ปฏิบัติธรรม ... จะเริ่มต้นอย่างไรดี

ในห้อง 'พุทธศาสนา และ ธรรมะ' ตั้งกระทู้โดย HONGTAY, 9 กันยายน 2007.

  1. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,896
    บทนำ


    ข้าพเจ้าขอนอบน้อมแด่พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์


    ขอกราบนมัสการหลวงปู่มั่น หลวงปู่ดูลย์ หลวงปู่ชา ท่านหลวงพ่อพุทธาส หลวงพ่อเทียน
    รวมทั้งพระผู้ปฎิบัติดี ปฏิบัติชอบทุกท่าน ที่ได้สืบต่อและมอบมรดกธรรมเอาไว้ให้พวกเรา แม้ท่านจะล่วงลับดับกายสังขารไปแล้ว


    ขอกราบนมัสการหลวงตาบัว ญาณสัมปันโน ท่านเจ้าคุณพระพรหมคุณาภรณ์(ป.อ.ปยุตโต)
    พระอาจารย์ปราโมทย์ ปาโมชโช รวมทั้งพระผู้ปฎิบัติดี ปฏิบัติชอบทุกท่านที่ยังมีชีวิต
    มีเมตตาอบรมส่งสอนธรรมะให้กับพวกเราทุกคน


    พระสงฆ์ที่ข้าพเจ้าได้รู้จัก และมีความซาบซึ้งในการปฏิบัติธรรมของท่านทั้งหมดนี้ ข้าพเจ้ารู้จักท่านจากธรรมะ จากผลงาน จากคำสอน จากปฎิปทาการปฏิบัติที่น่ายกย่องบูชา


    ท่านเป็นกัลยาณมิตรที่ประเสริฐยิ่ง ... การเข้าถึงธรรมหรือความดีของกัลยามิตรที่หาได้ยาก โดยไม่ต้องรู้จักเห็นหน้าตากันเป็นการส่วนตัว เช่นนี้ นับได้ว่าเป็นจุดเริ่มต้นของการใฝ่ธรรม ให้เกิดมีฉันทะ มีความสนใจที่จะศึกษาและปฏิบัติธรรมตามแนวทางที่พระพุทธองค์ได้ค้นพบ


    การมีกัลยาณมิตรที่ดี จึงถือได้ว่าเป็นสิ่งที่มีความสำคัญมาก มากที่สุดเลยทีเดียว สำหรับผู้ที่เริ่มต้น ที่ยังไม่ค่อยรู้ ยังไม่เข้าใจเกี่ยวกับการปฏิบัติธรรม


    <center>[​IMG]</center>
     
  2. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,896
    ทำไมต้องสนใจ ทำไมต้องปฏิบัติธรรม


    ทุกอย่างล้วนมีเหตุมีปัจจัย การที่จะเกิดความสนใจใฝ่ธรรมขึ้นสำหรับแต่ละคนนั้น อาจจะแตกต่างกันไป สำหรับผู้ที่เริ่มสนใจแล้ว หรือสนใจมากๆแล้ว ย่อมรู้ว่า เราเกิดความสนใจได้อย่างไร


    ดังนั้นคำถามที่ว่า "ทำไมต้องสนใจ ทำไมต้องปฏิบัติธรรม?" จึงไม่ใช่คำถามของทุกคน เพราะบางคนนั้น มีคำตอบที่อยู่ในแนวทางที่ถูกต้อง เข้าใจดีอยู่แล้ว


    โดยทั่วไป ก็ขึ้นอยู่กับ (1) ปัจจัยภายนอก ที่เรียกว่า กัลยาณมิตร และ (2) ปัจจัยภายใน ซึ่งหมายถึง คุณภาพของจิตใจที่เป็นกุศลและประกอบด้วยปัญญาของเรานั่นเอง


    การรู้ว่าเราสนใจธรรมะ สนใจการปฏิบัติธรรมได้อย่างไร นับว่าเป็นก้าวแรกของ "การรู้" ที่สำคัญเช่นกัน


