[๓๒๒] ดูกรมาณพ อย่างไร ภิกษุชื่อว่าเป็นผู้ประกอบด้วยสติสัมปชัญญะ? ดูกร มาณพ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมทำความรู้สึกตัวในการก้าว ในการถอย ในการแล ในการ เหลียว ในการคู้เข้า ในการเหยียดออก ในการทรงสังฆาฏิ บาตรและจีวร ในการฉัน การดื่ม การเคี้ยว การลิ้ม ในการถ่ายอุจจาระปัสสาวะ ย่อมทำความรู้สึกตัวในการเดิน การยืน การนั่ง การหลับ การตื่น การพูด การนิ่ง ดูกรมาณพ ด้วยประการดังกล่าวมานี้แล ภิกษุชื่อ ว่าเป็นผู้ประกอบด้วยสติสัมปชัญญะ. พระไตรปิฎก ฉบับบาลีสยามรัฐ (ภาษาไทย) เล่มที่ ๙ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑ ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค หน้าที่ ๒๙๓/๓๘๓ ข้อที่ ๓๒๒ [๓๙๗] ดูกรอัคคิเวสสนะ เปรียบเหมือนควาญช้างฝังเสาตะลุงใหญ่ลงในแผ่นดิน ล่าม คอช้างป่าไว้มั่นคง เพื่อแก้ไขปรกติของสัตว์ป่า แก้ไขความดำริพล่านของสัตว์ป่า แก้ไขความ กระวนกระวาย ความลำบากใจ และความเร่าร้อนใจของสัตว์ป่า เพื่อให้ช้างป่าเชือกนั้นอภิรมย์ ในแดนบ้าน ให้บันเทิงในปรกติที่มนุษย์ต้องการ ฉันใด ดูกรอัคคิเวสสนะ ฉันนั้นเหมือน กันแล สติปัฏฐาน ๔ นี้ชื่อว่าเป็นหลักผูกใจของอริยสาวก เพื่อแก้ไขปรกติ ชนิดอาศัยบ้าน แก้ไขความดำริพล่านชนิดอาศัยบ้าน แก้ไขความกระวนกระวาย ความลำบากใจ และความเร่าร้อน ใจชนิดอาศัยบ้าน เพื่อบรรลุญายธรรม เพื่อทำนิพพานให้แจ้ง ฯ พระไตรปิฎก ฉบับบาลีสยามรัฐ (ภาษาไทย) เล่มที่ ๑๔ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๖ มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ หน้าที่ ๒๑๑/๔๑๓ ข้อที่ ๓๙๗
สาธุ ธรรม ที่นำมาแสดง..แจ้งชัด ตรง และ ไม่ขัดข้องในการ ปฏิบัติเลย อ่าน ช้าๆๆ เข้าใจ ตามตัวอักษร ทุกตัวไม่ต้องคิด แฝงเลยเถิด... รู้...แปลว่า รู้ ว่ากัน ตรงๆ แค่รู้ ....เมื่อรู้ ก็ ละ เพราะ ว่ารู้ ตรงๆ รู้ ทัน และ รู้ ทัน เรื่อยๆ...ไม่ต้องนั่ง เฉยๆ หลับตาให้มากความ แค่ รู้ๆ ไปเรื่อยๆ..ใน ทุกอิริยาบท ..รู้ ที่กาย...ก็ พอ..ใจ จะรู้ ตามได้เอง...
ภิกษุ ท ! ถ้าแม้พวกเธอ พึงตั้งไว้ซึ่งความเพียรอันไม่ถอยกลับ (ด้วยการอธิ ฐานจิต)ว่า "จงเหลืออยู่แต่หนัง เอ็น กระดูกเท่านั้น, เนื้อและเลือดในสรีระจงเหือด แห้งไป; ประโยชน์ใด อันบุคคลจะบรรลุได้ด้วยกำลัง ด้วยความเพียร ด้วยความบาก บั่น ของบุรุษ, ยังไม่บรรลุประโยชน์นั้นแล้วจักหยุดความเพียรเสีย เป็นไม่มี" ดังนี้ แล้วไซร้; ภิกษุ ท ! พวกเธอก็จักกระทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่งเอง ซึ่งที่สุดแห่ง พรหมจรรย์ อันไม่มีอะไรอื่นยิ่งกว่า อันเป็นประโยชน์ที่ต้องการของกุลบุตรผู้ออก บวชจากเรือนเป็นผู้ไม่มีเรือนโดยชอบ, ได้ต่อกาลไม่นานในทิฏฐธรรม เข้าถึงแล้ว แลอยู่ เป็นแน่นอน.
