แก่นพุทธศาสน์ - พุทธทาสภิกขุ

ในห้อง 'พุทธศาสนา และ ธรรมะ' ตั้งกระทู้โดย ท่ามกลาง, 8 พฤศจิกายน 2012.

  1. ท่ามกลาง

    ท่ามกลาง Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 มิถุนายน 2011
    โพสต์:
    115
    ค่าพลัง:
    +27
    พอดีเจอหนังสือ “แก่นพุทธศาสน์” โดยท่านพุทธทาส เลยหยิบเรื่อง “ความว่าง” มาสรุปให้

    [​IMG]
    ท่านพุทธทาสได้ยกย่องพระพุทธภาษิตที่ว่า “สพฺเพ ธมฺมา นาลํ อภินิเวสาย”ซึ่งแปลว่า “ธรรมทั้งหลายทั้งปวงไม่ควรยึดมั่นถือมั่น(ว่าเป็นเรา-ของเรา)” ให้เป็น หัวใจของพุทธศาสนา

    [​IMG]
    ท่านกล่าวว่า จิตที่ว่างจากความยึดมั่นถือมั่นว่าเรา ว่าของเราเท่านั้น ที่จะมั่นคงเป็นสมาธิได้อย่างแท้จริงและสมบูรณ์
    ซึ่งสมาธิที่มีความมุ่งหมายเป็นอย่างอื่น นอกไปจากเพื่อความไม่ยึดมั่นถือมั่นในเบญจขันธ์แล้ว ล้วนแต่เป็นมิจฉาสมาธิทั้งนั้น
    (อาจกล่าวอีกนัยได้ว่า การไม่ยึดติดว่าจิตเป็นเรา-ของเรา ไม่ดิ้นรนตามตัณหา ก็จะสงบระงับเป็นสมาธิที่เป็นสัมมาสมาธิ)

    [​IMG]
    จะมามัวเลือกเอาเฉพาะด้านดี(ตามสมมติบัญญัติ) มายึดติดดีไว้ ก็ยังไม่ใช่ความหลุดพ้น

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]
    ท่านพุทธทาสกล่าวถึงคำสอนของท่านเว่ยหลาง หรือฮวงโป ที่ว่า “ไม่ต้องทำอะไร” ก็จะพบความว่าง( นิพพาน) อย่างที่เรียกว่า “ว่างอยู่แล้ว” หรือ “นิพพานอยู่แล้ว”
    การไม่ต้องทำอะไร ก็คือ การไม่สร้างเจตนากรรม ไม่ดิ้นรนตามความอยาก(ตัณหา) ไม่ส่งเสริมตัณหา ซึ่งคำสอนนี้ท่านพุทธทาสรับรองว่าตรงกับที่พระพุทธเจ้าทรงสอน ที่ให้สักว่ารู้ รู้แล้วๆไป ไม่ต้องให้ค่าให้ความหมายว่ามันเป็นอะไร ไม่ต้องไปสนใจ ไม่ต้องไปพอใจไม่พอใจ หรือไปคอยผูกคอยแก้ไขอะไร นั่นคือ ไม่หลงไปยึดว่ามันเป็นเรา-ของเรา ก็เท่านั้น

    หมายเหตุ
    บางท่านอาจไม่ทราบว่าท่านพุทธทาสได้ใช้เวลา ๒๒ ปี เพื่อคัดกรองพระไตรปิฎกให้เหลือแต่คำสอนขององค์พุทธะ หรือที่เรียกว่า พุทธวัจน โดยรวบรวมเป็นหนังสือห้าเล่มจากพระโอษฐ์
    ดังนั้นการศึกษาคำสอนของครูบาอาจารย์ที่ถึงมรรคถึงผล(โดยเฉพาะผู้ที่ศึกษาพุทธวัจนมาแล้ว) จึงมีประโยชน์ เพื่อกันมิให้หลงหยิบพุทธวัจนมาตีความผิดๆแล้วนำไปปฏิบัติ แต่กลับเข้าใจว่ากำลังปฏิบัติตรงตามคำสอนขององค์พุทธะ

    [​IMG]
    ท่านพุทธทาสได้ทิ้งท้ายไว้ว่า “ท่านจะเข้าใจได้หรือไม่ จะปฏิบัติได้หรือไม่ ย่อมเป็นเรื่องของท่านทั้งหลายเอง อาตมามีหน้าที่แต่จะกล่าวไปตามที่มันมีอยู่อย่างไร. การรู้และการเข้าใจและการปฏิบัติย่อมตกเป็นของท่านทั้งหลาย”

    ธรรมะที่เกี่ยวข้อง: ต้นเหตุแห่งมิจฉาทิฏฐิ - สัมมาทิฏฐิ

    เจริญพร
    พระต่อศักดิ์ วชิรญาโณ
    วัดร่มโพธิธรรม ต.หนองหิน อ.หนองหิน จ.เลย 42190
    หน้าแรก :: วัดร่มโพธิธรรม
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 8 พฤศจิกายน 2012
  2. firstini

    firstini เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 มีนาคม 2006
    โพสต์:
    1,213
    ค่าพลัง:
    +3,770
    เพิ่งมีกระทู้ แก่นธรรม ของพระพุทธเจ้า ไปเองนะครับ
    ลองหาอ่านดู

    ถ้าในพระไตรปิฏกก็ลองอ่านที่ จูฬสาโรปมสูตร อุปมานักบวชกันผู้แสวงหาแก่นไม้
    หรืออุทุมพริกสูตร
    ลองศึกษาดูนะครับว่าแตกต่างกันอย่างไร
     

แชร์หน้านี้

Loading...