งดก่อสร้าง หอพระไตรปิฎก"ขออนุโมทนาขอบคุณทุกท่านทุกนามบุญ ที่ร่วมทำบุญกันมา"หมดกำลังทรัพย์ " 19/03/61

ในห้อง 'พระพุทธรูป - วิหารทาน - สิ่งก่อสร้าง' ตั้งกระทู้โดย กนฺตวีโรภิกขุ, 9 กันยายน 2012.

  1. กนฺตวีโรภิกขุ

    กนฺตวีโรภิกขุ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    1,514
    ค่าพลัง:
    +3,121

    d9f1ce07-bce3-40b0-9b39-a0d14bfe278d-jpeg.jpg

    เนื่องด้วยทางวัดทุ่งอ้อ เลขที่ 30 ม.3 ตำบลหารแก้ว อำเภอหางดง จังหวัดเชียงใหม่ได้ดำเนินการก่อสร้างหอไตรปัญญาบารมี " วิหารพระเจ้าสามแสนหลวง" มีขนาดความกว้างเมตร ก่ออิฐถือปูนทรงล้านนาประยุกต์เป็นสถานที่สำหรับเก็บรวบรวมรักษาพระไตรปิฎกและหีบธรรมโบราณ พระคัมภีร์ใบลานโบราณ พระธรรมเทศนาแบบพื้นเมืองเหนือ และ
    เป็นสถานที่ศักดิ์สทธิ์ เป็นที่ตั้งประดิษฐานของ
    1.สมเด็จองค์ปฐมบรมมหาจักรพรรดิ์ปางห้ามสมุทร (ประดิษฐานยืนบนปลาย ยอดฉัตร หลังคาชั้นที่ 4)
    2. พระพุทธสิหิงค์มิ่งมงคลนพบุรีศรีเชียงใหม่ พระเจ้าสามแสน หน้าตัก 60 นิ้ว(พระประธาน)
    3. พระแก้วขวัญมิ่งมงคลนพบุรีศรีเชียงใหม่+พระแก้วขาวชัยยะมงคล (พระแก้วโป่งขาม) + (ประดิษฐานบนซุ้มโขงพระประธาน)
    4. พระพุทธเจ้า๕พระองค์ พระเจ้าเก้าตื้อมหามงคล พระปางประธานพรสมปรารถนา พระชัยหลังช้างเศียร
    5. พระนาคปรก หลวงพ่อศิลา วัดทุ่งเสลี่ยม จ.สุโขทัย (จำลอง ) องค์ที่ 15 (พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเสด็จมาประกอบพิธีเททอง) หน้าตัก 16.5 นิ้ว เนื้อสำริด สูง 32.5 นิ้ว ฐานกว้าง 13 นิ้ว(ประดิษฐานหน้าบรรณใหญ่)
    และใช้เป็นที่รับรองอาคันตุกะที่ต้องการศึกษาพระธรรมคำสอนพร้อมกันนี้ทางวัดและคณะศรัทธาจะได้จัดให้มีการทอดกฐินสามัคคีและวางศิลาฤกษ์ขึ้นในวันเสาร์ที่ 17 พฤศจิกายน 2555 เวลา 09.30 น. เพื่อนำปัจจัยทั้งหมดมาดำเนินการก่อสร้างหอไตรปัญญาบารมีเพราะการก่อสร้างยังคงต้องใช้งบประมาณอยู่อีกจำนวนมาก

    "จุดประสงค์ในการก่อสร้างหอไตรปัญญาบารมี "วิหารพระเจ้าสามแสน" ที่มีขนาดความกว้าง 8x8 เมตร ก่ออิฐถือปูนทรงล้านนาประยุกต์ผสมมอญม่าเข้าล้านนามีสรงหลังคาสี่ชั้นบ่งบอก ถึงหนทางแห่งความหลุดพ้นดับทุกข์รู้แจ้งเห็นจริงในหลักอริยสัจสี่ ซึ่งใช้เป็นสถานที่สำหรับเก็บรวบรวมรักษาพระไตรปิฎกพระคัมภีร์ใบลานโบราณ เก่าแก่ พระธรรมเทศนาแบบพื้นเมืองเหนือ ตำราโบราณต่างๆเป็นของเก่าแก่ที่คู่วัดมาตั้งแต่อดีตควรค่าแก่การรักษา อนุรักษ์ไว้ และยังเป็นสถานที่ตั้งประดิษฐานพระพุทธรูปสำคัญต่างๆ และใช้เป็นที่รับรองอาคันตุกะที่ต้องการศึกษาพระไตรปิฏก พระธรรมคำสอน ตำรับตำราต่างๆ และเหมาะแก่ผู้ที่สนใจศึกษาค้นคว้าเกียวกับพระไตรปิฏก ควรค่าแก่การอนุรักษ์รักษาพระคัมภีร์ใบลานโบราณตำราโบราณต่างๆที่เก่าแก่ ให้คนรุ่นหลังได้ศึกษาเรียนรู้ และเห็นคุณค่า เกิดจิตสำนึกอนุรักษ์รักษาสืบไป"(เหตุที่สร้างสูงสองชั้น เพราะกันปลวกในเบื้องต้น.)

    อานิสงส์การทำบุญสร้างหอพระไตรปิฎก
    ผู้ที่ทำบุญด้วยการสร้างหอพระไตรปิฎกถวายไว้ในบวรพรพุทธศาสนา จะได้รับอานิสงส์ผลบุญทั้งในชาตินี้และชาติหน้า จะเป็นผู้มีสติปัญญาดี เป็นผู้นำคนเป็นผู้นำให้กับบุคคลอื่นอยู่เสมอ คิดอ่านสิ่งใดก็ไม่ค่อยผิดพลาด ความจำดี ด้านการงานการเงินดี จะเป็นที่นับหน้าถือตา บุญหนักศักดิ์ใหญ่ เป็นเจ้าคนนายคน ถึงพร้อมด้วยบริวารรายล้อมรอบกายที่ดี ถึงแม้จะเป็นหญิงก็จะได้เป็นใหญ่ ผู้ที่ทำบุญด้วยการสร้างหอพระไตรปิฎกนี้ มักเป็นมีอำนาจวาสนาดี ปัญญาเด่นเป็นเลิศ เฉลียวฉลาด ไอคิวอีคิวดี มีไหวพริบปฏิภาณดี พูดเก่ง ความจำดีเป็นเลิศ มักได้เป็นนักวิชาการข้าราชการดี หรือทำงานเกี่ยวข้องกับงานใหญ่ๆจะสำเร็จ หากเจอปัญหาอุปสรรคใด ก็จะเห็นทางออกอยู่เบื้องหน้าเสมอ ไม่จนปัญญา ไม่ต้องนั่งกลุ้มหรือไปปรึกษาใคร จักได้เป็นหนึ่งไม่เป็นสองรองใคร

    ดังนั้นคณะผู้มีจิตศรัทธาพร้อมกับลูกแก้วในแดนธรรมจึงขอเชิญพุทธศาสนิกชนทั้งหลาย ร่วมบุญเจริญศรัทธาร่วมทำบุญเพื่อบำเพ็ญทานบารมีเป็นมหากุศลบารมีในการจัดสร้างหอไตรปัญญาบารมี จึงขอเรียนเชิญทุกท่านได้ร่วมงานบุญและร่วมทำบุญได้ตามกำลังศรัทธาเพื่อเป็นการพัฒนาศาสนสถานและส่งเสริมการศึกษาธรรมและศาสนกิจของสงฆ์เป็นแนวทางหนึ่งในการบำเพ็ญบุญตามหลักทานมัยบุญกิริยาวัตถุในทางพระพุทธศาสนาโดยเฉพาะการ สละทรัพย์ออกเป็นทานในการร่วมทำบุญสร้างปัญญาบารมีร่วมสร้างหอพระไตรปิฏกถือเป็นประเพณีปฏิบัติที่สำคัญของชาวพุทธซึ่งก่อให้เกิดวัฒนธรรมอันดีงามนำมาซึ่งความสมานสามัคคีของหมู่คณะและเป็นการส่งเสริมให้พระพุทธศาสนา ซึ่งเป็นสิ่งล้ำค่าของมนุษยชาติสามารถดำรงอยู่ และสืบสานต่อไปได้อย่างมั่นคงตามวันและเวลาที่กำหนดดังกล่าวโดยพร้อมเพรียงกัน
    ขออำนาจคุณพระศรีรัตนตรัยและสิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลายในสากลโลกจงดลบันดาลประทานพรให้ท่านผู้มีจิตศรัทธาพร้อมครอบครัวเจริญด้วยจตุรพิธพรชัย คือ อายุ วรรณะ สุขะ พละ ปฏิภาณธนสารสมบัติทุกทิพาราตรีกาล ทุกท่านเทอญ.
    ทุกท่านสามารถร่วมทำบุญได้โดยการเดินทามาร่วมทำบุญได้ที่ วัดทุ่งอ้อ ต.หารแก้วอ.หางดงจ.เชียงใหม่หรือทำบุญผ่านทางธนาคารไทยพาณิชย์ สาขาหางดง เลขที่บัญชี ชื่อบัญชี วัดทุ่งอ้อ(สร้างเสนาสนะ)โทร.
    053-023260 , 087-6599998, 094 496 3333

    (กองบุญสร้างหอพระไตรปิฎกนี้ยังเปิดรับบริจาคปัจจัยไปเรื่อยๆจนกว่าจะหมดงบสร้างสำเร็จ เพราะปัจจุบันนี้ยังขาดปัจจัยอยู่อีกจำนวนมาก)

    "การสร้างหอไตรนั้นยังถือได้ว่าเป็นอานิสงส์เท่ากับการสร้างวิหาร"อัน หมายถึงหมวดพระธรรมคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า 3 หมวด คือ พระสูตร พระวินัย และพระอภิธรรม นิยมสร้างหอธรรม เนื่องจากมีความเชื่อว่า การสร้างหรือจารพระคัมภีร์ในทางพุทธศาสนาถือกันว่าจะได้อานิสงส์ผลบุญเป็น อย่างมาก เทียบได้กับอานิสงส์ในการสร้างวิหาร"

    หอไตร


    คำ ว่า “หอ” หมายถึงอาคารหรือเรือน ส่วนคำว่า “ไตร” หรือ “ธรรม” มาจากคำว่า “ไตรปิฎก” หรือ “พระธรรม” อันหมายถึงหมวดพระธรรมคำสั่งสอนของ พระพุทธเจ้า 3 หมวด คือ พระสูตร พระวินัย และพระอภิธรรม นิยมสร้างหอธรรม เนื่องจากมีความเชื่อว่า การสร้างหรือจารพระคัมภีร์ในทางพุทธศาสนาถือ กันว่าจะได้อานิสงส์ผลบุญเป็นอย่างมาก เทียบได้กับอานิสงส์ในการสร้างวิหาร จากเหตุผลดังกล่าว จึงเป็นมูลเหตุจูงใจให้มีการคัดลอกคัมภีร์ประเภท ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นพระไตรปิฎก กฎหมาย จริยศาสตร์ ประวัติศาสตร์ ตำรายา โหราศาสตร์ ฯลฯ แล้วนำไปถวายไว้ตามวัดต่าง ๆ จนกระทั่งมีประเพณี ตั้งธรรมหลวง ที่เป็นประเพณีการคัดลอกใบลานเพื่ออุทิศให้กับชุมชนบรรพบุรุษที่ล่วงลับไป แล้ว เมื่อมีคำภีร์ย่อมต้องมีสถานที่เก็บ ดังนั้นจึงมีคติใน การสร้างหอธรรมขึ้นเพื่อใช้เก็บพระคัมภีร์ต่าง ๆเหล่านี้ อีกทั้งยังเป็นสัญลักษณ์แทนพระธรรมคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าอีกด้วย


    หอไตรหรือหอธรรมถือว่าเป็นสถานที่หวงห้ามสำหรับบุคคลภายนอก เพราะถือว่าคัมภีร์ที่ได้รับการสังคายนาหรือจารเรียบร้อยแล้ว เป็นสิ่งศักดิ์สิทธ์ควร ค่าแก่การเคารพบูชา และ หอไตรนิยมสร้างเป็นอาคารสูงสองชั้น หรือไม่ก็อยู่กลางน้ำ


    เนื่องจากความเชื่อของชาวล้านนาที่เชื่อกันว่า หากได้มีการสร้างคัมภีร์ในทางพุทธศาสนาแล้วถือกันว่าจะได้อานิสงส์ผลบุญเป็น อย่างมาก ดังนั้นจึงเป็น มูลเหตุจูงใจให้มีการคัดลอกคัมภีร์ประเภทต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นพระไตรปิฎก กฎหมาย จริยศาสตร์ ประวัติศาสตร์ ตำรายา โหราศาสตร์ ฯลฯ แล้วนำไป ถวายไว้ตามวัดต่างๆ จนกระทั่งมีประเพณีตั้งธรรมหลวง ที่เป็นประเพณีการคัดลอกใบลานเพื่ออุทิศให้กับชุมชนบรรพบุรุษที่ล่วงลับไป แล้ว คัมภีร์ต่างๆ เหล่านี้จะถูกเก็บรักษาไว้ในหอไตร (หอธรรม) ซึ่งถือว่าเป็นสถานที่หวงห้ามสำหรับบุคคลภายนอก เพราะถือว่าคัมภีร์ที่ได้รับการสังคายนาและจาร เรียบร้อยแล้ว เป็นสิ่งศักดิ์สิทธ์ควรค่าแก่การเคารพบูชา และการสร้างหอไตรนั้นยังถือได้ว่าเป็นอานิสงส์เท่ากับการสร้างวิหารอีกด้วย แม้ว่าข้อความใน เอกสารของล้านนามีการกล่าวถึงการสร้างหอไตรมาตั้งแต่ราวพุทธศตวรรษที่ 21 ภายหลังการสังคายนาพระไตรปิฎกในรัชกาลพระเจ้าติโลกราช แต่ ปัจจุบันไม่ปรากฏหอไตรที่มีอายุการก่อสร้างในสมัยนั้นเหลืออยู่เลย หอไตรของล้านนาอาจจำแนกรูปแบบได้ 3 ประเภทคือ


    หอไตรแบบหอสูง

    เป็นรูปแบบที่นิยมสร้างกันมากที่สุดของล้านนา แผนผังหอไตรมักเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าและอาจแยกได้เป็น แผนผังที่สร้างให้มีมุขยื่นออกจากตัวอาคาร ซึ่งอาจจะมีทั้งด้านหน้าและด้านหลัง เช่น หอไตรวัดพระสิงห์วรมหาวิหาร เข้าใจว่าเป็นหอไตร ที่สร้างเมื่อพ.ศ. 2355 ประติมากรรมเทวดา และรูปสัตว์ในกรอบช่องกระจก เข้าใจว่าเป็นงานสร้างพร้อมกับการสร้างหอไตร แต่งานปูนปั้นที่หน้าแหนบ ตลอดจนลายลงรักปิดทองที่ผนังไม้คงเป็นงานคราวซ่อมเมื่อพ.ศ.2471 แผนผังแบบระเบียงล้อมรอบ คือ สร้างระเบียงล้อมรอบตัวห้องที่ใช้เก็บรักษาคัมภีร์ มีชายคาปีกนกป้องกันฝนสาดเข้าไปด้านใน โครงสร้างอาจเป็นครึ่ง ตึกครึ่งไม้ เช่น หอไตรวัดศรีสุพรรณ เชียงใหม่ หรือ โครงสร้างชั้นล่างเป็นใต้ถุนโปร่ง เช่น หอไตรวัดศรีชุม จ.แพร่ แผนผังแบบห้องทึบ คือทั้งด้านบนและด้านล่างมีช่องหน้าต่างเพียงเล็กน้อยพอให้แสงส่องเข้าได้ เท่านั้น เช่น หอไตรวัดพระธาตุลำปางหลวง อ.เกาะคา ลำปาง หรือ ที่มีอายุหลังกว่า เช่น หอไตรวัดหัวข่วง จ.น่าน


    หอไตรกลางน้ำ

    โดยทั่วไปจะสร้างบนเสาไม้ที่ปักเข้าไปในน้ำ ลักษณะของแผนผังคงคล้ายกับหอไตรสองชั้นใต้ถุนโล่ง ชั้นบนมีระเบียงเดินล้อมรอบห้องเก็บรักษาคัมภีร์ เข้าใจว่าเป็นอิทธิพลที่รับไปจากภาคกลางของประเทศไทย ไม่เกี่ยวกับคติการก่อสร้างของล้านนา แต่โครงหลังของหลังคาและการประดับตกแต่งนั้น คล้ายกัน แต่เดิมคาดว่าคงรักษาคติเดิมของการสร้างหอไตรกลางน้ำคือไม่มีการสร้างสะพาน เชื่อมต่อกับหอไตร แต่ปัจจุบันนี้ได้มีการก่อสร้างสะพาน ถาวรเชื่อมกับตัวอาคารกลางน้ำไปหมดแล้ว ตัวอย่างของหอไตรกลางน้ำได้แก่ หอไตรวัดป่าเหียง ( รูปที่ 6 ) ลำพูน ที่หอไตรวัดสันกำแพง อ.ป่าซาง จ.ลำพูน ชั้นล่างมีฝาไม้ปิดโดยรอบ คงเป็นการเลียนแบบหอไตรแบบทึบนั่นเอง


