อาหารสำหรับโรคตับอักเสบ

ในห้อง 'เมนูอาหารและวิธีการทำอาหาร' ตั้งกระทู้โดย rinnn, 8 กันยายน 2007.

  1. rinnn

    rinnn เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 พฤศจิกายน 2005
    โพสต์:
    7,666
    ค่าพลัง:
    +24,027
    <TABLE cellSpacing=1 cellPadding=3 width="100%" bgColor=#ffffff border=0><TBODY><TR vAlign=top align=left><TD class=t_cordia align=left>
    [​IMG]
    โรคตับอักเสบเกิดจากเชื้อไวรัสหลายชนิด เชื้อไวรัสจะทำให้เกิดตับอักเสบเฉียบพลันและทำลายเซลล์ตับ ในรายที่อาการไม่รุนแรงและได้รับการรักษาแต่เนิ่นๆ เซลล์ตับจะฟื้นตัวได้ แต่ถ้าอาการรุนแรง จะทำให้เซลล์ตับตาย เนื้อเซลตับที่ดีเหลือน้อยลง ทำให้ตับเกิดโรคตับแข็งได้

    การรักษาโรคไวรัสตับอักเสบ
    ผู้ป่วยจำเป็นจะต้องนอนพักไม่ออกแรง มิฉะนั้นจะทำให้อาการรุนแรงขึ้น และใช้เวลารักษานานขึ้น ผู้ป่วยจำเป็นต้องได้รับของเหลววันละ 3000-3500 มิลลิลิตร เพื่อป้องกันการขาดน้ำและจะช่วยให้ผู้ป่วยรู้สึกดีขึ้นมีความอยากรับประทานอาหารมากขึ้น นอกจากนี้การได้รับโภชนาการเพียงพอเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งที่จะทำให้ตับฟื้นตัวเร็วขึ้นและผู้ป่วยมีกำลังวังชามากขึ้น
    ผู้ป่วยที่มีอาการตับอักเสบเฉียบพลัน จะค่อย ๆ ทุเลาขึ้นเองเมื่อพักผ่อนและรับประทานอาหารให้พอเพียง ผู้ป่วยบางรายเข้าใจว่าการดื่มน้ำหวานในปริมาณมาก ๆจะช่วยให้อาการดีขึ้นได้ ซึ่งเป็นความเชื่อที่ผิด เพราะการรับประทานน้ำตาลมากๆจะทำให้น้ำตาลเปลี่ยนเป็นไขมันสะสมในตับ และอาจทำให้ตับโตได้
    [​IMG]โภชนบำบัดสำหรับโรคไวรัสตับอักเสบ
    อาหารที่ผู้ป่วยได้รับขึ้นกับระดับความรุนแรงของโรคแและโรคแทรกซ้อน สารอาหารที่สำคัญที่จะต้องดูแลสำหรับโรคตับอักเสบได้แก่ โปรตีน ไขมัน คาร์โบไฮเดรต โซเดียม (เกลือ) และ แอลกอฮอลล์
    โปรตีน จำเป็นต้องได้รับเพียงพอ วันละ 100-150 กรัม เพื่อการสร้างเซลล์ใหม่ของตับ และควรเป็นโปรตีนที่มีคุณภาพสูง ในกรณีที่มีอาการรุนแรงเฉียบพลัน และระดับแอมโมเนียในเลือดสูง โปรตีนจะได้รับการจำกัดในระดับต่ำๆเช่นเดียวกับโรคตับแข็ง
    คาร์โบไฮเดรต ผู้ป่วยตับอักเสบต้องการคาร์โบไฮเดรตสูงประมาณ 300-400 กรัม/วัน เพื่อให้พลังงานพอเพียงกับที่ร่างกายต้องการและมีไกลโคลเจนสะสมเพียงพอ และช่วยให้ร่างกายได้นำโปรตีนไปใช้ในการเสริมสร้างเนื้อเยื่อที่จำเป็นต่อร่างกาย คาร์โบไฮเดรตที่รับประทานควรเป็นคาร์โบไฮเดรตชนิดที่มีกากใยอาหารมากกว่าคาร์โบไฮเดรตประเภทน้ำตาล
    ไขมัน อาหารควรมีไขมันในปริมาณปานกลางวันละประมาณ 80-100 กรัม ไขมันจะช่วยเพิ่มรสชาดลดอาการเบื่ออาหารซึ่งมักเกิดขึ้นกับผู้ป่วยโรคตับอักเสบ กรณีที่ผู้ป่วยมีความผิดปกติในการดูดซึมไขมัน แพทย์จะให้ไขมันที่มีโครงสร้างของกรดไขมันสายสั้นปานกลาง เช่น ไขมันเอ็มซีที (MCT) เป็นระยะเวลาสั้นๆจนกว่าอาการจะดีขึ้น
    พลังงาน ผู้ป่วยโรคตับอักเสบจำเป็นต้องได้รับพลังงานสูง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในระยะที่มีปัญหาทุพโภชนาการ ความต้องการพลังงานวันละประมาณ 2500-3000 กิโลแคลอรี เพื่อให้เพียงพอต่อการสร้างเนื้อเยื่อใหม่ชดเชยกับพลังงานที่สูงขึ้นเมื่อร่างกายมีไข้และเพื่อให้ผู้ป่วยมีกำลังเพิ่มขึ้น
    วิตามินและเกลือแร่ ร่างกายมีความต้องการวิตามินและเกลือแร่บางชนิดสูงขึ้น แพทย์จะทำการเสริมให้ผู้ป่วยตามความเหมาะสม
    เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ผู้ป่วยไวรัสตับอักเสบต้องงดการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ทุกชนิด
    ในระยะที่รับการรักษา ผู้ป่วยจะมีอาการเบื่ออาหาร จำเป็นที่ต้องให้อาหารเหลว อาจผสมอาหารทางการแพทย์เพื่อเพิ่มความเข้นข้นของสารอาหาร หรือให้รับประทานเสริมจนกว่าผู้ป่วยเริ่มมีความอยากอาหารมากขึ้นจึงเริ่มให้อาหารอ่อน เราสามารถนำผลไม้มาปั่นใส่นมและโยเกิร์ตเพื่อเพิ่มโปรตีนและพลังงานดังตัวอย่างสูตรที่ให้ไว้ หลังจากที่หายแล้วก็ควรจะระวังดูแลรักษาสุขภาพตับให้แข็งแรง ดังที่ได้แนะนำไว้ในฉบับที่แล้ว

