อนาคตังสญาน ญานรู้อนาคตได้ ฝึกไงครับ

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย ballbeamboy2, 27 ตุลาคม 2012.

  1. ballbeamboy2

    ballbeamboy2 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 สิงหาคม 2011
    โพสต์:
    1,622
    ค่าพลัง:
    +1,618
    พอดีผมสนใจ ฌานเห็นอนาคตฝึกไงครับ บอกทีหาของหลวงพ่อท่านไม่เจออ่าครับ ถ้าจะดีฌานในปัจจุบันเช่น คือการดูว่าคนทําอะไรอยู่ตอนนี้ทําไงครับ

    ผมเห็นว่ามีกําไรมาก ทั้งทางโลกทางธรรม
     
  2. Saber

    Saber เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    5,941
    กระทู้เรื่องเด่น:
    19
    ค่าพลัง:
    +11,819
    เข้าสมาธิ ก่อนครับ สมาธิ ตามหลักศาสนาพุทธ นะครับ

    ไม่ใช่ สมาธิ ทางโลกๆ พวก สมาธิ เรียนหนังสือใน ห้อง สมาธิ ขับรถ สมาธิ ตอนอ่านหนังสือ พวกสมาธิพวกนี้ ไม่ ไม่ต้องเอามาพูดนะ


    พอเข้าสมาธิแล้ว จิตเป็น สมาธิ จิต เป็น ผู้รู้ แล้ว


    ตั้งสมาธิ ไว้ที่ อุปจารสมาธิ ครับ

    พอจิต เป็น อุปจารสมาธิ แล้ว


    รำพึงในจิต ว่า จะเราจักดูอนาคต แล้วก็ ระบุเจาะจงว่าจะดูที่ไหน เวลาไหน

    แล้วจะเห็น ภาพ นิมิต อนาคต ให้เห็นเอง

    ดูอนาคต หรือ ดู อดีตชาติ วิธีเหมือนกัน ทั้ง 2 แบบละ

    ถ้า กำลัง สมาธิดี ศีล 5 ครบ ก็จะเห็นภาพชัดเจน

    ถ้ากำลังสมาธิต่ำ ศีล 5 ขาดๆ ศีลทะลุ ภาพ ก็จะ มืดๆ


    ถ้า เวลา ดูนั้น ถ้าเราไม่ ระบุให้ชัดเจน

    เช่น ดู หมาดำ รำพึงในจิต ว่า จะดูหมาดำ มันก็จะ เห็น หมาดำ ที่ไหนไม่รู้ สถานที่ตรงไหนก็ไม่รู้มาให้เห็น เพราะไม่ได้ระบุรายละเอียดไว้

    หรือ ดูวัด แต่ไม่ระบุ ว่าที่ไหน ก็จะเห็น วัด ที่ไหนก็ไม่รู้มาให้

    หรือแม้ กระทั้ง ดู ตัวบุคคล ดูพระ ก็ปรากฏ พระในวัดไหน ก็ไม่รู้มาให้


    นอกจาก กำลัง สมาธิ แล้ว

    ถ้า ได้ ฌาน ปฐมฌาน

    ก็ให้ เข้า ปฐมฌาน ก็ได้ครับ

    เพราะ กำลัง ปฐมฌาน จะมีกำลังมากกว่า จะดูได้ ชัดเจน มากกว่า ครับ

    ใช้กำลัง ปฐมฌาน ภาพจะใส มากๆๆๆๆๆๆๆๆๆ


    ลองดูครับ

    .

    หรือหาอ่านใน พระไตรปิฏก ก็ได้ มีสอนบอกเอาไว้เหมือนกัน

    จะดูอนาคต หรือ อดีต มีบอกใน พระไตรปิฏก ครับ แต่หาให้เจอนะ ทั้งเล่มเขียนเอาไว้ 2 3 บรรทัด


    .


    .
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 27 ตุลาคม 2012
  3. ballbeamboy2

    ballbeamboy2 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 สิงหาคม 2011
    โพสต์:
    1,622
    ค่าพลัง:
    +1,618
    อ่อ อารมณ์ตอนที่จิตเป็นทิพย์ผมพอเข้าใจ (เพราะเคยเจอ) ตอนที่ผมเห็นแสงสว่างไรพวกนี้ใช่ไหมครับ เรียกว่าอุปจารสมาธิ (อ่านของหลวงพ่อมา) ตอนนั้นเป็นตาทิพย์(ทิพจักขุฌาน)คือจะเอา ตาทิพย์ก็ได้โอเคครับผมจะเอาไปปฎิบัติดูครับ
     
  4. Saber

    Saber เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    5,941
    กระทู้เรื่องเด่น:
    19
    ค่าพลัง:
    +11,819
  5. บุรุษไร้เงา

    บุรุษไร้เงา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มกราคม 2007
    โพสต์:
    8,430
    ค่าพลัง:
    +35,010
    ขออนุญาติเสริมต่อจากคุณ Saber นิดหน่อย
    ควรพิจารณาตัดร่างกายด้วยนะครับว่าเราไม่ต้องการร่างกายนี้ กายนี้เป็นสาเหตุของทุกข์.และร่างกายอื่น
    เราก็ไม่ต้องการไม่ต้องการเกิดเป็นอะไรทั้งนั้น...ชาตินี้ขอเป็นชาติสุดท้าย
    .และบวกกับขอบารมี...ภาพที่เห็นและสภาพแวดล้อมต่างๆจะชัดขึ้น
    และสามารถไปยังภพภูมิต่างๆได้ไกลขึ้น.หากอนาคตคุณสามารถ
    สะสมกำลังสมาธิมากยิ่งขี้นประกอบแล้วหละ..ก็สามารถไปถึงยัง 3 ทวีปที่เหลือที่กล่าวไว้ในพระพุทธศาสนาได้ด้วยครับ...
     
