหยาบคายออกไปแล้วมันก็เป็นเหตุให้ร้อนแล้วทีนี้
    เราน่ะร้อนกว่าคนอื่นเสียด้วยซ้ำ

    นี่แหละ นรก ไม่ใช่อื่นไกล
    ระงับดับนรกตรงนี้ได้แล้ว มันอยู่สบาย ไม่ต้องไประงับดับที่อื่น

    ที่ว่านรกอยู่ใต้ดินนั้น ที่จริงแล้วไม่ใช่หรอก
    ความเลวทราม ความต่ำช้าของจิตใจนั่นมันต่ำ
    เขาจึงเรียกว่าอยู่ใต้ดิน จึงว่านรกอยู่ใต้ดิน พูดถึงนรกก็ชี้ลงไปข้างล่างที่ดินเลย

    ส่วนจิตใจที่ดีงาม มันเบา มันสูง เขาจึงเรียกว่า ขึ้นสวรรค์
    มันสูงจึงอยู่ข้างบน พูดถึงสวรรค์ก็ชี้ขึ้นไปข้างบน

    อันความเป็นจริงแล้ว นรก สวรรค์ อยู่ที่ตัวของเรานี่แหละ

    นรก แปลว่า นรชน นรชนมีในที่ใด นรกมีในที่นั้น ไม่ต้องไปหาที่อื่น
    ไปหาที่อื่นไม่เห็นหรอก จะไปหาที่ไหนๆ ก็ไม่เห็น มันอยู่ในตัวคนนี่ทั้งนั้น
    ครั้นตัวของเราไม่เป็นนรกแล้ว ก็หมดเรื่อง นรก ใต้ดินก็ไม่มีนรก

    วันนี้อธิบายเท่านี้ละ เอวํฯ

    *********************************


    ขอให้ทุกๆท่านเจริญในธรรมยิ่งๆขึ้นไปด้วยเทอญ.. สาธุสวัสดี
     
  17. Golden Sky

    Golden Sky เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 พฤศจิกายน 2012
    โพสต์:
    575
    ค่าพลัง:
    +8,976


    ขออนุโมทนา กับ คุณ NOKMAM ที่ได้เอาธรรมที่ยากที่คนจะเข้าใจได้ นั้นก็คือ "ความว่าง" ที่ ปรกติคนเราผู้ที่อยู่ในโลกนี้ยากที่จะเข้าถึงซึ้งความว่าง เพราะแต่ละคนก็มั่วแต่วุ่นวาย กับ การอยู่ การกิน ต้องดิ้นรนหาเพื่อปาก ท้อง จึงยากที่จะเห็นความว่าง จึงขออนุโมทนาด้วย ตอนแรกๆก็คิดว่า Postผิด แต่เมื่อเกิดปัญญา ถึงรู้ความหมายของข้อความที่ถูกส่งมานั้นมีความหมายจึง ขอให้ทั้งท่านหลายจงได้พิจารณาถึงความว่างให้เป็นนิจ จิตจะแจ่มใส และขอให้ท่านผู้อ่านจงเป็นผู้ว่าง "ด้วยปัญญา"ด้วยเทอญ.
     
  18. Patcharawan

    Patcharawan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 สิงหาคม 2012
    โพสต์:
    187
    ค่าพลัง:
    +3,980
    วิปัสสนากรรมฐาน -

    เมื่อจิตว่างวางอารมณ์ข่มนิวรณ์
    ไม่เดือดร้อนเยือกเย็นเป็นสุขสันต์
    เกิดปัญญาดำริชอบประกอบพลัน
    จิตสร้างสรรค์จรรโลงศาสตร์พระสัมมา

    จิตเมตตากรุณาบังเกิดพร้อม
    จิตอ่อนน้อมใคร่ครวญโทษโทสา
    อโหสิเรื่องอดีตที่ผ่านมา
    แม้ปัจจาก็เหมือนมิตรสนิทใจ

    สุขใดเล่าจะเท่าจิตว่างสงบ
    ใครค้นพบสุขแท้เพียรแก้ไข
    อยู่ใกล้ใกล้ในตัวเราถ้าเข้าใจ
    เพียรเดินไปตามมรรคปฏิปทา

