รวบรวมคติธรรมดี ๆ มาให้อ่านกัน...

ในห้อง 'พุทธศาสนา และ ธรรมะ' ตั้งกระทู้โดย J.Sayamol, 16 มีนาคม 2009.

  1. ☞

    เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2012
    โพสต์:
    205
    ค่าพลัง:
    +561
    กาลทานสูตร
    [๓๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย กาลทาน ๕ ประการนี้ ๕ ประการ
    เป็นไฉน คือ ทายกย่อมให้ทานแก่ผู้มาสู่ถิ่นของตน ๑
    ทายกย่อมให้ทานแก่ผู้เตรียมจะไป ๑
    ทายกย่อมให้ทานในสมัยข้าวแพง ๑
    ทายกย่อมให้ข้าวใหม่แก่ผู้มีศีล ๑
    ทายกย่อมให้ผลไม้ใหม่แก่ผู้มีศีล ๑
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย กาลทาน๕ ประการนี้แล ฯ
    ผู้มีปัญญา รู้ความประสงค์ ปราศจากความตระหนี่ ย่อมให้ทาน
    ในกาลที่ควรให้ เพราะผู้ให้ทานตามกาลในพระอริยเจ้า
    ทั้งหลาย ผู้ปฏิบัติซื่อตรง ผู้มีใจคงที่ เป็นผู้มีใจผ่องใส
    ทักขิณาทานจึงจะมีผลไพบูลย์ ชนเหล่าใดย่อมอนุโมทนา
    หรือช่วยเหลือในทักขิณาทานนั้น ทักขิณาทานนั้นย่อมไม่มี
    ผลบกพร่อง เพราะการอนุโมทนาหรือการช่วยเหลือนั้น
    แม้พวกที่อนุโมทนาหรือช่วยเหลือ ย่อมเป็นผู้มีส่วนแห่งบุญ
    เพราะฉะนั้น ผู้มีจิตไม่ท้อถอยจึงควรให้ทานในเขตที่มีผล
    มาก บุญทั้งหลายย่อมเป็นที่พึ่งของสัตว์ทั้งหลายในปรโลก ฯ
    จบสูตร
     
  2. ☞

    เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2012
    โพสต์:
    205
    ค่าพลัง:
    +561
    อาทิยสูตร
    [๔๑] ครั้งนั้น ท่านอนาถบิณฑิกคฤหบดี เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึง
    ที่ประทับ ถวายบังคมแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วพระผู้มีพระภาคได้
    ตรัสกับท่านอนาถบิณฑิกคฤหบดีว่า ดูกรคฤหบดี ประโยชน์ที่จะพึงถือเอาแต่
    โภคทรัพย์ ๕ ประการนี้ ๕ ประการเป็นไฉน คือ อริยสาวกในธรรมวินัยนี้
    ย่อมใช้จ่ายโภคทรัพย์ที่ตนหามาได้ด้วยความหมั่น ความขยัน สะสมขึ้นด้วยกำลัง
    แขน อาบเหงื่อต่างน้ำ ชอบธรรม ได้มาโดยธรรม เลี้ยงตนให้เป็นสุข ให้อิ่มหนำ
    บริหารตนให้เป็นสุขสำราญ เลี้ยงมารดาบิดาให้เป็นสุข ให้อิ่มหนำ บริหารให้
    เป็นสุขสำราญ เลี้ยงบุตร ภรรยา ทาสกรรมกร คนใช้ ให้เป็นสุข ให้อิ่มหนำ
    บริหารให้เป็นสุขสำราญ นี้เป็นประโยชน์ที่จะพึงถือเอาแต่โภคทรัพย์ข้อที่ ๑ ฯ

    อีกประการหนึ่ง อริยสาวกย่อมใช้จ่ายโภคทรัพย์ที่ตนหามาได้ด้วยความ
    หมั่น ความขยัน สะสมขึ้นด้วยกำลังแขน อาบเหงื่อต่างน้ำ ชอบธรรม ได้มา
    โดยธรรม เลี้ยงมิตรสหายให้เป็นสุข ให้อิ่มหนำ บริหารให้เป็นสุขสำราญ นี้
    เป็นประโยชน์ที่จะพึงถือเอาแต่โภคทรัพย์ข้อที่ ๒ ฯ