    หอไตรแบบพิเศษ

    เป็นหอไตรที่มีจำนวนไม่มากนักในล้านนาและมีรูปแบบที่ต่างไปไม่สามารถจัดเป็น กลุ่มได้ เช่น หอไตรวัดดวงดี เชียงใหม่ ( รูปที่ 8 ) มีแผนผังรูป สี่เหลี่ยมจัตุรัส ผนังก่ออิฐถือปูนประดับด้วยลวดลายปูนปั้น ยอดเป็นหลังคาซ้อนชั้นลดหลั่นกัน ตามแบบศิลปะพม่ารุ่นหลัง เข้าใจว่าคงสร้างราวปลาย พุทธศตวรรษที่ 24 หอไตรอีกแบบหนึ่งเป็นทรงตึกสองชั้นพบที่หอไตรวัดช่างฆ้อง เชียงใหม่ ( รูปที่ 9 ) ลายประดับมีลวดลายจีนปะปนด้วย หอไตร ที่วัดหนองเงือก ลำพูน ( รูปที่ 10 ) ก็มีลักษณะใกล้เคียงกันแต่ไม่มีระเบียงเหมือนหอไตรวัดช่างฆ้อง และภายในเขียนจิตรกรรมฝาผนังตามแบบสกุล ช่างไทยใหญ่


    อานิสงส์ปัญญาบารมี
    ในสมัยหนึ่งองค์สมเด็จพระบรมศาสดา เสด็จประทับอยู่บนแท่นบัณฑุกัมพลศิลาอาสน์ ชั้น
    ดาวดึงส์เทวสถาน ท้าวอมรินทราธิราช ได้ทูลถามถึงธรรมอันประเสริฐ ที่จะสามารถอำนวยมรรคผล
    ให้แก่ผู้ประพฤติปฏิบัติ ขจัดเสียซึ่งภัยอันตราย ที่เกิดขึ้นจากหมู่มนุษย์ และสัตว์ดิรัจฉานทั้งหลายให้
    พ่ายแพ้ไปด้วย อำนาจอานุภาพ ที่ได้ประพฤติปฏิบัติท่องบ่นสาธยายทรงจำไว้ ซึ่งธรรมจะมีอยู่หรือ
    พระพุทธเจ้าข้า สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูกรมหาราช ธรรมที่ยังผู้ปฏิบัติให้ประสบสุขเช่นนั้น
    มีอยู่ท้าวอมรินทราธิราชจึงทูลถามต่อไปว่าธรรมนี้ชื่ออะไร พระพุทธเจ้าข้าพระบรมครูจึงตรัสว่า
    พระธรรมนี้ชื่อว่าปัญญาบารมี
    ท้าวอมรินทราธิราช ทูลอาราธนาให้พระองค์ทรงแสดงพระสัทธรรมนี้
    พระบรมศาสดาทรงแสดงซึ่งปัญญาบารมี ที่พระองค์ได้เคยสร้างมาแล้วในอนันตะชาติว่าปัญญาบารมี
    30 ทัศนี้ เป็นยอดแห่งธรรมที่พระพุทธเจ้าทุก ๆ พระองค์ ทรงบำเพ็ญมาแล้วอย่างเต็มเปี่ยม จึงได้ตรัส
    เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า บุคคลใดได้เขียนไว้สักการบูชาก็ดี ได้สดับฟังทุกวันก็ดี ผู้นั้นจะเป็น
    ผู้มีสมบัติข้าวของมาก ผู้ใดได้ท่องบ่นทรงจำไว้สาธยายทุกวัน ผู้นั้นจะพ้นจากภัยอันตรายทั้งปวง
    ปรารถนาสิ่งใดก็จะสำเร็จดังความมุ่งหมาย เป็นที่รักแก่เทวดาและมนุษย์ ทั้งปวง เทวดาย่อมให้พรและ
    ตามรักษาบุคคลนั้น ผู้ใดได้ประพฤติบารมี 30 ทัศนี้ ให้บังเกิดมีแก่ตนย่อมประสบสมบัติ 3 ประการคือ
    มนุษย์สมบัติสวรรค์สมบัตินิพพานสมบัติแม้จะปรารถนาเป็นพุทธภูมิ ปัจเจกภูมิ สาวกภูมิอย่างใดอย่างหนึ่ง ก็จะสำเร็จ
    พระอรหันตสัมมสัมพุทธเจ้าทรงแสดงปัญญาบารมีจบลงแล้ว ท้าวอมรินทราธิราช
    แสดงตนเป็นอุบาสก น้อมเอาพระรัตนตรัยเป็นที่พึ่งตลอดชีพ เหล่าเทวดาทั้งหลายได้บรรลุมรรคผล
    เป็นอันมาก


    http://palungjit.org/attachments/a.2341520/

    a.jpg a.jpg



    a.jpg a.jpg


    มากด้วยบุญล้นด้วยบารมี ขอเชิญสั่งสมบุญบารมี อำนาจ วาสนา มหาบารมี ที่สูงส่ง



    "มากด้วยบุญล้นด้วยบารมี ขอเชิญสั่งสมบุญบารมี อำนาจ วาสนา มหาบารมี ที่สูงส่ง
    เป็นเจ้าภาพสร้างช่อฟ้าเอก ช่อฟ้ารอง ใบระกา หางหงษ์ คันทวย นาคตัน ค้ำยัน มหามงคล หอไตรปัญญาบารมี (วิหารพระเจ้าสามแสน)"

    ขอเรียนเชิญผู้มีบุญมีบารมีทั้งหลาย ร่วมกันทำบุญหรือร่วมเป็นเจ้าภาพ ช่อฟ้าเอก ช่อฟ้ารอง ใบระกา หางหงษ์ คันทวย นาคตัน ค้ำยัน หน้าบรรณสูง(หน้าแหนบ) สันเข้ เครื่องสูง มหามงคล ที่ซึ่ง ณ ปัจจุบันนี้ ทางช่างได้ลงมือทำการก่อฐานแท่นที่ตั้งประดิษฐาน บนยอดสุดของหลังคาหอไตรฯที่มีระดับความสูง 16 เมตร สูงที่สุด และมีหนึ่งเดียวเท่านั้น และได้ประกอบพิธีอัญเชิญองค์พระขึ้นตั้งประดิษฐานแล้ว จึงขอเชิญชวนร่วมรับเป็นเจ้าภาพสร้างพระเจ้าชัยยะหนุนดวง (พระประธานรององค์ที่ 3 สิงหิ์ 3 ยังไม่มีมีเจ้าภาพสร้าง) และเป็นเจ้าภาพ ช่อฟ้าเอก ช่อฟ้ารอง ยอดมหากุศล จำนวน 12 ตัว และร่วมทำบุญเป็นเจ้าภาพสร้างฐานชุกชีแท่นแก้ว ฐานพระใหญ่ ตลอดทั้งเป็นเจ้าภาพสร้างซุ้มโขงพระประธาน(ซุ้มโขงพระเจ้า) และขอเชิญร่วมรับเป็นเจ้าภาพวาย ต้นหม้อเงินหม้อคำดอกเงินดอกคำ(ต้นหม้อบูรณะกะตะมหามงคล พุ่มเงิน-พุ่มทอง) จำนวน 2 คู่ 4 ต้น ต้นละ 10,000 บาท(หน้าพระประธาน)ที่ขณะนี้ได้ดำเนินการก่อสร้างแล้วตามภาพขอดันกระทู้งาน บุญ เพื่อเรียนเชิญทุกท่านร่วมทำบุญ สร้างหอไตรปัญญาบารมี (วิหารพระเจ้าสามแสน) ตามเจตนาศรัทธา เพราะการก่อสร้างยังขาดงบประมาณในการก่อสร้างอยู่อีกจำนวนมาก จึงขอเจริญกุศล ฝากงานบุญแห่งวิหารทานนี้ไว้ในดุจพินิจ พิจราณากองบุญ ตามจิตศรัทธา.

    จุดประสงค์ในการก่อสร้างหอพระไตรปิฏก "หอไตรปัญญาบารมี วิหารพระเจ้าสามแสน"ที่ มีขนาดความกว้าง 8x8 เมตร ก่ออิฐถือปูนทรงล้านนาประยุกต์ผสมมอญม่าเข้าล้านนามีสรงหลังคาสี่ชั้นบ่งบอก ถึงหนทางแห่งความหลุดพ้นดับทุกข์รู้แจ้งเห็นจริงในหลักธรรม "อริยสัจสี่" ซึ่งใช้เป็นสถานที่สำหรับเก็บรวบรวมรักษาไว้ซึ่ง พระไตรปิฎกและพระคัมภีร์ใบลานโบราณ อันเก่าแก่และทรงคุณค่า พระธรรมเทศนาแบบพื้นเมืองเหนือ ตำรับตำราโบราณต่างๆเป็นของเก่าแก่ที่คู่วัดมาตั้งแต่อดีตควรค่าแก่การเก็บ รักษาและค้นคว้า อนุรักษ์ไว้ให้ชนรุ่นหลังได้ศึกษา และยังเป็นสถานที่ตั้งประดิษฐาน พระแก้วขวัญมิ่งมงคลนพบุรีศรีเชียงใหม่ ซึ่งแกะมาจากหยกอินเดียแท้(ประดับซุ้มโขง) และยังเป็นที่ตั้งประดิษฐาน ของ 1. พระพุทธสิหิงค์มิ่งมงคลนพบุรีศีรเชียงใหม่ หน้าตัก ๖๐ นิ้ว(พระประธานใหญ่ องค์ที่ 1 สิงหิ์ 1 แบบล้านนา) เนื้อทองชำริด 2. พระเจ้าชัยยะค้ำป๋ารมี(พระประธานรององค์ที่ 1
    เชียงแสน สิงหิ์ 1) 3.พระเจ้าชัยยะค้ำดวง (พระประธานรององค์ที่ 2 สิงหิ์ 2 มีเจ้าภาพสร้างแล้ว) 4.พระเจ้าชัยยะหนุนดวง (พระประธานรององค์ที่ 3 สิงหิ์ 3 ยังไม่มีมีเจ้าภาพสร้าง)ตั้ง ประดิษฐานแบบวิหารล้านนา ที่ อัญเชิญขึ้นตั้งประดิษฐานเป็นพระประธานแล้วตามภาพ ตลอดถึงเป็นที่ตั้งประดิษฐาน ของสมเด็จองค์ปฐมบรมมหาจักรพรรดิ์ปางห้ามสมุทร(ประดิษฐานบนยอดสุดสูงสุด บนหลังคาเอก ชั้นที่ 4 พร้อมยอดฉัตรเอก 9 ชั้น)ตลอดทั้งภายในตัวอาคารชั้นบน พระวิหาร ยังอัญเชิญพระพุทธรูปที่สร้างเสร็จแล้ว นำขึ้นตั้งประดิษฐาน อันได้แก่ พระพุทธเจ้า 5 พระองค์ พระเจ้าเก้าตื้อมหามงคล พระปางประธานพรสมปรารถนา พระชัยหลังช้าง 8 เศียร รวม 9 องค์ ล้วนเป็นพระพุทธรูปที่ศักดิ์สิทธิ์ ทุกองค์ และใช้เป็นที่รับรองอาคันตุกะที่ต้องการศึกษาพระไตรปิฏก พระธรรมคำสอน ตำรับตำราต่างๆ และเหมาะแก่ผู้ที่สนใจศึกษาค้นคว้าเกียวกับพระไตรปิฏก ควรค่าแก่การอนุรักษ์รักษาพระคัมภีร์ใบลานโบราณตำราโบราณต่างๆที่เก่าแก่ ให้คนรุ่นหลังได้ศึกษาเรียนรู้ และเห็นคุณค่า เกิดจิตสำนึกอนุรักษ์รักษาสืบไป"(เหตุที่สร้างสูงสองชั้น เพราะพระธรรมคำสอนเป็นของสูง ล้วนแต่เป็นใบลานกันปลวกในเบื้องต้น.)

    อานิสงส์การทำบุญสร้างหอพระไตรปิฎก
    ผู้ ที่ทำ บุญด้วยการสร้างหอพระไตรปิฎกถวายไว้ในบวรพรพุทธศาสนา จะได้รับอานิสงส์ผลบุญทั้งในชาตินี้และชาติหน้า จะเป็นผู้มีสติปัญญาดี เป็นผู้นำคนเป็นผู้นำให้กับบุคคลอื่นอยู่เสมอ คิดอ่านสิ่งใดก็ไม่ค่อยผิดพลาด ความจำดี ด้านการงานการเงินดี จะเป็นที่นับหน้าถือตา บุญหนักศักดิ์ใหญ่ เป็นเจ้าคนนายคน ถึงพร้อมด้วยบริวารรายล้อมรอบกายที่ดี ถึงแม้จะเป็นหญิงก็จะได้เป็นใหญ่ ผู้ที่ทำบุญด้วยการสร้างหอพระไตรปิฎกนี้ มักเป็นมีอำนาจวาสนาดี ปัญญาเด่นเป็นเลิศ เฉลียวฉลาด ไอคิวอีคิวดี มีไหวพริบปฏิภาณดี พูดเก่ง ความจำดีเป็นเลิศ มักได้เป็นนักวิชาการข้าราชการดี หรือทำงานเกี่ยวข้องกับงานใหญ่ๆจะสำเร็จ หากเจอปัญหาอุปสรรคใด ก็จะเห็นทางออกอยู่เบื้องหน้าเสมอ ไม่จนปัญญา ไม่ต้องนั่งกลุ้มหรือไปปรึกษาใคร จักได้เป็นหนึ่งไม่เป็นสองรองใคร



    ขอเชิญร่วมทำบุญเป็นเจ้าภาพสร้างหอไตรปัญญาบารมี(วิหารพระเจ้าสามแสน)

    วัดทุ่งอ้อ ต.หารแก้ว อ.หางดง จ.เชียงใหม่

    (พร้อมติดป้ายชื่อฉลองศรัทธาแก่ทุกท่านที่เป็นเจ้าภาพ)


    1. เป็นเจ้าภาพ พระพุทธรูป หน้าตัก 19 นิ้ว เนื้อทองสัมฤทธิ์ "พระเจ้าทรัพย์แสนล้าน" ประดิษฐาน หน้ามุกเอก พร้อมเป็นเจ้าภาพยกพระพุทธ

    รูป ขึ้นประดิษฐาน ประจำแท่น หน้าบรรณ-หน้ามุกเอก จำนวน 50,000 บาท


    *1.* เป็นเจ้าภาพสร้าง พระอัครสาวก เบื้องซ้าย เบื้องขวา จำนวน 4 องค์ 2 ปาง ประดิษฐานข้างประธานใหญ่ ฐานชุกชี แท่นแก้ว 2 ชั้น

    1.1 ชั้นบน ปางที่ 1 จำนวน 50,000 บาท เจ้าภาพ .......................................................................

    2.2 ชั้นล่าง ปางที่ 2 จำนวน 40,000 บาท เจ้าภาพ .......................................................................

    *2* เป็นเจ้าภาพถวาย ต้นหม้อบูรณะกะตะมหามงคล พุ่มเงิน-พุ่มทอง จำนวน 2 คู่ 4 ต้น ต้นละ 10,000 บาท(หน้าพระประธาน)ยังไม่มีเจ้าภาพ


    1. เป็นเจ้าภาพเสากลม มหามงคล ด้านในหอไตรฯหน้าพระประธาน จำนวน 4 ต้นๆ ละ 10,000 บาท (คงค้าง 4 ต้น)

    2. เป็นเจ้าภาพ เสาเหลี่ยม มหามงคล รอบๆตัวอาคารจำนวน 12 ต้นๆ ละ 5,000 บาท (คงค้าง 10 ต้น) 1.คุณณภัทร โอสถานนท์ และครอบครัว2.คุณณภัทร โอสถานนท์ และครอบครัว

    3. เป็นเจ้าภาพสร้างฐานแท่นแก้วประดิษฐาน พระประธาน(ฐานชุกชีใหญ่) จำนวน 150,000บาท (ยังไม่มีเจ้าภาพ)

    4. เป็นเจ้าภาพสร้าง ซุ้มโขงพระเจ้า คือมณฑปลักษณะคล้ายเจดีย์เป็นที่ประดิษฐานพระประธานใหญ่ ด้านใน จำนวน 1 ซุ้มใหญ่ 200,000 บาท(ยังไม่มีเจ้าภาพ)

    5. เป็นเจ้าภาพสร้าง บันไดนาค ๙ ขั้น ขึ้นลงด้านหน้าหอไตรฯ จำนวน 90,000 บาท (ยังไม่มีเจ้าภาพ )

    5.1 เป็นเจ้าภาพสร้าง บันได 12 ขั้น ขึ้นลงด้านหลังหอไตรฯ จำนวน 70,000 บาท (ยังไม่มีเจ้าภาพ )

    6. เป็นเจ้าภาพสร้าง องค์พญานาคซ้ายขวาทางขึ้นหอไตรฯวิหารพระเจ้าสามแสน จำนวน ๒ องค์ ๆ ละ 100,000 บาท(ยังไม่มีเจ้าภาพ )

    7. เป็นเจ้าภาพ สร้างองค์เทวดารักษา ประจำประตูด้านหน้าทางหอไตรฯวิหารพระเจ้าสามแสน จำนวน 4 องค์ องค์ละ 12,000 บาท (ยังไม่มีเจ้าภาพ )

    8. เป็นเจ้าภาพ หน้าบรรณสูง(หน้าแหนบ) พร้อมประดับลวดลาย จำนวน 12 ด้าน 10,000 บาท (ยังไม่มีเจ้าภาพ)

    9. เป็นเจ้าภาพ ฉัตรเอกมหามงคล 9 ชั้น ตั้งประดิษฐานสูงที่สุด ระดับความสูง 16 เมตร บนยอดสุดของหลังคาหอไตรฯวิหารพระเจ้าสามแสน(เครื่องสูงที่สูงที่สุดถวายแด่ สมเด็จองค์ปฐมฯ ปางห้ามภัยพิบัติ ) จำนวน150,000 บาท (ปิดกองบุญแล้วโดยสายบุญกรุงเทพฯ)