    วิปัสสนากรรมฐาน….ญาณหยั่งรู้
    ปราบศัตรูคือกิเลสเหตุโมหา
    หมั่นดำริตริตรึกทุกเวลา
    สติทำลายอวิชชาสบสุขจริง

    สุขใดเล่าจะเท่ากิเลสหลุด
    ขันธ์วิมุติทำลายทุกข์ได้ทุกสิ่ง
    ถ้ายึดมั่นปฏิบัติให้จริงจริง
    มีคุณยิ่งแก่ชีวิตมนุษย์เอย

    [โดยคุณแม่ ดร.สิริ กรินชัย]
     
  19. Patcharawan

    Patcharawan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 สิงหาคม 2012
    โพสต์:
    187
    ค่าพลัง:
    +3,980
    ...ถังเเตก... ( ข้อคิดดีดี )
    ชายจีนคนหนึ่งแบกถังน้ำสองใบไว้บนบ่าเพื่อไปตักน้ำที่ริมลำธาร
    ถังน้ำใบหนึ่งมีรอยแตก..ในขณะที่อีกใบหนึ่งไร้รอยตำหนิ
    และสามารถบรรจุน้ำกลับมาได้เต็มถัง...
    แต่ด้วยระยะทางอันยาวไกลจากลำธารกลับสู่บ้าน
    จึงทำให้น้ำที่อยู่ในถังใบที่มีรอยแตกเหลืออยู่เพียงครึ่งเดียว

    เหตุการณ์ทั้งหมดนี้ดำเนินมาเป็นเวลา2 ปีเต็มที่คนตักน้ำ
    สามารถตักน้ำกลับมาบ้านได้หนึ่งถังครึ่ง..
    ซึ่งแน่นอนว่าถังน้ำใบที่ไม่มีตำหนิจะรู้สึกภาคภูมิใจ
    ในผลงานเป็นอย่างยิ่ง...
    ในขณะเดียวกันถังน้ำที่มีรอยแตกก็รู้สึก
    อับอายต่อความบกพร่องของตัวเอง....
    มันรู้สึกโศกเศร้ากับการที่มันสามารถทำหน้าที่ได้เพียงครึ่งเดียว
    ของจุดประสงค์ที่มันถูกสร้างขึ้นมา
    หลังจากเวลา 2 ปี
    ที่ถังน้ำที่มีรอยแตกมองว่าเป็นความล้มเหลวอันขมขื่น
    วันหนึ่งที่ข้างลำธาร
    มันได้พูดกับคนตักน้ำว่า
    "ข้ารู้สึกอับอายตัวเองเป็นเพราะรอยแตกที่ด้านข้างของตัวข้า
    ทำให้น้ำที่อยู่ข้างในไหลออกมาตลอดเส้นทางที่กลับไปยังบ้านของท่าน
    "คนตักน้ำตอบว่า "
    เจ้าเคยสังเกตหรือไม่ว่ามีดอกไม้เบ่งบานอยู่ตลอดเส้นทางในด้านของเจ้า
    แต่กลับไม่มีดอกไม้อยู่เลยในอีกด้านหนึ่ง
    เพราะข้ารู้ว่าเจ้ามีรอยแตกอยู่
    ข้าจึงได้หว่านเมล็ดพันธุ์ดอกไม้ลงข้างทางเดินด้านของเจ้า
    และทุกวันที่เราเดินกลับ ...
    เจ้าก็เป็นผู้รดน้ำให้กับเมล็ดพันธุ์เหล่านั้น
    เป็นเวลา 2 ปี
    ที่ข้าสามารถที่จะเก็บดอกไม้สวยๆ
    เหล่านั้นกลับมาแต่งโต๊ะกินข้าว
    ถ้าหากปราศจากเจ้าที่เป็นเจ้าแบบนี้แล้ว ...
    เราก็คงไม่อาจได้รับความสวยงามแบบนี้ได้"
    "คนเราแต่ละคนย่อมมีข้อบกพร่องที่เป็นเอกลักษณ์ของตัวเอง
    แต่รอยตำหนิและข้อบกพร่องที่เราแต่ละคนมีนั้น
    อาจช่วยทำให้การอยู่ร่วมกันของเราน่าสนใจ
    และกลายเป็นบำเหน็จรางวัลของชีวิตได้
    สิ่งที่ต้องทำก็เพียงแค่ยอมรับคนแต่ละคนในแบบที่เขาเป็น
    และมองหาสิ่งที่ดีที่สุดในตัวของพวกเขาเหล่านั้นเท่านั้นเอง
    มองโลกหลายๆ ด้าน
    เพราะคนเราไม่ได้มีแต่ข้อเสียเท่านั้น..






