รวบรวม ธรรม

ในห้อง 'พระไตรปิฎก' ตั้งกระทู้โดย Saber, 9 สิงหาคม 2012.

  1. Saber

    Saber เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    5,941
    กระทู้เรื่องเด่น:
    19
    ค่าพลัง:
    +11,819
    ตั้งกระทู้ผิดหมด

    รบกวนช่วยย้ายกระทู้ ตาม หมวด ที่ สมควร ด้วยครับ





    [​IMG][size=1pt]ฝากรูป[/size] [size=1pt]ฝากรูปฟรี[/size] [size=1pt]ดูหนังออนไลน์[/size]





     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 11 ตุลาคม 2012
  2. Saber

    Saber เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    5,941
    กระทู้เรื่องเด่น:
    19
    ค่าพลัง:
    +11,819


    ช่วย ยก ข้อความใน พระไตรปิฎก มาอ้างอิงด้วยครับ

    ว่าเป็น พุทธพจน์ ของพระพุทธเจ้า


    หรือว่า เป็นแค่ คำพูดของ ตัวเอง ที่คิดไปเองคนเดียว กล่าว แอบอ้าง พุทธพจน์ ของพระพุทธเจ้า
     
  3. Saber

    Saber เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    5,941
    กระทู้เรื่องเด่น:
    19
    ค่าพลัง:
    +11,819
    อิทธิบาทสี่ นั้น ต้องเป็น พระอรหันต์ พระพุทธเจ้า พระปัจเจกพุทธเจ้า

    ถึงจะ เจริญ อิทธิบาทสี่ ได้เท่านั้น


    ถ้าเป็น พระโพธิสัตว์ อยู่ ไม่มีทางที่จะ สำเร็จ อิทธิบาทสี่ ได้

    ผู้ที่ จะสำเร็จ อิทธิบาทสี่ นั้น

    ต้องเป็น พระอรหันต์ พระพุทธเจ้า พระปัจเจกพุทธเจ้า

    ถึงจะ เจริญ อิทธิบาทสี่ ได้เท่านั้นครับ




    <CENTER>พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑ พระวินัยปิฎก เล่มที่ ๑
    มหาวิภังค์ ภาค ๑</CENTER>




    <CENTER></CENTER>
    ภิกษุรู้อยู่ กล่าวเท็จว่า ข้าพเจ้าเข้าอิทธิบาท ๔ แล้ว ด้วยอาการ ๓ อย่าง ... ๔ อย่าง ...
    ๕ อย่าง ... ๖ อย่าง ... ๗ อย่าง คือ ๑ เบื้องต้นเธอรู้ว่า จักกล่าวเท็จ ๒ กำลังกล่าว ก็รู้
    ว่ากล่าวเท็จ ๓ ครั้นกล่าวแล้ว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จแล้ว ๔ อำพรางความเห็น ๕ อำพรางความถูกใจ
    ๖ อำพรางความชอบใจ ๗ อำพรางความจริง ต้องอาบัติปาราชิก

    ภิกษุรู้อยู่ กล่าวเท็จว่า ข้าพเจ้าเข้าอิทธิบาท ๔ อยู่ ด้วยอาการ ๓ อย่าง ... ๔ อย่าง ...
    ๕ อย่าง ... ๖ อย่าง ... ๗ อย่าง คือ ๑ เบื้องต้นเธอรู้ว่า จักกล่าวเท็จ ๒ กำลังกล่าว ก็รู้
    ว่ากล่าวเท็จ ๓ ครั้นกล่าวแล้ว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จแล้ว ๔ อำพรางความเห็น ๕ อำพรางความถูกใจ
    ๖ อำพรางความชอบใจ ๗ อำพรางความจริง ต้องอาบัติปาราชิก

    ภิกษุรู้อยู่ กล่าวเท็จว่า ข้าพเจ้าเป็นผู้เข้าอิทธิบาท ๔ ได้แล้ว ด้วยอาการ ๓ อย่าง ...
    ๔ อย่าง ... ๕ อย่าง ... ๖ อย่าง ... ๗ อย่าง คือ ๑ เบื้องต้นเธอรู้ว่า จักกล่าวเท็จ ๒ กำลัง
    กล่าว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จ ๓ ครั้นกล่าวแล้ว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จแล้ว ๔ อำพรางความเห็น ๕ อำพราง
    ความถูกใจ ๖ อำพรางความชอบใจ ๗ อำพรางความจริง ต้องอาบัติปาราชิก

    ภิกษุรู้อยู่ กล่าวเท็จว่า ข้าพเจ้าเป็นผู้ได้อิทธิบาท ๔ ด้วยอาการ ๓ อย่าง ... ๔ อย่าง ...
    ๕ อย่าง ... ๖ อย่าง ... ๗ อย่าง คือ ๑ เบื้องต้นเธอรู้ว่า จักกล่าวเท็จ ๒ กำลังกล่าว ก็รู้ว่า
    กล่าวเท็จ ๓ ครั้นกล่าวแล้ว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จแล้ว ๔ อำพรางความเห็น ๕ อำพรางความถูกใจ
    ๖ อำพรางความชอบใจ ๗ อำพรางความจริง ต้องอาบัติปาราชิก

    ภิกษุรู้อยู่ กล่าวเท็จว่า ข้าพเจ้าเป็นผู้ชำนาญอิทธิบาท ๔ ด้วยอาการ ๓ อย่าง ... ๔ อย่าง ...
    ๕ อย่าง ... ๖ อย่าง ... ๗ อย่าง คือ ๑ เบื้องต้นเธอรู้ว่า จักกล่าวเท็จ ๒ กำลัง
    กล่าว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จ ๓ ครั้นกล่าวแล้ว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จแล้ว ๔ อำพรางความเห็น ๕ อำพราง
    ความถูกใจ ๖ อำพรางความชอบใจ ๗ อำพรางความจริง ต้องอาบัติปาราชิก





    <CENTER>พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๑ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๓
    ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค

    </CENTER>
    สังขาร เธอนั้น เพราะเจริญอิทธิบาท ๔ เหล่านี้ เพราะกระทำให้มากซึ่งอิทธิบาท๔ เหล่านี้ เมื่อปรารถนาก็พึงตั้งอยู่ได้ถึงกัป ๑ หรือเกินกว่ากัป ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้แลเป็นอธิบายในเรื่องอายุของภิกษุ ฯ


    </PRE>






    <CENTER>พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑ พระวินัยปิฎก เล่มที่ ๑
    มหาวิภังค์ ภาค ๑

    </CENTER>๑๖ ภิกษุรู้อยู่ ... แต่กล่าวเท็จว่า ข้าพเจ้าเข้าอิทธิบาท ๔ แล้ว ... เมื่อคนอื่นเข้าใจต้องอาบัติปาราชิก เมื่อเขาไม่เข้าใจ ต้องอาบัติถุลลัจจัย




    </PRE>




    <CENTER>พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๑ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๓
    ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค
    </CENTER>
    [๒๓๑] อิทธิบาท ๔ อย่าง
    ๑. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ ย่อมเจริญอิทธิบาท
    อันประกอบด้วยฉันทสมาธิปธานสังขาร
    ๒. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ ย่อมเจริญอิทธิบาท
    อันประกอบด้วยวิริยสมาธิปธานสังขาร
    ๓. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ ย่อมเจริญอิทธิบาทอัน
    ประกอบด้วยจิตตสมาธิปธานสังขาร
    ๔. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ ย่อมเจริญอิทธิบาทอัน
    ประกอบด้วยวิมังสาสมาธิปธานสังขาร ฯ


    อิทธิบาท ๔ อย่าง คืออะไร

    ๓. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ ย่อมเจริญอิทธิบาทอัน
    ประกอบด้วยจิตตสมาธิปธานสังขาร