  6. จิ๊กซอ

    จิ๊กซอ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 พฤศจิกายน 2009
    โพสต์:
    2,062
    ค่าพลัง:
    +2,356
    ผมว่าทำความเข้าใจเรื่อง ฌานและญานก่อนก็ดีนะครับ ฌานกับญานไม่เหมือนกัน
     
  7. ปลาแมว

    ปลาแมว เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 มิถุนายน 2009
    โพสต์:
    235
    ค่าพลัง:
    +797
    ต่างกันยังไง รบกวนชี้แนะด้วยครับ ผมเข้าใจว่าเหมือนกันแต่ต่างกันแค่ชื่อเรียกมาตลอดครับ
     
  8. ปุณฑ์

    ปุณฑ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 กันยายน 2008
    โพสต์:
    2,760
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +4,692
  9. อินทรี

    อินทรี เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 กรกฎาคม 2009
    โพสต์:
    418
    ค่าพลัง:
    +562
    สงสัย น้องคงอยากฝึกให้ได้ตาทิพย์ เปนอภิญญาข้อหนึ่งที่ได้การสำเร็จรูปฌาน
    แต่ก้ไม่แน่ว่าได้ฌานแล้วจะรู้สิ่งที่เกิดอนาคต อาจไม่ร้ก้ได้นะคับ

    ทำได้สองวิธีคือได้จากเจริญลำดับฌานอยู่ในหมวดอภิญญา กับจาก เจริญสติปัฏฐานอยู่หมวดวิชชา3 ให้จิตตั้งมั่นอยู่ในสมาธิอย่างน้อย 60%ขึ้นไป จะรู้ถึงสิ่งต่างๆที่พิเศษนอกเหนือจากจิตธรรมดารับรู้ ได้แน่ แต่ว่ายากหน่อย.....อาศัยบารมีและความเพียรมากเหมือนกัน
     
  10. TPC

    TPC เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 มิถุนายน 2012
    โพสต์:
    474
    ค่าพลัง:
    +2,435
    ฌาณและญาณ เสื่อมได้เสมอ แต่ฌาณและญาณของพระอรหันต์ไม่เสื่อม
    เหตุที่ไม่เสื่อม เพราะท่านไม่มีกิเลสแล้ว การรู้ การเห็นจึงเป็นเรื่องธรรมดาของมัน
    ท่านไม่สนใจในสิ่งที่รู้ที่เห็นที่ได้ที่มี เพราะจิตเป็นอิสระแล้ว ไม่ยึดติด

    การรู้การเห็นต้องไม่ไปอยากรู้อยากเห็น ให้จิตมันเห็นของมันเอง นิมิตเกิดขึ้นเอง
    นิมิตที่ไม่ปรุงแต่งโดยมากจะเป็นความจริงสัจจริง แต่ก็มีบางส่วนที่ไม่จริงเพราะจิตยังไม่บริสุทธิ์พอ

    เรื่องอนาคตังสญาณมีพระอริยะหลายรูป เช่นหลวงพ่อเขียน หลวงพ่อเนื่อง หลวงปู่ศุข หลวงพ่อทอง หลวงพ่อปาน หลวงพ่อฤาษี อีกมากมาย แต่ญาณที่ว่าอาจจะเป็นเรื่องในอนาคตที่ต่างเรื่องกัน ขึ้นอยู่กับธรรมชาติของจิตพระอรหันต์หรือพระโพธิสัตว์เหล่านั้น

    สรุปโดยมากอภิญญาทั้งหลายย่อมทรงตัวอยู่ได้ก็ด้วยผู้มีกิเลสน้อย ประพฤติพรหมจรรย์ ส่วนมากจะเป็นพระอนาคามี พระโพธิสัตว์ ผู้บำเพ็ญบารมีมากมาก ที่ห่างไกลกิเลส
    และพระอรหันต์ผู้ไกลจากกิเลสแล้วครับ

    ถ้าคุณอยากได้อภิญญาทางจิต ต้องฝึกจิต ต้องถือศีลให้บริบูรณ์ และผ่านไปให้ได้ถึงพระอนาคามี อยู่ในพรหมจรรย์ เรื่องกามละวางได้หมด ไม่มีเพศ ไม่มีคนสัตว์ มีเพียงธาตุขันธ์ นามรูป

