ขอคำแนะนำวิธีเริ่มต้นการนั่งสมาธิที่ถูกต้องทำไงคับ

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย Projazz, 5 สิงหาคม 2012.

  1. Projazz

    Projazz สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 พฤษภาคม 2007
    โพสต์:
    7
    ค่าพลัง:
    +4
    อยากนั่งสมาธินานๆ แล้วก็กำหนดจิตฝึกจิต ต้องเริ่มต้นยังไงคับ จะนั่งหรือจะนอน เวลาในการฝึก ฯลฯ ขอคำแนะนำด้วยคับ

    ขอบคุณคับ
     
  2. ผู้พันจุ่น

    ผู้พันจุ่น เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 สิงหาคม 2007
    โพสต์:
    1,396
    ค่าพลัง:
    +2,983
    ฝึกให้มีสติ รู้ อยู่กับลมหายใจ เข้า-ออก ทำตอนไหนก็ได้ ในเวลาว่าง

    ประโยชน์ที่ได้ ในการใช้ชีวิตประจำวัน จะคิดก่อนพูด ก่อนทำ คิดอะไร พูดอะไร

    กำหนดสติรู้ตาม ทำสิ่งดี ละชั่ว รู้แล้ว พิจารณา.............
     
  3. รักหมดใจ

    รักหมดใจ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 มิถุนายน 2011
    โพสต์:
    114
    ค่าพลัง:
    +290
    ผมแนะนำสามประการนะครับ หนึ่งสร้างศรัทธาต่อสิ่งที่ตนนับถือ แล้วก็ถือว่าการปฏิบัตินั้นเป็นการเข้าถึงสิ่งที่ตนเคารพนับถือนั้นด้วยความเพียรเป็นอย่างยิ่งนี้คือข้อสอง

    สุดท้ายการสร้างจิตใจให้สงบนั้นเริ่มต้นด้วยการขจัดสิ่งที่เป็นความวุ่นวายออกไป

    เพราะความจริงนั้นใจที่แท้มีความสงบอยู่เองแล้ว

    ดังนั้นสิ่งที่แรกที่ควรทำคือการตัดปลิโพธ 10 ประการ

    ปลิโพธ 10 ประการ

    ปลิโพธใดของเธอมีอยู่ ตัดปลิโพธนั้นเสียแล้วเข้าไปหาท่านผู้ให้กรรมฐานผู้เป็นกัลยาณมิตร ถือเอากรรมฐาน 40ข้อใด
    ข้อหนึ่งซึ่งอนุกูลแก่จริยา ( จริต ) ของตน ละวิหารอันไม่เหมาะสมแก่การเจริญสมาธิเสีย อยู่ในวิหารอันเหมาะ


    ตัดความกังวลเล็กๆ น้อยๆ (เสียให้หมดด้วย ) แล้วพึงเป็นผู้ไม่ทำภาวนาวิธีทั้งปวงให้บกพร่องไปเจริญขึ้นเถิด

    นี้เป็นความสังเขปในการเจริญสมาธินั้น ส่วนความพิสดารดังต่อไปนี้


    ปลิโพธ 10

    วินิจฉัยในข้อที่ว่า " บรรดาปลิโพธ 10 ประการ ปลิโพธใดของเธอมีอยู่ ตัดปลิโพธนั้นเสีย " นี้ก่อน
    เครื่องกังวลนั้น คือ อาวาส ตระกูล ลาภ คณะ และการงานเป็นที่ 5 การเดินทาง ญาติ อาพาธ การเล่าเรียน และฤทธิ รวมเป็น 10
    เครื่องกังวล 10 นี้แล ชื่อว่า ปลิโพธ ในปลิโพธ 10 นั้น