    จิตตสมาธิปธานสังขาร คืออะไร



    <CENTER>พระไตรปิฎก เล่มที่ ๓๕ พระอภิธรรมปิฎก เล่มที่ ๒
    วิภังคปกรณ์
    </CENTER>
    [๕๑๒] ก็ภิกษุ เจริญอิทธิบาทอันประกอบด้วยจิตตสมาธิปธานสังขาร
    เป็นอย่างไร
    ถ้าภิกษุทำจิตให้เป็นอธิบดีแล้วจึงได้สมาธิ ได้เอกัคคตาแห่งจิต สมาธินี้
    เรียกว่า จิตตสมาธิ ภิกษุนั้น ทำฉันทะให้เกิด พยายาม ปรารภความเพียร
    ประคองจิตไว้ ทำความเพียร เพื่อป้องกันบาปอกุศลธรรมที่ยังไม่เกิดขึ้นมิให้
    เกิดขึ้น ฯลฯ เพื่อละบาปอกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว ฯลฯ เพื่อสร้างกุศลธรรมที่
    ยังไม่เกิดขึ้นให้เกิดขึ้น ทำฉันทะให้เกิดขึ้น พยายาม ปรารภความเพียร ประคอง
    จิตไว้ ทำความเพียร เพื่อความดำรงอยู่ ความไม่สาบสูญ ความภิยโยยิ่ง ความ
    ไพบูลย์ ความเจริญ ความบริบูรณ์ แห่งกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว สภาวธรรม
    เหล่านี้ เรียกว่า ปธานสังขาร
    จิตตสมาธิและปธานสังขารดังกล่าวมานี้ ประมวลย่อ ๒ อย่างนั้น เข้า
    เป็นอันเดียวกัน ย่อมถึงซึ่งอันนับว่า จิตตสมาธิปธานสังขาร ด้วยประการฉะนี้
    [๕๑๓] ในบทเหล่านั้น จิต เป็นไฉน
    จิต มโน มานัส ฯลฯ มโนวิญญาณธาตุที่สมกัน อันใด นี้เรียกว่า จิต
    สมาธิ เป็นไฉน
    ความตั้งอยู่แห่งจิต ฯลฯ สัมมาสมาธิ อันใด นี้เรียกว่า สมาธิ
    ปธานสังขาร เป็นไฉน
    การปรารภความเพียรทางใจ ฯลฯ สัมมาวายามะ อันใด นี้เรียกว่า
    ปธานสังขาร
    ภิกษุ เป็นผู้เข้าไปถึงแล้ว ฯลฯ ประกอบแล้ว ด้วยจิต สมาธิและ
    ปธานสังขาร ดังกล่าวมานี้ ด้วยเหตุนั้น จึงเรียกว่า ประกอบด้วยจิตตสมาธิปธาน-
    *สังขาร ด้วยประการฉะนี้







    </PRE>
    ดังนั้นจะเห็นได้ว่า จิตตะ 1 ใน 4 ของ อิทธิบาท นั้น คืออะไร ตามหลักของ ศาสนาพุทธ พุทธพจน์ ของพระพุทธเจ้า


    อีก 3 ฉันทะ วิริยะ วิมังสา

    โปรด ศึกษาเพิ่มเติมได้ใน พระไตรปิฎก


    แสดงให้เห็นว่า เมื่อคนที่ไม่เข้าใจ ธรรม อิทธิบาท ๔ ว่าคืออะไร ก็ย่อมตีความ เข้าใจผิดๆ ใช้ความหมายผิดๆ ทำให้เข้าใจผิด ตามความคิดเห็นของตัวเอง

    ทำให้เข้าใจผิดๆ จากคุณธรรม อิทธิบาท ๔
     
  4. Saber

    Saber เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    5,941
    กระทู้เรื่องเด่น:
    19
    ค่าพลัง:
    +11,819
    [​IMG]
     
  5. Saber

    Saber เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    5,941
    กระทู้เรื่องเด่น:
    19
    ค่าพลัง:
    +11,819

    ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน

    3 คำนี้ ใครเป็นผู้พูด

    ถ้าตีความตามความหมาย ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน ตาม สติ ปัญญา ของ ผู้พุด คนๆนั้น ก็ย่อมมีความหมายได้ 108 ตามระดับ คุณธรรมในหัวใจ ของคนๆนั้น ว่ามีคุณธรรมในหัวใจ ตีความหมายได้แค่ไหน ระดับไหน


    แต่ถ้ายึดตาม พุทธพจน์ ของพระพุทธเจ้า

    ลองอ่าน แล้ว ลองพิจารณา ด้วยตนเอง ครับ



    <CENTER>พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๙ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒๑

    ขุททกนิกาย มหานิทเทส</CENTER><CENTER></CENTER><CENTER>เพราะเป็นผู้เบิกบาน. เพราะเป็นผู้สิ้นอาสวะ. </CENTER><CENTER></CENTER><CENTER>........</CENTER><CENTER></CENTER><CENTER><CENTER>พระไตรปิฎก เล่มที่ ๓๐ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒๒
    ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส</CENTER><TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0 width="90%" background="" align=center><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD><TR><TD bgColor=darkblue width="100%" vspace="0" hspace="0">[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>

    พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้นเป็นพระอรหันต์ ฯลฯ เป็นผู้เบิกบานแล้ว

    </PRE>




    </PRE>


    <CENTER>พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๔ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๖อังคุตตรนิกาย ทสก-เอกาทสกนิบาต</CENTER>

    </PRE>


    <TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0 width="90%" background="" align=center><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD><TR><TD bgColor=darkblue width="100%" vspace="0" hspace="0">[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>

    </PRE>



    นั้น เป็นพระอรหันต์ ... เป็นผู้เบิกบานแล้ว

    </PRE>


    </PRE>





    </PRE>


    </PRE>





    </PRE>


    </PRE>



    <CENTER>พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๓ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๕อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต</CENTER><TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0 width="90%" background="" align=center><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD><TR><TD bgColor=darkblue width="100%" vspace="0" hspace="0">[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>

    ศาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นผู้เบิกบานแล้ว เป็นผู้จำแนกธรรมและธรรมอันตถาคตทรงแสดง เป็นธรรมนำความสงบมาให้ เป็นไปเพื่อปรินิพพานให้ถึงการตรัสรู้

    </PRE>





    </PRE>





    </PRE>



    ***********************************************************

    </PRE>





    </PRE>




    </PRE>


    ตามความเห็นของผม ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน คือ

    </PRE>




    </PRE>



    ผู้รู้ คือ ผู้รู้แจ้งใน อริยสัจสี่


    </PRE>


    ผู้ตื่น คือ ตื่นจากการเวียนว่ายตายเกิด หลุดพ้นจาก วัฏจักรสงสาร


    </PRE>


    ผู้เบิกบาน คือ พระอรหันต์


    </PRE>




    </PRE>




    </PRE>


    พระพุทธเจ้า เป็น ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน


    </PRE>




    </PRE>




    </PRE>




    </PRE>


    แต่... คนธรรมดา ทั่วๆไป ได้แต่ยืมคำมาใช้ โดยที่ตีความหมาย ตาม สภาวะ คุณธรรมในใจ ของคนๆนั้น


    </PRE>




    </PRE>




    </PRE>


    คำเดียวกัน ขึ้นอยู่กับว่า ใครเป็น ผู้พูด


    ลอง พิจารณา ครับ

    </PRE>




    </PRE>




    </PRE>




    </PRE>


    </PRE>

    </CENTER>
     
  6. Saber

    Saber เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    5,941
    กระทู้เรื่องเด่น:
    19
    ค่าพลัง:
    +11,819
    1-4 ถามจริง ไม่รุ้จริงหรอครับ ว่ามันคืออะไร เพราะที่ คุณพิมพ์มานั้น ผิดไปหมดเลย



    1.มั่วมาก ฌาน 2 อะไร เจริญวิปัสสนาได้ครับ แค่ระดับ องค์ในสมาธิ คุณยังไม่รู้จักเลย

    1.คือการที่ จิต เป็นอารมณ์เดียว จนเป็น สมาธิ แล้ว วิปัสสนา พิจารณาธรรมที่เกิดในสมาธิ

    2.คือการใช้ เอา วิปัสสนา เป็นอารมณ์ จน จิต เป็นสมาธิ

    3.คือทางปฏิบัติ ละอุทธัจจะ และมี สมาธิ เป็นอารมณ์ อยู่ สมถะ และ วิปัสสนาจึงไปคู่กัน

    4.คือการที่ ใจ นึกถึง โอภาส ธรรม ที่ถูก ธัจจะกั้นไว้ จนละสังโยชน์ได้


    ผมว่าคุณไป ศึกษา ให้ดีๆ ครับ แค่ระดับ องค์ในสมาธิ คุณยังไม่รู้จักเลย

    แล้ว มรรค 4 ของคุณ ก็ไม่ถูกสักอย่าง ไม่ตรงกับสิ่งที่ พระอานนท์กล่าวไว้เลย

    ตกลง มรรค 4 ของคุณ คืออะไรกันแน่ครับ บอกว่าเป็น แนวทางการปฎิบัติภาวนาในศาสนาพุทธ ทั้ง 4 ประเภทมีดังนี้