ลักษณะของผู้มีสติและสัมปชัญญะ ภิกษุ ท. ! ภิกษุเป็นผู้มีสติเป็นอย่างไรเล่า ? ภิกษุ ท. ! ภิกษุในกรณีนี้ เป็นผู้ตามเห็นกายในกายอยู่เป็นประจำ มีความเพียรเผากิเลส มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกออกเสียได้; เป็นผู้ตามเห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลายอยู่เป็นประจำ....; เป็นผู้ตามเห็นจิตในจิตอยู่เป็นประจำ ....; เป็นผู้ตามเห็นธรรมในธรรมทั้งหลายอยู่เป็นประจำ มีความเพียรเผากิเลส มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและ โทมนัสในโลกออกเสียได้. ภิกษุ ท. ! อย่างนี้แล เรียกว่า ภิกษุเป็นผู้มีสติ. ภิกษุ ท. ! ภิกษุ เป็นผู้มีสัมปชัญญะ เป็นอย่างไรเล่า ? ภิกษุ ท. ! ภิกษุในกรณีนี้ เป็นผู้รู้ตัวรอบคอบในการก้าวไปข้างหน้า การถอยกลับไปข้างหลัง, การแลดู การเหลียวดู, การคู้ การเหยียด, การทรงสังฆาฏิ บาตร จีวร, การฉัน การดื่ม การเคี้ยว การลิ้ม, การถ่ายอุจจาระ ปัสสาวะ, การไป การหยุด, การนั่ง การนอน, การหลับ การตื่น, การพูด การนิ่ง, ภิกษุ ท. ! อย่างนี้แล เรียกว่า ภิกษุเป็นผู้มีสัมปชัญญะ. สฬา. สํ. ๑๘/๒๖๐/๓๗๔-๓๘๑.
จิตอธิษฐานการงาน อานนท์ ! ฐานะที่ตั้งแห่งอนุสสติ มีเท่าไร ? “มี ๕ อย่าง พระเจ้าข้า !” ดีละ ดีละ อานนท์ ! ถ้าอย่างนั้น เธอจงทรงจำ ฐานะที่ตั้ง แห่งอนุสสติที่ ๖ นี้ไว้ คือ ภิกษุในกรณีนี้ มีสติก้าวไป มีสติถอยกลับ มีสติยืนอยู่ มีสตินั่งอยู่ มีสติสำเร็จการนอนอยู่ มีสติอธิษฐานการงาน อานนท์ ! นี้เป็นฐานะที่ตั้งแห่งอนุสสติ ซึ่งเมื่อ บุคคลเจริญกระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อสติสัมปชัญญะ. ฉกฺก. อํ. ๒๒/๓๖๓/๓๐๐.
ขอขอบคุณครับ ที่ให้ข้อมูลเพิ่ม เป็นสำนวนการแปลแต่ละยุค ในส่วนตัวผมชอบทั้ง 2 สำนวนนี้ครับ(สยามรัฐกับ(พุทธวจน)จากพระโอษฐ์) [๓๖๗] ธรรมอย่างหนึ่งที่มีอุปการะมากเป็นไฉน คือความไม่ประมาทในกุศลธรรม ทั้งหลาย นี้ธรรมอย่างหนึ่งที่มีอุปการะมาก ฯ [๓๖๘] ธรรมอย่างหนึ่งที่ควรให้เจริญเป็นไฉน คือกายคตาสติอันประกอบด้วยความ สำราญ นี้ธรรมอย่างหนึ่งที่ควรให้เจริญ ฯ [๓๗๘] ธรรม ๒ อย่างที่มีอุปการะมากเป็นไฉน คือ สติ ๑ สัมปชัญญะ ๑ธรรม ๒ อย่างเหล่านี้มีอุปการะมาก ฯ [๓๗๙] ธรรม ๒ อย่างที่ควรให้เจริญเป็นไฉน คือ สมถะ ๑ วิปัสนา ๑ธรรม ๒ อย่าง เหล่านี้ควรให้เจริญ ฯ พระไตรปิฎก ฉบับบาลีสยามรัฐ (ภาษาไทย) เล่มที่ ๑๑
[๓๒๒] ดูก่อนมาณพ ภิกษุถึงพร้อมแล้วด้วยสติสัมปชัญญะ เป็น อย่างไร. ดูก่อนมาณพ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้รู้สึกตัวในการก้าว ใน การถอย ในการแล ในการเหลียว ในการงอ ในการเหยียด ในการทรง สังฆาฏิ บาตรและจีวร ในการฉัน ในการดื่ม ในการเคี้ยว ในการลิ้ม ในการถ่ายอุจจาระปัสสาวะ ในการเดิน ในการยืน ในการนั่ง ในการหลับ ในการตื่น ในการพูด ในการนิ่ง ดูก่อนสุภมาณพ ภิกษุชื่อว่า เป็นผู้ถึง พร้อมแล้วด้วยสติสัมปชัญญะ ด้วยประการฉะนี้แล. พระไตรปิฎก ฉบับมหามกุฏฯ (ภาษาไทย) เล่มที่ ๑๒ {๓๒๒}[๔๕๕] มาณพ ภิกษุชื่อว่าประกอบด้วยสติสัมปชัญญะเป็นอย่างไร คือ ภิกษุ ในพระธรรมวินัยนี้ทำความรู้สึกตัวในการก้าวไป การถอยกลับ การแลดู การเหลียวดู การคู้เข้า การเหยียดออก การครองสังฆาฏิบาตรและจีวร การฉัน การดื่ม การเคี้ยว การลิ้ม การถ่ายอุจจาระปัสสาวะ การเดิน การยืน การนั่ง การนอน การตื่น การพูด การนิ่ง มาณพ ภิกษุชื่อว่าประกอบด้วยสติสัมปชัญญะเป็นอย่างนี้แล พระไตรปิฎก ฉบับมหาจุฬาฯ (ภาษาไทย) เล่มที่ ๙
[๓๒๒] กถ?ฺจ มาณว ภิกฺขุ สติสมฺปช?ฺเ?น สมนฺนาคโต โหติ ฯ อิธ มาณว ภิกฺขุ อภิกฺกนฺเต ปฏิกฺกนฺเต สมฺปชานการี โหติ อาโลกิเต วิโลกิเต สมฺปชานการี โหติ สมฺมิ?ฺชิเต ปสาริเต สมฺปชานการี โหติ ส?ฆาฏิปตฺตจีวรธารเณ สมฺปชานการี โหติ อสิเต ปีเต ขายิเต สายิเต สมฺปชานการี โหติ อุจฺจารปสฺสาวกมฺเม สมฺปชานการี โหติ คเต ?ิเต นิสินฺเน สุตฺเต ชาคริเต ภาสิเต ตุณฺหีภาเว สมฺปชานการี โหติ เอว? โข มาณว ภิกฺขุ สติสมฺปช?ฺเ?น สมนฺนาคโต โหติ ฯ พระไตรปิฎก ฉบับบาลีสยามรัฐ (ภาษาบาลี) เล่มที่ ๙
ประคองจิต ดุจประคองหม้อน้ำมัน ภิกษุทั้งหลาย ! เปรียบเหมือนหมู่มหาชนได้ทราบข่าวว่ามีนางงามในชนบทพึงประชุมกัน ก็นางงามในชนบทนั้นน่าดูอย่างยิ่งในการฟ้อนรำ น่าดูอย่างยิ่งในการขับร้อง หมู่มหาชนได้ทราบข่าวว่านางงามในชนบทจะฟ้อนรำขับร้อง พึงประชุมกันยิ่งขึ้นกว่าประมาณ ครั้งนั้น บุรุษผู้อยากเป็นอยู่ ไม่อยากตาย ปรารถนาความสุข เกลียดทุกข์ พึงมากล่าวกับหมู่มหาชนนั้นอย่างนี้ว่า “บุรุษผู้เจริญ ! ท่านพึงนำภาชนะน้ำมันอันเต็มเปี่ยมนี้ ไปในระหว่างที่ประชุมใหญ่กับนางงามในชนบท และ จักมีบุรุษเงื้อดาบตามบุรุษผู้นำหม้อน้ำมันนั้นไปข้างหลังๆ บอกว่า ท่านจักทำน้ำมันนั้นหกแม้หน่อยหนึ่งในที่ใด ศีรษะของท่านจักขาดตกลงไปในที่นั้นทีเดียว” . ภิกษุทั้งหลาย ! เธอทั้งหลายจะสำคัญความข้อนั้นเป็นอย่างไร ? บุรุษผู้นั้นจะไม่ใส่ใจภาชนะน้ำมันโน้น แล้วพึงประมาทในภายนอกเทียวหรือ. ( ไม่เป็นอย่างนั้น พระเจ้าข้า ! ) ภิกษุทั้งหลาย ! เราทำอุปมานี้ เพื่อให้เข้าใจเนื้อความนี้ชัดขึ้น เนื้อความในข้อนี้มีอย่างนี้แล คำว่า ภาชนะน้ำมันอันเต็มเปี่ยม เป็นชื่อของ กายคตาสติ. ภิกษุทั้งหลาย ! เพราะเหตุนั้นในเรื่องนี้ เธอทั้งหลายพึงทำการศึกษาอย่างนี้ว่า กายคตาสติ จักเป็นของอันเราเจริญแล้วกระทำให้มากแล้ว กระทำให้เป็นดังยาน กระทำให้เป็นที่ตั้ง กระทำไม่หยุด สั่งสมแล้ว ปรารภดีแล้ว. ภิกษุทั้งหลาย ! เธอทั้งหลาย พึงทำการศึกษาอย่างนี้. ภิกษุทั้งหลาย ! ชนเหล่าใด ไม่บริโภคกายคตาสติ ชนเหล่านั้นชื่อว่า ย่อมไม่บริโภคอมตะ; ภิกษุทั้งหลาย ! ชนเหล่าใด บริโภคกายคตาสติ ชนเหล่านั้นชื่อว่า ย่อมบริโภคอมตะ; ภิกษุทั้งหลาย ! ชนเหล่าใด ประมาทกายคตาสติ ชนเหล่านั้นชื่อว่า ประมาทอมตะ; ภิกษุทั้งหลาย ! ชนเหล่าใด ไม่ประมาทกายคตาสติ ชนเหล่านั้นชื่อว่า ไม่ประมาทอมตะ; ดังนี้ แล. มหาวาร. สํ 19 / 226-227 / 763–766. เอก.อํ 20 / 59 / 235,239. ----- จากหนังสือพุทธวจนมรรควิธีที่ง่าย
