เมื่อจะกล่าวว่ากองกุศล จะกล่าวให้ถูก ต้องกล่าวถึง สติปัฏฐาน ๔

ในห้อง 'พุทธศาสนา และ ธรรมะ' ตั้งกระทู้โดย thepkere, 8 ตุลาคม 2012.

  1. thepkere

    thepkere เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 กุมภาพันธ์ 2012
    โพสต์:
    1,018
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +3,449
    อกุสลราสิสูตร
    กองอกุศล ๕
    [๖๙๖] สาวัตถีนิทาน. ณ ที่นั้นแล ฯลฯ พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพุทธภาษิตนี้ว่า
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อจะกล่าวว่ากองอกุศล จะกล่าวให้ถูก ต้องกล่าวถึงนิวรณ์ ๕ เพราะว่า
    กองอกุศลทั้งสิ้นนี้ ได้แก่นิวรณ์ ๕ นิวรณ์ ๕ เป็นไฉน? คือกามฉันทนิวรณ์ ๑ พยาบาท
    นิวรณ์ ๑ ถีนมิทธนิวรณ์ ๑ อุทธัจจกุกกุจจนิวรณ์ ๑ วิจิกิจฉานิวรณ์ ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อ
    จะกล่าวว่ากองอกุศล จะกล่าวให้ถูก ต้องกล่าวถึงนิวรณ์ ๕ เหล่านี้ เพราะกองอกุศลทั้งสิ้นนี้ได้แก่
    นิวรณ์ ๕.

    [๖๙๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อจะกล่าวว่ากองกุศล จะกล่าวให้ถูก ต้องกล่าวถึงสติ
    ปัฏฐาน ๔
    เพราะว่ากองกุศลทั้งสิ้นนี้ ได้แก่สติปัฏฐาน ๔ สติปัฏฐาน ๔ เป็นไฉน? ภิกษุใน
    ธรรมวินัยนี้ ย่อมพิจารณาเห็นกายในกายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ พึงกำจัด
    อภิชฌาและโทมนัสในโลกเสีย ย่อมพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาอยู่ ... ย่อมพิจารณาเห็นจิตใน
    จิตอยู่ ... ย่อมพิจารณาเห็นธรรมในธรรมอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ พึงกำจัดอภิชฌา
    และโทมนัสในโลกเสีย ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อจะกล่าวว่ากองกุศล จะกล่าวให้ถูก ต้องกล่าว
    ถึงสติปัฏฐาน ๔ เพราะว่ากองกุศลทั้งสิ้นนี้ ได้แก่สติปัฏฐาน.
    จบ สูตรที่ ๕

    สกุณัคฆีสูตร
    ว่าด้วยอารมณ์โคจร

    [๖๙๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรื่องเคยมีแล้ว เหยี่ยวโฉบลงจับนกมูลไถ โดยรวดเร็ว
    ครั้งนั้น นกมูลไถกำลังถูกเหยี่ยวนำไป ได้รำพันอย่างนี้ว่า เราเป็นคนอับโชค มีบุญน้อย ที่
    เที่ยวไปในถิ่นของผู้อื่น อันมิใช่ถิ่นหากิน ถ้าวันนี้เราไปเที่ยวในถิ่นอันเป็นของบิดาตน ซึ่งควร
    เที่ยวไปไซร้ เหยี่ยวตัวนี้เราอาจต่อสู้ได้.

    เหยี่ยวจึงถามว่า แน่ะนกมูลไถ ก็ถิ่นซึ่งเป็นของบิดาตน อันเป็นที่หากินของเจ้าเป็น
    เช่นไร?

    นกมูลไถตอบว่า คือ ที่ๆ มีก้อนดิน ซึ่งเขาทำการไถไว้.

