การเข้าฌาน,ได้ฌาน,และการทรงฌาน

ในห้อง 'พุทธศาสนา และ ธรรมะ' ตั้งกระทู้โดย nondanun, 19 ตุลาคม 2012.

  1. nondanun

    nondanun เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    5,980
    กระทู้เรื่องเด่น:
    13
    ค่าพลัง:
    +32,612
    ขั้นตอนและวิธีการ
    1. การที่เราจะได้สมาธินั้น จะต้องตรวจทานศีลก่อนตามอัตตภาพตัวเอง เพราะว่า ศีล อบรม สมาธิ สมาธิ อบรม ปัญญา ปัญญาเข้าไปตัดตัวอาสวะทั้งหลาย การที่เราจะมีศีลบริสุทธิ์นั้น คือ 1.ไม่ผิดเอง 2. ไม่ยุยง 3. ไม่ยินดี เมื่อเขาผิดศีล ศีลของท่านก็จะบริสุทธิ์ ถ้าจะให้ดียิ่งขึ้นแล้ว เพื่อเป็นการทรงฌานมิให้เสื่อม ต้องถือหรือรักษาศีล 8 ขึ้นไป ยิ่งดี
    2. พรหมวิหารธรรม 4 ประการ คือ เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา ต้องอาศัยธรรมนี้เป็นเครื่องทำให้จิตมีความสุขุมเยือกเย็นและเบิกบานหลวงพ่อฤาษีลิงดำท่านได้พูดเสมอว่า ผู้ใดก็ตาม ตื่นเช้ามานั่งสมาธิแล้วแผ่เมตตา ถือว่าบุคคลผู้นั้นเป็นผู้ทรงไว้ซึ่งฌาน
    3.อิทธิบาทธรรม 4 ฉันทะ ความพอใจ วิริยะ- ความพากเพียร จิตตะ- เอาใจจดจ่อ วิมังสา- ใคร่ควรไตร่ตรองในสิ่งที่ตนกระทำแล้ว ขอเน้นที่ วิริยะ ความพากเพียร
    และจิตตะ เอาจิตจดจ่อในสิ่งที่ตนกระทำไม่่ให้จิตคาดเคลื่อนในสิ่งที่ตนถือกำหนดนั้นๆ ยกตัวอย่างเช่น ถ้าผู้ใดก็ตาม กำหนดลมหายใจเข้าออก ให้รู้ลม อย่างนั้น ตลอดทั้งวันทั้งคืน มิให้จิตคาดเคลื่อนจากลมที่กำหนดนั้น หรือกำหนด จับกสินกองใดกองหนึ่ง หรือภาพพุทธนิมิตร เป็นต้น การปฎิบัติเช่นนี้จะเห็นผลได้ไวมาก อย่างช้าแบบขี้เกลียด เดือนสองเดือน อย่างกลางเป็นสัปดาห์ๆ อย่างขยันพร้อมทั้งปัญญาไม่ใช้ทำแบบมุทะลุหรือตะบี้ตะบันทำ ให้ทำหรือปฏิบัติด้วยปัญญา ความเพียรเป็นสิ่งที่สำคัญมาก คณาจารย์ต่างๆท่านพูดเสมอว่า ความเพียรเท่าหางอึ่ง ริอาจจะพลิกผืนฟ้า
    4. ปัญญา คือความเข้าใจในวิชาหรือกองกรรมฐานอย่างถ่องแท้ ต้องศึกษาให้ดีว่า ฌานก็ดี ปีติก็ดี นิมิตรของกองกรรมฐานต่างๆก็ดี เป็นลักษณะเช่นไร ยกตัวอย่างเช่น นิมิตร ของอานาปานฯ หรือการจับลมหายเข้าออก นิมิตรของลม จะสัมผัสได้ว่า ลมจะเริ่มละเอียดทุกฐานของลมจะได้ยินเสียงลมดังเหมือนลมที่ปะทะหน้าผา ที่ริมฝีปากบนเป็นต้น เมื่อภาวนาถึงจุดหนึ่งจะมีการปรับระดับจิต คลายกับการตกภวังค์จิต แต่มีสติทุกประการ จะก่อเกิดความสว่างโพลงเป็นนิมิตร เหมือนอยู่ในถ้ำซึ่งเห็นว่าปลายเริ่มคล่อยๆสว่างขึ้น เสิียงรอบข้างๆเริ่งห่างออกไปหรือเบาออกไปเรื่อยๆ
    จึงขอยกเรื่องนิมิตรที่พระเดชพระคุณหลวงพ่อพระราชพรหมยานได้พูดไว้
    ขั้นตอนของนิมิต