    อีกประการหนึ่ง อริยสาวกย่อมใช้จ่ายโภคทรัพย์ที่ตนหามาได้ด้วยความ
    หมั่น ความขยัน สะสมขึ้นด้วยกำลังแขน อาบเหงื่อต่างน้ำ ชอบธรรม ได้มา
    โดยธรรม ป้องกันอันตรายที่เกิดแต่ไฟ น้ำ พระราชา โจร หรือทายาทผู้ไม่เป็น
    ที่รัก ทำตนให้สวัสดี นี้เป็นประโยชน์ที่จะพึงถือเอาแต่โภคทรัพย์ข้อที่ ๓ ฯ

    อีกประการหนึ่ง อริยสาวกย่อมใช้จ่ายโภคทรัพย์ที่ตนหามาได้ด้วยความ
    หมั่น ความขยัน สะสมขึ้นด้วยกำลังแขน อาบเหงื่อต่างน้ำ ชอบธรรม ได้มา
    โดยธรรม ทำพลี ๕ อย่าง คือ
    ๑. ญาติพลี [บำรุงญาติ]
    ๒. อติถิพลี [ต้อนรับแขก]
    ๓. ปุพพเปตพลี [บำรุงญาติผู้ตายไปแล้วคือทำบุญอุทิศกุศลให้]
    ๔. ราชพลี [บำรุงราชการ คือบริจาคทรัพย์ช่วยชาติ]
    ๕. เทวตาพลี [บำรุงเทวดา คือทำบุญอุทิศให้เทวดา]
    นี้เป็นประโยชน์ที่จะพึงถือเอาแต่โภคทรัพย์ข้อที่ ๔ ฯ

    อีกประการหนึ่ง อริยสาวกย่อมใช้จ่ายโภคทรัพย์ที่ตนหามาได้ด้วยความ
    หมั่น ความขยัน สะสมขึ้นด้วยกำลังแขน อาบเหงื่อต่างน้ำ ชอบธรรม ได้มา
    โดยธรรม บำเพ็ญทักษิณา มีผลสูงเลิศ เกื้อกูลแก่สวรรค์ มีวิบากเป็นสุข ยัง
    อารมณ์เลิศให้เป็นไปด้วยดีในสมณพราหมณ์ ผู้เว้นจากความมัวเมาประมาท ตั้ง
    อยู่ในขันติและโสรัจจะ ผู้มั่นคง ฝึกฝนตนให้สงบระงับดับกิเลสโดยส่วนเดียว
    นี้เป็นประโยชน์ที่จะพึงถือเอาแต่โภคทรัพย์ข้อที่ ๕ ฯ

    ดูกรคฤหบดี ประโยชน์ที่จะพึงถือเอาแต่โภคทรัพย์ ๕ ประการนี้แล ถ้า
    เมื่ออริยสาวกนั้นถือเอาประโยชน์แต่โภคทรัพย์ ๕ ประการนี้ โภคทรัพย์หมดสิ้นไป
    อริยสาวกนั้นย่อมมีความคิดอย่างนี้ว่า เราได้ถือเอาประโยชน์แต่โภคทรัพย์นั้นแล้ว
    และโภคทรัพย์ของเราก็หมดสิ้นไป ด้วยเหตุนี้ อริยสาวกนั้น ย่อมไม่มีความ
    เดือดร้อน ถ้าเมื่ออริยสาวกนั้นถือเอาประโยชน์แต่โภคทรัพย์ ๕ ประการนี้
    โภคทรัพย์เจริญขึ้น อริยสาวกนั้นย่อมมีความคิดอย่างนี้ว่า เราถือเอาประโยชน์
    แต่โภคทรัพย์นี้แล้ว และโภคทรัพย์ของเราก็เจริญขึ้น อริยสาวกนั้นย่อมไม่มี
    ความเดือดร้อน อริยสาวกย่อมไม่มีความเดือดร้อนด้วยเหตุทั้ง ๒ ประการ
    ฉะนี้แล ฯ

