พระนิพพานคืออะไร? มีสภาวะเป็นอย่างไร? ต้องทำอย่างไรจึงจะเข้าพระนิพพานได้?

ในห้อง 'วิทยาศาสตร์ทางจิต - ลึกลับ' ตั้งกระทู้โดย Little yoda, 31 สิงหาคม 2007.

  1. Little yoda

    Little yoda เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 สิงหาคม 2007
    โพสต์:
    530
    ค่าพลัง:
    +2,453
    พระนิพพานคืออะไร ?

    โดย เกษร สุทธจิต จันทร์ประภาพ


    ถาม : พระนิพพานคืออะไร ?<O:p></O:p>
    ตอบ : <O:p></O:p>

    นิพพาน คือ ความดับร้อน เหลือแต่ความเย็น อะไรคือความร้อน ความร้อนก็คือ ความยึดมั่นถือมั่น ในร่างกายเรา ร่างกายเขา ทรัพย์สมบัติในโลกนั่นแหละเป็นความร้อน เป็นความทุกข์ พระนิพพานเป็นธรรมชาติที่แท้จริง นิพพานัง ปรมัง สูญญัง หมายถึงนิพพานเป็นธรรม ว่างอย่างยิ่ง ธรรมหมายถึงธรรมชาติทั้งหมด นิพพาน เป็นธรรมชาติที่ว่างจากกิเลส ตัณหา อุปาทาน ทุกข์ทั้งหมด นิพพานเป็นสภาวะที่เป็นสุข เพราะไม่มีกิเลส ไม่มีความทุกข์ คำว่า สูญแปลว่า ว่าง ไม่ใช่สูญโญ สูญสลายอย่างที่เข้าใจผิดกัน

    นิพพานัง ปรมัง สุขัง หมายถึง นิพพานเป็นสุขอย่างยิ่ง มีสภาวะบริสุทธิ์ สะอาด ปราศจากกิเลส มีลักษณะตามที่ได้สัมผัสทางมโนมยิทธิดังนี้<O:p></O:p>


    1. นิพพานมีความแน่นอน (นิจจัง) มีความสุข เป็นอมตะ ไม่มีคำว่าสูญสลาย ไม่มีอดีต ไม่มีอนาคต มีแต่ปัจจุบัน เพราะไม่มีการเกิดการตายอีก(พ้นวัฏฏสงสาร) จิตที่เสวยสุขพระนิพพานเป็นจิตทิพย์ กายทิพย์ กายเบา จะไปไหนจะคิดอะไรได้รวดเร็วตามความปรารถนา มีหูทิพย์ ตาทิพย์ มีอิสระเสรีแท้จริง ไม่อยู่ในอำนาจของกฎแห่งกรรมหรือกฎธรรมชาติ<O:p></O:p>

    2. พระนิพพานเป็นสถานที่กว้างใหญ่ไพศาลไม่มีที่สิ้นสุด ไม่อยู่ในเขตสุริยจักรวาลใด ๆ ไม่มีดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์ ดวงดาว ไม่มีดิน น้ำ ลม ไฟ มีแสงสว่างไสวสวยงาม ในกายนิพพาน ไม่มีขันธ์ 5 ไม่มีกระดูกหรืออวัยวะภายใน ไม่มีเพศ ไม่มีเด็ก ไม่มีสัตว์<O:p></O:p>

    จิตที่สะอาดสดใส หมดจากกิเลสเครื่องเศร้าหมอง เสวยสุขอย่างยิ่งตลอดกาลที่องค์สมเด็จพระพิชิตมารท่านค้นคว้า และเมตตาสอนทุก ๆ คนให้ทำความดีเพื่อพระนิพพาน โลกนี้ไม่มีอะไรสุขจริง มีพระพุทธเจ้าหลายแสนพระองค์ที่แดนพระนิพพาน เพราะ พระพุทธเจ้าท่านก็ตรัสรู้จากโลกอื่น ๆ ด้วย จิตที่เป็นพระอรหันต์แดนนิพพาน ท่านเรียกว่า พระวิสุทธิเทพ จิตจะเปลี่ยนแปลงรูปร่างลักษณะอย่างไรก็ได้ จะเข้าสิ่งสู่อาศัยที่หนึ่งที่ใดก็ได้ ท่องเที่ยวได้รวดเร็วกว่ากระแสไฟฟ้า พระพุทธเจ้า พระอรหันต์เจ้า ที่เข้าสู่พระนิพพานก็ยังคอยช่วยเหลือผู้ปฏิบัติธรรมอย่างจริงจัง จะรับสัมผัสจากพระองค์ท่านได้เมื่อจิตสะอาด มีสมาธิถึงฌาน 4 พระอรหันต์ พระพุทธเจ้า ท่านจะเมตตามาสั่งสอนแนะนำให้จิตสะอาด เข้าใจในปัญหาธรรมที่ยังติดขัดสงสัย ถ้าจิตเคารพท่านจริง ท่านก็จะมาสอนในจิตจริง ไม่เป็นที่สงสัย พระพุทธเจ้า พระอรหันต์เจ้า ท่านก็ยังช่วยโลกอยู่ทุกวัน<O:p></O:p>

    3. พระโอวาทของพระองค์ที่ 10 มีอยู่ว่า
    พระนิพพาน ไม่ใช่ภาษาพูด
    พระนิพพาน ไม่ใช่ภาษาเขียน
    พระนิพพาน เป็นภาษาปฏิบัติ<O:p></O:p>

    4. รูปกายทิพย์ที่อยู่ในแดนนิพพานสะอาดสว่างไสว สามารถเปลี่ยนแปลงจาก หนึ่งเป็นแสนหรือล้านรูป เล็กใหญ่ภายในเวลาเดียวกันได้ พระเดชพระคุณหลวงพ่อพระราชพรหมยาน ได้เผยแพร่วิชามโนมยิทธิ ขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า มาสอนนักปฏิบัติธรรมให้มีจิตเป็นทิพย์ สามารถสัมผัสพระนิพพานได้ เมื่อจิตสะอาดไม่เกาะติดขันธ์ 5 ทรัพย์สมบัติในโลกมีศีลครบ มีสมาธิ ตั้งแต่อุปจารสมาธิถึงฌาน 4 ก็พิสูจน์ด้วยจิตตนเองว่า นรก สวรรค์ พรหม นิพพาน มีจริงหรือไม่ เพื่อจะได้หายสงสัย มีความมั่นคงในพระธรรมวินัยของพระพุทธองค์ ผู้ที่พ้นทุกข์ในโลกนี้โลกหน้าคือ ผู้เห็นธรรม ผู้ที่เห็นธรรมคือผู้ที่เห็นองค์พระตถาคต ผู้ที่เห็นพระตถาคต คือผู้ที่เห็นพระนิพพาน ผู้ที่เข้าใจพระนิพพาน คือ ผู้ที่เป็นพระอริยเจ้า ได้ง่ายและรวดเร็ว<O:p></O:p>
    <O:p</O:p

    ถาม : หลวงพ่อพระราชพรหมยาน กราบทูลถามองค์สมเด็จพระพิชิตมาร ที่พระจุฬามณีชั้นดาวดึงส์ว่า คนที่ปฏิบัติเพื่อพระนิพพานจะใคร่ครวญอย่างไรจึงจะง่ายที่สุด สั้นที่สุดพระพุทธเจ้าข้า ?<O:p></O:p>
    <O:p</O:p

    ตอบ :
    เจ้าจงใคร่ครวญอย่างนี้ จงคิดว่าเราเป็นผู้ไม่มีอะไรเลย ทรัพย์สินก็ไม่มี ญาติ เพื่อน ลูกหลาน เหลนก็ไม่มี เพราะทุกอย่างที่กล่าวมามีสภาพพังหมด เราจะทำกิจที่ต้องทำตามหน้าที่ เมื่อสิ้นภาระ คือ ร่างกายพังแล้ว เราจะไปนิพพาน เมื่อความป่วยไข้ปรากฎ จงดีใจว่าภาวะที่เราจะมีโอกาสเข้าสู่พระนิพพานมาถึงแล้ว เราสิ้นทุกข์แล้ว ร่างกายเป็นเพียงเศษธุลีที่เหม็นเน่า มีความสกปรกโสโครก ทรุดโทรม เดินไปหาความเสื่อม แตกสลายทุกขณะ คิดไว้อย่างนี้ทุกวัน จิตจะชิน จะเห็นเหตุผล เมื่อตาย อารมณ์จะสบาย แล้วจะเข้าสู่พระนิพพานได้ทันที<O:p></O:p>

    พระพุทธองค์ทรงสอนต่อไปว่า ให้ลูกหลานของเธอทุกคน หรือ บริษัทของเธอทุกคน เขาตั้งใจอย่างที่ฉันพูดนะ การไปสวรรค์ก็ดี ไปพรหมโลกก็ดี ไปนิพพานก็ดีเป็นของง่าย ไม่ใช่ของยากแบบที่นักปราชญ์ในโลกเขาพูดกันเวลานี้ เวลานี้นักปราชญ์ทั้งหลายนิยมความยาก สิ่งไหนก็ตามที่มันยาก เขาถือว่าดี เป็นแบบฉบับที่ถูกต้อง แต่ว่าฉันเห็นว่านั่นไม่ถูกต้อง ถ้าตามคติของฉัน ฉันว่าไม่ถูก เพราะสอนคนหรือพูดให้คนเข้าใจง่ายที่สุด และได้ผลมากที่สุด อันนี้ดีกว่า ดีกว่าหาวิธีที่ยากที่สุด แล้วได้ผลน้อยที่สุด อย่างนี้ไม่ดี ไม่ใช่ความประสงค์ของฉัน สัมภเกสี (ชื่อของหลวงพ่อพระราชพรหมยานที่พระพุทธองค์ทรงเรียก) เตือนบริษัทและลูกหลานของเธออย่างนี้นะ ว่าให้ทุกคนรู้ตัวแล้วว่ามีวิมานอยู่บนชั้นกามาวจร เมื่อถึงเวลาเขาทำชั่วอะไรมาก็ช่างเถอะ เวลาก่อนนอนให้นึกถึงความดีที่ทำไว้ ขึ้นชื่อว่าความชั่วทั้งหลายปล่อยมันไปนึกถึงแต่ความดี แล้วเอาใจนี้จับไว้ว่านี่เรามีวิมานแก้ว 7 ประการไว้บนสวรรค์ชั้นกามาวจร จากทำบุญ วิหารทาน สังฆทาน และธรรมทาน เมื่อเวลาที่เราตาย เราจะไปอยู่วิมานนั้น ถ้าเวลาป่วยไข้ไม่สบาย ไม่ต้องเอาอะไร นึกถึงคุณพระรัตนตรัย คือ พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ จะนึกถึงพระพุทธก็ได้ พระสงฆ์ก็ได้ สิ่งก่อสร้างก็ได้ อย่างใดอย่างหนึ่งไว้ในใจ แล้วตั้งใจว่าเราจะไปอยู่วิมานของเราที่มีอยู่แล้ว เพียงเท่านี้นะ ถ้าเขาตาย เขาจะถึงสวรรค์ชั้นกามาวจรทันที<O:p></O:p>

    พวกที่จะไปพรหมโลกก็เป็นของไม่ยากนะ สัมภเกสี บอกเขานะคนที่ต้องการไปพรหมโลก คืนหนึ่ง ให้สร้างความดี 10 นาที ตอนกลางวันมันอาจจะเลว จะเอาดีกันตอนกลางคืน นั่งนับลมหายใจเข้าออกก็ตาม นั่งก็ได้ นอนก็ได้ ยืนเดินก็ได้ นับลมหายใจเข้าออกก็ได้ หรือจะนึกถึงกรรมฐานกองใดกองหนึ่งก็ได้ เพียง 10 นาที ให้รู้ลมหายใจเข้าออกเท่านี้ก็พอ เวลาตายแล้วก็เป็นพรหมแน่<O:p></O:p>

    ทีนี้คนไหนที่ตังใจจะไปนิพพาน ก็เป็นของไม่ยาก สัมภเกสี ให้เขาคิดว่าโลกนี้ทั้งหมดไม่มีอะไรที่เรารักเราชอบ เพราะเต็มไปด้วยความทุกข์ยากทรมาน ใคร่ครวญหาความจริงในโลก จะเป็นสิ่งมีชีวิตหรือไม่มีชีวิตก็ตาม มันมีสภาพคงตัวได้ตลอดกาลหรือไม่ ถ้ามันมีการเปลี่ยนแปลงสลายตัว ก็ถือว่าโลกทั้งโลกหาความดีไม่ได้ แล้วก็หันเข้ามาคิดถึงกายของตัวว่า กายของเรามันยังจะตาย ยังจะพัง เรายังปรารถนาอะไรภายนอกอีก เราไม่ต้องการทุกสิ่งทุกอย่างในโลก เราจะไปพระนิพพานแดนไม่ตาย เป็นสุขตลอดกาล ที่พระพุทธองค์ไปอยู่แดนพระนิพพานนั้น เขาคิดเท่านี้นะ เพียงคืนละ 10 นาทีนะ สัมภเกสีนะ ลูกหลานของเธอจะพ้นนรกหมด พ้นอบายภูมิ อย่างน้อยไปกามาวจรสวรรค์ อย่างกลางก็ไปพรหมโลก อย่างดีก็ไปพระนิพพาน<O:p></O:p>
     
  2. Little yoda

    Little yoda เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 สิงหาคม 2007
    โพสต์:
    530
    ค่าพลัง:
    +2,453
    บรรยายลักษณะพระนิพพาน ?

    ถาม : ขอให้บรรยายลักษณะพระนิพพาน ?
    <O:p
    ตอบ :
    ผู้ที่จะเข้าใจพระนิพพานได้ถูกต้อง คือ ผู้ที่เข้ากระแสพระนิพพาน คือ อริยมรรค เช่น พระโสดาปัตติมรรคจนถึงพระอรหันต์ หรือท่านผู้ที่ฝึกมโนมยิทธิจิตเป็นทิพย์ สัมผัสพระนิพพานได้ตามความเป็นจริง หรือพระที่มีฌานสมาบัติถอดจิตออกไปนมัสการพระพุทธเจ้าที่พระจุฬามณี หรือพระพุทธเจ้าที่พระนิพพาน<O:p></O:p>

    พระนิพพานมีลักษณะดังนี้<O:p></O:p>

    1. นิพพานเป็นแดนทิพย์ แดนอมตะ มีสภาวะสะอาดบริสุทธิ์สดใส สว่าง ไม่มีพระอาทิตย์ ไม่มีดิน น้ำ ลม ไฟ สว่างด้วยแสงแก้วมณีโชติช่วงยิ่งกว่าเพชร<O:p></O:p>

    2. พระนิพพานเย็นสบายไม่ร้อนไม่หนาว<O:p></O:p>

    3. กว้างใหญ่ไพศาลมากกว่าโลกหลายล้านเท่า เป็นดินแดนที่มีขอบเขตไม่จำกัด พื้นที่สามารถขยายได้โดยอัตโนมัติ<O:p></O:p>
    <O:p
    4. นิพพาน มีความแน่นอน ไม่เปลี่ยน ไม่สูญสลาย เป็นไปตามความจำเป็น เช่นกายทิพย์นิพพานจะนั่งก็มีที่รองนั่งมารับทันทีโดยไม่ต้องคิดเนรมิตเหมือนสวรรค์<O:p></O:p>

    5. นิพพานเป็นสถานที่เป็นทิพย์ที่ละเอียดยิ่งกว่าสวรรค์ พรหม เป็นทิพย์ที่ถาวร สวรรค์ พรหม เป็นทิพย์แต่เป็นชั่วขณะตามบุญบารมีหมดบุญก็ต้องจุติใหม่ (แต่เทวดาก็ปฏิบัติธรรมเบื้องบนเลื่อนระดับถึงพระนิพพานได้ โดยที่พระพุทธเจ้าพระอรหันต์ก็ทรงแสดงธรรมสั่งสอนเทวดา พรหม ที่มีบุญบารมีสูง เคารพพระพุทธศาสนา)<O:p></O:p>

    6. นิพพานไม่มีขันธ์ 5 ธาตุ 4 ไม่มีสัตว์ คน ผู้ที่นิพพาน ท่านเรียกว่า พระอรหันต์ พระวิสุทธิเทพ พุทธกายหรือ ธรรมกาย (มีศาสนาพุทธเท่านั้นที่มีพระอรหันต์ ศาสนาอื่นเช่น ศาสนาพราหมณ์สูงสุดก็คือพระอนาคามี)<O:p></O:p>

