ข้อมูลเตรียมพร้อมรับมือสถานการณ์แผ่นดินไหว‏

ในห้อง 'ภัยพิบัติและการเตรียมการ' ตั้งกระทู้โดย tanakorn_ss, 10 ธันวาคม 2011.

  1. พนมกุเลน

    พนมกุเลน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 เมษายน 2008
    โพสต์:
    2,455
    ค่าพลัง:
    +7,618
    วันนี้ 11 เมย. 55 พม่ากับอินโด แผ่นดินไหวเหมือนกัน พม่าไหวก่อน บนบก ตอนช่วงเช้า ส่วนอินโด ไหวบ่าย ในทะเล

    แผ่นดิน 2 แผ่นนี้ มีนัยยะเรื่องการเชื่อมโยงถึงกันรึเปล่า

    [​IMG]<!-- google_ad_section_end -->

    นอกจากนี้ นักวิชการยังเตือน ให้จับตารอยเลื่อนตรงพม่า งั้นก็ต้องว่ากันยาว ไปถึงเมืองกาญจน์ ที่ด่านเจดีย์สามองค์ แขนงเดียวกัน

    ตามพื้นที่เสี่ยง ชาวบ้านควรสังเกตสัตว์เลี้ยงตามบ้าน ว่ามันมีท่าทางยังไง ตระหนกตกตื่นรึไม่ ถ้าจะมีภัยธรรมชาติ สัตว์มันจะรู้ล่วงหน้า ดูง่ายๆ มันจะกระวนกระวาย ตื่นเต้น อยู่ไม่สุข

    ส่วนพวกที่อยู่ใต้ผิวดิน อย่าง คางคก อึ่งอ่าง พวกนี้จะขึ้นมาบนผิวดิน<!-- google_ad_section_end -->

    แต่ไม่ว่าจะวันไหนๆ เดือนไหนๆ ปีไหนๆ โมงยามไหนๆ ภัยธรรมชาติ มันก็ปุบปับเกิดขึ้นได้ตลอด เพราะโลกนี้เป็นของไม่เที่ยง เอาอะไรแน่นอนไม่ได้

    โดยเฉพาะแผ่นดินไหว บทจะมาก็มาเลย<!-- google_ad_section_end -->

    ถึงยังงั้นก็เถอะ ถ้ามีภัยธรรมชาติขนาดใหญ่ จัดหนัก (ย้ำว่าภัยธรรมชาติ ไม่ใช่ภัยสงคราม) ประเทศไทย คงจะเหลือคนรอดมากที่สุด เพราะเพื่อนบ้านข้างเคียงจะรับเคราะห์แทนเป็นส่วนใหญ่

    สาเหตุเพราะ ทำเลที่ตั้งทางภูมิศาสตร์ของไทย มีประเทศเหล่านั้นกำบังเอาไว้ เหมือนกำแพงบ้าน<!-- google_ad_section_end --><!-- google_ad_section_end -->

    และหลังแผ่นดินไหวใต้ทะเล 8.7 ที่สุมาตรา อินโด วันนี้ ต่อไปควรสนใจความเคลื่อนไหวของภูเขาไฟใต้ทะเล แถวจุดเกิดเหตุ

    [​IMG]

    ส่วนทั่วๆ ไป ปีนี้ภัยดิน ก็มีไม่ใช่น้อย

    <TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=4 width="100%"><TBODY><TR><TD class=headline vAlign=baseline align=left>ยุบอีก ถนนพญาไท ทรุดเป็นหลุม ลึก 1 เมตร</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%"><TBODY><TR><TD bgColor=#cccccc height=1>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%"><TBODY><TR><TD height=40><TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=4><TBODY><TR><TD class=body vAlign=middle align=left>โดย www.manager.co.th/home/ทีมข่าวอาชญากรรม</TD><TD class=date vAlign=middle align=left>11 เมษายน 2555 </TD><TD vAlign=middle align=left>





    <TD></TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE border=0 cellSpacing=4 cellPadding=0 width="100%"><TBODY><TR><TD vAlign=top align=center><TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%"><TBODY><TR><TD vAlign=top align=center><TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%"><TBODY><TR><TD class=body vAlign=baseline align=center>คลิกที่ภาพเพื่อดูขนาดใหญ่ขึ้น


    </TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%"><TBODY><TR><TD vAlign=middle align=center>[​IMG]</TD></TR><TR><TD vAlign=baseline align=center></B>
    ถนนพญาไทใกล้แยกปทุมวันทรุดตัวเป็นหลุมลึก 1 เมตร

    </TD></TR></TBODY></TABLE></B>
    <TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%"><TBODY><TR><TD vAlign=middle align=center>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>
    <TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%"><TBODY><TR><TD vAlign=middle align=center>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>
    <TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%"><TBODY><TR><TD vAlign=middle align=center>[​IMG]</TD></TR><TR><TD vAlign=baseline align=center>สาเหตุเกิดจากทรายใต้พื้นถนนไหลเข้าบ่อพักในท่อระบายน้ำจนเป็นโพรงใต้ถนน</TD></TR></TBODY></TABLE>
    <TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%"><TBODY><TR><TD vAlign=middle align=center>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>
    <TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%"><TBODY><TR><TD vAlign=middle align=center>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>
    <TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%"><TBODY><TR><TD vAlign=middle align=center>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>

    </TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE></B>
    ทรุดอีก ! ถนนพญาไทใกล้แยกปทุมวัน ทรุดตัวเป็นหลุมลึก 1 เมตร

    ขณะผอ.สำนักงานเขตปทุมวัน เผย สาเหตุเกิดจาก ทรายใต้พื้นถนนไหลเข้าบ่อพักในท่อระบายน้ำ จนเป็นโพรงใต้ถนน

    เตรียมใช้เครื่อง GPR สแกนดูใต้พื้นผิวถนนดั่งเช่นเหตุการณ์ถนนยุบย่านพระรามสี่ เพื่อตรวจสอบหาความเสียหายต่อไป

    วันนี้ (11 เม.ย.) เมื่อเวลา 08.00 น. นางภาวิณี อามาตยทัศน์ ผอ.สำนักงานเขตปทุมวัน รับแจ้งมีถนนทรุดบริเวณถนนพญาไท ขาออก ซึ่งเปิดเป็นช่องทางพิเศษให้เลี้ยวขวาสวนทางไปสนามกีฬาแห่งชาติ หรือแยกอุรุพงษ์ ใกล้แยกปทุมวัน หน้าหอศิลปวัฒนะธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร แขวงวังใหม่ เขตปทุมวัน

    กทม.จึงประสานเจ้าหน้าที่สำนักการระบายน้ำ สำนักการโยธาธิการ กทม. และเจ้าหน้าที่ตำรวจ สน.ปทุมวัน มาตรวจสอบ

    ที่เกิดเหตุ ร.ต.ท.จำนงค์ ปานนนท์ รอง สว.จร. สน.ปทุมวัน ได้ทำการปิดกั้นการจรจาจรให้เหลือช่องทางเดียว เพื่อให้รถสัญจรไปมาได้ และเพื่อให้เจ้าหน้าที่ทำงานได้อย่างสะดวก

    จึงส่งผลให้การจราจรติดขัดเป็นอย่างมาก ซึ่งจากกาารตรวจสอบพบหลุมลึกขนาด 1 เมตร กว้างประมาณ 60 ซม. อยู่ติดกับท่อระบายน้ำกลางพื้นผิวจราจร

    จากนั้นเจ้าหน้าที่สำนักการโยธาฯ ได้นำรถแบ็คโฮมาขุดพื้นถนนที่ทรุดตัวให้เป็นวงกว้าง เพื่อที่จะให้สำนักงานระบายน้ำเข้าตรวจสอบสาเหตุว่าเกิดจากอะไร และสำรวจการซ่อมแซมว่าต้องทำอย่างไรบ้าง

    จากการสอบถามนางราณี สังข์วิเศษ อายุ 43 ปี พนักงานกวาดถนนของสำนักงานเขตปทุมวัน กล่าวว่า ก่อนเกิดเวลาประมาณ 05.00 น. ตนมาปฏิบัติหน้าที่กวาดถนนตามปกติตั้งแต่ถนนพญาไท ตรงหน้าหอศิลป์ กทม.ไปจนถึงปากซอยเกษมสันต์ 1 ช่วงนั้นยังไม่อะไรผิดปกติ

    จากนั้นเวลาประมาณ 06.00 น.เห็นรถขยะมาจอดติดสัญญาณไฟแดงอยู่ตรงบริเวณที่เกิดหลุม พอรถเคลื่อนออกไปก็พบว่าพื้นถนนทรุดตัวลงเล็กน้อย แต่ตนไม่ได้คิดอะไร

    กระทั่งเวลาประมาณ 06.40 น. ตนกวาดพื้นถนนอยู่บนเกาะกลางถนนกลางแยกปทุมวัน ก็สังเกตเห็นว่าพื้นถนนบริเวณดังกล่าวเกิดยุบตัวลงไปมากกว่าเดิม จึงรีบนำถุงทรายมาวางปิดปากหลุม เพื่อกันไม่ให้เกิดอุบัติเหตุ ก่อนแจ้งหัวหน้าให้รายงานให้ทางเขตทราบ

    ด้านนางภาวิณี กว่าวว่า สำหรับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ตนได้รับแจ้งจากเจ้าหน้าที่กวาดถนนตั้งแต่เวลาประมาณ 08.00 น.ว่ามีพื้นถนนทรุดเป็นวงกว้าง จึงได้ประสานเจ้าหน้าที่สำนักการโยธาฯ และสำนักการระบายน้ำมาตรวจสอบ

    ซึ่งพบว่าสาเหตุเกิดจากทรายใต้พื้นถนนเกิดไหลเข้าไปในบ่อพักในท่อระบายน้ำใต้พื้นถนน จึงได้ให้ทางสำนักการโยธาฯ ขุดพื้นถนนตรวจสอบความเสียหาย และสำนักงานการระบายน้ำตรวจสอบดูว่าจะต้องซ่อมแซมอย่างไร

    อย่างไรก็ตาม จากนั้นจะใช้เครื่อง GPR ซึ่งเป็นตัวเดียวกับที่ใช้ตรวจพื้นถนนตรงถนนพระรามสี่ มาสแกนดูว่าใต้พื้นผิวถนนเป็นอย่างไร และมีความเสียหายอย่างไร หลังจากนั้นจะได้ทำการซ่อมแซมพื้นถนนใหม่อีกครั้ง คาดว่าใช้เวลาประมาณครึ่งวันน่าจะเสร็จ

    ทางด้าน ร.ต.ท.จำนงค์ กว่าวว่า เมื่อช่วงเช้าที่ผ่านมาเจ้าหน้าที่ตำรวจที่เข้าเวรอยู่ภายในป้อมแยกปทุมวันได้แจ้งกับตนว่ามีถนนทรุดตัว ซึ่งได้เดินทางมาตรวจสอบพร้อมอำนวยความสะดวกให้กับเจ้าหน้าที่ใช้เครื่องจักรหนักทำงาน และอำนวยความสะดวกในการจราจรด้วย เพื่อให้เจ้าหน้าที่ทำงานได้อย่างรวดเร็ว และเพื่อให้การจราจรคล่องตัวมากยิ่งขึ้น


    </TD></TR><TR><TD></TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=4 width="100%"><TBODY><TR><TD vAlign=middle align=center>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE><!-- google_ad_section_end -->
    __________________
    <!-- google_ad_section_start(weight=ignore) -->
     
  2. tanakorn_ss

    tanakorn_ss ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2009
    โพสต์:
    1,792
    ค่าพลัง:
    +5,747
    update ดินไหว'8.9ริกเตอร์'สุมาตราสั่งอพยพ

    แผ่นดินไหว 8.9 ริกเตอร์ เหนือเกาะสุมาตราใกล้จุดเกิดสึนามิภาคใต้ของใต้สั่นทั่วภูเก็ต-สยามสแควร์ สะเทือน ไอซีทีสั่งอพยพ อินโดนีเซียประกาศเตือนภัยสึนามิแล้ว

    11เม.ย.2555 ศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติ หรือ ศภช. ระบุว่า เมื่อเวลา 15.38 น. เกิดแผ่นดินไหวในทะเล 8.9 ริกเตอร์ บริเวณตอนเหนือของเกาะสุมาตรา ประเทศอินโดนีเซีย ความลึก 10 กิโลเมตร จึงขอแจ้งเตือนภัยเพื่ออพยพประชาชนไปที่ปลอดภัยโดยเร็ว และติดตามข้อมูลเพิ่มเติมจากศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติ ทั้งนี้สั่งอพยพประชาชน 6 จังหวัดที่เคยเกิดสึนามิไว้ก่อน

    ขณะที่นายสมชาย ใบม่วง รองอธิบดีกรมอุตุนิยมวิทยา กล่าวว่า เมื่อเวลา 15.54 น. ขนาด 8.6 ริกเตอร์ ความแรงคำนวณได้ 8.6 ริกเตอร์ เหนือเกาะสุมาตรา ใกล้เคียงกับสึนามิที่เคยเกิดขึ้นทางภาคใต้ของไทย ขณะนี้กำลังเฝ้าระวังและติดตามอยู่ ซึ่งตามหลักเกณฑ์ถ้าเกิน 7.5 ริกเตอร์ ต้องระมัดระวังว่าจะเกิดสึนามิ อย่างไรก็ตาม ทางกระทรวงไอซีทีได้ประกาศพื้นที่เสี่ยงภัยและสั่งอพยพแล้ว
    แผ่นดินไหวครั้งนี้รับรู้แรงสั่นสะเทือนถึงภาคใต้ของไทยรวมถึงกรุงเทพมหานคร โดยผู้สื่อข่าวรายงานจาก อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา ว่าได้รับรู้ถึงแรงสั่นสะเทือนจากเหตุแผ่นดินไหวครั้งนี้ ทำให้ประชาชนแตกตื่น ลงมาจากตึกขนาดใหญ่กันทั่วเมือง
    ที่บริเวณโรงแรมลีการ์เดนส์ พล่าซ่า อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา ประชาชนต่างแตกตื่นออกมาจากตึกสูง เพราะคิดว่าตึกจะถล่ม โดยพนักงานและประชาชนที่อยู่ในโรงแรมต่างรีบหนีออกมาอยู่ที่ถนน เพราะรับรู้ถึงแรงสั่นสะเทือนแผ่นดินไหว และไม่ใครกล้ากลับเข้าไปภายในอาคาร เพราะไม่มั่นใจในความปลอดภัย
    ผู้ว่าฯสงขลาเกาะติดที่หาดสมิหลา

    นายกฤษฎา บุญราช ผู้ว่าราชการจังหวัดสงขลา เปิดเผยว่า จากเหตุการณ์แผ่นดินไหวขณะนี้ได้สั่งการให้เจ้าหน้าที่ทุกภาคส่วนเตรียมความ พร้อม รับมือสถานการณ์โดยเฉพาะอาคารสูงที่สามารถสัมผัสและรับรู้แรงสั่นสะเทือนได้ อย่างชัดเจน นอกจากนี้ยังได้สั่งการให้เฝ้าระวังพื้นที่ชายฝั่งหาดสมิหลา โดยได้ไปบัญชาการบริเวณหาดสมิหลาด้วยตัวเอง ซึ่งขณะนี้ยังไม่มีรายงานการเกิดสึนามิบริเวณชายฝั่งอันดามัน แต่อย่างไรก็ได้แจ้งเตือนให้ทุกฝ่ายเฝ้าระวังสถานการณือย่างใกล้ชิด และไม่ประมาทในสถานการณ์ครั้งนี้
    ขณะเดียวกันที่ จ.สตูล ยะลา ก็รับรู้ถึงแรงสั่นสะเทือนเช่นกัน
    ด้านจังหวัดภูเก็ตรับรู้ได้ทั้งเกาะ แม้จะอยู่ในพื้นที่ราบ และขณะนี้โทรศัพท์ไม่สามารถที่จะติดต่อได้สะดวก บางพื้นที่ ประชาชนแตกตื่นและอพยพแล้ว โดยเฉพาะชายหาดป่าตอง อ. กะทู้ จ. ภูเก็ต ที่เป็นศูนย์กลางการท่องเที่ยวและเคยเกิดเเหตุสึนามิ รายงานข่าวล่าสุด ทุ่นในทะเล ตรวจพบคลื่นสึนามิสูงประมาณ 40 เซนติเมตร
    ส่วนที่ตึกวิทยกิจ สยามสแควร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ที่เป็นตึกสูง 20 ชั้น รับรู้ได้ถึงการสั่นไหว พนักงานวิ่งหนีตายอลม่านลงมาชั้นล่าง

    เตือนอย่าประมาทหวั่นเกิดสึนามิจว.ใต้

    นายไพบูลย์ นวลนิล นักวิชาการแผ่นดินไหววิทยา ระบุว่า เพื่อความปลอดภัยขอให้ประชาชนที่อยู่ในพื้นที่เกิดสึนามิ 6 จังหวัดทะเลอันดามัน ให้อยู่ห่างฝั่ง ซึ่งมีเวลาเตรียมตัว 1-1.30 ชม.สึนามิจะถึงฝั่ง ขณะนี้ศูนย์เตือนภัยกำลังติดตามและตรวจสอบ ส่วนอ่าวไทยไม่มีผลกระทบ ขอให้ ปชช. อย่าตกอยู่ในความประมาท และให้ติดตามข่าวสารอย่างใกล้ชิด

    ผู้เชี่ยวชาญคาดสึนามิเข้าภูเก็ต16.48น.

