จิตพร้อม? รับภัยพิบัติ

ในห้อง 'ภัยพิบัติและการเตรียมการ' ตั้งกระทู้โดย ภูภู, 6 เมษายน 2012.

  1. ลูกพลัง

    ลูกพลัง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 เมษายน 2012
    โพสต์:
    413
    ค่าพลัง:
    +8,932
    อนิมิตเจโตสมาธิ

    พระสูตรที่ว่าด้วยสุญญตา ๓

    สมเด็จพระญาณสังวร
    สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก
    วัดบวรนิเวศวิหาร
    คัดจากเทปธรรมอบรมจิต ข้อความขาดนิดหน่อยระหว่างหน้าเทป
    (อณิศร โพธิทองคำ บรรณาธิการ)​

    บัดนี้ จักแสดงธรรมะเป็นเครื่องอบรมในการปฏิบัติอบรมจิตในเบื้องต้นก็ขอให้ทุกๆท่านตั้งใจนอบน้อมนมัสการพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ตั้งใจถึงพระองค์พร้อมทั้งพระธรรมและพระสงฆ์เป็นสรณะ ตั้งใจสำรวมกายวาจาใจให้เป็นศีล ทำสมาธิในการฟังเพื่อให้ได้ปัญญาในธรรม

    ได้แสดงสุญญตาคือความว่าง ที่พระบรมศาสดาได้ตรัสถึงพระองค์เองว่าทรงอยู่โดยมากด้วยสุญญตาวิหาร ธรรมะเครื่องอยู่คือสุญญตาความว่างทั้งเมื่อก่อนแต่นี้ และทั้งในเวลานี้คือเวลาที่ตรัสเล่าเรื่องนี้และพระองค์ก็ได้ทรงแสดงถึงวิธีปฏิบัติสุญญตา คือความว่าง ตั้งแต่เบื้องต้นขึ้นไปโดยลำดับ

    ก็โดยที่บุคคลสามัญทั่วไปนั้นในขณะที่อยู่เฉยๆ มิได้ทำอะไรในบางคราว ก็รู้สึกว่าว่างอันเป็นที่รำคาญ ไม่ผาสุกแต่หากให้ทำอะไรต่างๆรู้สึกว่าไม่ว่าง ก็ทำให้เพลินไปในการงานต่างๆ ที่ทำนั้นแต่อันที่จริงในขณะที่ต้องมาอยู่ว่าง เช่นในขณะที่เจ็บป่วยก็ดี หรือในขณะที่ลาเข้ามาบวช พักการพักงานชั่วระยะหนึ่งก็ดี ที่รู้สึกว่าว่าง ไม่มีอะไรจะทำ น่ารำคาญ และมีความทุกข์ ไม่สบายอยู่กับความว่าง ไม่มีอะไรจะทำดังกล่าวนั้น

    แต่อันที่จริงความว่างที่เข้าใจว่าว่างอันทำให้รำคาญนี้หาได้ชื่อว่าสุญญตา คือความว่าง อันเป็นธรรมปฏิบัติในพุทธศาสนาไม่เพราะว่า จิตใจไม่ว่าง เต็มไปด้วยนิวรณ์ต่างๆ ว่าถึงนิวรณ์ ๕ ก็เป็น กามฉันท์ ความยินดีรักใคร่อยู่ในกามบ้าง เป็น พยาบาท ความหงุดหงิดโกรธแค้นขัดเคืองต่างๆบ้างเป็น ถีนมิทธะ ความง่วงงุนเคลิบเคลิ้มบ้าง เป็น อุทธัจจะกุกกุจจะ ความฟุ้งซ่านรำคาญบ้าง เป็น วิจิกิจฉา ความเคลือบแคลงสงสัยต่างๆ บ้าง

    ใจจึงไม่สงบเพราะมีอาลัยความผูกพัน ติดอยู่ในสิ่งนั้นบ้าง ในสิ่งนี้บ้างในบุคคลนั้นบ้าง ในบุคคลนี้บ้าง ซึ่งโดยปรกตินั้นเมื่อมีความอาลัยผูกพันอยู่ดั่งนี้ก็มักจะไปหาสิ่งที่มีอาลัยผูกพัน หรือบุคคลที่มีอาลัยผูกพันอยู่ได้ (จบ ๒/๑)(ข้อความน่าจะไม่ต่อเนื่อง)( เริ่ม ๒/๒) แล้วก็มีอารมณ์ ที่ไม่ดีก็เป็นโกรธ เป็นไม่พอใจ เหล่านี้เป็นต้น ใจไม่ว่าง ใจไม่สงบเพราะฉะนั้นความว่างก็คือตัวความสงบ และคือตัวอุเบกขาความที่รู้วางไม่วุ่นวาย ไม่ยุ่งใจสงบ ใจวาง แม้รู้อยู่ก็สงบได้ วางได้ ดั่งนี้ จึงจะเป็นสุญญตาคือความว่าง

    สุญญตา ความว่าง​

    และสุญญตาคือความว่างที่พระพุทธเจ้าทรงสั่งสอนนั้นหากหัดปฏิบัติไปตามที่ทรงสั่งสอนตั้งแต่ในเบื้องต้น ก็ย่อมจะทำได้สะดวกจะทำให้จิตใจนี้ว่างจากอารมณ์ที่ปรุงใจ ว่างจากกิเลสเครื่องเศร้าหมองใจ ไปโดยลำดับเพราะฉะนั้นจะอยู่ที่ไหน จะป่วยหรือไม่ป่วย จะบวชหรือไม่บวชก็สามารถที่จะพบกับสุญญตาคือความว่างตามที่พระพุทธเจ้าทรงสั่งสอนไว้ได้หากไม่ปฏิบัติตามที่ทรงสั่งสอน ก็จะไม่ได้พบสุญญตาคือความว่างเจ็บป่วยก็ไม่ได้พบสุญญตาคือความว่าง บวชก็ไม่ได้พบสุญญตาคือความว่างเป็นคฤหัสถ์ก็ไม่ได้พบสุญญตาคือความว่าง เป็นบรรพชิตก็ไม่ได้พบสุญญตาคือความว่าง

    เพราะฉะนั้น ผู้ปฏิบัติธรรมะ จึงต้องฝึกหัดปฏิบัติทำสุญญตา คือความว่างตามที่ทรงสั่งสอนดั่งที่ได้แสดงมาแล้วโดยลำดับ แต่ว่าจะได้แสดงทบทวนในตอนท้ายซึ่งจะเป็นทางนำการปฏิบัติไปด้วย

    ความหมายของเนวสัญญานาสัญญายตนะ​

    ก็ได้แสดงมาถึงที่ตรัสสอนให้ มนสิการ คือทำใจกำหนดในจิตอย่างละเอียด จนถึงปล่อยอารมณ์ทั้งหมดทั้งที่เป็น รูปารมณ์ อารมณ์ที่เป็นรูป หรือดังที่เรียกว่ารูปฌาน รูปสมาบัติกับทั้ง อรูปารมณ์ อารมณ์ที่ไม่มีรูป ดังที่เรียกว่าอรูปฌาน หรืออรูปสมาบัติ แต่ก็ไม่หมดทีเดียว ถึงไม่หมดก็ละเอียดที่สุด เกือบจะหมด คือในข้อที่ว่ามีสัญญาก็ไม่ใช่ ไม่มีสัญญาก็ไม่ใช่ คือมีสัญญาอยู่เหมือนกัน แต่ว่าละเอียดมาก แม้เป็นสัญญา คือความกำหนดหมายที่ละเอียดมาก จิตนี้ก็สว่างโพลง ตั้งมั่น มีความรู้อยู่เต็มที่ มีความเข้าไปเพ่งอยู่เต็มที่ คือเข้าไปเพ่งอยู่กับสิ่งที่ไม่มีนั้น แต่ว่าอันที่จริงนั้นก็ยังมีอยู่อีกหน่อยหนึ่ง ไม่ใช่ไม่มีไปทั้งหมด

    คล้ายๆ กับว่า รู้สึกว่าจะมีคนหลบอยู่ในห้องๆ หนึ่งก็เข้าไปในห้องนั้น แล้วก็ค้นหาว่ามีใครอยู่ในห้องนั้น ซ่อนอยู่ที่ไหนบ้าง ก็ไม่พบใครสักคนหนึ่ง จึงมีความเข้าใจว่าไม่มีใครอยู่ในห้องนั้น แต่อันที่จริงนั้นลืมนึกไปถึงว่า มีตัวเองอยู่ในห้องนั้นอีกหนึ่งคน คือตัวเองซึ่งเป็นผู้ค้นหานั้น เพราะฉะนั้นไม่มีใครอื่น เรียกว่าไม่มีอารมณ์ทั้งที่เป็นรูป ทั้งที่เป็นอรูป อื่นๆ ทั้งหมดแต่ว่าก็ยังมีตัวเราอยู่ อันเป็นที่ยึดถืออยู่ และในการค้นหานั้นก็ยังเป็นการค้นซึ่งแสดงว่ายังไม่เสร็จกิจ ยังต้องค้น ยังต้องปรุงแต่งการค้น