    เช่นเดียวกับการที่เรารู้ว่า ทำไมเราจึงไม่ใส่ใจธรรมะ ไม่สนใจการปฏิบัติธรรม


    เพราะเมื่อเราเริ่มรู้ได้ด้วยตัวเอง รู้ว่าสนใจ รู้ว่าไม่สนใจ ... นั่นแหละคือ หนึ่งขณะของการปฏิบัติธรรม


    <center>[​IMG]</center>
     
  3. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,896
    ปฏิบัติธรรมที่ไหนดี


    "ปฏิบัติธรรมที่ไหนดี?" ฟังดูเป็นคำถามง่ายๆ ... แต่ถ้าไม่ตั้งสติ (หรือไม่สนใจ) ก็อาจจะให้คำตอบที่ถูกต้องไม่ได้


    เราอาจจะไปวัดโน้นวัดนี้ ไปหาครูบาอาจารย์คนนั้นคนนี้ สำนักนั้น สำนักนี้บ้าง ... เหล่านี้ไม่ใช่ที่ปฏิบัติธรรมที่เราจะลงมือปฏิบัติจริงๆ


    นักปฏิบัติธรรมทุกคน รวมทั้งพระพุทธองค์ ล้วนปฏิบัติธรรมที่ "ตัวของเรานี่เอง" ตัวของเราที่ประกอบด้วย "กาย" และ "จิตใจ"


    และเนื่องจาก "จิตใจ" หรือ "มโน" นั้นเป็นส่วนรู้ที่สำคัญที่สุดในทุกๆเรื่องที่มีการรู้ ทั้งที่รู้จริง และรู้ปลอมแบบนึกคิดปรุงแต่ง จึงสรุปลงสั้นๆว่า เราต้องปฏิบัติธรรมที่ "จิต" ของเรา


    สภาวะธรรมทุกอย่างที่เกี่ยวข้องกับชีวิตเราล้วนเกิดขึ้นที่จิต อาจจะดูเหมือนว่าคงอยู่ชั่วขณะ แล้วก็แปรเปลี่ยน และดับไป ที่ "จิต" ของเรานี่เอง


    การทำงานของ "จิต" ส่วนใหญ่เกิดขึ้นดับไปอย่างรวดเร็วมาก จนเราไม่รู้ตัว ไม่มีสติรู้ ผู้ที่ไม่ได้ฝึกปฏิบัติธรรม หรือคนโดยทั่วไป จึงอยู่ในสภาวะที่ปล่อยให้จิตทำงานอยู่ตลอดเวลา ตามความคุ้นเคยเดิม ตามคุณภาพของจิตเดิม(ที่เป็นอกุศลโดยส่วนมาก) โดยไม่รู้ตัวว่ารู้สึก ไม่รู้ตัวว่ากำลังจะคิดอะไร หรือคิดอะไรไปแล้วบ้าง


    <center>[​IMG]</center>
     
  4. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,896
    ทำไมต้องรู้จิต


    ก็เพราะว่าเราปฏิบัติธรรมที่จิต ถ้าเราไม่รู้จักกับ "จิต" เราก็จะไม่รู้จักการปฏิบัติธรรมนั่นเอง


    การรู้จักกับจิตนี้ ไม่ใช่การรู้ด้วยการคิดเอาเอง โดยการคิดตาม โดยการอ่าน หรือการฟังต่างๆ


    เราจะรู้จักจิตได้ ก็ต้องเริ่มที่จะรู้ "ธรรมชาติของจิต" หรือ "พฤติกรรม" การทำงานของจิต(ของเราเอง)


    จิตเป็นสภาวะธรรมที่รู้ เป็นตัวที่รู้การกระทบ ทุกๆครั้งที่มีการกระทบทาง ตา หู จมูก ลิ้น กายและใจ จะมีตัวรู้เกิดขึ้น "ตัวรู้" หรือ "ผู้รู้" ที่เกิดขึ้นนี้เป็นสภาวะที่เราสมมติให้เรียกว่า "จิต"


    การปฏิบัติธรรมในขั้นต้นจึงเป็นการทำให้เรารับรู้ตามเป็นจริงของธรรมชาติว่า มีตัวผู้รู้ หรือมีจิต ที่แสดงสภาวะของการรู้อยู่ตลอดเวลา ซึ่งเครื่องมือที่จำเป็นที่ใช้ในการตามรู้นี้เรียกว่า "สติ"