    แล้วทำไม มันไม่ตรงตาม พระไตรปิฎก ครับ

    ตรงลง เป็นแนวทาง การสอนของใครกันแน่









    ของจริงตามที่พระอานนท์ กล่าวไว้ดังนี้

    1.ภิกษุเจริญวิปัสสนามีสมถะเป็นเบื้องต้น

    จิตมีอารมณ์เดียวไม่ฟุ้งซ่านด้วยสามารถแห่งเนกขัมมะเป็นสมาธิ แล้ว วิปัสสนาด้วยอรรถว่าพิจารณาเห็นธรรมที่เกิดในสมาธินั้น


    2.ภิกษุเจริญสมถะมีวิปัสสนาเป็นเบื้องต้น

    วิปัสสนานั้นเป็นอารมณ์ เพราะความที่จิตมีอารมณ์เดียวไม่ฟุ้งซ่าน จนเป็น เป็นสมาธิ



    3.ภิกษุเจริญสมถะและวิปัสสนาคู่กันไป

    เมื่อภิกษุละอุทธัจจะ และมี สมาธิ คือความที่จิตมีอารมณ์เดียวไม่ฟุ้งซ่าน มีนิโรธเป็นอารมณ์ ด้วยประการดังนี้ เพราะเหตุดังนี้นั้น ท่านกล่าวว่าเจริญสมถะและวิปัสสนาคู่กันไปด้วยความเป็นอารมณ์ ฯ





    4.ภิกษุมีใจนึกถึงโอภาสอันเป็นธรรมถูกอุทธัจจะกั้นไว้

    ภิกษุมีใจอันอุทธัจจะนั้นกั้นไว้ ย่อมไม่ทราบชัดตามความเป็นจริง ดังนั้น ท่านกล่าวว่า มีใจที่นึก
    ถึงความพอใจอันเป็นธรรมถูกอุทธัจจะกั้นไว้ ฯลฯ ย่อมละสังโยชน์ได้ อนุสัยย่อมสิ้นไป อย่างนี้ ฯ







    พระไตรปิฎก เล่มที่ ๓๑ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒๓





    <CENTER>ยุคนัทธวรรค ยุคนัทธกถา
    </CENTER>

    [๕๓๔] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้
    สมัยหนึ่ง ท่านพระอานนท์อยู่ ณ โฆสิตาราม ใกล้พระนครโกสัมพี
    ณ ที่นั้นแล ท่านพระอานนท์เรียกภิกษุทั้งหลายมาว่า ดูกรอาวุโสทั้งหลาย
    ภิกษุเหล่านั้นรับคำท่านพระอานนท์แล้ว ท่านพระอานนท์ได้กล่าวว่า ดูกรอาวุโส
    ทั้งหลาย ก็ภิกษุหรือภิกษุณีรูปใดรูปหนึ่ง พยากรณ์อรหัตในสำนักเรา ด้วย
    มรรค ๔ ทั้งหมดหรือด้วยมรรคเหล่านั้นมรรคใดมรรคหนึ่ง มรรค ๔ เป็นไฉน ฯ
    ดูกรอาวุโสทั้งหลาย ภิกษุในศาสนานี้ ย่อมเจริญวิปัสสนาอันมีสมถะ
    เป็นเบื้องต้น เมื่อภิกษุนั้นเจริญวิปัสสนาอันมีสมถะเป็นเบื้องต้นอยู่ มรรคย่อม
    เกิด ภิกษุนั้นเสพ เจริญ ทำให้มากซึ่งมรรคนั้น เมื่อภิกษุนั้นเสพ เจริญ
    ทำให้มากซึ่งมรรคนั้นอยู่ ย่อมละสังโยชน์ได้ อนุสัยย่อมสิ้นไป ฯ
    อีกประการหนึ่ง ภิกษุเจริญสมถะมีวิปัสสนาเป็นเบื้องต้น เมื่อภิกษุ
    นั้นเจริญสมถะมีวิปัสสนาเป็นเบื้องต้นอยู่ มรรคย่อมเกิดขึ้น ภิกษุนั้นเสพ เจริญ
    ทำให้มากซึ่งมรรคนั้น เมื่อภิกษุนั้นเสพ เจริญ ทำให้มากซึ่งมรรคนั้นอยู่
    ย่อมละสังโยชน์ได้ อนุสัยย่อมสิ้นไป ฯ
    อีกประการหนึ่ง ภิกษุเจริญสมถะและวิปัสสนาคู่กันไป เมื่อภิกษุนั้น
    เจริญสมถะและวิปัสสนาคู่กันไป มรรคย่อมเกิด ภิกษุนั้นเสพ เจริญ ทำ
    ให้มากซึ่งมรรคนั้น เมื่อภิกษุนั้นเสพ เจริญทำให้มากซึ่งมรรคนั้นอยู่ ย่อม
    ละสังโยชน์ได้ อนุสัยย่อมสิ้นไป ฯ
    อีกประการหนึ่ง ภิกษุมีใจนึกถึงโอภาสอันเป็นธรรมถูกอุทธัจจะกั้นไว้
    สมัยนั้น จิตย่อมตั้งมั่นสงบอยู่ภายใน เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ตั้งมั่นอยู่
    มรรคย่อมเกิดแก่ภิกษุนั้น ภิกษุนั้นเสพ เจริญ ทำให้มากซึ่งมรรคนั้น เมื่อ
    ภิกษุนั้นเสพ เจริญ ทำให้มากซึ่งมรรคนั้นอยู่ ย่อมละสังโยชน์ได้ อนุสัย
    ย่อมสิ้นไป ดูกรอาวุโสทั้งหลาย ก็ภิกษุหรือภิกษุณีรูปใดรูปหนึ่ง พยากรณ์
    อรหัตในสำนักเรา ด้วยมรรค ๔ นี้ทั้งหมด หรือด้วยมรรคเหล่านั้นมรรคใดมรรค
    หนึ่ง ฯ



    อรหัตในสำนักเรา ด้วยมรรค ๔ นี้ทั้งหมด

    1.ภิกษุเจริญวิปัสสนามีสมถะเป็นเบื้องต้น

    2.ภิกษุเจริญสมถะมีวิปัสสนาเป็นเบื้องต้น

    3.ภิกษุเจริญสมถะและวิปัสสนาคู่กันไป

    4.ภิกษุมีใจนึกถึงโอภาสอันเป็นธรรมถูกอุทธัจจะกั้นไว้




    1.ภิกษุเจริญวิปัสสนามีสมถะเป็นเบื้องต้น

    [๕๓๕] ภิกษุเจริญวิปัสสนามีสมถะเป็นเบื้องต้นอย่างไร ฯ
    ความที่จิตมีอารมณ์เดียวไม่ฟุ้งซ่านด้วยสามารถแห่งเนกขัมมะเป็นสมาธิ
    วิปัสสนาด้วยอรรถว่าพิจารณาเห็นธรรมที่เกิดในสมาธินั้น โดยความเป็นสภาพ
    ไม่เที่ยง โดยความเป็นทุกข์ โดยความเป็นอนัตตา ด้วยประการดังนี้
    สมถะจึงมีก่อน วิปัสสนามีภายหลัง เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า เจริญ
    วิปัสสนามีสมถะเป็นเบื้องต้น ฯ


    2.ภิกษุเจริญสมถะมีวิปัสสนาเป็นเบื้องต้น

    [๕๓๗] ภิกษุนั้นย่อมเจริญสมถะมีวิปัสสนาเป็นเบื้องต้นอย่างไร ฯ
    วิปัสสนา ด้วยอรรถว่าพิจารณาเห็นโดยความเป็นสภาพไม่เที่ยง โดยความ
    เป็นทุกข์ โดยความเป็นอนัตตา ความที่จิตมีการปล่อยธรรมทั้งหลายที่เกิดใน
    วิปัสสนานั้นเป็นอารมณ์ เพราะความที่จิตมีอารมณ์เดียวไม่ฟุ้งซ่าน เป็นสมาธิ
    ด้วยประการดังนี้ วิปัสสนาจึงมีก่อน สมถะมีภายหลัง เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า
    เจริญสมถะมีวิปัสสนาเป็นเบื้องต้น ฯ


    3.ภิกษุเจริญสมถะและวิปัสสนาคู่กันไป

    ภิกษุเจริญสมถะและวิปัสสนาคู่กันไปด้วยอารมณ์อย่างไร ฯ
    เมื่อภิกษุละอุทธัจจะ สมาธิ คือความที่จิตมีอารมณ์เดียวไม่ฟุ้งซ่าน มี
    นิโรธเป็นอารมณ์ ด้วยประการดังนี้ สมถะและวิปัสสนาจึงมีกิจเป็นอันเดียวกัน
    เป็นคู่กัน ไม่ล่วงเกินกันและกัน ด้วยความเป็นอารมณ์ เพราะเหตุดังนี้นั้นท่าน
    จึงกล่าวว่าเจริญสมถะและวิปัสสนาคู่กันไปด้วยความเป็นอารมณ์ ฯ