ลักษณะของผู้ตั้งจิตในกายคตาสติ (จิตที่มีเสาหลักมั่นคง) ภิกษุทั้งหลาย ! เปรียบเหมือนบุรุษจับสัตว์หกชนิด อันมีที่อยู่อาศัยต่างกัน มีที่เที่ยวหากินต่างกัน มาผูกรวมกันด้วยเชือกอันมั่นคง คือ เขาจับงูมาผูกด้วยเชือกเหนียวเส้นหนึ่ง จับจรเข้... จับนก... จับสุนัขบ้าน...จับสุนัขจิ้งจอก... และ จับลิงมาผูกด้วยเชือกเหนียวเส้นหนึ่ง ๆ ครั้นแล้ว นำไปผูกไว้กับเสาเขื่อน หรือเสาหลักอีกต่อหนึ่ง ภิกษุทั้งหลาย ! ครั้งนั้น สัตว์ทั้งหกชนิดเหล่านั้น มีที่อาศัยและที่เที่ยวต่าง ๆ กัน ก็ยื้อแย่งฉุดดึงกัน เพื่อจะไปสู่ที่อาศัยที่เที่ยวของตน ๆ งูจะเข้าจอมปลวก จระเข้จะลงน้ำ นกจะบินขึ้นไปในอากาศ สุนัขจะเข้าบ้าน สุนัขจิ้งจอกจะไปป่าช้า ลิงก็จะไปป่า ภิกษุทั้งหลาย ! ในกาลใดแล ความเป็นไปภายในของสัตว์ทั้งหกชนิดเหล่านั้น มีแต่ความเมื่อยล้าแล้ว ในกาลนั้น มันทั้งหลายก็จะพึงเข้าไป ยืนเจ่า นั่งเจ่า นอนเจ่า อยู่ข้างเสาเขื่อนหรือเสาหลักนั้นเอง ข้อนี้ฉันใด ภิกษุทั้งหลาย ! ภิกษุใดได้อบรมทำให้มากในกายคตาสติแล้ว ตา ก็จะไม่ฉุดเอาภิกษุนั้นไปหารูปที่น่าพอใจ รูปที่ไม่น่าพอใจ ก็ไม่เป็นสิ่งที่เธอรู้สึกอึดอัดขยะแขยง หู ก็จะไม่ฉุดเอาภิกษุนั้นไปหาเสียงที่น่าฟัง เสียงที่ไม่น่าฟัง ก็ไม่เป็นสิ่งที่เธอรู้สึกอึดอัดขยะแขยง จมูก ก็จะไม่ฉุดเอาภิกษุนั้นไปหากลิ่นที่น่าสูดดม กลิ่นที่ไม่น่าสูดดม ก็ไม่เป็นสิ่งที่เธอรู้สึกอึดอัดขยะแขยง ลิ้น ก็จะไม่ฉุดเอาภิกษุนั้นไปหารสที่ชอบใจ รสที่ไม่ชอบใจ ก็ไม่เป็นสิ่งที่เธอรู้สึกอึดอัดขยะแขยง กาย ก็จะไม่ฉุดเอาภิกษุนั้นไปหาสัมผัสที่ยั่วยวนใจ สัมผัสที่ไม่ยั่วยวนใจก็ไม่เป็นสิ่งที่เธอรู้สึกอึดอัดขยะแขยง และใจ ก็จะไม่ฉุดเอาภิกษุนั้นไปหาธรรมารมณ์ที่ถูกใจ ธรรมารมณ์ที่ไม่ถูกใจก็ไม่เป็นสิ่งที่เธอรู้สึกอึดอัดขยะแขยง ข้อนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน. ภิกษุทั้งหลาย ! คำว่า “เสาเขื่อน หรือเสาหลัก” นี้ เป็นคำเรียกแทนชื่อแห่ง กายคตาสติ ภิกษุทั้งหลาย ! เพราะฉะนั้น ในเรื่องนี้ พวกเธอทั้งหลายพึงสำเหนียกใจไว้ว่า “กายคตาสติของเราทั้งหลาย จักเป็นสิ่งที่เราอบรม กระทำให้มาก กระทำให้เป็นยานเครื่องนำไป กระทำให้เป็นของที่อาศัยได้ เพียรตั้งไว้เนือง ๆ เพียรเสริมสร้างโดยรอบคอบ เพียรปรารภสม่ำเสมอด้วยดี” ดังนี้. ภิกษุทั้งหลาย ! พวกเธอทั้งหลาย พึงสำเหนียกใจไว้ด้วยอาการอย่างนี้แล. สฬา. สํ. ๑๘/๒๔๖,๒๔๘/๓๔๘, ๓๕๐. --- จากหนังสือพุทธวจนอินทรีย์สังวร