    7. แดนนิพพานมองด้วยสายตาหรือกล้องส่องทางไกลไม่เห็น อยู่ไกลจากสุริยจักรวาลมาก ไปได้ด้วยจิตที่มีสมาธิ ปราศจากกิเลส ตัณหา อุปาทาน อกุศลกรรม อวิชชา ที่ติดขันธ์ 5 ในโลก<O:p></O:p>

    8. นิพพานนังปรมังสุญญัง นิพพานสูญจากกิเลส ตัณหา อุปาทาน อวิชชา อกุศลกรรม สูญจากขันธ์ 5 สูญจากดิน น้ำ อากาศ ไฟ สูญจากทุกข์ทั้งปวง สูญจากอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา สูญจากวัฏสงสารการเวียนว่ายตายเกิด สูญจากสังโยชน์ 10 สูญจากนรก โลก สวรรค์ พรหม<O:p></O:p>

    9. นิพพานไม่สูญจากจิตบริสุทธิ์ ท่านเรียกว่า พระวิสุทธิเทพ คือ เทพที่มีจิตสะอาดบริสุทธิ์ จากเครื่องเศร้าหมองกิเลสร้อยรัด สังโยชน์ 10 อย่าง<O:p></O:p>

    10.นิพพานเป็นสุขอย่างยิ่งเหนือคำพรรณา จึงกล่าวนิพพานมีทุกอย่างที่โลกไม่มี จิตมีอิสระเสรี จะไปไหนได้รวดเร็ว จะมาโลกนี้ก็ได้ จะเห็นอะไรได้ทั่วจักรวาลเพราะจิตเป็นทิพย์ไม่มีอะไรปิดบัง จิตพ้นจากกรงขังของขันธ์ 5 หรือกรงขังของกายคน กายเทพ กายพรหม<O:p></O:p>

    11. กายทิพย์พระนิพพาน เบายิ่งกว่าอากาศ ตามองไม่เห็น มีศีรษะ มีตา มีมือ มีขา 2 ขา ไม่มีเพศ ไม่มีอวัยวะภายใน ไม่มีกระดูก ไม่ต้องกินต้องถ่าย ไม่เหนื่อย ไม่ต้องทำงาน หมดภาระทุกสิ่ง ไม่มีคำว่าตาย<O:p></O:p>

    12. พระท่านที่อยู่พระนิพพาน มีความสุขมาก ท่านก็เป็นห่วง กลัวคนจะตกนรก กลัวลูกหลานไม่ถึงนิพพาน เป็นห่วงแต่ท่านไม่ทุกข์ มีอุเบกขา พระพุทธเจ้าและพรอรหันต์ยังคอยช่วยเหลือมนุษย์ที่ปฏิบัติดีตลอดเวลา คอยประคับประคองจิตคนให้เดินถูกทาง ไม่หลงไปทางมืดทางอบายภูมิ มีนรก เปรต อสุรกาย สัตว์เดรัจฉาน เป็นคนพิการคนยากจนเป็นต้น<O:p></O:p>

    13. จะพิสูจน์พระนิพพานได้ด้วยตนเอง เป็นปัจจัตตัง ฝึก มโนมยิทธิ ก็ได้ง่าย ๆ มีฝึกสอนฟรีไม่ต้องเสียเงิน แต่ต้องมีศีล 5 ครบ เคารพพระรัตนตรัย เชื่อในคำสอนพระพุทธองค์ด้วยจริงใจไม่คัดค้านคำสอนที่ว่านรกสวรรค์พรหมนิพพานมีจริง กรรมมีจริง มีสมาธิพอสมควร มีวิปัสสนาญาณ เห็นว่าเกิดเป็นคนไม่มีใครเป็นสุขจริง ร่างกายเหม็นสาบสางมีภาระต้องเติมเชื้อเพลิง ต้องขับถ่ายของสกปรกทุกวัน ชีวิตเต็มไปด้วยปัญหา และตายในที่สุด<O:p></O:p>

    14. พระนิพพานมี 12 ชั้น แตกต่างกันตามบุญวาสนาบารมีแต่ละองค์ เช่น พระพุทธเจ้าก็อยู่สูงสุดมีฉัพพรรณรังสี (รัศมี 6 ประการ) สว่างมาก พระอรหันต์ธรรมดาก็อยู่ชั้นต่ำ แสงริบหรี่<O:p></O:p>
     
  3. Little yoda

    Little yoda เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 สิงหาคม 2007
    โพสต์:
    530
    ค่าพลัง:
    +2,453
    บรรยายลักษณะพระนิพพาน ?

    ขอความสุขสวัสดิ์พิพัฒน์มงคลสมบูรณ์พูนผลจงเกิดกับทุกท่าน
    ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไปจนกว่าจะถึงพระนิพพานเทอญ

    หากท่านมีข้อสงสัยสามารถตั้งกระทู้ถามได้ตาม Link ข้างล่าง

    ที่มา
    http://www.dhammapratarnporn.com/
    http://www.sangthip.com/
    http://sangthip.pantown.com/
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 31 สิงหาคม 2007
  4. Little yoda

    Little yoda เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 สิงหาคม 2007
    โพสต์:
    530
    ค่าพลัง:
    +2,453
    <TABLE cellSpacing=0 width="100%" border=1><TBODY><TR bgColor=#4b9339><TD hight="30">[SIZE=+2]<CENTER>เรียนเชิญสาธุชนทุกท่านร่วมทำบุญสร้างองค์พระบรมธรรมบิดา</CENTER>[/SIZE]</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE width="100%"><TBODY><TR width="100%"><TD colSpan=2>ขอเรียนเชิญสาธุชนทุกท่าน ร่วมบุญมหากุศล สร้างองค์พระบรมธรรมบิดากับคุณแม่เกษร สุทธจิต จันทร์ประภาพ โดยองค์พระท่านจะนำไปประดิษฐานตามบ้านปฏิบัติธรรมหลายแห่ง โดยมีวัตถุประสงค์และอานิสงส์ของท่านผู้ร่วมสร้างตามที่คุณแม่เกษร ท่านได้เมตตาอธิบายมาดังนี้

    อานิสงส์ยิ่งใหญ่ในการร่วมสร้างองค์สมเด็จพระวิสุทธิพุทธรังษีบรมธรรมบิดา

    1. เพื่อป้องกันผู้ร่วมสร้างไม่ให้ตกลงสู่อบายภูมิทั้ง 4

    2. เพื่อความสุข ร่มเย็นของโลกและเพื่อลูกๆหลานๆต่อไป ยิ่งสร้างองค์พระบรมธรรมบิดามากเท่าไร โลกก็จะมีความสุขและร่มเย็นมากขึ้นเท่านั้น

    3. บุญบารมีในการร่วมสร้างจะช่วยให้ท่านมีความสุขในโลกนี้และปฏิบัติเข้าพระนิพพานได้อย่างง่ายในชีวิตนี้เอง

    4. บุญบารมีของพระบรมธรรมบิดาจะแผ่รัศมีและช่วยสรรพสัตว์ทั้งสามโลกให้ได้รับพลังแสงทิพย์อริยธรรม จากรูปเหมือนของพระองค์ท่าน โลกนี้จะเป็นสถานที่ ที่ดีและน่าอยู่มากขึ้น

    5. เพื่อเพิ่มปัญญาให้เข้าใจในคำสอนขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เป็นการง่ายที่จะเข้าพระนิพพานได้เร็วขึ้น

    6. ใครก็ตามที่ได้มากราบไหว้องค์พระ จะพ้นอันตรายการตายจากอุบัติเหตุทั้งปวง และจะอยู่อย่างมีความสุขบนโลกสมมุติใบนี้

    7. รูปเหมือนองค์พระบรมธรรมบิดา ถือเป็นพุทธา-ธัมมา-สังฆา-เทวตานุสสติกรรมฐาน เพิ่มบุญบารมีท่านในการเข้าพระนิพพาน

    8. ท่านใดที่เจ็บป่วยด้วยโรคบาปกรรมหรือไสยศาสตร์ สามารถอธิษฐานขอรูปเหมือนองค์พระ ในการรักษาโรคภัยต่างๆให้หมดสิ้นไป

    9.ยิ่งเรามีรูปเหมือนองค์พระบรมธรรมบิดาบนโลกนี้มากขึ้นเท่าใด ความทุกข์ยากต่างๆ ของโลกจะลดลง เนื่องมาจากบุญบารมีของพระองค์ท่านได้ครอบคลุมและป้องกันเราจากสิ่งเลวร้ายทั้งปวง

    10. ท่านที่ไม่มีปัจจัยหรือไม่ได้มีส่วนร่วมในการสร้างองค์พระ สามารถโมทนากับท่านผู้ร่วมสร้างและจะได้ผลบุญจากการโมทนา 80% ของผู้ร่วมสร้าง

    11. จะมีเดช เดชะขององค์พระบรมธรรมบิดา (คือ คนเคารพเชื่อถือและ เกรงในบารมี)
    ทั้งนี้ท่านผู้มีศรัทธาต้องการร่วมทำบุญสร้างองค์พระบรมธรรมบิดาได้โดยผ่านบัญชี คุณแม่เกษร จันทร์ประภาพ ธ.กรุงเทพ สาขาท่าแพ จ.เชียงใหม่ บัญชีสะสมทรัพย์ เลขที่ 251-4-28966-5 แล้วแจ้งยอดเงินทำบุญผ่านทางกระทู้นี้เพื่อให้ สาธุชนทุกท่านรวมถึง รุ่นลูกๆหลานๆเหลนๆ ในอนาคตได้มาโมทนารับผลบุญกุศลยิ่งใหญ่นี้กันถ้วนหน้า เพื่อทุกๆดวงจิตจะได้กลับบ้านพระนิพพานโดยฉับพลันทันใด ในชาติปัจจุบันนี้ เทอญ สัมปะติจฉามิ สัมปะจิตฉามิ นิพพานสุขขัง


    </TD></TR></TBODY></TABLE>

    http://www.pantown.com/board.php?id=20497&area=3&name=board1&topic=132&action=view
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  5. k.nuch

    k.nuch เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 สิงหาคม 2007
    โพสต์:
    37
    ค่าพลัง:
    +146
    โลกนี้ทุกข์หนอ โลกนี้วุ่นวายหนอ...ขออำนาจพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ดลบันดาลบุญของข้าพเจ้าที่ได้สร้างสมมาตั้งแต่อดีตชาติ จนถึงปัจจุบันชาติ ให้ถึงแก่ญาติทิพย์ เทวดา พรหม ครุฑ นาค ยักษ์ มาร อสูร คนธรรพ์ กินรา ภูติ ผี ปีศาจ เปรต ปอบ เมื่อได้รับบุญแล้ว ขอให้มีความสุข มีภพภูมิสูงยิ่งๆขึ้นด้วยเทอญ.....สาธุ
     
  6. Little yoda

    Little yoda เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 สิงหาคม 2007
    โพสต์:
    530
    ค่าพลัง:
    +2,453
    นิพพาน โดย พระคุณเจ้าหลวงพ่อพระราชพรหมยาน วัดท่าซุง อุทัยธานี

    นิพพาน คำว่า นิพพานนี้เขาแปลว่า ดับ ท่านจัดให้หลายประเภทด้วยกัน คือ
    1. ดับกิเลส มีเบญจขันธ์เหลือบ้าง เรียกว่าสอุปาทิเสสนิพพาน คือยังไม่ตายแต่จิตเป็นนิพพาน

    2. ดับกิเลส โดยไม่มีเบญจขันธ์เหลือบ้าง เรียกว่าอนุปาทิเสสนิพพาน คือตายแล้วจิตเป็นสุขอยู่แดนทิพย์อมตะนิพพาน

    แต่ว่าในวันนี้จะขอพูดถึง นิพพานมาตรฐาน ที่องค์สมเด็จพระพิชิตมารบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงแสดงไว้
    องค์สมเด็จพระจอมไตรบรมศาสดาตรัสว่า

     
  7. Little yoda

    Little yoda เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 สิงหาคม 2007
    โพสต์:
    530
    ค่าพลัง:
    +2,453
    นิพพานอยู่ที่ไหน ?
    นิพพานอยู่ที่ความบริสุทธิ์ของจิต เมื่อไรที่จิตเข้าถึงความบริสุทธิ์ คือ จิตดับจากความชั่ว ความสกปรกของจิตที่มีกิเลส ตัณหา อวิชชา อุปาทานหลงในตัวเรา ตัวเขาขังอยู่สลัดตัดความชั่วที่ขังอยู่ในจิตในใจทิ้งไปเสีย ความชั่วทุกอย่างหมดไปจากจิตจากใจเมื่อไร เมื่อนั้นจิตก็เข้าถึงพระนิพพานทันที กิเลสตัวใหญ่ 3 ประการนี้เป็นสาเหตุให้จิตไม่สะอาด ไม่สามารถเข้าใจพระนิพพานได้ จึงเป็นเหตุให้มีแต่ความทุกข์ยากลำบากกายใจ พระนิพพานปรมังสุญญัง จึงแปลว่า พระนิพพาน คือ จิตที่ว่างจากกิเลส โลภ โกรธ หลง สุญญังในที่นี้คือ หมดสิ้นจากอวิชชา ตัณหา อุปาทาน โลภ โกรธ หลง สูญจากการเวียนว่าย ตาย เกิด นั่นเอง

    เมื่อเหตุทั้ง 3 ประการ นี้ว่างไปจากใจ ความสบายใจก็ปรากฏความผ่องใสของใจ ก็ปรากฏ เมื่อความสบายใจ ความผ่องใสปรากฏ องค์สมเด็จพระบรมสุคต จึงตรัสว่า

     
  8. Little yoda

    Little yoda เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 สิงหาคม 2007
    โพสต์:
    530
    ค่าพลัง:
    +2,453
    ในตอนนั้นมีท่านผู้หนึ่งถามว่า คนที่จะไปนิพพานได้น่ะเฉพาะเทวดาหรือพรหม และมนุษย์ใช่ไหม

    สมเด็จพระจอมไตรบรมศาสดาก็ตรัสว่า การที่จะนิพพานได้ไปได้หมดคือ พรหมก็ไปนิพพานได้ เทวดาก็ไปนิพพานได้ มนุษย์ก็ไปนิพพานได้ สัตว์ก็ไปนิพพานได้

    คำว่าสัตว์ก็ไปนิพพานได้ในที่นี้ องค์สมเด็จพระชินสีห์ทรงหมายความว่า สัตว์ทุกตัวที่เกิดเป็นสัตว์ ตั้งแต่สัตว์ใหญ่ หรือสัตว์เล็กก็ตามที นั่นคือคน คนที่สร้างกรรมที่เป็นอกุศลสร้างความชั่วมีบาปทำให้จิตคนเข้าไปอยู่ในกรงขัง คือร่างกายของสัตว์ จิตเขาก็คือจิตคน เพราะ มาจากคน

    ถ้ากำลังของกรรมหนักจริงๆ พาคนลงนรกไปก่อนเป็นสัตว์นรก
    เมื่อกรรมเบาขึ้นมาหน่อยหนึ่งผ่านจากนรกก็มาเป็นเปรต จิตใจก็ยังมีความรู้สึกอย่างคน

    เมื่อกรรมเบาขึ้นมาอีกนิดหนึ่ง พ้นจากความเป็นเปรตมาเป็นอสุรกาย ความรู้สึกก็มีความรู้สึกเท่าคน เพราะใจมันใจคน

    จากอสุรกายก็มาเป็นสัตว์เดรัจฉาน จากสัตว์เล็กถึงสัตว์ใหญ่ แต่ความรู้สึกความต้องการของใจก็เท่าคน คือจิตเป็นจิตคน