    10. เป็นเจ้าภาพฉัตรนกการเวก(นกหงส์สา) จำนวน 12 ตัว/ฉัตร ตัวละ 8,000 บาท

    11. เป็นเจ้าภาพ ช่อฟ้าเอก(มีเจ้าภาพแล้ว) ช่อฟ้ารอง จำนวน 12 ตัวๆ ละ 10,000 บาท (ยังไม่มีเจ้าภาพ )

    12. เป็นเจ้าภาพ ใบระกา (ปันลม) จำนวน 24 ตัว ๆ ละ 5,000 บาท (ยังไม่มีเจ้าภาพ)

    13. เป็นเจ้าภาพ คันทวย(นาคตัน ค้ำยัน) จำนวน 18 ตัวๆ ละ 5,000บาท(ยังไม่มีเจ้าภาพ)

    14. เป็นเจ้าภาพ สันเข้(จักเข้ ด้านบนหลังคา) จำนวน 8 ตัว ละ 3,000 บาท (ยังไม่มีเจ้าภาพ )

    15. เป็นเจ้าภาพ กระเบื้องมุงหลังคาหอไตร จากโรงงาน ตารางเมตรละ 500 บาท (แผ่นละ 19 บาท)

    16. เป็นเจ้าภาพซุ้มประตูโขงใหญ่ (ประตูทางเข้า)1 ช่องๆ ละ 80,000 บาท (ยังไม่มีเจ้าภาพ)

    17. เป็นเจ้าภาพ บานประตูใหญ่ 1 ช่อง ละ 50,000 บาท (ยังไม่มีเจ้าภาพ)

    18. เป็นเจ้าภาพบานหน้าต่างด้านบน 9ช่องๆ ละ 10,000 บาท (ยังไม่มีเจ้าภาพ)

    19. เป็นเจ้าภาพบานประตูด้านล่าง จำนวน 7 บาน บานละ 7,000 บาท(ยังไม่มีเจ้าภาพ)

    20. เป็นเจ้าภาพ บานหน้าต่างด้านล่าง จำนวน 4 บาน 5,000 บาท(ยังไม่มีเจ้าภาพ)

    21. เป็นเจ้าภาพปู กระเบื้องปูพื้นชั้นบน 70,000 บาท (ยังไม่มีเจ้าภาพ)

    22. เป็นเจ้าภาพปู กระเบื้องปูพื้น ชั้นล่าง 50,000 บาท (ยังไม่มีเจ้าภาพ)

    23. เป็นเจ้าภาพบานหน้าต่างด้านล่าง จำนวน 4 บาน ละ 5,000 บาท (ยังไม่มีเจ้าภาพ)

    24. เป็นเจ้าภาพสร้าง ห้องน้ำ-ห้อมส้วม จำนวน 2 ห้อง ละ 30,000 บาท (ยังไม่มีเจ้าภาพ)

    25. เป็นเจ้าภาพซื้อ ทรายหยาบ คิวละ 500 บาท(บริจาคตามศรัทธา )

    26. เป็นเจ้าภาพซื้อ หิน คิวละ 800 บาท(บริจาคตามศรัทธา )

    27. เป็นเจ้าภาพซื้อ ปูนซีเมนต์ ถุงละ 120 บาท(บริจาคตามศรัทธา )

    28. เป็นเจ้าภาพซื้อ อิฐมอญก่อ ก้อนละ 1 บาท จำนวน 85,000 ก้อน(บริจาคตามศรัทธา )

    29. เป็นเจ้าภาพติดตั้งระบบไฟฟ้า หอไตรปัญญาบารมี ทั้งหมด 100,000 บาท(ยังไม่มีเจ้าภาพ)

    30. เป็นเจ้าภาพ ซื้อเหล็กขนาดต่างๆ เพื่อขึ้นโครงสร้างหลัก และทำโครงหลังคาสี่ชั้น ตามแบบ เป็นจำนวนเงินทั้งหมด 139,000 บาท ร่วมทำบุญได้ตามเจตนาศรัทธา

    31. วัสดุอุปกรณ์การก่อสร้างอื่น ๆ ร่วมทำบุญตามเจตนา. หมายเหตุ : (มีการแก้ไขข้อมูลประการในข้างต้น)

    (ทางวัดยินดีออกใบอนุโมทนาบัตรให้ ตามความประสงค์ที่จะขอรับ โปรดแจ้งชื่อที่อยู่และจำนวนเงิน ตอบรับทาง PM โทร.087-659-9998 )

    "การสร้างหอพระไตรปิฎกนั้นยังถือได้ว่าเรา ได้บูชาพระธรรมของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าโดยตรง ถือได้ว่าเป็นอานิสงส์เท่ากับการสร้างวิหาร"อัน หมายถึงหมวดพระธรรมคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า 3 หมวด คือ พระสูตร พระวินัย และพระอภิธรรม จึงนิยมสร้างหอพระไตรปิฎกขึ้น เพื่อบูชาพระธรรม เนื่องจากมีความเชื่อว่า การสร้างหอไตรที่เก็บรักษาพระธรรม
    หรือจารพระคัมภีร์ในทางพุทธศาสนาถือกันว่า จะได้อานิสงส์ผลบุญเป็น อย่างมาก เทียบได้กับอานิสงส์ในการสร้างวิหาร"


    ***รายละเอียดความคืบในการก่อสร้าง ณ ปัจจุบัน อยู่หน้าที่ 22***


     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • 2.jpg
      2.jpg
      ขนาดไฟล์:
      372.7 KB
      เปิดดู:
      481
    • 3.jpg
      3.jpg
      ขนาดไฟล์:
      318.8 KB
      เปิดดู:
      339
    • 4.jpg
      4.jpg
      ขนาดไฟล์:
      227.9 KB
      เปิดดู:
      2,878
    • 5.jpg
      5.jpg
      ขนาดไฟล์:
      296.8 KB
      เปิดดู:
      3,984
    • 6.jpg
      6.jpg
      ขนาดไฟล์:
      216.4 KB
      เปิดดู:
      5,057
    • 7.jpg
      7.jpg
      ขนาดไฟล์:
      286.1 KB
      เปิดดู:
      2,935
    • 2222.JPG
      2222.JPG
      ขนาดไฟล์:
      253.5 KB
      เปิดดู:
      215
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 18 มีนาคม 2018
  2. กนฺตวีโรภิกขุ

    กนฺตวีโรภิกขุ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    1,514
    ค่าพลัง:
    +3,121
    [FONT=&quot]ประวัติวัดทุ่งอ้อ เลขที่ 30 ม.3[/FONT][FONT=&quot] ต.หารแก้ว อ.หางดง จ.เชียงใหม่

    [/FONT]
    [FONT=&quot]วัดทุ่งอ้อ สร้างขึ้นเมื่อราว ปีพุทธศักราช 2350 เดิมชาวบ้านเรียกว่า [/FONT][FONT=&quot]“วัดทุ่งอ้อหลวง” ตั้งอยู่ในหมู่บ้านทุ่งอ้อหลวง ตั้งอยู่เลขที่ 30 หมู่ 3 บ้านทุ่งอ้อหลวง ตำบลหารแก้ว อำเภอหางดง จังหวัดเชียงใหม่ ตั้งอยู่บนเนื้อที่ 1 ไร่ 2 งาน 50 ตาราง โฉนดที่ดิน เลขที่ 26275 เล่มที่ 263 หน้า 75 ที่ดินอำเภอหางดง จังหวัดเชียงใหม่ มีถาวรวัตถุ มี วิหารโบราณ ศาลาการเปรียญ ศาลาหอธรรม กุฏิสงฆ์ ศาลาบำเพ็ญบุญศาลาราย โรงครัว ด้านปูชนียวัตถุ พระพุทธรูปโบราณ ธรรมมาสน์ พระเจดีย์ [/FONT]
    [FONT=&quot]ด้านการบริหารและปกครอง วัดทุ่งอ้อหลวง มีการบริหารการปกครอง พระภิกษุ สามเณร มาตั้งแต่อดีตจนปัจจุบันเท่าที่จำได้ มีเจ้าอาวาส เท่าที่จะทราบนามได้จำนวน 13 รูป ดังมีรายนามดังนี้[/FONT]
    [FONT=&quot] รูปที่1. ครูบาอินใจ พุทธศักราช 2350-2370 [/FONT]
    [FONT=&quot]รูปที่ 2. ครูบาพรหม พุทธศักราช 2370-2392[/FONT]
    [FONT=&quot]รูปที่3. ครูบาจุมปู พุทธศักราช 2392-2412[/FONT]
    [FONT=&quot]รูปที่4. ครูบาเต๋จา พุทธศักราช 2412- 2442[/FONT]
    [FONT=&quot]รูปที่ 5. ครูบาคำตั๋น พุทธศักราช 2442 2460 [/FONT]
    [FONT=&quot]รูปที่ 6. พระอธิการสม พุทธศักราช 2460-2480[/FONT]
    [FONT=&quot]รูปที่ 7. พระอธิการเสาร์ พุทธศักราช 2480-2495[/FONT]
    [FONT=&quot]รูปที่ 8. พระอธิการคำแสน พุทธศักราช 2495-2498[/FONT]
    [FONT=&quot]รูปที่ 9. พระอธิการดวงแก้ว พุทธศักราช 2498-2507[/FONT]
    [FONT=&quot]รูปที่10. พระอธิการบุญชื่น พุทธศักราช 2507-2512[/FONT]
    [FONT=&quot]รูปที่ 11. พระอธิการสุรพล พุทธศักราช 2512-2528[/FONT]
    [FONT=&quot]รูปที่ 12. พรอธิการทองสุข พุทธศักราช 2528-2551[/FONT]
    [FONT=&quot]รูปที่ 13. พระอธิการธนธรณ์ พุทธศักราช 2551- ปัจจุบัน[/FONT]
    [FONT=&quot]วัดนี้ตั้งอยู่ในหมู่บ้านที่มีประชาชนอาศัยอยู่รวมกันประมาณ [/FONT][FONT=&quot]60 หลังคาเรือน นับถือศาสนาคริสต์ส่วนหนึ่ง ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันมีเจ้าอาวาสที่พอจำจากประวัติและการสืบค้นรวบรวม ประมาณได้13รูป วัดทุ่งอ้อหลวงเป็นวัดเล็กๆ และเป็นโบราณที่มีอายุเก่าแก่ และยังไม่ทราบประวัติการสร้างที่แน่นอน ไม่ปรากฏหลักฐานที่แน่ชัดว่าสร้างสมัยใด แต่สันนิษฐานจากรูปแบบการก่อสร้างจากรูปแบบโครงสร้างของวิหาร วัดแห่งนี้น่าจะมีอายุราวประมาณ600-700 กว่าปี สิ่งปรากฏสัดเจนและเป็นหลักฐานที่สำคัญก็คือ ด้านหน้าวิหารจะมี หางวรรณ ที่ทางภาคเหนือจะเรียกว่า ตัวเหงา ซึ่งเป็นรูปแบบศิลปะโบราณในยุคล้านนายุคต้นในสมัยสร้างเมืองเชียงใหม่ ซึ่งหาพบได้และดูได้ที่โบราณสถานเวียงกุมกามเท่านั้น เวียงท่ากาน เวียงมโน ซึ่งวัดทุ่งอ้อหลวงแห่งนี้เป็นจุดส่วนกลางร่วมสมัยในยุคของเวียง มโน(ปัจจุบันนี้สูนสลายไปหมดแล้วเหลือแต่ซากของกองอิฐเท่านั้น) ซึ่งสถานที่ดั่งกล่าวเกิดขึ้นก่อนการสร้างเมืองเชียงใหม่กว่า13 ปี วิหารของวัดทุ่งอ้อหลวงเป็นรูปแบบของศิลปะที่สืบทอดมาจากเวียงกุมกาม โดยความโดดเด่นและความสวยงามของวิหารอยู่ที่การประกอบไม้สักเข้าหากันโดยไม่ ต้องใช้ตะปูตอกสักเล่ม ใช้การสอดลิ่มไม้แบบโบราณ ก่ออิฐถือปูน และใช้ไม้สักเกือบทั้งหลัง สำหรับการก่อสร้างวิหารในรูปแบบลักษณะแบบนี้ ณ ปัจจุบันนี้ซึ่งหาได้ดูยากมาก แล้วในวัดโดยทั่วไป ดั้งนั้นตัววิหารของวัดทุ่งอ้อหลวงจึงมีขนาดเล็กกว่าวิหารทั่วไป คือสามารถจุคนได้เพียงประมาณ 50-60 คนเท่านั้น ส่วนองค์พระประธานในวิหารเป็นพระพุทธรูปศักดิ์ที่มีความงดงามมากๆ ชาวบ้านให้ความเคารพและนับถือกราบไหว้บูชาขอพรตลอดซึ่งถือว่าเป็นของมีค่า ที่สำคัญต่อจิตใจและเป็นพระพุทธรูปที่อยู่คู่บ้านคู่เมืองมาตลอด700กว่าปี ต่างเล่าขานถึงตำนานความศักดิ์สิทธิ์ และพุทธปาฏิหาริย์ต่างๆ พระพุทธรูปดังกล่าวมีศิลปะผสมผสานระหว่างล้านนากับพม่า สันนิษฐานว่าในสมัยโบราณบริเวณแถบนี้ เป็นที่อยู่อาศัยของชาวพม่า ที่มีในอดีตสถานที่แห่งนี้มีการสู้รบกันระหว่างล้านนากับพม่า ในสมัยพม่าโจมตีเมืองเชียงใหม่ จึงทำให้อาณาบริเวณนี้ถูกพวกพม่ายึดเอาอาณาเขตบริเวณพื้นที่โดยรวม พร้อมกับการสร้างรกรากปักฐานบ้านเรือน พร้อมกับการสร้างวัดนี้ขึ้นมา จึงทำให้วัดแห่งนี้มีศิลปะผสมผสานระหว่างพม่ากับล้านนาอยู่จึงพอกล่าวสรุปได้ว่า รูปแบบของศิลปะต่างๆนั้นถูกสืบทอดมาจากศิลปะของพม่าและในสมัยเวียงกุมกาม จึงทำให้แน่ใจได้ว่าวัดแห่งนี้มีอายุที่เก่าแก่ไล่เลี่ยกับเมืองเชียงใหม่[/FONT]
     
  3. กนฺตวีโรภิกขุ

    กนฺตวีโรภิกขุ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    1,514
    ค่าพลัง:
    +3,121
    อ่านต่อ.....