    ดร.เสรี ศุภราทิตย์ อ.ด้านวิศวะกรรมภัยพิบัติ และผู้เชี่ยวชาญด้านแผ่นดินไหว เปิดเผยว่า เหตุแผ่นดินไหวที่เกิดขึ้น ส่วนตัวแล้วเชื่อว่า จะทำให้เกิดคลื่นยักษ์สึนามิ อย่างแน่นอน ทั้งนี้ โดยคลื่นนั้นอาจจะเข้าที่ จ.ภูเก็ต ในช่วงเวลา 16.48 น. และจะเข้าที่ จ.กระบี่ และ จ.ระนอง ในช่วงเวลา 17.58 น. ส่วนคลื่นจะสูงขนาดไหนนั้น จะต้องมีการตรวจสอบอีกครั้ง

    ปภ.ระบุหอเตือนภัย69แห่งแจ้งเตือนประชาชนแล้ว
    นายอนุสรณ์ แก้งกังวาน รอง อธิบดีกรมป้องกันภัย เปิดเผยว่า หลังเกิดเหตุแผ่นดินไหวที่เกาะสุมาตรา ทางกรมป้องกันฯ ได้ทำการแจ้งเตือนประชาชนในพื้นที่เสี่ยงไปหมดแล้ว โดยมีด้วยกัน 6 จังหวัดในฝั่งอันดามัน คือ ระนอง พังงา ภูเก็ต กระบี่ ตรัง และสตูล โดยมีการกดสัญญาณเตือนภัยใน 69 หอเตือนภัยไปหมดแล้ว ส่วน อบต.ในพื้นที่เสี่ยง ก็ให้มีการวิ่งรถกระจายเสียง เพื่อประชาสัมพันธ์ในประชาชนได้รับทราบ โดยในช่วงเวลา 17.09 น.คลื่นสึนามิ ก็จะเข้าที่เกาะเวียน จ.พังงา เป็นที่แรก จากนั้นคลื่นก็จะเข้าตามหาดต่างๆ ในพื้นที่ของ จ.ภูเก็ต ตามมาด้วย จ.กระบี่ จ.ตรัง จ.ระนอง ส่วน จ.สตูล จะเข้าเป็นจังหวัดสุดท้าย คือในช่วงเวลา 21.00 น. โดยจุดเกิดเหตุอยู่ห่างจากประเทศไทย ประมาณ 2,500 ไมล์ทะเล
    นายอนุสรณ์ กล่าวอีกว่า สำหรับการอพยพประชาชนนั้น ทางเจ้าหน้าที่ได้รับทราบแผ่นการป้องกันอยู่แล้ว ว่าควรที่จะใช้เส้นทางใด และควรที่จะอพยพไปอยู่ในบริเวณใด และขณะนี้ทราบว่า มีประชาชนบางส่วนได้มีการอพยพออกมาจากบ้านแล้ว ส่วนที่ยังไม่อพยพนั้น ก็จะใช้รถกระจายเสียงเข้าไปในพื้นที่ เพื่อไปเคราะประตูของชาวบ้าน เพื่อแจ้งเตือนอีกครั้ง

    อินโดนีเซียประกาศเตือนภัยสึนามิแล้ว

    ทั้งนี้ทางประเทศอินโดนีเซียได้ประกาศเตือนภัยสึนามิแล้ว หลังเกิดแผ่นดินไหววัดแรงสั่นสะเทือนได้ 8.9 ริคเตอร์ในบริเวณน่านน้ำนอกชายฝั่งทางตะวันตกของจังหวัดอาเจะห์ บนเกาะสุมาตราของประเทศอินโดนีเซีย
    สำนักงานจัดการภัยพิบัติของอินโดนีเซีย ระบุว่า เกิดไฟฟ้าดับที่จังหวัดอาเจะห์ และประชาชนต่างพากันหนีขึ้นที่สูง ท่ามกลางเสียงไซเรนเตือนภัยดังอย่างต่อเนื่อง และสำนักงานอุตุนิยมวิทยาและธรณีวิทยาได้ลดระดับความรุนแรงของแผ่นดินไหวลง เหลือ 8.5 ริคเตอร์ นอกจากกระแสไฟฟ้าดับแล้ว การจราจรยังติดขัด เนื่องจากประชาชนพากันหลั่งไหลขึ้นที่สูงเสียงไซเรนและเสียงสวดพระคัมภีร์ อัล กุรอ่าน ดังผ่านเครื่องขนายเสียงจากมัสยิดทุกแห่ง

    อินโดนีเซียเกิดอาฟเตอร์ช็อคซ้ำ
    สำนักงานบรรเทาภัยพิบัติของอินโดนีเซีย ได้รายงานการเกิดอาฟเตอร์ช็อคขนาด 6.5 ริคเตอร์ หลังเกิดแผ่นดินไหวดังกล่าว ณะที่สำนักงานบรรเทาภัยพิบัติของอินโดนีเซีย กำลังเตรียมจะส่งทีมกู้ภัยไปยังจังหวัดอาเจะห์
    เตือนภัยสึนามิในหลายประเทศ
    สำนักงานสำรวจทางธรณีวิทยาของสหรัฐ ระบุว่า แผ่นดินไหวดังกล่าว มีศูนย์กลางการเกิดอยู่ลึกลงไปใต้พื้นมหาสมุทร ห่างจากกรุงบันดาอาเจะห์ เมืองเอกของจังหวัดอาเจะห์ ราว495 กิโลเมตร เจ้าหน้าที่สำนักงานอุตุนิยมวิทยาและธรณีวิทยา ระบุว่า ได้มีการประกาศเตือนภัยสึนามิ

    ทั้งนี้สำนักงานสำรวจทางธรณีวิทยาของสหรัฐ ได้ประกาศเตือนภัยสึนามิทั่วมหาสมุทรอินเดีย หลังเกิดแผ่นดินไหว เมื่อเวลา 14.38 น. ตามเวลาท้องถิ่น หรือราว 15.38 น. ตามเวลาในไทยโดยอยู่ลึกลงไปใต้ก้นมหาสมุทร 33 กิโลเมตร และห่างจากเมืองบันดา อาเจะห์ เมืองเอกของจังหวัดอาเจะห์ ทางเหนือของเกาะสุมาตรา 435 กิโลเมตร ทั้งอยู่ในแนวเดียวกับที่เคยเกิดสึนามิในมหาสมุทรอินเดีย เมื่อปี 2547 อีกด้วย
    ศูนย์บริการข้อมูลแห่งชาติในมหาสมุทรของอินเดีย ได้ประกาศเตือนภัยสีแดง ซึ่งเป็นระดับสูงสุด ที่เกาะอันดามันและนิโคบาร์ส และยังเตือนภัยระดับน้ำที่ลดลงอย่างฮวบฮาบที่ชายฝั่ง ของรัฐอันตระประเทศ และรัฐทมิฬนาดู ทางตะวันออกเฉียงใต้ของประเทศ ขณะที่ศรีลังกาประกาศเตือนภัยสึนามิทั่วทั้งเกาะ
    ด้านศูนย์เตือนภัยสึนามิในแปซิฟิกของสหรัฐ ระบุว่า ได้เฝ้าระวังสึนามิในหลายประเทศ ตั้งแต่อินโดนีเซีย ไทย อินเดีย ออสเตรเลีย หมู่เกาะซีเชลส์ , โซมาเลีย , โอมาน และแอฟริกาใต้ แต่ยังไม่พบการก่อตัวของคลื่นยักษ์แต่อย่างใด แต่การเกิดแผ่นดินไหวรุนแรงขนาดนี้ ก่อให้เกิดความเป็นไปได้ที่จะเกิดคลื่นสึนามิที่สามารถสร้างความเสียหาย
    ในบริเวณกว้าง ทั่วพื้นที่ตลอดแนวชายฝั่งมหาสมุทรอินเดีย
    ขณะนี้ยังไม่มีรายงานผู้บาดเจ็บหรือความเสียหาย แต่ประชาชนบนเกาะสุมาตราได้พากันวิ่งหนีออกจากบ้านเรือนด้วยความตื่นตระหนก

    ที่มา:

     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 11 เมษายน 2012
  3. tanakorn_ss

    tanakorn_ss ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2009
    โพสต์:
    1,792
    ค่าพลัง:
    +5,747
    [​IMG]


    แผ่นดินไหวอีกที่เม็กซิโก 7.0 ริกเตอร์ ไร้เตือนสึนามิ



    [​IMG]


    ยูเอสจีเอส รายงานเกิดแผ่นดินไหวขนาด 7.0 ริกเตอร์ในเม็กซิโก ไม่มีรายงานเกิดคลื่นยักษ์สึนามิ ด้านศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติ ยันไม่มีผลกระทบต่อประเทศไทย...

    สำนักงานสำรวจธรณีวิทยาของสหรัฐฯ (USGS) รายงานว่า เมื่อเวลา 05.55 น. วันที่ 12 เม.ย. ตามเวลาในประเทศไทย เกิดแผ่นดินไหวขนาด 7.0 ริกเตอร์ ที่เมืองมิชอคัน ประเทศเม็กซิโก ศูนย์กลางของแผ่นดินไหวอยู่ลึกลงไปใต้พื้นดิน 84 กิโลเมตร ซึ่งประชาชนในกรุงเม็กซิโก ซิตี สามารถรับรู้ถึงแรงสั่นสะเทือน ทำให้ผู้ที่อาศัยอยู่บนตึกสูงวิ่งหนีลงจากอาคาร และไปรวมตัวกันอยู่บนถนนเป็นจำนวนมาก เบื้องต้นยังไม่มีรายงานการเกิดคลื่นยักษ์สึนามิ หรือความเสียหายจากเหตุการณ์ดังกล่าว
    ด้านศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติ ระบุ เหตุดังกล่าวไม่มีผลกระทบต่อประเทศไทย.

    [​IMG]
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 12 เมษายน 2012
  4. tanakorn_ss

    tanakorn_ss ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2009
    โพสต์:
    1,792
    ค่าพลัง:
    +5,747
    ข้อปฎิบัติให้ปลอดภัยจากพิบัติภัยแผ่นดินไหว



    [​IMG]

    [​IMG]



    [​IMG]



    [​IMG]



    [​IMG]



    [​IMG]



    [​IMG]



    [​IMG]


    ข้อปฏิบัติในการป้องกันและบรรเทาภัยจากแผ่นดินไหวก่อนเกิดแผ่นดินไหว

    - ควรจัดเตรียมเครื่องอุปโภคบริโภคที่จำเป็น เช่น ถ่านไฟฉาย ไฟฉาย อุปกรณ์ดับเพลิง น้ำดื่ม น้ำใช้ อาหารแห้งไว้ใช้ในกรณีไฟฟ้าดับหรือกรณีฉุกเฉินอื่น ๆ

    - ควรจัดหาเครื่องรับวิทยุ ที่ใช้ถ่านไฟฉายหรือแบตเตอรี่ สำหรับเปิดฟังข่าวสารคำเตือน คำแนะนำและสถานการณ์ต่าง ๆ

    - ควรจัดเตรียมอุปกรณ์นิรภัย สำหรับการช่วยชีวิต

    - ควรเตรียมยารักษาโรค และเวชภัณฑ์ให้พร้อมที่จะใช้ในการปฐมพยาบาลเบื้องต้น

    - ควรจัดให้มีการศึกษาถึงการปฐมพยาบาล เพื่อเป็นการเตรียมพร้อมที่จะช่วยเหลือผู้ที่ได้รับบาดเจ็บ หรืออันตรายให้พ้นขีดอันตรายก่อนที่จะถึงมือแพทย์

    - ควรทราบตำแหน่งของวาล์ว เปิด-ปิดน้ำ ตำแหน่งของสะพานไฟฟ้า เพื่อตัดตอนการส่งน้ำ และไฟฟ้า

    - ควรยึดเครื่องเรือน เครื่องใช้ไม้สอย ภายในบ้าน ที่ทำงาน และในสถานศึกษาให้ความมั่นคงแน่นหนา ไม่โยกแยกโคลงแคลงไปทำความเสียหายแก่ชีวิตและทรัพย์สิน

    - ไม่ควรวางสิ่งของที่มีน้ำหนักมาก ๆ ไว้ในที่สูง เพราะอาจล่วงหล่นมาทำความเสียหายหรือเป็นอันตรายได้

    - ควรมีการเตรียมการอพยพเคลื่อนย้าย หากถึงเวลาที่จะต้องอพยพ

    - ควรมีการวางแผนป้องกันภัยสำหรับครอบครัว ที่ทำงาน และสถานที่ศึกษา มีการชี้แจงบทบาทที่สมาชิกแต่ละบุคคลจะต้องปฏิบัติ มีการฝึกซ้อมแผนที่จัดทำไว้ เพื่อเพิ่มลักษณะและความคล่องตัวในการปฏิบัติเมื่อเกิดเหตุการณ์ฉุกเฉิน


    ขณะเกิดแผ่นดินไหว
    - ให้ตั้งอยู่ในสติ อยู่ในที่ที่แข็งแรงปลอดภัย ห่างจากประตู หน้าต่าง สายไฟฟ้า อุปกรณ์ไฟฟ้า และสิ่งห้อยแขวน

    - ปฏิบัติตามคำแนะนำ ข้อควรปฏิบัติของทางราชการอย่างเคร่งครัดไม่ตื่นตระหนกจนเกินไป

    - ไม่ควรทำให้เกิดประกายไฟ เพราะหากมีการรั่วซึมของแก๊สหรือวัตถุไวไฟ อาจเกิดภัยพิบัติจากไฟไหม้ ไฟลวก ซ้ำซ้อนกับแผ่นดินไหวเพิ่มขึ้นอีก

    - ควรเปิดวิทยุรับฟังสถานการณ์ คำแนะนำคำเตือนต่าง ๆ จากทางราชการอย่างต่อเนื่อง

    - ไม่ควรใช้ลิฟต์ เพราะหากไฟฟ้าดังอาจมีอันตรายจากการติดอยู่ภายใต้ลิฟต์

    - มุดเข้าไปนอนใต้เตียงหรือตั่ง อย่าอยู่ใต้คานหรือที่ ๆ มีน้ำหนักมาก

    - อยู่ใต้โต๊ะที่แข็งแรง เพื่อป้องกันอันตรายจากสิ่งปรักหักพังร่วงหล่นลงมา

    - อยู่ห่างจากสิ่งที่ไม่มั่นคงแข็งแรง

    - ให้รีบออกจากอาคารเมื่อมีการสั่งการจากผู้ที่ควบคุมแผนป้องกันภัย หรือผู้ที่รับผิดชอบในเรื่องนี้

    - หากอยู่ในรถ ให้หยุดรถจนกว่าแผ่นดินจะหยุดไหวหรือสั่นสะเทือนหลังเกิดแผ่นดินไหว

    - ตรวจเช็คการบาดเจ็บ และการทำการปฐมพยาบาลผู้ที่ได้รับบาดเจ็บแล้วรีบนำส่งโรงพยาบาลผู้ที่ได้รับ บาดเจ็บแล้วรีบนำส่งโรงพยาบาลโดยด่วน เพื่อให้แพทย์ได้ทำการรักษาต่อไป

    - ตรวจเช็คระบบน้ำ ไฟฟ้า หากมีการรั่วซึมหรือชำรุดเสียหาย ให้ปิดวาล์ว เพื่อป้องกันน้ำท่วมเอ่อ ยกสะพานไฟฟ้า เพื่อป้องกันไฟฟ้ารั่ว ไฟฟ้าดูด หรือไฟฟ้าช็อต

    - ตรวจเช็คระบบแก๊ส โดยวิธีการดมกลิ่นเท่านั้น หากพบว่ามีการรั่วซึมของแก๊ส (มีกลิ่น) ให้เปิดประตูหน้าต่าง แล้วออกจากอาคาร แจ้งเจ้าหน้าที่ป้องกันภัยฝ่ายพลเรือนผู้ที่รับผิดชอบได้ทรายในโอกาสต่อไป

    - เปิดฟังข่าวสารและปฏิบัติตามคำแนะนำ จากทางราชการอย่างขวัญดีโดยตลอด

    - ไม่ใช้โทรศัพท์โดยไม่จำเป็น

    - อย่ากดน้ำล้างส้วม จนกว่าจะมีการตรวจเช็คระบบท่อเป็นที่เรียบร้อยแล้ว เพราะอาจเกิดการแตกหักของท่อในส้วม ทำให้น้ำท่วมเอ่อหรือส่งกลิ่นที่ไม่พึงปรารถนาออกมาทำลายสุขภาพจิต