    ที่องค์สมเด็จพระทศพลตรัสว่า แม้แต่เทวดา หรือพรหม คนหรือสัตว์สามารถไปนิพพานได้นั้น องค์สมเด็จพระจอมไตรตรัสตามความเป็นจริง ดังจะเห็นได้ว่าตามที่บรรดาท่านพุทธบริษัทชาย และหญิงอาจจะเคยได้ยินเสมอว่า
    ในสมัยครั้งหนึ่ง สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเกิดเป็น พญาเหี้ย แต่ความจริงจะเรียกว่าเหี้ยเฉยๆ ก็ได้แต่ว่าถ้าเหี้ยพระโพธิสัตว์เขาเรียกพญาเหี้ย ที่เรียกว่าพญาเหี้ยก็เพราะว่า มีความฉลาดกว่าเหี้ยธรรมดา ถึงแม้ว่าจะเป็นสัตว์ก็จะมีความเลื่อมใสในพระพุทธศาสนา ในวันหนึ่งเทวทัตในสมัยนั้นบวชเป็นดาบส พระพุทธเจ้าเป็นเหี้ย ก็ไปจำพรรษาเจริญสมณธรรมอยู่ใกล้ๆ กับโพรงไม้ที่พญาเหี้ยอยู่ สมเด็จพระบรมครูในเวลานั้นเป็นเหี้ยก็จริงแหล่ แต่ทว่าใจเป็นคน ถึงแม้ว่าสัตว์ทุกตัวก็มีสภาพเช่นเดียวกัน จะคิดว่ามีใจเหมือนคนเฉพาะพระโพธิสัตว์น่ะไม่ได้ สัตว์ทุกประเภทอย่าลืมว่าจิตใจก็คือจิตใจคนจะถือว่าอยู่ในอบายภูมิ เพราะกรรมชั่วบังคับให้มีสภาพอยู่ในสภาพของสัตว์ย่อมมีความปรารถนาไม่สมหวัง เป็นทุกข์เพราะเขาลงโทษจากการกระทำความชั่วมาก่อน สำหรับพญาเหี้ยพอออกจากโพรง ออกมาเห็นท่านดาบสห่ม จีวรสีรักนั่งหลับตาก็มีความเลื่อมใสว่าท่านผู้นี้มีกำลังใจสูง บำเพ็ญพรตปรากฏเพื่อความบริสุทธิ์ของจิต ฉะนั้น เหี้ยเมื่อเวลาจะไปหากินก็เดินย้อนมาที่ดาบสก่อนมาถึงตรงข้างหน้าแล้วก้มศีรษะลงกับพื้น 3 ครั้งเป็นการแสดงความเคารพต่อผ้ากาสาวพัสตร์ หลังจากนั้นหน่อพระบรมวงศ์โพธิสัตว์จึงได้ไป เวลาจะกลับเข้าที่อยู่ไซร้ก็ทำเช่นนี้เหมือนกัน ทำอย่างนี้อยู่หลายวัน ปรากฏว่า ในกาลนั้นในวันต่อมา ดาบสผู้ทรงผ้ากาสาวพัสตร์ แต่ว่ามีใจเลวกว่าสัตว์ คือ พระเทวทัต เกิดมีความรู้สึกว่าเราอยู่ในป่านี้ กินแต่หัวเผือกหัวมัน ลูกไม้ ใบไม้ หรือรากไม้ อาหาร ที่มีรสอร่อยไม่ปรากฏกับตนเองเลย เพราะว่าเจ้าเหี้ยตัวนี้มันอ้วนดี ถ้าเราได้กินจะมีรสอร่อยมาก ฉะนั้นเวลาตอนกลางวันที่เหี้ยยังไม่กลับมาจากการหากิน ดาบสทรชนคนนั้นก็ไปเก็บเอาเครื่องเทศเครื่องแกง เอาเครื่องแกงมาเก็บห่อเข้าไว้ เอาไว้ใกล้ๆ วันรุ่งขึ้นเช้าก่อนพญาเหี้ยจะออกมา ก็นั่งหลับตาเข้าสมาธิ แต่ว่าเอากระบองไว้ในจีวร เอามือกุมไว้ใกล้ ตั้งใจว่าวันนี้ถ้าเจ้าเหี้ยตัวนี้มาหมอบก้มหัวต่อหน้าเราเมื่อไร เราจะตีให้มันตายแล้วก็จะแกงกิน ก็เป็นการบังเอิญอย่างยิ่ง ขึ้นชื่อว่าพระโพธิสัตว์จะเกิดเป็นอะไรก็มีความฉลาด ฉะนั้นในเวลาตอนเช้า องค์สมเด็จพระบรมโลกนาถ ซึ่งเป็นพญาเหี้ยโผล่ศีรษะออกมาจากโพรง ตั้งใจจะเข้าไปนมัสการดาบสทรยศคนนั้น แต่ว่าสมเด็จพระทรงธรรมซึ่งเป็นพญาเหี้ยมองไปแล้ว เห็นตาของดาบสหลับไม่สนิทเหมือนวันก่อน สมเด็จพระชินวรจึงได้มาคิดว่า ดาบสคนนี้น่าจะมีการทุจริตคิดมิชอบ มองแล้วไม่น่าไว้ใจ ก็ผลุบหัวเข้าไปในโพรงใหม่ สำหรับเทวทัตกำลังหรี่ตาจ้องมองอยู่ เห็นสมเด็จพระบรมครูไม่โผล่หัวออกมา ก็นึกในใจว่าเจ้าเหี้ยตัวนี้ระยำ ไม่ออกมาตามเคย แต่ก็ไม่เป็นไรเดี๋ยวมันก็มา ก็ทำท่าหลับตาไม่สนิทตามแบบนั้นพอวาระที่ 2 สมเด็จพระทรงธรรมก็โผล่มาจากโพรงอีก ก็เห็นตาเทวทัตหลับไม่สนิทอีกก็ผลุบเข้าไปใหม่ ทีนี้ดาบสเทวทัตเจ็บใจ คิดว่าไอ้เจ้าเหี้ยตัวนี้น่ากลัวมันจะรู้ว่ากูจะฆ่ามัน พอออกมาคราวนี้ไม่ทันที่มันจะผลุบเข้าไป จะคว้าไม้ขว้างกบาลให้มันตาย เราจะกินเนื้อมัน ก็เป็นการพอดีที่องค์สมเด็จพระทรงธรรมเป็นพญาเหี้ย โผล่ศีรษะมาเป็นวาระที่ 3 จ้องมองพระเทวทัตเห็นหลับตาไม่สนิท พอสมเด็จพระธรรมสามิสรจะผลุบศีรษะเข้า เทวทัตก็คว้าไม้ขว้างไปทันที แต่ด้วยความไวของสมเด็จพระชินสีห์ เทวทัตข้างไม่ถูก เผอิญโพรงไม้มันอยู่ใกล้แม่น้ำพอเทวทัตเอาไม้ขว้างไป สมเด็จพระจอมไตรหลบมันก็ไม่ถูก ท่านจึงได้โผล่หัวออกมา ท่านกล่าวว่า
     
  9. ขันธ์

    ขันธ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    7,917
    ค่าพลัง:
    +9,182
    จริงๆแล้วเรื่อง พระนิพพานนี่ ลึกซึ้งที่สุด ถ้าคนสงสัยแล้วไม่เคยปฏิบัตนี้อธิบายไม่ได้เลยหละ มันเหมือนกับ เด็กคนหนึ่งอายุ 3 ขวบได้ยินคำว่า แคลคูลัส ซึ่งเป็นคณิตศาสตร์ชั้นสูง ก็ไปถามพ่อว่า พ่อๆ แคลคูลัสนี่มันคืออะไรมันเป็นยังไง
    พ่อก็ไม่รู้จะตอบยังไงเลยหละ ทางง่ายที่สุดที่จะให้เด็กเลิกสงสัยก็คือ มันก็เหมือน 1+2+3+4 แหละลูก
    ก็เปรียบเหมือนการที่ เราได้ยินได้ฟังจากพระอริยะว่า นิพพาน คือ สุขอย่างยิ่ง หรือ จากพุทธพจน์ว่า นิพพานัง ปรมัง สุข หรือ สุญญัง พระพุทธองค์และ พระอริยะท่านไม่รู้จะอธิบายอย่างไร มันเกินจินตนาการของมนุษย์ ไม่สามารถเทียบตรรกะใดๆ จากประสบการณ์บนโลกได้
    ก็ไม่รู้จะพูดยังไง ชาวพุทธเราไม่ควรสนใจว่านิพพาน เป็นอย่างไร แต่ควรสนใจว่า วันนี้กิเลสเราน้อยลงหรือไม่
    หน้าตากิเลส ในใจหยาบละเอียดนี้ เราจะสังเกตุมันได้อย่างไร ละอย่างไร พอจิตละเอียดขึ้น กิเลสเบาไป พระนิพพานจะค่อยๆ ปรากฎเอง ไม่ต้องไปหา มันปรากฎต่อหน้านี้แหละ
     
  10. Little yoda

    Little yoda เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 สิงหาคม 2007
    โพสต์:
    530
    ค่าพลัง:
    +2,453
    สำหรับแบบที่ 1 นี่ชื่อว่าง่ายแต่ทำยาก คือ ปฏิบัติแล้วไม่เห็นอะไร เหมือนคนเอาผ้าดำผูกตาเดิน ถ้าจะกล่าวกันไปก็เหมือนกับที่บรรดาท่านพุทธบริษัททั้งหลายทำกันอยู่เวลานี้ ถ้าไม่เลิกก็ถึงนิพพานเหมือนกัน ก็ได้แก่

    1. ทาน 2. ศีล 3. ภาวนา ทำใจแบบสบายสบาย
    เพราะว่ากิเลส 3 ประการนี้ถ้าตัดได้เมื่อไรก็ถึงนิพพานเมื่อนั้น
    ทาน การให้ ที่บรรดาท่านพุทธบริษัททั้งหลายถวายกับพระก็ดี ให้แก่คนยากจนก็ดี ให้แก่คนที่มีความลำบากก็ดี ให้แก่สัตว์เดรัจฉานก็ดี ก็ชื่อว่าเป็นทาน และการให้ทาน ถ้ามีความมุ่งหมายอย่างอื่น จะพลาดจากนิพพานไปนิดหนึ่ง
    แต่ก็ไม่มากนักถ้าจิตใจของบรรดาท่านพุทธบริษัท ตั้งใจโดยเฉพาะเพื่อตัดกิเลสให้เป็นสมุจเฉทปหาน คิดว่าการให้ทานตัวนี้เราให้เพื่อตัดโลภะ ความโลภที่อยู่ในจิตของเรา มันเป็นสิ่งสกปรก เราให้ไปไม่หวังผลตอบแทนใดๆ ในชาติปัจจุบัน

    สำหรับท่านผู้รับ เขาจะนำไปใช้ เขาจะนำไปทิ้งมันเป็นเรื่องของเขา แต่กำลังใจของเราตัดเยื่อใยในความผูกพันในทรัพย์สมบัติเกินไป ไม่ให้มีในจิต
    อย่างนี้สมเด็จพระธรรมสามิสตรัสว่า ชื่อว่า การชนะความโลภ เป็นการตัดกิเลสตัวสำคัญ ตัดรากเหง้าได้รากหนึ่ง

    ศีลมัย บุญสำเร็จด้วยการรักษาศีล การรักษาศีลนั้นถ้าจะว่ากันตามประเพณีก็ประโยชน์น้อยเต็มที ถ้าจะรักษากันได้จริงๆ ละก็จะต้องรู้พื้นฐานของศีล พื้นฐานที่เราจะมีศีลได้น่ะมีอะไรอยู่บ้าง จับตัวนี้ให้มันอยู่เพราะศีลเป็นตัวตัดโทสะ ความโกรธ คือตัดกิเลสตัวที่ 2

    ถ้าสักแต่ว่าสมาทานมันก็ไม่ต่างกับนกแก้วนกขุนทองที่เขาสอนพูด ประโยชน์มันมีเหมือนกันแต่ไม่ได้ 1 ใน 100 ถ้ารักษากันให้ดีละก็ไปนิพพานได้ จงจำได้ว่าศีลที่จะมีขึ้นกับใจได้ต้องอาศัยเหตุ 3 ประการ คือ

    1. เมตตา ความรัก

    2. ความกรุณา ความสงสาร

    3. สันโดษ ยินดีเฉพาะของที่เรามีอยู่โดยเฉพาะ

    หมายความว่า ของที่เราหามาได้เองโดยชอบธรรมนั่นเรายินดี เราไม่ยินดีในทรัพย์สินของคนอื่นที่เราจะลักจะขโมย
    รวมความว่าการรักษาศีลน่ะ ศีลจะทรงอยู่ได้จริงๆ ไม่ใช่สักแต่ว่ารักษาต้องมี

    1. เมตตา ความรัก จิตคิดไว้เสมอว่าเราจะเป็นมิตรที่ดีของคน และสัตว์ทั่วโลก จะไม่เป็นเวรเป็นภัยกับใคร จะไม่เป็นศัตรูกับใคร

    จะคบหาสมาคมกับบุคคลอื่นเหมือนคบหาตัวเอง เราจะรักคนอื่นเหมือนกับเรารักตัวเราเอง เวรภัยมันก็ไม่มี

    ประการที่ 2 จิตคิดสงสารหวังจะเกื้อกูลให้มีความสุข คิดว่าถ้าเราสงสารตัวเราเท่าไร เราก็สงสารเขาเท่านั้น เว้นไว้แต่เรื่องผิดระเบียบวินัยประเพณี ก็ต้องลงโทษกันตามระเบียบ ประเพณี

    อย่างพระพุทธเจ้าทรงลงโทษพระ เพราะความเมตตาปรานี เกรงว่าจะเลวไปกว่านั้น อันนี้เขาไม่ถือว่าเป็นความโกรธ

    และข้อที่ 3 สันโดษ ยินดีเฉพาะทรัพย์สินที่เรามีอยู่โดยชอบธรรม และยินดีเฉพาะคนรักที่เรามีอยู่โดยชอบธรรม ไม่ล่วงเกินคนรักของบุคคลอื่น
    การรักษาศีล ถ้าบรรดาท่านพุทธบริษัทรักษาศีลด้วยเหตุ 3 ประการอย่างนี้ โทสะความโกรธมันก็ลดลง เพราะว่าทุกวันเมื่อเราตื่นขึ้นมา เราก็ตั้งใจเว้นความโกรธอยู่แล้ว

    ความรักเป็นการตัดความโกรธ ความสงสารเป็นการตัดความโกรธ ความสันโดษเป็นเหตุตัดความเดือดร้อนจากความโกรธของบุคคลอื่น
    การรักษาศีลได้ดีองค์สมเด็จพระชินสีห์กล่าวว่า

    ค่อยๆ รักษาไปเรื่อยๆ ทำใจสบายๆ กิเลสคือความโกรธก็ค่อยๆ ลดไปในที่สุดมันก็จะหมดไปเอง เป็นการปฏิบัติด้านสุกขวิปัสสโก

    3. ภาวนามัย ที่องค์สมเด็จพระจอมไตรตรัสว่าเป็นเรื่องของภาวนา ด้านสุกขวิปัสสโก นี้มีฌานเบื้องต้นไม่สูง เริ่มใช้อารมณ์พิจารณาตั้งแต่ขณิกสมาธิ คือยามปกติเราให้ทานก็คิดว่า

    คนที่เราให้ทานทุกคน เมื่อเขารับทานมาแล้วเขาก็มีความสุขในการบริโภคทาน
    แต่ว่าเราผู้ให้ทานก็ดี เขาผู้รับทานก็ดี คนทั้งหลายทั้งหมดนี้ไม่อยู่ตลอดกาลตลอดสมัยเกิดขึ้นเมื่อไรค่อยๆ เสื่อมไปทุกวันๆ ในที่สุดก็ตายเหมือนกัน ผู้ให้ทานก็ตาย ผู้รับทานก็ตายแต่ว่าเกิดขึ้นมาชีวิตอย่างนี้พระพุทธเจ้ากล่าวว่า
    ชาติ ปิ ทุกขา ความเกิดเป็นทุกข์ เราเกิดมาเราต้องทำมาหากิน ต้องบริหาร แล้วก็มีความหิว ความกระหาย ปวดอุจาระ ปวดปัสสาวะ มีความหนาว ความร้อนเกินไป อาการทั้งหมดนี้มันเป็นทุกข์ เราผู้ให้ทานก็ทุกข์ ผู้รับทานก็ทุกข์ ไม่มีใครที่มีความสุข เมื่อความแก่เข้ามาถึงเราก็ทุกข์ ความป่วยไข้ไม่สบายเข้ามาเราก็ทุกข์ มีความปรารถนาไม่สมหวังเข้ามาก็ทุกข์ การพลัดพรากจากของรักของชอบใจเข้ามาถึงเราก็ทุกข์ ความตายจะเข้ามาถึงมันก็ทุกข์

    รวมความว่าเรากับเขาต่างคนต่างมีทุกข์ เรากับเขาต่างคนต่างไม่มีความจีรังยั่งยืน เรากับเขาต่างคนต่างตาย จะเป็นคนก็ดี จะเป็นสัตว์ก็ดี วัตถุธาตุก็ดี ในโลกนี้ไม่มีอะไรเหลือ นี้เป็นด้านวิปัสสนาญาณควบสมถะ ของสุกขวิปัสสโก และต่อไปถ้าจิตคิดอีกว่า ถ้าเรายังหวังความเกิดเป็นมนุษย์ก็ดีเป็นเทวดาก็ดีพรหมก็ดี เราก็ต้องเวียนว่ายตายเกิดอย่างนี้หาที่สิ้นสุดไม่ได้ ฉะนั้นองค์สมเด็จพระจอมไตรบรมศาสดาจึงตรัสว่า