    นรชนเมื่อคำนึงถึงเหตุนี้ว่า เราได้ใช้จ่ายโภคทรัพย์เลี้ยงตน
    แล้ว ได้ใช้จ่ายโภคทรัพย์เลี้ยงคนที่ควรเลี้ยงแล้ว ได้ผ่านพ้น
    ภัยที่เกิดขึ้นแล้ว ได้ให้ทักษิณาอันมีผลสูงเลิศแล้ว ได้ทำ
    พลี ๕ ประการแล้ว และได้บำรุงท่านผู้มีศีล สำรวมอินทรีย์
    ประพฤติพรหมจรรย์แล้ว บัณฑิตผู้อยู่ครองเรือน พึงปรารถนา
    โภคทรัพย์ เพื่อประโยชน์ใด ประโยชน์นั้น เราก็ได้บรรลุ
    แล้ว เราได้ทำสิ่งที่ไม่ต้องเดือดร้อนแล้ว ดังนี้ชื่อว่าเป็นผู้
    ดำรงอยู่ในธรรมของพระอริยะ บัณฑิตทั้งหลายย่อมสรรเสริญ
    เขาในโลกนี้ เมื่อเขาละจากโลกนี้ไปแล้ว ย่อมบันเทิงใจใน
    สวรรค์ ฯ
    จบสูตร
     
  3. ☞

    เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2012
    โพสต์:
    205
    ค่าพลัง:
    +561

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • 38.jpg
      38.jpg
      ขนาดไฟล์:
      287.7 KB
      เปิดดู:
      93
  4. ☞

    เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2012
    โพสต์:
    205
    ค่าพลัง:
    +561

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • 39.jpg
      39.jpg
      ขนาดไฟล์:
      155 KB
      เปิดดู:
      89
  5. ☞

    เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2012
    โพสต์:
    205
    ค่าพลัง:
    +561

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • 40.jpg
      40.jpg
      ขนาดไฟล์:
      139.7 KB
      เปิดดู:
      86
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 10 ตุลาคม 2012
  6. J.Sayamol

    J.Sayamol เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 เมษายน 2008
    โพสต์:
    6,190
    ค่าพลัง:
    +21,530
    [​IMG]
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  7. J.Sayamol

    J.Sayamol เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 เมษายน 2008
    โพสต์:
    6,190
    ค่าพลัง:
    +21,530
    [​IMG]
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  8. J.Sayamol

    J.Sayamol เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 เมษายน 2008
    โพสต์:
    6,190
    ค่าพลัง:
    +21,530
    [​IMG]
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  9. ☞

    เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2012
    โพสต์:
    205
    ค่าพลัง:
    +561
    ส่วนหนึ่งจากพระธรรมเทศนาของท่านอาจารย์พระมหาบัว ญาณสมฺปนฺโน
    เทศน์อบรมพระ เมื่อวันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2526
    มีชื่อธรรมว่า "ปรับใจให้สัมผัสธรรม"

    "ธรรมมีอยู่กับทุกคน จำเป็นอะไรจะต้องไปดูแต่แบบแผนตำหรับตำราอย่างเดียวเท่านั้น ธรรมมีอยู่ทั่วไป ความจริงมีอยู่ทั่วไป กิเลสมีอยู่ทั่วไป ทำให้เกิด-เกิดได้ทั้งนั้น ไม่ต้องไปดูตำรากิเลสก็เกิด ไม่ต้องไปดูตำราธรรมก็เกิดถ้าพิจารณาให้ถูกในแง่ของธรรม พิจารณาให้เป็นไปในแง่ของกิเลสไม่ต้องดูตำราก็เกิดกิเลส ธรมเป็นของจริงที่ปรากฏขึ้นในจิตนี้มันมากยิ่งกว่าเป็นไหน ๆ แตกแขนงออกไปมีสิ้นสุดเมื่อไร อันนี้พระคันถรจนาจารย์ท่านก็จดจารึกกันไว้อย่างนั้นพอประมาณตามกำลังของท่าน และตามกำลังของผู้ที่จดจารึกเท่านั้น ว่า 84,000 พระธรรมขันธ์ ความรู้อันเป็นของจริงที่เกิดขึ้นในใจมีกำหนดเมื่อไร ไม่มี แตกแขนงกันออกไปไม่มีขอบเขต
    ดังพ่อแม่ครูบาจารย์ท่านพูด ที่เราเขียนไว้ในการโต้ตอบปัญหานั่นดูเอาซิ ธรรมเกิดได้ทุกเวล่ำเวลา ท่านจึงพูดว่า ธรรมที่มีในคัมภีร์นี้เหมือนกับน้ำในตุ่มในไหเท่านั้น ไม่ได้มากมายอะไร ที่นอกคัมภีร์น่ะซิเหมือนน้ำในท้องฟ้ามหาสมุทร ฟังซิ จิตนี่มีขอบเขตเมื่อไร เมื่อถึงเวลารู้แล้วมันกระจายออกไปหมดเลย จะเอาอะไรมาเป็นขอบเขตของจิตประเภทนี้ล่ะ จิตประเภทนี้ไม่ได้เป็นผู้ต้องหา ไม่ได้ถูกกักขังนี่ แหวกว่ายหัวหางกลางตัวได้สุดเขตสุดแดนของโลกธาตุจะว่าไง จะเอามาพูดอะไร 84,000 พระธรรมขันธ์ ท่านกล่าวไว้พอประมาณเท่านั้น