    - ให้ออกจากอาคารที่ชำรุดโดยด่วน เพราะอาจเกิดการพังทลายลงมา

    - ให้สวมรองเท้ายางเพื่อป้องกันสิ่งปรักหักพัง เศษแก้ว เศษกระเบื้อง

    - ให้ไปรวมพล ณ ที่หมายที่ได้ตกลงนัดหมายกันไว้ และตรวจนับจำนวนสมาชิกว่าอยู่ครบหรือไม่

    - ปล่อยให้เจ้าหน้าที่ได้เข้าปฏิบัติงานในบริเวณที่ได้รับความเสียหาย ผู้ไม่มีหน้าที่หรือไม่เกี่ยวข้อง ไม่ควรเข้าไปในบริเวณนั้น ๆ หากไม่ได้รับการอนุญาต

    - ออกจากชายฝั่ง เพราะอาจเกิดคลื่นใต้น้ำซัดฝั่งได้ แม้ว่าการสั่นสะเทือนของแผ่นดินจะสิ้นสุดลงแล้วก็ตาม



    ขอขอบคุณข้อมูลจาก
    กรมทรัพยากรธรณี กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
     
  5. tanakorn_ss

    tanakorn_ss ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2009
    โพสต์:
    1,792
    ค่าพลัง:
    +5,747
    เขื่อนศรีนครินทร์ ยันเหตุแผ่นดินไหวไม่กระทบ

    [​IMG]

    เขื่อนศรีนครินทร์ ยันเหตุแผ่นดินไหวไม่กระทบ (ไอเอ็นเอ็น)

    ผอ.เขื่อนศรีนครินทร์ ยันแผ่นดินไหวเกาะสุมาตรา 8.9 ริกเตอร์ ไม่กระทบเขื่อน แจงระบบตรวจวัดข้อมูลอัตโนมัติ ชี้ผลแม่นยำ

    เมื่อ วันที่ 12 เมษายน นายบุญอินทร์ ชื่นชวลิต ผู้อำนวยการเขื่อนศรีนครินทร์ กล่าวว่า จากเหตุการณ์แผ่นดินไหวที่เกาะสุมาตรา ประเทศอินโดนีเซีย ขนาด 8.9 ริกเตอร์ ซึ่งสามารถรู้สึกความสั่นไหวได้ที่ตึกสูงใน กทม. ทางเขื่อนศรีนครินทร์ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย ได้ทำการตรวจสอบข้อมูลจากเครื่องตรวจวัดแผ่นดินไหวที่ติดตั้งในบริเวณ เขื่อนฯ แล้ว พบว่าไม่มีแรงกระทำมาถึงตัวเขื่อน

    "เนื่องจากอยู่ไกลจากศูนย์กลางแผ่นดินไหว ซึ่งห่างจากเขื่อนศรีนครินทร์ประมาณ 1,495 กิโลเมตร และห่างจากเขื่อนบางลาง ประมาณ 969 กิโลเมตร และห่างจากเขื่อนรัชชประภา ประมาณ 1,003 กิโลเมตร ทางเขื่อนได้นำเอาระบบตรวจวัดข้อมูลแบบอัตโนมัติมาติดตั้งใช้งานที่เขื่อน โดยเป็นระบบตรวจวัดข้อมูลที่ครอบคลุมข้อมูลด้านพฤติกรรมเขื่อน ข้อมูลอุตุ - อุทกวิทยาและข้อมูลแผ่นดินไหว สามารถประมวลผลข้อมูลเบื้องต้น แสดงผลเป็นรูปกราฟ และหากมีข้อมูลที่ผิดปกติ ก็สามารถแจ้งเตือนให้ตรวจสอบได้ทันที" ผู้อำนวยการเขื่อนศรีนครินทร์ กล่าว

     
  6. kiatp123

    kiatp123 โมฆะแมน

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 พฤษภาคม 2010
    โพสต์:
    3,493
    ค่าพลัง:
    +19,616
    ซุดยอด ซุดยอด
    :cool::cool::cool::cool:
    แต่หลังจากแผ่นดินไหวที่ญี่ปุ่นและอินโดฯแล้ว
    นักธรณีวิทยาแผ่นดินไหวทั้งหลายต้องฉีกตำราทิ้งกันเป็นแถว
    :boo::boo::boo::boo::boo:
     
  7. tanakorn_ss

    tanakorn_ss ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2009
    โพสต์:
    1,792
    ค่าพลัง:
    +5,747
    ดินไหว 6.0 ในทะเลนอกเกาะฮอนชู ไม่มีเตือนสึนามิ

    [​IMG]


    ยูเอสจีเอสรายงาน เกิดแผ่นดินไหวระดับ 6.0 ริกเตอร์ ในทะเลทางตะวันออกของเกาะฮอนชู ประเทศญี่ปุ่น แต่ไม่มีการประกาศเตือนภัยสึนามิ...

    สำนัก ข่าวต่างประเทศรายงานเมื่อวันที่ 13 เม.ย. อ้างข้อมูลจากสำนักสำรวจธรณีวิทยาแห่งชาติสหรัฐฯ (ยูเอสจีเอส) ว่า เมื่อเวลาประมาณ 17.10 น. ตามเวลาประเทศไทย เกิดแผ่นดินไหวระดับ 6.0 ริกเตอร์ ในทะเลทางตะวันออกของเกาะฮอนชู ประเทศญี่ปุ่น โดยจุดศูนย์กลางแผ่นดินไหว อยู่ลึกลงไปใต้ทะเลราว 13.6 กม.

    จุดศูนย์ กลางแผ่นดินไหวอยู่ห่างจากเมืองอิวากิ ของจังหวักฟูกูชิมา ไปทางตะวันออกราว 39 กม. และอยู่ห่างจากรุงโตเกียวไปทางตะวันออกเฉียงเหนือ ประมาณ 202 กม. อย่างไรก็ดี ยังไม่มีรายงานความเสียหายใดจากพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบ รวมถึงไม่มีรายงานการประกาศเตือนภัยสึนามิด้วย.

    ที่มา:ดินไหว 6.0 ในทะเลนอกเกาะฮอนชู ไม่มีเตือนสึนามิ - ข่าวไทยรัฐออนไลน์
     
  8. tanakorn_ss

    tanakorn_ss ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2009
    โพสต์:
    1,792
    ค่าพลัง:
    +5,747
    [​IMG] <small>วันศุกร์ที่ 13 เมษายน พ.ศ.2555</small>



    สึนามิลูกแรกถล่มอินโดฯแล้ว ทางการอิเหนาเตือนคลื่นอาจสูง 6 เมตร

    [​IMG]

    คลื่นสึนามิลูกแรกซึ่งมีความสูงขั้นต่ำ 17 เซนติเมตรได้ซัดถล่มพื้นที่แถบชายฝั่งทางตอนเหนือของเกาะสุมาตรา อินโดนีเซีย แล้ว เบื้องต้นยังไม่มีรายงานความเสียหายที่ชัดเจน แต่ทางการอินโดนีเซียยืนยัน อาจเกิดสึนามิสูง 6 เมตร ถล่มจังหวัดอาเจะห์ภายในไม่กี่ชั่วโมง...
    สำนักข่าวต่างประเทศรายงาน เมื่อเวลา 17.00 น. วันที่ 11 เม.ย.ว่า คลื่นสึนามิลูกแรก ซึ่งมีความสูงขั้นต่ำ 17 เซนติเมตร ได้ซัดถล่มพื้นที่แถบชายฝั่งทางตอนเหนือของเกาะสุมาตรา อินโดนีเซีย แล้ว แต่เบื้องต้นยังไม่มีรายงานความเสียหายที่ชัดเจน ขณะที่ทางการอินโดนีเซียยืนยันอาจเกิดสึนามิสูงถึง 6 เมตรถล่มจังหวัดอาเจะห์ ที่มีประชากรอาศัยอยู่อย่างหนาแน่นกว่า 4.5 ล้านคน
    ด้าน ประธานาธิบดีซูซิโล บัมบัง ยุโดโยโน ผู้นำอินโดนีเซีย ออกแถลงการณ์ที่กรุงจาการ์ตา ย้ำประชาชนชาวอินโดนีเซีย อย่าตื่นตระหนก แม้มีความเป็นไปได้ที่คลื่นยักษ์ที่กำลังมุ่งหน้าเข้าสู่จังหวัดอาเจะห์ อาจมีความสูงถึง 6 เมตรก็ตาม
    ขณะที่รัฐบาลอินเดีย ออกประกาศเตือนประชาชนที่อาศัยอยู่บนหมู่เกาะอันดามัน และนิโคบาร์ในทะเลอันดามัน ให้หลบขึ้นพื้นที่สูง หลังมีรายงานพบปรากฏการณ์น้ำทะเลลดต่ำผิดปกติ คล้ายกับเมื่อครั้งที่เกิดสึนามิเมื่อปี ค.ศ. 2004.
     
  9. tanakorn_ss

    tanakorn_ss ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2009
    โพสต์:
    1,792
    ค่าพลัง:
    +5,747
    ขอบคุณมากๆครับ หวังว่าสิ่งที่นำเสนอนี้อาจจะเป็นประโยชน์ต่อส่วนรวมไม่มากก็น้อย

    หากอ่านแล้วพิจารณาเห็นว่ามีประโยชน์ก็ช่วยกันเผยแพร่ข่าวสารต่อๆกันไป เพื่อเป็นสื่อนำในการช่วยสร้างความรู้ความเข้าใจสู่ธารณชนให้เป็นทางเลือกหนึ่งในการเสพข่าวสารอย่างมีวิจารณาญาณ

    หากอ่านแล้วพิจารณาเห็นว่าไม่มีประโยชน์ำไม่มีสาระอย่างไรก็วางเฉย คิดว่าเป็นเรื่องธรรมดา
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 13 เมษายน 2012
  10. tanakorn_ss

    tanakorn_ss ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2009
    โพสต์:
    1,792
    ค่าพลัง:
    +5,747
    สมิทธ เตือนระวังสึนามิ ถล่มอันดามันอีก



    [​IMG]
    สมิทธ เตือนระวังสึนามิ ถล่มอันดามันอีก
    สมิทธ เตือนระวังสึนามิถล่มชายฝั่งอันดามันในอนาคตอันใกล้ ชี้ผลมาจากพายุสุริยะทำให้เปลือกโลกเคลื่อนตัว หวั่นกรุงเทพฯ พังราบเป็นหน้ากอง
    (13 เม.ย.) นายสมิทธ ธรรมสโรช อดีตผู้อำนวยการศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติ กล่าวถึงการกิดแผ่นดินไหวที่บริเวณเกาะสุมาตรา ประเทศอินโดนีเซีย เมื่อวันที่ 11 เม.ย. ที่ผ่านมาว่า ที่ไม่เกิดสินามิเพราะเป็นแผ่นดินไหวแนวราบ และก่อนหน้าเกิดแผ่นดินไหวครั้งนี้ ดร.ก้องภพ อยู่เย็น วิศวกรชาวไทยในองคการนาซ่า ได้ส่งรายงานการเกิดพายุสุริยะ และได้เตือนว่าอาจเกิดแผ่นดินไหวในบริเวณมหาสุมทรอินเดีย เป็นคำเตือนที่ส่งมาให้ตนล่วงหน้า 1 วันก่อนเกิดแผ่นดินไหวที่เกาะสุมาตรา ทำให้ตนเชื่อว่าการเกิดพายุสุริยะ มีผลกระทบต่อเปลือกโลกจริง ในปีนี้จะเกิดพายุสุริยะอีกจำนวนมากไปจนถึงปี 2556 แต่รุนแรงที่สุดในวันที่ 21 ธ.ค. ปีนี้ หรือเป็นตามตัวเลข 21/12/12 ตรงตามปฏิทินชนเผ่ามายาที่ทำนายถึงวันสิ้นโลกเอาไว้
    นายสมิทธ กล่าวว่า มีความเป็นไปได้สูงที่จะเกิดแผ่นดินไหวขนาดใหญ่ในประเทศไทยและรุนแรง ซึ่งจะเกิดความเสียหายมาก โดยเฉพาะกรุงเทพฯ พื้นดินเป็นดินอ่อน หากเกิดแผ่นดินไหวห่างจากกรุงเทพฯไปถึง 350 กิโลเมตร ก็ทำให้กรุงเทพฯ พังราบได้ง่าย ๆ ภาครัฐควรเร่งออกสำรวจสิ่งปลูกสร้างในกรุงเทพฯได้แล้ว และเตรียมมาตรการป้องกันไว้ล่วงหน้าได้ตั้งแต่ตอนนี้ จะทำให้ลดความสูญเสียได้มาก
    นายสมิทธ กล่าวอีกว่า รอยเลื่อนแผ่นดินไหวที่พาดผ่านประเทศไทยมีทั้งหมด 13 รอยเลื่อน โดยเฉพาะรอยเลื่อนในทะเลอันดามันน่าห่วงมากที่สุด บริเวณเกาะสอง จ.ระนอง จ.สุราษฐธานี จ.พังงา จ.กระบี่ เป็นรอยเลื่อนขนาดใหญ่ไปถึงประเทศพม่า รอยเลื่อนพวกนี้มีพลังมาก และถ้าถามว่าไทยจะเกิดคลื่นสึนามิอีกหรือไม่นั้น มีนักวิจัยด้านแผ่นดินไหวชาวไอร์แลนด์ชี้ว่ามีโอกาสที่จะเกิดคลื่นยักษ์ ที่เป็นผลมาจากแผ่นดินไหวที่ชายฝั่งเกาะสุมาตราในอนาคตอันใกล้นี้ และแรงแผ่นดินไหวส่งผลถึงกรุงเทพฯแน่นอน จะเกิดความเสียหายคล้ายกับประเทศเฮติ รวมทั้งมีผลสะท้อนมาจากการไหวอย่างรุนแรงที่ประเทศชิลี ซึ่งอยู่บนแผ่นเปลือกโลกใหญ่แปซิฟิก เคลื่อนตัวมาทางตะวันออกเมื่อเร็วๆนี้ ทำให้อัตราการไหวเพิ่มถึง 80-90 เปอร์เซ็นต์


    ที่มา:สมิทธ เตือนระวังสึนามิ ถล่มอันดามันอีก
     
  11. tanakorn_ss

    tanakorn_ss ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2009
    โพสต์:
    1,792
    ค่าพลัง:
    +5,747
    ภูเก็ตไหวซ้ำ!3.1ริกเตอร์-กทม.รับมือสึนามิ

    ภูเก็ตแผ่นดินไหวซ้ำ! อ.ถลาง3.1ริกเตอร์ รับรู้แรงสั่นสะเทือนได้หลายพื้นที่ ด้าน 'สุขุมพันธุ์' เต้น สั่งกทม.เพิ่มแผนรับมือภัยธรรมชาติจากสึนามิ

    ที่มา:คมชัดลึก




    [​IMG]
    แผ่นดินไหวภูเก็ต ทำบ้านแตกร้าว 34 หลัง
    (17 เม.ย.) นายสมเกียรติ สังข์ขาวสุทธิรักษ์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ตและคณะ ได้ลงพื้นที่ตรวจสอบบริเวณอ่างเก็บน้ำบางเหนียว หมู่ที่ 7 ต.ศรีสุนทร อ.ถลาง จ.ภูเก็ต หลังจากพื้นที่ดังกล่าวอยู่ใกล้กับจุดศูนย์กลางแผ่นดินไหว 4.3 ริกเตอร์ เมื่อเย็นวานนี้ (16 เม.ย.) และหวั่นเกรงว่าจะได้รับผลกระทบ


    อย่างไรก็ตาม จากการตรวจสอบอ่างเก็บน้ำความยาวประมาณ 860 เมตร กว้าง 8 เมตร สูง 30 เมตร มีปริมาณน้ำในอ่างเก็บน้ำประมาณ 5 ล้านลูกบาศก์เมตร ไม่พบความผิดปกติแต่อย่างใด ก่อนที่คณะทำงานจะเข้าตรวจสอบบ้านเรือนประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากเหตุแผ่น ดินไหว ในเขตพื้นที่ภัยพิบัติ บ้านลิพอน-บางขาม หมู่ที่ 2 ต.ศรีสุนทร พบบ้านแตกร้าวและเสาบ้านสึก จำนวน 34 หลัง


    ขณะที่ประชาชนที่อาศัยบนตึกสูง จ.ภูเก็ต ยอมรับว่า วิตกกังวลต่อเหตุแผ่นดินไหวมากขึ้น เพราะในตัวเมือง ไม่มีโอกาสรับรู้ถึงสัญญาณเตือนภัยคลื่นสึนามิ ซึ่งส่วนใหญ่ได้ติดตั้งตามแนวชายหาดเท่านั้น


    ทั้งนี้ จ.ภูเก็ต และอีก 5 จังหวัดชายฝั่งทะเลอันดามันเพิ่งผ่านเหตุการณ์แผ่นดินไหว และ มีการแจ้งเตือนจากศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติว่า เป็นพื้นที่เสี่ยงต่อการเกิดคลื่นยักษ์สึนามิ หลังเกิดแผ่นไหวใกล้เกาะสุมาตราประเทศอินโดนิเซีย เมื่อวันที่ 11 เม.ย.ที่ผ่านมา