    [FONT=&quot] เมื่อ ปีพุทธศักราช 2539 ทางกรมศิลปกรได้มาทำการบูรณะวิหารของวัดทุ่งอ้อหลวง เพราะสภาพวิหารในขณะนั้นทรุดโทรมเอามากๆแทบใช้การไม่ได้เลยก็คงเป็นเพราะ วิหารได้คงอยู่คู่กับกาลเวลามายาวยนานหลายร้อยปีและเคยเป็นวัดร้างมาก่อน แล้วหลายครั้ง มีความเก่าแก่และทรุดโทรมไปตามกาลเวลา ดั้งนั้นในสมัยอดีตท่านเจ้าอาวาสองค์ก่อน คือหลวงพ่อพระอธิการทองสุข สุทสฺสโน หลวงปู่หล้า(ครูบาหล้า) จึงได้ทำเรื่องถึงกรมศิลปกร ให้เข้ามาบูรณปฏิสังขรณ์วิหารในปีพ.ศ.2539เป็นการด่วน เพราะลำพังทางวัดและคณะศรัทธาชาวบ้านแล้วคงไม่มีปัญญาหางบมาบูรณะได้ กรมศิลปกรที่ 4 ได้ทำการอนุมัติเงินจำนวนหนึ่งล้านห้าแสนบาท ในการบูรณะวิหาร เพื่อให้คงคู่อยู่กับวัฒนธรรมของเชียงใหม่และเป็นตัวอย่างและต้นแบบการก่อสร้าง ให้กับวัดอีกหลายวัดหลายวาหลายที่หลายแห่ง [/FONT] [FONT=&quot] ใน สมัยก่อนที่จะมีการบูรณะซ่อมแซมวิหารวัดทุ่งอ้อหลวงนั้น ชาวบ้านโดยทั่วไปไม่ค่อยให้ความสำคัญต่อความเก่าแก่และทรงคุณค่าของวิหาร เท่าใดนัก แต่พอหลังจากที่กรมศิลปกรได้เข้ามาบูรณะซ่อมแซมวิหารแล้ว ชาวบ้านส่วนใหญ่ก็ออกมาตื่นตัวต่อการอนุรักษ์มากขึ้น ส่วนหนึ่งมีความรู้สึกพอใจ แต่อีกส่วนหนึ่งไม่พอใจที่กรมศิลปกรทำการซ่อมแซม โดยได้นำศิลปะแบบใหม่เข้ามาเสริมและทดแทนของเดิม อาทิ เช่นกระจกสีหรือแก้วอังวะโบราณ(กระจกสีโบราณด้านหน้าวิหารตรงหน้าบรรณหน้า แหนบ)ได้ถูกทำการเปลี่ยนออกไปแล้วไม่นำกลับมาติดใหม่ดังเดิมกลับนำเอากระจก ขาวแบบธรรมดามาติดแทน ซึ่งทำให้ขาดความงดงามเสียคุณค่าไป พร้อม กับอิฐบริเวณด้านข้างวิหาร ได้ถูกทุบอันเก่าออกไปและใช้อิฐแบบสมัยใหม่เข้ามาทดแทน รวมถึงการใช้สีแดงทาไปทั่วตัวอาคารวิหาร ซึ่งดูแล้วทำให้เหมือนของใหม่ ทำให้หมดความขลัง เดิมที่เป็นสีของการลงรักเก่า แม้แต่โครงสร้างบ้างส่วนก็ผิดเพี้ยนไปจากของเดิม แต่ก็สร้างให้เหมือนโครงสร้างเดิมทั้งหลัง แม้โครงสร้างเดิมทั้งหมดยังคงอยู่ แต่บ้างส่วนของวิหารได้เปลี่ยนแปลงไปเป็นของใหม่ โดยเฉพาะช่อฟ้าและปั้นลม เนื่องจากของเก่าได้หักพังลงมาเหลือครึ่งเดียว แต่ก็ยังเก็บรักษาทุกชิ้นส่วนและเก็บรักษาเป็นสมบัติของชาติถูกเก็บรักษาไว้ เป็นอย่างดี ปัจจุบันนี้ทางเจ้าอาวาสองค์ปัจจุบันคือพระอธิการธนธรณ์ กนฺตวีโร ได้เล็งความสำคัญของวิหาร โดยเฉพาะด้านการอนุรักษ์และรักษาไว้ซึ่งโบราณสถานแห่งนี้ ให้อยู่คู่กับแผ่นดินสยามควบคู่กับแผ่นดินล้านนาอยู่คู่วัฒนธรรมล้านนา เชียงใหม่ไปตราบนานเท่านาน หรือยิ่งกว่านั้น เพื่อให้ลูกหลานชนรุ่นหลังได้ร่วมอนุรักษ์และรักษาหวงแหน ได้กราบไหว้บูชาปูชนียสถานคู่บ้านคู่เมืองแห่งนี้ พร้อมได้พากันเล็งเห็นซึ่งความสำคัญของโบราณสถานอันเป็นสมบัติอันล้ำค่าใน พระพุทธศสานา ไม่ว่าด้านจิตใจ ด้านโบราณวัตถุพระพุทธรูปเก่าแก่คู่บ้าคู่เมืองต่างๆ และหลักคำสอนหลักธรรมต่างๆ จะทำให้มนุษย์สามัญชนคนเราทั่วไปได้มีจิตใต้สำนึก ช่วยกันหวงแหนและรักษาอนุรักษ์ ปกป้องรักษาให้คงอยู่สืบไป [/FONT]
    [FONT=&quot]และวัดทุ่งอ้อหลวง แห่งนี้ในอดีตเคยเป็นสถานที่ ที่ครูบาเจ้าศรีวิชัย นักบุญแห่งล้านนาไทย ได้เคยเดินทางมาจาริกแสวงบุญประกาศพระพุทธศาสนา แวะมาพักจำวัดและพักดื่มน้ำจากบ่อน้ำศักดิ์สิทธิ์หน้าวัด(ซึ่งปัจจุบันยังมี อยู่)พอรุ่งเช้าก็ออกมาโปรดรับบิณฑบาตจากศรัทธาญาติโยมชาวบ้าน ในขณะที่จะเดินทางเข้าสู่เมืองเชียงใหม่ในสมัยนั้น ซึ่งข้อมูลดังกล่าวได้รับการบอกเล่าและสืบทอดกันมาในแต่ละรุ่นเป็นคำบอกเล่า ของผู้เฒ่าผู้แก่คนดั้งคนเดิมภายในหมู่บ้านและหมู่บ้านใกล้เคียงที่เคยพบ เห็น และปัจจุบันนี้ทางวัดได้สร้างอนุสาวรีย์รูปเหมือนครูบาเจ้าศรีวิชัยหล่อด้วย ทองชำริดร่มดำ ประดิษฐานไว้เคียงคู่วิหารโบราณ 700 กว่าปี ของทางวัดทุ่งอ้อหลวง[/FONT]
    [FONT=&quot]ดังนั้นวิหารกับวัด วัดกับศรัทธา และพุทธศาสนิกชน และพุทธบริษัททั้งสี่ จึงเป็นสิ่งที่สำคัญที่จะอยู่คู่กันมาตั้งแต่โบราณกาล เนื่องจากวิหารเป็นสถานที่ใช้สำหรับประกอบพิธีกรรมทางพระพุทธศาสนาของทั้งพระสงฆ์และฆราวาส นอกจากนั้นตามหมู่บ้านต่างๆก็จะพากันมากราบไหว้บูชาอยู่เป็นประจำ นิยมใช้วิหารของวัดแห่งนี้เป็นสถานที่เอาลูกแก้วหรือบรรพชาสามเณร บวชเณร และใช้เป็นสถานจัดกิจกรรมในด้านการอนุรักษ์และศึกษาเกี่ยวกับโบราณสถาน จัดกิจกรรมต่างๆในวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา ของคนในหมู่บ้าน ภายในตำบล และอำเภอ ด้วยเช่นกัน วิหารของวัดอื่นหลายวัด ส่วนใหญ่มีความขนาดกว้างขวางใหญ่โตจุคนได้เป็นร้อยๆสามารถรองรับผู้คนที่เข้ามาทำบุญได้จำนวนมาก แต่ยังมีวิหารของทางวัดทุ่งอ้อหลวงอีกแห่งหนึ่งที่มีวิหารขนาดเล็กที่จุคนได้เพียง50-60 คนเท่านั้น แต่ยังทรงไว้ซึ่งคุณค่าด้านศิลปะ และมีอายุที่เก่าแก่หลายร้อยปี นั่นก็คือวิหารวัดทุ่งอ้อหลวง ต.หารแก้ว อ.หางดง จ.เชียงใหม่ [/FONT]
    [FONT=&quot] [/FONT]
     
  4. กนฺตวีโรภิกขุ

    กนฺตวีโรภิกขุ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    1,514
    ค่าพลัง:
    +3,121
    [FONT=&quot]หอไตร(หอธรรม)หอพระไตรปิฏก[/FONT]

    [FONT=&quot]คำ ว่า [/FONT][FONT=&quot]หอ[/FONT][FONT=&quot]หมายถึงอาคารหรือเรือน[/FONT][FONT=&quot]ส่วนคำว่า [/FONT][FONT=&quot]ไตร[/FONT][FONT=&quot]หรือ [/FONT][FONT=&quot]ธรรม[/FONT][FONT=&quot]มาจากคำว่า [/FONT][FONT=&quot]ไตรปิฎก[/FONT][FONT=&quot]หรือ [/FONT][FONT=&quot]พระธรรม[/FONT][FONT=&quot]อันหมายถึงหมวดพระธรรมคำสั่งสอนของ[/FONT]
    [FONT=&quot]พระพุทธเจ้า [/FONT]3 [FONT=&quot]หมวด คือ พระสูตร พระวินัย และพระอภิธรรม นิยมสร้างหอธรรม[/FONT][FONT=&quot]เนื่องจากมีความเชื่อว่า การสร้างหรือจารพระคัมภีร์ในทางพุทธศาสนาถือ[/FONT]
    [FONT=&quot]กันว่าจะได้อานิสงส์ผลบุญเป็นอย่างมาก เทียบได้กับอานิสงส์ในการสร้างวิหาร[/FONT][FONT=&quot]จากเหตุผลดังกล่าว จึงเป็นมูลเหตุจูงใจให้มีการคัดลอกคัมภีร์ประเภท[/FONT]
    [FONT=&quot]ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นพระไตรปิฎก กฎหมาย จริยศาสตร์ ประวัติศาสตร์ ตำรายา[/FONT][FONT=&quot]โหราศาสตร์ ฯลฯ แล้วนำไปถวายไว้ตามวัดต่าง ๆ จนกระทั่งมีประเพณี[/FONT]
    [FONT=&quot]ตั้งธรรมหลวง[/FONT][FONT=&quot]ที่เป็นประเพณีการคัดลอกใบลานเพื่ออุทิศให้กับชุมชนบรรพบุรุษที่ล่วงลับไป[/FONT][FONT=&quot]แล้ว เมื่อมีคำภีร์ย่อมต้องมีสถานที่เก็บ ดังนั้นจึงมีคติใน[/FONT]
    [FONT=&quot]การสร้างหอธรรมขึ้นเพื่อใช้เก็บพระคัมภีร์ต่าง ๆเหล่านี้ อีกทั้งยังเป็นสัญลักษณ์แทนพระธรรมคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าอีกด้วย[/FONT]
    [FONT=&quot]หอไตรหรือหอธรรมถือว่าเป็นสถานที่หวงห้ามสำหรับบุคคลภายนอก[/FONT][FONT=&quot]เพราะถือว่าคัมภีร์ที่ได้รับการสังคายนาหรือจารเรียบร้อยแล้ว[/FONT][FONT=&quot]เป็นสิ่งศักดิ์สิทธ์ควร[/FONT]
    [FONT=&quot]ค่าแก่การเคารพบูชา และ หอไตรนิยมสร้างเป็นอาคารสูงสองชั้น หรือไม่ก็อยู่กลางน้ำ[/FONT]
    [FONT=&quot]เนื่องจากความเชื่อของชาวล้านนาที่เชื่อกันว่า[/FONT][FONT=&quot]หากได้มีการสร้างคัมภีร์ในทางพุทธศาสนาแล้วถือกันว่าจะได้อานิสงส์ผลบุญเป็น[/FONT][FONT=&quot]อย่างมาก ดังนั้นจึงเป็น[/FONT]
    [FONT=&quot]มูลเหตุจูงใจให้มีการคัดลอกคัมภีร์ประเภทต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นพระไตรปิฎก[/FONT][FONT=&quot]กฎหมาย จริยศาสตร์ ประวัติศาสตร์ ตำรายา โหราศาสตร์ ฯลฯ แล้วนำไป[/FONT]
    [FONT=&quot]ถวายไว้ตามวัดต่างๆ จนกระทั่งมีประเพณีตั้งธรรมหลวง[/FONT][FONT=&quot]ที่เป็นประเพณีการคัดลอกใบลานเพื่ออุทิศให้กับชุมชนบรรพบุรุษที่ล่วงลับไป[/FONT][FONT=&quot]แล้ว คัมภีร์ต่างๆ[/FONT]
    [FONT=&quot]เหล่านี้จะถูกเก็บรักษาไว้ในหอไตร (หอธรรม)[/FONT][FONT=&quot]ซึ่งถือว่าเป็นสถานที่หวงห้ามสำหรับบุคคลภายนอก[/FONT][FONT=&quot]เพราะถือว่าคัมภีร์ที่ได้รับการสังคายนาและจาร[/FONT]
    [FONT=&quot]เรียบร้อยแล้ว เป็นสิ่งศักดิ์สิทธ์ควรค่าแก่การเคารพบูชา[/FONT][FONT=&quot]และการสร้างหอไตรนั้นยังถือได้ว่าเป็นอานิสงส์เท่ากับการสร้างวิหารอีกด้วย[/FONT][FONT=&quot]แม้ว่าข้อความใน[/FONT]
    [FONT=&quot]เอกสารของล้านนามีการกล่าวถึงการสร้างหอไตรมาตั้งแต่ราวพุทธศตวรรษที่ [/FONT]21 [FONT=&quot]ภายหลังการสังคายนาพระไตรปิฎกในรัชกาลพระเจ้าติโลกราช แต่[/FONT]
    [FONT=&quot]ปัจจุบันไม่ปรากฏหอไตรที่มีอายุการก่อสร้างในสมัยนั้นเหลืออยู่เลย หอไตรของล้านนาอาจจำแนกรูปแบบได้ [/FONT]3 [FONT=&quot]ประเภทคือ[/FONT]
    [FONT=&quot]หอไตรแบบหอสูง[/FONT]
    [FONT=&quot]เป็นรูปแบบที่นิยมสร้างกันมากที่สุดของล้านนา แผนผังหอไตรมักเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าและอาจแยกได้เป็น[/FONT]
    [FONT=&quot]แผนผังที่สร้างให้มีมุขยื่นออกจากตัวอาคาร ซึ่งอาจจะมีทั้งด้านหน้าและด้านหลัง เช่น หอไตรวัดพระสิงห์วรมหาวิหาร[/FONT][FONT=&quot]เข้าใจว่าเป็นหอไตร[/FONT]
    [FONT=&quot]ที่สร้างเมื่อพ.ศ. [/FONT]2355 [FONT=&quot]ประติมากรรมเทวดา และรูปสัตว์ในกรอบช่องกระจก[/FONT][FONT=&quot]เข้าใจว่าเป็นงานสร้างพร้อมกับการสร้างหอไตร แต่งานปูนปั้นที่หน้าแหนบ[/FONT]
    [FONT=&quot]ตลอดจนลายลงรักปิดทองที่ผนังไม้คงเป็นงานคราวซ่อมเมื่อพ.ศ.[/FONT]2471
    [FONT=&quot]แผนผังแบบระเบียงล้อมรอบ คือ[/FONT][FONT=&quot]สร้างระเบียงล้อมรอบตัวห้องที่ใช้เก็บรักษาคัมภีร์[/FONT][FONT=&quot]มีชายคาปีกนกป้องกันฝนสาดเข้าไปด้านใน โครงสร้างอาจเป็นครึ่ง[/FONT]
    [FONT=&quot]ตึกครึ่งไม้ เช่น หอไตรวัดศรีสุพรรณ เชียงใหม่ หรือ โครงสร้างชั้นล่างเป็นใต้ถุนโปร่ง เช่น หอไตรวัดศรีชุม จ.แพร่[/FONT]
    [FONT=&quot]แผนผังแบบห้องทึบ คือทั้งด้านบนและด้านล่างมีช่องหน้าต่างเพียงเล็กน้อยพอให้แสงส่องเข้าได้เท่านั้น เช่น หอไตรวัดพระธาตุลำปางหลวง[/FONT]
    [FONT=&quot]อ.เกาะคา ลำปาง หรือ ที่มีอายุหลังกว่า เช่น หอไตรวัดหัวข่วง จ.น่าน[/FONT]
    [FONT=&quot]หอไตรกลางน้ำ[/FONT]
    [FONT=&quot]โดยทั่วไปจะสร้างบนเสาไม้ที่ปักเข้าไปในน้ำ[/FONT][FONT=&quot]ลักษณะของแผนผังคงคล้ายกับหอไตรสองชั้นใต้ถุนโล่ง[/FONT][FONT=&quot]ชั้นบนมีระเบียงเดินล้อมรอบห้องเก็บรักษาคัมภีร์[/FONT]
    [FONT=&quot]เข้าใจว่าเป็นอิทธิพลที่รับไปจากภาคกลางของประเทศไทย[/FONT][FONT=&quot]ไม่เกี่ยวกับคติการก่อสร้างของล้านนา[/FONT][FONT=&quot]แต่โครงหลังของหลังคาและการประดับตกแต่งนั้น[/FONT]
    [FONT=&quot]คล้ายกัน[/FONT][FONT=&quot]แต่เดิมคาดว่าคงรักษาคติเดิมของการสร้างหอไตรกลางน้ำคือไม่มีการสร้างสะพาน[/FONT][FONT=&quot]เชื่อมต่อกับหอไตร แต่ปัจจุบันนี้ได้มีการก่อสร้างสะพาน[/FONT]
    [FONT=&quot]ถาวรเชื่อมกับตัวอาคารกลางน้ำไปหมดแล้ว ตัวอย่างของหอไตรกลางน้ำได้แก่[/FONT][FONT=&quot]หอไตรวัดป่าเหียง ( รูปที่ [/FONT]6 ) [FONT=&quot]ลำพูน ที่หอไตรวัดสันกำแพง อ.ป่าซาง[/FONT]
    [FONT=&quot]จ.ลำพูน[/FONT][FONT=&quot]ชั้นล่างมีฝาไม้ปิดโดยรอบ คงเป็นการเลียนแบบหอไตรแบบทึบนั่นเอง[/FONT]
    [FONT=&quot]หอไตรแบบพิเศษ[/FONT]
    [FONT=&quot]เป็นหอไตรที่มีจำนวนไม่มากนักในล้านนาและมีรูปแบบที่ต่างไปไม่สามารถจัดเป็น[/FONT][FONT=&quot]กลุ่มได้ เช่น หอไตรวัดดวงดี เชียงใหม่ ( รูปที่ [/FONT]8 ) [FONT=&quot]มีแผนผังรูป[/FONT]
    [FONT=&quot]สี่เหลี่ยมจัตุรัส ผนังก่ออิฐถือปูนประดับด้วยลวดลายปูนปั้น[/FONT][FONT=&quot]ยอดเป็นหลังคาซ้อนชั้นลดหลั่นกัน ตามแบบศิลปะพม่ารุ่นหลัง[/FONT][FONT=&quot]เข้าใจว่าคงสร้างราวปลาย[/FONT]
    [FONT=&quot]พุทธศตวรรษที่ [/FONT]24 [FONT=&quot]หอไตรอีกแบบหนึ่งเป็นทรงตึกสองชั้นพบที่หอไตรวัดช่างฆ้อง[/FONT][FONT=&quot]เชียงใหม่ ( รูปที่ [/FONT]9 ) [FONT=&quot]ลายประดับมีลวดลายจีนปะปนด้วย หอไตร[/FONT]
    [FONT=&quot]ที่วัดหนองเงือก ลำพูน ( รูปที่ [/FONT]10 ) [FONT=&quot]ก็มีลักษณะใกล้เคียงกันแต่ไม่มีระเบียงเหมือนหอไตรวัดช่างฆ้อง[/FONT][FONT=&quot]และภายในเขียนจิตรกรรมฝาผนังตามแบบสกุล[/FONT]
    [FONT=&quot]ช่างไทยใหญ่[/FONT]
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 9 กันยายน 2012
  5. deelek

    deelek เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 มิถุนายน 2009
    โพสต์:
    6,696
    ค่าพลัง:
    +16,255
    อนุโมทนา สาธุ ๆ
    กับทุกท่านที่ได้ร่วมกัน
    ทำบุญทอดกฐินและสร้างหอพระไตรปิฏก
    ตลอดทำบุญสร้างกุศลทุกอย่างวัดแห่งนี้
    ไว้ในพระพุทธศาสนาด้วยครับ
    กระผมจะส่งปัจจัยไปร่วมทำบุญด้วย
    อนุโมทนาบุญและร่วมทำบุญด้วยกันครับ
    (หาทำได้ยากนาน ๆ จะมีสักครั้ง)
     
  6. โลน้อย

    โลน้อย เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 ธันวาคม 2011
    โพสต์:
    351
    ค่าพลัง:
    +695
    ขอกราบอนุโมทนา สาธุ สาธุ สาธุ บุญทั้งหมดทั้งมวลครับ
     
  7. tottot

    tottot เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 สิงหาคม 2012
    โพสต์:
    118
    ค่าพลัง:
    +1,244
    ร่วมทำบุญสร้างหอพระไตรปิฎก..โอนเงินแล้ว วันที่ 10/9/55 จำนวนเงิน 100 บาท
     
  8. กนฺตวีโรภิกขุ

    กนฺตวีโรภิกขุ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    1,514
    ค่าพลัง:
    +3,121
    สาธุ อนุโมทนา ขอขอบคุณโยมทุกท่านทุกคนที่ร่วมทำบุญกับทางวัด

    ขอบุญกุศลทั้งหลายที่คุณโยมและครอบครัวได้พากันทำบุญในครั้งนี้ที่ทุกท่านได้บำเพ็ญบุญเต็มเปี่ยมล้นไปด้วยความดีความชอบตามทำนองคลองธรรมอันบริสุทธิ์แล้ว จงเป็นผล เดชะ ตบะ พลวปัจจัย ให้คุณโยมและครอบครัวจงเจริญรุ่งเรือง รุ่งโรจน์ไพบูลย์ จงเจริญไปในพระธรรมของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ปราศจากซึ่งความทุกข์ โศก โรค ภัย นานา ประการ ขอจงมีอายุมั่นขวัญยืน ขอจงมีแต่ความสันติสุข สมบูรณ์ พูลผล ไปด้วย ลาภ สักการะ สรรเสริญ เต็มเปี่ยมไปด้วยอริยทรัพย์ โภคทรัพย์ จงพรั่งพร้อมบริบูรณ์ มีมนุษย์สมบัติ ทรัพย์สมบัติ และคุณสมบัติดี บริวารดี และปัญญาดี ปัญญางาม ปัญญาแตกฉาน4(ปฏิสัมภิทาญาณ 4)งามทั้งกาย งามทั้งใจและวาจา เป็นเลิศ มีดวงตาเห็นธรรม เจริญในธรรมยิ่งๆขึ้นไป แล้วให้ถึงสวรรค์สมบัติ และนิพพานสมบัติ จงทุกประการ จงทุกท่านทุกคน ด้วยเทอญ.