    4.ภิกษุมีใจนึกถึงโอภาสอันเป็นธรรมถูกอุทธัจจะกั้นไว้

    [๕๔๒] ใจที่นึกถึงโอภาสอันเป็นธรรมถูกอุทธัจจะกั้นไว้ ย่อมมี
    อย่างไร ฯ
    เมื่อภิกษุมนสิการโดยความเป็นสภาพไม่เที่ยง โอภาสย่อมเกิดขึ้น ภิกษุนึก
    ถึงโอภาสว่า โอภาสเป็นธรรม เพราะนึกถึงโอภาสนั้น จึงมีความฟุ้งซ่านเป็นอุทธัจจะ
    ภิกษุมีใจอันอุทธัจจะนั้นกั้นไว้ ย่อมไม่ทราบชัดตามความเป็นจริง ซึ่งความปรากฏโดย
    ความเป็นสภาพไม่เที่ยง โดยความเป็นทุกข์ โดยความเป็นอนัตตา เพราะเหตุนั้น
    ท่านจึงกล่าวว่า มีใจที่นึกถึงโอภาสอันเป็นธรรมถูกอุทธัจจะกั้นไว้ สมัยนั้น จิต
    ที่ตั้งมั่นสงบอยู่ภายใน เป็นธรรมเอกผุดขึ้นตั้งมั่นอยู่ มรรคย่อมเกิดแก่ภิกษุนั้น
    มรรคย่อมเกิดอย่างไร ฯลฯ มรรคย่อมเกิดอย่างนี้ ฯลฯ ย่อมละสังโยชน์ได้
    อนุสัยย่อมสิ้นไปอย่างนี้ เมื่อภิกษุมนสิการโดยความเป็นสภาพไม่เที่ยง ญาณ
    ปีติ ปัสสัทธิ สุข อธิโมกข์ (ความน้อมใจเชื่อ) ปัคคาหะ (ความเพียร)
    อุปัฏฐานะ (ความตั้งมั่น) อุเบกขา นิกันติ (ความพอใจ) ย่อมเกิดขึ้น ภิกษุ
    นึกถึงความพอใจว่า ความพอใจเป็นธรรม เพราะนึกถึงความพอใจนั้น จึงมีความ
    ฟุ้งซ่านเป็นอุทธัจจะ ภิกษุมีใจอันอุทธัจจะนั้นกั้นไว้ ย่อมไม่ทราบชัดตามความ
    เป็นจริงซึ่งความปรากฏโดยความเป็นสภาพไม่เที่ยง โดยความเป็นทุกข์ โดยความ
    เป็นอนัตตา เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า มีใจที่นึกถึงความพอใจอันเป็นธรรม
    ถูกอุทธัจจะกั้นไว้ สมัยนั้น จิตที่ตั้งมั่นสงบอยู่ภายใน เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ตั้ง
    มั่นอยู่ มรรคย่อมเกิดแก่ภิกษุนั้น มรรคย่อมเกิดอย่างไร ฯลฯ มรรคย่อมเกิด
    อย่างนี้ ฯลฯ ย่อมละสังโยชน์ได้ อนุสัยย่อมสิ้นไปอย่างนี้ ฯลฯ เมื่อภิกษุ
    มนสิการโดยความเป็นทุกข์ ฯลฯ เมื่อภิกษุมนสิการโดยความเป็นอนัตตา โอภาส
    ญาณ ปีติ ปัสสัทธิ สุข อธิโมกข์ ปัคคาหะ อุปัฏฐานะ อุเบกขา นิกันติ
    ย่อมเกิดขึ้น ภิกษุนึกถึงความพอใจว่า ความพอใจเป็นธรรม เพราะนึกถึงความ
    พอใจนั้น จึงมีความฟุ้งซ่านเป็นอุทธัจจะ ภิกษุมีใจอันอุทธัจจะนั้นกั้นไว้ ย่อม
    ไม่ทราบชัดตามความเป็นจริง ซึ่งความปรากฏโดยความเป็นอนัตตา โดยความ
    เป็นสภาพไม่เที่ยง โดยความเป็นทุกข์ เพราะเหตุนั้น ท่านกล่าวว่า มีใจที่นึก
    ถึงความพอใจอันเป็นธรรมถูกอุทธัจจะกั้นไว้ ฯลฯ ย่อมละสังโยชน์ได้ อนุสัย
    ย่อมสิ้นไป อย่างนี้ ฯ
     
  7. Saber

    Saber เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    5,941
    กระทู้เรื่องเด่น:
    19
    ค่าพลัง:
    +11,819

    <CENTER>พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๐ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๒





    อังคุตตรนิกาย เอก-ทุก-ติกนิบาต</CENTER>
    <TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0 width="90%" background="" align=center><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>​





    [๒๖๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย คน ๒ จำพวกนี้ย่อมกล่าวตู่ตถาคต
    ๒ จำพวกเป็นไฉน คือ คนเจ้าโทสะซึ่งมีโทษอยู่ภายใน ๑ คนที่เชื่อโดยถือผิด ๑
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย คน ๒ จำพวกนี้ ย่อมกล่าวตู่ตถาคต ฯ

    [๒๖๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย คน ๒ จำพวกนี้ ย่อมกล่าวตู่ตถาคต
    ๒ จำพวกเป็นไฉน คือ คนที่แสดงสิ่งที่ตถาคตมิได้ภาษิตไว้ มิได้ตรัสไว้ว่า ตถาคต
    ได้ภาษิตไว้ ได้ตรัสไว้ ๑ คนที่แสดงสิ่งที่ตถาคตภาษิตไว้ ตรัสไว้ว่า ตถาคต
    มิได้ภาษิตไว้ มิได้ตรัสไว้ ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย คน ๒ จำพวกนี้แล ย่อม
    กล่าวตู่ตถาคต ดูกรภิกษุทั้งหลาย คน ๒ จำพวกนี้ ย่อมไม่กล่าวตู่ตถาคต
    ๒ จำพวกเป็นไฉน คือ คนที่แสดงสิ่งที่ตถาคตมิได้ภาษิตไว้ มิได้ตรัสไว้ว่า
    ตถาคตมิได้ภาษิตไว้ มิได้ตรัสไว้ ๑ คนที่แสดงสิ่งที่ตถาคตภาษิตไว้ ตรัสไว้ว่า
    ตถาคตภาษิตไว้ ตรัสไว้ ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย คน ๒ จำพวกนี้แล ย่อมไม่
    กล่าวตู่ตถาคต ฯ
     
  8. Saber

    Saber เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    5,941
    กระทู้เรื่องเด่น:
    19
    ค่าพลัง:
    +11,819

    ..................................
     
  9. Saber

    Saber เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    5,941
    กระทู้เรื่องเด่น:
    19
    ค่าพลัง:
    +11,819
    http://palungjit.org/posts/3828733
     
  10. Saber

    Saber เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    5,941
    กระทู้เรื่องเด่น:
    19
    ค่าพลัง:
    +11,819
    พุทธดำรัส ...อาสวะทั้งหลายของภิกษุนั้นสิ้นไปแล้วเพราะเห็นด้วยปัญญา แม้ธรรมนี้ก็ยิ่งกว่า ประณีตกว่าญาณทัสสนะ เรากล่าวบุคคลนี้ว่า เปรียบเหมือนบุรุษต้องการแก่นไม้.... เมื่อไปถึงต้นไม้ใหญ่รู้จักว่าแก่น ตัดเอาแต่แก่นเท่านั้นถือเอาไป กิจที่ควรทำด้วยแก่นไม้ของบุรุษนั้น ก็จักสำเร็จประโยชน์ได้ ดังนี้


    ทำอย่างไรจะเข้าถึงแก่นพระศาสนา
     
  11. Saber

    Saber เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    5,941
    กระทู้เรื่องเด่น:
    19
    ค่าพลัง:
    +11,819
    ยารักษาโรคมะเร็ง



    ....................
     