    ปลิโพธเครื่องผูกพันหรือหน่วงเหนี่ยวเหตุกังวล, ข้อติดข้อง; ปลิโพธที่ผู้จะเจริญกรรมฐานพึงตัดเสียให้ได้เพื่อให้เกิดความปลอดโปร่งพร้อมที่จะเจริญกรรมฐานให้ก้าวหน้าไปได้ดีมี ๑๐ อย่างคือ
    ๑. อาวาสปลิโพธ ความกังวลเกี่ยวกับวัดหรือที่อยู่
    ๒.กุลปลิโพธ ความกังวลเกี่ยวกับตระกูลญาติหรืออุปัฎฐาก
    ๓.ลาภปลิโพธ ความกังวลเกี่ยวกับลาภ
    ๔.คณปลิโพธ ความกังวลเกี่ยวกับคณะศิษย์หรือหมู่ชนที่ตนต้องรับผิดชอบ
    ๕.กรรมปลิโพธ ความกังวลเกี่ยวกับการงานเช่น การก่อสร้าง
    ๖.อัทธานปลิโพธ ความกังวลเกี่ยวกับการเดินทางไกลเนื้อด้วยกิจธุระ
    ๗.ญาติปลิโพธ ความกังวลเกี่ยวกับญาติหรือคนใกล้ชิดที่จะต้องเป็นห่วงซึ่งกำลังเจ็บป่วยเป็นต้น
    ๘.อาพาธปลิโพธ ความกังวลเกี่ยวกับความเจ้าไข้ของตนเอง
    ๙.คันถปลิโพธ ความกังวลเกี่ยวกับการศึกษาเล่าเรียน
    ๑๐.อิทธิปลิโพธ ความกังวลเกี่ยวกับฤทธิ์ของปุถุชนที่จะต้องคอยรักษาไม่ให้เสื่อม (ข้อท้ายนี้เป็นปลิโพธสำหรับผู้จะเจริญวิปัสสนา เท่านั้น)

    เมือตรวจสอบตัดปลิโพธกังวล 10 ประการได้แล้วก็ตรวสอบตัดนิวรณ์ทั้งห้าประการดังนี้

    นิวรณ์(อ่านว่า นิ-วอน) (บาลี: nīvaraṇāna) แปลว่า เครื่องกั้น ใช้หมายถึงธรรมที่เป็นเครื่องปิดกั้นหรือขัดขวางไม่ให้บรรลุความดี ไม่เปิดโอกาสให้ทำความดี และเป็นเครื่องกั้นความดีไว้ไม่ให้เข้าถึงจิต เป็นอุปสรรคสำคัญที่ทำให้ผู้ปฏิบัติบรรลุธรรมไม่ได้หรือทำให้เลิกล้มความ ตั้งใจปฏิบัติไป
    นิวรณ์มี 5 อย่าง คือ

    1. กามฉันทะ ความพอใจ ติดใจ หลงใหลใฝ่ฝัน ในกามโลกีย์ทั้งปวง ดุจคนหลับอยู่
    2. พยาบาท ความไม่พอใจ จากความไม่ได้สมดังปรารถนาในโลกียะสมบัติทั้งปวง ดุจคนถูกทัณท์ทรมานอยู่
    3. ถีนมิทธะ ความขี้เกียจ ท้อแท้ อ่อนแอ หมดอาลัย ไร้กำลังทั้งกายใจ ไม่ฮึกเหิม
    4. อุทธัจจะกุกกุจจะ ความคิดซัดส่าย ตลอดเวลา ไม่สงบนิ่งอยู่ในความคิดใดๆ
    5. วิจิกิจฉา ความไม่แน่ใจ ลังเลใจ สงสัย กังวล กล้าๆ กลัวๆ ไม่เต็มที่ ไม่มั่นใจ
    ศึกษา เพิ่มเติมได้ที่ นิวรณ์ - วิกิพีเดีย

    แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นคุณต้องมีพื้นฐานแห่งการรักษาศีลเพื่อความสงบจากการเบียดเบียนเป็นพื้นฐานจิตอยู่เองแล้ว

    *ที่มาบทความปลิโพธ http://palungjit.org/threads/ปลิโพธ-10-ประการ.214806/
     
  4. Pompaka

    Pompaka เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 มีนาคม 2008
    โพสต์:
    380
    ค่าพลัง:
    +351
    เข้ามาเก็บข้อมูลครับ...
     
  5. ผ่อนคลาย

    ผ่อนคลาย Super Moderator ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 พฤศจิกายน 2004
    โพสต์:
    5,774
    ค่าพลัง:
    +12,933
    ตามแนวทางที่พระพุทธองค์วางหลักไว้มีหลายแนวทาง เช่น ลมหายใจเข้าออก อิริยาบถ ฯลฯ คือจำพวกกายานุปัสสนาสติปัฏฐาน

    คลิกค้นคว้าเพิ่มเติม

    เวทนา จิต ธรรม ก็ศึกษาตามแต่จริตเถิด


    ที่สำคัญอย่าทำเอง ควรมีครูหรือกัลยาณมิตรไว้เรียบเคียงสอบถามเพื่อก้าวให้พ้นอารมณ์ที่ติดขัดอยู่
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 7 สิงหาคม 2012
  6. หมูน้ำยืน