    ถ้าคุณยังละเกิเลสได้น้อย ก็ไปไม่ถึงครับ ถ้าไปได้ถึง คุณต้องละกิเลสได้มากแล้ว เรื่องอภิญญาก็ไม่ใช่สาระที่คุณอยากได้อีกต่อไปเพราะ คุณย่อมบรรลุธรรมขั้นสูง อันเป็นสภาวะที่เกิดปัญญาว่าว่า ควรมีชีวิตอยู่อย่างไร วางกายและจิตอย่างไร การหลุดพ้นไกลจากกิเลสต้องเดินต่อไปอย่างไร ให้ถึงที่สุดแห่งนิพพานครับ

    สุดท้ายอภิญญาของผู้เจริญผู้เป็นพระอริยะแล้วนั้น จึงเป็นแค่เพียงเรื่องเด็กๆที่ไม่ควรจะนำมาใส่ใจอะไรสนใจอะไรมากนักครับ สาธุ
     
  11. Saber

    Saber เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    5,941
    กระทู้เรื่องเด่น:
    19
    ค่าพลัง:
    +11,819
    <TABLE style="BORDER-COLLAPSE: collapse" id=AutoNumber16 border=0 cellSpacing=1 borderColor=#ffffff width=507><TBODY><TR><TD width=503>โดย พระราชพหรมยาน (หลวงพ่อฤาษีลิงดำ)