  12. Saber

    Saber เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    5,941
    กระทู้เรื่องเด่น:
    19
    ค่าพลัง:
    +11,819
    พุทธพจน์ ของพระพุทธเจ้า






    <CENTER>พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๔ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๖
    อังคุตตรนิกาย ทสก-เอกาทสกนิบาต</CENTER>
    <TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0 width="90%" background="" align=center><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD><TR><TD bgColor=darkblue width="100%" hspace="0" vspace="0">[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>




    <CENTER></CENTER><CENTER>ชาณุสโสณีสูตร</CENTER>[๑๖๖] ครั้งนั้นแล ชาณุสโสณีพราหมณ์เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับได้ปราศรัยกับพระผู้มีพระภาค ครั้นผ่านการปราศรัยพอให้ระลึกถึงกันไปแล้วจึงนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคว่า ท่านโคดมผู้เจริญพวกข้าพเจ้าได้นามว่าเป็นพราหมณ์ ย่อมให้ทาน ย่อมทำความเชื่อว่า ทานนี้ต้องสำเร็จแก่ญาติสาโลหิตผู้ล่วงลับไปแล้ว ขอญาติสาโลหิตผู้ล่วงลับไปแล้วจงบริโภคทานนี้ ท่านโคดมผู้เจริญ ทานนั้นย่อมสำเร็จแก่ญาติสาโลหิตผู้ล่วงลับไปแล้วหรือญาติสาโลหิตผู้ล่วงลับไปแล้วเหล่านั้นย่อมได้บริโภคทานนั้นหรือ พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรพราหมณ์ ทานนั้นย่อมสำเร็จในฐานะแล ย่อมไม่สำเร็จในอฐานะ ฯ ชา. ท่านโคดมผู้เจริญ ฐานะเป็นไฉน อฐานะเป็นไฉน ฯ พ. ดูกรพราหมณ์ บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ประพฤติผิดในกาม พูดเท็จ พูดส่อเสียด พูดคำหยาบ พูดเพ้อเจ้อ มีความอยากได้ของผู้อื่น มีจิตปองร้าย มีความเห็นผิด บุคคลนั้นเมื่อตายไปย่อมเข้าถึงนรก เขาย่อมเลี้ยงอัตภาพอยู่ในนรกนั้น ย่อมตั้งอยู่ในนรกนั้น ด้วยอาหารของสัตว์นรก ดูกรพราหมณ์ ฐานะอันเป็นที่ไม่เข้าไปสำเร็จแห่งทานแก่สัตว์ผู้ตั้งอยู่นี้แล เป็นอฐานะ ฯ ดูกรพราหมณ์ บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ฆ่าสัตว์ ฯลฯ มีความเห็นผิด บุคคลนั้นเมื่อตายไป ย่อมเข้าถึงกำเนิดสัตว์ดิรัจฉานนั้น ย่อมตั้งอยู่ในกำเนิดสัตว์ดิรัจฉานนั้น ด้วยอาหารของสัตว์ผู้เกิดในกำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน ดูกรพราหมณ์แม้ฐานะอันเป็นที่ไม่เข้าไปสำเร็จแห่งทานแก่สัตว์ผู้ตั้งอยู่นี้แล ก็เป็นอฐานะ ฯ ดูกรพราหมณ์ บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้เว้นขาดจากการฆ่าสัตว์จากการลักทรัพย์ จากการประพฤติผิดในกาม จากการพูดเท็จ จากการพูดส่อเสียดจากการพูดคำหยาบ จากการพูดเพ้อเจ้อ ไม่มีความอยากได้ของผู้อื่น มีจิตไม่ปองร้าย มีความเห็นชอบ บุคคลนั้นเมื่อตายไป ย่อมเข้าถึงความเป็นสหายของพวกมนุษย์ เขาย่อมเลี้ยงอัตภาพในมนุษย์โลกนั้น ย่อมตั้งอยู่ในมนุษย์นั้นด้วยอาหารของมนุษย์ ดูกรพราหมณ์ แม้ฐานะอันเป็นที่ไม่เข้าไปสำเร็จแห่งทานแก่สัตว์ผู้ตั้งอยู่นี้แล ก็เป็นอฐานะ ฯ ดูกรพราหมณ์ บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้เว้นขาดจากการฆ่าสัตว์ฯลฯ มีความเห็นชอบ บุคคลนั้นเมื่อตายไป ย่อมเข้าถึงความเป็นสหายของเทวดาเขาย่อมเลี้ยงอัตภาพอยู่ในเทวโลกนั้น ย่อมตั้งอยู่ในเทวโลกนั้น ด้วยอาหารของเทวดา ดูกรพราหมณ์ แม้ฐานะเป็นที่ไม่เข้าไปสำเร็จแห่งทานแก่สัตว์ผู้ตั้งอยู่นี้แลก็เป็นอฐานะ ฯ ดูกรพราหมณ์ บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ฆ่าสัตว์ ฯลฯ มีความเห็นผิด บุคคลนั้นเมื่อตายไป ย่อมเข้าถึงเปรตวิสัย เขาย่อมเลี้ยงอัตภาพอยู่ในเปรตวิสัยนั้น ด้วยอาหารของสัตว์ผู้เกิดในเปรตวิสัย หรือว่ามิตร อำมาตย์หรือญาติสาโลหิตของเขา ย่อมเพิ่มให้ซึ่งปัตติทานมัยจากมนุษย์โลกนี้ เขาเลี้ยงอัตภาพอยู่ในเปรตวิสัยนั้น ย่อมตั้งอยู่ในเปรตวิสัยนั้น ด้วยปัตติทานมัยนั้น ดูกรพราหมณ์ฐานะอันเป็นที่เข้าไปสำเร็จแห่งทานแก่สัตว์ผู้ตั้งอยู่นี้แล เป็นฐานะ ฯ ชา. ท่านโคดมผู้เจริญ ก็ถ้าญาติสาโลหิตผู้ล่วงลับไปแล้วนั้น ไม่เข้าถึงฐานะนั้น ใครเล่าจะบริโภคทานนั้น ฯ พ. ดูกรพราหมณ์ ญาติสาโลหิตผู้ล่วงลับไปแล้วแม้เหล่าอื่นของทายกนั้นที่เข้าถึงฐานะนั้นมีอยู่ ญาติสาโลหิตเหล่านั้นย่อมบริโภคทานนั้น ฯ ชา. ท่านโคดมผู้เจริญ ก็ถ้าญาติสาโลหิตผู้ล่วงลับไปแล้วนั้น ไม่เข้าถึงฐานะนั้น และญาติสาโลหิตผู้ล่วงลับไปแล้วแม้เหล่าอื่นของทายกนั้น ก็ไม่เข้าถึงฐานะนั้น ใครเล่าจะบริโภคทานนั้น ฯ พ. ดูกรพราหมณ์ ฐานะที่จะพึงว่างจากญาติสาโลหิตผู้ล่วงลับไปแล้วโดยกาลช้านานเช่นนี้ มิใช่ฐานะมิใช่โอกาสที่จะมีได้ อีกประการหนึ่ง แม้ทายกก็เป็นผู้ไม่ไร้ผล ฯ ชา. ท่านโคดมผู้เจริญ ย่อมตรัสกำหนดแม้ในอฐานะหรือ ฯ พ. ดูกรพราหมณ์ เรากล่าวกำหนดแม้ในอฐานะ ดูกรพราหมณ์ บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ฆ่าสัตว์ ... มีความเห็นผิด บุคคลนั้นย่อมให้ข้าว น้ำ ผ้ายาน มาลา ของหอม เครื่องลูบไล้ ที่นอน ที่พัก และเครื่องประทีป แก่สมณพราหมณ์ บุคคลนั้นเมื่อตายไป ย่อมเข้าถึงความเป็นสหายของช้าง เขาย่อมได้ข้าว น้ำ มาลาและเครื่องอลังการต่างๆ ในกำเนิดช้างนั้น ดูกรพราหมณ์ข้อที่บุคคลเป็นผู้ฆ่าสัตว์ ... มีความเห็นผิด ผู้นั้นเมื่อตายไป ย่อมเข้าถึงความเป็นสหายของช้างด้วยกรรมนั้น และข้อที่ผู้นั้นเป็นผู้ให้ข้าว น้ำ ยาน มาลา ของหอม เครื่องลูบไล้ ที่นอน ที่พัก และเครื่องประทีป แก่สมณพราหมณ์ ผู้นั้นย่อมได้ข้าว น้ำ มาลาและเครื่องอลังการต่างๆ ในกำเนิดช้างนั้นด้วยกรรมนั้น ฯ ดูกรพราหมณ์ อนึ่ง บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ฆ่าสัตว์ ... มีความเห็นผิด บุคคลนั้นย่อมให้ข้าว น้ำ ผ้า ยาน มาลา ของหอม เครื่องลูบไล้ที่นอน ที่พัก และเครื่องประทีปแก่สมณพราหมณ์ ผู้นั้นเมื่อตายไป ย่อมเข้าถึงความเป็นสหายของม้า ... ย่อมเข้าถึงความเป็นสหายของโค ... ย่อมเข้าถึงความเป็นสหายของสุนัข เขาย่อมได้ข้าว น้ำ มาลาและเครื่องอลังการต่างๆ ในกำเนิดสุนัขนั้น ดูกรพราหมณ์ ข้อที่บุคคลเป็นผู้ฆ่าสัตว์ ... มีความเห็นผิด บุคคลนั้นเมื่อตายไป ย่อมเข้าถึงความเป็นสหายของสุนัข ด้วยกรรมนั้น และข้อที่ผู้นั้นเป็นผู้ให้ข้าว น้ำ ผ้า ยาน มาลา ของหอม เครื่องลูบไล้ ที่นอน ที่พัก และเครื่องประทีป แก่สมณพราหมณ์ ผู้นั้นย่อมได้ข้าว น้ำ มาลาและเครื่องอลังการต่างๆ ในกำเนิดสุนัขนั้น ด้วยกรรมนั้น ฯ ดูกรพราหมณ์ บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้เว้นขาดจากการฆ่าสัตว์จากการลักทรัพย์ จากการประพฤติผิดในกาม จากการพูดเท็จ จากการพูดส่อเสียดจากการพูดคำหยาบ จากการพูดเพ้อเจ้อ ไม่มีความอยากได้ของผู้อื่น มีจิตไม่ปองร้าย มีความเห็นชอบ ให้ข้าว น้ำ ผ้า ยาน มาลา ของหอม เครื่องลูบไล้ ที่นอน ที่พัก และเครื่องประทีป แก่สมณพราหมณ์ บุคคลนั้นเมื่อตายไปย่อมเข้าถึงความเป็นสหายของพวกมนุษย์ เขาย่อมได้เบญจกามคุณอันเป็นของมนุษย์ในมนุษย์โลกนั้น ดูกรพราหมณ์ ข้อที่บุคคลเป็นผู้เว้นขาดจากการฆ่าสัตว์ลักทรัพย์ ประพฤติผิดในกาม พูดเท็จ พูดส่อเสียด พูดคำหยาบ พูดเพ้อเจ้อไม่มีความอยากได้ของผู้อื่น มีจิตไม่ปองร้าย มีความเห็นชอบ ผู้นั้นเมื่อตายไปย่อมเข้าถึงความเป็นสหายของมนุษย์ ด้วยกรรมนั้น และข้อที่ผู้นั้นเป็นผู้ให้ข้าวน้ำ ผ้า ยาน มาลา ของหอม เครื่องลูบไล้ ที่นอน ที่พัก และเครื่องประทีป แก่สมณพราหมณ์ บุคคลนั้นย่อมได้เบญจกามคุณอันเป็นของมนุษย์ในมนุษย์โลกนั้น ด้วยกรรมนั้น ฯ ดูกรพราหมณ์ อนึ่ง บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้เว้นขาดจากการฆ่าสัตว์ ฯลฯ มีความเห็นชอบ บุคคลนั้นย่อมให้ข้าว น้ำ ยาน มาลา ของหอมเครื่องลูบไล้ ที่นอน ที่พัก และเครื่องประทีป แก่สมณพราหมณ์ บุคคลนั้นเมื่อตายไป ย่อมเข้าถึงความเป็นสหายของเทวดา เขาย่อมได้เบญจกามคุณ อันเป็นทิพย์ในเทวโลกนั้น ดูกรพราหมณ์ ข้อที่บุคคลเป็นผู้เว้นขาดจากการฆ่าสัตว์ ฯลฯมีความเห็นชอบ ผู้นั้นเมื่อตายไป ย่อมเข้าถึงความเป็นสหายของพวกเทวดาด้วยกรรมนั้น และข้อที่ผู้นั้นเป็นผู้ให้ข้าว น้ำ ผ้า ยาน มาลา ของหอม เครื่องลูบไล้ ที่นอน ที่พัก และเครื่องประทีป แก่สมณพราหมณ์ บุคคลนั้นย่อมได้เบญจกามคุณอันเป็นทิพย์ในเทวโลกนั้น ด้วยกรรมนั้น ดูกรพราหมณ์ แม้ทายกก็เป็นผู้ไม่ไร้ผล ฯ ชา. ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ น่าอัศจรรย์ ไม่เคยมีแล้ว ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ข้อที่แม้ทายกก็เป็นผู้ไม่ไร้ผลนี้ เป็นของควรเพื่อให้ทานโดยแท้ เป็นของควรเพื่อกระทำศรัทธาโดยแท้ ฯ พ. ดูกรพราหมณ์ ข้อนี้เป็นอย่างนี้ๆ ดูกรพราหมณ์ แม้ทายกก็เป็นผู้ไม่ไร้ผล ฯ ชา. ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ภาษิตของพระองค์แจ่มแจ้งนัก ฯลฯขอพระโคดมผู้เจริญโปรดทรงจำข้าพระองค์ว่า เป็นอุบาสกผู้ถึงสรณะตลอดชีวิตตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป ฯ