    ครั้งนั้น เหยี่ยวหยิ่งในกำลังของตน อวดอ้างกำลังของตน ปล่อยนกมูลไถไป พร้อม
    ด้วยบอกว่า เจ้าจงไปเถิดนกมูลไถ เจ้าจะไปแม้ในที่นั้นก็ไม่พ้นเราได้ นกมูลไถจึงไปยังที่ๆ มี
    ก้อนดินซึ่งเขาทำการไถไว้ ขึ้นสู่ก้อนดินก้อนใหญ่ ยืนท้าเหยี่ยวอยู่ว่า แน่ะเหยี่ยว บัดนี้ท่าน
    จงมาจับเราเถิด
    ครั้งนั้น เหยี่ยวหยิ่งในกำลังของตน อวดอ้างในกำลังของตน จึงห่อปีกทั้ง ๒
    โฉบนกมูลไถโดยรวดเร็ว ครั้งใด นกมูลไถรู้ว่าเหยี่ยวนี้โฉบลงมาเร็วจะจับเรา ครั้งนั้น ก็หลบ
    เข้าซอกดินนั้นเอง เหยี่ยวยังอกให้กระแทกดิน (ตาย) ในที่นั้นเอง ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรื่องนก
    มูลไถเที่ยวไปในถิ่นอื่น อันมิใช่ถิ่นหากิน ย่อมเป็นเช่นนี้แล.

    [๖๙๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้นแหละ เธอทั้งหลายอย่าเที่ยวไปในอารมณ์อื่น
    อันมิใช่โคจร เมื่อเธอทั้งหลายเที่ยวไปในอารมณ์อื่น อันมิใช่โคจร มารจักได้ช่อง มารจักได้
    อารมณ์ ก็อารมณ์อื่นอันมิใช่โคจรของภิกษุ คืออะไร? คือ กามคุณ ๕ กามคุณ ๕ เป็นไฉน?
    คือ รูปอันพึงรู้ด้วยจักษุ อันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ น่ารัก ชักให้ใคร่ ชวนให้กำหนัด
    เสียงที่พึงรู้ด้วยหู ... กลิ่นที่พึงรู้ด้วยจมูก ... รสที่พึงรู้ด้วยลิ้น ... โผฏฐัพพะที่พึงรู้ด้วยกาย อันน่า
    ปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ น่ารัก ชักให้ใคร่ ชวนให้กำหนัด ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้คือ
    อารมณ์อื่น มิใช่โคจรของภิกษุ.

    [๗๐๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงเที่ยวไปในอารมณ์ ซึ่งเป็นของบิดาตน
    อันเป็นโคจร เมื่อเธอทั้งหลายเที่ยวไปในอารมณ์ ซึ่งเป็นของบิดาตน อันเป็นโคจร มารจักไม่ได้
    ช่อง มารจักไม่ได้อารมณ์ ก็อารมณ์อันเป็นของบิดา อันเป็นของโคจร คืออะไร
    ? คือสติ
    ปัฏฐาน ๔ สติปัฏฐาน ๔ เป็นไฉน? ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมพิจารณาเห็นกายในกายอยู่ มี
    ความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสีย ย่อมพิจารณาเห็นเวทนา
    ในเวทนาอยู่ ... ย่อมพิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่ ... ย่อมพิจารณาเห็นธรรมในธรรมอยู่ มีความเพียร
    มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสีย ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้คือ อารมณ์ซึ่ง
    เป็นของบิดาตน อันเป็นโคจรของภิกษุ
    .

    จบ สูตรที่ ๖

    พระไตรปิฎก ฉบับบาลีสยามรัฐ (ภาษาไทย) เล่มที่ ๑๙
    พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๑ สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค
    หน้าที่ ๑๖๖/๔๖๙ ข้อที่ ๖๙๖ - ๗๐๐
     
  2. เนตรอิศวร

    เนตรอิศวร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 เมษายน 2011
    โพสต์:
    160
    ค่าพลัง:
    +425
    *****ประเสริฐแล้วนั้นแล...ขออนุโมทนากับท่านผู้ยกธรรมขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้านี้มาแสดง ทุกข์เกิดจากใจ สุขเกิดจากใจ ดับทุกข์และสุขดวงจิตย่อมหลุดพ้นจากนิวรณ์ในขันธ์๕ เมื่อดับนิวรณ์และขันธ์๕ ด้วยหนทางแห่งมรรคได้ย่อมพบนิโรทหนทางแห่งความสิ้นทุกข์และสุขอย่างแน่นอน ธรรมในองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าบทนี้เพียงแค่เรื่องนกมูลไถก็สามารถทำให้เกิดปิติได้ยิ่งนัก....อันเราขออนุโมทนากุศลมาด้วยฉะนี้แล สาธุ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 8 ตุลาคม 2012

แชร์หน้านี้

Loading...