    นิมิตขั้นแรกเรียกว่า อุคคหนิมิต อุคคหนิมิตนี้มีหลายขั้นตอน ในตอนแรกเมื่อจำภาพพระได้จนติดใจแล้ว ไม่ใช่ติดตา ต้องเรียกว่าติดใจเพราะใจนึกถึงภาพพระ จะนั่ง นอน ยืน เดินไปทางไหน หรืออยู่ที่ใดก็ตาม ต้องการนึกถึงภาพพระ ใจนึกภาพได้ทันทีทันใด มีความรู้ในภาพพระนั้นครบถ้วน ไม่เืลือนลาง อย่างนี้เรียกว่า อุคคหนิมิตขั้นต้น เป็นเครื่องพิสูจน์อารมณ์สมาธิได้ดีกว่าการนับ ถ้าสมาธิยังทรงอยู่ ภาพนั้นจะยังทรงอยู่กับใจ ถ้าสมาธิสลายตัวไปภาพนั้นจะหายไปจากใจ ถ้าท่านทำได้เพียงเท่านี้ อานิสงส์ คือบุญบารมีที่ท่านจะได้จะได้มากกว่า มัฏฐกุณฑลีเทพบุตร มาก

    อุคคหนิมิตขั้นที่สอง เมื่อสมาธิทรงตัวมากขึ้น ภาพพระจะชัดเจนมากขึ้น จะใสสะอาดผุดผ่องกว่าภาพจริง ถ้าท่านนึกขอให้ภาพพระนั้นสูงขึ้น ภาพนั้นจะสูงขึ้นตามที่ท่านต้องการ ต้องการให้อยู่ข้างหน้าหรือข้างหลัง เล็กลงหรือใหญ่ขึ้น จะเป็นไปตามนั้นทุกประการ อย่างนี้จัดเป็นอุคคหนิมิตขั้นที่สอง สมาธิจะทรงตัวได้ดีมาก จะสามารถทรงเวลาได้นานตามที่ต้องการ

    อุคคหนิมิตขั้นที่สาม เป็นขั้นสุดท้ายของอุคคหนิมิต เมื่อภาพนิมิตคือภาพพระปรากฏ ให้ถือเอาสีเหลืองเป็นสำคัญ ความจริงสีอื่นก็มีสภาพเหมือนกันแต่จะอธิบายเฉพาะสีเหลือง เมื่อสมาธิทรงตัวเต็มอัตรา ภาพสีเหลืองหรือสีอื่นก็ตามจะค่อยๆ คลายตัวเป็นสีขาวออกมาทีละน้อยๆ ในที่สุดจะเป็นสีขาวสะอาดและหนาทึบ อย่างนี้ถือว่าเป็นอุคคหนิมิตขั้นสุดท้าย ถ้าประสงค์จะใช้เป็นทิพจักขุญาณก็ใช้ในตอนนี้ได้ทันที แต่ต้องมีความฉลาดและอาจหาญพอ ถ้าไม่ฉลาดและอาจหาญไม่พอก็จะสร้างความเละเทะให้เกิดมากขึ้น วิชาทิพจักขุญาณเป็นหลักสูตรของวิชชาสาม ในที่นี้แนะนำในหลักสูตรสุกขวิปัสสโก จึงของดไม่อธิบายเพราะจะทำให้เฝือและวุ่นวาย ว่าไปตามทางของสุกขวิปัสสโกดีกว่า อุคคหนิมิตนี้เป็นนิมิตของอุปจารสมาธิ จึงยังไม่อธิบายถึงอัปปนาสมาธิ