    เพราะฉะนั้นที่ว่า มีสัญญาก็มิใช่ ไม่มีสัญญาก็มิใช่นั้น ก็หมายความว่ามีสัญญาอยู่เหมือนกัน แต่ว่าละเอียดมาก ไม่ถึงจะกล่าวว่าเป็น รูปสัญญา กำหนดหมายในรูป

    สัทสัญญา กำหนดหมายในเสียง หรือในอากาศ ช่องว่าง ในวิญญาณที่เป็นตัวรู้หรือในอะไรๆ ที่แม้น้อยหนึ่งนิดหนึ่งก็ไม่มี ในสิ่งที่เป็นช่องว่างนั้นแต่ก็ยังมีตัวสัญญาที่กำหนดอยู่นั่นแหละ คือกำหนดว่าไม่มีความกำหนดว่าไม่มีนั้นเองก็เป็นสัญญา

    ฉะนั้นพระพุทธองค์จึงได้ทรงแสดงว่า แม้หัดปฏิบัติมาถึงขั้นนี้ก็ยังมีเหลืออยู่อย่างหนึ่งคือกายนี้ที่มีอายตนะทั้ง ๖ และมีชีวิตเป็นปัจจัยกับทั้งยังมีตัวสัญญาที่แม้ว่าจะไม่ชัดเจน เพราะเป็นความกำหนดอยู่ว่า น้อยหนึ่งนิดหนึ่งก็ไม่มี ตัวความกำหนดนั้นก็ยังเป็นตัวสัญญา แต่เป็นอย่างละเอียด

    อนิมิตเจโตสมาธิ​


    ฉะนั้นในขั้นต่อไป จึงได้ตรัสสอนให้ไม่ใส่ใจถึงความกำหนดหมายอันเป็นตัวสัญญาที่ละเอียดดังกล่าว แต่ให้ใส่ใจถึงข้อที่เรียกว่า อนิมิตเจโตสมาธิ คือสมาธิแห่งใจที่ไม่มีนิมิตสำหรับกำหนดหมายอัน อนิมิตเจโตสมาธิ สมาธิแห่งใจที่ไม่มีนิมิตเป็นเครื่องกำหนดหมายนี้ เป็นสิ่งที่ละเอียดมากและโดยปรกติก็แสดงในขั้นสูงสุดของการปฏิบัติ

    และพระอาจารย์โดยมากก็แสดงอธิบายเป็นวิปัสสนากรรมฐานไปทีเดียวว่า คือปัญญาที่พิจารณานิมิต คือสิ่งที่กำหนดทั้งหมดของจิตใจหรือที่เรียกกันเป็นสามัญว่า ขันธ์ ๕ ก็ดี นามรูปก็ดีหรือว่ารูป หรือว่ากาย เวทนา จิต ธรรม ก็ดี หรือว่าอายตนะ หรือว่าธาตุก็ดีซึ่งทั้งหมดก็มีอยู่ในกายและใจอันนี้ทั้งหมด ไม่กำหนดยึดถือในสิ่งเหล่านี้ทั้งหมดว่าเป็นของเที่ยง เป็นสุข เป็นอัตตาคือเป็นตัวเราของเราแต่ทั้งหมดเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ต้องแปรปรวนเปลี่ยนแปลงไป ตั้งอยู่คงที่ไม่ได้เป็นอนัตตาไม่ใช่อัตตาตัวตน

    และเมื่อได้พิจารณาจนได้ปัญญาในไตรลักษณ์ดั่งนี้จึงไม่มีนิมิต คือไม่มีความยึดถือของจิตที่กำหนดในอะไรๆทั้งสิ้นว่าเที่ยง เป็นสุข เป็นอัตตาตัวตน ดั่งนี้เป็นอนิมิตเจโตสมาธิ

    อนึ่ง ก็อาจพิจารณาได้อีกว่าอนิมิตเจโตสมาธินั้น สูงกว่าขั้นที่กำหนดในสัญญาอย่างละเอียดเป็นสัญญาที่กำหนดในความไม่มี น้อยหนึ่งนิดหนึ่งก็ไม่มีซึ่งเป็นตัวสัญญาเหมือนกัน ละเอียดจนถึงว่าไม่ถนัดที่จะเรียกว่ามีสัญญา แต่ก็ไม่อาจจะเรียกได้ว่าไม่มีสัญญา เพราะมีเหมือนกัน ซึ่งในขั้นอนิมิตนี้ก็เป็นอันว่าเลิกสัญญากันทั้งหมด จิตเข้าสู่ธรรมชาติของจิต ธรรมชาติของจิตนั้นคือ เป็นวิญญาณธาตุ ธาตุรู้ เป็นอภัสรธาตุ คือธาตุที่ผ่องใส ทั้งสองนี้เป็นธรรมชาติของจิต รู้และผ่องใส

    ในขั้นอนิมิตเจโตสมาธินี้ จิตจึงตั้งสงบอยู่ภายใน ประกอบด้วยความรู้ประกอบด้วยความผ่องใส ไม่ออกมากำหนดอะไรๆ ทั้งหมด หยุดสงบอยู่ในภายในจึงไม่มีสัญญาในอะไรๆ ทั้งหมด ตั้งสงบอยู่ในภายใน แต่ว่ารู้ รู้และผ่องใส

    อนิมิตเจโตสมาธิในภาวะปรกติธรรมดา​


    อาจจะเป็นอนิมิตเจโตสมาธิในขณะที่ยังอยู่เป็นปรกติธรรมดานี้ก็ได้ เช่นว่า ไม่ได้นั่งเข้าที่เข้าทางอะไร ตาก็ลืม หูก็ฟัง จมูก ลิ้น กาย ก็รับ กลิ่น รส โผฏฐัพพะ แต่ว่า มโน คือใจ นั้นไม่ออก ตั้งสงบอยู่ด้วยความรู้และความปภัสร คือผุดผ่องเท่านั้น อะไรผ่านเข้ามาทางตาก็รู้ก็เห็น เสียงอะไรดังขึ้นก็ได้ยิน เหล่านี้เป็นต้น แต่ว่าจิตรู้แล้วก็แล้วไป เห็นก็แล้วไป ได้ยินก็แล้วไป ไม่ออกมายึด ไม่ออกมากำหนด ไม่ออกมายึด ไม่ออกมากำหนดทั้งในทางที่ก่อกิเลส ก่อโลภะ ก่อโทสะ ก่อโมหะ ทั้งในทางที่เป็นกรรมฐาน เช่น กำหนดลมหายใจเข้าออก กำหนดผม ขน เล็บ ฟัน หนัง กำหนดธาตุ ๔ เป็นต้น ที่เรียกว่าออกมากำหนดเป็นกรรมฐาน

    ไม่ออกมากำหนดทั้งหมด เห็นอะไรได้ยินอะไร ก็รู้รูป รู้เสียงเป็นต้น ก็แล้วไปเท่านั้นจิตตั้งสงบอยู่ในภายในด้วยความรู้ และด้วยความผ่องใส

    นิมิต อนิมิต​

    ดั่งนี้แหละคือเป็นตัวอุเบกขาอย่างแท้จริง ในขั้นนี้จิตตั้งสงบอยู่ดั่งนี้ จึงไม่มีนิมิตคือเครื่องกำหนดอะไร เพราะไม่ออกไปกำหนด เมื่อจิตออกไปกำหนดในสิ่งใด สิ่งนั้นจึงเป็นนิมิตขึ้นมา แต่เมื่อจิตไม่ออกไปกำหนดในสิ่งใด สิ่งนั้นก็ไม่เป็นนิมิต เพราะฉะนั้นอาการที่จิตตั้งสงบอยู่ภายใน ดั่งนี้เรียกว่าเจโตสมาธิ สมาธิของใจและตั้งสงบอยู่ไม่ออกไปกำหนดอะไร ทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย ทางมนะคือใจ ทั้งหมด ตั้งสงบอยู่เฉยๆ อะไรมาก็เห็น อะไรมาก็ได้ยินเห็นหมดได้ยินหมดอย่างธรรมดานี่แหละ แต่ว่าตั้งสงบอยู่เฉยๆ ไม่ออกมากำหนดอันนี้แหละเป็นเป็นตัวเป็นอนิมิต เป็นอนิมิตเจโตสมาธิในความรู้นั้นอาจจะประกอบด้วยไตรลักษณญาณ รู้ในไตรลักษณ์ก็ได้หรือว่าไม่ได้นึกถึงว่าเป็น อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา อะไร ก็ได้รู้สงบอยู่ภายในเฉยๆ ดั่งนี้เป็นอนิมิตเจโตสมาธิ