    "สติ" เองก็เป็นสภาวะที่เกิดขึ้นพร้อมกันกับจิต เป็นสภาวะที่เราต้องอบรมพัฒนาให้มีขึ้น เกิดขึ้นบ่อยๆ เพราะเมื่อมีสติ เราก็จะ "รู้" แต่เมื่อขาดสติ เราก็จะ "หลง" ไปเลยทันที หลงไปรู้สึก เผลอไปคิด โดยไม่รู้ทันว่า ความรู้สึก หรือความคิดนั้นๆได้เกิดขึ้น คงอยู่ชั่วขณะ แปรเปลี่ยน และดับไปอย่างไร


    ตัวอย่างเช่นกรณีที่มีคนมาด่าว่าเราด้วยคำพูดที่ไม่ดี ถ้าเราไม่มีสติรู้ทัน เราก็จะเกิดอารมณ์โกรธขึ้นทันที และอารมณ์โกรธนั้นก็จะปรุงแต่งให้จิตใจเป็นอกุศลต่อเนื่องกันไป อาจจะถึงกับมีการกระทำตอบโต้ออกมาทางด้านวาจา ทางด้านกายบ้าง (ทางด้านใจได้เกิดอกุศลกรรมขึ้นเรียบร้อยแล้ว) ... แต่หากเรามีสติรู้ทัน เราอาจจะมีอารณ์เกิดขึ้นเพียงแว๊บเดียว สติ การรู้ทัน ปัญญา กุศลจิต หรือจิตที่เป็นอุเบกขา ก็มีโอกาสที่จะเข้ามาทำหน้าที่แทน ทำให้เกิดกุศลกรรมขึ้นมาแทน หรือเกิดปัญญารู้ ที่จะถอดถอน ความเข้าใจเดิมผิดๆที่เราเคยมีต่อสภาวะ "โกรธ"


    <center>[​IMG]</center>
     
  5. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,896
    ปฏิบัติธรรมด้วยการเจริญสติ


    สิ่งที่เป็นตัวตัดสินว่า ในขณะหนึ่งๆนั้นเป็นขณะของการปฏิบัติธรรมหรือไม่ สิ่งนั้นคือตัว "สติ"


    การทำความเพียรใดๆ ความพยายามใดๆ การฝึกเพ่ง ฝึกข่ม ฝึกทรมานตนใดๆ รวมทั้งการอ่านหนังสือธรรมะต่างๆ ถ้าหากไม่มีสติแล้ว ก็ไม่เรียกว่าเป็นความเพียรชอบ และไม่ใช่การปฏิบัติธรรมที่ถูกต้อง


    ความหมายของการฝึกปฏิบัติธรรมในขั้นต้น จึงอาจจะสรุปได้สั้นๆคือเป็นการเจริญสติ นั่นเอง


    การเจริญสติ ฝึกให้เรารู้การทำงานของจิต คอยตามรู้การกระทบต่างๆ ตามดูการคิดที่คอยคิดปรุงแต่งไปต่างๆนาๆ เฝ้าสังเกตดูอยู่ ให้รู้เท่าทันอย่างสบายๆเป็นธรรมชาติ โดยไม่เข้าไปกำหนดเชิงบังคับ หรือเข้าไปแทรกแซง


    ทุกครั้งที่เรารู้ทัน หรือแม้แต่ตามรู้ทันทีหลังอยู่ใกล้ๆกัน สิ่งที่พัฒนาขึ้นในจิตใจของเราคือ "สติ" เจริญสตินั่นเอง


    การบ้านชิ้นแรกที่ไม่ยากไม่ง่าย สำหรับนักปฏิบัติธรรมมือใหม่ ก็คือ การฝึกเจริญสติ ให้มีสติบ่อยๆ มากขึ้นๆ และต้องเป็นการฝึกให้เกิดมีขึ้นให้ได้ในแทบทุกขณะของอริยาบท ในทุกขณะของการทำงานในชีวิตประจำวันของเรา



    การปลีกแยกตัวไปหาที่สงัด หรือที่ที่มีสภาพแวดล้อมเหมาะสมในการฝึกสติในเบื้องต้นนั้นอาจจะมีความจำเป็นในขั้นเริ่มต้นแรกๆ แต่สุดท้ายแล้ว เราต้องฝึกให้มีสติให้ได้ในทุกๆที่ แม้แต่ในที่ที่มีสิ่งกระทบกวนใจเราอยู่มากมายที่เราต้องเผชิญอยู่เสมอๆเป็นปกติในแต่ละวัน


    <center>[​IMG]</center>
     
  6. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,896
    เจริญสติไปทำไม?