    สถานที่พระนิพพานเป็นแดนที่มั่นคงเป็นแดนอมตะ เรายอมเชื่อพระ ทำจิตให้หลุดพ้นจากกิเลสเป็นสมุจเฉทปหาน คือทำลายความโลภด้วยการให้ทาน ทำลายความโกรธด้วยศีล คือมีเมตตาปรานีเป็นที่ตั้ง ทำลายความหลงด้วยปัญญา ให้เห็นจริงว่าโลกนี้ไม่เที่ยง ผู้ที่เกิดมาแล้วก็ไม่เที่ยงเป็นทุกข์ เป็นอนัตตา

    ในที่สุดกระทั่งจิตของเรานี้ก็ปลอดปราศจากกิเลสทั้ง 3 ประการ คือ โลภะ ความโลภ ไม่มี โทสะความโกรธไม่มี โมหะความหลงไม่มี อย่างนี้ชื่อว่าเป็น
     
  11. หนุมาน ผู้นำสาร

    หนุมาน ผู้นำสาร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    13,706
    ค่าพลัง:
    +51,936
    *** หลัก หลุดพ้น พระนิพพาน ****

    แรงโน้มถ่วง...คือ แรงดึงดูด
    คือ สัญญา....คือ พันธะ

    หลุดพ้น...คือ ไร้แรงโน้มถ่วง
    ไร้แรงดึงดูด....คือ หมดความผูกพัน
    หมดสัญญา...หมดพันธะ


    .......วิธีหลุดพ้น สู่พระนิพพาน
     
  12. เฮียปอ ตำมะลัง

    เฮียปอ ตำมะลัง ทุกสิ่งจบสิ้นลงด้วยความตาย วุ่นวายทำไม ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 มีนาคม 2007
    โพสต์:
    24,969
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +91,130

    คนเดินดินแบบเรา ๆ ท่าน ๆไม่รู้ว่าจะได้ไปนิพพานเมื่อไร

    อย่างน้อยภพหน้าก็ขอปฎิบัติธรรมต่อก็แล้วกัน
     
  13. telwada

    telwada เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กันยายน 2004
    โพสต์:
    1,509
    ค่าพลัง:
    +1,817
    เขาเรียกว่า"อวดอุตริมนุษยธรรม" คือสอนธรรมะที่ไม่มีในตน ในทางพุทธศาสนาเขาเรียกว่า
    "คนลวงโลก"
     
  14. อิศรางกูร

    อิศรางกูร Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    15
    ค่าพลัง:
    +67
    คนที่จะสามารถรู้เกี่ยวกับนิพพานได้ มีเพียงคนที่นิพพานไปแล้วเท่านั้นจะรู้ได้ เพราะเหตุว่าเป็นเรื่องไกลเกินตัว ส่วนสิ่งที่พูดมานั้นคุณรู้ได้อย่างไร เพราะคนที่นิพพานไปแล้วไม่สามารถมาเล่าให้ฟังได้หรอก และอีกอย่างการที่นิพพาน คือไม่มีตัวตนอีกต่อไป จึงไม่มีจิต เพราะจิตจะเกิดดับตลอดเวลาเป็นสภาพธรรมมะชนิดหนึ่ง แล้วคุณบอกว่ามีจิตที่สดใสบริสุทธิ์ได้อย่างไร
     
  15. karain

    karain เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 กันยายน 2006
    โพสต์:
    638
    ค่าพลัง:
    +707
    อย่างเราๆท่านๆคงไม่สามารถหลุดพ้นไปได้ง่ายๆหรอก
     