    ข้อแนะนำทางโภชนาการสำหรับผู้ติดเชื้อไวรัสตับอักเสบ
    - รับประทานอาหารหลากหลายจากอาหารหลัก 5 หมู่
    - เลือกเนื้อลัวน ไม่ว่าจะเป็นหมู ไก่ ปลา กุ้ง หอย ปู เป็นแหล่งของ โปรตีน วิตามินเอ วิตามินบี 12 ไนอะซิน บี1ธาตุเหล็ก ธาตุเหล็ก สังกะสี และซีลีเนียม
    - ข้าว ขนมปัง ธัญพืชต่างๆ เป็นแหล่งของ คาร์โบไฮเดรต ธาตุเหล็ก วิตามินบี 1และบี 2 ไนอะซิน และใยอาหาร
    - ผลไม้และผักต่างๆ เป็นแหล่งของสารต้านอนุมูลอิสระ(วิตามินเอ ซี และอี) ธาตุเหล็ก โฟเลท และใยอาหาร
    - นมและผลิตภัณฑ์นม เป็นแหล่งของ โปรตีน แคลเซียม วิตามินบี 2 ไนอะซิน โฟเลท วิตามินเอ วิตามินบี 12 และวิตามินดี
    - รับประทานอาหารให้ได้พลังงานเพียงพอแต่ไม่มากเกินไป โดยแบ่งอาหารออกเป็นมื้อเล็ก ๆ (4-5) มื้อตลอดวัน
    - รับประทานอาหารโปรตีนให้เพียงพอเพื่อป้องกันการติดเชื้อและช่วยให้ตับสร้างเนื้อเยื่อใหม่
    - รับประทานผักและผลไม้หลากหลายมากขึ้นเพื่อให้ร่างการได้รับสารต้านอนุมูลอิสระเพียงพอ
    - เลือกอาหารที่มีวิตามินเอ และซีบ่อยขึ้น
    - หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มแอลกอฮอลล์เพื่อป้องกันอันตรายต่อตับและช่วยให้ตับได้ฟื้นฟูสภาพ
    - จำกัดอาหารที่มีไขมันและน้ำตาลสูง
    - รับประทานอาหารให้สมดุลกับพลังงานที่ใช้

    ตัวอย่างสูตรอาหารโปรตีนสูง พลังสูง
    ส้มปั่นโปรตีนสูง สำหรับ 1 ที่
    เครื่องปรุง
    <TABLE class="" id=table1 cellSpacing=1 cellPadding=5 width="100%" bgColor=white border=0><TBODY><TR><TD class="" vAlign=top align=left bgColor=lavender height=0>โยเกิร์ตไขมันต่ำรสธรรมชาติ</TD><TD class="" vAlign=top align=left bgColor=lavender height=0>3/4 ถ้วยตวง</TD></TR><TR><TD class="" vAlign=top align=left bgColor=lavender height=0>นมผงขาดมันเนย</TD><TD class="" vAlign=top align=left bgColor=lavender height=0> 2 ช้อนโต๊ะ</TD></TR><TR><TD class="" vAlign=top align=left bgColor=lavender height=0>น้ำส้มคั้น</TD><TD class="" vAlign=top align=left bgColor=lavender height=0> 1/2 ถ้วยตวง</TD></TR></TBODY></TABLE>

    วิธีทำ
    นำเครื่องปรุงทั้งหมดปั่นจนเป็นเนื้อเดียวกันจะได้เครื่องดื่มประมาณ 300 ซีซี
    คุณค่าทางโภชนาการ
    <TABLE class="" id=table1 cellSpacing=1 cellPadding=5 width="100%" bgColor=white border=0><TBODY><TR><TD class="" vAlign=top align=left bgColor=lavender height=0>พลังงาน </TD><TD class="" vAlign=top align=left bgColor=lavender height=0>262 แคลอรี่</TD></TR><TR><TD class="" vAlign=top align=left bgColor=lavender height=0>คาร์โบไฮเดรต</TD><TD class="" vAlign=top align=left bgColor=lavender height=0>51 กรัม</TD></TR><TR><TD class="" vAlign=top align=left bgColor=lavender height=0>โปรตีน </TD><TD class="" vAlign=top align=left bgColor=lavender height=0>11 กรัม</TD></TR><TR><TD class="" vAlign=top align=left bgColor=lavender height=0>ไขมัน </TD><TD class="" vAlign=top align=left bgColor=lavender height=0> 2 กรัม </TD></TR></TBODY></TABLE>





    </TD></TR><TR vAlign=top align=left><TD class=t_cordia align=left></TD></TR></TBODY></TABLE><!-- End Article Content -->
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD bgColor=#cc3366>[​IMG]</TD></TR><TR><TD class=t_ms10 align=right bgColor=#ffffff>อ่านเพิ่มเติมในคอลัมน์ Nutrition Therapy นิตยสาร Health & Cuisine
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
     

แชร์หน้านี้

Loading...