    ให้รู้ขึ้นภายในของผู้ปฏิบัติซิมันถึงชัดเจนว่ะ อย่างพระพุทธเจ้าสอนโลก รายนี้เข้ามาเป็นรายหนึ่ง รายนั้นเข้ามาเป็นอย่างหนึ่ง มีกี่ร้อยกี่พันกี่หมื่นกี่แสนกี่ล้านราย มันเหมือนกันเมื่อไรนิสัยคน การแสดงธรรมจะไปแสดงแบบเดียวกันได้เหรอ รายไหนมานิสัยอย่างไรมาก็ต้องตอบอย่างนั้น เพื่อให้ได้ประโยชน์แก่ผู้นั้น เหมาะสมกับจริตนิสัยของผู้นั้นได้รับประโยชน์ ผิดกันไปเปลี่ยนกันไปเป็นราย ๆ กันเลย ธรรมะของท่านท่านไม่ได้ไปค้นหาคว้ามาจากไหนแหละ พอทางนั้นพับทางนี้ขึ้นรับแล้ว มีอยู่กับนี้แล้ว นอกจากไม่นำออกใช้ตามเหตุการณ์เท่านั้น เมื่อมีเหตุการณ์อะไรก็นำออกใช้ทันที ๆ ท่านจะไปคว้ามาจากไหนคว้าไม่ทัน ถ้าไปหาคว้าแล้วไม่ทัน ตายทิ้งเปล่า ๆ มีอยู่กับใจหมดแล้ว ค้าไม่คว้าก็อยู่กับนั้นเลยจะว่าไง ถืออยู่กับมือแล้วจ้วงเข้าไปเลยจะว่าไง แทงเข้าไปเลยซิ
    ตัวเราเท่าหนูแต่มันอาจหาญพูดนี่นะเรื่องเหล่านี้ อาจหาญตรงที่จิตไม่ได้เป็นผู้ต้องหาแล้วนี่นะว่างั้นเลย ถ้าลองจิตได้พ้นจากความเป็นผู้ต้องหา พ้นจากความถูกกักขังแล้ว มีประมาณที่ไหนความรู้อันนี้ว่างั้นเลย เว้งว้างไปหมด รู้ไปได้หมด พูดไปได้ทั้งนั้น มันก็รู้ได้ชัดนี่"

    Luangta.Com -
     
  10. ☞

    เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2012
    โพสต์:
    205
    ค่าพลัง:
    +561
    ส่วนหนึ่งจากพระธรรมเทศนาของท่านอาจารย์พระมหาบัว ญาณสมฺปนฺโน
    เทศน์อบรมฆราวาส ณ วัดป่าบ้านตาด

    เมื่อวันที่ ๒๙ พฤศจิกายน พุทธศักราช ๒๕๕๐
    ใบลานเปล่าๆ หัวโล้นเปล่าๆ​

    "...พวกปฏิบัติส่วนมากจะมีอยู่ตามวงกรรมฐานนะ จิตสำเร็จมรรคผลนิพพานได้เพราะท่านปฏิบัติ ก็ไม่มีที่ไหนแบกคัมภีร์ไปด้วยปฏิบัติก็ไม่เกิดประโยชน์ แบกคัมภีร์ไปก็หลังหักเฉยๆ ไม่มีอะไรเกิดประโยชน์แหละ เขาว่าใบลานเปล่า ใบลานเปล่า โปฐิละ พระพุทธเจ้าท่านเห็นนิสัยองค์นี้สามารถที่จะบรรลุธรรม พระโปฐิละ แล้วกำลังเพลินสอนอรรถสอนธรรมให้โลกสงสารอยู่ พระองค์เล็งเห็นอุปนิสัยสามารถจะบรรลุมรรคผลนิพพาน พอไปหาท่านก็ใส่ปัญหาเลย โปฐิละๆ โปฐิละ แปลว่าใบลานเปล่า เรียนเปล่าๆ หัวโล้นเปล่าๆ บวชเปล่าๆ กินข้าวชาวบ้านเปล่าๆ เข้าใจไหม มีแต่เปล่าๆ โปฐิละ