กายคตาสติ คือ สมถะและวิปัสสนา คือ อานาปานสติ คือ การเคลื่อนไหวอริยาบท คือ การที่พิจารณาอสุภะ คิดอยู่ในกาย คือ การที่รู้ตามการเคลื่อนไหว คือ การที่เข้าฌาน(ชาน) 1-2-3-4 ทั้งหมดนี้ล้วนเป็นกายคตาสติ กายคตาสติ เอาจิตมาตั้งอยู่กับกายเป็นเหตุให้ได้มรรคผลนิพพาน รายการพุทธวจน 2554/39 <IFRAME height=345 src="http://www.youtube.com/embed/o4tVgefA3ik" frameBorder=0 width=420 allowfullscreen=""></IFRAME>
รวม อานิสงส์กายคตาสติ ภิกษุทั้งหลาย ! กายคตาสติ อันภิกษุรูปใดรูปหนึ่ง เจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว กุศลธรรมอย่างใดอย่างหนึ่ง ซึ่งเป็นไปในส่วนวิชชา ย่อมหยั่งลงในภายในของภิกษุนั้น เปรียบเหมือนมหาสมุทร อันผู้ใดผู้หนึ่งถูกต้องด้วยใจแล้ว แม่น้ำน้อย สายใดสายหนึ่ง ซึ่งไหลไปสู่สมุทร ย่อมหยั่งลงในภายในของผู้นั้น ฉะนั้น ---- ภิกษุทั้งหลาย ! ธรรมข้อหนึ่ง อันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว เป็นไปเพื่อความสังเวชมาก เป็นไปเพื่อประโยชน์มาก เป็นไปเพื่อความเกษมจากโยคะมาก เป็นไปเพื่อสติและสัมปชัญญะ เป็นไปเพื่อได้ญาณทัสสนะ เป็นไปเพื่ออยู่เป็นสุขในปัจจุบัน เป็นไปเพื่อทำให้แจ้งซึ่งผล คือวิชชาและวิมุตติ ธรรมข้อหนึ่ง คืออะไร คือกายคตาสติ ภิกษุทั้งหลาย ! ธรรมข้อหนึ่งนี้แล อันบุคคลอบรมแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อความสังเวชมาก …ฯลฯ… ย่อมเป็นไปเพื่อทำให้แจ้งซึ่งผล คือ วิชชาและวิมุตติ --- ภิกษุทั้งหลาย ! ธรรมข้อหนึ่ง อันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว แม้กายก็สงบ แม้จิตก็สงบ แม้วิตกวิจารก็สงบ ธรรมที่เป็นไปในส่วนแห่งวิชชาแม้ทั้งสิ้น ก็ถึงความเจริญบริบูรณ์ ธรรมข้อหนึ่ง คืออะไร คือกายคตาสติ ภิกษุทั้งหลาย ! ธรรมข้อหนึ่งนี้แล อันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว แม้กายก็สงบ แม้จิตก็สงบ แม้วิตกวิจารก็สงบ ธรรมที่เป็นไปในส่วนแห่งวิชชาแม้ทั้งสิ้น ก็ถึงความเจริญบริบูรณ์ --- ภิกษุทั้งหลาย ! ธรรมข้อหนึ่ง อันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว อกุศลธรรมที่ยังไม่เกิด ย่อมไม่เกิดขึ้นได้เลย และ อกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว ย่อมละเสียได้ ธรรมข้อหนึ่ง คืออะไร คือกายคตาสติ ภิกษุทั้งหลาย ! ธรรมข้อหนึ่งนี้แล อันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว อกุศลธรรมที่ยังไม่เกิด ย่อมไม่เกิดขึ้นได้เลย และ อกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว ย่อมละเสียได้ --- ภิกษุทั้งหลาย ! ธรรมข้อหนึ่ง อันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว กุศลธรรมที่ยังไม่เกิด ย่อมเกิดขึ้น และ กุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อความเจริญไพบูลย์ยิ่ง ธรรมข้อหนึ่ง คืออะไร คือกายคตาสติ. ภิกษุทั้งหลาย ! ธรรมข้อหนึ่งนี้แล อันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว กุศลธรรมที่ยังไม่เกิด ย่อมเกิดขึ้น และ กุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อความเจริญไพบูลย์ยิ่ง --- ภิกษุทั้งหลาย ! ธรรมข้อหนึ่ง อันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมละอวิชชาเสียได้ วิชชาย่อมเกิดขึ้น ย่อมละอัส๎มิมานะเสียได้ อนุสัยย่อมถึงความเพิกถอน ย่อมละสังโยชน์เสียได้ ธรรมข้อหนึ่ง คืออะไร คือกายคตาสติ ภิกษุทั้งหลาย ! ธรรมข้อหนึ่งนี้แล อันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมละอวิชชาเสียได้ วิชชาย่อมเกิดขึ้น ย่อมละอัส๎มิมานะเสียได้ อนุสัยย่อมถึงความเพิกถอน ย่อมละสังโยชน์เสียได้ ; --- ภิกษุทั้งหลาย ! ธรรมข้อหนึ่ง อันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อความแตกฉานแห่งปัญญา ย่อมเป็นไปเพื่ออนุปาทาปรินิพพาน ธรรมข้อหนึ่ง คืออะไร คือกายคตาสติ ภิกษุทั้งหลาย ! ธรรมข้อหนึ่งนี้แล อันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อความแตกฉานแห่งปัญญา ย่อมเป็นไปเพื่ออนุปาทาปรินิพพาน --- ภิกษุทั้งหลาย ! ธรรมข้อหนึ่ง อันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมมีการแทงตลอดธาตุมากหลาย ย่อมมีการแทงตลอดธาตุต่างๆ ย่อมมีความแตกฉานในธาตุมากหลาย ธรรมข้อหนึ่ง คืออะไร คือกายคตาสติ ภิกษุทั้งหลาย ! ธรรมข้อหนึ่งนี้แล อันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมมีการแทงตลอดธาตุมากหลาย ย่อมมีการแทงตลอดธาตุต่างๆ ย่อมมีความแตกฉานในธาตุมากหลาย --- ภิกษุทั้งหลาย ! ธรรมข้อหนึ่ง อันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อทำโสดาปัตติผลให้แจ้ง ย่อมเป็นไปเพื่อทำสกทาคามิผลให้แจ้ง ย่อมเป็นไปเพื่อทำอนาคามิผลให้แจ้ง ย่อมเป็นไปเพื่อทำอรหัตตผลให้แจ้ง ธรรมข้อหนึ่ง คืออะไร คือกายคตาสติ. ภิกษุทั้งหลาย ! ธรรมข้อหนึ่งนี้แล อันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อทำโสดาปัตติผลให้แจ้ง ย่อมเป็นไปเพื่อทำสกทาคามิผลให้แจ้ง ย่อมเป็นไปเพื่อทำอนาคามิผลให้แจ้ง ย่อมเป็นไปเพื่อทำอรหัตตผลให้แจ้ง --- ภิกษุทั้งหลาย ! ธรรมข้อหนึ่ง อันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อ ได้ปัญญา ย่อมเป็นไปเพื่อ ความเจริญแห่งปัญญา ย่อมเป็นไปเพื่อ ความไพบูลย์แห่งปัญญา ย่อมเป็นไปเพื่อ ความเป็นผู้มีปัญญาใหญ่ ย่อมเป็นไปเพื่อ ความเป็นผู้มีปัญญามาก ย่อมเป็นไปเพื่อ ความเป็นผู้มีปัญญาไพบูลย์ ย่อมเป็นไปเพื่อ ความเป็นผู้มีปัญญาลึกซึ้ง ย่อมเป็นไปเพื่อ ความเป็นผู้มีปัญญาสามารถยิ่ง ย่อมเป็นไปเพื่อ ความเป็นผู้มีปัญญากว้างขวาง ย่อมเป็นไปเพื่อ ความเป็นผู้มากด้วยปัญญา ย่อมเป็นไปเพื่อ ความเป็นผู้มีปัญญาว่องไว ย่อมเป็นไปเพื่อ ความเป็นผู้มีปัญญาเร็ว ย่อมเป็นไปเพื่อ ความเป็นผู้มีปัญญาร่าเริง ย่อมเป็นไปเพื่อ ความเป็นผู้มีปัญญาแล่น ย่อมเป็นไปเพื่อ ความเป็นผู้มีปัญญาคม ย่อมเป็นไปเพื่อ ความเป็นผู้มีปัญญาชำแรกกิเลส ธรรมข้อหนึ่งคืออะไร คือกายคตาสติ ภิกษุทั้งหลาย ! ธรรมข้อหนึ่งนี้แล อันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อได้ปัญญา …ฯลฯ… ย่อมเป็นไปเพื่อความเป็น ผู้มีปัญญาชำแรกกิเลส --- ภิกษุทั้งหลาย ! ชนเหล่าใด ไม่บริโภคกายคตาสติ ชนเหล่านั้นชื่อว่าย่อมไม่บริโภคอมตะ ภิกษุทั้งหลาย ! ชนเหล่าใด บริโภคกายคตาสติ ชนเหล่านั้นชื่อว่าย่อมบริโภคอมตะ ภิกษุทั้งหลาย ! กายคตาสติ อันชนเหล่าใดไม่บริโภคแล้ว อมตะชื่อว่าอันชนเหล่านั้นไม่บริโภคแล้ว ภิกษุทั้งหลาย ! กายคตาสติอันชนเหล่าใดบริโภคแล้ว อมตะชื่อว่าอันชนเหล่านั้นบริโภคแล้ว ภิกษุทั้งหลาย ! กายคตาสติของชนเหล่าใดเสื่อมแล้ว อมตะของชนเหล่านั้นชื่อว่าเสื่อมแล้ว ภิกษุทั้งหลาย ! กายคตาสติของชนเหล่าใดไม่เสื่อมแล้ว อมตะของชนเหล่านั้นชื่อว่าไม่เสื่อมแล้ว ภิกษุทั้งหลาย ! กายคตาสติอันชนเหล่าใดเบื่อแล้ว อมตะชื่อว่าอันชนเหล่านั้นเบื่อแล้ว ภิกษุทั้งหลาย ! กายคตาสติอันชนเหล่าใดชอบใจแล้ว อมตะชื่อว่าอันชนเหล่านั้นชอบใจแล้ว ภิกษุทั้งหลาย ! ชนเหล่าใดประมาทกายคตาสติ ชนเหล่านั้นชื่อว่า ประมาทอมตะ ภิกษุทั้งหลาย ! ชนเหล่าใดไม่ประมาทกายคตาสติ ชนเหล่านั้นชื่อว่า ไม่ประมาทอมตะ ภิกษุทั้งหลาย ! กายคตาสติอันชนเหล่าใดหลงลืม อมตะชื่อว่าอันชนเหล่านั้น หลงลืม ภิกษุทั้งหลาย ! กายคตาสติอันชนเหล่าใดไม่หลงลืม อมตะชื่อว่าอันชนเหล่านั้น ไม่หลงลืม ภิกษุทั้งหลาย ! กายคตาสติอันชนเหล่าใดไม่ส้องเสพแล้ว อมตะชื่อว่าอันชนเหล่านั้นไม่ส้องเสพแล้ว ภิกษุทั้งหลาย ! กายคตาสติอันชนเหล่าใดส้องเสพแล้ว อมตะชื่อว่าอันชนเหล่านั้นส้องเสพแล้ว ภิกษุทั้งหลาย ! กายคตาสติอันชนเหล่าใดไม่เจริญแล้ว อมตะชื่อว่าอันชนเหล่านั้นไม่เจริญแล้ว ภิกษุทั้งหลาย ! กายคตาสติอันชนเหล่าใดเจริญแล้ว อมตะชื่อว่าอันชนเหล่านั้นเจริญแล้ว ภิกษุทั้งหลาย ! กายคตาสติอันชนเหล่าใดไม่ทำให้มากแล้ว อมตะชื่อว่า…ฯ…ไม่ทำให้มากแล้ว ภิกษุทั้งหลาย ! กายคตาสติอันชนเหล่าใดทำให้มากแล้ว อมตะชื่อว่า…ฯ…ทำให้มากแล้ว ภิกษุทั้งหลาย ! กายคตาสติอันชนเหล่าใดไม่รู้ด้วยปัญญาอันยิ่ง อมตะ…ฯ…ไม่รู้ด้วยปัญญาอันยิ่ง ภิกษุทั้งหลาย ! กายคตาสติอันชนเหล่าใดรู้ด้วยปัญญาอันยิ่ง อมตะชื่อว่า…ฯ…รู้ด้วยปัญญาอันยิ่ง ภิกษุทั้งหลาย ! กายคตาสติอันชนเหล่าใดไม่กำหนดรู้แล้ว อมตะชื่อว่า…ฯ…ไม่กำหนดรู้แล้ว ภิกษุทั้งหลาย ! กายคตาสติอันชนเหล่าใดกำหนดรู้แล้ว อมตะชื่อว่า…ฯ…กำหนดรู้แล้ว ภิกษุทั้งหลาย ! กายคตาสติอันชนเหล่าใดไม่ทำให้แจ้งแล้ว อมตะชื่อว่า…ฯ…ไม่ทำให้แจ้งแล้ว ภิกษุทั้งหลาย ! กายคตาสติอันชนเหล่าใดทำให้แจ้งแล้ว อมตะชื่อว่า…ฯ…ทำให้แจ้งแล้ว ดังนี้ --- - ปสาทกรธัมมาทิบาลี เอก. อํ. 20/55 – 60/225 – 246.