    ๕ .ตัดปลิโพธ
    หมายถึงตัดความเป็นห่วงความกังวล ถ้าผู้ใดยังมีห่วงเป็นกังวลก็ยากที่จะปฏิบัติธรรมได้ สำหรับฆราวาสที่ยังเลี้ยงปากท้อง อาจจะยอมตัดห่วงที่ผูกรั้งไว้ ไปปฏิบัติธรรมสักระยะหนึ่ง ก็เป็นการสะสมบารมีได้เช่นกัน ซึ่งปลิโพธ (ห่วง กังวล) มี ๑๐ อย่างดังนี้
    ๑ ที่อยู่ ๒ ตระกูล ๓ ลาภ ๔ หมู่คณะ ๕ การงาน ๖ การเดินทาง ๗ ญาติ ๘ เจ็บป่วย ๙ การศึกษา ๑๐ อำนาจ
    ตราบใดก็ตามที่ยังมีความห่วงหาอาทรอย่างนี้อยู่ ก็มิอาจสามารถทำจิตของตนให้รวมเป็นหนึ่งเดียวได้ ต้องคิดเสียว่าบัดนี้ ตัวของข้าพไม่มีภาระกิจอันใดนับแต่นี้อีกแล้ววางแล้วซึ่งภาระทั้งหลายทั้งปวง ให้คิดเสียว่าอยู่แต่เพียงผู้เดียวในโลกนี้เท่านั้น
    ๖. ลมหายใจ อัสสาสะ ปัสสาสะ ( ลมหายใจเข้า ลมหายใจออก )
    ลมหายใจใครว่าไม่สำคัญในการนั่งสมาธิ ถือว่าเข้าใจผิดเป็นอย่างยิ่ง ก่อนที่เราจะนั่งสมาธิเราจะต้องชำระลมหายใจเสียก่อน คือ ให้หายใจเข้าลึกๆให้เต็มปอดเต็มท้องแล้วกลั้นลมไว้ ประมาณ ๒๐ วินาที แล้วจึงค่อยปล่อยออกมาช้าๆ ให้ดูจังหวะให้ดีให้เห็นไหล่ค่อยๆยุบตัวลงทีละน้อยๆ ทำเช่นนี้ประมาณ ๓ ครั้ง
    หลังจากนั้นให้กำหนดเช่นนี้
    บัดนี้ ให้เราทั้งหลายทุกคนนะ ได้ตั้งจิต ได้น้อมใจ กำหนดจิตตามที่อาตมาบอก
    ให้เอาจิตของเราจับไว้ ที่กะโหลกศีรษะ...
    เอาจิตจับไว้ ที่กระดูกท้ายทอย...
    เอาจิตจับไว้ ที่กระดูกต้นคอ...
    กระดูกไขสันหลัง ทุกข้อจนถึง ก้นกบ...
    กระดูกก้นกบ...
    กระดูกหัวไหล่...
    หัวไหล่ ถึง ข้อศอก...
    ข้อศอก ถึง ข้อมือ...
    ข้อมือ ถึง นิ้วทุกนิ้ว...
    กระดูกซี่โครง ทุกซี่...
    กระดูกสะโพก...
    สะโพก ถึง หัวเข่า...
    หัวเข่า ถึง ข้อเท้า...
    ข้อเท้า ถึง นิ้วเท้า ทุกนิ้ว...
    .
    กระดูก นิ้วเท้า ถึง ข้อเท้า...
    ข้อเท้า ถึง หัวเข่า...
    หัวเข่า ถึง สะโพก...
    กระดูกสะโพก...
    กระดูกก้นกบ...
    กระดูกไขสันหลัง ทุกข้อจนถึง กระดูกต้นคอ...
    กระดูกซี่โครง ทุกซี่...
    กระดูกหัวไหล่...
    หัวไหล่ ถึง ข้อศอก...
    ข้อศอก ถึง ข้อมือ...
    ข้อมือ ถึง นิ้วทุกนิ้ว...
    กระดูกท้ายทอย...
    กะโหลกศีรษะ...
    กระดูกบนยอดกระหม่อม สูงสุดของร่างกาย...
    เอาจิตจับไว้ตรงส่วนนั้น นิ่งๆ นิ่งๆ นิ่งๆ...
    .
    บัดนี้ ให้เราทั้งหลาย มโนภาพ เห็นไม้แหลมๆ เท่าไม้เสียบลูกชิ้น ยาวประมาณ 1 ศอก 2 อัน แล้ววัดเหนือสะดือ 2 นิ้ว เอาไม้แทงทะลุไปข้างหลังเลยนะ อีกไม้หนึ่งตรงเอว แทงระดับเหนือสะดือ 2 นิ้ว ให้แทงทะลุไปอีกฟากหนึ่ง เราจะเห็นเป็นกากบาทอยู่ภายใน จุดนั้นเขาเรียกว่า จุดศูนย์กลางกายของเรา แล้วให้มโนภาพ นึกถึงกระดาษกลมๆ ขาวๆ ขนาดเท่าฝ่ามือ วางทับบนกึ่งกลางกากบาทนั้น
    .
    บัดนี้ ให้เราทั้งหลาย ทุกคนนะ ได้ตั้งจิต ได้น้อมใจ ตั้งสัจจะกิริยา คือความจริง พูดสิ่งใดก็ทำสิ่งนั้นได้ คิดสิ่งใดก็ทำสิ่งนั้นได้ ด้วยสัจจะคือความจริงของเรา เป็นสัจจะกิริยา เป็นการบำเพ็ญบารมีด้านสัจจะ ให้ตั้งสัจจะกับตัวเองว่า เมื่อใดที่ข้าพเจ้าหายใจเข้า ท้องพอง ก็จะมีคำว่า ?พุท? ปรากฏกึ่งกลางกระดาษนั้น เมื่อใดที่ข้าพเจ้าหายใจออก ท้องยุบ ก็จงมีคำว่า ?โธ? ปรากฏแทนคำว่า ?พุท? แล้วจึงจะนับ 1 เห็นเป็นเลข 1 อยู่ตรงกลางกระดาษนั้น โดยที่จิตของข้าพเจ้านั้น ไม่วอกแวก ไม่สงสัย ใดๆ ทั้งสิ้น ไม่ไปก้าวก่าย ไม่ไปเหลือบมองความคิด ที่ปรากฏอยู่ในใจของข้าพเจ้า ไม่ไปข้องแวะกับเสียงที่มันผ่านมาทางโสตประสาท คือหูของเรา ไม่ต้องไปสนใจผัสสะ คืออารมณ์ที่เกิดขึ้นทางผิวหนังของเรา ความคิดเล็กๆ น้อยๆ ความรู้สึกในอารมณ์ต่างๆ มากมาย ก็จะไม่ไปเหลือบมอง ไปเห็น ไปรู้มัน เรามีหน้าที่ทำอะไร เราจงทำสิ่งนั้น คือ ?พุท-โธ? แล้วจึงนับ 1 โดยที่จิตของข้าพเจ้านั้น ไม่วอกแวกไปไหนเลย นับให้ได้จนถึง 10
    .
    เมื่อใดนับ 1-2-3 แล้ววอกแวก จงย้อนกลับมานับ 1 ใหม่ เป็นการตั้งสัจจะให้กับตนเอง เมื่อเรานับได้ถึง 10 แล้ว โดยที่จิตของเราไม่วอกแวกไปไหนเลย ไม่ฟุ้งซ่านเลย ผู้ใดก็ตาม ตั้งจิตอธิษฐานสิ่งใดไว้ ปรารถนาในสิ่งที่ชอบ ประกอบด้วยธรรม คำอธิษฐานนั้นจะพลันสำเร็จ ด้วยอานุภาพแห่งวิริยะบารมี และสัจจะบารมี ด้วยการกระทำในวันนี้
    .
    ในระหว่างที่เราภาวนาอยู่นั้น ห้ามคิด อย่าอยากมี อย่าอยากเป็น อย่าอยากได้ ให้เราทำจิตทำใจธรรมดาๆ ทำใจเบาๆ ไม่ต้องเพ่งให้มันมากเกินไป ไม่ต้องผ่อนให้มันมากเกินไป ให้ทำอารมณ์สบายๆ เบาๆ ทำจิตให้ว่างๆ ทำใจให้นิ่งๆ ทำจิตให้เฉยๆ ไม่มีความกังวลใดๆ ไม่ปรารถนาสิ่งใด ไม่สนใจในเรื่องราวที่ผ่านพ้นไปแล้ว หรือเรียกว่าอดีต ไม่สนใจในเรื่องราวที่ยังมาไปถึง... ทำไปเรื่อยๆ นะ...