    ท่านก็สะดุดใจกึ๊กเลย พระพุทธเจ้าลงพูดขนาดนี้แล้วท่านต้องเล็งเห็นนิสัยของเรา ท่านหยั่งไปทางเป็นมงคลนะ ท่านสลดใจทันทีเลย พอกลับไปถึงที่พักเตรียมของหนีกลางคืน เพื่อนฝูงเต็มอยู่ แต่ก่อนท่านสอนธรรม เพื่อนฝูงทางด้านความจดความจำ ทีนี้พอได้ฟังพระพุทธเจ้าเทศน์โปฐิละใบลานเปล่าๆ เท่านั้น พอกลับมาถึงวัดเตรียมของไปกลางคืนเลย ไปก็ทราบว่าสำนักไหนๆ สำนักวงกรรมฐาน ครูบาอาจารย์องค์ใดที่เด่นด้วยอรรถด้วยธรรมจริงๆ ภายในใจ แล้วบึ่งเข้าไปหาองค์นั้น ทีนี้ในวัดนั้นมีแต่พระอรหันต์ จนกระทั่งถึงเณรน้อยก็เป็นอรหันต์ อยู่นี่ ๔-๕ องค์สำเร็จทุกองค์ นั่นฟังซิเคยได้ยินไหมละ อยู่ในป่า ทองคำทั้งแท่งอยู่ในป่า พอไปท่านเตรียมของไปกลางคืนเลยนะ..."

    http://www.luangta.com/thamma/thamma_talk_text.php?ID=4712&CatID=2
     
  11. ☞

    เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2012
    โพสต์:
    205
    ค่าพลัง:
    +561
    พระธรรมเทศนา
    โดย หลวงตามหาบัว
    ๕ มีนาคม ๒๕๔๓ ณ สวนแสงธรรม
    *****************
    ปริยัติ - ปฏิบัติ - ปฏิเวธ​

    ปริยัตินั้นคือแปลนการก่อสร้าง ต้องนำออกมาปฏิบัติ ด้วยการใช้ ศีล สมาธิและภาวนา
    ฟาดเข้าไป บ้านหลังนี้จึงจะเสร็จสมบูรณ์แบบ ผล (ปฏิเวธ) ก็จะเกิดขึ้นมาเรื่อยๆ นับ
    ตั้งแต่วางรากขึ้นมา

    พระพุทธองค์ทรงสอนขึ้นมาก็เพื่อให้ได้บรรลุมรรค ผล นิพพานกัน เมื่อจบแล้วก็ไม่ต้อง
    ถามใคร ดังนั้น อย่าแบกเอาปริยัติไว้เฉยๆ

    หลวงตาเองก็ฟัดกับกิเลสมาแล้ว ทุกข์ที่สาหัสที่สุดในชีวิตก็คือการฆ่ากิเลส
    บ้านหลังนี้สมบูรณ์แบบแล้วด้วยศีล - สมาธิ - ธรรมธาตุ

    เรื่อง มรรค ผล นิพพาน นั้น พระพุทธองค์ก็ไม่ทรงให้ถามกัน

    ส่วนเรื่องทุกข์นั้น จะเป็นมหาเศรษฐีหรือคนตามท้องไร่ท้องนา ที่จริงก็ล้วนทุกข์ไม่ได้
    แตกต่างกัน ที่มีตึก บ้าน ใหญ่โตหรูหราฟู่ฟ่า ก็ล้วนหลอกตาทั้งสิ้น ที่แท้ธรรมนำกลับ
    มาให้เห็นว่าเป็นหนี้กองโตต่างหาก