    คาถาพระสุนทรีวาณี
    ตั้ง นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ (๓ จบ)

    มุนินทะ วะทะนัมพุชะ คัพภะสัมภะวะ สุนทะรีปาณีนัง สะระณัง วาณี มัยหัง ปิณะยะตัง มะนังฯ

    (ท่อง สาม ห้า หรือ เจ็ด จบพร้อมคำแปล)
    ทำการค้าขาย โชคลาภ ให้ภาวนาเพิ่มว่า...

    เอหิปัสสิโก โอปะนะยิโก

    โส มานิมา ฤ ฤา ฦ ฦา

    สา มานิมา ฤ ฤา ฦ ฦา

    คำแปล

    นางฟ้า คือพระไตรปิฎกอันเกิดจากดอกอุบล คือพระโอษฐ์ของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้พึ่งพำนักของสรรพสัตว์ทั้งหลาย ขอจงยังใจของข้าพเจ้าให้เอิบอิ่มปรีดาปราโมทย์ รู้แจ่มแจ้งแทงตลอดจำได้ ปฏิบัติตามได้ ในพระไตรปิฏกทั้งโลกียะและโลกุตตระนั้นเทอญ

    ประวัติ..พระสุนทรีวาณี

    เป็นพระปางพิเศษ เป็นรูปเทพธิดาทรงอาภรณ์อันงดงามวิจิตร หัตถ์ขวาแสดงอาการกวัก คือ การเรียกเข้ามาหา หัตถ์ซ้ายหงายอยู่บนพระเพลา (หน้าตัก) มีดวงแก้ววิเชียร (เพชร) อยู่ในหัตถ์
    พระสุนทรีวาณี เป็นพระซึ่งเกิดจากการนิมิต แห่งพระคาถาสุนทรีวาณี ซึ่งเป็นคาถาที่ปรากฎ ในคัมภีร์สัททาวิเสส มี ๓๒ คำ
    พระคาถานี้เป็นพระคาถาศักดิ์สิทธิ์ ผู้ใดเมื่อเรียนพระไตรปิฎก เรียนพระธรรม เรียนวิชา ภาวนาแล้ว ดับอวิชชา บังเกิดปัญญางาม ปัญญากลายเป็นสัญญา คือ ความทรงจำอันเลิศล้ำ โบราณาจารย์ได้สั่งสอนศิษยานุศิษย์ให้ท่องทุกครั้ง ที่เรียนพระไตรปิฎกตลอดมา
    สืบได้ความว่า ผู้ที่ท่องคาถานี้เฉพาะในยุครัตนโกสินทร์ ดำรงสมณศักดิ์ เป็นสมเด็จพระสังฆราช ๓ พระองค์ เป็นพระสมเด็จ พระราชาคณะ เป็นพระคณาจารย์ผู้มากด้วยเมตตา
    สมเด็จพระวันรัต (แดง สีลวัฑฒโน) อดีตเจ้าอาวาสองค์ที่ ๓ ของวัดสุทัศนเทพวราราม ภาวนาแล้วเกิดเป็นนิมิต จึงให้จิตรกรหลวงเขียนภาพนิมิตนั้น แล้วตั้งบูชาที่หัวนอน ครั้นต่อมารัชกาลที่ ๕ เสด็จประพาสยุโรป สมเด็จพระวันรัต (แดง) ได้ถาวยคาถานี้ให้จำเริญ ครั้นเสด็จกลับจึงได้ตรัสว่าคาถานี้ศักดิ์สิทธิ์ และทรงยืมรูปพระสุนทรีวาณีไปบูชา เป็นเวลา ๕ ปี จนเมื่อสมเด็จพระวันรัต (แดง) อาพาธ ก่อนมรณภาพ จึงขอพระราชทานคืนวัด ปัจจุบันประดิษฐานที่ พระตำหนัก (คณะ ๖) วัดสุทัศนเทพวราราม ได้มีการสร้างเหรียญ และเหรียญหล่อแล้วหลายครั้ง พร้อมกับหล่อองค์บูชาขนาดหน้าตัก ๕ นิ้ว ไว้ด้วย

    หมายเหตุ

    พระสุนทรีวาณี เป็นพระที่ทรงไว้ด้วยความเมตตาอย่างสูง เป็นพระที่เป็นสิริมงคล มหาลาภต่าง ๆ จึงเหมาะแก่ห้างร้าน บริษัท และร้านค้าทั่วไปจะมีไว้บูชาเพื่อเจริญด้วยลาภ ยศ ความสุข สรรเสริญ ตลอดจนการเจริญก้าวหน้าในอาชีพการงานของตน
    ผู้บูชาเกิดความผ่องใส เกิดโชคลาภ และความสำเร็จสมหวัง..
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 11 กันยายน 2012
  9. กนฺตวีโรภิกขุ

    กนฺตวีโรภิกขุ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    1,514
    ค่าพลัง:
    +3,121
    อานิสงส์การสร้างพระไตรปิฎก <hr style="color:#FFFFFF; background-color:#FFFFFF" size="1"> อานิสงส์การสร้างพระไตรปิฎก
    สมัยหนึ่งพระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวันมหาวิหารในเมืองสาวัตถี อันเป็นอารามของอนาถปิณฑิกเศรษฐี ครั้งนั้นพระธรรมเสนาบดีสารีบุตรเถรเจ้าผู้มีอายุ
    ปราถนาจะให้พระพิชิตมารโปรดประทานซึ่งพระธรรมเทศนาแสดงอานิสงส์ในการที่ บุคคลที่ได้สร้างพระไตรปิฎก ใว้ในพระบวรพุทธศานาให้พิศดารเพื่อสาธุชนทั้งปวงให้ถึงปสันนาการเลื่อมใส อุตสาหะสร้างพระไตรปิฎก
    อันเป็นรากเหง้าเค้ามูลแห่งพระบวรศาสนา จึงได้เข้าไปทูลถามปัณหาว่า
    "ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้เจริญ บุคคลใดผู้มีจิตใจประกอบด้วยศรัทธา ได้สร้างพระไตรปิฎกถวายในพระพุทธศานาแล้ว จักได้รับผลานิสงส์เป็นประการใด
    ขอได้โปรดชี้แจงอานิสงส์แห่งบุญของบุคคลผู้สร้างพระไตรปิฎกให้แก่หม่อมฉันได้สดับรับฟัง ณ กาลบัดนี้เถิดพระพุทธเจ้าข้า"
    ครั้งนั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าจึงมีพุทธฎีกาตรัสว่า
    "ดูก่อนสารีบุตร อันบุคคลผู้ใดสร้างพระไตรปิฎกถวายไว้ในศาสนานี้ ย่อมได้อานิสงส์เป็นอันมาก สุดจะนับได้ทั้งสิ้นเล่า เฉพาะอานิสงส์แห่งอักขระตัวเดียว ก็จะนับประมาณมิได้
    สารีบุตรผลานิสงส์แห่งบุคคลผู้ได้สร้างซึ่งอักขระตัวเดียวไว้ในศาสนานี้ก็ให้ผลยังตนให้ประสบสุขสิ้นกาลช้านานคือ
    จะได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิเป็นเวลานานถึง ๘๔,๐๐๐ กัปล์
    จะได้เป็นพระเจ้าแผ่นดินในประเทศราชเป็นเวลาช้านานถึง ๙ อสงไขย
    จะได้เสวยสมบัติในตระกูลพราหมณ์มหาศาล เป็นพราหมจารย์ มีปัญญามาก มีสมบัติมหาศาลเป็นเวลา ๙ อสงไขย
    จะได้เป็นมหาเศรษฐีผู้ใหญ่มีสมบัติมากเป็ยเวลา ๙ อสงไขย
    และได้เสวยทิพยสมบัติในสวรรค์ชั้นจาตุมหาราชิกา ดาวดึงส์ ยามา ดุสิต นิมมานรดีและปรนิมมิตวสวดี เหล่านี้ชั้นละ ๙ อสงไขย เป็นกำหนด
    ครั้นจุติจากเทวโลกแล้วก็จะลงมาเกิดเป็นมนุษย์อีก จะได้เป็นคนมีทรัพยนับวิชามากด้วยสมบัติศฤงคารบริวาร จะได้เป็นคนมี สัตย์ ยินดีอยู่ในการบำเพ็ญกุศล
    จะได้เป็นคนมีรูปโฉมงดงาม มีน้ำใจโอบอ้อมอารีแก่ชนทั่วไปจะบริบูรณ์พูนเกิดไม่รู้จักบกพร่อง ทั้งนี้เพราะอานิสงส์แห่งอักษรตัวเดียว ของบุคคลผู้สร้างพระไตรปิฎกไว้ในพระศาสนา
    การที่กำหนดอานิสงส์แห่งการสร้างพระไตรปิฎกนั้นเป็นอาจินไตย ฯ
    สารีบุตรเอย เมื่อครั้งพระศานาพระปุราณโคดมสัมมาสัมพุทธเจ้า ครั้งนั้นคถาคตยังเป็นพระโพธิสัตว์เสยพระชาติเป็นอำมาตย์ของสมเด็จบรม กษัตริย์
    ผู้เป็นพุทธบิดาแห่งพระปุราณโคดมสัมมาสัมพุทธเจ้า คถาคตได้สร้างพระไตรปิฎกไว้ในพระศาสนา
    ณ กาล ครั้งนั้นพระพุทธองค์ก็ได้ทรงพยากรณ์ไว้ว่า"ในอนาคตอำมาตย์นี้จักได้ตรัสรู้ เป็นพระพุทธเจ้าองค์หนึ่ง ทรงพระนามว่า สมณโคดม สมด้วยพระนามของคถาคตในกาลบัดนี้ฯ "
    อนึ่งได้ทรงพยากรณ์ว่า"พระพุทธมารดาแห่งคถาคตนี้จักทรงมีพระนามว่า สิริมหามายาราชเทวี พระพุทธบิดาจักทรงพระนามว่า สิริสุทโธทนมหาราช
    ทรงพยากรณ์ต่อไปว่า "เมื่อคถาคตได้ตรัสรู้แล้วจะทรงทรงมีพระชนม์ ๘๐ พรรษา แล้วจะดับขันธ์หันพระพักตร์เข้าสู่พระปรินิพพาน จะทรงประทานพระศาสนาไว้ ๕,๐๐๐ พรรษา"
    ก็สมด้วยพระพุทธฎีกาสิ้นด้วยประการฉะนี้ฯ ครั้นตรัสแสดงอานิสงส์แห่งการสร้างพระไตรปิฎกแก่พระสารีบุตรดังนี้
    ต่อมาพระองค์ได้ตรัสเทศนาแสดงอานิสงส์แห่งการสร้างพระไตรปิฎก แต่พระเจ้าประเสนทิโกสนราชว่า
    "บุคคลได้สร้างพระไตรปิฎกโดยเขียนเองก็ดี จ้างคนอื่นเขียนก็ดี จะมีอานิสงส์ยิ่งใหญ่
    ให้สำเร็จปราถนาทุกประการ ให้สำเร็จสมบัติทั้ง ๓ ประการคือ มนุษย์สมบัติ สวรรค์สมบัติและนิพพานสมบัติ อักขระแต่ละตัวมีอานิสงส์เท่ากับการสร้างพระพุทธรูปองค์หนึ่ง
    อักขระที่จารึกพระไตรปิฎกยังประดษฐานอยู่ตราบใดก็ชื่อว่าพระพุทธเจ้ายังทรงมีพระชนม์อยู่ตราบนั้นฯ"
    อันพระไตรปิฎกนี้จัดเป็นรากเหง้าเค้ามูลแห่งพระศาสนา ดังนั้นผู้สร้างพระไตรปิฎกจึงมีผลานิสงส์มาก พระสารีบุตรเถรเจ้ามีปัญญามากก็เพราะอานิสงส์ที่ได้สร้างพระไตรปิฎกแล
    ครั้งพระพุทธเจ้าทรงพระนามว่า ปุสสะ พระสารีบุตรเกิดเป็น สุชาตมานพ มีภรรยาชื่อนางนันทา มีบุตรคนหนึ่งชื่อชื่อคันธกุมาร มีใจเลื่อมใสศรัทธาใคร่สร้างพระไตรปิฎกไว้ในพระพุทธศาสนา
    ให้พระพระสังฆเถร เขียนพระไตรปิฎกไม่ปรากฎจำนวนเพราะไม่มีปรากฏในบาลี ครั้นพระเถรเจ้าเขียนเสร็จแล้ว สุชาตก็ได้ลงรักปิดทองเอาผ้าห่มของตนเป็นผ้าห่อคัมภีร์ ใช้ด้ายทำสายรัด
    และเก็บไว้ภายในหอไตรให้ทาส ๔ คนเป็นพนักงานเฝ้ารักษาเป็นประจำเสมอมา
    ครั้นต่อมากาลนานมาสองสามีภรรยาก็ได้ตายไปเสวยสมบัติอยู่ในสวรรค์ชั้นดุสิต ในวิมานทองสูง ๕ โยชน์ แวดล้อมด้วยนางอัปสร ๑,๐๐๐ นาง เต็มด้วยอิฏฐารมณ์มากมายหลายประการฯ
    เมื่อเสวยทิพยสมบัติในสวรรค์ชั้นดุสิต คิดเป็นเวลาในมนุษย์ ๗๕ โกฏิ ๖๐ แสนปี แล้วจุติจากสวรรค์ชั้นดุสิต ขึ้นไปเสวยทิพย์สมบัติอยู่ในฉกามาพจรสวรรค์ถึง ๓ ครั้ง ครั้นในภัทรกัปรนี้สองสามีภรรยาก็ได้มาเกิดเป็น
    พระเจ้าจักรพรรดิราชสมบูรณ์ด้วยแก้ว ๗ ประการ คือ ช้างแก้ว ม้าแก้ว ขุนคลังแก้ว ขุนพลแก้ว ดวงแก้วมณีโชติ จักรแก้ว นางแก้ว นางแก้วก็คือนางนันทาผู้เคยเป็นภรรยาในอดีตนั้นเองฯ
    นอกจากนี้อานิสงส์ที่ได้ปิดทองพระคัมภีร์นั้น ย่อมตกแต่งให้มีผิวพรรณดั่งทองคำธรรมชาติฯ ผลที่ได้เอาผ้าห่มห่อคัมภีร์ได้บัลดารให้คลังอันเต็มไปด้วยผ้า ๘๔,๐๐๐ คลัง ผ้าแต่ละผืนล้วนแต่มีราคาแพงๆทั้งนั้นฯ
    อานิสงส์ที่ได้ใช้ด้ายรัดคัมภีร์ได้ทำให้สมบัติทั้งปวงถาวรมั่นคง ไม่มีการเสื่อมสูญหายด้วยอันตรายใดๆทั้งสิ้น
    อานิสงส์ที่ได้ทำตู้และหีบใส่พระไตรปิฎกนั้นได้ตกแต่งให้เป็นบรมจักพรรดิ สมบูรณ์ด้วยปรางค์ปราสาทแก้วถึง ๘๔,๐๐๐ ปรางค์ ล้วนทำด้วยแก้วประกาฬ แก้วลาย แก้วผลึก และแก้วอินทนิน นับเงินและทองเข้าด้วย
    จึงเป็นรัตนทั้ง ๗ ประการฉะนี้ฯ
    ด้วยอานิสงส์ที่มณฑปหอไตร ได้บันดาลให้อาชญาแผ่ไปทั่วในทวีปใหญ่ทั้ง ๔ ทวีปน้อย ๒,๐๐๐ เป็นบริวารฯ
    ด้วยอานิสงส์ที่ให้ทาสทั้ง ๔ อยู่ประจำรักษาหอไตรนั้นก็ตกแต่งให้มีบริวารแวดล้อมอยู่เป็นนิตยกาล
    ครั้นต่อมากาลนานมาพระเจ้าจักรพรรดิราชาก็ได้ซึ่งความตายตามสภาพของสังขาร แล้วไปเกิดเป็นพระอินทรอยู่ในสวรรค์ชั้นดาวดึง จากนั้นก็เกิดเป็นมนุษย์พบพระศาสนาของพระสมณโคดมบรมครูและได้เป็น
    พระอัครสาวกเบื้องขวาผู้เลิศด้วยปัญญาแลฯ
    การสร้างพระไตรปิฎกนั้นมีผลานิสงส์สุดที่นับได้ดังที่พระชินศรีตรัสว่า "ผลนั้นไม่มีที่สิ้นสุด จะนับประมาณมิได้ดังนี้ฯ"
     