    ทั้งนี้ศูนย์เตือนภัยฯ แจ้งเมื่อเวลา 14.13 น. เกิดแผ่นดินไหวในทะเล 7.0 ริกเตอร์ บริเวณชายฝั่งตะวันออกของเกาะนิวกีนี ประเทศปาปัวนิวกีนี ไม่มีผลกระทบต่อไทย
    ปชช.แจ้งบ้านร้าวรวม34หลังแผ่นดินไหวภูเก็ต

    วันเดียวกัน นายสมเกียรติ สังข์ขาวสุทธิรักษ์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ต พร้อมด้วยนายเรวัต อารีรอบ ส.ส.เขต 2 จ.ภูเก็ต พรรคประชาธิปัตย์ นายวรวุฒิ ทรงยศ นายกเทศมนตรีตำบลศรีสุนทร อ.ถลาง นายสันติ์ จันทรวงศ์ ป้องกันและบรรเทาสาธารณจังหวัดภูเก็ต นาย สุวิทย์ โคสุวรรณ ผู้อำนวยการส่วนวิจัยรอยเลื่อนมีพลัง สำนักธรณีวิทยาสิ่งแวดล้อมและธรณีพิบัติภัย กรมทรัพยากรธรณี นายอานนท์ ปถมาทรัพย์ หัวหน้าฝ่ายส่งน้ำบำรุงรักษาที่ 2 อ่างเก็บน้ำบางเหนียวดำ และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง ร่วมกันตรวจสอบอ่างเก็บน้ำบางเหนียว หมู่ที่ 7 ต.ศรีสุนทร อ.ถลาง จ.ภูเก็ต หลังจากเกิดเหตุแผ่นดินไหวศูนย์กลางอยู่บริเวณ ต.ศรีสุนทร ขนาด 4.3 ริกเตอร์ ซึ่งรับรู้ได้ทั่วทั้งจังหวัดภูเก็ต โดยเฉพาะบริเวณพื้นที่ ต.ศรีสุนทร เนื่องจากเกรงว่าจะได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ดังกล่าว
    โดยใช้วิธีการเดินสำรวจเป็นแถวหน้ากระดานเพื่อดูรอยรั่วซึมบริเวณสันเขื่อน ซึ่งมีขนาดความยาวประมาณ 860 เมตร กว้าง 8 เมตร สูง 30 เมตร มีปริมาณน้ำในอ่างเก็บน้ำประมาณ 5 ล้านลูกบาศก์เมตร จากความจุดที่รับได้ประมาณ 7 ล้านลูกบาศก์เมตร ซึ่งไม่พบความผิดปกติแต่อย่างใด หลังจากนั้นคณะทั้งหมดได้ลงพื้นที่บ้านลิพอน-บางขาม หมู่ที่ 2 ต.ศรีสุนทร เพื่อสำรวจความเสียหายของบ้านเรือนประชาชน ซึ่งทางเทศบาลฯ ได้จัดเจ้าหน้าที่ลงพื้นมารับเรื่องร้องเรียน เบื้องต้นในช่วงเช้ามีผู้มายื่นเอกสารแล้ว ประมาณ 34 ราย ส่วนใหญ่จะเป็นบ้านชั้นเดียว จะมีรอยร้าวบริเวณผนังบ้านและเสาบ้าน
    นายสมเกียรติ กล่าวว่า การลงตรวจสอบสภาพเขื่อนดังกล่าว ของหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้อง ไม่ว่าจะเป็นทางจังหวัด ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ชลประทาน กรมทรัพยากรธรณี เทศบาลตำบลศรีสุนทร และ ส.ส.มีความห่วงใยความรู้สึกและความกังวลของพี่น้องประชาชน ซึ่งจากการตรวจสอบด้วยตาเปล่าไม่พบความผิดปกติของตัวเขื่อนแต่อย่างใด นอกจากนี้เพื่อเป็นการยืนยันว่าไม่มีปัญหาก็จะนำผลจากการตรวจสอบด้วยอุปกรณ์ ของทางอ่างเก็บน้ำบางเหนียวดำมาประกอบด้วย
    นายสุวิทย์ โคสุวรรณ ผู้อำนวยการส่วนวิจัยรอยเลื่อนมีพลังฯ กล่าวว่า เท่าที่ได้ตรวจสอบและประเมินด้วยตาเปล่าไม่พบรอยร้าวหรือรอยเอียงบริเวณตัว เขื่อน รวมถึงบริเวณทางน้ำล้นด้วย เพราะในการออกแบบก่อสร้างเขื่อนนั้นจะมีการออกแบบเพื่อรองรับแผ่นดินไหวอยู่ แล้ว นอกจากนี้เนื่งอจากสัณฐานธรณีของเขื่อนดังกล่าวเป็นหินแกรนิตซึ่งสามารถดูด ซับพลังของคลื่นแผ่นดินไหวได้ก็มาช่วยไว้อีกส่วนหนึ่งด้วย จึงยืนยันว่าจากเหตุการณ์แผ่นดินไหวดังกล่าวไม่มีผลกระทบต่อตัวเขื่อน ทั้งนี้เพื่อยืนยันความชัดเจนก็จะต้องรอผลการตรวจสอบด้วยอุปกรณ์ของทางกรมชล ประทานอีกครั้ง
    “ในส่วนของบ้านเรือนประชาชนที่ได้รับผลกระทบในพื้นที่หมู่ที่ 1 และ หมู่ 2 ต.ศรีสุนทรนั้น คาดว่าจุดศูนย์กลางการเกิดแผ่นดินไหวน่าจะใกล้เคียงกับชุมชนบ้านลิพอน-บาง ขาม เป็นผลมาจากการถูกรบกวนของรอยเลื่อนคลองมะลุ่ย ซึ่งปรากฏตัวทางทางทิศตะวันออกของเกาะภูเก็ต แต่ เนื่องด้วยรอยเลื่อนหยั่งลึกลงไปในใต้ดินเป็นแนวเฉียง พาดผ่านใต้พื้นดิน เมื่อรอยเลื่อนเกิดการเปลี่ยนแปลง จึงส่งแรงขึ้นบนพื้นดินในแนวดิ่ง ก่อให้เกิดแผ่นดินไหวซึ่งมีจุดศูนย์กลางอยู่ใต้แผ่นดินของเกาะภูเก็ต เมื่อ กลับไปกรุงเทพแล้วจะได้มีการหารือกับทางผู้เชี่ยวชาญท่านอื่นๆ และจะส่งชุดสำรวจมาหาข้อมูลเพิ่มเติมเพื่อหาจุดศูนย์กลางที่แน่ชัดต่อไป” นายสุวิทย์ กล่าว
    นายอำนาจ ตันติธรรมโสภณ นักวิชาการด้านธรณีวิทยา กล่าวว่า จากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นดังกล่าวถือว่าภูเก็ตยังมีความโชคดี เพราะธรณีสัณฐานซึ่งเป็นหินแกรนิตจะสามารถดูดซับพลังจากแผ่นดินไหวไม่ให้ สะท้อนกลับได้ แต่ก็ต้องมีการเฝ้าระวังในจุดที่รุนแรง
    ด้านนายวรวุฒิ ทรงยศ นายกเทศมนตรีตำบลศรีสุนทร กล่าวว่า หลังจากเกิดเหตุได้ลงสำรวจพื้นที่บ้านเรือนของประชาชนแล้ว ส่วนใหญ่ที่พบจะมีรอยร้าวบริเวณผนังบ้าน และเสาบ้าน ซึ่งได้มีการจัดตั้งศูนย์รับแจ้งความเสียหายแล้ว เบื้องต้นในช่วงเช้า (17เม.ย.55) มีผู้มาลงทะเบียนแล้ว 34 ราย รวมทั้งได้ส่งเจ้าหน้าที่กองช่างของเทศบาลฯ ลงไปตรวจสอบความเสียหายด้วย ขณะเดียวกันขอยืนยันว่าทางหน่วยที่เกี่ยวข้องพร้อมในการให้ความช่วยเหลือ อย่างเต็มที่
    นายถาวร ตรีสุข อายุ 65 ปี อยู่บ้านเลขที่ 101/2 หมู่ 2 ต.ศรีสุนทร บอกว่า ในช่วงเกิดเหตุตนรู้สึกถึงแรงสั่นสะเทือนที่เกิดขึ้นโดยมีแรงสั่นสะเทือนใน ระยะเวลาสั้นๆ เมื่อสำรวจตัวบ้านพบรอยร้าวบนกำแพงข้างบ้านลากยาวจากพื้นถึงคานบ้าน และถือเป็นครั้งแรก ที่เกิดแผ่นดินไหวในภูเก็ต และรับรู้ได้ แม้จะมีความตื่นตระหนก แต่เชื่อว่าสถานการณ์ยังปลอดภัย

    ภาคธุรกิจภูเก็ตศึกษาแผ่นดินไหวเน้นการช่วยเหลือนทท.

    จากเหตุแผ่นดินไหว จุดศูนย์กลางที่ ต.ศรีสุนทร อ.ถลาง จ.ภูเก็ต ขนาด 4.3 ริกเตอร์ เมื่อวานนี้ (16 เม.ย.55) นายสมบูรณ์ จิรายุส นายกสมาคมธุรกิจการท่องเที่ยวจังหวัดภูเก็ต กล่าวว่า เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นดังกล่าวอาจจะส่งผลกระทบต่อนักท่องเที่ยวคนไทยบ้างในระยะสั้นๆ เนื่องจากคนไทยยังไม่ชินกับเรื่องแผ่นดินไหว จึง จำเป็นที่จะต้องมีการสร้างความเข้าใจที่ถูกต้อง แต่หากเป็นนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติก็ไม่น่าจะมีผลกระทบ เพราะเขาเข้าใจในเรื่องของภัยธรรมชาติ ซึ่งอาจจะเกิดขึ้นโดยไม่สามารถคาดเดาได้ และหากติดตามข่าวสารการเกิดแผ่นดินไหว จะ พบว่ามีอย่างต่อเนื่อง แต่ขนาดไม่ใหญ่นัก และในเมืองท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียงหลายๆ เมืองทั่วโลก ก็มีเรื่องของภัยธรรมชาติไม่ว่าจะเป็นยุโรป หรือญี่ปุ่น แต่ที่สำคัญคือ เรื่องของระบบเตือนภัยและการอพยพซึ่จะต้องมีความชัดเจนและมีประสิทธิภาพ เพื่อสร้างความมั่นใจให้เกิดขึ้น
    นายภูริต มาศวงศ์ศา อุปนายกสมาคมธุรกิจการท่องเที่ยวจังหวัดภูเก็ต กล่าว ยอมรับว่า เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นมีผลกระทบกับการท่องเที่ยวบ้างแต่ไม่มากนัก ประมาณ 10% โดยประมาณ 6% มาจากนักท่องเที่ยวที่เดินทางออกไป ส่วนอีก 3-4% เป็นการยกเลิกเดินทางเข้ามา สิ่งสำคัญ คือ การสร้างความเชื่อมั่นต่อนักท่องเที่ยวในระยะยาว โดยเฉพาะการนำเสนอความพร้อมเพื่อรับมือเหตุฉุกเฉิน รวมไปถึงแผนการช่วยเหลือประชาชนจากภัยธรรมชาติ อาทิ แนวทางอพยพคน การจัดเตรียมพื้นที่ปลอดภัย การสำรองอาหารและยาเวชภัณฑ์ เป็นต้นเพราะหากไม่มีแผนจัดเตรียมไว้เมื่อเกิดเหตุขึ้นจริงๆ อาจจะเกิดความวุ่นวายได้
    นายภูริต กล่าวว่า ขณะนี้ภาคธุรกิจในพื้นที่กำลังศึกษาแนวทางการรับมือแผ่นดินไหว จาก ประเทศที่เคยประสบเหตุบ่อยครั้ง อาทิ ญี่ปุ่น อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ เป็นต้น ว่า ภาคธุรกิจหรือว่าโรงแรมที่พักในประเทศเหล่านั้นมีแนวทางการเตรียมพร้อมรับ มืออย่างไร เช่น การจัดทำกล่องนิรภัยยามฉุกเฉินสำหรับนักท่องเที่ยว การจัดทำคู่มืออพยพหลบภัยและคำแนะนำในการปฏิบัติตัว เป็นต้น โดยจะต้องบูรณาการร่วมกันทั้งภาครัฐกับภาคเอกชน นอกจากนี้ที่ผ่านมายังพบว่าในเรื่องของสัญญาณเตือนภัยกับสัญญาณแจ้งยกเลิก ภัย เป็นเสียงสัญญาณคล้ายกัน ซึ่งนักท่องเที่ยวไม่เข้าใจ เป็นเหตุให้หลายคนต้องวิ่งอพยพซ้ำสองอีก นอกจากนี้อยากให้ไปดูปัญหาการจราจร และความพร้อมของจุดรองรับผู้อพยพด้วย