    <CENTER>จบสูตรที่ ๑๐</CENTER><CENTER>จบชาณุสโสณีวรรคที่ ๒</CENTER>




    </PRE>

    http://www.84000.org/tipitaka/pitaka2/v.php?B=24&A=6420&Z=6522
     
  13. Saber

    Saber เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    5,941
    กระทู้เรื่องเด่น:
    19
    ค่าพลัง:
    +11,819
    ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
    พระธรรมเป็นเรื่องละเอียดลึกซึ้ง

    ซึ่งจะขอกล่าวใน พระธรรมที่พระพุทธเจ้าทรงแสดง ครับ ใน ชาณุสโสณีสูตร ซึ่ง
    พระพุทธเจ้าทรงแสดงว่า

    มีพราหมณ์ ชื่อ ชาณุสโสณีพราหมณ์ ได้ทูลพระพุทธเจ้าว่า

    ข้าพระองค์มีความเชื่อว่า ทานที่ข้าพระองค์ให้ไปย่อมสำเร็จแก่ญาติ ความหมายคือ ทาน
    ที่ข้าพระองค์ให้ไป เมื่อข้าพระองค์อุทิศให้ ญาติย่อมได้บริโภคในทานนั้น

    ซึ่งพระพุทธเจ้าตรัสว่า

    ทาน ที่อุทิศให้ญาติ ย่อมสำเร็จ กับ บุคคลบางจำพวก ไม่สำเร็จกับบุคลบางจำพวก
    ซึ่ง หากญาติไปเกิดเป็นมนุษย์ ทานที่อุทิศให้ก็ไม่สำเร็จ

    เพราะ เขาไม่ล่วงรู้ และ ไม่อนุโมทนา

    ไฉนจึงต้องอุทิศ(บุญ)เจาะจง เปรตจึงได้รับบุญ อนุโมทนาเอาเองเลยไม่ได้หรือ


    .
     
  14. Saber

    Saber เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    5,941
    กระทู้เรื่องเด่น:
    19
    ค่าพลัง:
    +11,819
    คำเทศน์ ของ หลวงพ่อฤาษีลิงดำ





    จาก หนังสือ ตายแล้วไม่สูญ...แล้วไปไหน

    คำสอน พระราชพรหมยาน (หลวงพ่อฤาษีลิงดำ)

    การอุทิศส่วนกุศล

    การได้รับส่วนกุศลนี้ ขึ้นอยู่กับท่านนั้นมีโอกาสโมทนา ท่านก็ได้รับ แต่ ถ้าท่านนั้นไม่มีโอกาสโมทนาก็ไม่ได้รับ

    เปรียบเหมือนเราเอาสิ่งของไปให้ แต่ผู้รับเขาไม่รับ เขาก็จะไม่ได้ของ



    ถ้าท่านนั้นไม่มีโอกาสโมทนาก็ไม่ได้รับ

    ถ้าท่านนั้นไม่มีโอกาสโมทนาก็ไม่ได้รับ

    ถ้าท่านนั้นไม่มีโอกาสโมทนาก็ไม่ได้รับ


    คำสอน พระราชพรหมยาน (หลวงพ่อฤาษีลิงดำ)
     
  15. Saber

    Saber เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    5,941
    กระทู้เรื่องเด่น:
    19
    ค่าพลัง:
    +11,819
    "บุญอย่างอื่นลูกทำไปแล้ว พ่อแม่ไม่โมทนาย่อมไม่ได้อานิสงส์นั้น