    </TD></TR></TBODY></TABLE>​





    <HR>หนังสือคู่มือปฏิบัตินี้


    อุปกิเลสของวิปัสสนาญาณ ๑๐


    ในขั้นวิปัสสนาญาณ เป็นกฎการปฏิบัติเพื่อบรรลุมรรคผล ท่านก็ต้องมีการเตรียมเครื่อง
    อุปกรณ์การปฏิบัติให้ครบถ้วนอย่างปฏิบัติขั้นฌานเหมือนกัน เมื่อท่านตระเตรียมในขั้นบารมี ๑๐ ชื่อว่า
    เป็นการเตรียมปูพื้นให้เรียบเพื่อเป็นพื้นฐานขั้นต้น เช่นเดียวกับการปรับปรุงศีลให้บริสุทธิ์ขั้นปฏิบัติฌาน
    เมื่อท่านปรับปรุงบารมี ๑๐ เพื่อเป็นพื้นฐานแล้สิ่งที่ต้องระวังการพลั้งพลาดในการเจริญวิปัสสนา
    อารมณ์จิตอาจจะข้องหรือหลงใหลในอารมณ์ใดอารมณ์หนึ่ง จนทำให้เสียผลในการกำจัดกิเลส เช่นเดียว
    กับจิตข้องในนิวรณ์ทำให้เสียกำลังสมาธิ ไม่ได้ฌานเช่นกัน อารมณ์กิเลสที่คอยกีดกันอารมณ์วิปัสสนา
    ก็คืออารมณ์สมถะที่มีอารมณ์ละเอียดคล้ายคลึงวิปัสสนาญาณ ท่านเรียกว่าว่า อุปกิเลสของวิปัสสนา ๑๐
    อย่าง คือ
    ๑. โอภาส โอภาส แปลว่า แสงสว่าง ขณะพิจารณาวิปัสสนาญาณนั้น จิตที่กำลังพิจารณาอยู่
    จิตย่อมทรงอยู่ในระดับอุปจารสมาธิ สมาธิระดับนี้ เป็นสมาธิเพื่อสร้างทิพยจักษุญาณ ย่อมเกิดแสงสว่าง
    ขึ้น คล้ายใครเอาประทีปมาตั้งไว้ใกล้ ๆ เมื่อปรากฏแสงสว่าง จงอย่าทำความพอใจว่าเราได้มรรคผล
    เพราะเป็นอำนาจของอุปจารสมาธิอันเป็นผลของสมถะ ที่เป็นกำลังสนับสนุนวิปัสสนาเท่านั้น ไม่ใช่ผล
    ในวิปัสสนาญาณ
    ๒. ปีติ ปีติ แปลว่า ความอิ่มใจ ความปลาบปลื้มเบิกบาน อาจมีขนพองสยองเกล้า น้ำตาไหล
    กายโยกโคลง กายลอยขึ้นบนอากาศ กายโปร่งสบาย กายเบา บางคราวคล้ายมีกายสูงใหญ่กว่าธรรมดา
    มีอารมณ์ไม่อิ่มไม่เบื่อในการปฏิบัติอารมณ์ สมาธิแนบแน่นดีมาก อารมณ์สงบสงัดง่าย อาการอย่างนี้
    ไม่ใช่ผลของวิปัสสนา เป็นผลของสมถะ อย่าเข้าใจว่าบรรลุมรรคผล
    ๓. ปัสสัทธิ ปัสสัทธิ แปลว่า ความสงบระงับด้วยอำนาจฌาน มีอารมณ์สงัดเงียบ คล้าย
    จิตไม่มีอารมณ์อื่น มีความว่างสงัดสบาย ความรู้สึกทางอารมณ์ โลกียวิสัยดูคล้ายจะสิ้นไปเพราะความรัก
    ความโลภ ความโกรธ ความข้องใจในทรัพย์สินไม่ปรากฏ อาการอย่างนี้เป็นอารมณ์ของอุเบกขาใน
    จตุตถฌาน เป็นอาการของสมถะ ผู้เข้าถึงใหม่ๆ ส่วนมากหลงเข้าใจผิดว่าบรรลุมรรคผล เพราะความ
    สงัดเงียบอย่างนี้ตนไม่เคยประสบมาก่อน ต้องยับยั้งชั่งใจไว้ก่อน อย่าด่วนตัดสินใจว่าได้มรรคผล
    เพราะมรรคผลมีฌานเป็นเครื่องรู้มีอยู่ ถ้าญาณเป็นเครื่องรู้ยังไม่แจ้งผลเพียงใด ก็อย่าเพ่อตัดสินใจ
    ว่าได้บรรลุมรรคผล
    ๔. อธิโมกข์ อธิโมกข์แปลว่า อารมณ์ที่น้อมใจเชื่อโดยปราศจากเหตุผล
    ด้วยพอได้ฟังว่าเราได้มรรคได้ผล ยังมิได้พิจารณาให้ถ่องแท้ก็เชื่อแน่เสียแล้ว ว่าเราได้มรรคได้ผล
    โดยไม่ใช้ดุลพินิจเป็นเครื่องพิจารณา อาการอย่างนี้ เป็นอาการของศรัทธาตามปกติ ไม่ใช่มรรคผล
    ที่ตนบรรลุ
    ๕. ปัคคหะ ปัคคหะแปลว่า มีความเพียรกล้า คนที่มีความเพียรบากบั่นไม่ท้อถอย
    ต่ออุปสรรค เป็นเหตุที่จะให้บรรลุมรรคผล แต่ถ้ามาเข้าใจว่าตนได้บรรลุเสียตอนที่มีความเพียร
    ก็เป็นการที่น่าเสียดายอย่างยิ่ง ความพากเพียรด้วยความมุมานะนี้ เป็นการหลงผิดว่าได้บรรลุ
    มรรคผลได้เหมือนกัน
    ๖. สุข สุขแปลว่า ความสบายกายสบายใจ เป็นอารมณ์ของสมถะที่เข้าถึงอุปจารฌาน
    ระดับสูง มีความสุขทางกายและจิตอย่างประณีต ไม่เคยปรากฏมาก่อนในชีวิต อารมณ์สงัดเงียบ
    เอิบอิ่มผ่องใส สมาธิก็ตั้งมั่น จะเข้าสมาธิเมื่อใดก็ได้ อารมณ์อย่างนี้เป็นผลของสมถภาวนา จงอย่า
    หลงผิดว่าได้มรรคผลนิพพาน
    ๗. ญาณ ญาณแปลว่า ความรู้อันเกิดขึ้นด้วยอำนาจที่จิตมีสมาธิ จากผลของ
    สมถภาวนา เช่น ทิพยจักษุฌาน เป็นต้น สามารถเห็นนรก สวรรค์ พรหมโลกได้ และรู้อดีต อนาคต
    ปัจจุบันได้ตามสมควร เป็นผลของสมถะแท้ไม่ใช่ผลของวิปัสสนา เมื่อได้ เมื่อถึงแล้วอาจจะหลงผิด
    ว่าได้บรรลุผลนิพพาน เลยเลิกไม่ทำต่อไป พอใจในผลเพียงนั้น ก็เป็นที่น่าเสียดาย เพราะญาณที่กล่าว
    มาแล้วนั้นเป็นญาณในสมถะ ไม่ใช่อารมณ์วิปัสสนาญาณ ถ้าพอใจเพียงนั้นก็ยังต้องเป็นโลกียชน
    ต้องเวียนว่ายตายเกิดในวัฏฏะต่อไป
    ๘. อุเบกขา อุเบกขา แปลว่า ความวางเฉย เป็นอารมณ์ในสมถะ คือ ฌาน ๔
    ถ้ามาเข้าใจว่าความวางเฉยนี้เป็นมรรคผล ก็เป็นเรื่องที่น่าเสียดายอย่างยิ่ง ความจริงก็อาจคิดไปได้
    เพราะคนใหม่ยังเข้าใจอารมณ์ไม่พอ ท่านจึงบอกไว้ให้คอยระวัง
    ๙. อุปปัฏฐาน อุปปัฏฐาน แปลว่า เข้าไปตั้งมั่น หมายถึงอารมณ์ที่เป็นสมาธิ มีอารมณ์
    สงัดเยือกเย็น ดังเช่นที่ท่านเข้าฌาน ๔ มีอารมณ์สงบสงัด แม้แต่เสียงก็กำจัดตัดขาดไม่มีปรากฏ
    อารมณ์ใดๆ ไม่มี เป็นอารมณ์ที่แยกกันระหว่างกายกับจิตอย่างเด็ดขาด เป็นปัจจัยให้นักปฏิบัติ
    เข้าใจพลาดว่าบรรลุมรรคผลก็เป็นได้ ความจริงแล้วเป็นฌาน ๔ ในสมถะแท้ๆ
    ๑๐. นิกกันติ นิกกันติแปลว่า ความใคร่ เป็นความใคร่น้อยๆ ที่เป็นอารมณ์ละเอียด
    ไม่ฟูมาก ถ้าไม่กำหนดรู้อาจไม่มีความรู้สึก เพราะเป็นอารมณ์ของตัณหาสงบ ไม่ใช่ขาดเด็ด
    เป็นเพียงสงบ พักรบชั่วคราวด้วยอำนาจฌาน มีปฐมฌานเป็นต้น เข้าระงับ อารมณ์ตัณหาที่อ่อน
    ระรวยอย่างนี้ ทำให้นักปฏิบัติเผลอเข้าใจว่าบรรลุมรรคผลนิพพานมีไม่น้อย แต่พอนานหน่อย
    ฌานอ่อนกำลังลง พ่อกิเลสตัณหาก็กระโดดโลดเต้นตามเดิม อาการอย่างนี้ นักปฏิบัติก็ต้อง
    ระมัดระวัง
    วิปัสสนาญาณที่พิจารณาต้องมีสังโยชน์เป็นเครื่องวัด และพิจารณาไปตามแนวของ
    สังโยชน์เพื่อการละ ละเป็นขั้น เป็นระดับไป ค่อยละค่อยตัดไปทีละขั้น อย่าทำเพื่อรวบรัดเกินไป
    แล้วคอยระมัดระวังใจ อย่าให้หลงใหลในอารมณ์อุปกิเลส ๑๐ ประการ ท่านค่อยทำค่อยพิจารณา
    อย่างนี้ ก็มีหวังที่จะเข้าถึงความสุข ที่เป็นเอกันตบรมสุข สมความมุ่งหมาย