    ปภ.ระนอง เตรียมซ้อมแผนรับมือสึนามิ

    นางสำเนียง มณีรัตน์ รักษาการ หัวหน้าสำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดระนอง เปิดเผยกับผู้สื่อข่าวว่า จากกรณีการเกิดภัยพิบัติต่างๆในช่วงนี้ โดยเฉพาะพิบัติภัยจากอุทกภัย วาตภัย แผ่นดินไหว หรือ สึนามิ ทางสำนักงาน ปภ.ระนองเตรียมกำหนดซ้อมแผนป้องกัน และรับมือพิบัติภัยต่างๆให้กับชุมชนที่ตั้งอยู่ในเขตพื้นที่เสี่ยงภัย เพื่อสร้างความพร้อม และสร้างองค์ความรู้ให้กับประชาชนในพื้นที่และชุมชนเสี่ยงภัยในการรับมือกับ พิบัติภัยต่างๆ
    “ที่ผ่านมาทางหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้จัดฝึกอบรมเพื่อรับมือกับพิบัติภัย แต่ขณะนี้หลายชุมชนลืมขั้นตอน อันเป็นผลจากการขาดซักซ้อม ปภ.ระนองจึงเตรียมจัดทำแผนฝึกซ้อมให้กับชุมชนในพื้นที่เสี่ยง 15 ชุมชน เพื่อใช้กำหนดทิศทางและเป้าหมายจัดการความเสี่ยงจากภัยพิบัติของชุมชน โดยใช้หลักกระบวนการ CBDRR 13 ขั้นตอนในการลดความเสี่ยงจากภัยพิบัติ รวมถึงการปรับปรุงแก้ไขแนวเส้นทางอพยพหลบภัยและจุดที่หลบภัยที่พบยังมีปัญหา หรือมีข้อบกพร่อง”
    สำหรับกระบวนการ CBDRR 13 ขั้นตอนมีรายละเอียดดังนี้ 1.จัดประชุมเพื่อแนะนำโครงการ ชี้แจงวัตถุประสงค์ 2.ผู้บริหารประสานงานและชี้แจงโครงการในระดับจังหวัด 3.ผู้ปฏิบัติงานประจำจังหวัดประสานงานและชี้แจงโครงการในระดับจังหวัด 4.ผู้ปฏิบัติงานประจำจังหวัดแนะนำ และชี้แจงโครงการในชุมชนเป้าเหมาย 5.ประชุม ชี้แจง สร้างความเข้าใจกับชุมชนที่ตอบรับเข้าร่วมโครงการ 6.อบรมแกนนำ/อาสาสมัครชุมชนเรื่องการเตรียมพร้อมรับภัยพิบัติ 7. ประชุมเพื่อตรวจสอบผลการประเมินสภาวะชุมชนอย่างมีส่วนร่วม PRA TOOLS
    8.ทบทวนหรือพัฒนาแผน เตรียมพร้อมรับและป้องกันภัยพิบัติชุมชน 9.พัฒนาความสามารถของชุมชน 10.ฝึกปฏิบัติตามแผนตอบสนองต่อภาวะฉุกเฉินของชุมชน/ปรับแผน 11.ซ้อมแผนฉุกเฉิน 12.จัดประชุมแลกเปลี่ยนประสบการณ์การฝึกซ้อมระหว่างชุมชน/องค์กรต่างๆ 13.จัดประชุมแลกเปลี่ยนการเรียนรู้ นำเสนอผลงานระหว่างองค์กร และส่งมอบภารกิจให้แก่องค์กรท้องถิ่น
    สำหรับ 15 ชุมชนเขตพื้นที่ จ.ระนองที่ตั้งอยู่ในพื้นที่เสี่ยงภัย ประกอบด้วย ชุมชน, บ้านเกาะคณฑี ม. 1 ต.ปากน้ำ อ.เมืองระนอง , บ้านเกาะพยาม ม. 2 ต.เกาะพยาม อ.เมืองระนอง , บ้านเกาะคณฑี ม. 2 ต.ปากน้ำ อ.เมืองระนอง , บ้านนาพรุ ม. 2 ต.นาคา อ.สุขสำราญ , บ้านเกาะช้าง ม. 2 ต.เกาะพยาม อ.เมืองระนอง , บ้านบางมัน ม. 1 ต.นาคา อ.สุขสำราญ , บ้านในกรัง ม. 9 ต.จ.ป.ร. อ.กระบุรี , บ้านบางลำพู ม. 3 ต.กะเปอร์ อ.กะเปอร์ , บ้านบางกล้วยนอก ม. 3 ต.นาคา อ.สุขสำราญ , บ้านชิมี ม. 8 ต.กะเปอร์ อ.กะเปอร์ , บ้านเกาะตาครุฑ ม. 4 ต.ปากน้ำ อ.เมืองระนอง , บ้านแหลมนาว ม. 6 ต.นาคา อ.สุขสำราญ , บ้านชาคลี ม. 1 ต.บางหิน อ.กะเปอร์ , บ้านเกาะสินไห ม. 4 ต.ปากน้ำ อ.เมือง
    นางกรรณิกา เอี้ยวสกุล เลขาธิการสหพันธ์ท่องเที่ยวภาคใต้ และเจ้าของกิจการนำเที่ยวใน จ.ระนอง เปิดเผยกับผู้สื่อข่าวว่าจากพิบัติภัยแผ่นดินไหว และ สึนามิที่เกิดขึ้นในหลายภูมิภาคทั่วโลกในขณะนี้ รวมทั้งภาพเหตุการณ์สึนามิที่เคยเกิดขึ้น และสร้างความสูญเสียให้กับทรัพย์สินและชีวิตกับประชาชนไทย รวมถึง จ.ระนองเมื่อปี 2547 ทำให้ประชาชนที่อยู่ในพื้นที่เสี่ยงภัยต่างเกิดความหวาดกลัวและวิตกถึงมหันต ภัยดังกล่าวเป็นอย่างมาก รวมถึงผู้ประกอบการที่ต่างวิตกเช่นกัน เนื่องจากพื้นที่ภาคใต้แหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญคือชายทะเล ซึ่งทุกพื้นที่ทั้งฝั่งอ่าวไทยและอันดามันตั้งอยู่ในพื้นที่เสี่ยงภัยทั้ง สิ้น ดังนั้นหลายคนจะเริ่มมีการพูดถึงมาตรการด้านความปลอดภัย การแจ้งเตือน ที่จะสามารถช่วยเหลือประชาชน หรือนักท่องเที่ยวได้เมื่อเกิดเหตุการณ์ไม่คาดฝันขึ้น
    “ เมื่อคราวเกิดคลื่นยักษ์สึนามิชายฝั่งอันดามันเมื่อปลายปี 2547 ไทยยังขาดสถานที่หลบภัย จึงทำให้เกิดความเสียหายมาก และเหตุการณ์เมื่อคืนวันที่ 11 เม.ย. 2555 ที่ผ่านมา ก็เป็นอีกจุดที่สะท้อนให้เห็นข้อบกพร่อมเมื่อมีการแจ้งเตือนพบว่าชาวบ้าน หลายพื้นที่ยังไม่รู้เป้าหมายว่าจะอพยพไปจุดใด โดยเฉพาะในพื้นที่ อ.เมืองระนองที่พบว่าผู้ที่อาศัยอยู่ตามชุมชนชายฝั่งนับหมื่นคนทะลักเข้าสู่ ตัวเมืองเป็นระยะทางกว่า 10 กม. ในขณะที่จุดหรือสถานที่ปลอดภัยที่รองรับตามแนวชายฝั่งไม่มีเลย สร้างความโกลาหลเป็นอย่างยิ่ง และหากเกิดเหตุการณ์ขึ้นมาจริงๆ อาจจะสร้างความสูยเสียต่อชีวิตเป็นจำนวนมาก ทางภาคเอกชนจึงต้องการเสนอให้พื้นที่ชายฝั่งทะเล ที่อาจได้รับผลกระทบ ควรมีการสร้างอาคารหลบภัยให้ครอบคลุมในทุกพื้นที่ ทั้งยังสามารถรองรับผู้อพยพได้อย่างเพียงพอ โดยอาคารหลบภัยมีทั้งแบบชั่วคราวและถาวร ลักษณะยกพื้นสูงเกิน 6 เมตร เปิดโล่งด้านล่างให้น้ำไหลผ่านสะดวก ขณะที่โรงแรมที่พักบริเวณชายฝั่งไม่ควรมีห้องใต้ดิน ควรมีปรับการก่อสร้างใหม่ นอกจากนี้ ต้องทำแผนที่บอกทางหนีภัยด้วย อย่างไรก็ตามเหตุแผ่นดินไหวสิ่งสำคัญคือต้องเฝ้าระวัง และติดตามข่าวสารเนื่องจากไม่สามารถบอกล่วงหน้าได้”

    'สุขุมพันธุ์'สั่งกทม.เพิ่มแผนรับมือภัยธรรมชาติจากสึนามิ

    ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร กล่าวถึงแผนการรับมือเหตุแผ่นดินไหว ว่า กทม.มีแผนการป้องกันภัยพิบัติอยู่แล้ว แต่จากเหตุการณ์แผ่นดินไหวที่เกิดขึ้นติดต่อกัน ตนจึงได้สั่งให้มีการเตรียมแผนรับมือกับสึนามิด้วย หากเกิดขึ้นจริงจะต้องมีแผนพร้อมปฏิบัติการ เพราะกรุงเทพฯ มีพื้นที่ติดต่อกับทะเล และเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นก็บ่งชี้ได้ว่าในอนาคตมีความไม่แน่นอน ส่วนอาคารสูงในพื้นที่กรุงเทพฯ ส่วนใหญ่เป็นอาคารรุ่นใหม่ มีการก่อสร้างที่รับมือกับแผ่นดินไหวอยู่แล้ว แต่ที่ตนเป็นห่วงคือตึกแถวขนาดกลาง ที่สูงประมาณ 4-5 ชั้น ซึ่งส่วนใหญ่มักมีการก่อสร้างมานานและกฎหมายไม่ได้บังคับเรื่องแผ่นดินไหว จึงอาจได้รับผลกระทบได้
    สำหรับเรื่องถนนทรุดในกรุงเทพฯ ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ กล่าวว่า ขณะนี้กทม.กำลังเร่งสำรวจเพื่อซ่อมแซมถนนที่มีความเสี่ยงในระยะเร่งด่วน 21 สาย ซึ่งเรื่องนี้ตนรู้สึกเป็นห่วงมาก ที่ผ่านมาถนนทรุดเคยเกิดขึ้นหลายครั้ง แต่ก็ไม่ได้มีขนาดใหญ่และลึกอย่างในขณะนี้ จึงต้องตรวจสอบว่ามีอะไรกระทบต่อคุณภาพชั้นดินด้านล่าง และน้ำท่วมในปี 2554 ได้ส่งผลกระทบต่อชั้นดินหรือไม่ เป็นเรื่องที่ต้องหารืออย่างละเอียดเพื่อหาข้อสรุปต่อไป
    ในเวลา 14.00 น. ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ และนายทวีจิตร จันทรสาขา นายกสมาคมสถาปนิกสยาม ในพระบรมราชูปถัมภ์ ร่วมกันแถลงข่าวงานเสวนา “กรุงเทพฯ เมืองสวรรค์” ในงานสถาปนิก’55 ซึ่งกทม. ร่วมกับสมาคมสถาปนิกสยามฯ กำหนดจัดการเสวนาวิชาการในงานสถาปนิก’55 ระหว่างวันที่ 24 - 25 เมษายน ที่ห้องจูปิเตอร์ อาคารชาเลนเจอร์ อิมแพ็ค เมืองทองธานี เวลา 10.00 - 17.00 น.
    ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ กล่าวว่า กทม.ได้น้อมนำกระแสพระราชดำรัส “กรุงเทพฯ เมืองสวรรค์” ซึ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานไว้มาเป็นแนวทางในการบริหาร จัดการเมือง และพัฒนากรุงเทพฯ ให้เป็นเมืองหลวงที่มีความพร้อมในทุกด้าน โดยเฉพาะอย่างยิ่งด้านกายภาพของเมือง ด้วยการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานให้เพียงพอและมีประสิทธิภาพ การจัดการเมืองให้เป็นระเบียบเรียบร้อย สวยงาม การตรวจสอบอาคารให้อยู่ในสภาพดีสามารถใช้งานได้อย่างปลอดภัยเพื่อป้องกัน อุบัติภัยที่อาจเกิดขึ้น รวมไปถึงการจัดสิ่งอำนวยความสะดวกในพื้นที่สาธารณะต่างๆ ดังนั้นการจัดเสวนาในครั้งนี้ จึงเป็นการให้ความรู้ประชาชนเรื่องบ้าน ให้มีความรู้พื้นฐานที่สำคัญเกี่ยวกับการสร้างบ้าน เพื่อการเป็นเจ้าของบ้านที่มีความสุข ปลอดภัย และมีคุณภาพชีวิตที่ดี อันจะส่งผลให้กรุงเทพฯ เป็นเมืองหลวงที่น่าอยู่สำหรับทุกคน
    ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร กล่าวว่า การเสวนาครั้งนี้จะมีการเสนอแนวคิดพัฒนากรุงเทพฯ ในอนาคตว่าจะมีทิศทางใดบ้าง และเป็นการเปิดโอกาสให้ผู้ร่วมเสวนาได้เสนอว่าต้องการเห็นกรุงเทพฯ แบบใด นอกจากนี้จะมีการให้ความรู้เรื่องความปลอดภัยรับมือกับแผ่นดินไหวและน้ำท่วม



    ที่มา: sanook.com
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 17 เมษายน 2012
  12. tanakorn_ss

    tanakorn_ss ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2009
    โพสต์:
    1,792
    ค่าพลัง:
    +5,747
    อุปกรณ์เบสิกรับมือแผ่นดินไหว



    1. เป้ (Backpack) สีแดงสด หรือสีส้ม ไม่จำเป็นต้องของแท้ ของก๊อบก็ได้ ดีๆ หน่อย เกรด A ลองเดินหาซื้อตามสวนจตุจักร ดูครับ ขนาดสักประมาณ 30 ลิตร
    2. Light Stick หรือ แท่งเรืองแสง ควรที่จะเป็น สีเขียว ครับ สีเขียวสว่างมากที่สุด และสีมันตัดกับเปลวไฟ ใช้ดีครับ ควรมีสัก 3 แท่ง
    3. นกหวีด จะเป็นนกหวีดอะไรก็ได้ ราคามีหลากหลาย แต่ถ้าให้ดี ลองไปจุ่มน้ำ ถ้าเป่าแล้ว เสียงไม่ออก อย่าซื้อเลยครับ
    4. ชุดปฐมพยาบาล อันนี้จัดเองครับ ลองดูว่า ชุดปฐมพยาบาลพื้นฐาน ต้องมีอะไรบ้าง พยายามเน้น พวก ผ้าก๊อซ ยาทาแผล เป็นหลัก ครับ
    5. Duct Tape หรือ เทปผ้า ครับ เวลาซื้อสังเกต ต้องเป็น Duct Tape นะครับ ถ้าเทปผ้าทั่วไป ตามร้านเครื่องเขียนเรียกว่า Cloth Tape หาซื้อตอนนี้ได้ที่ เซ็นทรัลลาดพร้าว ชั้นเดียวกับ ที่มี supersport ตรงแผนก เครื่องใช้ไฟฟ้า , แต่งรถ เลือกซื้อ Duct Tape ยี่ห้อ 3 M ความยาว 30 หลา ราคาประมาณ 270 บาท ครับ
    6. มีดอเนกประสงค์ อันนี้ต้องเลือกแล้วครับ มีของจีน กับของสวิส(Victorinox) ถ้าทรัพย์น้อย ก็เลือกจีนก็ได้ครับ แต่คุณภาพจะแย่หน่อย อันนี้ตัดสินใจเองครับ มีดอเนกประสงค์ ปลีกย่อย ควรจะมี มีด, เลื่อย , ที่เปิดกระป๋อง เปิดขวด กรรไกร ครับ รู้สึกว่า ถ้าเป็น Victorinox น่าจะเป็นรุ่น Huntman ครับ
    7. วิทยุ AM/FM พร้อมแบตเตอรี่ ซื้อแบบเล็กๆ ก็ได้ครับ จะของจีน ของไทย ก็พยายามดูเนื้องานสักหน่อย เลือกระบบที่เป็น แมนนวลนะครับ อย่าเอา แบบดิจิตอลเพราะพวกนี้อาจพังเร็ว
    8. ไฟฉาย พร้อมแบตเตอรี่ อันนี้แล้วแต่เลือกใช้ครับ ที่ผมใช้อยู่ เป็น ไฟฉายแบบไดนาโม ครับ ของ Osram ราคาไม่ถึงสี่ร้อย ใช้ดีครับ แต่ผมก็ว่าจะหา Back up อีกสักอัน นึง
    9. ผ้าห่มฉุกเฉิน หาซื้อได้ที่ร้าน ไดโซะ ราคา 60 บาท ครับ ต้องตระเวนหาหน่อยครับ ลองถามที่ร้าน ถามผ้าห่มฉุกเฉิน ไม่รู้ ครับ ลองถามว่า “มีผ้าห่มอลูมิเนียมไหม”
    10. อาหารฉุกเฉิน อันนี้ผมขอเลือก เป็นแบบ อาหารให้พลังงานสูง เก็บได้ 5 ปี ครับ เมืองไทย ตอนนี้มียี่ห้อ seven ocean เพียงอย่างเดียวเท่านั้นครับ ในสถานการณ์ฉุกเฉิน เลือกมากไม่ได้ครับ มีอะไรก็ต้องกิน ประทังชีวิต
    11. น้ำฉุกเฉิน ก็เลือก seven ocean เหมือนกัน เนื่องจากเก็บได้ 5 ปี ถ้าเป็นน้ำขวดธรรมดา ถ้าเก็บจริงๆ เก็บได้ประมาณ 6 เดือน เท่านั้นเองครับ ก็เลยเลือก seven ocean
    12. หลอดกรองน้ำฉุกเฉิน เป็นทางเลือกสุดท้ายในการหาน้ำครับ เนื่องจาก seven ocean ที่ผมมีไว้ ผมมีแค่ 1 ลิตร เท่านั้นครับ มากกว่านี้ คงต้องใช้หลายห่อ (ห่อละครึ่งลิตร x 2 )
    13. ยาเม็ดฆ่าเชื้อโรคในน้ำ มีติดไว้ด้วยก็ดีครับ น้ำเป็นสิ่งจำเป็นในการดำรงชีวิต
    14. เสื้อกันฝน ซื้อแบบทีเป็นพลาสติก ธรรมดาก็ได้ครับ ราคา 19-29 บาท
    15. หน้ากาก กันฝุ่นละออง กันเชื้อโรค รุ่น N95 ยี่ห้อ 3 M หาซื้อได้ตาม Homepro ครับ เซ็นทรัลลาดพร้าวก็มีขาย ถ้าไปซื้อ Duct Tape ด้วย อยู่ที่เดียวกันครับ
    16. ถุงมือหนัง แบบที่ ใช้กันติดไว้ในรถ น่ะครับ หาซื้อได้ทั่วไป
    17. ไม้ขีดไฟ กันน้ำ กันลม มีไว้ดีกว่า มีไฟแช็คครับ อย่างน้อย มันไม่น่าจะเสียกลางคัน อย่างแน่นอน ครับ หาซื้อได้ ตามเว็บไซต์ ครับ