  16. deelek

    deelek เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 มิถุนายน 2009
    โพสต์:
    6,696
    ค่าพลัง:
    +16,255
    <TABLE borderColorDark=#e7af54 width=217 align=center borderColorLight=#907005 border=6><TBODY><TR><TD vAlign=center align=middle width=199 height=113>
    [​IMG]
    </TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE width="100%" align=center border=0><TBODY><TR><TD vAlign=bottom align=left width=358 height=67>[​IMG]สารบัญ
    </TD><TD width=510 height=67></TD><TD vAlign=bottom align=right width=355 height=67>
    [​IMG]คลิกขวาเมนู
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    “ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความกำจัดราคะ ความกำจัดโทสะ ความกำจัดโมหะ นี้เป็นชื่อแห่งนิพพานธาตุ
    ความสิ้นราคะ ความสิ้นโทสะ ความสิ้นโมหะ นี้เรียกว่า อมตภาพ......"
    ภิกขุสูตร ที่ ๒ มหา. สํ. (๓๑-๓๒)
    แม้ยังไม่ถึงซึ่งพระนิพพาน แต่เมื่อมีความเข้าใจอย่างถูกต้องดีงาม ก็จักยังให้บรรลุผลด้วยการปฏิบัติอย่างถูกต้องดีงามในที่สุดนั่นเอง
    [FONT=Tahoma,MS Sans Serif]นิพพาน[/FONT] ตามความหมายของท่านพุทธทาสภิกขุ ในหัวข้อเรื่อง หลักธรรมสําคัญในพุทธศาสนา หน้า๑๘๔ ท่านได้ให้ความหมายที่กระจ่างชัดถูกต้องดีงาม จึงขอกราบอาราธนานำมาแสดงไว้ดังนี้
    "[FONT=Tahoma,MS Sans Serif]นิพพาน[/FONT] หมายถึง เย็นหรือดับลง เย็นเหมือนไฟที่เย็นลง หรือของร้อนๆอะไรก็ตามมันเย็นลง นั่นแหละคืออาการที่นิพพานล่ะ......เพราะฉนั้นคําว่านิพพานนั้นที่เป็นภาษาชาวบ้านแท้ๆ มันหมายถึงของที่ร้อนให้เย็นลงเท่านั้น แต่แล้วเราจะหมายความเพียงเท่านั้นไม่ได้ นั่นมันเป็นเรื่องของวัตถุ ส่วนนิพพานในเรื่องของธรรมะหรือทางศาสนามันหมายถึง เย็นลงแห่งไฟกิเลส ไฟกิเลสคือ ราคะ โทสะ โมหะ จนเย็นสนิท จึงจะเรียกว่านิพพาน."
    ดังนั้นก่อนอื่น จึงควรทำความเข้าใจในพระนิพพานอย่างถูกต้องดีงามเสียก่อนว่า เป็นสภาวะที่ดับกิเลสหรือกองทุกข์ หรือกล่าวเน้นลงไปได้ว่า สภาวะที่ปราศจากอุปาทานทุกข์คือความทุกข์ชนิดที่ประกอบด้วยอุปาทานอันทำให้เร่าร้อนเผาลนด้วยเวทนูปาทานขันธ์(เวทนาที่ประกอบด้วยอุปาทาน จึงไม่ใช่ทุกขเวทนาโดยธรรมหรือธรรมชาติ แต่เป็นทุกขเวทนาหรือความรู้สึกเป็นทุกข์อย่างเร่าร้อนเผาลนด้วยอุปาทาน) อันเกิดขึ้นเนื่องแต่อาสวะกิเลส,ตัณหา,อุปาทานนั่นเอง, เมื่อดับกิเลสจึงเป็นเหตุปัจจัยให้เกิดความสุข สงบ สงัด อันบริสุทธิ์ยิ่ง ส่วนผลอื่นๆเป็นเพียงผลข้างเคียงอันอาจพึงบังเกิดขึ้นเท่านั้นเอง
    อนึ่งการจะเข้าใจพระนิพพานธรรมได้อย่างแจ่มแจ้งนั้น ต้องมีความเข้าใจในพระไตรลักษณ์เสียก่อน
    [FONT=Tahoma,MS Sans Serif]ตามกฎพระไตรลักษณ์ มีพุทธพจน์ ที่ตรัสแสดงไว้ว่า[/FONT]
    <TABLE style="MARGIN-TOP: 3mm; MARGIN-BOTTOM: 3mm; FONT-FAMILY: 'MS Sans Serif'" width=626 align=center border=0><TBODY><TR><TD align=left width=215 height=38>สพฺเพ สงฺขารา อนิจฺจา</TD><TD align=left width=114 height=38>สังขารทั้งปวง
    </TD><TD align=left width=124 height=38>ไม่เที่ยง
    </TD><TD align=left width=155 height=38>(อนิจจัง - อนิจจตา)
    </TD></TR><TR><TD align=left width=215 height=38>สพฺเพ สงฺขารา ทุกฺขา</TD><TD align=left width=114 height=38>สังขารทั้งปวง
    </TD><TD align=left width=124 height=38>คงทนอยู่ไม่ได้
    </TD><TD align=left width=155 height=38>(ทุกขัง- ทุกขตา)
    </TD></TR><TR><TD align=left width=215 height=40>สพฺเพ ธมฺมา อนตฺตา</TD><TD align=left width=114 height=40>ธรรมทั้งปวง
    </TD><TD align=left width=124 height=40>ไม่เป็นตัวตน
    </TD><TD align=left width=155 height=40>(อนัตตา- อนัตตตา)
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    [FONT=Tahoma,MS Sans Serif] [/FONT][FONT=Tahoma,MS Sans Serif]สังขาร[/FONT] [FONT=Tahoma,MS Sans Serif]สิ่งที่เกิดแต่เหตุปัจจัยปรุงแต่ง ในไตรลักษณ์จึงหมายรวมถึงทุกสรรพสิ่ง ทั้งรูปธรรม, นามธรรม, กุศลธรรม, อกุศลธรรม, ทั้งโลกียธรรม และโลกุตรธรรม ขันธ์ ๕ ฯลฯ. อันล้วนแต่เกิดแต่เหตุปัจจัยทั้งสิ้น ยกเว้นเพียง สภาวธรรมหรือสภาวธรรมชาติหรือ[/FONT][FONT=Tahoma,MS Sans Serif]ธรรมชาติ[/FONT][FONT=Tahoma,MS Sans Serif] ดังได้กล่าวไว้โดยละเอียดแล้วในพระไตรลักษณ์หรือธรรมนิยาม ดังมี "[/FONT][FONT=Tahoma,MS Sans Serif]พระนิพพาน[/FONT][FONT=Tahoma,MS Sans Serif]" อันเป็น"[/FONT][FONT=Tahoma,MS Sans Serif]สภาวธรรม[/FONT][FONT=Tahoma,MS Sans Serif]"อย่างหนึ่งที่เรียกว่าเป็น[/FONT][FONT=Tahoma,MS Sans Serif]อสังขตธรรม[/FONT] คือสิ่งที่ไม่มีปัจจัยไปปรุงแต่ง, หรือ[FONT=Tahoma,MS Sans Serif]สิ่งที่มิได้เกิดแต่เหตุปัจจัยใดๆไปปรุงแต่ง[/FONT][FONT=Tahoma,MS Sans Serif]นั่นเอง[/FONT] หรือก็คือสภาวธรรมหรือธรรมชาติทั้งหลายนั่นเอง
    [FONT=Tahoma,MS Sans Serif] [/FONT][FONT=Tahoma,MS Sans Serif]ธรรม[/FONT] ในพระไตรลักษณ์ หมายถึงสภาวธรรมหรือธรรมชาติอันครอบคลุมทุกๆสรรพสิ่ง อันย่อมหมายรวม[FONT=Tahoma,MS Sans Serif]พระนิพพาน[/FONT][FONT=Tahoma,MS Sans Serif]ด้วย[/FONT] ดังกล่าวข้างต้น
    [FONT=Tahoma,MS Sans Serif]ขยายความ[/FONT][FONT=Tahoma,MS Sans Serif]พระไตรลักษณ์[/FONT][FONT=Tahoma,MS Sans Serif]โดยย่อ เพื่อความเข้าใจในพระนิพพาน[/FONT]
    [FONT=Tahoma,MS Sans Serif] [/FONT][FONT=Tahoma,MS Sans Serif]๑. [/FONT][FONT=Tahoma,MS Sans Serif]อนิจจตา[/FONT] ความไม่เที่ยง แปรปรวน ผันแปร ไม่คงที่ ไม่ยั่งยืน ภาวะที่เกิดแล้วต้องเสื่อมหรือแปรปรวนไป
    [FONT=Tahoma,MS Sans Serif] ดังนั้นสังขารทั้งปวง ไม่เที่ยง จึงหมายถึง สังขารสิ่งที่ถูกปรุงแต่งขึ้นอันล้วนเกิดแต่[/FONT][FONT=Tahoma,MS Sans Serif]เหตุปัจจัย[/FONT] จึงล้วนไม่เที่ยง มีการผันแปร ปรวนแปรเป็นอาการธรรมดาไปตาม[FONT=Tahoma,MS Sans Serif]เหตุปัจจัย[/FONT][FONT=Tahoma,MS Sans Serif]ที่มาประชุมรวมกันนั้น ไม่สามารถควบคุมบังคับให้เป็นไปตามใจปรารถนาได้อย่างแท้จริง[/FONT] การควบคุมบังคับได้บ้างไม่ได้บ้าง ไม่ถือว่าควบคุมบังคับได้อย่างแท้จริง
    [FONT=Tahoma,MS Sans Serif] [/FONT][FONT=Tahoma,MS Sans Serif] ๒. [/FONT][FONT=Tahoma,MS Sans Serif]ทุกขตา[/FONT] ความทนอยู่ไม่ได้ เป็นสภาวะที่สุดของการแปรปรวน กล่าวคือ ต้องสลายตัวดับไปเป็นที่สุด, เป็นภาวะที่เกิดจากการถูกบีบคั้นจํายอมจากสภาวะของอนิจจตาที่แปรปรวนเป็นธรรมดาอยู่ตลอดเวลาที่เกิดขึ้น มองไม่ออกให้พิจารณาอะตอมที่มีอิเลคตรอนวิ่งรอบๆอย่างแปรปรวนอยู่ตลอดเวลา จนดับไปเป็นที่สุด
    อันเนื่องจากเกิดแต่เหตุปัจจัยต่างๆหลากหลายมาประชุมกัน แต่ก็ไม่ใช่สิ่งๆเดียวกันอย่างแท้จริงนั่นเอง จึงมีความไม่สมบูรณ์แอบแฝงอยู่ จึงต้องแปรปวน และจนดับไปเช่นนี้เป็นธรรมดา เป็นสภาวธรรมหรือกฎธรรมชาติหรืออสังขตธรรม อันมีความเที่ยงและคงทนต่อทุกกาล(อย่าสับสนกับสังขาร ที่ไม่เที่ยง คงทนอยู่ไม่ได้)
    [FONT=Tahoma,MS Sans Serif] ความแปรปรวนและการดับไปเหล่านั้น จึงเป็นเหตุปัจจัยที่ทำให้เกิดเป็น[/FONT][FONT=Tahoma,MS Sans Serif]อุปาทานทุกข์[/FONT][FONT=Tahoma,MS Sans Serif]แก่ผู้เข้าไป[/FONT][FONT=Tahoma,MS Sans Serif]อยากด้วยตัณหา[/FONT] จึงไป[FONT=Tahoma,MS Sans Serif]ยึดด้วยอุปาทาน[/FONT][FONT=Tahoma,MS Sans Serif]ตามความพึงพอใจ[/FONT]ของตัวของตน
    [FONT=Tahoma,MS Sans Serif] ดังนั้น สังขารทั้งปวง เป็นทุกข์ จึงหมายถึง สังขารหรือสิ่งที่ถูกปรุงแต่ง หรือมีการปรุงแต่งขึ้น อันล้วนเกิดแต่เหตุต่างๆมาเป็นปัจจัยกัน จึงไม่เที่ยง จึงทนอยู่ไม่ได้ ต้องดับไปในที่สุด ไม่สามารถควบคุมบังคับบัญชาได้อย่างแท้จริง, สังขารทั้งหลายจึงเป็นทุกข์ถ้าไปอยากหรือไปยึดเพราะไม่สามารถควบคุมบังคับบัญชาได้ตามใจปรารถนาอย่างแท้จริง[/FONT]
    [FONT=Tahoma,MS Sans Serif] [/FONT][FONT=Tahoma,MS Sans Serif]๓. [/FONT][FONT=Tahoma,MS Sans Serif]อนัตตตา[/FONT] ธรรม หรือสภาวธรรม หรือสภาวธรรมชาติทั้งหลายล้วนไม่มีตัวไม่มีตนที่เป็นแก่นแกนถาวรอย่างแท้จริง และยังครอบคลุมถึงสังขารทั้งหลายทั้งปวงด้วย เพราะในบางขณะนั้นถึงจะมีตัวตนก็จริงอยู่ แต่ตัวตนที่เห็นหรือสัมผัสล้วนเกิดแต่เหตุมาเป็นปัจจัย อันไม่เที่ยงมาประชุมกันชั่วขณะระยะหนึ่งเท่านั้น จึงย่อมต้องแปรปรวนจนคงอยู่ไม่ได้ตลอดไป ดังเพราะว่าเกิดแต่เหตุปัจจัย ดังนั้นจึงต้องแปรปรวนและดับไปตามเหล่าเหตุปัจจัยนั้น [FONT=Tahoma,MS Sans Serif]ตัวตนที่ถึงแม้มีอยู่ขณะนั้นก็จริงอยู่จึงต้องดับไปในที่สุด ไม่เป็นแก่นแกนอย่างแท้จริงถาวรตลอดไป[/FONT]
    [FONT=Tahoma,MS Sans Serif] ดังนั้นธรรมทั้งปวง เป็นอนัตตตา[/FONT] [FONT=Tahoma,MS Sans Serif]จึงหมายถึง ธรรมหรือสิ่งทั้งหลายทั้งปวงซึ่งหมายครอบคลุมทุกๆสรรพสิ่งโดยไม่มีข้อยกเว้น ว่าโดยตามความจริงขั้นสูงสุดแล้ว([/FONT][FONT=Tahoma,MS Sans Serif]ปรมัตถ์[/FONT][FONT=Tahoma,MS Sans Serif]) ไม่มีตัวไม่มีตนที่เป็นแก่นแท้ๆ [/FONT] ถ้ามีตัวตนที่เห็นได้ หรือผัสสะได้ด้วยอายตนะใดๆก็ตามทีนั้น ล้วนเป็นเพียงมวลรวมหรือ[FONT=Tahoma,MS Sans Serif]มายา[/FONT][FONT=Tahoma,MS Sans Serif]ที่ประกอบขึ้นจากองค์ประกอบของเหล่าเหตุต่างๆที่มาเป็นปัจจัยหรือประชุมปรุงแต่งกันนั่นเอง[/FONT] จึงล้วนขึ้นหรืออิงอยู่กับเหตุปัจจัย ไม่ขึ้นอยู่กับตัวตน, นิพพานหรือสภาวธรรมชาติทั้งหลายอันเป็นอสังขตธรรม ที่ไม่มีเหตุปัจจัยมาปรุงแต่ง แต่ก็ล้วนเป็นอนัตตาเป็นเพียงสภาวธรรม (อ่านรายละเอียดใน[FONT=Tahoma,MS Sans Serif]อนัตตา[/FONT] ที่แจงสภาพทั้งที่มีตัวตนและไม่มีตัวตนเช่นนิพพานไว้โดยละเอียดถึงที่สุด) กล่าวคือเป็นเพียงสภาวะธรรม แต่ยังไม่เกิดปรากฏการณ์เป็นตัวเป็นตนเป็นเหตุปัจจัยปรุงแต่งกันขึ้น
    [FONT=Tahoma,MS Sans Serif] ธรรมทั้งหลาย เป็นอนัตตา จึงหมายครอบคลุมถึงทุกสรรพสิ่งใน[/FONT][FONT=Tahoma,MS Sans Serif]อนันตจักรวาล[/FONT][FONT=Tahoma,MS Sans Serif]ล้วนเป็นอนัตตาโดยไม่มีข้อยกเว้นใดๆ ทั้งสิ้น[/FONT]
    [FONT=Tahoma,MS Sans Serif] "พระนิพพาน" เป็นอสังขตธรรมหรือสภาวธรรม จึงไม่เป็นอนิจจตาและไม่เป็นทุกขตา(เพราะท่านหมายเฉพาะสังขาร) แต่เป็นอนัตตา(เพราะเป็นธรรมอย่างหนึ่งหรือสภาวธรรมอย่างหนึ่ง), และมีการกล่าวไว้อย่างชัดเจนดังคํากล่าวที่ได้ยินกันเสมอๆว่า[/FONT]
    [FONT=Tahoma,MS Sans Serif]นิพพานเป็นอนัตตา[/FONT]
    นิพพาน ก็คือ สภาวะนิโรธ ที่แปลว่าการดับทุกข์ คือสภาวะที่ไม่คับแค้น ไม่ข้องขัดใจ หรือสภาพที่ไม่เร่าร้อน เผาลน กระวนกระวาย อันล้วนเนื่องมาจากไฟของ โมหะ โลภะ โทสะ หรือถ้าพิจารณาในแนวทางปฏิจจสมุปบาท ก็คือ ไม่เร่าร้อนเผาลนด้วยไฟของกิเลส(อาสวะกิเลส) ตัณหา อุปาทาน อันยังให้เกิดอุปาทานขันธ์ ๕ ในชรา อันล้วนเป็นขันธ์ที่ล้วนประกอบคือร่วมด้วยอุปาทาน อันเป็นอุปาทานทุกข์หรือความทุกข์ที่เร่าร้อนเผาลนอย่างแท้จริง และสามารถดับความเร่าร้อนเหล่าใดเหล่านั้นได้ด้วยธรรมของพระองค์ท่านจริงๆ
    จากที่กล่าวว่า นิพพานเป็นธรรมชนิดอสังขตธรรมหรือสภาวธรรม(ธรรมชาติ)อันจริง แท้ แน่นอน จึงมีความเที่ยง และอกาลิโก, ถ้าไม่โยนิโสมนสิการโดยละเอียดและแยบคาย มักจะยังความสงสัยหรือวิจิกิจฉาในที่สุดว่า สภาวธรรมหรือสภาวธรรมชาติอื่นๆ ดังเช่น ฝนตก ฟ้าร้อง พระอาทิตย์ขึ้นและตก แม้แต่ธรรมะ ฯลฯ. ก็ไม่ล้วนวิเศษเป็นดั่งเช่นนิพพานหรือ? คือไม่ขึ้นอยู่กับอนิจจัง และทุกขัง ดังเช่นพระนิพพานหรือ? เพราะต่างก็ล้วนเป็นสภาวธรรมหรือธรรมชาติอันจริง แท้ แน่นอนทั้งนั้น! ความจริงแล้วอสังขตธรรมหรือธรรมชาติเหล่านั้นก็ล้วนเป็นอนัตตาเช่นกัน กล่าวคือปรากฏการณ์เหล่านั้นก็ยังคงมีอยู่เช่นนี้ตลอดกาลนาน ส่วนสังขาร(สิ่งที่ได้ถูกกระทำคือถูกปรุงถูกแต่งขึ้นแล้ว)ของสภาวธรรมหรือธรรมชาติทั้งหลายเหล่านั้น อันเกิดขึ้นล้วนแต่จากการปรุงแต่งของเหตุต่างๆที่มาเป็นปัจจัยกันนั่นเอง จึงถึงยังมีการเกิดๆดับๆคือไม่เที่ยง เกิดแล้วต้องดับไปอยู่ตลอดเวลา ลองพิจารณาพระอาทิตย์ขึ้น ฝนตก ลมพัด แม้แต่ธรรมคําสอนทั้งหลายทั้งปวง กล่าวคือสภาวธรรมทั้งหลายนั้นแม้ยังคงมีความจริง แท้ แน่นอน แต่ก็คงล้วนเป็นอนัตตาไม่มีตัวไม่มีตน ที่หมายถึง ไม่เป็นแก่นแกนแท้จริง เป็นเพียงสภาวธรรมหรือสภาวะแห่งธรรมชาติหรือยังไม่เกิดปรากฏการณ์เป็นตัวเป็นตนเป็นสังขารขึ้นนั่นเอง กล่าวคือยังไม่ได้เกิดการปรุงแต่งกัน ให้เป็นตัวตนเป็นก้อนเป็นมวลหรือสังขารขึ้น แต่เมื่อใดก็ตามที่ปรากฎขึ้นเป็นตัวเป็นตนหรือสังขาร คือการเกิดของสังขารขึ้นของสภาวธรรมที่กล่าวถึงนั้น หมายถึงเมื่อเป็นสังขารสิ่งปรุงแต่งแล้ว ดังเช่น ฝนที่กำลังตกลงมาเป็นเม็ดฝนให้เห็นหรือสัมผัสได้นั้น หมายถึงสภาวธรรมของฝนนั้นได้เกิดเป็นตัวตนเป็นสังขารขึ้นแล้ว จะเห็นว่าฝนนั้นเกิดขึ้นแต่มีเหตุต่างๆมาเป็นปัจจัยกัน อาทิเช่น นํ้า ความร้อนจากดวงอาทิตย์ การระเหย ฝุ่นละออง การรวมตัว อุณภูมิที่แตกต่างกัน การกลั่น แรงดึงดูดของโลก ฯลฯ. มีเหตุต่างๆเหล่านั้นมาเป็นปัจจัยกัน อันเมื่อเกิดเป็นปรากฎเป็นตัวตนจึงคือการเกิดของสังขารขึ้น จึงเป็นไปตามพระไตรลักษณ์ที่สังขารย่อมมีการเกิดๆดับๆเป็น อนิจจัง ทุกขัง, ลองโยนิโสมนสิการที่จุดนี้ เพราะยากแก่การเข้าใจ ยากต่อการบรรยายเป็นคำพูดภาษาสมมุติใดๆ พระอนัตตาจึงเป็นปัญหาที่ถกเถียงและเข้าใจได้ยากกันมาโดยตลอด (อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ในบท พระไตรลักษณ์ และอนัตตา)
    [FONT=Tahoma,MS Sans Serif] [/FONT]
    [FONT=Tahoma,MS Sans Serif] [/FONT][FONT=Tahoma,MS Sans Serif]จากคำจำกัดความดังกล่าวมา เรานำมากระทํา[/FONT][FONT=Tahoma,MS Sans Serif]ธัมมวิจยะ[/FONT] โดยการโยนิโสมนสิการ[FONT=Tahoma,MS Sans Serif]พิจารณาโดยละเอียดและแยบคายตามความเป็นจริงของธรรมนั้นๆ[/FONT]
    [FONT=Tahoma,MS Sans Serif] ในเมื่อนิพพานไม่เป็นอนิจจังเพราะไม่ใช่สังขาร - จึงแสดงได้ว่านิพพาน(อันเป็นสภาวธรรม)นั้นย่อมเที่ยง หรือก็คือไม่มีความปรวนแปรเป็นธรรมดาเหมือนสังขารที่เป็นไปตามกฎอนิจจังที่ว่า"สังขารหรือสิ่งใดเกิดแต่เหตุปัจจัยสิ่งนั้นไม่เที่ยง สิ่งใดไม่เที่ยง ล้วนมีความปรวนแปรเป็นธรรมดา" ดังนั้นถ้าเรา[/FONT]โยนิโสมนสิการ[FONT=Tahoma,MS Sans Serif]ก็จักเกิดญาณหยั่งรู้ว่า[/FONT]
    [FONT=Tahoma,MS Sans Serif] [/FONT][FONT=Tahoma,MS Sans Serif]๑.พระนิพพาน(ธรรม)ไม่เกิดแต่เหตุปัจจัย[/FONT] เพราะสังขารเท่านั้น[FONT=Tahoma,MS Sans Serif]ที่เกิดแต่ปัจจัยปรุงแต่ง[/FONT]
    [FONT=Tahoma,MS Sans Serif] [/FONT][FONT=Tahoma,MS Sans Serif] [/FONT][FONT=Tahoma,MS Sans Serif]ไม่เกิดแต่เหตุปัจจัย จึงไม่มีการเกิดจากการปรุงแต่ง[/FONT]
    [FONT=Tahoma,MS Sans Serif] [/FONT][FONT=Tahoma,MS Sans Serif]๒.พระนิพพาน(ธรรม)จึงไม่เป็นอนิจจังด้วย[/FONT] จึงไม่แปรปรวนเพราะไม่ใช่สังขารที่มีการปรุงแต่ง
    [FONT=Tahoma,MS Sans Serif] [/FONT][FONT=Tahoma,MS Sans Serif]ไม่เกิดแต่เหตุปัจจัย จึงไม่มีการเกิด[/FONT] แล้วจะมีการแปรปรวนได้อย่างไร? จึงย่อมไม่มีการแปรปรวน.
    [FONT=Tahoma,MS Sans Serif]๓.พระนิพพาน(ธรรม) จึงไม่เป็นทุกขัง จึงไม่ดับ[/FONT] [FONT=Tahoma,MS Sans Serif] เพราะไม่ใช่สังขารสิ่งที่เกิดแต่ปัจจัยปรุงแต่งเช่นเดียวกันกับอนิจจัง[/FONT]
    [FONT=Tahoma,MS Sans Serif] [/FONT][FONT=Tahoma,MS Sans Serif]ไม่เกิดแต่เหตุปัจจัย จึงไม่มีการเกิด[/FONT] ไม่มีการแปรปรวน [FONT=Tahoma,MS Sans Serif]แล้วจะมีการดับได้อย่างไร?[/FONT] [FONT=Tahoma,MS Sans Serif]เมื่อไม่มีเกิดจึงไม่มีการดับ[/FONT]ไปเป็นธรรมดา
    [FONT=Tahoma,MS Sans Serif] [/FONT][FONT=Tahoma,MS Sans Serif] ตามกฎทุกขัง(ทุกขตา) "สิ่งใดไม่เที่ยง [/FONT][FONT=Tahoma,MS Sans Serif]สิ่งนั้นทนอยู่ไม่ได้ จึงดับไปในที่สุด จึงเป็นทุกข์[/FONT][FONT=Tahoma,MS Sans Serif]" ดังนั้นแสดงว่า[/FONT]
    [FONT=Tahoma,MS Sans Serif] [/FONT][FONT=Tahoma,MS Sans Serif]๔.พระนิพพาน(ธรรม)เมื่อไม่มีการดับ จึงไม่เป็นทุกข์ [/FONT][FONT=Tahoma,MS Sans Serif]จึงทนอยู่ได้เพราะเป็นสภาวะธรรมจึงย่อมไม่แปรปรวนเป็นธรรมดาเช่นสังขาร[/FONT] อันแสดงว่าไม่เป็นทุกขตาคือไม่มีความคงทนอยู่ไม่ได้ ดังนั้นเมื่อ[FONT=Tahoma,MS Sans Serif]ไม่มีเกิดไม่มีดับจึงไม่เป็นอุปาทานทุกข์จากการไปอยากหรือยึดด้วยตัณหาหรืออุปาทาน[/FONT]
    [FONT=Tahoma,MS Sans Serif] [/FONT][FONT=Tahoma,MS Sans Serif] ไม่เกิดแต่เหตุปัจจัย จึงไม่มีการเกิด[/FONT] ไม่มีการแปรปรวน ไม่มีการดับ [FONT=Tahoma,MS Sans Serif]แล้วจะเกิดทุกข์เพราะความไปอยากไปยึดในสิ่งใดได้อย่างไร? จึงไม่เป็นทุกข์.[/FONT]
    [FONT=Tahoma,MS Sans Serif] [/FONT][FONT=Tahoma,MS Sans Serif]๕.นิพพาน(ธรรม)เป็นอนัตตา [/FONT][FONT=Tahoma,MS Sans Serif]หมายถึงไม่มีตัวตนที่เป็นแก่น เป็นแกนถาวรแท้จริง เพราะ[/FONT][FONT=Tahoma,MS Sans Serif]การนิพพานหรือบุคคลที่บรรลุนิพพาน(ธรรม)นั้นจักบังเกิดขึ้นได้ต่อเมื่อมีบุคคลที่เราเรียกกันว่าพระอริยเจ้าอันเป็นผู้รู้ผู้เข้าใจ หรือผู้ที่อยู่ในสภาวะนิพพานนั้นนั่นเอง พระนิพพานจึงครบองค์ประกอบ[/FONT]
    [FONT=Tahoma,MS Sans Serif] [/FONT][FONT=Tahoma,MS Sans Serif] [/FONT][FONT=Tahoma,MS Sans Serif] นิพพาน([/FONT][FONT=Tahoma,MS Sans Serif]สอุปาทิเสสนิพพาน[/FONT] อันหมายถึงองค์อรหันต์ที่ยังมีขันธ์ ๕ ดำเนินชีวิตไปตามปกติคือยังมีชีวิตอยู่) จึงเกิดแต่เหตุปัจจัยดังนี้
    [FONT=Tahoma,MS Sans Serif]สังขารหรือตัวตนหรือชีวิต(ตัวตนหรือขันธ์ ๕ ของผู้เข้าถึงพระนิพพาน หรือก็คือตัวพระอริยะเจ้า)[/FONT] + [FONT=Tahoma,MS Sans Serif]นิพพาน(ธรรม)[/FONT]
    [FONT=Tahoma,MS Sans Serif]หรือ[/FONT]
    [FONT=Tahoma,MS Sans Serif]พระอรหันต์ หรือผู้ที่ถึง[/FONT][FONT=Tahoma,MS Sans Serif]สอุปาทิเสสนิพพาน[/FONT] = ตัวตนหรือชีวิต + นิพพาน(ธรรม)นั่นเอง
    [FONT=Tahoma,MS Sans Serif] ดังนั้นเมื่อ "ตัวตนผู้เข้าถึงนิพพาน" ถึงกาละคือตาย, พระอรหันต์หรือตัวตนหรือกายหรือชีวิตนั้นก็ต้องดับไป ด้วยเพราะเหตุปัจจัยทั้ง ๒ จึงจักยังให้เกิดนิพพานนั้น อันประกอบด้วยปัจจัย"ตัวตนที่หมายถึงชีวิตของผู้เข้าถึงนิพพาน" ซึ่งเป็นสังขารได้มีการปรวนแปรและดับไป(ตาย) ดังนั้นเมื่อเหตุปัจจัยต่างๆไม่ครบองค์ จึงเหลือแต่นิพพานธรรมอันเป็น[/FONT][FONT=Tahoma,MS Sans Serif]อนัตตา[/FONT][FONT=Tahoma,MS Sans Serif]ไม่มีตัวมีตนเป็นก้อนเป็นมวล(ฆนะ)เป็นแก่นแกนแท้จริง เป็นเพียงสภาวธรรมที่ประกอบอยู่กับชีวิต เป็นสภาวธรรมหรือธรรมชาติที่มีอยู่จริงแท้แน่นอนแต่ก็เป็น[/FONT][FONT=Tahoma,MS Sans Serif]อนัตตา[/FONT] จึงเป็นการยืนยันคำสอนที่เปี่ยมด้วยพระปัญญาคุณที่กล่าวไว้ว่า [FONT=Tahoma,MS Sans Serif]พระนิพพานอันเป็นธรรมหรือสภาวธรรมเป็นอนัตตา[/FONT] แม้แต่องค์พระอรหันต์จึงเป็นเช่นเดียวกัน
    [FONT=Tahoma,MS Sans Serif]ไม่เกิดแต่เหตุปัจจัย จึงไม่มีการเกิด ไม่มีการแปรปรวน ไม่มีการดับ ไม่เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา[/FONT]