    .

    สิ่งที่ต้องระวังการพลั้งพลาดในการเจริญวิปัสสนา
    อารมณ์จิตอาจจะข้องหรือหลงใหลในอารมณ์ใดอารมณ์หนึ่ง จนทำให้เสียผลในการกำจัดกิเลส เช่นเดียว
    กับจิตข้องในนิวรณ์ทำให้เสียกำลังสมาธิ ไม่ได้ฌานเช่นกัน อารมณ์กิเลสที่คอยกีดกันอารมณ์วิปัสสนา
    ก็คืออารมณ์สมถะที่มีอารมณ์ละเอียดคล้ายคลึงวิปัสสนาญาณ ท่านเรียกว่าว่า อุปกิเลสของวิปัสสนา ๑๐


    ๗. ญาณ ญาณแปลว่า ความรู้อันเกิดขึ้นด้วยอำนาจที่จิตมีสมาธิ จากผลของ
    สมถภาวนา เช่น ทิพยจักษุฌาน เป็นต้น สามารถเห็นนรก สวรรค์ พรหมโลกได้ และรู้อดีต อนาคต
    ปัจจุบันได้ตามสมควร เป็นผลของสมถะแท้ไม่ใช่ผลของวิปัสสนา เมื่อได้ เมื่อถึงแล้วอาจจะหลงผิด
    ว่าได้บรรลุผลนิพพาน เลยเลิกไม่ทำต่อไป พอใจในผลเพียงนั้น ก็เป็นที่น่าเสียดาย เพราะญาณที่กล่าว
    มาแล้วนั้นเป็นญาณในสมถะ ไม่ใช่อารมณ์วิปัสสนาญาณ ถ้าพอใจเพียงนั้นก็ยังต้องเป็นโลกียชน
    ต้องเวียนว่ายตายเกิดในวัฏฏะต่อไป


    เป็นผลของสมถะแท้ไม่ใช่ผลของวิปัสสนา

    เป็นผลของสมถะแท้ไม่ใช่ผลของวิปัสสนา

    เป็นผลของสมถะแท้ไม่ใช่ผลของวิปัสสนา


    http://www.palungjit.org/smati/k40/rule.htm#อุปกิเลสของวิปัสสนาญาณ%20๑๐
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 29 ตุลาคม 2012
  12. บุรุษไร้เงา

    บุรุษไร้เงา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มกราคม 2007
    โพสต์:
    8,430
    ค่าพลัง:
    +35,010
    บทความที่คุณ Saber นำมาลงใน #Rep 12
    มีประโยชน์มากครับ.ใช้เป็นข้อที่พึง
    ระมัดระวังหรือส่วนเสริมสำหรับนักปฎิบัติได้ดีทีเดียวถ้าจะถึงในขั้นของวิปัสสนาญาณ..หรือ ถ้ามาถึงอารมย์ที่สามารถยกเรื่องพิจารณาดังที่กล่าวมาแล้วนั้น
    ขอเพิ่มเติมอีกหน่อย..ก็คือใช้หลักตัดให้หมดทั้งนิมิตรและภพภูมิทั้งที่เข้ามาและเราส่งออก.ในระดับนี้เรื่องนิวรณ์ถือว่าเลยมาแล้ว.บวก
    กับกำลังสมาธิที่สะสมมาจะทำให้สามารถอยู่ในอารมย์นี้ได้นานยิ่งขึ้น​
     
  13. ปุณฑ์

    ปุณฑ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 กันยายน 2008
    โพสต์:
    2,760
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +4,692
    เขาว่า กสิณที่เอื้อกับทิพยจักขุ(ตาทิพย์)มากที่สุด
    เป็นกสิณ3 กองนี้ เตโชกสิณ โอทาตะกสิณ แล้วก็อโลกกสิณ..