    หมูน้ำยืน Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 พฤษภาคม 2011
    โพสต์:
    152
    ค่าพลัง:
    +38
    เข้าใจขึ้นกว่าเดิมเยอะเลย
     
  7. meephoo

    meephoo เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    1,240
    ค่าพลัง:
    +2,133
    นิวรณ์ ๕ ( เครื่องกั้นสมาธิ )
    ๑. กามฉันทะ พอใจในรูปสวย เสียงไพเราะ มีกลิ่นหอม รสอร่อย สัมผัสระหว่างเพศ

    ๒.ปฏิฆะ ความไม่พอใจ ความโกรธ ความพยาบาท

    ๓. ถีนมิทธะ ความง่วงเหงา หาวนอน

    ๔. อุทธัจจะกุกกุจจะ อารมณ์ฟุ้งซ่านและรำคาญ

    ๕.วิจิกิจฉา สงสัยในคำสอนของพระพุทธเจ้า

    ***** เวลาทำสมาธิ ต้องกำจัด นิวรณ์ให้หมดสิ้น สมาธิจึงจะเกิด *****

    [FONT=&quot]โปรดจำไว้เสมอว่า
    [/FONT]
    ชีวิตไม่เที่ยง ความตายเป็นของเที่ยง นิพพานเป็นสุขอย่างยิ่ง

    ***** คำสอนของพ่อ (พระพุทธเจ้า) *****

    ทำบุญวันละ ๑ บาททุกวัน

    ขอศีลก่อนนอนทุกคืน

    [FONT=&quot] สวดมนต์เท่าที่สวดได้[/FONT]


    ทำสมาธิได้ทุกขณะจิต เมื่อยก็นอนภาวนาทำสมาธิ ปล่อยให้หลับไปในสมาธิเลยนะครับ
    โมทนาสาธุ
    ขอให้เจริญในธรรมและมีเมตตา
    ข้าพเจ้าเกิดมาต้องตาย ชีวิตไม่เที่ยง ความตายเป็นของเที่ยง นิพพานเป็นสุขอย่างยิ่ง
     
  8. Moderator6

    Moderator6 ทีมผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 สิงหาคม 2012
    โพสต์:
    1,354
    ค่าพลัง:
    +3,721
    จริงๆ นอนสมาธิก็ได้ครับ แต่ผมแนะนำให้นั่งด้วย เพราะส่วนใหญ่ถ้านอนจะหลับไปเลย ควรฝืนนั่งๆ ไป แล้วถ้าเหนื่อยจริงๆ ก็ลงนอนทำสมาธิบ้าง หรือเดินจงกรมบ้าง ควรทำสมาธิทุกครั้งที่มีเวลาไปด้วย จะดีมากๆ ว่างๆ กับทำไปเลยไม่ว่าจะอยู่ท่าไหน ทำให้เยอะแล้วจะเห็นผลเร็วครับ
     
  9. RaDii

    RaDii เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 กรกฎาคม 2012
    โพสต์:
    59
    ค่าพลัง:
    +142
    อนุโมทนาค่ะ

    พิจารณาดูแล้ว ทุกข้อความเป็นความจริง ใช้ได้ในชีวิตประจำวันได้จริงๆ

    ไม่ฝืนธรรมชาติ พูดตรงประเด็นดีค่ะ
     
  10. Projazz

    Projazz สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 พฤษภาคม 2007
    โพสต์:
    7
    ค่าพลัง:
    +4
    ขอบคุณมากๆๆคับ ได้แนวทางมาเพิ่มเยอะเลย แต่ติดต่อที่ว่า ไม่ใครมาแนะนำตอนติดปัญหา เช่น ครู หรือ ผู้ทำเป็นแล้ว ^ ^
     
  11. วิษณุ12

    วิษณุ12 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    5,337
    ค่าพลัง:
    +6,846
    ฝากไว้อีกหนึ่งลิ้งค์ละกันครับ ลองศึกษาดูครับ

    http://palungjit.org/threads/รวมเทค...กสติ-สมาธิ-ปัญญา-โดยหลวงปู่พุธ-ฐานิโย.298624/
     
  12. naroksong

    naroksong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    412
    ค่าพลัง:
    +1,135
    ย่อจากเจตนาสูตร