    การป้องกันอันตรายจากแผ่นดินไหว

    สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ เล่มที่ 28
    การป้องกันอันตรายจากแผ่นดินไหว โดย นาวาอากาศเอก กมล วัชรเสถียร
    การป้องกันอันตรายจากอาคารพังทลาย
    แผ่น ดินไหวเป็นเหตุการณ์ธรรมชาติที่ไม่อาจควบคุมได้ อันตรายสำคัญจากแผ่นดินไหวได้แก่ อาคารพังทลายทับผู้ที่อยู่อาศัย และสัญจรไปมา มาตรการป้องกันอันตรายที่ใช้อยู่ทั่วไป ได้แก่ การจัดทำแผนที่ความเสี่ยงภัยแผ่นดินไหว จัดแบ่งพื้นที่ออกตามระดับความเสี่ยง และกำหนดมาตรฐานการออกแบบก่อสร้างอาคารในแต่ละพื้นที่ ให้มีระดับความต้านทานแผ่นดินไหวที่เหมาะสมใน พ.ศ. ๒๕๓๗ ได้มีงานวิจัยในประเทศไทยที่นำข้อมูลเกี่ยวกับแผ่นดินไหวที่มีอยู่ทั้งใน ประเทศไทยและประเทศใกล้เคียงมาประมวลและวิเคราะห์ สร้างเป็นแผนที่ความเสี่ยงภัยแผ่นดินไหวของประเทศไทย โดยจัดพื้นที่ตามระดับอัตราเร่งสูงสุดของแผ่นดินไหวที่อาจเกิดขึ้น โดยหลักเกณฑ์ที่ใช้จะใกล้เคียงกับกฎหมายควบคุมอาคาร (Uniform Building Code หรือ UBC) ที่ใช้ในสหรัฐอเมริกา
    การจัดพื้นที่ได้แบ่งพื้นที่ออกเป็น ๕ ระดับจากระดับ ๐ ถึงระดับ ๔ โดยระดับ ๐ หมายถึง พื้นที่ปลอดภัยจากแผ่นดินไหว และระดับ ๔ เป็นพื้นที่ที่มีความเสี่ยงสูงสุด กล่าวคือมีแผ่นดินไหวขนาดใหญ่เกิดขึ้นบ่อยครั้งในการออกแบบอาคารต้านแผ่นดิน ไหว โดยทั่วไปจะยอมให้อาคารมีการโยกไหวรุนแรงจนตัวอาคารแตกร้าวเสียหายได้ แต่จะต้องไม่พังทลายลงมา
    การออกแบบโครงสร้างอาคารให้ต้านทานการสั่นสะเทือน จากแผ่นดินไหวเป็นเรื่องยาก เพราะจะต้องคำนึงถึงพฤติกรรมทางพลศาสตร์ในสภาวะ ที่มีการเปลี่ยนรูปร่างเกินพิกัดยืดหยุ่น (Elastic Limit) หลักการออกแบบตามมาตรฐานที่ใช้อยู่ทั่วไปจึงปรับให้ง่ายขึ้น โดยกำหนดให้ออกแบบให้โครงสร้างสามารถรับแรงในแนวราบได้ในระดับที่กำหนด แต่อย่างไรก็ตาม ผู้ออกแบบต้องพิจารณารูปร่างสัดส่วน โครงสร้างให้มีความสมมาตร สามารถโยกไหวได้โดยไม่บิดตัว นอกจากนี้ จะต้องคำนึงถึงการจัดรายละเอียด เช่น การเสริมเหล็กให้โครงสร้างสามารถดูดซับพลังงานได้ดีเมื่อ พ.ศ. ๒๕๔๐
    กรมโยธาธิการได้ออกกฎหมายควบคุมอาคารในเขตเสี่ยงภัย กำหนดให้อาคารในเขตเสี่ยงภัยต้องมีการออกแบบสำหรับต้านทานแผ่นดินไหวได้ อย่างเหมาะสม โดยบังคับใช้ในเขตแผ่นดินไหวในภาคเหนือและภาคตะวันตกรวม ๑๐ จังหวัด ได้แก่ เชียงราย เชียงใหม่ น่าน พะเยา แพร่ แม่ฮ่องสอน ลำปาง ลำพูน ตาก และกาญจนบุรี กฎหมายนี้บังคับใช้กับอาคารสาธารณะที่มีประชาชนเข้าไปใช้สอยเป็นจำนวนมาก เช่น โรงแรม หอประชุม โรงมหรสพ โรงพยาบาล และศูนย์การค้า รวมทั้งอาคารที่อาจก่อให้เกิดอันตราย เช่น อาคารเก็บวัตถุระเบิด วัตถุไวไฟ วัตถุมีพิษ สำหรับอาคารอื่นๆจ ะบังคับใช้เฉพาะอาคารที่ สูงเกิน ๑๕ เมตร
    พื้นดินกลายสภาพคล้ายของเหลว
    นอก จากจะทำให้อาคารโยกไหวแล้ว แผ่นดินไหวอาจทำให้พื้นดินมีสภาพคล้ายของเหลวและสูญเสียกำลังแบกทานโดยสิ้น เชิง สภาพการณ์เช่นนี้อาจเกิดขึ้นเมื่อเกิดแผ่นดินไหวในบริเวณที่มีสภาพดินเป็น ดินทราย และมีระดับน้ำใต้ดินสูง การที่ดินมีสภาพคล้ายของเหลวเกิดจากการที่พื้นดินได้รับแรงกระแทก เช่น แรงระเบิด หรือแรงกระทำซ้ำ เช่น แผ่นดินไหว ภายใต้แรงกระทำดังกล่าว แรงดันน้ำระหว่างมวลดินจะสูงขึ้นจนเท่ากับแรงดันระหว่างมวลดิน ซึ่งทำให้ดินสูญเสียกำลังเฉือน ในสภาพเช่นนี้ อาจเกิดสภาวะทรายดูด หรือดินไหลในแนวราบเช่นเดียวกับของเหลว สิ่งก่อสร้าง อาจจมหรือทรุดตัวลง
    จาก การศึกษาถึงความเสียหายของโครงสร้างที่เกิดจากการเกิดแผ่นดินไหว พบว่า มีโครงสร้างจำนวนมากเสียหายจากการที่พื้นดินกลายสภาพคล้ายของเหลวขณะเกิด แผ่นดินไหว ตัวอย่างเช่น แผ่นดินไหวที่ประเทศชิลีในเดือนพฤษภาคมพ.ศ. ๒๕๐๓ แผ่นดินไหวที่ประเทศเม็กซิโก ในวันที่ ๒๖ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๐๒ และแผ่นดินไหวที่มลรัฐอะแลสกา ประเทศสหรัฐอเมริกา ใน พ.ศ. ๒๕๐๗
    มาตราการป้องกันและบรรเทาภัยแผ่นดินไหว
    เหตุการณ์ แผ่นดินไหวที่เกิดขึ้นบ่อยครั้งในประเทศไทย ทำให้รัฐบาลได้เล็งเห็นความสำคัญของผลกระทบและภัยแผ่นดินไหวจึงได้ก่อตั้ง คณะกรรมการแผ่นดินไหวแห่งชาติขึ้น เมื่อวันที่ 10 กันยายน 2528 โดยมีกรรมการซึ่งเป็นผู้ทรงคุณวุฒิ และผู้แทน
    กฎหมายน่ารู้
    ขนาดที่จอดรถนั่งส่วนบุคคล ต้องมีขนาดไม่เล็กกว่า
    2.40 x 5.00 เมตร เมื่อจอดรถตั้งฉากกับแนวทางเดินรถ
    2.40 x 5.50 เมตร เมื่อจอดรถทำมากกว่า 30 องศา กับแนวทางเดินรถ
    2.40 x 6.00 เมตร เมื่อจอดรถขนานกับแนวทางเดินรถหรือทำมุมน้อยกว่า 30 องศา

    กรณีที่จอดรถด้วยเครื่องจักรกล ขนาดที่จอดรถให้เป็นไปตามระบบเครื่องจักรกล
    (กฎหมายฉบับที่ 41 พ.ศ. 2537 แก้ไขกฎกระทรวงฉบับที่ 7 พ.ศ. 2517 ซึ่งกำหนดให้ที่จอดรถมีขนาดไม่เล็กกว่า 2.50 x 6.00 เมตร)
    กฎหมายน่ารู้
    อาคาร จอดรถ ซึ่งมีระบบเคลื่อนย้ายรถจอดรถด้วยเครื่องจักรกล ไม่ต้องมีระบบระบายอากาศ ระบบไฟฟ้า ระบบป้องกันเพลิงไหม้ ระบบบำบัดน้ำเสีย ระบบระบายน้ำทิ้ง ระบบประปา ระบบกำจัดขยะและระบบลิฟต์ ตามที่กำหนดในกฎกระทรวงฉบับที่ 33 พ.ศ.2535 เหมือนอาคารสูงหรืออาคารใหญ่พิเศษทั่วๆไป (กฎกระทรวงฉบับที่ 41 พ.ศ. 2537) จากหน่วยงานต่างๆ เช่น กรมอุตุนิยมวิทยา กรมทรัพยากรธรณี กรมโยธาธิการ กรมการปกครอง เป็นต้น รวม19คนและมีอำนาจหน้าที่ 5 ข้อคือ
    1. ติดต่อประสานงานกับสมาคม องค์กรหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องด้านแผ่นดินไหวทั้งในประเทศและต่างประเทศ เพื่อแลกเปลี่ยนความรู้ ข้อคิดเห็นและข้อมูล เช่น จัดให้มีการประชุมสัมมนาอภิปรายด้านแผ่นดินไหว
    2. ส่งเสริมการศึกษาและวิจัยด้านแผ่นดินไหวและด้านอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
    3. เผยแพร่ความรู้เรื่องแผ่นดินไหวให้สาธารณชนทราบ
    4. เสนอแนะมาตราการและแนวทางการป้องกัน การเตือนภัย และการบรรเทาภัยที่เกิดจากแผ่นดินไหว
    5. แต่งตั้งอนุกรรมการได้ตามความจำเป็น

    คณะกรรมการแผ่นดินไหวแห่งชาติ ได้จัดทำแผนงานต่างๆเพื่อให้ได้ข้อมูลที่มีประโยชน์ในการเสนอแนะหามาตรการ ป้องกันและบรรเทาภัยแผ่นดินไหวมี 6 แผนงาน คือ
    1. แผนการจัดทำ Seismic Zoning Map และ Seismic Risk Map
    2. แผนงานการศึกษา Site Amplification and Study of Dynamic Response of Structures
    3. แผนงานการติดตั้งเครื่องวัดอัตราเร่งของพื้นดินใน กทม. และเชียงใหม่
    4. แผนงานการประชาสัมพันธ์ และการประชุมเกี่ยวกับแผ่นดินไหว
    5. แผนงานมาตราการป้องกันและบรรเทาภัยพิบัติเนื่องจากแผ่นดินไหว
    6. แผนงานการศึกษา Active Fauit ในประเทศไทย

    สำหรับมาตราการป้องกันและบรรเทาภัยแผ่น ดินไหวนั้นสามารถกระทำได้หลายวิธี วิธีหนึ่งคือการก่อสร้างอาคารให้แข็งแรง ปลอดภัยจากแผ่นดินไหว ซึ่งคาดว่าจะเกิดขึ้นในประเทศไทยโดยการออกกฎกระทรวงสำหรับควบคุมการก่อสร้าง อาคารต่างๆในประเทศไทยให้สามารถต้านทานแรงแผ่นดินไหวได้ อีกวิธีหนึ่งคือ
    กฎหมายน่ารู้
    ตึกแถวหรือบ้านแฝด ที่มีความสูงไม่เกิน 2 ชั้น ต้องมี

    • ระบบสัญญาณเตือนเพลิงไหม้ อย่างน้อย 1 เครื่อง ทุกคูหา
    • เครื่องดับเพลิงชนิดมือถือ อย่างน้อย 1 เครื่อง ทุกคูหา
    • อาคารสาธารณะ อาคารหอพัก และอาคารที่มีความสูง 3 ชั้นขึ้นไปต้องมี
    • ระบบสัญญาณเตือนเพลิงไหม้ อย่างน้อย 1 จุด ทุกชั้นและทุกคูหา
    • เครื่องดับเพลิงอย่างน้อย 1 เครื่องต่อพื้นที่ 1,000 ตารางเมตร ทุกระยะไม่เกิน 45 เมตร แต่ไม่น้อยกว่าชั้นละ 1 เครื่อง
    • อาคารสูงและอาคารขนาดใหญ่พิเศษ(ความสูงเกิน 23 เมตร หรือพื้นที่มากกว่า 10,000 ตารางเมตร จะต้องมีระบบเตือนเพลิงไหม้ และระบบดับเพลิงอย่างเต็มที่ตามกฎกระทรวงฉบับที่ 33 พ.ศ. 2535 (กฎกระทรวงฉบับที่ 39 พ.ศ.2537) การ ประชาสัมพันธ์และให้ความรู้เกี่ยวกับแผ่นดินไหว การแนะนำการปฏิบัติตนเมื่อเกิดแผ่นดินไหว ซึ่งจะเป็นการลดภัยจากแผ่นดินไหวอีกทางหนึ่งด้วย นอกจากนั้นหน่วยงานที่รับผิดชอบจะต้องมีแผนการเตรียมพร้อม จัดระบบการประสานงานของหน่วยงานต่างๆ ทั้งภาครัฐและ เอกชนเมื่อเกิดภัยขึ้น ให้การฝึกอบรมและฝึกซ้อมแก่เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติ งานอยู่เป็นประจำ จัดหาอุปกรณ์และเครื่องมือหนักในการช่วยเหลือผู้ประสบภัย เป็นต้น
    ที่มา:http://www.arsadusit.com/1984
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 17 เมษายน 2012
  13. tanakorn_ss

    tanakorn_ss ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2009
    โพสต์:
    1,792
    ค่าพลัง:
    +5,747
    จับตารอยเลื่อนคลองมะรุ่ย-ระนอง สาเหตุแผ่นดินไหวภูเก็ต


    [​IMG]



    [​IMG] แผ่นดินไหวภูเก็ตอีกรอบ 3.1 ริกเตอร์

    [​IMG]
    สถิติการเกิดแผ่นดินไหวภูเก็ต และพื้นที่ใกล้เคียง ในรอบ 2 วัน (16-17 เม.ย.) คลิกที่รูปเพื่อดูภาพขนาดใหญ่

    กรมทรัพยากรธรณีสั่งจับตา รอยเลื่อนคลองมะรุ่ย - รอยเลื่อนระนอง เพราะเป็นรอยเลื่อนที่มีพลัง หวั่นทำให้เกิดแผ่นดินไหวอีก ขณะที่แผ่นดินไหว 4.3 ริกเตอร์ ที่ภูเก็ต แรงสุดเท่าที่เคยมีมา

    วันนี้ (17 เมษายน) นายนิทัศน์ ภู่วัฒนกุล อธิบดีกรมทรัพยากรธรณี และนายเลิศสิน รักษาสกุลวงศ์ ผู้อำนวยการสำนักธรณีวิทยาสิ่งแวดล้อมและธรณีพิบัติภัย กรมทรัพยากรธรณี ร่วมกันแถลงถึงเหตุการณ์แผ่นดินไหว 4.3 ริกเตอร์ ที่ จ.ภูเก็ต

    นายนิทัศน์ กล่าวว่า การเกิดแผ่นดินไหวครั้งนี้ มีจุดศูนย์กลางอยู่ที่ จ.ภูเก็ต ถือว่าเป็นแผ่นดินไหวบนบกที่มีขนาดใหญ่ที่สุดของไทย นอกจากนี้ ยังเกิดอาฟเตอร์ช็อกอีก 5 ครั้ง ขนาด 2.1 ริกเตอร์ - 2.7 ริกเตอร์ ทำให้บ้านประชาชนกว่า 30 หลัง ได้รับความเสียหาย โดยสาเหตุของแผ่นดินไหวเกิดจากการเคลื่อนตัวของรอยเลื่อนคลองมะรุ่ย ตั้งแต่ จ.สุราษฎร์ธานี กระบี่ พังงา

    ส่วนแผ่นดินไหวที่เกิดขึ้นที่อินโดนีเซีย ขนาด 5.7 ริกเตอร์ ที่เกิดในเวลาไล่เลี่ยกันกับไทย ไม่ใช่สาเหตุของการเกิดแผ่นดินไหวที่ภูเก็ต และไม่ได้เป็นอาฟเตอร์ช็อก เพราะแผ่นดินไหวจากอินโดนีเซีย ไม่สามารถทำให้ภูเก็ตรู้สึกได้ทั้งจังหวัด อีกทั้งถือว่าประเทศไทยโชคดีที่เป็นแผ่นดินไหวแนวนอน ผลกระทบจึงไม่มาก

    ขณะที่ นายเลิศสิน กล่าวว่า ขณะ นี้ทางกรมทรัพยากรธรณี ต้องระวังรอยเลื่อนคลองมะรุ่ยที่มีความยาวกว่า 150 กิโลเมตร และรอยเลื่อนระนอง ยาว 270 กิโลเมตร ตั้งแต่ จ.ระนอง ชุมพร ประจวบคีรีขันธ์ และพังงา เนื่องจากมีการขยับตัวที่ชัดเจน และมีพลัง ทำให้มีโอกาสเกิดแผ่นดินไหวได้ แต่ขนาดจะไม่รุนแรงมากไปกว่า 6 ริกเตอร์

    อย่างไรก็ตาม นายนิทัศน์ กล่าวว่า วิธีการในกหนีเอาตัวรอดจากอาคารสูงหากเกิดแผ่นดินไหว คือ ไม่ควรลงจากอาคารโดยใช้ เพราะไฟฟ้าอาจถูกตัดได้ พร้อมแนะว่า รัฐบาลต้องออกประกาศให้อาคารสูงมีบันไดหนีไฟ รวมถึงแผ่นดินไหวด้วย

    ที่มา:kapook.com
     
  14. tanakorn_ss

    tanakorn_ss ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2009
    โพสต์:
    1,792
    ค่าพลัง:
    +5,747
    [​IMG]

    5 วิธีในการเตรียมตัวรับมือแผ่นดินไหว


    ภัยแผ่นดินไหว ไม่สามารถพยากรณ์ล่วงหน้าได้ และไม่สามารถแจ้งเตือนภัยได้ทันที หากเราได้ทราบถึงความอันตรายของแผ่นดินไหวแล้ว เราควรมีการวางแผน และเตรียมพร้อมรับมืออยู่ตลอดเวลา เพื่อลดความเสี่ยงที่อาจจะเกิดขึ้นกับชีวิตของเราจากแผ่นดินไหว นอกจากนี้ การปรับปรุงที่พักอาศัยของท่าน ก็เป็นเรื่องสำคัญ เช่น การยึดชั้นวางอย่างแน่นหนา ให้มั่นคงแข็งแรง รวมไปถึงไฟบนเพดาน ให้อยู่ในสภาพที่แข็งแรง ไม่ร่วงหล่นมาง่าย สิ่งเหล่านี้เป็นการลดผลกระทบความอันตรายที่เกิดจากแผ่นดินไหว