    จุดมุ่งหมายเบื้องต้นของการเจริญสตินั้น

    (1) เพื่อให้เราได้รู้จักกับคุณภาพของจิตของเราในขณะนี้

    ถ้าหากเรายังไม่รู้ว่าในขณะนี้จิตใจของเราเป็นอย่างไร มีระดับของกุศลจิตและอกุศลจิตอยู่มากน้อยเพียงใด มีระดับของความคิดเห็นที่ถูกที่ควรหรือมีปัญญาอยู่เพียงใด ... เราก็จะตกอยู่ในสภาพของคนหรือสภาพของชีวิตที่ยังไม่รู้จักตัวเอง ยังไม่รู้จักแม้แต่ในขั้นเบื้องต้นที่จำเป็นและเพียงพอ ... เมื่อยังไม่รู้จักตัวเราดี ไม่รู้สภาวะจิตใจของเรา ก็ป่วยการที่เราจะไปสนใจไปทำอะไรอื่นๆให้เกิดผลดีได้ ... เมื่อไม่รู้ ชีวิตและจิตใจก็จะถูกปล่อยให้ดำเนินไปตามความไม่รู้ เป็นไปตามกิเลสหรืออกุศลจิตเดิมๆที่เราเก็บสั่งสมไว้


    (2) เพื่อให้ได้เครื่องมือชิ้นที่ 1 ที่สำคัญที่สุดในขั้นแรกของการปฏิบัติธรรม

    ทำไมจึงกล่าวว่า "สติ" เป็นเครื่องมือชิ้นที่ 1 ที่สำคัญที่สุดในขั้นแรกของการปฏิบัติธรรม ก็เพราะว่า "สติ" คือ หัวใจของ "ศีล" นั่นเอง บุคคลที่ขาดสติอยู่บ่อยๆ จะมีศีล จะรักษาศีลไว้ไม่ได้เลย
    การมีสติ รู้ทันการกระทบของจิต รู้ทันอารมณ์ รู้ว่ากุศลจิต หรืออกุศลจิตกำลังจะเกิดขึ้น นั่นคือขณะแห่งการรักษาศีลที่สมบูรณ์


    การบ้านชิ้นที่ 2 ต่อเนื่องจากการได้ฝึกเจริญสติ จนเราเริ่มคุ้นเคยกับการมีสติบ่อยๆ หรือจนเราเริ่มรู้ได้ว่า จิตเราเริ่มที่จะเจริญขึ้น มีคุณภาพมากขึ้นในเรื่องของ "การมีสติ" ... ที่สำคัญคือ เราจะเริ่มสังเกตได้ว่า จิตของเราเริ่มจะมีธรรมชาติของการมีสติมากขึ้น จิตเลือกที่จะมีสติเองอย่างเป็นธรรมชาติ ซึ่งเราจะเริ่มสังเกตเห็นได้ ... เมื่อเป็นเช่นนี้ เราก็จะรู้ว่าเราได้ชื่อว่าเป็นนักปฏิบัติธรรมในขั้นเบื้องต้นแล้ว


    อย่าลืมว่า จิตนั้นเราจะไปบังคับเขาไม่ได้ เราจะสั่งให้เขามีสติไม่ได้ แต่การคอยเฝ้าดูอาการของจิต การเกิดขึ้นของอารมณ์ ความรู้สึก และการนึกคิดต่างๆ ... เฝ้าสังเกต ให้รู้ทันอยู่ใกล้ๆ เรื่อยๆ บ่อยๆ อย่างสม่ำเสมอ และทำต่อเนื่องกันเช่นนี้ ทำเหตุเช่นนี้ ด้วยฉันทะ ด้วยความตั้งใจและความขยัน (อย่างสบายๆ) ... ผลที่ได้คือ จิตจะเริ่มคุ้นเคยกับการมีสติ และเลือกที่จะมีสติเอง ... กล่าวคือ จิตมีคุณภาพในเรื่องสติดีขึ้นนั่นเอง