    แต่ว่าการอุปสมบทและบรรพชา บิดามารดาซึ่งคลอดบุตรมาแล้ว ต่างคนต่างจากกันไป พ่อแม่ไม่ทราบว่าบุตรมีรูปร่างหน้าตาเป็นประการใด เพราะจากกันไปตั้งแต่คลอดใหม่ๆ

    สำหรับลูกชายก็ไม่ทราบเหมือนกันว่า บิดารมารดาเป็นใคร

    แต่ว่าอุปสมบรรพชาเมื่อไร บิดามารดาย่อมได้อานิสงส์สมบูรณ์"

    โดยหลวงพ่อฤาษีลิงดำ ธรรมปฏิบัติเล่ม 1หน้า 29-35



    คำเทศน์ ของหลวงพ่อฤาษีลิงดำ
     
  16. Saber

    Saber เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    5,941
    กระทู้เรื่องเด่น:
    19
    ค่าพลัง:
    +11,819
    อนุโมทนาบุญแล้วได้บุญ
    [​IMG]

    หลวงพ่อฤาษีลิงดำ
    <!-- google_ad_section_end -->ผู้ถาม : มีคนฝากให้มาถามหลวงพ่อว่า พ่อแม่ไม่ค่อยทำบุญแต่เป็นคนดี คนซื่อ ถ้าบุตรหลานทำให้แล้วจะใส่ชื่อเขาด้วย อยากทราบว่า ท่านจะได้หรือไม่ครับ

    หลวงพ่อ เขาโมทนาด้วยหรือเปล่า ถ้าลูกไปบอกว่า "พ่อ(หรือแม่) ฉันทำบุญให้แล้ว ถ้าท่านยินดีด้วย ท่านได้แน่นอน ถ้าบอก กูไม่รู้โว้ย ด่าตะเพิด อันนี้ไม่ได้แน่



    http://www.meemodo.com/boon99.html
     
  17. Saber

    Saber เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    5,941
    กระทู้เรื่องเด่น:
    19
    ค่าพลัง:
    +11,819
    <TABLE border=2 borderColor=#ffcc00 width=850 background=images_home/bg1.jpg align=center height=620><TBODY><TR><TD class=Style24 bgColor=#ffffcc height=46 align=center>อานิสงส์การบรรพชา-อุปสมบท</TD></TR><TR><TD height=250 background=images_monk/bg1.jpg><TABLE border=0 width=700 align=center><TBODY><TR><TD align=center>[​IMG]</TD></TR><TR><TD height=92 align=center>อานิสงส์การบวชในพุทธศาสนา
    โดยหลวงพ่อฤาษีลิงดำ

    [​IMG]

    </TD></TR><TR><TD height=290>
    ต่อแต่นี้ไป จะนำเอาพระธรรมคำสั่งสอนขององค์สมเด็จพระประทีปแก้วบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้า ว่าด้วยเรื่อง อานิสงส์การบรรพชา มาคุยกับบรรดาท่านพุทธบริษัท ความมีว่าองค์สมเด็จพระทรงสวัสดิโสภาคย์เมื่อทรงพระชนม์อยู่ องค์สมเด็จพระบรมปรารถเรื่องการอุปสมบทบรรพชาในพระพุทธศาสนา องค์สมเด็จพระบรมศาสดาตรัสว่า การอุปสมบท บรรพชานี้มีอานิสงส์พิเศษ อานิสงส์อย่างอื่นมีการสร้างวิหารทานก็ดี การถวายสังฆทานก็ดี ทอดกฐินผ้าป่าก็ดี จัดว่าเป็น อานิสงส์สำคัญ แต่อานิสงส์นี้นั้นบุคคลที่จะพึ่งได้ต้องโมทนาก่อน หมายความว่า ถ้าบุตรธิดาของตนบำเพ็ญกุศล บิดามารดา ไม่โมทนาย่อมไม่ได้ แต่ว่าการอุปสมบทบรรพชานี้แปลกกว่านั้น องค์สมเด็จพระทรงธรรม์บรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้าทรง แสดงไว้ว่า สมมุติว่า บุตรชายของท่านผู้ใดออกจากครรภ์มารดาวันนั้น บิดามารดาก็จากกัน ลูกกับพ่อ ลูกกับแม่ย่อมไม่รู้จักกัน เวลาที่บรรพชานั้น บิดามารดาก็ไม่ทราบ แต่ทว่า ถึงอย่างก็ดี องค์สมเด็จพระชินศรีตรัสว่า บิดามารดาย่อมได้อานิสงส์ โดยสมบูรณ์

    นี่เป็นอันว่าอานิสงส์แห่งการการอุปสมบทบรรพชานี้แปลกจากบุญกุศลอย่างอื่น เป็นอันว่าขอพูดซ้ำอีกครั้งหนึ่งว่า บุญอย่างอื่นลูกทำไปแล้ว พ่อแม่ไม่โมทนาย่อมไม่ได้อานิสงส์นั้น แต่ว่าการอุปสมบทและบรรพชา บิดามารดาซึ่งคลอดบุตร มาแล้วต่างคนต่างจากกันไป พ่อแม่ไม่ทราบว่าบุตรมีรูปร่างหน้าตา เป็นประการใด เพราะจากกันไปตั้งแต่คลอดใหม่ๆ สำหรับลูกชายก็ไม่ทราบเหมือนกันว่า บิดารมารดาเป็นใคร แต่ว่าอุปสมบรรพชาเมื่อไร บิดามารดาย่อมได้อานิสงส์สมบูรณ์ เหตุนี้การอุปสมบทบรรพชาจึงจัดว่า เป็นกุศลพิเศษ ที่องค์สมเด็จพระบรมโลกเชษฐ์ทรงบัญญัติไว้ ทีนี้จะว่ากันไปถึง อานิสงส์แห่งการอุปสมบทบรรพชา

    คำว่า บรรพชา นี้หมายความว่า บวชเป็นเณร..... คำว่า อุปสมบท นี้หมายความว่า บวชเป็นพระ สำหรับท่านที่บรรพชา ในพุทธศาสนา เป็นสามเณร อันนี้องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสว่า ท่านผู้บรรพชาเองคือเณร ถ้าประพฤติปฏิบัติดี นี่เอากันถึงด้านการประพฤติปฏิบัติดี ถ้าปฏิบัติเลวการบวชเณรก็ถือว่าเป็นการซื้อนรก ถ้าปฏิบัติดีนั้น องค์สมเด็จพระทรงธรรม์ บรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้ากล่าวว่า ท่านที่บวชเข้ามาเป็นเณรในพุทธศาสนาแล้วปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ ตามระบอบพระธรรม วินัย สำหรับเณรผู้นั้น ย่อมมีอานิสงส์คือ ถ้าตายจากความเป็นคน ถ้าจิตของตนมีกุศลธรรมดา ไม่สามารถจะทรงจิตเป็นฌาน องค์สมเด็จพระพิชิตมารตรัสว่า ท่านผู้นั้นจะเสวยความสุขบนโลกมนุษย์ได้ถึง 30 กัป เช่นเดียวกัน

    การนับกัปหนึ่ง... คำว่ากัปหนึ่งนั้น มีปริมาณนับปีไม่ได้ องค์สมเด็จพระจอมไตรบรมศาสดาทรงเปรียบเทียบไว้อย่างนี้ ว่า มีภูเขาลูกหนึ่ง เป็นหินล้วนไม่มีดินเจือปน ถึงเวลา 100 ปี เทวดาเอาผ้ามีเนื้ออ่อนเหมือนสำลีมาปัดยอดเขานั้นครั้งหนึ่ง ทำอย่างนี้ 100 ปีปัด 1 ครั้ง 100 ปีปัด 1 ครั้ง จนกระทั่งหินนั้นหมดไป หาหินไม่ได้ เหลือแต่ดินล้วน นั่นจึงจะมีอายุได้ครบ 1 กัป และอีกประการหนึ่ง ท่านพรรณนาไว้ในพระวิสุทธิมรรคว่า มีอุปมาเหมือนกับว่ามีถังใหญ่ลูกหนึ่งมีความสูง 1 โยชน์ กว้าง 1 โยชน์ ยาว 1 โยชน์เหมือนกัน มีคนเอาเมล็ดพันธุ์ผักกาดมาใส่ในถังนั้นจนเต็ม ถึงเวลา 100 ปี ก็เอาเมล็ดพันธุ์ผักกาดนั้นออก 1 เมล็ด ทำอย่างนี้จนกว่าเมล็ดพันธุ์ผักกาดนั้นจะหมดไป เป็นการเปรียบเทียบกันได้กับระยะเวลา 1 กัป นี่เป็นอันว่า กัปหนึ่ง เราจะนับเวลาประมาณไม่ได้ เช่นกัปหนึ่งเราจะนับเวลาประมาณไม่ได้ เช่นกัปในปัจจุบันนี้สามารถจะทรงองค์สมเด็จพระสัมมา สัมพุทธเจ้าได้ถึง 10 พระองค์ เป็นระยะยาวนานมาก องค์สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้ากล่าวว่า ท่านที่บวชเป็นเณรเอง และมี ความประพฤติปฏิบัติดี ต้องเป็นเทวดาหรือพรหมอยู่ถึง 30 กัป นั่นก็หมายความว่า อายุเทวดาหรือพรหมย่อมมีกำหนดไม่ถึง
    30 กัป และเมื่อหมดอายุแล้วจะเกิดเป็นพรหมใหม่ อยู่บนนั้นไปจนกว่าจะถึง 30 กัป หรือมิฉะนั้นก็ต้องเข้า นิพพานก่อน