    อันนี้ก็น่าลองไปอ่าน...
    จากหนังสือคู่มือปฏิบัติพระกรรมฐาน พิมพ์โดย โฮมเพจศรัทธาธรรม
    http://www.horasaadrevision.com/index.php?lay=show&ac=article&Id=96388&Ntype=6
     
  14. ทศมาร

    ทศมาร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2010
    โพสต์:
    166
    ค่าพลัง:
    +237
    ทางที่ดีอย่าไปอยากได้เลยนะครับ มีส่วนทำให้เป็นบ้าได้ จิตมันปรุงแต่งสารพัดได้แนบเนียน ทำให้คิดว่าตัวเองได้อภิญญาก็มี ถึงเวลานั้นเสียงพูดเสียงอะไรก็เหมาเอาว่าเป็นอภิญญาทั้งหมด เป็นใครมาพูดกับเราก็มีถึงเวลานั้นอยากจะแก้ไขก็ลำบากแล้ว ขอให้ได้ปัญญาดีกว่าครับ
     
  15. chue27

    chue27 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2005
    โพสต์:
    183
    ค่าพลัง:
    +1,358
    ความอยาก เป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้ไม่เกิดสมาธิ เมื่อไม่เกิดสมาธิ ความเป็นทิพย์ก็ไม่เกิด เริ่มต้นคุณควรจัดการกับความอยากในตัวก่อนนะ เพราะถ้าฝึกแบบอยากๆ เดี๋ยวจะเป็นแบบคุณ ทศมารบอก
     
  16. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,458
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,024
    ค่าพลัง:
    +70,068
     
  17. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,458
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,024
    ค่าพลัง:
    +70,068
    สิ่งที่สามารถในการเห็น หรือมีลักษณะเห็นได้ดังตา ท่านเรียกว่าจักษุทั้งนั้น จะประมวลคำชื่อจักษุที่ท่านกำหนดไว้ในที่ต่างๆ มาไว้ในที่นี้ พร้อมกับอธิบายลักษณะความหมายไว้พอเป็นที่สังเกต ดังต่อไปนี้

    ๑. มังสจักษุ ตาเนื้อ ได้แก่ตาธรรมดาของสามัญมนุษย์ ซึ่งสามารถมองเห็นรูปวัตถุทั้งปวงและสิ่งซึ่งเนื่องด้วยรูปวัตถุ เช่น พยับแดดและแสงสว่างเป็นต้น ความสำคัญของตาเนื้ออยู่ที่จักขุประสาท หรือที่เรียกว่าแก้วตา มิได้อยู่ที่เนื้อตาทั้งหมด หากแต่เป็นสิ่งเนื่องกัน เมื่อส่วนประกอบของดวงตาเสียไปแม้ประสาทจักขุหรือแก้วตายังดีก็จะทำให้รู้สึกมัวฝ้าฟาง มองดูอะไรไม่ค่อยเห็นชัด.

    ๒. ปัญญาจักขุ ตาปัญญา ได้แก่ความรู้ความเห็นเหตุผลและความจริงส่วนสามัญ อันสาธารณะทั่วไปแก่วิญญูชนทั้งปวง ผู้มีปัญญาดีย่อมมองเห็นเหตุผลและความจริงอันเป็นส่วนสามัญได้ง่าย คล้ายมองเห็นด้วยตาธรรมดา ผู้มีปัญญาทรามย่อมมองเห็นเหตุผลและความจริงส่วนสามัญได้ยาก เหมือนคนตาฟางมองเห็นอะไรไม่ถนัดชัดเจนฉะนั้น.

    ๓. ฌานจักขุ ตาฌาน ได้แก่การเห็นสรรพนิมิตในฌานของผู้บำเพ็ญฌาน คล้ายเห็นด้วยตาธรรมดาเป็นที่รู้กันอยู่ในหมู่พุทธศาสนิกชนว่า ตาใน นั่นเอง ตาชนิดนี้ก็สามารถมองเห็นเหตุการณ์ในอดีต อนาคต และปัจจุบันได้ คล้ายคลึงกับตาทิพย์ เป็นแต่ยังไม่บริสุทธิ์เท่าเทียมตาทิพย์ เห็นได้แต่สิ่งหยาบๆ และเห็นได้ในระยะใกล้ คือถ้าเป็นส่วนอดีตก็เป็นอดีตใกล้ ถ้าเป็นอนาคตก็เป็นอนาคตใกล้ ถ้าเป็นส่วนปัจจุบันก็เป็นปัจจุบันใกล้.