    การฝึกในขั้นต่อไป ก็ให้ทำเหมือนเดิม ผลที่ถูกต้องที่เกิดขึ้น จากการทำเหตุที่ถูกต้อง จะเกิดขึ้นเอง และเราจะรู้ได้เอง ซึ่งจะเป็นตัวตรวจสอบ เป็นพยานหรือเป็นเครื่องยืนยันหลักวิธีการปฏิบัติในการเจริญสติของเรา ในขั้นนี้เราจะเริ่มได้รู้จักกับสภาวะที่ไม่เคยรู้ เราจะได้รู้จักกับสภาวะของการมีสติอยู่บ่อยๆ สภาวะของการมีสติอย่างต่อเนื่อง ซึ่งเกิดขึ้นจากจิตของเราอย่างเป็นธรรมชาติ ... ให้เราพียงแต่รู้ ตามรู้อย่างที่เคยปฏิบัติ ถ้าเกิดอาการผ่อนคลาย อาการถอดถอน อาการสงบระงับ หรือเกิดสมาธิขึ้น ก็เพียงแต่ตามรู้ ไม่ต้องเข้าไปแทรกแซง อาจจะเกิดความปิติ ความยินดี ก็ให้รู้ว่าปิติยินดี สิ่งเหล่านี้ล้วนเป็นสภาวะธรรมทั้งนั้น อาจจะปรากฏอยู่สักครู่สั้นๆ แล้วก็จะดับหายไป เมื่อเกิดก็ให้รู้ คงอยู่ชั่วขณะก็ให้รู้ และดับไปก็ให้รู้ ... อย่าเผลอตัวเผลอสติไปอาลัยอาวรณ์ อย่าไปเผลอคิดอยากให้สภาวะเหล่านี้คงอยู่นานๆ ... ถึงแม้จะเป็นสภาวะธรรมฝ่ายกุศล เขาก็ไม่ได้อยู่ภายใต้อำนาจบังคับของเรา เขาเกิดขึ้นจากเหตุ อยู่ได้ด้วยเหตุ และดับไปตามเหตุ ... ให้เราเพียงแต่ตามรู้ มีสติรู้สภาวะความเป็นไปเหล่านี้เท่านั้น ... ไม่ต้องไปติดใจ ไปอยากให้เขาเกิดขึ้น ... เพราะเขาจะไม่เกิดขึ้นเพราะความอยาก ... เมื่อมีสติ รู้ และเห็นตามเช่นนี้ได้ ... ก็จะเกิดการพัฒนาของจิตที่เรียกว่า "เจริญปัญญา"


    เมื่อ "เจริญสติ" ได้ถูกต้อง จนถึงขั้นหนึ่งแล้ว ก็จะถูกส่งต่อไปยังขั้นของการ "เจริญปัญญา" เองโดยอัตโนมัติ



    <center>[​IMG]</center>
     
  7. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,896
    สมถะ VS วิปัสสนา

    http://www.vcharkarn.com

    สมถะ และ วิปัสสนา เป็นคำ 2 คำที่สำคัญมากสำหรับผู้ปฏิบัติธรรม ซึ่งอาจจะก่อให้เกิดความสับสน ความสงสัย หรือเข้าใจคลาดเคลื่อนได้


    "สมถะ" นั้นคือ "การเจริญสมาธิ" ส่วน "วิปัสสนา" นั้นคือ "การเจริญปัญญา"


    แต่ทั้ง การเจริญสมาธิ และ การเจริญปัญญา ต่างต้องมีฐานเริ่มต้นที่ "การเจริญสติ"


    การเริ่มฝึกปฎิบัติธรรมด้วยการฝึกเจริญสติ จึงเป็นกลวิธีหรืออุบายที่ลัดสั้นตรง และเป็นธรรมชาติมากที่สุดวิธีหนึ่ง