  10. กนฺตวีโรภิกขุ

    กนฺตวีโรภิกขุ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    1,514
    ค่าพลัง:
    +3,121
    อานิสงส์การทำบุญสร้างหอพระไตรปิฎก
    ผู้ ที่ทำ บุญด้วยการสร้างหอพระไตรปิฎกแด่พระสงฆ์ จะได้รับอานิสงส์ผลบุญทั้งในชาตินี้และชาติหน้า จะเป็นผู้มีสติปัญญาดี เป็นผู้นำให้กับบุคคลอื่นอยู่เสมอ คิดอ่านสิ่งใดก็ไม่ค่อยผิดพลาด ความจำดีด้านการงาน ก็จะเป็นที่นับหน้าถือตา เป็นเจ้าคนนายคน ถึงพร้อมด้วยบริวารรายล้อมรอบกาย ถึงแม้จะเป็นหญิงก็จะได้เป็นใหญ่ ผู้ที่ทำบุญด้วยการสร้างหอพระไตรปิฎกนี้ มักเป็นนักวิชาการหรือเกี่ยวข้องกับงานใหญ่ หากเจออุปสรรค ก็จะเห็นทางออกอยู่เบื้องหน้า ไม่ต้องนั่งกลุ้มหรือไปปรึกษาใคร
     
  11. chan2510

    chan2510 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 เมษายน 2008
    โพสต์:
    328
    ค่าพลัง:
    +601
    วันที่ 17/9/55 กระผม ชาญติพงษ์ แก้วสมบุญ โอนเงิน 200 บาท ร่วมสร้างหอพระไตรปิฎก
    ผ่าน ธ.ไทยพาณิชย์ ทางอินเตอร์เน็ต เวลา 13.09 น. เรียบร้อยแล้ว
     
  12. กนฺตวีโรภิกขุ

    กนฺตวีโรภิกขุ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    1,514
    ค่าพลัง:
    +3,121
    ขออนุโมทนาบุญ ขอขอบคุณโยมชาญติพงษ์ แก้วสมบุญ

    โดยได้ร่วมทำบุญกับทางวัดเพื่อร่วมสร้างหอพระไตรปิฎก ขอบุญกุศลทั้งหลายที่คุณโยมชาญติพงษ์ แก้วสมบุญและครอบครัวได้ทำบุญในครั้งนี้เป็นการบำเพ็ญบุญเต็มเปี่ยมล้นไปด้วยความดีความชอบ ตามทำนองคลองธรรมอันบริสุทธิ์แล้ว จงเป็นผล เดชะ ตบะ พลวปัจจัย ให้คุณโยมและครอบครัวจงเจริญรุ่งเรือง รุ่งโรจน์ไพบูลย์ จงเจริญไปในพระธรรมของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า จงเป็นผู้ปราศจาก ซึ่งความทุกข์ โศก โรค ภัย นานา ประการ ขอจงมีอายุมั่นขวัญยืน ขอจงมีแต่ความสันติสุข สมบูรณ์ พูลผล ไปด้วย ลาภ สักการะ สรรเสริญ เต็มเปี่ยมไปด้วยอริยทรัพย์ โภคทรัพย์ จงพรั่งพร้อมบริบูรณ์ มีมนุษย์สมบัติ ทรัพย์สมบัติ และคุณสมบัติดี บริวารดี และปัญญาดี ปัญญางาม ปัญญาแตกฉาน4(ปฏิสัมภิทาญาณ 4)งาม ทั้งกาย งามทั้งใจและวาจา เป็นเลิศ มีดวงตาเห็นธรรม เจริญในธรรมยิ่งๆขึ้นไป แล้วให้ถึงสวรรค์สมบัติ และนิพพานสมบัติ จงทุกประการ จงทุกท่านทุกคน ด้วยเทอญ.
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 18 กันยายน 2012
  13. กนฺตวีโรภิกขุ

    กนฺตวีโรภิกขุ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    1,514
    ค่าพลัง:
    +3,121
    ร่วมงานบุญวางศิลาฤกษ์หอพระไตรปิฏก "หอไตรปัญญาบารมี"

    ขอแจ้งหมายกำหนดการในการทอดกฐินสามัคคี เพื่อสบทบทุนสร้างหอพระไตรปิฏก และกำหนดวันทำพิธีวางศิลาฤกษ์ ในวันเดียวกัน ในวันเสาร์ที่17พ.ย.55 เวลา 09.00 น. เริ่มพิธี
    งานบุญใหญ่ยกกำลัง๒เพื่อเป็นสิริมงคลแก่ท่านและครอบครัว สำหรับทุกท่านที่อยากร่วมทำบุญ ก็ขอเชิญร่วมบุญนี้ได้โดยเชิญท่านผู้มีจิตศรัทธาทุกท่าน เป็นเจ้าภาพ จองไม้มงคลและตอกไม้มงคล ๙ ชนิด รวมทั้งเเผ่นเงิน ทอง นาก จำนวน ๕๕ ชุด เพื่อตอกลงในหลุมวางศิลาฤกษ์ หอพระไตรปิฏก (หอไตรปัญญาบารมี) อันเป็นที่สำหรับเก็บรวบรวมรักษาพระไตรปิฎกพระคัมภีร์ใบลาน พระธรรมเทศนาแบบพื้นเมืองเหนือ และเป็นที่ตั้งประดิษฐาน ของสมเด็จองค์ปฐมบรมมหาจักรพรรดิ์ปางห้ามสมุทร สูง ๑.๘๐, พระพุทธเจ้า 5 พระองค์, พระเจ้าเก้าตื้อมหามงคล ,พระปางประธานพรสมปรารถนาพระชัยหลังช้าง 8 เศียร รวม 9 องค์(สร้างแล้วทุกองค์) และใช้เป็นที่รับรองอาคันตุกะที่ต้องการศึกษาพระธรรมคำสอน
    อีกทั้งหอพระไตรหลังนี้ยังเป็นที่ประกอบศาสนพิธี เเละเจริญจิตภาวนาของอุบาสกอุบาสิกาและผู้ที่ต้องการศึกษาพระธรรมคำสอน พระไตรปิฏก นับว่าเป็นโอกาสอันดียิ่ง ที่ทุกท่านจะได้ร่วมสร้างมหาบารมีอันยิ่งใหญ่ที่เรียกว่า"ปัญญาบารมี"ในครั้งนี้ตามหมายกำหนดการวันทำพิธีวางศิลาฤกษ์ที่แจ้งไว้ข้างต้น ในวันเสาร์ ที่๑๗ เดือน พศฤจิกายน ๒๕๕๕ นี้(ท่านที่จะสั่งจองเป็นเจ้าภาพสามารถมาตอกไม้มงคลที่จองไว้ได้ด้วยตนเองไม้ มงคล ๑ ชุดจะประกอบไปด้วย ไม้มงคลทั้ง ๙ ชนิด( คือ ไม้สักทอง ไม้ทองหลาง ไม้ราชพฤกษ์ ไม้สีสุก ไม้ขนุน ไม้พยุง ไม้ทรงบาดาล ไม้กันเกรา),เเผ่นเงินทองนาก สำหรับเขียนดวง เพื่อให้ทุกท่านที่เป็นเจ้าภาพได้ตอกไม้มงคลเเละวางเเผ่นดวงด้วยตนเองในวันงาน
    สำหรับท่านที่ร่วมบุญเป็นเจ้าภาพมาเเละเดินทางมาร่วมงานบุญไม่ได้ สามารถส่งข้อมูลชื่อนามสกุลมาที่ทางวัดได้หรือแจ้งมาทางPM.ทางวัดจะดำเนินการเขียนชื่อนามสกุลให้ ทุกรายการ


    <!--[if gte mso 9]><xml> <w:WordDocument> <w:View>Normal</w:View> <w:Zoom>0</w:Zoom> <w:punctuationKerning/> <w:ValidateAgainstSchemas/> <w:SaveIfXMLInvalid>false</w:SaveIfXMLInvalid> <w:IgnoreMixedContent>false</w:IgnoreMixedContent> <w:AlwaysShowPlaceholderText>false</w:AlwaysShowPlaceholderText> <w:Compatibility> <w:BreakWrappedTables/> <w:SnapToGridInCell/> <w:ApplyBreakingRules/> <w:WrapTextWithPunct/> <w:UseAsianBreakRules/> <w:DontGrowAutofit/> </w:Compatibility> <w:BrowserLevel>MicrosoftInternetExplorer4</w:BrowserLevel> </w:WordDocument> </xml><![endif]--><!--[if gte mso 9]><xml> <w:LatentStyles DefLockedState="false" LatentStyleCount="156"> </w:LatentStyles> </xml><![endif]--><!--[if gte mso 10]> <style> /* Style Definitions */ table.MsoNormalTable {mso-style-name:ตารางปกติ; mso-tstyle-rowband-size:0; mso-tstyle-colband-size:0; mso-style-noshow:yes; mso-style-parent:""; mso-padding-alt:0cm 5.4pt 0cm 5.4pt; mso-para-margin:0cm; mso-para-margin-bottom:.0001pt; mso-pagination:widow-orphan; font-size:10.0pt; font-family:"Times New Roman"; mso-bidi-font-family:"Times New Roman"; mso-ansi-language:#0400; mso-fareast-language:#0400; mso-bidi-language:#0400;} </style> <![endif]--><!--[if gte mso 9]><xml> <w:WordDocument> <w:View>Normal</w:View> <w:Zoom>0</w:Zoom> <w:punctuationKerning/> <w:ValidateAgainstSchemas/> <w:SaveIfXMLInvalid>false</w:SaveIfXMLInvalid> <w:IgnoreMixedContent>false</w:IgnoreMixedContent> <w:AlwaysShowPlaceholderText>false</w:AlwaysShowPlaceholderText> <w:Compatibility> <w:BreakWrappedTables/> <w:SnapToGridInCell/> <w:ApplyBreakingRules/> <w:WrapTextWithPunct/> <w:UseAsianBreakRules/> <w:DontGrowAutofit/> </w:Compatibility> <w:BrowserLevel>MicrosoftInternetExplorer4</w:BrowserLevel> </w:WordDocument> </xml><![endif]--><!--[if gte mso 9]><xml> <w:LatentStyles DefLockedState="false" LatentStyleCount="156"> </w:LatentStyles> </xml><![endif]--><!--[if gte mso 10]> <style> /* Style Definitions */ table.MsoNormalTable {mso-style-name:ตารางปกติ; mso-tstyle-rowband-size:0; mso-tstyle-colband-size:0; mso-style-noshow:yes; mso-style-parent:""; mso-padding-alt:0cm 5.4pt 0cm 5.4pt; mso-para-margin:0cm; mso-para-margin-bottom:.0001pt; mso-pagination:widow-orphan; font-size:10.0pt; font-family:"Times New Roman"; mso-bidi-font-family:"Times New Roman"; mso-ansi-language:#0400; mso-fareast-language:#0400; mso-bidi-language:#0400;} </style> <![endif]--><!--[if gte mso 9]><xml> <w:WordDocument> <w:View>Normal</w:View> <w:Zoom>0</w:Zoom> <w:punctuationKerning/> <w:ValidateAgainstSchemas/> <w:SaveIfXMLInvalid>false</w:SaveIfXMLInvalid> <w:IgnoreMixedContent>false</w:IgnoreMixedContent> <w:AlwaysShowPlaceholderText>false</w:AlwaysShowPlaceholderText> <w:Compatibility> <w:BreakWrappedTables/> <w:SnapToGridInCell/> <w:ApplyBreakingRules/> <w:WrapTextWithPunct/> <w:UseAsianBreakRules/> <w:DontGrowAutofit/> </w:Compatibility> <w:BrowserLevel>MicrosoftInternetExplorer4</w:BrowserLevel> </w:WordDocument> </xml><![endif]--><!--[if gte mso 9]><xml> <w:LatentStyles DefLockedState="false" LatentStyleCount="156"> </w:LatentStyles> </xml><![endif]--><!--[if gte mso 10]> <style> /* Style Definitions */ table.MsoNormalTable {mso-style-name:ตารางปกติ; mso-tstyle-rowband-size:0; mso-tstyle-colband-size:0; mso-style-noshow:yes; mso-style-parent:""; mso-padding-alt:0cm 5.4pt 0cm 5.4pt; mso-para-margin:0cm; mso-para-margin-bottom:.0001pt; mso-pagination:widow-orphan; font-size:10.0pt; font-family:"Times New Roman"; mso-bidi-font-family:"Times New Roman"; mso-ansi-language:#0400; mso-fareast-language:#0400; mso-bidi-language:#0400;} </style> <![endif]--><!--[if gte mso 9]><xml> <w:WordDocument> <w:View>Normal</w:View> <w:Zoom>0</w:Zoom> <w:punctuationKerning/> <w:ValidateAgainstSchemas/> <w:SaveIfXMLInvalid>false</w:SaveIfXMLInvalid> <w:IgnoreMixedContent>false</w:IgnoreMixedContent> <w:AlwaysShowPlaceholderText>false</w:AlwaysShowPlaceholderText> <w:Compatibility> <w:BreakWrappedTables/> <w:SnapToGridInCell/> <w:ApplyBreakingRules/> <w:WrapTextWithPunct/> <w:UseAsianBreakRules/> <w:DontGrowAutofit/> </w:Compatibility> <w:BrowserLevel>MicrosoftInternetExplorer4</w:BrowserLevel> </w:WordDocument> </xml><![endif]--><!--[if gte mso 9]><xml> <w:LatentStyles DefLockedState="false" LatentStyleCount="156"> </w:LatentStyles> </xml><![endif]--><!--[if gte mso 10]> <style> /* Style Definitions */ table.MsoNormalTable {mso-style-name:ตารางปกติ; mso-tstyle-rowband-size:0; mso-tstyle-colband-size:0; mso-style-noshow:yes; mso-style-parent:""; mso-padding-alt:0cm 5.4pt 0cm 5.4pt; mso-para-margin:0cm; mso-para-margin-bottom:.0001pt; mso-pagination:widow-orphan; font-size:10.0pt; font-family:"Times New Roman"; mso-bidi-font-family:"Times New Roman"; mso-ansi-language:#0400; mso-fareast-language:#0400; mso-bidi-language:#0400;} </style> <![endif]--><!--[if gte mso 9]><xml> <w:WordDocument> <w:View>Normal</w:View> <w:Zoom>0</w:Zoom> <w:punctuationKerning/> <w:ValidateAgainstSchemas/> <w:SaveIfXMLInvalid>false</w:SaveIfXMLInvalid> <w:IgnoreMixedContent>false</w:IgnoreMixedContent> <w:AlwaysShowPlaceholderText>false</w:AlwaysShowPlaceholderText> <w:Compatibility> <w:BreakWrappedTables/> <w:SnapToGridInCell/> <w:ApplyBreakingRules/> <w:WrapTextWithPunct/> <w:UseAsianBreakRules/> <w:DontGrowAutofit/> </w:Compatibility> <w:BrowserLevel>MicrosoftInternetExplorer4</w:BrowserLevel> </w:WordDocument> </xml><![endif]--><!--[if gte mso 9]><xml> <w:LatentStyles DefLockedState="false" LatentStyleCount="156"> </w:LatentStyles> </xml><![endif]--><!--[if gte mso 10]> <style> /* Style Definitions */ table.MsoNormalTable {mso-style-name:ตารางปกติ; mso-tstyle-rowband-size:0; mso-tstyle-colband-size:0; mso-style-noshow:yes; mso-style-parent:""; mso-padding-alt:0cm 5.4pt 0cm 5.4pt; mso-para-margin:0cm; mso-para-margin-bottom:.0001pt; mso-pagination:widow-orphan; font-size:10.0pt; font-family:"Times New Roman"; mso-bidi-font-family:"Times New Roman"; mso-ansi-language:#0400; mso-fareast-language:#0400; mso-bidi-language:#0400;} </style> <![endif]--> <!--[if gte mso 9]><xml> <w:WordDocument> <w:View>Normal</w:View> <w:Zoom>0</w:Zoom> <w:punctuationKerning/> <w:ValidateAgainstSchemas/> <w:SaveIfXMLInvalid>false</w:SaveIfXMLInvalid> <w:IgnoreMixedContent>false</w:IgnoreMixedContent> <w:AlwaysShowPlaceholderText>false</w:AlwaysShowPlaceholderText> <w:Compatibility> <w:BreakWrappedTables/> <w:SnapToGridInCell/> <w:ApplyBreakingRules/> <w:WrapTextWithPunct/> <w:UseAsianBreakRules/> <w:DontGrowAutofit/> </w:Compatibility> <w:BrowserLevel>MicrosoftInternetExplorer4</w:BrowserLevel> </w:WordDocument> </xml><![endif]--><!--[if gte mso 9]><xml> <w:LatentStyles DefLockedState="false" LatentStyleCount="156"> </w:LatentStyles> </xml><![endif]--><!--[if gte mso 10]> <style> /* Style Definitions */ table.MsoNormalTable {mso-style-name:ตารางปกติ; mso-tstyle-rowband-size:0; mso-tstyle-colband-size:0; mso-style-noshow:yes; mso-style-parent:""; mso-padding-alt:0cm 5.4pt 0cm 5.4pt; mso-para-margin:0cm; mso-para-margin-bottom:.0001pt; mso-pagination:widow-orphan; font-size:10.0pt; font-family:"Times New Roman"; mso-bidi-font-family:"Times New Roman"; mso-ansi-language:#0400; mso-fareast-language:#0400; mso-bidi-language:#0400;} </style> <![endif]--> <!--[if gte mso 9]><xml> <w:WordDocument> <w:View>Normal</w:View> <w:Zoom>0</w:Zoom> <w:punctuationKerning/> <w:ValidateAgainstSchemas/> <w:SaveIfXMLInvalid>false</w:SaveIfXMLInvalid> <w:IgnoreMixedContent>false</w:IgnoreMixedContent> <w:AlwaysShowPlaceholderText>false</w:AlwaysShowPlaceholderText> <w:Compatibility> <w:BreakWrappedTables/> <w:SnapToGridInCell/> <w:ApplyBreakingRules/> <w:WrapTextWithPunct/> <w:UseAsianBreakRules/> <w:DontGrowAutofit/> </w:Compatibility> <w:BrowserLevel>MicrosoftInternetExplorer4</w:BrowserLevel> </w:WordDocument> </xml><![endif]--><!--[if gte mso 9]><xml> <w:LatentStyles DefLockedState="false" LatentStyleCount="156"> </w:LatentStyles> </xml><![endif]--><!--[if gte mso 10]> <style> /* Style Definitions */ table.MsoNormalTable {mso-style-name:ตารางปกติ; mso-tstyle-rowband-size:0; mso-tstyle-colband-size:0; mso-style-noshow:yes; mso-style-parent:""; mso-padding-alt:0cm 5.4pt 0cm 5.4pt; mso-para-margin:0cm; mso-para-margin-bottom:.0001pt; mso-pagination:widow-orphan; font-size:10.0pt; font-family:"Times New Roman"; mso-bidi-font-family:"Times New Roman"; mso-ansi-language:#0400; mso-fareast-language:#0400; mso-bidi-language:#0400;} </style> <![endif]-->
    งานบุญวางศิลาฤกษ์หอพระไตรปิฏก "หอไตรปัญญาบารมี" สามารถร่วมเป็นเจ้าภาพได้ดังนี้