    ๔. ทิพพจักขุ ตาทิพย์ ได้แก่ตาของเทพเจ้า หรือบุคคลผู้เจริญฌานสมบูรณ์ด้วยทิพยอินทรีย์ มีภาวะทางใจเสมอด้วยเทพเจ้าแล้ว ตาทิพย์ย่อมสามารถเห็นทิพยรูปทั้งปวง เห็นเหตุการณ์หรือความเป็นไปของบุคคลในระยะไกล ทั้งในส่วนอดีต อนาคต และปัจจุบัน และสามารถเห็นสิ่งซึ่งลี้ลับมีอะไรปกปิดกำบัง กับมองทะลุไปในสิ่งกีดขวางทั้งปวงได้ เกินวิสัยตามนุษย์ธรรมดาหลายล้านเท่า ตาทิพย์นี้เป็นทิพยอำนาจที่มุ่งหมายจะอธิบายในที่นี้.

    ๕. ธัมมจักขุ ตาธรรม ได้แก่วิปัสสนาญาณของพระอริยโสดาบัน ซึ่งมองเห็นทะลุความจริงในด้านโลกว่า ทุกสิ่งที่มีเกิดต้องมีดับ และมองเห็นทะลุความจริงในด้านธรรมว่า ทุกสิ่งไม่มีเกิดต้องไม่มีดับ หมายความว่าเห็นโลกและธรรมทะลุแล้วเชื่อมั่นว่ามีธรรมชาติไม่มีทุกข์ ซึ่งตรงกันข้ามกับโลกซึ่งเป็นธรรมชาติมีทุกข์ เป็นผู้หยั่งลงสู่กระแสธรรม ดำเนินตรงไปสู่ด้านปราศจากทุกข์ได้อย่างไม่ยอมถอยหลัง มีหวังบรรลุภูมิที่ปราศจากทุกข์ได้แน่นอนแล้ว.

    ๖. ญาณจักขุ ตาญาณ ได้แก่ปรีชาสามารถหยั่งรู้หยั่งเห็นเหตุผล และความจริงส่วนวิสามัญทั้งในด้านโลกและด้านธรรมยิ่งๆ ขึ้นของพระอริยบุคคลชั้นสูงกว่าพระโสดาบัน ต่ำกว่าพระอรหันต์ สามารถบรรเทาราคะ โทสะ โมหะ ให้เบาบางไปจากขันธสันดานได้มากยิ่งกว่าภูมิพระโสดาบัน ไตรลักษณญาณเกือบจะแจ่มแจ้งทุกประการแล้ว ความเห็นลักษณะความไม่เที่ยง และความเป็นทุกข์ของโลกแจ่มแจ้งแก่ใจแล้ว แต่ความเห็นลักษณะความเป็นอนัตตาของโลกยังไม่แจ่มแจ้งแก่ใจ ยังมัวซัวในบางสิ่ง อวิชชาจึงยังเหลืออยู่ในขันธสันดาน เป็นเหตุให้มีอุปาทานในทุกข์เป็นบางส่วน.

    ๗. พุทธจักขุ ตาพุทธะ ได้แก่ปรีชาญาณที่สามารถมองเห็นโลกและธรรมตามความเป็นจริงได้หมดทุกแง่ทุกมุมแล้ว สามารถสังหารอวิชชาขาดเด็ดจากขันธสันดาน บรรลุถึงภูมิพระนิพพาน ดับทุกข์โศกโรคภัยได้หมดแล้ว ถึง “ความเป็นแก้ว” ดวงหนึ่งในจำนวนแก้ว ๓ ดวง คือพุทธรัตนะ ธรรมรัตนะ และสังฆรัตนะ ผู้บรรลุถึงภูมินี้เรียกว่าพระอรหันต์ มีจิตใจบริสุทธิ์ดุจแก้วมณีโชติ เป็นผู้ตื่นตัวเต็มที่แล้ว หายละเมอเพ้อฝันแล้ว เมื่อใจบริสุทธิ์ดุจแก้วมณีโชติ แม้ปรีชาญาณของท่านก็บริสุทธิ์ดุจแก้วเช่นเดียวกันฉะนั้น เมื่อจะสมมติให้เข้าใจง่าย ข้าพเจ้าจึงพอใจเรียกว่าตาแก้ว เป็นตาของท่านผู้ตื่นตัวเต็มที่แล้วจำพวกเดียว เป็นตาที่สามารถมองเห็น “พระแก้ว” คือ“วิสุทธิเทวา” บรรดาที่ปรินิพพานไปแล้ว ทั้งสามารถฟังเสียงพระแก้วได้ด้วย เป็นตาที่ดีวิเศษประเสริฐสูงส่งกว่าตาทิพย์ เพราะเทพเจ้าธรรมดาซึ่งมีตาทิพย์ไม่สามารถมองเห็นพระแก้ว คือพระอรหันต์ และไม่สามารถได้ยินเสียงของท่านด้วย เว้นแต่เทพเจ้าผู้บรรลุถึงภูมิพระแก้วบางพระองค์เท่านั้น.