    ในเบื้องต้นที่กล่าวมานั้นเป็นวิธีการทำให้กายและจิตสัมพันธ์กันและละซึ่งนิวรณ์ ๕ ประการ สภาพการละซึ่งนิวรณ์ ๕ นั้น ก็คือสภาพเดียวกันกับการลืมมันนั้นเอง เพราะจิตเมื่อไม่ไปสนใจมัน ลักษณะนี้เป็นคุณลักษณะของ สมถกรรมฐาน แต่ลักษณะของวิปัสสนากรรมฐานนั้น เป็นสภาพของการทำความเข้าใจกับ กิเลส หรือ
    นิวรณธรรมนั้นๆ ให้แจ่มแจ้งในจิต เพราะการตัดกิเลสนั้น ก็ คือ การทำให้จิตมันเข้าใจ ให้จิตมัน อ่อ! ขึ้นในใจ ในที่สุดจิตเราก็จะว่า
    ชิตังเม ๆ แปลว่า อันว่าเรา ชนะแล้วๆ ในที่สุด
    ลมหายใจนั้นหลวงปู่เจ้าคุณนรรัตฯ ท่านได้พูดไว้เสมอว่า คนที่จะมีพลังจิต หรือ จะมีบารมีเป็นเจ้าเป็นนายคนเป็นที่ยำเกรงของคนทั้งหลาย อยู่ที่ลมหายใจ บุคคลพวกนี้ จะเป็นคนที่ลมหายใจเข้าลึกออกดัง เป็นจังหวะ ถ้าเป็นไปได้ให้ค่อยๆฝึก ที่ครึ่งนาที หายใจเข้า ๑๐ นาที หายใจออก ๒๐ นาที จนคล่องตัวแล้ว ให้เอา ๑ นาที คือหายเข้า ๒๐ นาที หายใจออก ๔๐ นาที ให้ฝึกไว้ จนในที่สุดให้ฝึกเป็นอาจิน คือบ่อยๆจนเป็นปรกติของลมหายใจของเรา หากทำเช่นนี้อยู่อย่างสม่ำเสมออันว่า ฌานสมาบัติก็จะเกิดแก่เราอย่างง่ายดาย ขอให้มีสัจจะ และความพากเพียร เหล่านี้มันก็ไม่ยากอย่างที่ท่านคิด


    ที่มา การเข้าฌาน,ได้ฌาน,และการทรงฌาน ใครว่ายาก
     
  2. ยศวดี

    ยศวดี ยายแก่แล้ว*_*

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 เมษายน 2010
    โพสต์:
    4,255
    กระทู้เรื่องเด่น:
    11
    ค่าพลัง:
    +5,796
    ความเพียรเท่าหางอึ่ง ริอาจจะพลิกผืนฟ้า
    โดนอย่างแรงเจ้าคะ สารพัดข้ออ้างเลย เฮ้อๆ
    ขอบคุณคะ โมทนาทุกบุญกุศลเจ้าคะ
     

แชร์หน้านี้

Loading...