    และแม้ได้ในขั้นนี้ซึ่งเป็นสุญญตาในขั้นปฏิบัติอย่างสูงสุดแต่ก็ยังมีเหลืออยู่ที่กายนี้ อันมีอายตนะทั้ง ๖ และมีชีวิตเป็นปัจจัยอันที่จริงนั้นไม่ใช่เหลืออยู่เพียงกายนี้เท่านั้น ยังมีอวิชชาตัณหาอุปาทานเหลืออยู่ด้วยเหมือนอย่างตัวอย่างที่กล่าวแล้วเมื่อกี้นี้ ใช้เป็นตัวอย่างอันเดียวกันได้ว่าเข้าไปค้นหาใครอะไรในห้องๆหนึ่ง ก็ไม่เห็นอะไร ไม่เห็นใคร ว่างไปทั้งหมดก็รู้สึกว่าว่าง ไม่มีใคร ไม่มีอะไร แต่อันที่จริงนั้นยังมีตัวเราอยู่ซึ่งเป็นผู้เข้าไปค้นนั้นและการค้นนั้นก็เป็นการปฏิบัติ ซึ่งเรียกว่าเป็นสังขาร คือความปรุงแต่ง และเมื่อน้อมเข้ามาว่าจิต ก็เป็นความปรุงแต่งจิตใจ ปรุงแต่งให้เป็นอนิมิตเจโตสมาธิขึ้นเช่นเดียวกับปรุงแต่งในขั้นที่แสดงมาโดยลำดับ เป็นขั้นๆ ขึ้นมา

    เหมือนอย่างการขึ้นบันใดขึ้นมาทีละขั้น ก็ต้องปรุงแต่งการขึ้นๆ มา คือเดินขึ้นมาไม่ปรุงแต่งคือไม่เดิน ก็ขึ้นบันใดมาไม่ได้การจะขึ้นได้ก็ต้องเดิน การเดินนั้นก็เป็นการปรุงแต่ง คือปรุงแต่งการเดินฉันใดก็ดี ในข้อนี้ก็ต้องเป็นการปรุงแต่ง คือการปรุงแต่งการปฏิบัติเพราะฉะนั้น เมื่อยังเป็นการปรุงแต่ง สิ่งใดที่เป็นการปรุงแต่ง สิ่งนั้นก็เป็นอนิจจะคือไม่เที่ยงมีความดับไปเป็นธรรมดา คือเป็นสิ่งเกิดดับ

    ความปล่อยวาง

    เพราะฉะนั้น ในขั้นต่อไปจึงตรัสสอนให้หยุดปรุงแต่งดูเข้ามาในภายในเท่านั้น ไม่ปรุงแต่ง หยุดปรุงแต่งเพราะว่าปรุงแต่งขึ้นมาจนถึงขั้นที่สุดแล้ว เหมือนอย่างก้าวขึ้นบันใดมาถึงขั้นที่สุดแล้วก็เป็นอันว่าไม่ต้องก้าวขึ้นต่อไป หยุดก้าว เพราะว่าถึงขั้นที่สุดแล้วเมื่อหยุดปรุงแต่งดั่งนี้ ก็คือความปล่อยวาง

    พระพุทธเจ้าจึงทรงแสดงว่า ผู้ที่ไม่ปรุงแต่งจิตจึงพ้นจากกามาสวะ อาสวะคือกามภวาสวะ อาสวะคือภพ อวิชชาสวะ อาสวะคืออวิชชา อาสวะนั้นเป็นกิเลสที่ดองสันดานซึ่งตรัสจำแนกออกเป็นกามคือความรักความใคร่ ความปรารถนาเป็นภพคือความเป็น ตั้งต้นแต่เป็นเรา เป็นของเรา และเป็นนั่นเป็นนี่ต่างๆ เป็นอวิชชาคือความไม่รู้ คือไม่รู้ในสัจจะที่เป็นตัวความจริงโดยตรง ก็ในอริยสัจจ์ตามที่ตรัสสั่งสอนเหล่านี้เป็นกิเลสที่ดองสันดานทุกๆ สัตว์บุคคล หรือเรียกว่าสัตว์โลก

    เพราะฉะนั้นการปฏิบัติทางพุทธศาสนาที่จะเสร็จกิจนั้นจึงต้องปฏิบัติให้สิ้นอาสวะดังกล่าวจึงเรียกท่านผู้ที่สิ้นอาสวะว่าพระขีณาสวะ หรือพระขีณาสพ ผู้มีอาสวะสิ้นแล้ว หรือว่าสิ้นอาสวะกิเลสที่ดองสันดาน และเมื่อเป็นดั่งนี้จึงบรรลุถึงนิพพาน ธรรมะหรือธรรมชาติที่ไม่มีกิเลสเป็นเครื่องร้อยรัดทั้งหมด

    นิพพาน​


    อันนิพพานนั้นมาจากคำว่า นิ ที่แปลว่าไม่มี หรือแปลว่าออกกับ วานะ ที่แปลว่ากิเลสเป็นเครื่องร้อยรัดกันโดยมาก แต่บางทีก็แปลกันว่าลูกศร วานะคือกิเลสเป็นเครื่องร้อยรัด หรือลูกศรนี้ เป็นลูกศรที่เสียบจิตใจ ก็คือตัวความรักความใคร่ความปรารถนาบ้าง ความเป็นเราเป็นของเราบ้าง ตัวความไม่รู้ในสัจจะที่เป็นตัวความจริง อันทำให้หลงยึดถือต่างๆ ต่อไปบ้าง เหล่านี้เป็นกิเลสที่เหมือนลูกศรเสียบจิต

    บางทีก็ยกเอามาอันเดียวว่า ลูกศรที่เสียบจิตนี้ คือตัณหาความทะยานอยาก หรือความดิ้นรนทะยานอยาก เพราะว่าเป็นอาการที่กำหนดได้ง่าย จะเป็นกิเลสตัวไหนก็ตาม เมื่อมีอยู่แล้ว เสียบจิตใจอยู่แล้ว ก็ทำให้จิตดิ้นรนทั้งนั้นไม่สงบ น้อยหรือมาก ตัณหาจึงเป็นตัวลูกศรที่เสียบจิตหากยังถอนลูกศรที่เสียบจิตนี้ไม่ได้ ก็พ้นทุกข์ไม่ได้

    ตัณหา นันทิ​

    แต่บุคคลเรานั้นมักจะไม่ชอบถอนลูกศรที่เสียบจิตตัวนี้ออก ยังเพลิน ยังยินดีเพราะฉะนั้น พระพุทธเจ้าจึงทรงแสดงว่า ตัณหานี้ไปด้วยกันกับนันทิ คือความเพลินมีความยินดียิ่งๆ เพราะฉะนั้นจึงมักชอบที่จะหาตัณหามาเสียบจิตกันอยู่เสมอ มีตัณหาเสียบจิตอยู่แล้ว ก็ไปหามาเสียบจิตเข้าอีก เป็นบุคคลบ้าง เป็นสิ่งของบ้างเป็นอะไรบ้าง ไม่หยุด เมื่อเป็นดั่งนี้จึงพ้นทุกข์ไม่ได้แต่เพิ่มทุกข์ให้มากขึ้น

    ฉะนั้นในทางปฏิบัติที่จะให้ถึงนิพพานนั้นก็คือว่า ปฏิบัติถอนตัณหาที่เสียบจิตนี้ออกนั้นเอง ที่มีอยู่ยังถอนไม่ได้ ก็ไม่หามาเพิ่มเข้าอีก และพยายามถอนที่เสียบอยู่แล้วให้หลุดไปโดยลำดับ ดั่งนี้ ถอนตัณหาที่เสียบจิตออกได้หมดเมื่อไร ก็เป็นนิพพานเมื่อนั้น เพราะฉะนั้นจึงไม่ใช่นิพพานอยู่ที่ไหน นิพพานก็อยู่ที่จิตนี่แหละ ไม่ใช่นิพพานก็อยู่ที่จิตนี่แหละ ไม่ใช่ที่ไหน มีตัณหาเสียบจิตอยู่ก็ไม่ใช่นิพพาน ถอนตัณหาที่เสียบจิตออกได้แล้วก็เป็นนิพพาน

    วิธีที่จะถอนตัณหาเสียบจิต​

    พระพุทธเจ้าได้มีพระมหากรุณา ทรงแสดงสั่งสอนวิธีที่จะถอนตัณหาที่เสียบจิตนี้ไว้ด้วยคำสั่งสอนทุกข้อทุกบทที่ทรงสั่งสอน และโดยเฉพาะในข้อสุญญตานี้ได้ทรงสั่งสอนไว้ตั้งแต่ในขั้นต้น ผู้ต้องการปฏิบัติก็ปฏิบัติตามแนวสติ...(จบ ๒/๒ ) (ข้อความขาดนิดหน่อย) (เริ่ม ๓/๑ ) เพราะฉะนั้นก็ต้องหัดกำหนดที่กายเวทนาจิตธรรมนี่แหละว่าเป็นป่า ไม่ใช่บ้าน ไม่ใช่ผู้คน ก็เป็นการกำหนดที่เรียกว่า อรัญสัญญา กำหนดป่าขึ้นมา แต่เมื่อยังมีกายมีเวทนาจิตธรรมอยู่ก็ง่ายที่จะน้อมน้าวจิตไปเป็นบ้าน เป็นผู้เป็นคนกำหนดอีกทีหนึ่งก็ ปฐวีสัญญา กำหนดให้เป็นแผ่นดินขึ้นมา เรียบราบเป็นหน้ากลองไม่มีภูเขา ต้นไม้ ห้วยหนองคลองบึง ไม่มีกาย ไม่มีเวทนา ไม่มีจิต ไม่มีธรรม เป็นธรรมชาติธรรมดา หรือเป็นธาตุไปทั้งหมด ขั้นนี้ก็สูงขึ้นมาไกลกิเลสอีกและต่อจากนี้ก็ตรัสสอนให้กำหนดเพิกแผ่นดินออกเสียทั้งหมด เป็นอากาศคือเป็นช่องว่างไปทั้งหมด ขึ้นไปสูงขึ้นไปก็น้อมเข้ามาว่าเป็นวิญญาณคือตัวรู้ไปทั้งหมดสูงขึ้นไปอีก ก็กำหนดว่าในช่องว่างและในตัวรู้ที่แผ่ไปในช่องว่างนั้นน้อยหนึ่งนิดหนึ่งก็ไม่มี สูงขึ้นไปอีกก็กำหนดดูว่าความที่กำหนดดั่งนั้น เป็นสัญญาก็ไม่ใช่ ไม่เป็นสัญญาก็ไม่ใช่ ละเอียดมาก

    อีกทีหนึ่งก็ อนิมิตเจโตสมาธิ จิตรวมเข้ามาสงบตั้งอยู่ภายใน ประกอบด้วยธาตุของจิต ๒ อย่างคือธาตุรู้ และธาตุที่ปภัสรคือผุดผ่อง รู้อะไรได้ยินอะไรเป็นต้นก็ไม่กำหนด จึงเป็น อนิมิตะ อีกขั้นหนึ่งก็คือว่าทั้งหมดนั้นก็ยังเป็นสังขารคือความปรุงแต่ง ยังต้องปรุงจิตปรุงใจเพราะฉะนั้น ก็ไม่ยึดถือ วางความปรุงแต่ง

    ความว่างที่เป็นปรมุตระ​


    ตอนนี้เองที่จิตพ้นได้จากอาสวะกิเลสที่ดองสันดานทั้งหลาย ถอนตัณหาออกจากจิตใจได้ ถอนได้เมื่อไรก็เป็นนิพพานสิ้นทุกข์กันเมื่อนั้น จึงได้ตรัสว่าในข้อท้ายนี้เป็นสุญญตาคือความว่างที่เป็น ปรมุตระ ปรมะ ก็คือบรม อย่างยิ่ง อนุตระ ก็คือว่าไม่มีสุญญตาอื่นจะยิ่งขึ้นไปกว่า เมื่อยังมีชีวิตอยู่ก็ยังมีกายนี้ซึ่งมีอายตนะ ๖ อยู่เท่านั้น แต่ไม่มีกิเลสดองสันดานก็ทะนุบำรุงร่างกายนี้ไปจนกว่าจะนิพพาน คือดับขันธ์ในที่สุด นี้เป็นความที่พระพุทธเจ้าได้ทรงแสดงไว้ในพระสูตรที่ว่าสุญญตานี้


    ขอให้ทุกๆท่านเจริญในธรรมยิ่งๆขึ้นไปด้วยเทอญ.. สาธุสวัสดี
     
  2. Wittayapon

    Wittayapon เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 พฤษภาคม 2011
    โพสต์:
    1,075
    ค่าพลัง:
    +19,233
    วันนี้เราจะใส่เสื้อเหลืองทั้งวัน

    เราเคยไปกราบพระอริยะและจะรับรู้ได้เสมอเพราะสัมผัสเราไวมาก
    เช่นเดียวกับพ่อหลวงของข้าพเจ้า ทุกครั้งที่พบ ที่เห็นภาพ ความรู้สึกไม่ต่างกับที่ข้าพเจ้าพบพระอริยะเลย

    ข้าพเจ้าขอมอบบุญ บารมี พลังพุทธะทั้งหมดทั้งมวลของข้าพเจ้าให้พ่อหลวงของเรา
    ขอพระองค์ทรงพระเจริญ


    [ame=http://www.youtube.com/watch?v=EULKFSeaon0]สรรเสริญพระบารมี - YouTube[/ame]

    จบ.๑๑ เรือลำนี้จะไม่จม
     
  3. ลุงไชย

    ลุงไชย เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 มิถุนายน 2011
    โพสต์:
    645
    ค่าพลัง:
    +2,436
    [QUOTE=ลูกพลัง;7088241]
    พระสูตรที่ว่าด้วยสุญญตา ๓

    สมเด็จพระญาณสังวร
    สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก
    วัดบวรนิเวศวิหาร
    คัดจากเทปธรรมอบรมจิต ข้อความขาดนิดหน่อยระหว่างหน้าเทป
    (อณิศร โพธิทองคำ บรรณาธิการ)​

    บัดนี้ จักแสดงธรรมะเป็นเครื่องอบรมในการปฏิบัติอบรมจิตในเบื้องต้นก็ขอให้ทุกๆท่านตั้งใจนอบน้อมนมัสการพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ตั้งใจถึงพระองค์พร้อมทั้งพระธรรมและพระสงฆ์เป็นสรณะ ตั้งใจสำรวมกายวาจาใจให้เป็นศีล ทำสมาธิในการฟังเพื่อให้ได้ปัญญาในธรรม

    ได้แสดงสุญญตาคือความว่าง ที่พระบรมศาสดาได้ตรัสถึงพระองค์เองว่าทรงอยู่โดยมากด้วยสุญญตาวิหาร ธรรมะเครื่องอยู่คือสุญญตาความว่างทั้งเมื่อก่อนแต่นี้ และทั้งในเวลานี้คือเวลาที่ตรัสเล่าเรื่องนี้และพระองค์ก็ได้ทรงแสดงถึงวิธีปฏิบัติสุญญตา คือความว่าง ตั้งแต่เบื้องต้นขึ้นไปโดยลำดับ

    ก็โดยที่บุคคลสามัญทั่วไปนั้นในขณะที่อยู่เฉยๆ มิได้ทำอะไรในบางคราว ก็รู้สึกว่าว่างอันเป็นที่รำคาญ ไม่ผาสุกแต่หากให้ทำอะไรต่างๆรู้สึกว่าไม่ว่าง ก็ทำให้เพลินไปในการงานต่างๆ ที่ทำนั้นแต่อันที่จริงในขณะที่ต้องมาอยู่ว่าง เช่นในขณะที่เจ็บป่วยก็ดี หรือในขณะที่ลาเข้ามาบวช พักการพักงานชั่วระยะหนึ่งก็ดี ที่รู้สึกว่าว่าง ไม่มีอะไรจะทำ น่ารำคาญ และมีความทุกข์ ไม่สบายอยู่กับความว่าง ไม่มีอะไรจะทำดังกล่าวนั้น

    แต่อันที่จริงความว่างที่เข้าใจว่าว่างอันทำให้รำคาญนี้หาได้ชื่อว่าสุญญตา คือความว่าง อันเป็นธรรมปฏิบัติในพุทธศาสนาไม่เพราะว่า จิตใจไม่ว่าง เต็มไปด้วยนิวรณ์ต่างๆ ว่าถึงนิวรณ์ ๕ ก็เป็น กามฉันท์ ความยินดีรักใคร่อยู่ในกามบ้าง เป็น พยาบาท ความหงุดหงิดโกรธแค้นขัดเคืองต่างๆบ้างเป็น ถีนมิทธะ ความง่วงงุนเคลิบเคลิ้มบ้าง เป็น อุทธัจจะกุกกุจจะ ความฟุ้งซ่านรำคาญบ้าง เป็น วิจิกิจฉา ความเคลือบแคลงสงสัยต่างๆ บ้าง

    ใจจึงไม่สงบเพราะมีอาลัยความผูกพัน ติดอยู่ในสิ่งนั้นบ้าง ในสิ่งนี้บ้างในบุคคลนั้นบ้าง ในบุคคลนี้บ้าง ซึ่งโดยปรกตินั้นเมื่อมีความอาลัยผูกพันอยู่ดั่งนี้ก็มักจะไปหาสิ่งที่มีอาลัยผูกพัน หรือบุคคลที่มีอาลัยผูกพันอยู่ได้ (จบ ๒/๑)(ข้อความน่าจะไม่ต่อเนื่อง)( เริ่ม ๒/๒) แล้วก็มีอารมณ์ ที่ไม่ดีก็เป็นโกรธ เป็นไม่พอใจ เหล่านี้เป็นต้น ใจไม่ว่าง ใจไม่สงบเพราะฉะนั้นความว่างก็คือตัวความสงบ และคือตัวอุเบกขาความที่รู้วางไม่วุ่นวาย ไม่ยุ่งใจสงบ ใจวาง แม้รู้อยู่ก็สงบได้ วางได้ ดั่งนี้ จึงจะเป็นสุญญตาคือความว่าง