    1. ร่วมบุญรับเป็นเจ้าภาพองค์พระพุทธรูปแก้วขาว(ธรรมชาติ)จำนวน 5 องค์ ขนาด 3 นิ้ว ร่วมบุญเป็นเจ้าภาพองค์ ละ 1999 บาท เพื่อนำบรรจุลงในหลุมศิลาฤกษ์หรือร่วมบุญเเต่ศรัทธา

    <!--[if gte mso 9]><xml> <w:WordDocument> <w:View>Normal</w:View> <w:Zoom>0</w:Zoom> <w:punctuationKerning/> <w:ValidateAgainstSchemas/> <w:SaveIfXMLInvalid>false</w:SaveIfXMLInvalid> <w:IgnoreMixedContent>false</w:IgnoreMixedContent> <w:AlwaysShowPlaceholderText>false</w:AlwaysShowPlaceholderText> <w:Compatibility> <w:BreakWrappedTables/> <w:SnapToGridInCell/> <w:ApplyBreakingRules/> <w:WrapTextWithPunct/> <w:UseAsianBreakRules/> <w:DontGrowAutofit/> </w:Compatibility> <w:BrowserLevel>MicrosoftInternetExplorer4</w:BrowserLevel> </w:WordDocument> </xml><![endif]--><!--[if gte mso 9]><xml> <w:LatentStyles DefLockedState="false" LatentStyleCount="156"> </w:LatentStyles> </xml><![endif]--><!--[if gte mso 10]> <style> /* Style Definitions */ table.MsoNormalTable {mso-style-name:ตารางปกติ; mso-tstyle-rowband-size:0; mso-tstyle-colband-size:0; mso-style-noshow:yes; mso-style-parent:""; mso-padding-alt:0cm 5.4pt 0cm 5.4pt; mso-para-margin:0cm; mso-para-margin-bottom:.0001pt; mso-pagination:widow-orphan; font-size:10.0pt; font-family:"Times New Roman"; mso-bidi-font-family:"Times New Roman"; mso-ansi-language:#0400; mso-fareast-language:#0400; mso-bidi-language:#0400;} </style> <![endif]-->​
    2.ร่วมบุญจองไม้มงคลและตอกไม้มงคล ๙ ชนิดรวมทั้งเเผ่นเงิน ทองนาก ในหลุมวางศิลาฤกษ์ ร่วมบุญชุดละ 999 บาท จำนวน ๕๕ ชุดหรือร่วมบุญเเต่ศรัทธา

    3.ร่วมบุญบูชา พระรอดหลวง จำนวน ๒๕๕๕ องค์ องค์ละ ๙ บาท
    (ด้านหลังสามรถเขียนชื่อนามสกุลได้ ตามเจตนาศรัทธา พระรอดหลวงทุกองค์ผ่านพิธีอธิฐานจิตปลุกเสกแล้วโดยเกจิอาจารย์สายเหนือ)เพื่อนำบรรจุลงในหลุมศิลาฤกษ์หรือร่วมบุญเเต่ศรัทธา

    4. อัญมณีนพเก้ว จำนวน ๙ เม็ดครบทุกสี (ขนาดใหญ่) มีเพียง๙เม็ดเท่านั้น เม็ดละ 999 บาท(ผ่านพิธีอธิฐานจิตปลุกเสกแล้วโดยเกจิอาจารย์สายเหนือ)
    เพื่อนำบรรจุลงในหลุมศิลาฤกษ์หรือร่วมบุญเเต่ศรัทธา


    5. องค์พญานาค ขนาด 5 นิ้ว ร่วมบูชาเพื่อนำบรรจุลงในหลุมศิลาฤกษ์ ร่วมทำบุญเป็นเจ้าภาพ องค์ละ 599 บาท จำนวน 4 องค์
    หรือร่วมบุญเเต่ศรัทธา

    ท่านที่รับเป็นเจ้าภาพ๑ ชุดที่ไม่ได้เดินทางมาด้วยตนเองทางวัดจะเขียนชื่อให้นามสกุลให้ และทุกท่านที่สามารถมาร่วมงานได้ทางวัดจะเตรียมไว้ให้และเขียนชื่อนามสกุลของท่าน ลงในเเผ่นดวงเพื่อบรรจุในหลุมวางศิลาฤกษ์ ฝากไว้ในบวรพระพุทธศาสนาสืบไป.

    ปล.ปัจจัยทุกบาททุกสตางห์ที่ได้รับในส่วนนี้จะนำมาเป็นค่าใช้จ่ายในการจัดสร้างหอพระไตรปิฏกหลังนี้ ทั้งงานพิธีวางศิลาฤกษ์ ค่าเขียนเเบบ และรายจ่ายอื่นๆที่จำเป็นในการจัดสร้างหอพระไตรปิฏก

    <!--[if gte mso 9]><xml> <w:WordDocument> <w:View>Normal</w:View> <w:Zoom>0</w:Zoom> <w:punctuationKerning/> <w:ValidateAgainstSchemas/> <w:SaveIfXMLInvalid>false</w:SaveIfXMLInvalid> <w:IgnoreMixedContent>false</w:IgnoreMixedContent> <w:AlwaysShowPlaceholderText>false</w:AlwaysShowPlaceholderText> <w:Compatibility> <w:BreakWrappedTables/> <w:SnapToGridInCell/> <w:ApplyBreakingRules/> <w:WrapTextWithPunct/> <w:UseAsianBreakRules/> <w:DontGrowAutofit/> </w:Compatibility> <w:BrowserLevel>MicrosoftInternetExplorer4</w:BrowserLevel> </w:WordDocument> </xml><![endif]--><!--[if gte mso 9]><xml> <w:LatentStyles DefLockedState="false" LatentStyleCount="156"> </w:LatentStyles> </xml><![endif]--><!--[if gte mso 10]> <style> /* Style Definitions */ table.MsoNormalTable {mso-style-name:ตารางปกติ; mso-tstyle-rowband-size:0; mso-tstyle-colband-size:0; mso-style-noshow:yes; mso-style-parent:""; mso-padding-alt:0cm 5.4pt 0cm 5.4pt; mso-para-margin:0cm; mso-para-margin-bottom:.0001pt; mso-pagination:widow-orphan; font-size:10.0pt; font-family:"Times New Roman"; mso-bidi-font-family:"Times New Roman"; mso-ansi-language:#0400; mso-fareast-language:#0400; mso-bidi-language:#0400;} </style> <![endif]--> <!--[if gte mso 9]><xml> <w:WordDocument> <w:View>Normal</w:View> <w:Zoom>0</w:Zoom> <w:punctuationKerning/> <w:ValidateAgainstSchemas/> <w:SaveIfXMLInvalid>false</w:SaveIfXMLInvalid> <w:IgnoreMixedContent>false</w:IgnoreMixedContent> <w:AlwaysShowPlaceholderText>false</w:AlwaysShowPlaceholderText> <w:Compatibility> <w:BreakWrappedTables/> <w:SnapToGridInCell/> <w:ApplyBreakingRules/> <w:WrapTextWithPunct/> <w:UseAsianBreakRules/> <w:DontGrowAutofit/> </w:Compatibility> <w:BrowserLevel>MicrosoftInternetExplorer4</w:BrowserLevel> </w:WordDocument> </xml><![endif]--><!--[if gte mso 9]><xml> <w:LatentStyles DefLockedState="false" LatentStyleCount="156"> </w:LatentStyles> </xml><![endif]--><!--[if gte mso 10]> <style> /* Style Definitions */ table.MsoNormalTable {mso-style-name:ตารางปกติ; mso-tstyle-rowband-size:0; mso-tstyle-colband-size:0; mso-style-noshow:yes; mso-style-parent:""; mso-padding-alt:0cm 5.4pt 0cm 5.4pt; mso-para-margin:0cm; mso-para-margin-bottom:.0001pt; mso-pagination:widow-orphan; font-size:10.0pt; font-family:"Times New Roman"; mso-bidi-font-family:"Times New Roman"; mso-ansi-language:#0400; mso-fareast-language:#0400; mso-bidi-language:#0400;} </style> <![endif]-->
    อานิสงค์การเป็นเจ้าภาพตอกไม้มงคล ๙ ชนิด

    -ทำให้มีฐานะความเป็นอยู่ที่ถาวรมั่นคงและอยู่เย็นเป็นสุขตลอดไป
    -การตอกไม้มงคลในหลุมวางศิลาฤกษ์มีอานิสงค์คล้ายกับการตอกเสาเข็ม ไม่ว่าจะสร้างบ้านเรือน ศาลา โบสถ์วิหารมักจะต้องมีการตอกไม้มงคลทั้ง ๙ ชนิดปักลงในพื้นดิน ในหลุมวางศิลาฤกษ์หรือหลุมเสาเอก ซึ่งมีความหมายดังนี้
    ๑. ไม้ราชพฤกษ์ หมายถึง ความเป็นใหญ่และมีอำนาจวาสนา
    ๒. ไม้ขนุน หมายถึง หนุนให้ดีขึ้นร่ำรวยขึ้น ทำอะไรจะมีผู้ให้การเกื้อหนุน
    ๓. ไม้ชัยพฤกษ์ หมายถึง การมีโชคชัย ชัยชนะ
    ๔. ไม้ทองหลาง หมายถึง การมีเงินมีทอง
    ๕. ไม้ไผ่สีสุก หมายถึง มีความสุข
    ๖. ไม้ทรงบาดาล หมายถึง ความมั่นคง หรือทำให้บ้านมั่นคงแข็งแรง
    ๗. ไม้สัก หมายถึง ความมีศักดิ์ศรี ความมีเกียรติ
    ๘. ไม้พะยูง หมายถึง การพยุงฐานะให้ดีขึ้น
    ๙. ไม้กันเกรา หมายถึง ป้องกันภัยอันตรายต่าง ๆ หรืออีกชื่อหนึ่งว่าตำเสา ซึ่งอาจหมายถึง ทำให้เสาเรือนมั่นคง
    ไม้ มงคลเหล่านี้จะลงอักขระมนต์คาถา หัวใจพระอิติปิโส พระอรหันต์แปดทิศ สามารถเขียนชื่อเจ้าภาพได้
    -เป็นผู้มีชัยชนะ จากศัตรูหมู่มาร
    -เป็นผู้มีปัญญาเฉียบเเหลม
    -อานิสงค์ใหญ่คือการสร้างวิหารทาน

     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 21 กันยายน 2012
  14. สุขพูล

    สุขพูล เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 กันยายน 2012
    โพสต์:
    99
    ค่าพลัง:
    +433
    ผม นพ.รณชัย หล่อสุวรรณกุล และครอบครัวขอร่วมทำบุญทอดกฐินสามัคคีเพื่อสบทบทุนสร้างหอพระไตรปิฏก และเป็นเจ้าภาพพิธีวางศิลาฤกษ์สร้างหอพระไตรปิฏก" หอไตรปัญยาบารมี" โดยได้โอนเงินจำนวน3000บาทเข้าบัญชีธนาคารไทยพาณิชย์เลขที่4035351713 ในวันที่ 20/9/2555 เวลา 22.30 น ครับ
     
  15. กนฺตวีโรภิกขุ

    กนฺตวีโรภิกขุ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    1,514
    ค่าพลัง:
    +3,121
    ขออนุโมทนาบุญ สาธุ ขอขอบคุณโยมนพ.รณชัย หล่อสุวรรณกุล และครอบครัว

    โดยได้ร่วมทำบุญทอดกฐินสามัคคีเพื่อสบทบทุนสร้างหอพระไตรปิฏก และเป็นเจ้าภาพพิธีวางศิลาฤกษ์สร้างหอพระไตรปิฏก" หอไตรปัญญาบารมี" โดยได้ร่วมทำบุญเป็นเงินจำนวน3000บาท ขอบุญกุศลทั้งหลายที่คุณโยมนพ.รณชัย หล่อสุวรรณกุลและ ครอบครัวได้ทำบุญในครั้งนี้เป็นการบำเพ็ญบุญเต็มเปี่ยมล้นไปด้วยความดีความ ชอบ ตามทำนองคลองธรรมอันบริสุทธิ์แล้ว จงเป็นผล เดชะ ตบะ พลวปัจจัย ให้คุณโยมและครอบครัวจงเจริญรุ่งเรือง รุ่งโรจน์ไพบูลย์ จงเจริญไปในพระธรรมของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า จงเป็นผู้ปราศจาก ซึ่งความทุกข์ โศก โรค ภัย นานา ประการ ขอจงมีอายุมั่นขวัญยืน ขอจงมีแต่ความสันติสุข สมบูรณ์ พูลผล ไปด้วย ลาภ สักการะ สรรเสริญ เต็มเปี่ยมไปด้วยอริยทรัพย์ โภคทรัพย์ จงพรั่งพร้อมบริบูรณ์ มีมนุษย์สมบัติ ทรัพย์สมบัติ และคุณสมบัติดี บริวารดี และปัญญาดี ปัญญางาม ปัญญาแตกฉาน4(ปฏิสัมภิทาญาณ 4)งาม ทั้งกาย งามทั้งใจและวาจา เป็นเลิศ มีดวงตาเห็นธรรม เจริญในธรรมยิ่งๆขึ้นไป แล้วให้ถึงสวรรค์สมบัติ และนิพพานสมบัติ จงทุกประการ จงทุกท่านทุกคน ด้วยเทอญ.
     
  16. กนฺตวีโรภิกขุ

    กนฺตวีโรภิกขุ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    1,514
    ค่าพลัง:
    +3,121
    เชิญร่วมทำบุญงานวางศิลาฤกษ์หอพระไตรปิฏก "หอไตรปัญญาบารมี"

    งานบุญวางศิลาฤกษ์หอพระไตรปิฏก "หอไตรปัญญาบารมี" สามารถร่วมเป็นเจ้าภาพได้ดังนี้

    1. ร่วมบุญรับเป็นเจ้าภาพองค์พระพุทธรูปแก้วขาว(ธรรมชาติ)จำนวน 5 องค์ ขนาด 3 นิ้ว ร่วมบุญเป็นเจ้าภาพองค์ ละ 1999 บาท เพื่อนำบรรจุลงในหลุมศิลาฤกษ์หรือร่วมบุญเเต่ศรัทธา
    2.ร่วมบุญจองไม้มงคลและตอกไม้มงคล ๙ ชนิดรวมทั้งเเผ่นเงิน ทองนาก ในหลุมวางศิลาฤกษ์ ร่วมบุญชุดละ 999 บาท จำนวน ๕๕ ชุดหรือร่วมบุญเเต่ศรัทธา

    3
    .ร่วมบุญบูชา พระรอดหลวง จำนวน ๒๕๕๕ องค์ องค์ละ ๙ บาท(ด้านหลังสามรถเขียนชื่อนามสกุลได้ ตามเจตนาศรัทธา พระรอดหลวงทุกองค์ผ่านพิธีอธิฐานจิตปลุกเสกแล้วโดยเกจิอาจารย์สายเหนือ)เพื่อนำบรรจุลงในหลุมศิลาฤกษ์หรือร่วมบุญเเต่ศรัทธา

    4. อัญมณีนพเก้ว จำนวน ๙ เม็ดครบทุกสี (ขนาดใหญ่) มีเพียง๙เม็ดเท่านั้น เม็ดละ 999 บาท(ผ่านพิธีอธิฐานจิตปลุกเสกแล้วโดยเกจิอาจารย์สายเหนือ)
    เพื่อนำบรรจุลงในหลุมศิลาฤกษ์หรือร่วมบุญเเต่ศรัทธา



    5. องค์พญานาค ขนาด 5 นิ้ว ร่วมบูชาเพื่อนำบรรจุลงในหลุมศิลาฤกษ์ ร่วมทำบุญเป็นเจ้าภาพ องค์ละ 599 บาท จำนวน 4 องค์ หรือร่วมบุญเเต่ศรัทธา


    ท่าน ที่รับเป็นเจ้าภาพ๑ ชุดที่ไม่ได้เดินทางมาด้วยตนเองทางวัดจะเขียนชื่อให้นามสกุลให้ และทุกท่านที่สามารถมาร่วมงานได้ทางวัดจะเตรียมไว้ให้และเขียนชื่อนามสกุล ของท่าน ลงในเเผ่นดวงเพื่อบรรจุในหลุมวางศิลาฤกษ์ ฝากไว้ในบวรพระพุทธศาสนาสืบไป.