    [FONT=Tahoma,MS Sans Serif] [/FONT][FONT=Tahoma,MS Sans Serif]จากการ"[/FONT]โยนิโสมนสิการ[FONT=Tahoma,MS Sans Serif]" ทําความเข้าใจในธรรมแล้ว ย่อมได้ความเข้าใจได้ดังนี้ว่า[/FONT]
    [FONT=Tahoma,MS Sans Serif] [/FONT][FONT=Tahoma,MS Sans Serif]ไม่เกิดแต่เหตุปัจจัย จึงไม่มีการเกิด, เมื่อยังไม่เกิดขึ้นจึงย่อมไม่มีการปรวนแปร, จึงย่อมไม่มีการดับไปด้วยทุกขัง, เป็นอนัตตา[/FONT]
    [FONT=Tahoma,MS Sans Serif] [/FONT][FONT=Tahoma,MS Sans Serif]เมื่อ ไม่มีการเกิด จึงไม่มีการดับ จึงไม่ปรวนแปร ดังกล่าวแล้ว ถ้าเราทําใจเป็นอุเบกขาเป็นกลาง กล่าวคือไม่เอนเอียงไปตามความเชื่อ ความยึดถือ จะตีความได้ ๒ นัย คือ[/FONT]
    [FONT=Tahoma,MS Sans Serif] [/FONT][FONT=Tahoma,MS Sans Serif]๑. "[/FONT][FONT=Tahoma,MS Sans Serif]ไม่มีนิพพาน[/FONT][FONT=Tahoma,MS Sans Serif]" เพราะไม่มีการเกิด จึงไม่มีนิพพานจริงๆ[/FONT]
    [FONT=Tahoma,MS Sans Serif] [/FONT][FONT=Tahoma,MS Sans Serif]๒. "[/FONT][FONT=Tahoma,MS Sans Serif]นิพพานนั้นต้องมีอยู่แล้ว[/FONT][FONT=Tahoma,MS Sans Serif]" เพราะความเป็นสภาวธรรมหรือธรรมชาติของจิตของผู้ชีวิต อันเป็น[/FONT][FONT=Tahoma,MS Sans Serif]อสังขตธรรม[/FONT] จึงไม่มีการเกิดการดับ มีความเที่ยง ทนต่อกาลเวลา([FONT=Tahoma,MS Sans Serif]อกาลิโก[/FONT][FONT=Tahoma,MS Sans Serif])[/FONT]
    [FONT=Tahoma,MS Sans Serif] [/FONT]
    [FONT=Tahoma,MS Sans Serif] [/FONT][FONT=Tahoma,MS Sans Serif]ตามข้อ๑ ไม่มีนิพพาน ซึ่งไม่ตรงกับหลักพุทธศาสนา ไม่น่าจะถูกต้อง ถ้าไม่มีจริงแสดงว่าพุทธศาสนานั้นไม่ถูกต้อง ต้องสอนหรือบันทึกกันมาอย่างผิดๆ อย่างแน่นอน เพราะ[/FONT][FONT=Tahoma,MS Sans Serif]นิพพาน[/FONT][FONT=Tahoma,MS Sans Serif]ถือว่าเป็นหัวใจหรือผลอันสูงสุดของพระพุทธศาสนาทีเดียว เพียงแต่ที่ไม่มีการเกิดนั้นเพราะความเป็นสภาวธรรมหรือสภาวธรรมชาติ อันเป็นจริงอยู่เยี่ยงนี้เองเป็นธรรมดา จึงเหลืออีกกรณีหนึ่งให้พิจารณาคือ[/FONT]
    [FONT=Tahoma,MS Sans Serif] ตามข้อ๒ นิพพานนั้นมีอยู่แล้ว ในตัวของตนเพราะเป็นสภาวธรรม(ธรรมชาติ)อย่างหนึ่งของชีวิตชนิด[/FONT][FONT=Tahoma,MS Sans Serif]อสังขตธรรม[/FONT][FONT=Tahoma,MS Sans Serif]นั่นเอง อันทำให้นึกถึงคำสอนของพระพุทธองค์ที่กล่าวไว้ว่าที่[/FONT]
    ธรรมชาติของจิตย่อมผุดผ่อง แต่เศร้าหมองด้วยอุปกิเลสจรมา
    (เอกนิบาต ๒๐/๙)
    หรือ
    [FONT=Tahoma,MS Sans Serif]"จิตนั้นประภัสสร แต่หมองหม่นเพราะอุปกิเลสที่จรมา"[/FONT]
    (ธรรมชาติของจิตนั้น บริสุทธิ์ ผุดผ่อง แต่เศร้าหมองเพราะเหล่ากิเลสที่เกาะกุมนั่นเอง จึงสามารถที่จะกำจัดกิเลสให้ใสสะอาดได้)

    แสวงหาที่ไม่ฉลาดในธรรม ย่อมไม่เห็นแจ้งนิพพานที่อยู่ใกล้(ใน)ตัว
    (ปัคคัยหสูตร ๑๘/๑๔๒)
    หรือ
    [FONT=Tahoma,MS Sans Serif]ดังคําของท่านหลวงปู่ดูลย์ อตุโลที่กล่าวไว้ว่า[/FONT]
    [FONT=Tahoma,MS Sans Serif]จิตคือพุทธะ[/FONT]
    [FONT=Tahoma,MS Sans Serif] ซึ่งหมายความว่า[/FONT]
    [FONT=Tahoma,MS Sans Serif]จิตเอง หรือจิตเดิมแท้ๆ ก่อนจะพอกพูนด้วยกิเลส นั่นละที่คือสภาพจิตพุทธะ หรือนิพพาน[/FONT]
    หรือ
    [FONT=Tahoma,MS Sans Serif]ดังที่หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี ได้กล่าวไว้[/FONT]​

    จิตของคนเราเป็นของใสสะอาดมาแต่เดิม เหตุนั้นขัดเกลากิเลสออกหมด
    มันจึงเห็นความใสสะอาด จึงเรียก ปภสฺสรมิท จิตฺต
    [FONT=Tahoma,MS Sans Serif] ทั้งปวงล้วนมีความหมายเดียวกันทั้งสิ้น หรือนิพพานก็คือ [/FONT][FONT=Tahoma,MS Sans Serif]จิตที่ไม่มีสิ่งปัจจัยปรุงแต่งของกิเลสอันเกิดแต่อุปาทานอันเกิดแต่ตัณหา[/FONT][FONT=Tahoma,MS Sans Serif], อันเป็นธรรมชาติของจิตหรือจิตเดิมแท้ก่อนถูกกิเลสปรุงแต่ง หรือก็คือ [/FONT][FONT=Tahoma,MS Sans Serif]จิตที่หยุดคิดนึกปรุงแต่งและหยุดความกระวนกระวายแสวงหาด้วยความทะยานอยากหรือยึด[/FONT] [FONT=Tahoma,MS Sans Serif] อันหมายความว่า นิพพานหรือจิตเดิมแท้นั้นมีอยู่ในจิตหรือตัวตนตลอดเวลา ในขณะที่เรามัวแสวงหา สาระวนปฏิบัติค้นหาจากเหตุปัจจัยภายนอกต่างๆ, โดยการพยายามหา ทําให้เกิด ทําให้มี ทําให้เป็น จากการปฏิบัติต่างๆชนิด ก่อให้เกิด ก่อให้เป็น จากสิ่งปรุงแต่งต่างๆนาๆ หรือปัจจัยภายนอกต่างๆ เช่น การค้นหาและปฏิบัติแต่ทางสมาธิ, ฌาน, วัตถุ, บุคคล หรือการทรมานกายใดๆ, ถือแต่ศีล ทําแต่บุญ ฟังแต่ธรรม อันล้วนแล้วแต่เป็น[/FONT][FONT=Tahoma,MS Sans Serif]สังขาร[/FONT][FONT=Tahoma,MS Sans Serif]การพยายามทําให้เกิด ให้มี ให้เป็นทั้งสิ้น [/FONT][FONT=Tahoma,MS Sans Serif]ล้วนแต่ขาดการนำเอาไปใช้เป็นบาทฐานในการปฏิบัติเพื่อที่จะนําออกหรือละเสียซึ่งกิเลสหรือสิ่งที่บดบังหรือครอบงํานั้นๆออกไป[/FONT][FONT=Tahoma,MS Sans Serif], ดังนั้นจึงพยายามหาหรือพยายามทําให้เกิดเท่าไรก็ไม่ประสบผลสําเร็จ อันอุปมาดั่งไล่จับเงา ที่ย่อมไม่มีวันประสบผลสําเร็จตลอดกาลนาน, เพราะสภาวะนิพพานที่เรามีนั้นเหมือนดั่งเงา เราไม่เข้าใจ [/FONT][FONT=Tahoma,MS Sans Serif]จึงปฏิบัติไม่ถูกต้อง[/FONT] จึงหมอ[FONT=Tahoma,MS Sans Serif]งหม่นอับแสงเพราะปัจจัยเครื่องปรุงแต่งต่างๆ อันได้แก่[/FONT][FONT=Tahoma,MS Sans Serif]กิเลสตัณหาและอุปาทาน[/FONT] อันต่างล้วนเป็นเหตุปัจจัยอันเนื่องให้เกิดอุปาทานขันธ์๕ อันเป็นความทุกข์ในเบื้องปลายเป็นที่สุด
    [FONT=Tahoma,MS Sans Serif] [/FONT][FONT=Tahoma,MS Sans Serif]ดังนั้นจุดประสงค์ที่สำคัญที่สุดในการปฏิบัติก็คือการกำจัด[/FONT][FONT=Tahoma,MS Sans Serif]กิเลสตัณหาอุปาทานอันจรมาจากอาสวะกิเลส[/FONT][FONT=Tahoma,MS Sans Serif]นั่นเอง มิได้เป็นการปฏิบัติเพื่อให้เกิดให้มีขึ้นแต่ประการใด เพราะเขามีของเขาโดยธรรมหรือธรรมชาติอยู่แล้ว[/FONT] เพียงแต่หมองหม่นอับแสงสิ้นดีเนื่องเพราะอวิชชา
    [FONT=Tahoma,MS Sans Serif] [/FONT][FONT=Tahoma,MS Sans Serif] หรือที่หลวงปู่ดูลย์ได้กล่าวไว้ว่าในเรื่อง[/FONT] จิต คือ พุทธะ "เขาไม่รู้ว่า ถ้าเขาเอง เพียงแต่หยุดความคิดปรุงแต่ง และหมดความกระวนกระวายเพราะการแสวงหา[FONT=Tahoma,MS Sans Serif](ตัณหา)[/FONT] [FONT=Tahoma,MS Sans Serif]เสียเท่านั้น พุทธะก็ปรากฎตรงหน้าเขา เพราะว่า จิต นี้คือ พุทธะ นั่นเอง และพุทธะ คือสิ่งมีชีวิตทั้งหลายทั้งปวงนั่นเอง และสิ่งๆนี้ เมื่อปรากฎอยู่ที่สามัญสัตว์ จะเป็นสิ่งเล็กน้อยก็หาไม่ และเมื่อปรากฎอยู่ที่พระพุทธเจ้าทั้งหลายจะเป็นสิ่งใหญ่หลวงก็หาไม่"[/FONT]
    [FONT=Tahoma,MS Sans Serif] การหยุดคิดปรุงแต่ง ก็เพื่อเป็นการปฏิบัติไม่ให้เกิดเวทนา..อันเป็นปัจจัยให้เกิดตัณหา..อันเป็นปัจจัยให้เกิดอุปาทาน..อันเป็นปัจจัยให้เกิดกิเลส(เป็นไปตามวงจรปฏิจจสมุปบาทนั่นเอง), หมดความกระวนกระวายเพราะความแสวงหา(ตัณหา)[/FONT]
    [FONT=Tahoma,MS Sans Serif] นิพพานจึงไม่ต้องทําให้เกิดขึ้น หรือสร้างขึ้นแต่อย่างใด เพราะไม่ได้เกิดแต่เหตุปัจจัย [/FONT][FONT=Tahoma,MS Sans Serif]เพียงแต่เป็นการนําเหตุปัจจัยอันทําให้จิตหม่นหมองนั้นออกไป[/FONT] หมายถึง[FONT=Tahoma,MS Sans Serif]จิตเดิมแท้ๆนั้นบริสุทธิ์อยู่แล้ว [/FONT][FONT=Tahoma,MS Sans Serif] การนําออกและละเสียซึ่งกิเลสตัณหาไม่ใช่เป็นเหตุปัจจัยให้เกิดนิพพาน เพราะดังที่กล่าวนิพพานไม่ได้เกิดแต่เหตุปัจจัย [/FONT][FONT=Tahoma,MS Sans Serif]แต่เป็นเพียงคําอธิบายแนวทางปฏิบัติให้พบจิตเดิมแท้อันขุ่นมัวเศร้าหมองเพราะเหตุปัจจัยจากภายนอก[/FONT] เช่นการความคิดนึกปรุงแต่งอันเป็นเหตุปัจจัยภายนอก อันเป็นปัจจัยให้เกิดเวทนา,อันเป็นปัจจัยให้เกิดตัณหา..อุปาทาน..ภพ..อุปาทานทุกข์..และกิเลสตามลําดับตามวงจรปฏิจจสมุปบาท อันต่างล้วนจริงๆแล้วเป็นเหตุปัจจัยภายนอกที่เข้ามากระทบสัมผัสกับจิตเดิมแท้ที่ปภัสสรแล้วเกิดการคิดนึกปรุงแต่งต่างๆนาๆ
    [FONT=Tahoma,MS Sans Serif] [/FONT][FONT=Tahoma,MS Sans Serif]การปฏิบัติใดๆที่เป็นการก่อ หรือสร้างสมสิ่งหนึ่งสิ่งใดเช่นสมาธิ ฌาน ถือศีล หรือทําบุญ อิทธิฤทธิ์ ทรมานกาย จึงยังไม่ใช่หนทางการพ้นทุกข์อย่างแท้จริง บางข้อเป็นเพียงบาทฐานหรือขุมกําลังหรือเป็นขั้นบันไดในการสนับสนุนการปฏิบัติในขั้นปัญญาเท่านั้น, อันควรจักต้องปฏิบัติอย่างถูกต้องด้วย อันจักต้องเป็นการปฏิบัติเพื่อให้เกิด[/FONT][FONT=Tahoma,MS Sans Serif]นิพพิทา[/FONT][FONT=Tahoma,MS Sans Serif]เพื่อการนำออกสิ่งที่ทำให้เกิดการขุ่นมัวออกไปเท่านั้น[/FONT]
    [FONT=Tahoma,MS Sans Serif] [/FONT][FONT=Tahoma,MS Sans Serif]จักต้องเป็น[/FONT][FONT=Tahoma,MS Sans Serif]การปฏิบัติในขั้นปัญญา[/FONT][FONT=Tahoma,MS Sans Serif]เท่านั้น อันมีบาทฐานของ[/FONT][FONT=Tahoma,MS Sans Serif]ศีล สติ สมาธิ[/FONT][FONT=Tahoma,MS Sans Serif]เป็นเครื่องส่งเสริม เพื่อ[/FONT][FONT=Tahoma,MS Sans Serif]นําออก[/FONT][FONT=Tahoma,MS Sans Serif]และ[/FONT][FONT=Tahoma,MS Sans Serif]ละ[/FONT][FONT=Tahoma,MS Sans Serif]เสียซึ่งความคิดนึกปรุงแต่งอันเป็นเหตุปัจจัยให้เกิด[/FONT][FONT=Tahoma,MS Sans Serif]กิเลส ตัณหา[/FONT][FONT=Tahoma,MS Sans Serif]อันล้วนเป็นปัจจัยที่ยังให้เกิด[/FONT][FONT=Tahoma,MS Sans Serif]อุปาทาน[/FONT][FONT=Tahoma,MS Sans Serif],[/FONT] [FONT=Tahoma,MS Sans Serif]ซึ่งล้วนแล้วแต่เป็น[/FONT][FONT=Tahoma,MS Sans Serif]ปัจจัยสิ่งปรุงแต่ง[/FONT][FONT=Tahoma,MS Sans Serif]ต่อจิตพุทธะหรือจิตเดิมทั้งสิ้น, จึงเป็นหนทางพ้นทุกข์อย่างแท้จริงและถาวร จึงมิใช่การปฏิบัติโดยการเมาบุญหรือฌานสมาธิแต่ฝ่ายเดียว[/FONT]
    [FONT=Tahoma,MS Sans Serif] ดังนั้นเมื่อ นําออก และ ละเสีย ซึ่ง กิเลส, ตัณหา และอุปาทาน ซึ่งย่อมเป็นเหตุปัจจัยให้ดับความทุกข์หรืออุปาทานขันธ์๕ ตามมา เมื่อนั้น[/FONT]
    [FONT=Tahoma,MS Sans Serif]"[/FONT][FONT=Tahoma,MS Sans Serif]นิพพานอันเป็นสุข ที่ถูกบดบังซ่อนเร้นอยู่ในจิตเดิมหรือธรรมชาติ ก็จักปรากฏขึ้น[/FONT][FONT=Tahoma,MS Sans Serif]"[/FONT]
    [FONT=Tahoma,MS Sans Serif]อันล้วนเป็นไปตามหลักปฏิจจสมุปบาท[/FONT] ฝ่ายนิโรธวาร
    แสดงวงจรปฏิจจสมุปบาท [​IMG] ฝ่ายนิโรธวาร เป็นลำดับขั้น
    [FONT=Tahoma,MS Sans Serif]อวิชชาดับ [​IMG]สังขารดับ [​IMG]วิญญาณดับ [​IMG]นาม-รูปดับ [​IMG]สฬายตนะดับ [​IMG]เวทนาดับ [​IMG]ตัณหาดับ [​IMG]อุปาทานดับ [​IMG]ภพดับ [​IMG]ชาติดับ(ความเกิดแห่งทุกข์ในรูปอุปาทานขันธ์๕ก็ดับ) [​IMG]ชรามรณะดับ+อาสวะกิเลสดับ [​IMG]จึงดับวัฏฏะหรือวัฎจักรของการเวียนว่ายตายเกิดในทะเลทุกข์[/FONT]
    [FONT=Tahoma,MS Sans Serif] [/FONT][FONT=Tahoma,MS Sans Serif]หลักการปฏิบัติเพื่อสู่ "นิพพาน" หรือ "นิโรธ" จากความเข้าใจปฏิจจสมุปบาทและนิพพาน คือ มีชีวิตดำเนินเป็นปกติตามขันธ์ ๕ อันเป็นกระบวนธรรมปกติธรรมชาติในการดําเนินชีวิต จักไม่เป็นทุกข์ ไม่ให้เกิดอุปาทานขันธ์๕ ([/FONT][FONT=Tahoma,MS Sans Serif]สอุปาทิเสสนิพพาน[/FONT] - นิพพานขององค์อรหันต์ผู้ดับกิเลส คือโลภะ,โทสะ,โมหะ ในอุปาทานทุกข์แล้ว แต่ยังมีขันธ์๕ หรือเบญจขันธ์เป็นปกติในการดำเนินชีวิต)