    การเจริญสมาธิ หรือการฝึกทำสมาธิ เป็นการฝึกกำหนดสติ ฝึกให้มีเจตนา มีความตั้งใจกับการกระทำ หรืออารมณ์ที่เป็นกุศลอย่างใดอย่างหนึ่ง ให้มีสติ มีเจตนาที่จะประคับประคองให้จิตมีความสนใจ รับรู้อารมณ์เดียวนั้นๆ ให้เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง ติดต่อกัน


    ปัญหาหนึ่งที่มักจะเกิดขึ้นกับการฝึกทำสมาธิคือ ระดับของการกำหนดบังคับ เพื่อประคับประคองจิตให้สนใจอยู่ในอารมณ์เดียวนั้นผู้ปฏิบัติอาจจะค้นหาหรือทำให้เกิดขึ้นได้ยาก ถ้าบังคับมากไปก็จะกลายเป็นความอยาก ถ้าบังคับน้อยไป จิตก็จะฟุ้งซ่านคิดไปเรื่อยซึ่งตามจริงแล้ว ผู้ที่ทำหน้าที่อันนี้คือ ตัวสติ และเจตนา


    ต้องไม่ลืมว่า โดยแท้จริงนั้น จิตเป็นของที่เราบังคับไม่ได้ แต่จิตนั้นสามารถฝึกได้ ฝึกให้มีสติ ฝึกให้มีความคุ้นเคยกับกุศลหรือสภาวะธรรมที่ดีงาม ฝึกจนจิตนั้นเกิดอารมณ์ที่ละเอียด จนเขาเกิดความสนใจ สืบต่อความสนใจให้ติดต่อเนื่องกันไปได้


    ในกรณีของผู้ปฏิบัติที่ผ่านขั้นตอนของการเจริญสติมาดีแล้ว สมาธิแบบสั้นๆ จะเกิดขึ้นเองโดยธรรมชาติ เพราะสติที่มีอย่างต่อเนื่อง ทำให้เกิดสมาธิขึ้นมาเอง


    กล่าวกันตามจริงนั้น สมาธิจะเกิดขึ้นไม่ได้เลย ถ้าจิตใจของเรายังไม่มีคุณภาพของการมีสติที่ดีเพียงพอ


    การเริ่มฝึกปฏิบัติธรรมด้วยการฝึกทำสมาธิ จึงเป็นการฝึกการเจริญสติไปพร้อมๆกับการเจริญสมาธินั่นเอง


    ดังนั้น ผู้ปฏิบัติธรรมมือใหม่ที่สติยังไม่พร้อม ย่อมไม่อาจจะฝึกสมาธิให้ได้ผลที่ดีได้เลย นอกเสียจากจะได้สิ่งแวดล้อมปัจจัยที่ดีมากๆ เช่น จิตเข้าไปรับเอาอารมณ์ของความสงบสุขระงับ ความปิติ ความปลื้มใจ อันเนื่องด้วยผลวิบากจากการทำความดี การทำบุญกุศลต่างๆ(อย่างถูกต้อง)

    <center>[​IMG]</center>
     
  8. thanoos

    thanoos เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    155
    ค่าพลัง:
    +986
    ขออนุโมนาครับที่เผยแพร่เรื่องของการปฏิบัติ
     
  9. s_klongkleaw

    s_klongkleaw เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 กรกฎาคม 2005
    โพสต์:
    115
    ค่าพลัง:
    +239
    ขอโมทนาสาธุครับ ... แต่รบกวนแนะวิธีที่เข้าใจง่ายสำหรับผู้ที่มีเวลาน้อยหน่อยครับ
     
  10. sanprach

    sanprach เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 มีนาคม 2005
    โพสต์:
    44
    ค่าพลัง:
    +433
    วิธีง่ายที่สุด คือฝึกรู้กับสิ่งที่มีอยู่ในตัวเรานี่แหล่ะ เช่น รู้กายเคลื่อนไหว รู้ใจคิดนึก เท่าที่ไม่ลืม (แต่อย่าลืมนานจนไม่รู้อะไรล่ะ)
     