    ปล.ปัจจัย ทุกบาททุกสตางห์ที่ได้รับในส่วนนี้จะนำมาเป็นค่าใช้จ่ายในการจัดสร้างหอพระ ไตรปิฏกหลังนี้ ทั้งงานพิธีวางศิลาฤกษ์ ค่าเขียนเเบบ และรายจ่ายอื่นๆที่จำเป็นในการจัดสร้างหอพระไตรปิฏก

    อานิสงค์การเป็นเจ้าภาพตอกไม้มงคล ๙ ชนิด

    -ทำให้มีฐานะความเป็นอยู่ที่ถาวรมั่นคงและอยู่เย็นเป็นสุขตลอดไป
    -การตอกไม้มงคลในหลุมวางศิลาฤกษ์มีอานิสงค์คล้ายกับการตอกเสาเข็ม ไม่ว่าจะสร้างบ้านเรือน ศาลา โบสถ์วิหารมักจะต้องมีการตอกไม้มงคลทั้ง ๙ ชนิดปักลงในพื้นดิน ในหลุมวางศิลาฤกษ์หรือหลุมเสาเอก ซึ่งมีความหมายดังนี้
    ๑. ไม้ราชพฤกษ์ หมายถึง ความเป็นใหญ่และมีอำนาจวาสนา
    ๒. ไม้ขนุน หมายถึง หนุนให้ดีขึ้นร่ำรวยขึ้น ทำอะไรจะมีผู้ให้การเกื้อหนุน
    ๓. ไม้ชัยพฤกษ์ หมายถึง การมีโชคชัย ชัยชนะ
    ๔. ไม้ทองหลาง หมายถึง การมีเงินมีทอง
    ๕. ไม้ไผ่สีสุก หมายถึง มีความสุข
    ๖. ไม้ทรงบาดาล หมายถึง ความมั่นคง หรือทำให้บ้านมั่นคงแข็งแรง
    ๗. ไม้สัก หมายถึง ความมีศักดิ์ศรี ความมีเกียรติ
    ๘. ไม้พะยูง หมายถึง การพยุงฐานะให้ดีขึ้น
    ๙. ไม้กันเกรา หมายถึง ป้องกันภัยอันตรายต่าง ๆ หรืออีกชื่อหนึ่งว่าตำเสา ซึ่งอาจหมายถึง ทำให้เสาเรือนมั่นคง
    ไม้ มงคลเหล่านี้จะลงอักขระมนต์คาถา หัวใจพระอิติปิโส พระอรหันต์แปดทิศ สามารถเขียนชื่อเจ้าภาพได้
    -เป็นผู้มีชัยชนะ จากศัตรูหมู่มาร
    -เป็นผู้มีปัญญาเฉียบเเหลม
    -อานิสงค์ใหญ่คือการสร้างวิหารทาน
     
  17. กนฺตวีโรภิกขุ

    กนฺตวีโรภิกขุ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    1,514
    ค่าพลัง:
    +3,121
    ขอดันกระทู้งานบุญต่อไปเพราะทางวัดยังขาดงบประมาณใน การก่อสร้างหอพระไตรปิฏกและงานวางศิลาฤกษ์ จึงขอเรียนเชิญทุกท่านร่วมงานทำบุญสร้างหอพระไตรปิฏกและร่วมงานวางศิลาฤกษ์ ตามวันและเวลาดังกล่าว ที่แจ้งไว้แล้วข้างต้นนี้ .
    อานิสงส์การทำบุญสร้างหอพระไตรปิฎก
    ผู้ ที่ทำ บุญด้วยการสร้างหอพระไตรปิฎกถวายไว้ในบวรพรพุทธศาสนา จะได้รับอานิสงส์ผลบุญทั้งในชาตินี้และชาติหน้า จะเป็นผู้มีสติปัญญาดี เป็นผู้นำให้กับบุคคลอื่นอยู่เสมอ คิดอ่านสิ่งใดก็ไม่ค่อยผิดพลาด ความจำดีด้านการงาน ก็จะเป็นที่นับหน้าถือตา เป็นเจ้าคนนายคน ถึงพร้อมด้วยบริวารรายล้อมรอบกาย ถึงแม้จะเป็นหญิงก็จะได้เป็นใหญ่ ผู้ที่ทำบุญด้วยการสร้างหอพระไตรปิฎกนี้ มักเป็นนักวิชาการหรือเกี่ยวข้องกับงานใหญ่ หากเจออุปสรรค ก็จะเห็นทางออกอยู่เบื้องหน้า ไม่ต้องนั่งกลุ้มหรือไปปรึกษาใคร
    อานิสงค์การเป็นเจ้าภาพตอกไม้มงคล ๙ ชนิด
    -ทำให้มีฐานะความเป็นอยู่ที่ถาวรมั่นคงและอยู่เย็นเป็นสุขตลอดไป
    -การตอกไม้มงคลในหลุมวางศิลาฤกษ์มีอานิสงค์คล้ายกับการตอกเสาเข็ม ไม่ว่าจะสร้างบ้านเรือน ศาลา โบสถ์วิหารมักจะต้องมีการตอกไม้มงคลทั้ง ๙ ชนิดปักลงในพื้นดิน ในหลุมวางศิลาฤกษ์หรือหลุมเสาเอก ซึ่งมีความหมายดังนี้
    ๑. ไม้ราชพฤกษ์ หมายถึง ความเป็นใหญ่และมีอำนาจวาสนา
    ๒. ไม้ขนุน หมายถึง หนุนให้ดีขึ้นร่ำรวยขึ้น ทำอะไรจะมีผู้ให้การเกื้อหนุน
    ๓. ไม้ชัยพฤกษ์ หมายถึง การมีโชคชัย ชัยชนะ
    ๔. ไม้ทองหลาง หมายถึง การมีเงินมีทอง
    ๕. ไม้ไผ่สีสุก หมายถึง มีความสุข
    ๖. ไม้ทรงบาดาล หมายถึง ความมั่นคง หรือทำให้บ้านมั่นคงแข็งแรง
    ๗. ไม้สัก หมายถึง ความมีศักดิ์ศรี ความมีเกียรติ
    ๘. ไม้พะยูง หมายถึง การพยุงฐานะให้ดีขึ้น
    ๙. ไม้กันเกรา หมายถึง ป้องกันภัยอันตรายต่าง ๆ หรืออีกชื่อหนึ่งว่าตำเสา ซึ่งอาจหมายถึง ทำให้เสาเรือนมั่นคง
    ไม้ มงคลเหล่านี้จะลงอักขระมนต์คาถา หัวใจพระอิติปิโส พระอรหันต์แปดทิศ สามารถเขียนชื่อเจ้าภาพได้
    -เป็นผู้มีชัยชนะ จากศัตรูหมู่มาร
    -เป็นผู้มีปัญญาเฉียบเเหลม
    -อานิสงค์ใหญ่คือการสร้างวิหารทาน
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 5 ตุลาคม 2012
  18. กนฺตวีโรภิกขุ

    กนฺตวีโรภิกขุ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    1,514
    ค่าพลัง:
    +3,121
    ขอนำบุญ นี้มาเรียนบอกบุญอีกครั้ง เพราะทุกรายการบุญแต่ละอย่าง ยังขาดเจ้าภาพอยู่อีกหลายรายการ และขาดปัจจัยสนับสนุนในการจัดงานวางศิลาฤกษ์ และงานก่อสร้างอยู่อีกจำนวนมาก พอจะมีผู้ใจบุญท่านใดประสงค์ จะร่วมทำบุญเป็นเจ้าภาพ สร้างหอพระไตรปิฏก (หอไตรปัญญาบารมี) บ้างไหมหน่อ..................:'(
    อานิสงส์การทำบุญสร้างหอพระไตรปิฎก
    ผู้ ที่ทำ บุญด้วยการสร้างหอพระไตรปิฎกถวายไว้ในบวรพรพุทธศาสนา จะได้รับอานิสงส์ผลบุญทั้งในชาตินี้และชาติหน้า จะเป็นผู้มีสติปัญญาดี เป็นผู้นำให้กับบุคคลอื่นอยู่เสมอ คิดอ่านสิ่งใดก็ไม่ค่อยผิดพลาด ความจำดีด้านการงาน ก็จะเป็นที่นับหน้าถือตา เป็นเจ้าคนนายคน ถึงพร้อมด้วยบริวารรายล้อมรอบกาย ถึงแม้จะเป็นหญิงก็จะได้เป็นใหญ่ ผู้ที่ทำบุญด้วยการสร้างหอพระไตรปิฎกนี้ มักเป็นนักวิชาการหรือเกี่ยวข้องกับงานใหญ่ หากเจออุปสรรค ก็จะเห็นทางออกอยู่เบื้องหน้า ไม่ต้องนั่งกลุ้มหรือไปปรึกษาใคร
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 5 ตุลาคม 2012
  19. กนฺตวีโรภิกขุ

    กนฺตวีโรภิกขุ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    1,514
    ค่าพลัง:
    +3,121
    ขอดันกระทู้งานบุญเพื่อเชิญชวนทุกท่านร่วมงานบุญกฐินงานวางศิลาฤกษ์หอพระไตรปิฏก และร่วมเป็นเจ้าภาพแต่ละรายการบุญ เชิญทุกท่านร่วมทำบุญได้ตามเจตนาแห่งศรัทธา หากท่านใดมีความประสงค์จะเดินทางมาร่วมทำบุญทอดกฐินและงานวางศิลาฤกษ์ ก็เจริญพรเรียนได้ ทางวัดมีความยินดีต้อนรับทุกท่าน ตามวันและเวลาที่กำหนดแล้วข้างต้น .

    งานบุญวางศิลาฤกษ์หอพระไตรปิฏก "หอไตรปัญญาบารมี" สามารถร่วมเป็นเจ้าภาพได้ดังนี้

    1. ร่วมบุญรับเป็นเจ้าภาพองค์พระพุทธรูปแก้วขาว(ธรรมชาติ)จำนวน 5 องค์ ขนาด 3 นิ้ว ร่วมบุญเป็นเจ้าภาพองค์ ละ 1999 บาท เพื่อนำบรรจุลงในหลุมศิลาฤกษ์หรือร่วมบุญเเต่ศรัทธา
    2.ร่วมบุญจองไม้มงคลและตอกไม้มงคล ๙ ชนิดรวมทั้งเเผ่นเงิน ทองนาก ในหลุมวางศิลาฤกษ์ ร่วมบุญชุดละ 999 บาท จำนวน ๕๕ ชุดหรือร่วมบุญเเต่ศรัทธา

    3
    .ร่วมบุญบูชา พระรอดหลวง จำนวน ๒๕๕๕ องค์ องค์ละ ๙ บาท(ด้านหลังสามรถเขียนชื่อนามสกุลได้ ตามเจตนาศรัทธา พระรอดหลวงทุกองค์ผ่านพิธีอธิฐานจิตปลุกเสกแล้วโดยเกจิอาจารย์สายเหนือ)เพื่อนำบรรจุลงในหลุมศิลาฤกษ์หรือร่วมบุญเเต่ศรัทธา

    4. อัญมณีนพเก้ว จำนวน ๙ เม็ดครบทุกสี (ขนาดใหญ่) มีเพียง๙เม็ดเท่านั้น เม็ดละ 999 บาท(ผ่านพิธีอธิฐานจิตปลุกเสกแล้วโดยเกจิอาจารย์สายเหนือ)
    เพื่อนำบรรจุลงในหลุมศิลาฤกษ์หรือร่วมบุญเเต่ศรัทธา



    5. องค์พญานาค ขนาด 5 นิ้ว ร่วมบูชาเพื่อนำบรรจุลงในหลุมศิลาฤกษ์ ร่วมทำบุญเป็นเจ้าภาพ องค์ละ 599 บาท จำนวน 4 องค์ หรือร่วมบุญเเต่ศรัทธา


    ท่าน ที่รับเป็นเจ้าภาพ๑ ชุดที่ไม่ได้เดินทางมาด้วยตนเองทางวัดจะเขียนชื่อให้นามสกุลให้ และทุกท่านที่สามารถมาร่วมงานได้ทางวัดจะเตรียมไว้ให้และเขียนชื่อนามสกุล ของท่าน ลงในเเผ่นดวงเพื่อบรรจุในหลุมวางศิลาฤกษ์ ฝากไว้ในบวรพระพุทธศาสนาสืบไป.

    ปล.ปัจจัย ทุกบาททุกสตางห์ที่ได้รับในส่วนนี้จะนำมาเป็นค่าใช้จ่ายในการจัดสร้างหอพระ ไตรปิฏกหลังนี้ ทั้งงานพิธีวางศิลาฤกษ์ ค่าเขียนเเบบ และรายจ่ายอื่นๆที่จำเป็นในการจัดสร้างหอพระไตรปิฏก

    อานิสงค์การเป็นเจ้าภาพตอกไม้มงคล ๙ ชนิด

    -ทำให้มีฐานะความเป็นอยู่ที่ถาวรมั่นคงและอยู่เย็นเป็นสุขตลอดไป
    -การตอกไม้มงคลในหลุมวางศิลาฤกษ์มีอานิสงค์คล้ายกับการตอกเสาเข็ม ไม่ว่าจะสร้างบ้านเรือน ศาลา โบสถ์วิหารมักจะต้องมีการตอกไม้มงคลทั้ง ๙ ชนิดปักลงในพื้นดิน ในหลุมวางศิลาฤกษ์หรือหลุมเสาเอก ซึ่งมีความหมายดังนี้
    ๑. ไม้ราชพฤกษ์ หมายถึง ความเป็นใหญ่และมีอำนาจวาสนา
    ๒. ไม้ขนุน หมายถึง หนุนให้ดีขึ้นร่ำรวยขึ้น ทำอะไรจะมีผู้ให้การเกื้อหนุน
    ๓. ไม้ชัยพฤกษ์ หมายถึง การมีโชคชัย ชัยชนะ
    ๔. ไม้ทองหลาง หมายถึง การมีเงินมีทอง
    ๕. ไม้ไผ่สีสุก หมายถึง มีความสุข
    ๖. ไม้ทรงบาดาล หมายถึง ความมั่นคง หรือทำให้บ้านมั่นคงแข็งแรง
    ๗. ไม้สัก หมายถึง ความมีศักดิ์ศรี ความมีเกียรติ
    ๘. ไม้พะยูง หมายถึง การพยุงฐานะให้ดีขึ้น
    ๙. ไม้กันเกรา หมายถึง ป้องกันภัยอันตรายต่าง ๆ หรืออีกชื่อหนึ่งว่าตำเสา ซึ่งอาจหมายถึง ทำให้เสาเรือนมั่นคง
    ไม้ มงคลเหล่านี้จะลงอักขระมนต์คาถา หัวใจพระอิติปิโส พระอรหันต์แปดทิศ สามารถเขียนชื่อเจ้าภาพได้
    -เป็นผู้มีชัยชนะ จากศัตรูหมู่มาร
    -เป็นผู้มีปัญญาเฉียบเเหลม
    -อานิสงค์ใหญ่คือการสร้างวิหารทาน

    อานิสงส์การทำบุญสร้างหอพระไตรปิฎก
    ผู้ ที่ทำ บุญด้วยการสร้างหอพระไตรปิฎกถวายไว้ในบวรพรพุทธศาสนา จะได้รับอานิสงส์ผลบุญทั้งในชาตินี้และชาติหน้า จะเป็นผู้มีสติปัญญาดี เป็นผู้นำให้กับบุคคลอื่นอยู่เสมอ คิดอ่านสิ่งใดก็ไม่ค่อยผิดพลาด ความจำดีด้านการงาน ก็จะเป็นที่นับหน้าถือตา เป็นเจ้าคนนายคน ถึงพร้อมด้วยบริวารรายล้อมรอบกาย ถึงแม้จะเป็นหญิงก็จะได้เป็นใหญ่ ผู้ที่ทำบุญด้วยการสร้างหอพระไตรปิฎกนี้ มักเป็นนักวิชาการหรือเกี่ยวข้องกับงานใหญ่ หากเจออุปสรรค ก็จะเห็นทางออกอยู่เบื้องหน้า ไม่ต้องนั่งกลุ้มหรือไปปรึกษาใคร
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 14 ตุลาคม 2012
  20. >น้องนาง<

    >น้องนาง< เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 พฤศจิกายน 2010
    โพสต์:
    787
    ค่าพลัง:
    +3,330
    โมทนาบุญด้วยค่ะ ^^

    จะจัดส่งปัจจัยร่วมทำบุญพรุ่งนี้ค่ะ ^^
     

แชร์หน้านี้

Loading...