    สำหรับ บิดามารดาของบุคคลผู้บวชเป็นสามเณร ย่อมได้อานิสงส์คนละ 15 กัป คือครึ่งหนึ่งของเณร หมายความว่า บิดามีอานิสงส์ 15 กัป มารดามีอานิสงส์เสวยความสุขบนสวรรค์หรือพรหมโลก 15 กัป เช่นเดียวกัน เป็นอันว่า บรรพชา กุลบุตรของตนไว้ในพระพุทธศาสนาเป็นสามเณรมีอานิสงส์อย่างนี้ องค์สมเด็จพระมหามุนีตรัสต่อไปว่า บุคคลผู้ใดมีวาสนา บารมี คือมีศรัทธาแก่กล้า ตั้งใจอุปสมบทในพุทธศาสนาเป็นพระสงฆ์ แต่ว่าเมื่อบวชแล้วก็ต้องปฏิบัติชอบ ประกอบไปด้วย คุณธรรม คือมีพระธรรมวินัยเป็นสำคัญ

    อันนี้องค์สมเด็จพระภควันต์บรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้า กล่าวว่า ท่านที่บวชเป็นพระด้วยตนเองจะมีอานิสงส์พิเศษ ที่องค์สมเด็จพระบรมโลกเชษฐ์ตรัสไว้ แต่ทว่าภิกษุสามเณรท่านใดผิดบทบัญญัติในพระพุทธ ศาสนาก็พึงทราบว่า เมื่อเวลา ตายก็มีอเวจีเป็นที่ไปเหมือนกัน อานิสงส์ที่พึงได้ใหญ่เพียงใด โทษก็มีใหญ่เพียงนั้น สำหรับบรรดาท่านผู้ไม่ใช่บิดามารดา ของบุตรกุลธิดาที่อุปสมบทบรรพชาในพระพุทธศาสนา เป็นผู้ช่วยในการบวช นี่หมายความว่า เวลาเขาจะบวชพระครั้งหนึ่ง เราทราบเข้าก็ไปบำเพ็ญกุศลร่วมกับ เข้าด้วยจตุปัจจัยมากบ้างน้อยบ้าง ให้สิ่งของบ้าง ช่วยขวยขวายในกิจการงานในการที่ จะอุปสมบทบ้าง หมายความว่า เขาจะบวชลูกบวชหลานของเขา เราไม่มีลูกหลานจะบวช เขามาบอกบุญมาหรือไม่บอกบุญ ก็ตาม เอาจตุปัจจัยบ้าง เอาของที่จะพึ่งจะใช้ในงานบ้าง ไปช่วยในงานด้วยความเลื่อมใส ถ้าไม่มีจตุปัจจัย ไม่มีของ ก็เอากาย ไปช่วย ช่วยขวนขวายในกิจการงาน

    อย่างนี้องค์ สมเด็จพระพิชิตมารบรมศาสดากล่าวว่า ท่านผู้นั้นจะมีอานิสงส์เสวยความสุขอยู่บนสวรรค์ หรือใน พรหมโลก คนละ 8 กัป แต่ถ้าหากเป็นคนฉลาด อย่างเช่นเขาบวชพระกัน 42 องค์ เราก็ช่วยกันบำเพ็ญกุศล ช่วยในการ บวชพระ ไม่เจาะจงท่านผู้ใดผู้หนึ่ง เรียกว่าช่วยหมดทั้ง 42 องค์ ก็ต้องเอา 42 ตั้งเอา 8 คูณ นี่เป็นอันว่า...อานิสงส์ที่จะพึง ได้ในการอุปสมบทบรรพาชากุลบุตร กุลธิดาในพระพุทธศาสนาสำหรับผู้ช่วยงาน แต่สำหรับท่านผู้เป็นเจ้าภาพ ในฐานะ คนที่บวชไม่ได้เป็นบุตรของเรา แต่ว่าเป็นผู้จัดการขวยขวายในการอุปสมบทบรรพชาให้ อันนี้องค์สมเด็จพระจอมไตร บรมศาสดากล่าวว่า ท่านผู้จัดการบวชจะได้อานิสงส์ 12 กัป จะมีผลหลั่นซึ่งกันและกัน

    [​IMG]


    </TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE>
    อานิสงส์การบวช
     
  18. Saber

    Saber เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    5,941
    กระทู้เรื่องเด่น:
    19
    ค่าพลัง:
    +11,819
    [​IMG]

    องค์สมเด็จพระทรงธรรม์บรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงไว้ว่า

    สมมุติว่า บุตรชายของท่านผู้ใดออกจากครรภ์มารดาวันนั้น บิดามารดาก็จากกัน ลูกกับพ่อ ลูกกับแม่ย่อมไม่รู้จักกัน เวลาที่บรรพชานั้น บิดามารดาก็ไม่ทราบ แต่ทว่า ถึงอย่างก็ดี องค์สมเด็จพระชินศรีตรัสว่า บิดามารดาย่อมได้อานิสงส์โดยสมบูรณ์ นี่เป็นอันว่า อานิสงส์แห่งการการอุปสมบทบรรพชานี้แปลกจากบุญกุศลอย่างอื่น เป็นอันว่าขอพูดซ้ำอีกครั้งหนึ่งว่า บุญอย่างอื่นลูกทำไปแล้ว พ่อแม่ไม่โมทนาย่อมไม่ได้อานิสงส์นั้น แต่ว่าการอุปสมบทและบรรพชา บิดามารดาซึ่งคลอดบุตรมาแล้ว ต่างคนต่างจากกันไป พ่อแม่ไม่ทราบว่าบุตรมีรูปร่างหน้าตาเป็นประการใด เพราะจากกันไปตั้งแต่คลอดใหม่ๆ สำหรับลูกชายก็ไม่ทราบเหมือนกันว่า บิดารมารดาเป็นใคร แต่ว่าอุปสมบรรพชาเมื่อไร บิดามารดาย่อมได้อานิสงส์สมบูรณ์ เหตุนี้การอุปสมบทบรรพชาจึงจัดว่า เป็นกุศลพิเศษ ที่องค์สมเด็จพระบรมโลกเชษฐ์ทรงบัญญัติไว้


    โดยหลวงพ่อฤาษีลิงดำ ธรรมปฏิบัติเล่ม ๑ หน้า ๒๙-๓๕


    อานิสงส์บวชพระ-บวชเณร[/URL] | MThai Webboard[/URL]


     
  19. Saber

    Saber เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    5,941
    กระทู้เรื่องเด่น:
    19
    ค่าพลัง:
    +11,819
    องค์สมเด็จพระทรงธรรม์บรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงไว้ว่า

    องค์สมเด็จพระชินศรีตรัสว่า บิดามารดาย่อมได้อานิสงส์โดยสมบูรณ์

    การอุปสมบทและบรรพชา อุปสมบรรพชาเมื่อไร บิดามารดาย่อมได้อานิสงส์สมบูรณ์

    เหตุนี้การอุปสมบทบรรพชาจึงจัดว่า เป็นกุศลพิเศษ

    ที่องค์สมเด็จพระบรมโลกเชษฐ์ทรงบัญญัติไว้
     
  20. Saber

    Saber เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    5,941
    กระทู้เรื่องเด่น:
    19
    ค่าพลัง:
    +11,819


    นะโมพุทธายะ อธิษฐานขอให้มันพ้นอำนาจเขา แล้วอำนาจเขาก็พ้นไป มันก็เป็นอิสระ

     

แชร์หน้านี้

Loading...