    ...
     
  20. มาลินี UK

    มาลินี UK เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 พฤศจิกายน 2012
    โพสต์:
    807
    ค่าพลัง:
    +12,713
    ขออนุโมทนา กับทุกๆท่าน ที่เอาธรรมะ ของพระอรหันต์ ทุกๆพระองค์ มาฝาก
    เพราะได้อ่าน และศึกษา ได้ทำความเข้าใจกับธรรมะ ของแต่ละ่ท่านที่นำมาให้เป็นธรรม
    ทาน ทุกๆท่านได้ศึกษา และเข้าใจ ดิฉันได้อ่านแล้วทุกๆธรรมะที่ได้อ่านได้ศึกษา
    มาเป็นธรรมะทีท่านได้คัดมานั้น เป็นธรรมะที่ดีมาก และดีสำหรับผู้อ่านที่กำลังตั้งไข่
    และกำลังหัดเดิน.เพราะถ้าท่านยังไม่ตั้งไข่จะเดินเลยมันก็จะล้มเอา. เืมื่อเราเริ่มตั้งแต่ตั้งไข่ แล้วค่อยๆศึกษา แล้วก็ค่อยๆก้าวทีละก้าว ก้าวที่หนึ่งล้ม ก็เริ่มก้าวหนึ่งใหม่อีกทำอย่างนี้ไปเรื่อยๆ อย่าท้อถอยจนก้าวสอง และก้าวสามตามมา แต่ถึงอย่างนั้นก็ตามเราอย่าประมาทล่ะ ถ้าเราประมาทมันก็จะล้มอีก ฉะนั้นเราจะต้องฝึกมันบ่อยๆ จนเราเดินได้ดีแล้วการเดินของเรามันก็จะไม่ล้มลุกคุกคาน
    เหมือนเมื่อเราพึ่งหัด.การเริ่มต้นในสิ่งที่ดีเราก็จะได้รับแต่สิ่งที่ดี เมื่อเราคิดดีทำ
    ดีแล้วเราก็จะได้แต่สิ่งดีๆ ที่ดิฉันได้อ้างอิงของคุณ Nokmamนี้ก็เพราะว่าปัญญามันเกิดเห็นความว่างอยู่สองคอลั่มเลย เมื่อมาพิจจารณาแล้ว มันเกิดปัญญา
    ถึงความว่าง ซึ่งมันว่างจริงๆ จนปัญญาเกิด จึงเขียนเรื่องนี้ขึ้นมาได้.ขอขอบพระ
    คุณ คุณ NokMam มากค่ะที่ให้ปัญญาความว่าง จนดิฉันได้ปัญญาแห่งความว่างจริงๆ ถ้าผู้อ่านท่านใดที่กำลังตั้งไข่อยู่ และกำลังจะ ก้าวเดิน ขอให้ท่าน ฝึก
    อย่างมีสติ พิจจารณา จนเกิดปัญญา ก้าวไปได้โดยไม่ติดขัด.ขอขอบพระคุณ
    ทุกๆท่านที่ให้ธรรมะเป็นธรรมทาน. ขอน้อมรับค่ะ และขออนุโมทนากับทุกๆท่านค่ะ
    และขอขอบคุณท่านผู้อ่านทุกๆท่านค่ะ.สาธุ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 16 ธันวาคม 2012

แชร์หน้านี้

Loading...