    5 วิธีในการเตรียมตัวรับมือแผ่นดินไหว

    1. ตรวจสอบความปลอดภัยในที่พักอาศัย

    - ยึดชั้นวางสิ่งของกับผนังให้แน่นหนา และปลอดภัย

    - วางสิ่งของที่มีขนาดใหญ่หรือมีน้ำหนักมากไว้ชั้นล่างหรือบนพื้น

    - วัสดุที่แตกง่าย เช่น แก้ว กระเบื้อง เซรามิก ควรเก็บไว้ในระดับต่ำ หรือในลิ้นชักที่ปิดสนิท และล็อกอย่างแน่นหนา

    - สิ่งของที่มีน้ำหนักมาก เช่น กรอบรูป และกระจก ควรไว้ให้ห่างจากเตียงนอน และเก้าอี้พักพิง

    - ตรวจสอบ และยึดไฟเพดานให้แข็งแรง

    - ตรวจสอบและซ่อมสายไฟที่ชำรุด เนื่องจากอาจทำให้เกิดเพลิงไหม้ได้ ขณะเกิดแผ่นดินไหว

    - ตรวจสอบและซ่อมรอยแตกของผนัง และเพดานให้แข็งแรง โดยขอคำแนะนำจากวิศวกรที่มีความเชี่ยวชาญด้านโครงสร้าง

    - ควรเก็บสารเคมีอันตราย เช่น ยาฆ่าแมลง วัตถุไวไฟ ไว้ในลิ้นชักชั้นล่างอย่างมิดชิด และล็อกอย่างแน่นหนา


    2. กำหนดสถานที่ปลอดภัยทั้งในและนอกที่พักอาศัย

    - เฟอร์นิเจอร์ต่างๆ เช่น ใต้โต๊ะที่มีขนาดใหญ่และแข็งแรง

    - ในที่พักอาศัย ให้อยู่ห่างจาก ของมีคม วัสดุที่แตกหักง่าย เช่น แก้วน้ำ หน้าต่าง กระจก กรอบรูป หรือ เฟอร์นิเจอร์ขนาดใหญ่และมีน้ำหนักมาก ในขณะแผ่นดินไหว

    - นอกที่พักอาศัย ให้อยู่ห่างจาก สิ่งปลูกสร้างขนาดใหญ่ ต้นไม้ สายโทรศัพท์และสายไฟฟ้า รวมไปถึงทางยกระดับ สะพาน เป็นต้น

    3. ให้ความรู้กับตนเองและสมาชิกในครอบครัว

    - ศึกษาหาความรู้ ข้อมูลเกี่ยวกับแผ่นดินไหว และการเตรียมพร้อมรับมือภัยแผ่นดินไหว โดยการติดต่อกับผู้เชี่ยวชาญหรือหน่วยงาน อาทิ กรมอุตุนิยมวิทยา ศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติ มูลนิธิสภาพเตือนภัยพิบัติแห่งชาติ เป็นต้น

    - หากสมาชิกในครอบครัวของท่านมีเด็กเล็ก ควรให้คำแนะนำและสอนบุตรหลานของท่าน ในการแจ้งเหตุฉุกเฉิน โดยทางโทรศัพท์ เช่น เบอร์โทรศัพท์ 191 , 1669 สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ นอกจากนี้ ควรสอนให้รู้จักการปรับคลื่นวิทยุ FM ยกตัวอย่างเช่น จส.100 , สวภ.91 เป็นต้น

    4. เตรียมเป้ฉุกเฉินไว้ให้พร้อม ยกตัวอย่างเช่น

    - ไฟฉายและแบตเตอรี่สำรอง

    - วิทยุ AM FM แบบพกพา พร้อมแบตเตอรี่สำรอง

    - ชุดปฐมพยาบาล และคู่มือปฐมพยาบาล

    - อาหารและน้ำฉุกเฉิน

    - มีดอเนกประสงค์

    - เงินสด เหรียญและธนบัตร

    - รองเท้าผ้าใบ

    5. วางแผนการติดต่อสื่อสารในยามฉุกเฉิน

    - ในกรณีที่สมาชิกในครอบครัว ไม่ได้อยู่ที่เดียวกันในระหว่างแผ่นดินไหว ซึ่งมีความเป็นไปได้สูง โดยเฉพาะ ผู้ใหญ่ต้องไปทำงาน ส่วนเด็กต้องไปโรงเรียน ควรมีการวางแผนสถานที่นัดพบหรือสถานที่รวมตัวหลังเกิดภัยพิบัติแล้ว

    - สมาชิกในครอบครัวทุกคน ควรมี ชื่อ ที่อยู่ หมายเลขโทรศัพท์ ของญาติ เพื่อน หรือบุคคลใกล้ชิดไว้ เพื่อสามารถติดต่อกันได้ง่าย หลังเกิดเหตุภัยพิบัติแล้ว



    ขอบคุณเนื้อหาจาก สำนักงานจัดการเหตุฉุกเฉินสหรัฐอเมริกา (FEMA)

     
  15. tanakorn_ss

    tanakorn_ss ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2009
    โพสต์:
    1,792
    ค่าพลัง:
    +5,747
    [​IMG]

    <table cellpadding="0" cellspacing="0" width="840" align="center" border="0"><tbody><tr><td width="800"> * คลิกที่วันเวลาของแต่ละเหตุการณ์แผ่นดินไหวเพื่อดูแผนที่
    ** Phase = จำนวนสถานีตรวจวัดแผ่นดินไหวที่ใช้ในการคำนวนหาศูนย์กลางแผ่นดินไหว
    *** [​IMG] = เหตุุการณ์ที่ได้รับแจ้งรู้สึกถึงความสั่นไหว คลิกที่ icon เพื่อดูรายละเอียด
    </td><td width="200">
    </td> <td width="40"> [​IMG] </td></tr></tbody></table> <table class="tbis" cellpadding="5" cellspacing="0" width="840" align="center" border="0"> <tbody><tr class="tbis1" bgcolor="#336699"> <td nowrap="nowrap" width="130">วัน-เวลา *ประเทศไทย</td> <td nowrap="nowrap" width="40" align="center">ขนาด</td> <td nowrap="nowrap" width="50" align="center">Latitude</td> <td nowrap="nowrap" width="50" align="center">Longitude</td> <td nowrap="nowrap" width="40" align="center">ลึก(km.)</td><td nowrap="nowrap" width="50" align="center">Phase</td> <td nowrap="nowrap" width="">บริเวณที่เกิด</td><td width="20">
    </td> </tr><tr class="tbis3"> <td valign="top" align="center">2012-08-14 18:22:19
    2012-08-14 11:22:19 UTC
    </td> <td valign="top" align="center">3.8</td> <td valign="top" align="center">20.54</td> <td valign="top" align="center">98.91</td> <td valign="top" align="center">-</td><td valign="top" align="center">9</td> <td valign="top">ประเทศพม่า</td><td>
    </td> </tr> <tr class="tbis2"> <td valign="top" align="center">2012-08-14 18:04:59
    2012-08-14 11:04:59 UTC
    </td> <td valign="top" align="center">3.3</td> <td valign="top" align="center">20.71</td> <td valign="top" align="center">97.90</td> <td valign="top" align="center">-</td><td valign="top" align="center">10</td> <td valign="top">ประเทศพม่า</td><td>
    </td> </tr> <tr class="tbis3"> <td valign="top" align="center">2012-08-14 08:23:33
    2012-08-14 01:23:33 UTC
    </td> <td valign="top" align="center">2.7</td> <td valign="top" align="center">19.09</td> <td valign="top" align="center">97.76</td> <td valign="top" align="center">-</td><td valign="top" align="center">10</td> <td valign="top">ประเทศพม่า</td><td>
    </td> </tr> <tr class="tbis2"> <td valign="top" align="center">2012-08-13 08:38:07
    2012-08-13 01:38:07 UTC
    </td> <td valign="top" align="center">3.7</td> <td valign="top" align="center">16.97</td> <td valign="top" align="center">94.77</td> <td valign="top" align="center">-</td><td valign="top" align="center">8</td> <td valign="top">ประเทศพม่า</td><td>
    </td> </tr> <tr class="tbis3"> <td valign="top" align="center">2012-08-10 08:01:59
    2012-08-10 01:01:59 UTC
    </td> <td valign="top" align="center">3.1</td> <td valign="top" align="center">18.19</td> <td valign="top" align="center">101.00</td> <td valign="top" align="center">-</td><td valign="top" align="center">13</td> <td valign="top">อ.บ้านโคก จ.อุตรดิตถ์</td><td>
    </td> </tr> <tr class="tbis2"> <td valign="top" align="center">2012-08-07 08:22:15
    2012-08-07 01:22:15 UTC
    </td> <td valign="top" align="center">2.9</td> <td valign="top" align="center">20.50</td> <td valign="top" align="center">100.25</td> <td valign="top" align="center">-</td><td valign="top" align="center">14</td> <td valign="top">ประเทศลาว</td><td>
    </td> </tr> <tr class="tbis3"> <td valign="top" align="center">2012-08-06 11:02:17
    2012-08-06 04:02:17 UTC
    </td> <td valign="top" align="center">3.8</td> <td valign="top" align="center">20.49</td> <td valign="top" align="center">96.64</td> <td valign="top" align="center">-</td><td valign="top" align="center">20</td> <td valign="top">ประเทศพม่า</td><td>
    </td> </tr> <tr class="tbis2"> <td valign="top" align="center">2012-08-05 22:36:07
    2012-08-05 15:36:07 UTC
    </td> <td valign="top" align="center">3.9</td> <td valign="top" align="center">20.18</td> <td valign="top" align="center">95.89</td> <td valign="top" align="center">-</td><td valign="top" align="center">7</td> <td valign="top">พม่า</td><td>
    </td> </tr> <tr class="tbis3"> <td valign="top" align="center">2012-08-05 12:38:29
    2012-08-05 05:38:29 UTC
    </td> <td valign="top" align="center">1.5</td> <td valign="top" align="center">18.23</td> <td valign="top" align="center">98.71</td> <td valign="top" align="center">-</td><td valign="top" align="center">15</td> <td valign="top">อ.จอมทอง จ.เชียงใหม่</td><td>
    </td> </tr> <tr class="tbis2"> <td valign="top" align="center">2012-08-03 02:06:09
    2012-08-02 19:06:09 UTC
    </td> <td valign="top" align="center">4.9</td> <td valign="top" align="center">26.24</td> <td valign="top" align="center">96.15</td> <td valign="top" align="center">-</td><td valign="top" align="center">43</td> <td valign="top">ประเทศพม่า</td><td>
    </td> </tr> <tr class="tbis3"> <td valign="top" align="center">2012-08-02 23:35:50
    2012-08-02 16:35:50 UTC
    </td> <td valign="top" align="center">2.4</td> <td valign="top" align="center">19.40</td> <td valign="top" align="center">97.66</td> <td valign="top" align="center">-</td><td valign="top" align="center">8</td> <td valign="top">ประเทศพม่า</td><td>
    </td> </tr> <tr class="tbis2"> <td valign="top" align="center">2012-08-02 09:54:33
    2012-08-02 02:54:33 UTC
    </td> <td valign="top" align="center">3.8</td> <td valign="top" align="center">21.21</td> <td valign="top" align="center">100.39</td> <td valign="top" align="center">-</td><td valign="top" align="center">6</td> <td valign="top">พรมแดนประเทศพม่า-จีน</td><td>
    </td> </tr> <tr class="tbis3"> <td valign="top" align="center">2012-07-31 21:07:08
    2012-07-31 14:07:08 UTC
    </td> <td valign="top" align="center">2.3</td> <td valign="top" align="center">18.54</td> <td valign="top" align="center">97.44</td> <td valign="top" align="center">-</td><td valign="top" align="center">12</td> <td valign="top">ประเทศพม่า</td><td>
    </td> </tr> <tr class="tbis2"> <td valign="top" align="center">2012-07-31 09:35:00
    2012-07-31 02:35:00 UTC
    </td> <td valign="top" align="center">3.8</td> <td valign="top" align="center">20.86</td> <td valign="top" align="center">100.38</td> <td valign="top" align="center">-</td><td valign="top" align="center">12</td> <td valign="top">ประเทศพม่า</td><td>
    </td> </tr> <tr class="tbis3"> <td valign="top" align="center">2012-07-30 16:11:36
    2012-07-30 09:11:36 UTC
    </td> <td valign="top" align="center">2.8</td> <td valign="top" align="center">19.30</td> <td valign="top" align="center">97.70</td> <td valign="top" align="center">-</td><td valign="top" align="center">10</td> <td valign="top">ประเทศพม่า</td><td>
    </td> </tr> </tbody></table>




    ..............................<wbr>..............................<wbr>..............................<wbr>..............................<wbr>..............<wbr>



     
  16. tanakorn_ss

    tanakorn_ss ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2009
    โพสต์:
    1,792
    ค่าพลัง:
    +5,747
    [​IMG]
    เชียงราย แผ่นดินไหว 3.3 ริกเตอร์

    (8 ก.ย.) ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อเวลา 19.26 น. ศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติ และ สำนักเฝ้าระวังแผ่นดินไหว รายงานว่า เกิดแผ่นดินไหวบนบก ขนาด 3.3 ริกเตอร์ ลึกจากพื้นดิน 6 กิโลเมตร ซึ่งจุดที่เกิดแผ่นดินไหวนั้น อยู่บริเวณพรมแดนไทย-ลาว อ.เวียงแก่น จ.เชียงราย เบื้องต้นยังไม่มีรายงานความเสียหาย
    <li style="margin-bottom:10px;"> อย่างไรก็ตาม เมื่อช่วงเช้าที่ผ่านมาในวันเดียวกันนี้ เวลา 06.01 น. ก็เกิดเหตุแผ่นดินไหว ขนาด 2.9 ริกเตอร์ บริเวณ อ.ไชยปราการ จ.เชียงใหม่ แต่ไม่มีรายงานความเสียหาย
    [​IMG]
    [​IMG]


    ที่มา:เชียงราย แผ่นดินไหว 3.3 ริกเตอร์




    ..............................<wbr>..............................<wbr>..............................<wbr>..............................<wbr>......<wbr>

     
  17. ทาโร่

    ทาโร่ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 กรกฎาคม 2005
    โพสต์:
    177
    ค่าพลัง:
    +126
    การช่วยตนเองและช่วยกันเองในยามเจ็บฉุกเฉิน


    [​IMG]


    ภัยแผ่นดินไหว ไม่สามารถพยากรณ์ล่วงหน้าได้ และไม่สามารถแจ้งเตือนภัยได้ทันที หากเราได้ทราบถึงความอันตรายของแผ่นดินไหวแล้ว เราควรมีการวางแผน และเตรียมพร้อมรับมืออยู่ตลอดเวลา เพื่อลดความเสี่ยงที่อาจจะเกิดขึ้นกับชีวิตของเราจากแผ่นดินไหว นอกจากนี้ การศึกษาหาความรู้เกี่ยวกับการช่วยตนเองและช่วยกันเองในยามเจ็บฉุกเฉิน เป็นสิ่งจำเป็น เพราะจะช่วยลดอันตรายถึงชีวิตหรือ พิการ และความทุกข์ทรมานต่างๆ จากการเจ็บฉุกเฉินลงได้


    "หมอชาวบ้าน" ประจำเดือนเมษายนถึงเดือนกรกฎาคมได้กล่าวถึงเรื่อง"การช่วยตนเอง และช่วยกันเองในยามป่วยฉุกเฉิน"

    ช่วงต่อไปนี้จะกล่าวถึง "การช่วยตนเองและช่วยกันเองในยามเจ็บฉุกเฉิน"

    "เจ็บ" ในที่นี้หมายถึง การบาดเจ็บจากอุบัติเหตุ ภยันตราย แมลงสัตว์กัดต่อย และการได้รับสารพิษ รวมทั้งการแพ้ยา และการ เป็นพิษจากยาด้วย

    "ฉุกเฉิน" ในที่นี้หมายถึง เกิดขึ้นโดยปัจจุบันทันด่วน และจะต้องรีบแก้ไข เพื่อไม่ให้เกิดอันตรายถึงชีวิตหรือพิการ หรือต้องทุกข์ทรมานอย่างมาก

    "การช่วยตนเองและช่วยกันเอง" ในที่นี้หมายถึง คนที่เกิดอาการเจ็บฉุกเฉิน รู้จักวิธีช่วยตนเองเพื่อกำจัดหรือบรรเทาอาการเจ็บฉุกเฉิน นั้น ถ้ายังมีสติสัมปชัญญะและกำลังวังชาพอที่จะช่วยตนเองได้ หรือถ้าไม่สามารถช่วยตนเองได้ คนที่อยู่ใกล้ๆ หรือพบเห็นการเจ็บฉุกเฉิน นั้น รู้จักช่วยผู้ที่เจ็บฉุกเฉินตามสมควร เพื่อช่วยชีวิตหรือลดความทุกข์ ทรมานของผู้ป่วยลงได้