    ๘. สมันตจักขุ ตารอบด้าน ได้แก่พระสัพพัญญุตัญญาณ พระอนาวรญาณ พระทศพลญาณและพระเวสารัชชญาณ ของพระบรมศาสดาจารย์สัมมาสัมพุทธเจ้า ซึ่งเป็นพระญาณครอบสากลโลกสากลธรรม สมด้วยคำยอพระเกียรติพระองค์ว่า โลกจักขุ โลกันตทัสสี ทรงเห็นโลก ทรงเห็นที่สุดโลก คนธรรมดาอยู่ในโลกแต่ไม่เห็นโลก จึงกระทบกระทั่งกับโลกร่ำไป ส่วนพระบรมศาสดาทรงเห็นโลกแล้วจึงไม่กระทบกระทั่งกับโลก นักธรรมสามัญทั้งหลายแม้ศึกษาธรรม ประพฤติธรรมแต่ก็ยังไม่เห็นธรรมถูกถ้วนทุกแง่ทุกมุม จึงกระทบกระทั่งกับธรรมร่ำไป ส่วนพระบรมศาสดาทรงเห็นธรรมถูกถ้วนทุกแง่ทุกมุม จึงไม่กระทบกระทั่งกับธรรม ทรงเป็นอันหนึ่งอันเดียวกับธรรมเสมอไป พระเนตรคือพระปรีชาญาณของพระองค์แจ่มใสที่สุด สามารถมองเห็นได้กว้างไกลที่สุดโดยรอบทุกทิศทุกทาง มองทะลุไปทั่วสากลจักรวาล ยิ่งกว่าตาของท้าวพันตาหลายล้านเท่า ยิ่งกว่าตาของท้าวมหาพรหมผู้เป็นประชาบดีใหญ่ยิ่งในหมู่ประชาสัตว์หลายแสนเท่า ทรงมองเห็นเหตุการณ์เบื้องหลังที่ผ่านมาแล้วได้ไกลประมาณแสนโกฏิอสงไขยกัป ทรงเห็นเหตุการณ์เบื้องหน้าที่จะมาถึงได้ไกลประมาณแสนโกฏิอสงไขยกัปเช่นเดียวกัน ทรงเห็นเหตุการณ์จำเพาะหน้าได้ถ้วนถี่ทุกประการ และทรงเห็นเหตุผลได้ละเอียดถี่ถ้วนที่สุด จึงทรงสามารถบัญญัติพระธรรมวินัยไว้เป็นหลักศึกษาแก่พุทธเวไนยได้ประณีตบรรจง สมบูรณ์ด้วยอรรถพยัญชนะ พร้อมพรั่งด้วยเหตุและผล ทนต่อการพิสูจน์ของนักปราชญ์ ไม่มีใครอาจค้านติงได้ สมกับคำยอพระเกียรติว่า สมันตจักขุ พระผู้มีจักษุรอบด้านแท้เทียว.


    วิธีการกำหนดรู้เหตุการณ์ในอนาคต สำหรับผู้อบรมจิตใจนั้นเป็นดังนี้ เมื่อต้องการอยากทราบเหตุการณ์ในอนาคตของโลก ของพระศาสนา หรือของตนเอง พึงทำความสงบใจถึงขั้นอุปจารสมาธิ แล้วนึกถามขึ้นในใจว่าจะมีเหตุการณ์อะไรเกิดขึ้นแก่โลก แก่พระศาสนา หรือแก่ตนเอง แล้วพึงทำความสงบต่อไปจนถึงขีดขั้นของฌานที่ ๔ แล้วพึงเคลื่อนจิตถอยออกมาถึงขั้นอุปจารสมาธิ ถ้าเหตุการณ์อะไรจะมีขึ้นก็จะปรากฏภาพเหตุการณ์นั้นขึ้นในมโนทวาร จะเกิดญาณหยั่งรู้ขึ้นในลำดับนั้นด้วย แต่ถ้าไม่รู้พึงกำหนดถาม แล้วเข้าสู่ความสงบดังวิธีที่กล่าวแล้วในข้ออตีตังสญาณนั้น ก็จะทราบได้ ท่านผู้เชี่ยวชาญทางจิตใจอาจรู้เห็นได้โดยมิต้องทำการกำหนดรู้ดังที่ว่านี้ เพราะจิตใจของท่านบริสุทธิ์แจ่มใสประดุจกระจกเงาบานใหญ่ เหตุการณ์อะไรจะเกิดขึ้นที่ไหน เมื่อไร จะมีเงาปรากฏที่จิตใจของท่านเสมอไป บางท่านอาจใช้วิธีอธิษฐานไว้ว่า ถ้าจะมีเหตุการณ์อะไรเกิดขึ้นข้างหน้า จงปรากฏให้ทราบล่วงหน้า เมื่อถึงเวลาใกล้เหตุการณ์จะเกิดขึ้นเงาของเหตุการณ์จะมาปรากฏที่จิตให้ท่านทราบดังนี้ก็มี แต่บางท่านเกรงว่า การกำหนดรู้ก็ดี การอธิษฐานไว้ก็ดี จะทำให้เกิดสัญญาลวงขึ้นได้ จึงไม่ยอมทำอะไรอย่างอื่นนอกจากการทำการชำระจิตใจให้บริสุทธิ์ผ่องใสไว้ประดุจเงาบานใหญ่ ให้เงาเหตุการณ์มาปรากฏขึ้นเอง.

    ทิพยอำนาจ

    พระอริยคุณาธาร (ปุสโส เส็ง , ปธ. 6)

    วัดป่าเขาสวนกวาง จ.ขอนแก่น
     

แชร์หน้านี้

Loading...