    ถ้าหากเค้ามีรถ ๒ คัน เราก็จะอยากมี ๓ คัน ใครมีอะไร เราก็อยากมีให้ดีกว่า มากกว่า
    แพงกว่า ก็ทุกข์ แต่ถ้าหากไม่หา ไม่ดิ้น เอาแค่พออยู่พอกิน ก็ไม่ทุกข์ ธรรมะจับทะลุ
    ไปหมด ตึกหรือบ้านใหญ่โตหรูหรานั้น ถ้ามองด้วยธรรมะแล้ว ที่แท้ก็คือมหันตทุกข์

    สรุปว่า มีแปลน ก็ต้องก่อสร้าง จึงจะได้ตึกรามบ้านช่องออกมา
    แต่ศาสนาตอนนี้มีแต่แปลน (ปริยัติ) แต่ไม่มีการก่อสร้าง จบปริยัติก็ถือว่า
    ถึงมรรคผล ซึ่งอาจทำให้เกิดกิเลสเพิ่มด้วยซ้ำว่านี่ฉันจบชั้นนั้น ชั้นนี้
    เป็น "ตู้พระไตรปิฎกเคลื่อนที่" เป็นต้น ดังนั้น ต้องมีทั้ง
    ปริยัติ - ปฏิบัติ - ปฏิเวธ จึงจะสมบูรณ์แบบ

    000978 -
     
  12. ☞

    เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2012
    โพสต์:
    205
    ค่าพลัง:
    +561
    <IMG src='http://palungjit.org/attachments/a.2290710/' width=700>

    คนเปล่าๆ
    พระอาจารย์สงบ มนสฺสนฺโต

    เทศน์บนศาลา วันที่ ๒๓ มิถุนายน ๒๕๔๑
    ณ วัดสันติธรรมาราม ต.คลองตาคต อ.โพธาราม จ.ราชบุรี​
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • 41.jpg
      41.jpg
      ขนาดไฟล์:
      208.8 KB
      เปิดดู:
      106
  13. J.Sayamol

    J.Sayamol เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 เมษายน 2008
    โพสต์:
    6,190
    ค่าพลัง:
    +21,530
    [​IMG]
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • 001.jpg
      001.jpg
      ขนาดไฟล์:
      93.5 KB
      เปิดดู:
      197
  14. J.Sayamol

    J.Sayamol เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 เมษายน 2008
    โพสต์:
    6,190
    ค่าพลัง:
    +21,530
    [​IMG]
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • 002.jpg
      002.jpg
      ขนาดไฟล์:
      282.8 KB
      เปิดดู:
      189
  15. J.Sayamol

    J.Sayamol เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 เมษายน 2008
    โพสต์:
    6,190
    ค่าพลัง:
    +21,530
    [​IMG]
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • 003.jpg
      003.jpg
      ขนาดไฟล์:
      72.8 KB
      เปิดดู:
      215
  16. J.Sayamol

    J.Sayamol เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 เมษายน 2008
    โพสต์:
    6,190
    ค่าพลัง:
    +21,530
    [​IMG]
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • 004.jpg
      004.jpg
      ขนาดไฟล์:
      96.8 KB
      เปิดดู:
      194
  17. ☞

    เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2012
    โพสต์:
    205
    ค่าพลัง:
    +561

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • 42.jpg
      42.jpg
      ขนาดไฟล์:
      253.3 KB
      เปิดดู:
      95
  18. ☞

    เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2012
    โพสต์:
    205
    ค่าพลัง:
    +561

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • 43.jpg
      43.jpg
      ขนาดไฟล์:
      191.6 KB
      เปิดดู:
      96
  19. ☞

    เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2012
    โพสต์:
    205
    ค่าพลัง:
    +561
    พระโปฐิละปฏิบัติตามคำสั่งสอนของสามเณร
    ลำดับนั้น สามเณรจึงแสดงสระๆ หนึ่งในที่ไม่ไกล แล้วกล่าวกะท่านว่า "ท่านขอรับ ท่านนุ่งห่มตามเดิมนั่นแหละ จงลงไปสู่สระนี้."

    จริงอยู่ สามเณรนั้น แม้รู้ความที่จีวรสองชั้นซึ่งมีราคามาก อันพระเถระนั้นนุ่งห่มแล้ว เมื่อจะทดลองว่า "พระเถระจักเป็นผู้อดทนต่อโอวาทได้หรือไม่" จึงกล่าวอย่างนั้น.