    สุญญตา ความว่าง​

    และสุญญตาคือความว่างที่พระพุทธเจ้าทรงสั่งสอนนั้นหากหัดปฏิบัติไปตามที่ทรงสั่งสอนตั้งแต่ในเบื้องต้น ก็ย่อมจะทำได้สะดวกจะทำให้จิตใจนี้ว่างจากอารมณ์ที่ปรุงใจ ว่างจากกิเลสเครื่องเศร้าหมองใจ ไปโดยลำดับเพราะฉะนั้นจะอยู่ที่ไหน จะป่วยหรือไม่ป่วย จะบวชหรือไม่บวชก็สามารถที่จะพบกับสุญญตาคือความว่างตามที่พระพุทธเจ้าทรงสั่งสอนไว้ได้หากไม่ปฏิบัติตามที่ทรงสั่งสอน ก็จะไม่ได้พบสุญญตาคือความว่างเจ็บป่วยก็ไม่ได้พบสุญญตาคือความว่าง บวชก็ไม่ได้พบสุญญตาคือความว่างเป็นคฤหัสถ์ก็ไม่ได้พบสุญญตาคือความว่าง เป็นบรรพชิตก็ไม่ได้พบสุญญตาคือความว่าง

    เพราะฉะนั้น ผู้ปฏิบัติธรรมะ จึงต้องฝึกหัดปฏิบัติทำสุญญตา คือความว่างตามที่ทรงสั่งสอนดั่งที่ได้แสดงมาแล้วโดยลำดับ แต่ว่าจะได้แสดงทบทวนในตอนท้ายซึ่งจะเป็นทางนำการปฏิบัติไปด้วย

    ความหมายของเนวสัญญานาสัญญายตนะ​

    ก็ได้แสดงมาถึงที่ตรัสสอนให้ มนสิการ คือทำใจกำหนดในจิตอย่างละเอียด จนถึงปล่อยอารมณ์ทั้งหมดทั้งที่เป็น รูปารมณ์ อารมณ์ที่เป็นรูป หรือดังที่เรียกว่ารูปฌาน รูปสมาบัติกับทั้ง อรูปารมณ์ อารมณ์ที่ไม่มีรูป ดังที่เรียกว่าอรูปฌาน หรืออรูปสมาบัติ แต่ก็ไม่หมดทีเดียว ถึงไม่หมดก็ละเอียดที่สุด เกือบจะหมด คือในข้อที่ว่ามีสัญญาก็ไม่ใช่ ไม่มีสัญญาก็ไม่ใช่ คือมีสัญญาอยู่เหมือนกัน แต่ว่าละเอียดมาก แม้เป็นสัญญา คือความกำหนดหมายที่ละเอียดมาก จิตนี้ก็สว่างโพลง ตั้งมั่น มีความรู้อยู่เต็มที่ มีความเข้าไปเพ่งอยู่เต็มที่ คือเข้าไปเพ่งอยู่กับสิ่งที่ไม่มีนั้น แต่ว่าอันที่จริงนั้นก็ยังมีอยู่อีกหน่อยหนึ่ง ไม่ใช่ไม่มีไปทั้งหมด

    คล้ายๆ กับว่า รู้สึกว่าจะมีคนหลบอยู่ในห้องๆ หนึ่งก็เข้าไปในห้องนั้น แล้วก็ค้นหาว่ามีใครอยู่ในห้องนั้น ซ่อนอยู่ที่ไหนบ้าง ก็ไม่พบใครสักคนหนึ่ง จึงมีความเข้าใจว่าไม่มีใครอยู่ในห้องนั้น แต่อันที่จริงนั้นลืมนึกไปถึงว่า มีตัวเองอยู่ในห้องนั้นอีกหนึ่งคน คือตัวเองซึ่งเป็นผู้ค้นหานั้น เพราะฉะนั้นไม่มีใครอื่น เรียกว่าไม่มีอารมณ์ทั้งที่เป็นรูป ทั้งที่เป็นอรูป อื่นๆ ทั้งหมดแต่ว่าก็ยังมีตัวเราอยู่ อันเป็นที่ยึดถืออยู่ และในการค้นหานั้นก็ยังเป็นการค้นซึ่งแสดงว่ายังไม่เสร็จกิจ ยังต้องค้น ยังต้องปรุงแต่งการค้น

    เพราะฉะนั้นที่ว่า มีสัญญาก็มิใช่ ไม่มีสัญญาก็มิใช่นั้น ก็หมายความว่ามีสัญญาอยู่เหมือนกัน แต่ว่าละเอียดมาก ไม่ถึงจะกล่าวว่าเป็น รูปสัญญา กำหนดหมายในรูป

    สัทสัญญา กำหนดหมายในเสียง หรือในอากาศ ช่องว่าง ในวิญญาณที่เป็นตัวรู้หรือในอะไรๆ ที่แม้น้อยหนึ่งนิดหนึ่งก็ไม่มี ในสิ่งที่เป็นช่องว่างนั้นแต่ก็ยังมีตัวสัญญาที่กำหนดอยู่นั่นแหละ คือกำหนดว่าไม่มีความกำหนดว่าไม่มีนั้นเองก็เป็นสัญญา

    ฉะนั้นพระพุทธองค์จึงได้ทรงแสดงว่า แม้หัดปฏิบัติมาถึงขั้นนี้ก็ยังมีเหลืออยู่อย่างหนึ่งคือกายนี้ที่มีอายตนะทั้ง ๖ และมีชีวิตเป็นปัจจัยกับทั้งยังมีตัวสัญญาที่แม้ว่าจะไม่ชัดเจน เพราะเป็นความกำหนดอยู่ว่า น้อยหนึ่งนิดหนึ่งก็ไม่มี ตัวความกำหนดนั้นก็ยังเป็นตัวสัญญา แต่เป็นอย่างละเอียด

    อนิมิตเจโตสมาธิ​


    ฉะนั้นในขั้นต่อไป จึงได้ตรัสสอนให้ไม่ใส่ใจถึงความกำหนดหมายอันเป็นตัวสัญญาที่ละเอียดดังกล่าว แต่ให้ใส่ใจถึงข้อที่เรียกว่า อนิมิตเจโตสมาธิ คือสมาธิแห่งใจที่ไม่มีนิมิตสำหรับกำหนดหมายอัน อนิมิตเจโตสมาธิ สมาธิแห่งใจที่ไม่มีนิมิตเป็นเครื่องกำหนดหมายนี้ เป็นสิ่งที่ละเอียดมากและโดยปรกติก็แสดงในขั้นสูงสุดของการปฏิบัติ

    และพระอาจารย์โดยมากก็แสดงอธิบายเป็นวิปัสสนากรรมฐานไปทีเดียวว่า คือปัญญาที่พิจารณานิมิต คือสิ่งที่กำหนดทั้งหมดของจิตใจหรือที่เรียกกันเป็นสามัญว่า ขันธ์ ๕ ก็ดี นามรูปก็ดีหรือว่ารูป หรือว่ากาย เวทนา จิต ธรรม ก็ดี หรือว่าอายตนะ หรือว่าธาตุก็ดีซึ่งทั้งหมดก็มีอยู่ในกายและใจอันนี้ทั้งหมด ไม่กำหนดยึดถือในสิ่งเหล่านี้ทั้งหมดว่าเป็นของเที่ยง เป็นสุข เป็นอัตตาคือเป็นตัวเราของเราแต่ทั้งหมดเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ต้องแปรปรวนเปลี่ยนแปลงไป ตั้งอยู่คงที่ไม่ได้เป็นอนัตตาไม่ใช่อัตตาตัวตน

    และเมื่อได้พิจารณาจนได้ปัญญาในไตรลักษณ์ดั่งนี้จึงไม่มีนิมิต คือไม่มีความยึดถือของจิตที่กำหนดในอะไรๆทั้งสิ้นว่าเที่ยง เป็นสุข เป็นอัตตาตัวตน ดั่งนี้เป็นอนิมิตเจโตสมาธิ

    อนึ่ง ก็อาจพิจารณาได้อีกว่าอนิมิตเจโตสมาธินั้น สูงกว่าขั้นที่กำหนดในสัญญาอย่างละเอียดเป็นสัญญาที่กำหนดในความไม่มี น้อยหนึ่งนิดหนึ่งก็ไม่มีซึ่งเป็นตัวสัญญาเหมือนกัน ละเอียดจนถึงว่าไม่ถนัดที่จะเรียกว่ามีสัญญา แต่ก็ไม่อาจจะเรียกได้ว่าไม่มีสัญญา เพราะมีเหมือนกัน ซึ่งในขั้นอนิมิตนี้ก็เป็นอันว่าเลิกสัญญากันทั้งหมด จิตเข้าสู่ธรรมชาติของจิต ธรรมชาติของจิตนั้นคือ เป็นวิญญาณธาตุ ธาตุรู้ เป็นอภัสรธาตุ คือธาตุที่ผ่องใส ทั้งสองนี้เป็นธรรมชาติของจิต รู้และผ่องใส