    เปรียบเทียบเป็นรูปธรรม เพื่อความแจ่มแจ้ง
    [FONT=Tahoma,MS Sans Serif] [/FONT][FONT=Tahoma,MS Sans Serif]นิพพานมีอยู่แล้วแต่ไม่สามารถเห็นหรือสัมผัสได้ [/FONT][FONT=Tahoma,MS Sans Serif]เพราะอุปมาดั่งมีบรรดากองขยะทั้งหลายอันมี[/FONT] [FONT=Tahoma,MS Sans Serif]กิเลส, ตัณหา[/FONT][FONT=Tahoma,MS Sans Serif]อันเป็นปัจจัยให้เกิด[/FONT][FONT=Tahoma,MS Sans Serif]อุปาทาน[/FONT] [FONT=Tahoma,MS Sans Serif]อันยังให้เกิด[/FONT][FONT=Tahoma,MS Sans Serif]อุปาทานขันธ์๕อันเป็นทุกข์ ได้ปกปิดบดบัง ไม่ให้มองเห็นนิพพานบนเส้นทางเบื้องหน้า [/FONT][FONT=Tahoma,MS Sans Serif] [/FONT][FONT=Tahoma,MS Sans Serif]หน้าที่เราอันควรพึงปฏิบัติคือ อย่าเพิ่มขยะ(กิเลส,ตัณหา)ใหม่เข้าไปอีก และมั่นตักหรือทำลายขยะเก่าๆคือกิเลส, ตัณหา, อุปาทานความยึดมั่นถือมั่นเก่าๆ ออกจากเส้นทาง([/FONT][FONT=Tahoma,MS Sans Serif]หมายถึงจิต[/FONT][FONT=Tahoma,MS Sans Serif])โดยการปฏิบัติทางปัญญา เมื่อนั้นนิพพานก็จักประจักษ์แก่สายตาหรือใจของเรา จึงควรปฏิบัติดังนี้ ๔ประการ เพื่อให้แสงแห่งนิพพานได้ทอแสงขึ้นในดวงจิต[/FONT]
    [FONT=Tahoma,MS Sans Serif] [/FONT][FONT=Tahoma,MS Sans Serif]๑.โดยการไม่เพิ่มขยะคือกิเลส คือ"[/FONT][FONT=Tahoma,MS Sans Serif]ไม่ก่อทุกข์ หรือยึดสุข"[/FONT] อันยังให้เกิด[FONT=Tahoma,MS Sans Serif]อาสวะกิเลสใหม่ๆขึ้นอีก[/FONT][FONT=Tahoma,MS Sans Serif]นั่นเอง[/FONT]
    [FONT=Tahoma,MS Sans Serif] [/FONT][FONT=Tahoma,MS Sans Serif]๒.โดยการ การ[/FONT][FONT=Tahoma,MS Sans Serif]นำออกและละ[/FONT][FONT=Tahoma,MS Sans Serif]เสียซึ่ง"[/FONT][FONT=Tahoma,MS Sans Serif]กิเลส[/FONT][FONT=Tahoma,MS Sans Serif]"สิ่งที่ทำให้จิตขุ่นมัวและเศร้าหมอง อันได้แก่กิเลสหรืออาสวะกิเลส[/FONT] [FONT=Tahoma,MS Sans Serif]อันเป็นเหตุปัจจัยให้เกิด"ตัณหา"ทางอ้อมผ่านทาง สังขาร[/FONT]
    [FONT=Tahoma,MS Sans Serif] [/FONT][FONT=Tahoma,MS Sans Serif]๓.โดยการ การ[/FONT][FONT=Tahoma,MS Sans Serif]นำออกและละ[/FONT][FONT=Tahoma,MS Sans Serif]เสียซึ่ง "[/FONT][FONT=Tahoma,MS Sans Serif]ตัณหา[/FONT][FONT=Tahoma,MS Sans Serif]" ความรู้สึกทะยานอยาก, ความใคร่, ความให้ได้สมปรารถนา, ความติดเพลิน ในสิ่งใดๆซึ่งพอสรุปได้เป็นความ[/FONT][FONT=Tahoma,MS Sans Serif]อยาก,ไม่อยาก[/FONT] [FONT=Tahoma,MS Sans Serif]อันเป็น[/FONT][FONT=Tahoma,MS Sans Serif]มูลเหตุปัจจัยโดยตรงให้เกิดอุปาทานตามหลักปฏิจจสมุปบาท [/FONT][FONT=Tahoma,MS Sans Serif]โดยต้องมีความ[/FONT][FONT=Tahoma,MS Sans Serif]เข้าใจใน[/FONT][FONT=Tahoma,MS Sans Serif]เวทนา[/FONT][FONT=Tahoma,MS Sans Serif]โดยถ่องแท้[/FONT][FONT=Tahoma,MS Sans Serif]เพื่อไม่ให้เกิด[/FONT][FONT=Tahoma,MS Sans Serif]ตัณหา[/FONT][FONT=Tahoma,MS Sans Serif]ต่อเวทนานั้นๆ[/FONT] [FONT=Tahoma,MS Sans Serif](เพราะความเข้าใจสภาวธรรมหรือขาดความยึดมั่นถือมั่นในเวทนานั้น หรือเวทนานั้นหมดจด)[/FONT]
    [FONT=Tahoma,MS Sans Serif] [/FONT][FONT=Tahoma,MS Sans Serif]๔.โดยการ การ[/FONT][FONT=Tahoma,MS Sans Serif]นำออกและละ[/FONT][FONT=Tahoma,MS Sans Serif]เสียซึ่ง"[/FONT][FONT=Tahoma,MS Sans Serif]อุปาทาน[/FONT][FONT=Tahoma,MS Sans Serif]" [/FONT][FONT=Tahoma,MS Sans Serif]ความยึดมั่นถือมั่นในความพึงพอใจหรือสุขของตัวของตนเป็นหลักใหญ่ อันเป็นปัจจัยให้เกิด[/FONT][FONT=Tahoma,MS Sans Serif]อุปาทานขันธ์๕อันเป็นทุกข์[/FONT]
    [FONT=Tahoma,MS Sans Serif] [/FONT][FONT=Tahoma,MS Sans Serif] ดังนั้นในทางปฏิบัติ[/FONT]
    [FONT=Tahoma,MS Sans Serif] จิตไม่ขุ่นมัวเศร้าหมองโดยนำออกและละเสียซึ่ง"กิเลส" และ "อาสวะกิเลส" หรือขุ่นมัวแล้วก็ต้องพยายามปรับจิตให้สดชื่นเพื่อหลีกเลี่ยงไม่ให้เกิดสังขารคิด(ในปฏิจจ.)อันยังให้เกิดเวทนาซึ่งในทางปฏิบัติในช่วงแรก เราไม่อาจนำออกและละเสียได้ทั้งหมด ดังนั้น[/FONT][FONT=Tahoma,MS Sans Serif]ส่วนหนึ่งจะไปเป็นเหตุปัจจัยทำให้เกิดเวทนา, [/FONT][FONT=Tahoma,MS Sans Serif] [/FONT][FONT=Tahoma,MS Sans Serif]เพราะสติรู้ทันเวทนา และปัญญา ดังนั้นเวทนาส่วนหนึ่งจักดับที่นี่, ส่วนที่เหลืออันยังให้เกิด"[/FONT][FONT=Tahoma,MS Sans Serif]ตัณหา[/FONT][FONT=Tahoma,MS Sans Serif]" ถ้าเรา[/FONT][FONT=Tahoma,MS Sans Serif]ไม่อาจนำออกและละเสียซึ่งตัณหาได้ทั้งหมด[/FONT] อีกส่วนหนึ่งจะไปเป็นเหตุปัจจัยให้เกิด"[FONT=Tahoma,MS Sans Serif]อุปาทาน[/FONT][FONT=Tahoma,MS Sans Serif]" เราต้องนำออกและละเสียให้ได้ มิฉนั้นก็จักเกิดอุปาทานขันธ์๕อันเป็นทุกข์ อันเมื่อเกิดแล้วต้องหยุดคิดนึกปรุงแต่งต่อจากนั้น เพราะคิดนึกปรุงแต่งย่อมยังให้เกิด[/FONT][FONT=Tahoma,MS Sans Serif]เวทนา[/FONT][FONT=Tahoma,MS Sans Serif]ขึ้นอีก และเป็น[/FONT][FONT=Tahoma,MS Sans Serif]เวทนาชนิดที่ถูกครอบงําหรือประกอบแล้วโดย[/FONT][FONT=Tahoma,MS Sans Serif]อุปาทาน[/FONT][FONT=Tahoma,MS Sans Serif]เสียด้วย[/FONT] [FONT=Tahoma,MS Sans Serif]จึงเวียนว่ายตายเกิดอยู่ในกองทุกข์นั้น[/FONT]
    [FONT=Tahoma,MS Sans Serif] การนำออกและละเสียโดยใช้สติปัฏฐาน๔ มรรคองค์๘เป็นหลักในการปฏิบัติ ตลอดจน[/FONT][FONT=Tahoma,MS Sans Serif]สัมโพชฌงค์๗[/FONT][FONT=Tahoma,MS Sans Serif] อันเป็นธรรมให้ตรัสรู้ ตลอดจนใช้ความรู้ในหลักธรรมอันยิ่งใหญ่ลึกซึ้ง "ปฏิจจสมุปบาท" อันมีความโดยย่อดั่งนี้[/FONT]
    [FONT=Tahoma,MS Sans Serif] จิตที่ขุ่นมัวเศร้าหมองจากจากสัญญาจำในทุกข์หรืออาลัยสุข อันคือ[/FONT][FONT=Tahoma,MS Sans Serif]อาสวะกิเลส[/FONT]
    [FONT=Tahoma,MS Sans Serif] [/FONT][FONT=Tahoma,MS Sans Serif] ไปเป็นเหตุเป็นปัจจัยแก่กันและกันร่วมกับ[/FONT][FONT=Tahoma,MS Sans Serif]อวิชชา[/FONT]
    [FONT=Tahoma,MS Sans Serif] [/FONT][FONT=Tahoma,MS Sans Serif] ไปกระตุ้นให้เกิด[/FONT][FONT=Tahoma,MS Sans Serif]สังขาร[/FONT][FONT=Tahoma,MS Sans Serif]คิด หรือกระทำตามที่ได้สั่งสมไว้ ประพฤติปฏิบัติไว้[/FONT]
    [FONT=Tahoma,MS Sans Serif] [/FONT][FONT=Tahoma,MS Sans Serif] จึงเกิด[/FONT][FONT=Tahoma,MS Sans Serif]วิญญาณ[/FONT][FONT=Tahoma,MS Sans Serif]การรับรู้ ไปรับรู้สังขารข้างต้นขึ้น[/FONT]
    [FONT=Tahoma,MS Sans Serif] [/FONT][FONT=Tahoma,MS Sans Serif] ไปกระตุ้นให้ [/FONT][FONT=Tahoma,MS Sans Serif]นาม-รูป[/FONT] ครบองค์ทำงานโดยสมบูรณ์ จึงเกิดตื่นตัวทํางานในเรื่องนั้น
    [FONT=Tahoma,MS Sans Serif] ไปกระตุ้นให้ [/FONT][FONT=Tahoma,MS Sans Serif]สฬายตนะ[/FONT][FONT=Tahoma,MS Sans Serif]ทำงานตามหน้าที่สื่อสารรับรู้สัมผัสอายตนะต่างๆเช่นใจ[/FONT]
    [FONT=Tahoma,MS Sans Serif] ไปกระตุ้นให้เกิดอวิชชา[/FONT][FONT=Tahoma,MS Sans Serif]ผัสสะ[/FONT] การกระทบประจวบกันของ สังขาร ใจ และวิญญาณ
    [FONT=Tahoma,MS Sans Serif] ไปกระตุ้นให้ เกิด[/FONT][FONT=Tahoma,MS Sans Serif]เวทนา[/FONT] มีอามิส(กิเลส)ในธรรมารมณ์หรือสังขารที่มาผัสสะนั้น เพราะย่อมแฝงซึ่งอาสวะกิเลส
    [FONT=Tahoma,MS Sans Serif] ไปกระตุ้นให้ เกิด[/FONT][FONT=Tahoma,MS Sans Serif]ตัณหา[/FONT] ความอยาก,ความไม่อยาก
    [FONT=Tahoma,MS Sans Serif] ไปกระตุ้นให้ เกิด[/FONT][FONT=Tahoma,MS Sans Serif]อุปาทาน[/FONT] ยึดในความพึงพอใจในตน ของตน เป็นหลัก หรือตวามเป็นตัวกูของกู
    [FONT=Tahoma,MS Sans Serif] ไปกระตุ้นให้เกิด[/FONT][FONT=Tahoma,MS Sans Serif]ภพ [/FONT][FONT=Tahoma,MS Sans Serif]บทบาทที่จักแสดง ที่จักยึด[/FONT]
    [FONT=Tahoma,MS Sans Serif] [/FONT][FONT=Tahoma,MS Sans Serif]ไปกระตุ้นให้เกิดการกระทำทาง กาย, วาจา, ใจ คือขันธ์๕ทุกชนิดที่เกิด(ชาติ)ถูกครอบงำโดย[/FONT][FONT=Tahoma,MS Sans Serif]อุปาทาน[/FONT] เกิดเป็น[FONT=Tahoma,MS Sans Serif]อุปาทานขันธ์๕[/FONT] ทุกชนิดอันเป็นทุกข์ วนเวียนอยู่ใน[FONT=Tahoma,MS Sans Serif]ชร[/FONT][FONT=Tahoma,MS Sans Serif]าอันเแปรปรวนและเป็นทุกข์ด้วยจิตที่ขุ่นมัวเศร้าหมอง[/FONT] [​IMG] [FONT=Tahoma,MS Sans Serif]แล้วดับไป พร้อมเก็บจำเป็นกิเลสที่นอนเนื่องใหม่(อาสวะกิเลส)[/FONT][FONT=Tahoma,MS Sans Serif] [/FONT][FONT=Tahoma,MS Sans Serif] [/FONT][​IMG] เริ่มต้นวงจรใหม่ [​IMG] [FONT=Tahoma,MS Sans Serif]ฯลฯ...[/FONT]
    [FONT=Tahoma,MS Sans Serif] เป็นวงจรแห่งทุกข์ไปเรื่อยๆ ไม่รู้จักจบสิ้น ก่อให้เกิดการเวียนว่ายตายเกิดใน[/FONT][FONT=Tahoma,MS Sans Serif]สังสารวัฏ[/FONT]
    [​IMG]
    ความรู้เกี่ยวกับ พระนิพพาน
    นิพพาน หมายถึง การดับกิเลสและกองทุกข์ เป็นโลกุตตรธรรม และเป็นจุดมุ่งหมายสูงสุดในพระพุทธศาสนา
    นิพพานธาตุ หมายถึง ภาวะแห่งนิพพาน หรือ นิพพานธาตุ ๒ คือ
    ๑.
    สอุปาทิเสสนิพพาน นิพพานที่ยังมีอุปาทิเหลือ อุปาทิ ที่หมายความว่า เบญจขันธ์หรือขันธ์ ๕ จึงมีความหมายว่า ดับกิเลส มีเบญจขันธ์เหลือ กล่าวคือ นิพพานของพระอรหันต์ผู้ยังมีชีวิตอยู่ เป็นนิพพานในแง่ที่เป็นภาวะดับกิเลส คือ โลภะ โทสะ โมหะ
    ๒.
    อนุปาทิเสสนิพพาน นิพพานที่ไม่มีอุปาทิเหลือ จึงมีความหมายว่า ดับกิเลส ไม่มีเบญจขันธ์เหลือ กล่าวคือ เสด็จปรินิพพาน ดับเบญจขันธ์แล้ว, ดับกิเลสไม่มีเบญจขันธ์เหลือ คือ สิ้นทั้งกิเลสและชีวิต หมายถึง พระอรหันต์สิ้นชีวิต เป็นนิพพานในแง่ที่เป็นภาวะดับภพ
    และยังมีนิพพานอีกอย่างหนึ่ง เรียกว่านิพพานเฉพาะกรณี เรียกว่า ตทังคนิพพาน “นิพพานด้วยองค์นั้น” นิพพานด้วยองค์ธรรมจำเพาะ เช่น มองเห็นขันธ์ ๕ โดยไตรลักษณ์ แล้วหายทุกข์ร้อน ใจสงบสบาย มีความสุขอยู่ตลอดชั่วคราวนั้นๆ จึงเป็นนิพพานเฉพาะกรณี
    [​IMG]
    ธรรมชาติของจิตและนํ้า
    (พิจารณาเพื่อให้เห็นเป็นรูปธรรมชัดเจนขึ้น)
    จิตนั้นเปรียบประดุจดั่งนํ้า อันไร้รูปร่าง และแปรปรวนไปตามภาชนะ จิตนั้นก็ไร้ตัวตนแปรปรวนไปตามสิ่งแวดล้อม(อายตนะภายนอก)ที่กระทบสัมผัส(ผัสสะ),
    นํ้าประกอบด้วยเหตุปัจจัยต่างๆคือ H และ O มาประชุมรวมกันชั่วระยะหนึ่ง จิตก็ประกอบด้วยเหตุปัจจัยอันมากหลายมาประชุมกัน ดังเช่น เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ แม้กระทั่งกาย ฯลฯ.,
    นํ้ามีคุณสมบัติไหลลงสู่ที่ตํ่าเพราะแรงดึงดูดโลก จิตก็มีคุณสมบัติเหมือนดั่งนํ้าที่ย่อมไหลลงสู่ฝ่ายที่ตํ่ากว่าคือตามแรงดึงดูดของความเคยชิน(สังขารในปฏิจจสมุปบาท)หรือกิเลสตัณหาแลอุปาทานที่ได้สั่งสมไว้นั่นเอง
    ถ้าเราต้องการนํ้าให้อยู่ในระดับที่สูงขึ้น ย่อมต้องออกแรงพยายามฉันใด จิตก็ย่อมต้องการความเพียรพยายามปฏิบัติให้สูงขึ้นฉันนั้น,
    การยกระดับนํ้าโดยใช้ภาชนะหรืออุปกรณ์ที่ถูกต้องย่อมยกระดับนํ้าได้รวดเร็วฉันใด จิตก็ย่อมต้องการการปฏิบัติอันถูกต้องจึงยกระดับจิตให้สูงขึ้นเร็วฉันนั้น,
    ธรรมชาติของนํ้าเดือดพล่านเพราะไฟฉันใด, ธรรมชาติของจิตย่อมเดือดพล่านเพราะไฟของกิเลสตัณหาอุปาทานฉันนั้น
    นํ้าบริสุทธ์คือนํ้าที่ไม่มีสิ่งเจือปน, จิตบริสุทธ์ก็คือจิตเดิมแท้ที่ไม่เจือด้วยกิเลสตัณหาอุปาทานนั่นเอง หรือจิตเดิมแท้นั่นแหละคือจิตพุทธะ อันมีอยู่แล้วในทุกผู้คน เพียงแต่ถูกบดบังหรือครอบงําด้วยกิเลสตัณหาอุปาทาน
    [​IMG]
    [FONT=Tahoma,MS Sans Serif] [/FONT][FONT=Tahoma,MS Sans Serif]ทุกข์ของขันธ์๕ทางกายและใจ([/FONT][FONT=Tahoma,MS Sans Serif]เวทนา[/FONT][FONT=Tahoma,MS Sans Serif]) นั้นเป็นสภาวธรรมหรือทุกข์ธรรมชาติยังคงมีอยู่ แต่ไม่มี"อุปาทานทุกข์"[/FONT]
    [FONT=Tahoma,MS Sans Serif]จริงๆแล้วที่มนุษย์ทั้งหลายเป็นทุกข์กันอยู่ทุกขณะก็คือ"อุปาทานทุกข์"นี้นั่นเอง แต่ไม่รู้จึงจําแนกไม่ออก[/FONT]
    [​IMG]
    ไม่ทรงติดแม้ในนิพพาน
    ภิกษุ ท.! แม้ตถาคต ผู้เป็นพระอรหันต์ตรัสรู้ชอบเอง ก็รู้ชัดซึ่งนิพพานตามความเป็นนิพพาน. ครั้นรู้นิพพานตามความเป็นนิพพานชัดแจงแล้ว ก็ไม่ทำความมั่นหมายซึ่งนิพพาน ไม่ทำความมั่นหมายในนิพพาน ไม่ทำความมั่นหมายโดยความเป็นนิพพาน ไม่ทำความมั่นหมายว่า "นิพพานเป็นของเรา", ไม่เพลิดเพลินลุ่มหลงในนิพพาน. ข้อนี้เพราะเหตุไรเล่า? เพราะเหตุว่า นิพพานนั้นเป็นสิ่งที่ตถาคตกำหนดรู้ทั่วถึงแล้ว.
    ภิกษุ ท.! แม้ตถาคต ผู้เป็นพระอรหันต์ตรัสรู้ชอบเอง ก็รู้ชัดซึ่งนิพพานตามความเป็นนิพพาน. ครั้นรู้นิพพานตามความเป็นนิพพานชัดแจ้งแล้ว ก็ไม่ทำความมั่นหมายซึ่งนิพพาน ไม่ทำความมั่นหมายในนิพพานไม่ทำความมั่นหมายโดยความเป็นนิพพาน ไม่ทำความมั่นหมายว่า "นิพพานเป็นของเรา", ไม่เพลิดเพลินลุ่มหลงในนิพพาน. ข้อนี้เพราะเหตุไรเล่า? เรากล่าวว่า เพราะรู้ว่าความเพลิดเพลิน(นันทิ)เป็นมูลแห่งทุกข์ และเพราะมีภพจึงมีชาติ, เมื่อเกิดเป็นสัตว์แล้วต้องมีแก่และตาย. เพราะเหตุนั้นตถาคตจึงตรัสรู้อนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ เพราะตัณหาทั้งหลายสิ้นไป ปราศไป ดับไป สละไป ไถ่ถอนไป โดยประการทั้งปวงดังนี้.
    [SIZE=-1]บาลี มูลปริยายสูตร มู.ม. ๑๒/๑๐/๘-๙.
    ตรัสแก่ภิกษุทั้งหลาย ที่โคนต้นสาละ ในป่าสุภควันใกล้เมืองอุกกัฏฐะ.[/SIZE]