  11. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,896
    ใช่แล้วครับ ให้เอาสติมาพิจารณาสิ่งที่ตนกำลังปฏิบัติหรือคิดอยู่เช่น กำลังเดิน ก็เจริญสติว่าเดินหนอไปเรื่อย ๆ หรือกำหนดลมหายใจเข้าออกให้รู้จังหวะของลมที่เข้าออก ฝึกบ่อย ๆ จะทำให้เรามีสติและปัญญาขึ้นทีละน้อยครับ
     
  12. นายณัฐทวี

    นายณัฐทวี Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 กันยายน 2007
    โพสต์:
    6
    ค่าพลัง:
    +34
    ปฏิบัติธรรมด้วยการเจริญสติ

    สิ่งที่เป็นตัวตัดสินว่า ในขณะหนึ่งๆนั้นเป็นขณะของการปฏิบัติธรรมหรือไม่ สิ่งนั้นคือตัว "สติ"


    การทำความเพียรใดๆ ความพยายามใดๆ การฝึกเพ่ง ฝึกข่ม ฝึกทรมานตนใดๆ รวมทั้งการอ่านหนังสือธรรมะต่างๆ ถ้าหากไม่มีสติแล้ว ก็ไม่เรียกว่าเป็นความเพียรชอบ และไม่ใช่การปฏิบัติธรรมที่ถูกต้อง

    ขออนุโมทนาสาธุ ครับผม
     
  13. Yupin Thanongb

    Yupin Thanongb สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 กันยายน 2007
    โพสต์:
    8
    ค่าพลัง:
    +16
    ทำไมต้องรู้จิต

    เพราะ.....จิตเป็นสภาวะธรรมที่รู้เป็นตัวรู้การกระทบทุกครั้งที่มีการกระทบทางหู ตา จมูก ลิ้น กาย และใจจะมีต้วรู้เกิดขึ้นตัวรู้และผู้รู้
    ขออนุโมทนาด้วยค่ะ
    (evil2)
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 23 กันยายน 2007
  14. mochimochi21

    mochimochi21 Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 กันยายน 2007
    โพสต์:
    8
    ค่าพลัง:
    +29
    ปฏิบัติธรรมเริ่มยังไงดี

    ในความคิดของข้าพเจ้าการเริ่มปฏิบัติธรรมข้าพเจ้าก็จะนั่งสมาธิ ทำจิตใจให้บริสุทธิ์ อ่านหนังสือเกี่ยวกับธรรมมะ เเละถ้าผู้ใดปฏิบัติได้แล้วก็ ขออนุโมทนาสาธุด้วย[​IMG]
     
  15. Yupin Thanongb

    Yupin Thanongb สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 กันยายน 2007
    โพสต์:
    8
    ค่าพลัง:
    +16
    ยุพิน

    (555) การทำสมาธิทำให้เรามีจิตใจที่สงบ การที่เรจะทำสมาธิเราอาจทำได้หลายวิธีเช่นนั่งอ่านหนังสือธรรมะ เดินจงกลม ฟังธรรมเทศนา(ping)
     
  16. Yupin Thanongb

    Yupin Thanongb สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 กันยายน 2007
    โพสต์:
    8
    ค่าพลัง:
    +16
    ทำไมต้องสนใจ ทำไมต้องปฎิบัติธรรม

    การปฎิบัติธรรมเป็นสิ่งที่ดีและเป็นสิ่งที่คนเราควรที่จะปฎิบัติเพราะทำให้จิตใจเราสงบ และทำให้จิตใจเราไม่วอกแวกเป็นตัวของตัวเอง ขออนุโมทนาด้วย


    <CENTER>[​IMG]</CENTER>
    <!-- / message --><!-- sig -->
     
  17. mochi35

    mochi35 สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 กันยายน 2007
    โพสต์:
    8
    ค่าพลัง:
    +16
    วิธีง่ายที่สุด คือฝึกรู้กับสิ่งที่มีอยู่ในตัวเรานี่แหล่ะ เช่น รู้กายเคลื่อนไหว รู้ใจคิดนึก เท่าที่ไม่ลืม (แต่อย่าลืมนานจนไม่รู้อะไรล่ะ)
    (b-glass)<!-- / message --><!-- sig -->
     
  18. Doopakon

    Doopakon สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    3
    ค่าพลัง:
    +4
    [​IMG]
     

แชร์หน้านี้

Loading...