    แม้พระเถระก็ลงไปด้วยคำๆ เดียวเท่านั้น.

    ลำดับนั้น ในเวลาที่ชายจีวรเปียก สามเณรจึงกล่าวกะท่านว่า
    "มาเถิด ท่านขอรับ" แล้วกล่าวกะท่านผู้มายืนอยู่ด้วยคำๆ เดียวเท่านั้นว่า

    "ท่านผู้เจริญ ในจอมปลวกแห่งหนึ่ง
    มีช่องอยู่ ๖ ช่อง, ในช่องเหล่านั้น เหี้ยเข้าไปภายในโดยช่องๆ หนึ่ง

    บุคคลประสงค์จะจับมัน จึงอุดช่องทั้ง ๕ นอกนี้
    ทำลายช่องที่ ๖ แล้ว จึงจับเอาโดยช่องที่มันเข้าไปนั่นเอง,

    บรรดาทวารทั้งหก แม้ท่านจงปิดทวารทั้ง ๕ อย่างนั้นแล้ว
    จงเริ่มตั้งกรรม๑- นี้ไว้ในมโนทวาร."


    ด้วยนัยมีประมาณเท่านี้ ความแจ่มแจ้งได้มีแก่ภิกษุผู้เป็นพหูสูต
    ดุจการลุกโพลงขึ้นแห่งดวงประทีปฉะนั้น.

    พระโปฐิละนั้นกล่าวว่า "ท่านสัตบุรุษ คำมีประมาณเท่านี้แหละพอละ"
    แล้วจึงหยั่งลงในกรชกาย๒- ปรารภสมณธรรม.

    ทางเจริญและทางเสื่อมแห่งปัญญา
    พระศาสดาประทับนั่งในที่สุดประมาณ ๑๒๐ โยชน์เทียว
    ทอดพระเนตรดูภิกษุนั้นแล้วดำริว่า "ภิกษุนั้นเป็นผู้มีปัญญา (กว้างขวาง)
    ดุจแผ่นดินด้วยประการใดแล, การที่เธอตั้งตนไว้ด้วยประการนั้นนั่นแล ย่อมสมควร."
    แล้วทรงเปล่งพระรัศมีไป ประหนึ่งตรัสอยู่กับภิกษุนั้น
    ตรัสพระคาถานี้ว่า :-
    ๕. โยคา เว ชายตี ภูริ อโยคา ภูริสงฺขโย
    เอตํ เทฺวธา ปถํ ญตฺวา ภวาย วิภวาย จ
    ตถตฺตานํ นิเวเสยฺย ยถา ภูริ ปวฑฺฒติ.

    ปัญญาย่อมเกิดเพราะการประกอบแล, ความสิ้นไปแห่ง
    ปัญญาเพราะการไม่ประกอบ, บัณฑิตรู้ทาง ๒ แพร่งแห่งความ
    เจริญและความเสื่อมนั่นแล้ว พึงตั้งตนไว้โดยประการที่ปัญญา
    จะเจริญขึ้นได้.


    http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=25&i=30&p=5
     
  20. ☞

    เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2012
    โพสต์:
    205
    ค่าพลัง:
    +561
    ปหานสูตรที่ ๑

    [๒๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงธรรมแก่เธอทั้งหลาย เพื่อละสิ่ง
    ทั้งปวงนั้นเสีย เธอทั้งหลายจงฟังข้อนั้น ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ธรรมสำหรับละสิ่ง
    ทั้งปวงนั้นเป็นไฉน ดูกรภิกษุทั้งหลายจักษุ รูป จักษุวิญญาณ จักษุสัมผัส เป็น
    สิ่งที่ควรละ แม้สุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะ
    จักษุสัมผัสเป็นปัจจัย ก็เป็นสิ่งที่ควรละ ฯลฯ ใจ ธรรมารมณ์ มโนวิญญาณ
    มโนสัมผัส เป็นสิ่งที่ควรละ แม้สุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนา
    ที่เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัย ก็เป็นสิ่งที่ควรละ ดูกรภิกษุทั้งหลาย อันนี้แล
    เป็นธรรมสำหรับละสิ่งทั้งปวง ฯ

    http://www.84000.org/tipitaka/pitaka2/v.php?B=18&A=309&Z=318&pagebreak=0
     

แชร์หน้านี้

Loading...