    ในขั้นอนิมิตเจโตสมาธินี้ จิตจึงตั้งสงบอยู่ภายใน ประกอบด้วยความรู้ประกอบด้วยความผ่องใส ไม่ออกมากำหนดอะไรๆ ทั้งหมด หยุดสงบอยู่ในภายในจึงไม่มีสัญญาในอะไรๆ ทั้งหมด ตั้งสงบอยู่ในภายใน แต่ว่ารู้ รู้และผ่องใส

    อนิมิตเจโตสมาธิในภาวะปรกติธรรมดา​


    อาจจะเป็นอนิมิตเจโตสมาธิในขณะที่ยังอยู่เป็นปรกติธรรมดานี้ก็ได้ เช่นว่า ไม่ได้นั่งเข้าที่เข้าทางอะไร ตาก็ลืม หูก็ฟัง จมูก ลิ้น กาย ก็รับ กลิ่น รส โผฏฐัพพะ แต่ว่า มโน คือใจ นั้นไม่ออก ตั้งสงบอยู่ด้วยความรู้และความปภัสร คือผุดผ่องเท่านั้น อะไรผ่านเข้ามาทางตาก็รู้ก็เห็น เสียงอะไรดังขึ้นก็ได้ยิน เหล่านี้เป็นต้น แต่ว่าจิตรู้แล้วก็แล้วไป เห็นก็แล้วไป ได้ยินก็แล้วไป ไม่ออกมายึด ไม่ออกมากำหนด ไม่ออกมายึด ไม่ออกมากำหนดทั้งในทางที่ก่อกิเลส ก่อโลภะ ก่อโทสะ ก่อโมหะ ทั้งในทางที่เป็นกรรมฐาน เช่น กำหนดลมหายใจเข้าออก กำหนดผม ขน เล็บ ฟัน หนัง กำหนดธาตุ ๔ เป็นต้น ที่เรียกว่าออกมากำหนดเป็นกรรมฐาน

    ไม่ออกมากำหนดทั้งหมด เห็นอะไรได้ยินอะไร ก็รู้รูป รู้เสียงเป็นต้น ก็แล้วไปเท่านั้นจิตตั้งสงบอยู่ในภายในด้วยความรู้ และด้วยความผ่องใส

    นิมิต อนิมิต​

    ดั่งนี้แหละคือเป็นตัวอุเบกขาอย่างแท้จริง ในขั้นนี้จิตตั้งสงบอยู่ดั่งนี้ จึงไม่มีนิมิตคือเครื่องกำหนดอะไร เพราะไม่ออกไปกำหนด เมื่อจิตออกไปกำหนดในสิ่งใด สิ่งนั้นจึงเป็นนิมิตขึ้นมา แต่เมื่อจิตไม่ออกไปกำหนดในสิ่งใด สิ่งนั้นก็ไม่เป็นนิมิต เพราะฉะนั้นอาการที่จิตตั้งสงบอยู่ภายใน ดั่งนี้เรียกว่าเจโตสมาธิ สมาธิของใจและตั้งสงบอยู่ไม่ออกไปกำหนดอะไร ทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย ทางมนะคือใจ ทั้งหมด ตั้งสงบอยู่เฉยๆ อะไรมาก็เห็น อะไรมาก็ได้ยินเห็นหมดได้ยินหมดอย่างธรรมดานี่แหละ แต่ว่าตั้งสงบอยู่เฉยๆ ไม่ออกมากำหนดอันนี้แหละเป็นเป็นตัวเป็นอนิมิต เป็นอนิมิตเจโตสมาธิในความรู้นั้นอาจจะประกอบด้วยไตรลักษณญาณ รู้ในไตรลักษณ์ก็ได้หรือว่าไม่ได้นึกถึงว่าเป็น อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา อะไร ก็ได้รู้สงบอยู่ภายในเฉยๆ ดั่งนี้เป็นอนิมิตเจโตสมาธิ

    และแม้ได้ในขั้นนี้ซึ่งเป็นสุญญตาในขั้นปฏิบัติอย่างสูงสุดแต่ก็ยังมีเหลืออยู่ที่กายนี้ อันมีอายตนะทั้ง ๖ และมีชีวิตเป็นปัจจัยอันที่จริงนั้นไม่ใช่เหลืออยู่เพียงกายนี้เท่านั้น ยังมีอวิชชาตัณหาอุปาทานเหลืออยู่ด้วยเหมือนอย่างตัวอย่างที่กล่าวแล้วเมื่อกี้นี้ ใช้เป็นตัวอย่างอันเดียวกันได้ว่าเข้าไปค้นหาใครอะไรในห้องๆหนึ่ง ก็ไม่เห็นอะไร ไม่เห็นใคร ว่างไปทั้งหมดก็รู้สึกว่าว่าง ไม่มีใคร ไม่มีอะไร แต่อันที่จริงนั้นยังมีตัวเราอยู่ซึ่งเป็นผู้เข้าไปค้นนั้นและการค้นนั้นก็เป็นการปฏิบัติ ซึ่งเรียกว่าเป็นสังขาร คือความปรุงแต่ง และเมื่อน้อมเข้ามาว่าจิต ก็เป็นความปรุงแต่งจิตใจ ปรุงแต่งให้เป็นอนิมิตเจโตสมาธิขึ้นเช่นเดียวกับปรุงแต่งในขั้นที่แสดงมาโดยลำดับ เป็นขั้นๆ ขึ้นมา

    เหมือนอย่างการขึ้นบันใดขึ้นมาทีละขั้น ก็ต้องปรุงแต่งการขึ้นๆ มา คือเดินขึ้นมาไม่ปรุงแต่งคือไม่เดิน ก็ขึ้นบันใดมาไม่ได้การจะขึ้นได้ก็ต้องเดิน การเดินนั้นก็เป็นการปรุงแต่ง คือปรุงแต่งการเดินฉันใดก็ดี ในข้อนี้ก็ต้องเป็นการปรุงแต่ง คือการปรุงแต่งการปฏิบัติเพราะฉะนั้น เมื่อยังเป็นการปรุงแต่ง สิ่งใดที่เป็นการปรุงแต่ง สิ่งนั้นก็เป็นอนิจจะคือไม่เที่ยงมีความดับไปเป็นธรรมดา คือเป็นสิ่งเกิดดับ

    ความปล่อยวาง

    เพราะฉะนั้น ในขั้นต่อไปจึงตรัสสอนให้หยุดปรุงแต่งดูเข้ามาในภายในเท่านั้น ไม่ปรุงแต่ง หยุดปรุงแต่งเพราะว่าปรุงแต่งขึ้นมาจนถึงขั้นที่สุดแล้ว เหมือนอย่างก้าวขึ้นบันใดมาถึงขั้นที่สุดแล้วก็เป็นอันว่าไม่ต้องก้าวขึ้นต่อไป หยุดก้าว เพราะว่าถึงขั้นที่สุดแล้วเมื่อหยุดปรุงแต่งดั่งนี้ ก็คือความปล่อยวาง

    พระพุทธเจ้าจึงทรงแสดงว่า ผู้ที่ไม่ปรุงแต่งจิตจึงพ้นจากกามาสวะ อาสวะคือกามภวาสวะ อาสวะคือภพ อวิชชาสวะ อาสวะคืออวิชชา อาสวะนั้นเป็นกิเลสที่ดองสันดานซึ่งตรัสจำแนกออกเป็นกามคือความรักความใคร่ ความปรารถนาเป็นภพคือความเป็น ตั้งต้นแต่เป็นเรา เป็นของเรา และเป็นนั่นเป็นนี่ต่างๆ เป็นอวิชชาคือความไม่รู้ คือไม่รู้ในสัจจะที่เป็นตัวความจริงโดยตรง ก็ในอริยสัจจ์ตามที่ตรัสสั่งสอนเหล่านี้เป็นกิเลสที่ดองสันดานทุกๆ สัตว์บุคคล หรือเรียกว่าสัตว์โลก

    เพราะฉะนั้นการปฏิบัติทางพุทธศาสนาที่จะเสร็จกิจนั้นจึงต้องปฏิบัติให้สิ้นอาสวะดังกล่าวจึงเรียกท่านผู้ที่สิ้นอาสวะว่าพระขีณาสวะ หรือพระขีณาสพ ผู้มีอาสวะสิ้นแล้ว หรือว่าสิ้นอาสวะกิเลสที่ดองสันดาน และเมื่อเป็นดั่งนี้จึงบรรลุถึงนิพพาน ธรรมะหรือธรรมชาติที่ไม่มีกิเลสเป็นเครื่องร้อยรัดทั้งหมด