    หมอชาวบ้าน
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 9 กันยายน 2012
  18. ทาโร่

    ทาโร่ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 กรกฎาคม 2005
    โพสต์:
    177
    ค่าพลัง:
    +126
    ประชาชนทั่วไปจึงควรศึกษาว่า การเจ็บอย่างไรเป็น "การเจ็บฉุกเฉิน" และควรจะช่วยตนเองและช่วยกันเองอย่างไรในขั้นแรกก่อนจะนำส่งโรงพยาบาล
    ถ้าการช่วยตนเองหรือช่วยกันเอง ทำให้อาการดีขึ้นจนพ้นภาวะฉุกเฉิน จะลดอันตรายถึงชีวิตหรือ พิการ และความทุกข์ทรมานต่างๆ จากการเจ็บฉุกเฉินลงได้ เพราะการเคลื่อนย้ายผู้ป่วยขณะที่ไม่มีอาการฉุกเฉิน จะปลอดภัยกว่าการ เคลื่อนย้ายขณะที่มีอาการฉุกเฉิน อย่างมากมาย


    ระดับความรุนแรงของการเจ็บป่วย และขั้นตอนของการช่วย ตนเอง และช่วยกันเองในการเจ็บป่วยฉุกเฉินที่กล่าวไว้แล้วใน"การช่วยตนเองและช่วยกันเองใน ยามป่วยฉุกเฉิน" ในหมอชาวบ้าน ประจำเดือนเมษายน ๒๕๔๕ จะใช้ ได้เช่นกันสำหรับ"การเจ็บฉุกเฉิน" โดยต้องระมัดระวังเพิ่มเติมในกรณี ที่ "การเจ็บฉุกเฉิน" เกิดขึ้นในกรณี สงครามจลาจล อุบัติภัยหมู่ สาธารณภัย หรืออุบัติเหตุรุนแรง ที่มีผู้บาดเจ็บเป็นจำนวนมาก ประชาชน ที่จะเข้าไปช่วยเหลือผู้บาดเจ็บจะต้อง

    ๑. ตั้งสติให้ได้ก่อน อย่าตื่นเต้นตกใจ หรือวู่วามวิ่งเข้าไปยังจุด เกิดเหตุทันที เพราะอาจมีอันตราย จากการสู้รบ สารเคมี ก๊าซพิษ การระเบิดของก๊าซหรือน้ำมันเชื้อ เพลิง ตึกถล่ม ฯลฯ


    [​IMG]


    ๒. สอบถามจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น ๑๙๑ เจ้าหน้าที่ตำรวจ หรือฝ่ายปกครองในพื้นที่เสียก่อนว่าเหตุการณ์เป็นอย่างไร และต้องการให้ประชาชนทั่วไปเข้า ไปช่วยเหลือหรือไม่

    ถ้าหน่วยงานที่เกี่ยวข้องไม่ต้องการให้ประชาชนทั่วไปเข้าไปช่วยเหลือ อย่าเข้าไปเป็นอันขาดเพราะนอกจากจะเป็นอันตรายต่อตนเองแล้ว ยังกีดขวางการทำงาน ของเจ้าหน้าที่และบุคลากรอื่นที่มีหน้าที่โดยตรง และสามารถช่วย เหลือผู้บาดเจ็บได้ดีกว่าด้วย

    ถ้าหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต้องการความช่วยเหลือ ให้ถามว่าต้องการความช่วยเหลือด้านใด และพิจารณาว่าตนจะให้ความช่วยเหลือนั้นได้หรือไม่ หรือจะติดต่อผู้อื่นที่ช่วยได้ไปช่วยแทน ถ้าพิจารณา แล้วเห็นว่าตนไม่มีความสามารถที่จะช่วยได้ ห้ามเข้าไปในที่เกิดเหตุเด็ดขาด

    เพราะการเป็น"ไทยมุง" เป็น การกีดขวางการปฏิบัติงานช่วยชีวิต และงานอื่นๆ ในภาวะฉุกเฉินอย่างมาก และทำให้เกิดอันตรายต่อผู้ป่วย และต่อเจ้าหน้าที่ผู้กำลังปฏิบัติ งานที่ต้องพะว้าพะวัง ทำให้เกิดอุบัติเหตุเพิ่มขึ้น


    ๓. อย่าเสี่ยงถ้าไม่แน่ใจ การ จะช่วยผู้อื่นให้พ้นภัยจากกรณีต่างๆ ดังกล่าวข้างต้น ควรแน่ใจก่อนว่า ตนเองมีความสามารถที่จะเข้าไปช่วยในจุดเกิดเหตุ และการช่วยนั้น จะไม่เป็นอันตรายต่อตนเองหรือผู้อื่นทั้งโดยทางตรงและทางอ้อม

    อันตรายทางตรง เช่น ทำให้ ผู้ป่วยบาดเจ็บมากขึ้น (เพราะตน ไม่รู้วิธีช่วยเหลือที่ถูกต้อง) ทำให้ ตนเองบาดเจ็บหรือเป็นอันตรายถึง ชีวิต (เพราะเหตุการณ์รุนแรงมาก ไม่มีเครื่องป้องกันภัยเหมือนเจ้า หน้าที่ ไม่มีความรู้หรือกำลังวังชา พอสำหรับเหตุการณ์นั้น เป็นต้น)

    อันตรายทางอ้อม เช่น กีด ขวางหรือรบกวนการปฏิบัติงานของ เจ้าหน้าที่ เพิ่มงานและความพะวักพะวนแก่เจ้าหน้าที่ที่กำลังปฏิบัติ งานช่วยเหลือผู้บาดเจ็บ เป็นต้น
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 9 กันยายน 2012
  19. ทาโร่

    ทาโร่ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 กรกฎาคม 2005
    โพสต์:
    177
    ค่าพลัง:
    +126
    โดยทั่วไป ประชาชนที่ไม่เคย ได้รับการฝึกหัดในการช่วยเหลือผู้ที่ได้รับภยันตราย โดยเฉพาะใน อุบัติเหตุรุนแรง (ร้ายแรง) ไม่ควร เข้าช่วยเหลือผู้บาดเจ็บโดยตรง ควร ช่วยเหลือโดยอ้อม คือ รีบเรียก หรือรีบหาคนที่ชำนาญในเรื่องนั้นมา ช่วยจะดีกว่า เช่น โทรศัพท์ไปบอก ๑๙๑ หรือ ๑๖๖๙ ทันที แล้วแจ้งเหตุ เวลา และสถานที่ให้ชัดเจน เพื่อให้ผู้ที่มีหน้าที่โดยตรงมาทำ การช่วยเหลือผู้บาดเจ็บ ยกเว้นใน กรณีที่ไม่สามารถเรียกหรือหาใคร มาช่วยเหลือได้ หรือในขณะที่รอให้ผู้ที่มีความชำนาญมาช่วยเหลือ ควรปฏิบัติดังนี้

    ๑. สังเกตสภาพแวดล้อม
    ถ้าผู้บาดเจ็บอยู่ในสภาพแวดล้อมที่ไม่มีอันตรายให้เข้า ช่วยเหลือผู้บาดเจ็บ ทันที ถ้าคิดว่าตนช่วยได้ และจะไม่เป็นอันตรายต่อตนเองหรือผู้อื่น แต่ถ้าผู้บาดเจ็บอยู่ในสภาพแวดล้อมที่อันตราย หรืออาจเกิดอันตราย เช่น

    ในอุบัติเหตุรถยนต์และ/หรือรถจักรยานยนต์ โดยเฉพาะที่เกิดบนถนนที่รถวิ่งกันด้วยความ เร็วสูง ให้ดำเนินการดังนี้ก่อนเข้าช่วยเหลือผู้บาดเจ็บ

    ๑.๑ รีบทำเครื่องหมายให้รถที่จะวิ่งเข้าสู่บริเวณที่เกิดเหตุทราบ ว่ามีอุบัติเหตุอยู่ข้างหน้า จะได้ชะลอ ความเร็วลง เช่น ด้วยการหักกิ่งไม้ ข้างทาง หรือใช้กระป๋องหรือสิ่งอื่น ที่หาได้ง่าย และเห็นได้ชัดในระยะ ไกลมาขวางถนนด้านซ้ายบ้างขวา บ้างเป็นระยะแบบสลับฟันปลา ให้ ไกลจากจุดเกิดเหตุทั้งข้างหน้าและ ข้างหลังอย่างน้อย ๑๐๐-๒๐๐ เมตร เพื่อให้รถลดความเร็วลง และถ้ามีคนช่วยยืนโบกผ้าหรือธงด้วย จะ ยิ่งช่วยได้มากขึ้น ต้องทำขั้นตอนนี้ ก่อนจะทำขั้นตอนต่อไป

    ๑.๒ สังเกตสิ่งอันตราย เช่น น้ำมันไหลนอง มีสารเคมีหกเลอะ-เทอะหรือฟุ้งกระจาย มีกลิ่นก๊าซหรือกลิ่นแปลกปลอม หรือมีสิ่งอื่นๆ ที่อาจจะเป็นอันตรายในบริเวณที่เกิดเหตุหรือไม่ และให้สังเกตเครื่อง หมาย หรือสัญลักษณ์ของสารอันตรายที่ติดไว้ข้างรถ และบนสิ่งของ ที่บรรทุกอยู่ด้วย
    รถที่บรรทุกวัตถุไวไฟ เช่นน้ำมันเชื้อเพลิง ก๊าซหุงต้ม และรถ ที่บรรทุกสารเคมีอันตราย สารพิษ หรือสารกัมมันตภาพรังสี จะมีเครื่องหมายติดอยู่ที่ตัวรถ ถ้ารถเหล่านี้เกิดอุบัติเหตุ ต้องระวังการ ติดไฟ การระเบิด และการได้รับพิษโดยไม่ทันรู้ตัวได้

    ถ้ามีสิ่งต่างๆ ดังกล่าวข้างต้น ห้ามเข้าใกล้บริเวณที่เกิดเหตุ ถ้าไม่ มีจึงจะเข้าไปในบริเวณที่เกิดเหตุ และดำเนินการตามขั้นตอนต่อไป

    ๒. ดูว่ามีผู้บาดเจ็บกี่คนและบาดเจ็บอย่างไร แล้วรีบโทรศัพท์แจ้งศูนย์ฉุกเฉิน เช่น ๑๙๑ หรือ ๑๖๖๙ และถามศูนย์ด้วยว่าตนควร จะช่วยผู้บาดเจ็บหรือไม่และอย่างไร แล้วดำเนินการตามที่ศูนย์ฉุกเฉิน แนะนำ

    ในกรณีที่ติดต่อศูนย์ฉุกเฉินไม่ได้ หรือขณะที่รอหน่วยรถพยาบาล ฉุกเฉินอยู่ ควรดำเนินการขั้นต่อไป
     
  20. ทาโร่

    ทาโร่ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 กรกฎาคม 2005
    โพสต์:
    177
    ค่าพลัง:
    +126
    ๓.ปลอบขวัญ ให้กำลังใจและเคลื่อนย้ายผู้บาดเจ็บ ออกจากจุดอันตราย
    ถ้าผู้บาดเจ็บติดอยู่ในซากรถ และไม่สามารถขยับเขยื้อนได้ ให้รอคนที่ชำนาญการมาช่วย ให้ไปช่วยคนที่ตนสามารถช่วยได้ก่อน
    ถ้าผู้บาดเจ็บยังพอเดินได้หรือคลานได้ ช่วยแนะนำทิศทางและสถานที่ที่ปลอดภัยกว่า เพื่อให้ผู้บาดเจ็บย้ายไปรอรับการรักษาพยาบาลที่นั่น
    ถ้าผู้บาดเจ็บเดินหรือคลานไม่ได้ แต่ยังสามารถเอี้ยวคอ เงยคอ และตะแคงตัวได้ ให้ผู้บาดเจ็บพลิกตัวนอนหงายบนแผ่นกระดาน หรือผ้าหนาๆ เช่น ผ้าใบหรือกระสอบ แล้วลากกระดานหรือผ้าที่มีผู้บาดเจ็บนอนอยู่ให้พ้นจากจุดอันตราย ถ้าไม่มีกระดานหรือผ้าให้คุกเข่าเหนือศีรษะผู้บาดเจ็บ แล้วใช้มือทั้ง ๒ ช้อนใต้รักแร้ทั้ง ๒ ข้างของผู้บาดเจ็บ ยกท่อนบนของ ลำตัวขึ้น แล้วลากผู้บาดเจ็บออกไปจากจุดอันตราย


    ถ้าผู้บาดเจ็บไม่สามารถเอี้ยวคอ เงยคอ หรือตะแคงตัวเอง หรือ มีอาการเจ็บมากที่จุดใดจุดหนึ่งตาม แนวสันหลัง ตั้งแต่ท้ายทอยลงไป จนถึงเอว อย่าพยายามเคลื่อนย้ายผู้บาดเจ็บ ให้รอผู้ที่ชำนาญการมาเคลื่อนย้าย เพราะผู้บาดเจ็บอาจจะมีการหักของกระดูกสันหลังที่ส่วนใดส่วนหนึ่ง การเคลื่อนย้ายโดยไม่ถูกวิธี จะทำให้ผู้บาดเจ็บเป็นอัมพาต และหยุดหายใจได้


    ถ้าผู้บาดเจ็บหมดสติ แต่ยังหายใจอยู่ และไม่มีทางรู้ว่ามีการหักของกระดูกสันหลังส่วนใดหรือไม่ ห้ามเคลื่อนย้ายผู้ป่วยให้ช่วยทำให้ผู้บาดเจ็บหายใจได้สะดวกขึ้น เช่น ปลดกระดุมเสื้อ คลายเข็มขัด เช็ดเหงื่อหรือเลือดที่เปื้อน ตามใบหน้า จมูก และปาก โบกลมไปที่หน้าของผู้ป่วย เป็นต้น


    ถ้าผู้บาดเจ็บหมดสติ ไม่หายใจ และไม่กระดุกกระดิกเลย ให้ถือว่า"หัวใจหยุด" (cardiac arrest) ถ้ากู้ชีพ (ฟื้นชีวิต) เป็น และสามารถทำได้โดยไม่เป็นอันตรายต่อผู้บาดเจ็บหรือตนเอง ให้รีบกู้ชีพทันที (ดูวิธีกู้ชีพใน"มาเป็นหมอกันเถิด" ในหมอชาวบ้าน ฉบับเดือนพฤษภาคม ๒๕๔๕) แต่ถ้าทำไม่เป็นหรือทำไม่ได้ เช่น ผู้บาดเจ็บติดอยู่ในซากรถก็ควรปล่อยไปให้ไปช่วยคนที่ตนสามารถช่วยได้ จะเกิดผลมากกว่า


    คนที่ได้รับบาดเจ็บที่ศีรษะ เช่น ศีรษะโหม่งพื้น ของหนักตกใส่ศีรษะ ถูกตีศีรษะ หรือได้รับบาดเจ็บโดยตกจากที่สูง หรือได้รับบาดเจ็บตามแนวกระดูกสันหลัง ให้สงสัยเสมอว่า กระดูกสันหลังอาจหัก ดังนั้น ห้ามเคลื่อนย้ายผู้ป่วยด้วยการอุ้ม การแบกพาดบ่า หรือวิธีการอื่นใด ที่ทำให้กระดูกสันหลังไม่เป็นแท่งตรงตั้งแต่ศีรษะลงไปจนถึงเอว


    ถ้าจำเป็นต้องเคลื่อนย้ายผู้บาดเจ็บที่กระดูกสันหลังอาจหัก โดยไม่มีเครื่องมือใดๆ และผู้บาดเจ็บอยู่ในท่านอนหงายอยู่แล้ว (ถ้าผู้ป่วยอยู่ในท่าอื่น และไม่สามารถเอี้ยวคอ เงยคอ หรือตะแคงตัวได้เลย อย่าพยายามเคลื่อนย้ายดีกว่า) ให้นั่งลงเหนือศีรษะผู้บาดเจ็บ ใช้มือ ทั้ง ๒ ช้อนบริเวณคอส่วนที่ติดกับท้ายทอย และใช้นิ้วหัวแม่มือทั้ง ๒ ข้างจับขากรรไกรของผู้บาดเจ็บไว้ แล้วดึงคอและศีรษะของผู้บาดเจ็บ เข้าหาตัวผู้ดึง (ดูรูป) หลังจากนั้นผู้ดึงก็นั่งเถิบไปข้างหลัง แล้วดึงคอ และศีรษะของผู้บาดเจ็บเข้าหาตนอีก ทำเช่นนี้ไปเรื่อยๆ จนสามารถเคลื่อนย้ายผู้ป่วยออกจากจุดอันตราย

    [​IMG]
     

แชร์หน้านี้

Loading...