    [​IMG]
    [FONT=Tahoma,MS Sans Serif]ภาวะทางจิต ของนิพพาน[/FONT]
    [FONT=Tahoma,MS Sans Serif]โดย พระธรรมปิฎก[/FONT]
    [​IMG]
    [FONT=Tahoma,MS Sans Serif] [/FONT]
    [FONT=Tahoma,MS Sans Serif] [​IMG] [/FONT]
    [​IMG]
    [FONT=Tahoma,MS Sans Serif][​IMG][/FONT]

    <TABLE width=284 align=center border=0><TBODY><TR><TD vAlign=center align=middle width=274><TABLE style="MARGIN-LEFT: 0px" width=255 align=center border=0><TBODY><TR vAlign=center align=middle><TD vAlign=center align=middle width=245>
    <SCRIPT language=javascript1.1>page="22.NipPan"; </SCRIPT><SCRIPT language=javascript1.1 src="http://hits.truehits.in.th/data/h0012229.js"> </SCRIPT><SCRIPT src="http://lvs.truehits.in.th/func/th_donate_1.8.js"></SCRIPT><SCRIPT src="http://lvs.truehits.in.th/func/th_common_1.4.js"></SCRIPT> [​IMG]
    </TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE style="MARGIN-TOP: 0px; MARGIN-BOTTOM: 0px; LINE-HEIGHT: 100%" borderColorDark=#927b48 width=11 align=center borderColorLight=#dbb971 border=4><TBODY><TR><TD width=-5 height=6>
    [​IMG]
    </TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE width="1%" align=center border=1><TBODY><TR><TD height=26><!-- Start ThaiCount Code -->[​IMG]
    </TD></TR></TBODY></TABLE>

    อนุโมทนา สาธุ ๆ ​
    <!-- text below generated by server. PLEASE REMOVE --><!-- Counter/Statistics data collection code --><SCRIPT language=JavaScript src="http://us.js2.yimg.com/us.js.yimg.com/lib/smb/js/hosting/cp/js_source/whv2_001.js"></SCRIPT><SCRIPT language=javascript>geovisit();</SCRIPT>[​IMG] <NOSCRIPT>[​IMG]</NOSCRIPT>
     
  17. ผู้พันจุ่น

    ผู้พันจุ่น เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 สิงหาคม 2007
    โพสต์:
    1,396
    ค่าพลัง:
    +2,983
    นิพพานก็ลำบากยากเย็นเหลือเกิน......อยู่ไปวัน ๆ อยากทำอะไรก็ทำไป สบายกว่า..
     
  18. รพินทร์ไพรวัลย์

    รพินทร์ไพรวัลย์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    669
    ค่าพลัง:
    +1,122
    ถึงเวลาจะไปแล้วก็คงได้รู้กันเองละท่าน เชื่อใครไปก็เท่านั้น....ขอให้คิดดี ทำดี มีกำลังใจที่ดี
    เพราะ คนที่ได้ไปก็ไม่เห็นมีใครกลับมาเล่ามาบอก ไอ้ที่เล่าๆบอกๆกันอยู่ล้วนแล้วแต่ยังไม่ได้ไป
     
  19. เงินไหลมา

    เงินไหลมา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 มีนาคม 2009
    โพสต์:
    551
    ค่าพลัง:
    +3,413
    ก้อคิดกันแบบนี้ นิพพานเลยไม่ได้ไปกันสักที
    หลวงพ่อพระราชพรหมยานวัดท่าซุงท่านเป็นพระอริยะเจ้าที่จบกรรมฐานทั้ง40กอง ในยุคกึ่งพุทธกาลไม่มีอีกแล้วที่สามารถเรียนจบ40 กองแบบท่าน นอกจากหลวงปู่ปานวัดบางนมโคซึ่งเป็นอาจารย์ท่าน พระอรหันต์มีอยู่หลายองค์แต่องค์ที่จบกรรมฐาน40กองจริงๆๆนั้นมีแค่ 2องค์ครับ

    แม้แต่หลวงตามหาบัว สายพระป่าท่านยังยกย่องว่าหลวงพ่อเป็นพระอรหันต์ปฏิสัมภิทาญาณ หลวงปู่บุดดา ถาวโร หลวงปู่สิม หลวงปู่สี วัดถ้ำเขาบุญนาค
    และอีกหลายองค์ยังยกย่องหลวงพ่อฤาษีฯวัดท่าซุง ว่าภูมิธรรมท่านสูงมาก หาได้ยากยิ่งในยุคกึ่งพุทธกาล

    หลวงปู่ดาบส สุมโณ พระอริยเจ้าเมืองล้านนา ท่านกล่าวถึงหลวงพ่อฤาษีวัดท่าซุงว่า

    "พระคุณเจ้าองค์นั้นเป็นอรหันต์องค์เอกองค์หนึ่งของโลกในปลายศาสนา ๕๐๐๐ ปี จะหาใครสอนเสมอเหมือนพระคุณท่านหาไม่ได้แล้ว พระคุณท่านองค์นั้นสอนได้คล้ายพระพุทธเจ้าสอน เพราะท่านปรารถนาพระโพธิญาณ ถ้าท่านไม่ลาพุทธภูมิหักใจเป็นพระอรหันตสาวกเสียก่อน ท่านเทศน์คราวไร เรา..พวกเรานี้ที่บำเพ็ญบารมีตามท่านมา ก็จะฟังเทศน์จากท่านเพียงครั้งเดียวก็จะเป็นพระอรหันต์ตามได้
    จำไว้นะ ! กลับไปฟังคำสอนของพระคุณท่าน ฟังเทปของท่าน ดูวีดีโอของท่าน ให้ส่งจิตคิดตามเสียงท่านประหนึ่งว่าเป็นเสียงในใจเรา ก็อาจจะบรรลุมรรคผลได้ตามที่ตัดสินใจ ตามเสียงนั้นเฉพาะหน้า เหมือนฟังจากพระพุทธเจ้านั่นแหละ องค์นี้หาใครสอนได้เสมือนท่านยากนักหนาแล้ว
    "
     
  20. ผู้มีสติ1

    ผู้มีสติ1 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 สิงหาคม 2009
    โพสต์:
    750
    ค่าพลัง:
    +3,637
    อนุโมทนาครับ สาธุ สาธุ สาธุ
     

แชร์หน้านี้

Loading...