    นิพพาน​


    อันนิพพานนั้นมาจากคำว่า นิ ที่แปลว่าไม่มี หรือแปลว่าออกกับ วานะ ที่แปลว่ากิเลสเป็นเครื่องร้อยรัดกันโดยมาก แต่บางทีก็แปลกันว่าลูกศร วานะคือกิเลสเป็นเครื่องร้อยรัด หรือลูกศรนี้ เป็นลูกศรที่เสียบจิตใจ ก็คือตัวความรักความใคร่ความปรารถนาบ้าง ความเป็นเราเป็นของเราบ้าง ตัวความไม่รู้ในสัจจะที่เป็นตัวความจริง อันทำให้หลงยึดถือต่างๆ ต่อไปบ้าง เหล่านี้เป็นกิเลสที่เหมือนลูกศรเสียบจิต

    บางทีก็ยกเอามาอันเดียวว่า ลูกศรที่เสียบจิตนี้ คือตัณหาความทะยานอยาก หรือความดิ้นรนทะยานอยาก เพราะว่าเป็นอาการที่กำหนดได้ง่าย จะเป็นกิเลสตัวไหนก็ตาม เมื่อมีอยู่แล้ว เสียบจิตใจอยู่แล้ว ก็ทำให้จิตดิ้นรนทั้งนั้นไม่สงบ น้อยหรือมาก ตัณหาจึงเป็นตัวลูกศรที่เสียบจิตหากยังถอนลูกศรที่เสียบจิตนี้ไม่ได้ ก็พ้นทุกข์ไม่ได้

    ตัณหา นันทิ​

    แต่บุคคลเรานั้นมักจะไม่ชอบถอนลูกศรที่เสียบจิตตัวนี้ออก ยังเพลิน ยังยินดีเพราะฉะนั้น พระพุทธเจ้าจึงทรงแสดงว่า ตัณหานี้ไปด้วยกันกับนันทิ คือความเพลินมีความยินดียิ่งๆ เพราะฉะนั้นจึงมักชอบที่จะหาตัณหามาเสียบจิตกันอยู่เสมอ มีตัณหาเสียบจิตอยู่แล้ว ก็ไปหามาเสียบจิตเข้าอีก เป็นบุคคลบ้าง เป็นสิ่งของบ้างเป็นอะไรบ้าง ไม่หยุด เมื่อเป็นดั่งนี้จึงพ้นทุกข์ไม่ได้แต่เพิ่มทุกข์ให้มากขึ้น

    ฉะนั้นในทางปฏิบัติที่จะให้ถึงนิพพานนั้นก็คือว่า ปฏิบัติถอนตัณหาที่เสียบจิตนี้ออกนั้นเอง ที่มีอยู่ยังถอนไม่ได้ ก็ไม่หามาเพิ่มเข้าอีก และพยายามถอนที่เสียบอยู่แล้วให้หลุดไปโดยลำดับ ดั่งนี้ ถอนตัณหาที่เสียบจิตออกได้หมดเมื่อไร ก็เป็นนิพพานเมื่อนั้น เพราะฉะนั้นจึงไม่ใช่นิพพานอยู่ที่ไหน นิพพานก็อยู่ที่จิตนี่แหละ ไม่ใช่นิพพานก็อยู่ที่จิตนี่แหละ ไม่ใช่ที่ไหน มีตัณหาเสียบจิตอยู่ก็ไม่ใช่นิพพาน ถอนตัณหาที่เสียบจิตออกได้แล้วก็เป็นนิพพาน

    วิธีที่จะถอนตัณหาเสียบจิต​

    พระพุทธเจ้าได้มีพระมหากรุณา ทรงแสดงสั่งสอนวิธีที่จะถอนตัณหาที่เสียบจิตนี้ไว้ด้วยคำสั่งสอนทุกข้อทุกบทที่ทรงสั่งสอน และโดยเฉพาะในข้อสุญญตานี้ได้ทรงสั่งสอนไว้ตั้งแต่ในขั้นต้น ผู้ต้องการปฏิบัติก็ปฏิบัติตามแนวสติ...(จบ ๒/๒ ) (ข้อความขาดนิดหน่อย) (เริ่ม ๓/๑ ) เพราะฉะนั้นก็ต้องหัดกำหนดที่กายเวทนาจิตธรรมนี่แหละว่าเป็นป่า ไม่ใช่บ้าน ไม่ใช่ผู้คน ก็เป็นการกำหนดที่เรียกว่า อรัญสัญญา กำหนดป่าขึ้นมา แต่เมื่อยังมีกายมีเวทนาจิตธรรมอยู่ก็ง่ายที่จะน้อมน้าวจิตไปเป็นบ้าน เป็นผู้เป็นคนกำหนดอีกทีหนึ่งก็ ปฐวีสัญญา กำหนดให้เป็นแผ่นดินขึ้นมา เรียบราบเป็นหน้ากลองไม่มีภูเขา ต้นไม้ ห้วยหนองคลองบึง ไม่มีกาย ไม่มีเวทนา ไม่มีจิต ไม่มีธรรม เป็นธรรมชาติธรรมดา หรือเป็นธาตุไปทั้งหมด ขั้นนี้ก็สูงขึ้นมาไกลกิเลสอีกและต่อจากนี้ก็ตรัสสอนให้กำหนดเพิกแผ่นดินออกเสียทั้งหมด เป็นอากาศคือเป็นช่องว่างไปทั้งหมด ขึ้นไปสูงขึ้นไปก็น้อมเข้ามาว่าเป็นวิญญาณคือตัวรู้ไปทั้งหมดสูงขึ้นไปอีก ก็กำหนดว่าในช่องว่างและในตัวรู้ที่แผ่ไปในช่องว่างนั้นน้อยหนึ่งนิดหนึ่งก็ไม่มี สูงขึ้นไปอีกก็กำหนดดูว่าความที่กำหนดดั่งนั้น เป็นสัญญาก็ไม่ใช่ ไม่เป็นสัญญาก็ไม่ใช่ ละเอียดมาก

    อีกทีหนึ่งก็ อนิมิตเจโตสมาธิ จิตรวมเข้ามาสงบตั้งอยู่ภายใน ประกอบด้วยธาตุของจิต ๒ อย่างคือธาตุรู้ และธาตุที่ปภัสรคือผุดผ่อง รู้อะไรได้ยินอะไรเป็นต้นก็ไม่กำหนด จึงเป็น อนิมิตะ อีกขั้นหนึ่งก็คือว่าทั้งหมดนั้นก็ยังเป็นสังขารคือความปรุงแต่ง ยังต้องปรุงจิตปรุงใจเพราะฉะนั้น ก็ไม่ยึดถือ วางความปรุงแต่ง

    ความว่างที่เป็นปรมุตระ​


    ตอนนี้เองที่จิตพ้นได้จากอาสวะกิเลสที่ดองสันดานทั้งหลาย ถอนตัณหาออกจากจิตใจได้ ถอนได้เมื่อไรก็เป็นนิพพานสิ้นทุกข์กันเมื่อนั้น จึงได้ตรัสว่าในข้อท้ายนี้เป็นสุญญตาคือความว่างที่เป็น ปรมุตระ ปรมะ ก็คือบรม อย่างยิ่ง อนุตระ ก็คือว่าไม่มีสุญญตาอื่นจะยิ่งขึ้นไปกว่า เมื่อยังมีชีวิตอยู่ก็ยังมีกายนี้ซึ่งมีอายตนะ ๖ อยู่เท่านั้น แต่ไม่มีกิเลสดองสันดานก็ทะนุบำรุงร่างกายนี้ไปจนกว่าจะนิพพาน คือดับขันธ์ในที่สุด นี้เป็นความที่พระพุทธเจ้าได้ทรงแสดงไว้ในพระสูตรที่ว่าสุญญตานี้



    ขอให้ทุกๆท่านเจริญในธรรมยิ่งๆขึ้นไปด้วยเทอญ.. สาธุสวัสดี[/QUOTE]

    โมทนาสาธุในธรรมครับ..
     