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๔ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๖ มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ ๙. กายคตาสติสูตร (๑๑๙) E-Tipitaka | Compare http://www.84000.org/tipitaka/pitaka2/v.php?B=14&A=4182&Z=4496 โปรแกรมตรวจหาและเทียบเคียงพุทธวจน E-Tipitaka | Search
ความคิดส่วนตัวผม ว่าผมจะอ่านให้คุ้นเคย สำนวน สยามรัฐ เป็นหลักเพราะมีข้อมูลมากกว่าและ พุทธจน 33 เล่ม ที่จะออกมา เป็นสำนวนของ ฉบับ สยามรัฐ ทั้งหมดไม่ได้แก้สำนวนเดิม จะต่อ ยอดง่ายและไม่สับสนสำหรับผมเพราะ ความจำไม่ดี ต้องอาศัยเวลานานหน่อย แต่ต้องการของจริงครับจึงต้องบังคับตัวเองอ่าน
มายด์ก็ชอบอ่าน สำนวนฉบับสยามรัฐ ค่ะ รู้สึกเปิดกว้างๆ เทียบสภาวะได้ง่าย ก่อนหน้านั้นอ่านและฟังคำสอนของพระอาจารย์ต่างๆ เป็นการปูพื้นฐาน และมีคนบอกว่าอย่าไปอ่านพระไตรปฏก ไม่รู้ใครเขียนบ้าง มีเติมแต่งเยอะ เข้าไปอ่านแล้วจะแยกออกได้อย่างไร ว่าอันไหนผิดอันไหนถูก ฯ... ยิ่งทำให้มายด์อยากอ่านพระไตรปิฏกมากยิ่งขึ้นกว่าปกติเยอะเลยค่ะ อิๆ มาเปิดเว็บ 84000.org ค้นหาเรื่องที่อยากจะศึกษาไม่ค่อยจะเจอ เพราะไม่ค่อยรู้ศัพท์ธรรม ไม่รู้ว่าเรื่องอะไรอยู่พระสูตรไหน หาสิ่งที่ต้องการไม่ค่อยเจอ และก็กลัวจะแยกไม่ออกว่าอะไรผิดอะไรถูกตามที่มีคนบอกไว้ จึงมาอ่านพุทธวจนก่อน เพราะจะได้ไม่ต้องกังวลเรื่องผิดเรื่องถูก และมีสารบัญเรื่องในพุทธวจน/จากพระโอษฐ์ 5 เล่ม ให้เราเลือกเรื่องที่จะอ่านได้ อย่างสะดวก รวดเร็ว ไม่ต้องเสียเวลาหา ถ้าอยากรู้บริบทอื่นๆ ก็ใช้ข้อความในเรื่องนั้นเป็นคีย์เวิร์ดค้นหา อ่านมาได้ระยะหนึ่งไม่นานนัก รู้สึกเลยว่า เป็นบุญมากที่ได้อ่าน อยากรู้อะไรก็หาอ่าน มีพระพุทธเจ้าเป็นอาจารย์ หมดความดิ้นรนที่จะแสวงหา ถ้าหลงไปเชื่อใคร แล้วพลาดโอกาสไม่ได้อ่านถือว่าเป็นสิ่งที่น่าเสียดายมาก เสียชาติเกิดเชียวหละ อิๆ อ่านพุทธวจนในพระไตรปิฏก เห็นสภาวะได้ เทียบสภาวะได้ ลึกซึ้งมาก เป็นปัจจตัง เป็นอกาลิโก เป็นอนุสาสนีย์ปาฏิหาร์... ฯลฯ หนังสืออื่นๆจืดไปหมดเลยค่ะ
^ หากมีโอกาส ลอง อ่านเป็นเล่ม ที่อยู่ตามวัด ตามฉบับที่สนใจ(สยามรัฐ) แล้วลองเทียบดู ว่า มีสิ่งที่หายไปในเรื่องเดียวกันไหม เมื่ออ่านในเวป
ยังไม่มีโอกาสไปว้ดที่มีพระไตรปิฏกเลยค่ะ อ่านจากโปรแกรม โปรแกรมตรวจหาและเทียบเคียงพุทธวจน E-Tipitaka | Search <!-- google_ad_section_end -->ไปก่อนดีกว่าค่ะ ค้นหาได้ง่ายด้วย และได้รับการตรวจสอบให้ตรงกับหนังสือพระไตรปิฏกฉบับสยามรัฐ จากทางคณะวัดนาป่าพงด้วย ขอบคุณค่ะที่แนะนำ โปรแกรมตรวจหาและเทียบเคียงพุทธวจน E-Tipitaka | Search<!-- google_ad_section_end -->