    ผู้มีศีลย่อมไม่มีความเดือดเนื้อร้อนใจเป็นธรรมดา


    ผู้ไม่มีความเดือดเนื้อร้อนใจย่อมปราโมทย์ใจเป็นธรรมดา

    ผู้ปราโมทย์ใจย่อมได้ปิติเป็นธรรมดา

    ผู้มีปิติย่อมมีกายสงบระงับ(ความกระวนกระวาย)เป็นธรรมดา

    ผู้มีกายสงบระงับย่อมได้ความสุข(จากความสงบ)เป็นธรรมดา

    ผู้มีสุขย่อมมีจิตตั้งมั่น(บรรลุณาน)เป็นธรรมดา

    ผู้มีจิตตั้งมั่นย่อมรู้เห็นตามความเป็นจริง(คือเห็นทุกข์ อนิจจัง อนัตตา)เป็นธรรมดา

    ผู้รู้เห็นตามความเป็นจริงย่อมเบื่อหน่าย
    (ในสิ่งที่เป็นทุกข์ เป็นอนิจจัง เป็นอนัตตา)เป็นธรรมดา

    ผู้เบื่อหน่ายแล้วย่อมคลายกำหนัดลุ่มหลงเป็นธรรมดา

    ผู้คลายกำหนัดลุ่มหลงแล้วย่อมหลุดพ้นเป็นธรรมดา

    -------------------------------

    ขอให้เจริญในธรรมครับ
     
  13. telwada

    telwada เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กันยายน 2004
    โพสต์:
    1,606
    ค่าพลัง:
    +1,817
    การปฏิบัติสมาธิ หรือ การนั่งหรือการฝึกสมาธิ ถ้าหากจะกล่าวเป็นศัพท์ภาษาในยุคปัจจุบันแล้ว
    การปฏิบัติสมาธิ หรือ การนั่งหรือการฝึกสมาธิ เป็นการฝึกควบคุมการทำงานของร่างกาย(ภวังคจิต) โดยผู้ที่ฝึกจักได้รู้จักวิธีการพักผ่อน หรือรู้จักการควบคุมระบบสมองและระบบประสาท ให้ผ่อนคลาย หรือให้ทำงานน้อยที่สุด การฝึกให้รู้จักวิธีการควบคุมระบบสมองและระบบประสาท จักทำให้บุคคลนั้นๆ รู้จักควบคุมอารมณ์ความรู้สึก ความคิด การระลึกนึกถึง มิให้ฟุ้งซ่าน มิให้ออกนอกตำรา คือมิให้คิดไปในทางที่ทำให้ตัวเป็นทุกข์ อีกทั้งยังทำให้บุคคลนั้นๆ มีระดับความจำ ระดับการปรุงแต่ง(สังขาร)หรือปฏิภาณไหวพริบ ดีขึ้น ตามลำดับ แต่ต้องมีปัจจัยในเรื่อง อาหาร การออกกำลังกาย การพักผ่อนให้เพียงพอ ประกอบอยู่ด้วย

    การปฏิบัติสมาธิ หรือ การนั่งหรือการฝึกสมาธิ ไม่จำเป็นต้องนั่งนานๆ หรืออยากจะนั่งให้นานๆ การปฏิบัติหรือการฝึกหรือการนั่ง ต้องคำนึงถึง ปัจจัยสภาพแวดล้อมในด้านต่างๆ นับตั้งแต่วิถีชีวิตประจำวันของบุคคลนั้นๆ ต้องคำนึงถึงเวลาในการฝึกในการปฏิบัติในการนั่ง ยกตัวอย่างเช่น หากบุคคลนั้นๆต้องทำงานอยู่เป้นประจำ ก็ต้องรู้จักแบ่งเวลาว่า ควรจะปฏิบัติหรือนั่ง หรือฝึกสมาธิวันละ กีนาที ซึ่งอย่างน้อยแล้ว ควรนั่งสมาธิให้ได้ ๓๐ นาที ถึง หนึ่งชั่วโมงเป็นอย่างน้อย พอเลิกนั่งสมาธิ ก็นอนหลับไป ทำสมาธิไป ก็จะหลับสบาย ตื่นเช้าไปทำงานสมองก็ปลอดโปร่ง
    ส่วนการกำหนดจิต ฝึกจิต ก็ศึกษาเอาตามที่ผู้รู้ทั้งหลายได้ให้คำแนะนำเถิดขอรับ
     
  14. อินทรี

    อินทรี เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 กรกฎาคม 2009
    โพสต์:
    418
    ค่าพลัง:
    +562
    .ให้เดินสายอานาปานสติ เป็นหลัก.... นับลมหายใจเข้า--ออก เป็นคู่ๆ
     

แชร์หน้านี้

Loading...