  4. NOKMAM

    NOKMAM เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กุมภาพันธ์ 2011
    โพสต์:
    300
    ค่าพลัง:
    +6,157
    ธรรมโอวาท หลวงปู่สิม พุทธาจาโร



    [​IMG]


    เวลาความตายมาถึงเข้า กายกับจิตจะอยู่ด้วยกันไม่ได้ เรียกว่าแยกกันไป จิตทำบาปไว้ก็ไปสู่บาป จิตทำบุญไว้ก็ไปสู่บุญ จิตละกิเลสราคะ โทสะ โมหะ ได้ก็ไปสู่นิพพาน จิตละไม่ได้ก็มาเวียนตายเวียนเกิด วุ่นวายอยู่อย่างนี้

    พระพุทธเจ้ามา ตรัสรู้ในโลก มนุษย์ทั้งหลายก็ยังไม่หมดไปจากโลก ยิ่งในปัจจุบันนี้ ยิ่งมากกว่าในสมัย ก่อน มันเกิดมาจากไหน ก็เกิดมาจากจิตที่เต็มไปด้วย อวิชชา-ความไม่รู้ ตัณหา-ความดิ้นรน ไม่สงบตั้งมั่น ก็สร้างตัวขึ้นมาในแต่ละบุคคล แล้วก็มาทุกข์มาเดือดร้อน วุ่นวายอยู่ในวัฏสงสารอย่างนี้แหละ
     
  5. Golden Sky

    Golden Sky เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 พฤศจิกายน 2012
    โพสต์:
    575
    ค่าพลัง:
    +8,976
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 6 ธันวาคม 2012
  6. Golden Sky

    Golden Sky เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 พฤศจิกายน 2012
    โพสต์:
    575
    ค่าพลัง:
    +8,976
    ขออนุโมทนา กับ คุณพี่มาลินี ในข้อความนี้ด้วย ถูกต้องที่สุด "อกาลิโก" เห็นด้วยตนเองจริงๆๆค่ะ:cool::cool:
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 5 ธันวาคม 2012
  7. natthapatpun

    natthapatpun เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 มีนาคม 2009
    โพสต์:
    1,124
    ค่าพลัง:
    +25,214
    ขออนุญาตประกาศจิตบุญดวงที่ ๑๑๔ และ ๑๑๕ ณ วันที่ ๔ ธันวาคม ๒๕๕๕

    ขอท่านทั้งหลายจงโมทนา
    กับจิตบุญดวงที่ ๑๑๔
    ของกลุ่มจิตบุญเทอญ
    สาธุ สาธุ สาธุ
    [​IMG]

    ขอท่านทั้งหลายจงโมทนา
    กับจิตบุญดวงที่ ๑๑๕
    ของกลุ่มจิตบุญเทอญ
    สาธุ สาธุ สาธุ
    [​IMG]
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  8. natthapatpun

    natthapatpun เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 มีนาคม 2009
    โพสต์:
    1,124
    ค่าพลัง:
    +25,214
    นส.จิราภรณ์ จิตบุญ ๑๑๔
    นางอารี จิตบุญ ๑๑๕

    ศิษย์พระอาจารย์ชัชวาล จบกิจจิตเกาะพระเป็นจิตบุญ ณ วันที่ 4 ธันวาคม 2555
    พี่เพ็ญกราบขอขมาพระอาจารย์ชัชวาลเป็นอย่างสูงค่ะ
    เนื่องจากช่วงนี้จิตพี่เพ็ญเข้าบำเพ็ญวิปัสสนาญาณอยู่ค่ะ
    จึงไม่ได้ติดต่อกับใครมากนัก
    โทรศัพท์ก็ปิดเสียงไว้ค่ะเพราะต้องการให้จิตพิจารณาธรรมอยู่ในความสงบ
    จึงทำให้ไม่ได้รับสายของหลาย ๆ ท่าน
    ต้องกราบขอขมามา ณ โอกาสนี้ด้วยค่ะ
    และคาดว่าจิตคงจะปิดรับสัญญาณภายนอกไปอีกสักระยะ
    หากใครมีอะไรจะแจ้งพี่เพ็ญกรุณาติดต่แจ้งทางเมลหรือในเฟชบุคกลุ่มจิตบุญนะคะ
    พี่เพ็ญสื่อสารแบบไม่ใ้ช้เสียงได้ เพราะไม่ค่อยเหนื่อยมากค่ะ
    นอกนั้นก็สนทนาข้อความในสไกป์ได้ค่ะ
    แต่ของดใช้เสียงสักระยะเพราะเจ็บคอมาก ยังไม่ค่อยมีแรงพูดเลยค่ะ
    ต้องกราบขอขมาพระอาจารย์ชัชวาลอีกครั้งค่ะ

    พี่เพ็ญ จบ.3

    ปล.พี่เพ็ญได้รับข่าวนี้จากครูวิทย์ทางอีเมลค่ะ ช่วงนี้ฝากครูวิทย์เป็นธุระรับการสื่อสารกับพระอาจารย์ชัชวาลด้วยนะคะ ขอบคุณค่ะ
     
  9. Linda2009

    Linda2009 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 พฤษภาคม 2009
    โพสต์:
    956
    ค่าพลัง:
    +9,998
    ขออนุโมทนา กับจิตบุญ ดวงที่ ๑๑๔ และ ๑๑๕ ครูผู้สอนและผู้เกี่ยวข้องทุกท่าน สาธุ
     
  10. Golden Sky

    Golden Sky เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 พฤศจิกายน 2012
    โพสต์:
    575
    ค่าพลัง:
    +8,976
    ขออนุโมทนาบุญ กับ จิตบุญทั้งสองท่านคือ จิตบุญดวงที่114 และ จิตบุญดวงที่115 ด้วยค่ะcool::cool:
    และครูผู้สอนทุกๆท่านด้วยเทอญ.
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 6 ธันวาคม 2012
  11. Pugsley

    Pugsley เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 พฤษภาคม 2012
    โพสต์:
    282
    ค่าพลัง:
    +4,825
    ขออนุโมทนา กับจิตบุญ ดวงที่ ๑๑๔ และ ๑๑๕ ครูผู้สอนและผู้เกี่ยวข้องทุกท่านด้วยนะค่ะ สาธุ สาธุ สาธุค่ะ
     
  12. Patcharawan

    Patcharawan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 สิงหาคม 2012
    โพสต์:
    187
    ค่าพลัง:
    +3,980
    กราบอนุโมทนาบุญกับจิตบุญดวงที่๑๑๔และจิตบุญดวงที่๑๑๕และครูผู้สอนด้วยค่ะ สาธุ...
     
  13. เมธญา

    เมธญา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2007
    โพสต์:
    92
    ค่าพลัง:
    +1,584
    อนุโมทนา สาธุกับจิตบุญ 114 และ จิตบุญ 115 และท่านพระอาจารย์ช้ชวาลย์
    สาธุ สาธุ สาธุ .....
     
  14. ลุงไชย

    ลุงไชย เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 มิถุนายน 2011
    โพสต์:
    645
    ค่าพลัง:
    +2,436
    อนุโมทนาสาธุ กับจิตบุญดวงที่ ๑๑๔ และ จิตบุญดวงที่ ๑๑๕ และท่านพระอาจารย์ช้ชวาลย์ด้วยครับ สาธุ .....
     
  15. มาลินี UK

    มาลินี UK เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 พฤศจิกายน 2012
    โพสต์:
    807
    ค่าพลัง:
    +12,713
    จิตบุญ 104 ขออนุโมทนา กับ จิตบูญ 114 - 115 ด้วยค่ะ ขอให้ท่านมีดวงตา เห็นธรรมนะคะ และขออนุโมทนา กับครูผู้สอนทุกๆท่านค่ะ
     
  16. UncleGee

    UncleGee เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มกราคม 2012
    โพสต์:
    4,086
    ค่าพลัง:
    +10,246
    _/\_ สาธุ
    ขออนุโมทนากับจิตบุญดวงที่ ๑๑๔ และ ๑๑๕ และท่านพระอาจารย์
    รวมทั้งคุณครูจิตบุญทุกท่านด้วยครับ
     
  17. Wittayapon

    Wittayapon เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 พฤษภาคม 2011
    โพสต์:
    1,075
    ค่าพลัง:
    +19,233
    ขอโมทนาบุญกับจิตบุญ ๑๑๔ / ๑๑๕ และพระอาจารย์ชัชชวาลด้วยครับ


    จบ.๑๑ เรือลำนี้จะไม่จม
     
  18. dutchanee

    dutchanee เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มิถุนายน 2011
    โพสต์:
    1,127
    ค่าพลัง:
    +12,745

    โมทนาสาธุกับธรรมทานจ๊ะ
    สาธุ สาธุ สาธุ
     
  19. dutchanee

    dutchanee เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มิถุนายน 2011
    โพสต์:
    1,127
    ค่าพลัง:
    +12,745

    โมทนาสาธุกับจิตบุญที่ 113 และ 115
    และพระอาจารย์ชัชวาลจ๊ะ
     
  20. อุษาวดี

    อุษาวดี เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 เมษายน 2012
    โพสต์:
    531
    ค่าพลัง:
    +12,151
    “...เช้าวันหนึ่ง ผมกำลังกวาดใบไม้ที่ลานวัด
    อารมณ์ไม่ดี รู้สึกหงุดหงิดขัดเคือง
    และรู้สึกว่าตั้งแต่มาอยู่ที่วัดป่าพงเจอแต่ ทุกข์

    พอดีหลวงพ่อชา เดินตรงมายังผม

    ท่านยิ้มให้พร้อมกับพูดว่า 'วัดป่าพงทุกข์มาก !'
    แล้วท่านก็เดินกลับไป..

    ผมสงสัยว่าทำไมหลวงพ่อพูดอย่างนี้
    กลับไปกุฏิพิจารณา ได้สติ
    ว่า.. ทุกข์ ไม่ได้เกิดจากวัดป่าพง
    แต่เกิดจาก จิตใจเราเอง....”

    พระอาจารย์โรเบิร์ต สุเมโธ
     

แชร์หน้านี้

Loading...