สอบถามผุ่้รู้เรื่องปฏิบัติครับ

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย ncc2, 5 สิงหาคม 2012.

  1. ncc2

    ncc2 Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 มีนาคม 2007
    โพสต์:
    53
    ค่าพลัง:
    +84
    เรื่องการใช้คำบริกรรมภาวนา...ครับ
    ... ที่ว่าให้ภาวนา .... เกษา โลมา นขา ทันตา ตะโจ ตะโจ เกษา โลมา นขา ทันตา โลมา เกษา ท่องกลับไปกลับมา
    ... จะเอาเฉพาะเกษา หรืออย่างใดอย่างหนึ่งได้ใหม
    .... ใจหนึงก็คิดว่า ทำไม ไม่เอาพุทโธ ละ พอจะเอาพุทโธ ก้อนึกถึง ข้างต้นและครับ
    ------------------
     
  2. ปุณบพิธ

    ปุณบพิธ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 มกราคม 2012
    โพสต์:
    1,102
    ค่าพลัง:
    +2,134
    ก็เลือกเอาสักทางครับ อันนี้มันเป็นกลวิธีให้จิตรวม จะใช้อันไหนก็ได้หละครับ
     
  3. นพณัฐ

    นพณัฐ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 มิถุนายน 2012
    โพสต์:
    587
    ค่าพลัง:
    +4,499
    แล้วแต่จริตครับ แต่ละท่านก็ต่างกันไป คำไหนก็ได้ กี่พยางค์ก็ได้ เพราะว่า
    คำบริกรรม เป็นเพียงอุบายที่ทำให้จิตตั้งมั่นเป็นสมาธิเท่านั้น
    ไม่ว่าจะ เกษา โลมา หรือแม้แต่ พุทโธ ก็เอาไปไม่ได้
    สุดท้ายก็วางไว้ เพื่อทรงอารมณ์ในขั้นต่อไป ลองศึกษาทำความเข้าใจเกี่ยวกับ
    อารมณ์ ฌาน เพึ่มเติมก็ได้ครับ วิตก วิจารณ์ ปิติ สุข เอกัคคตา
    (ถ้ายึดติดในคำบริกรรมมากไป การปฏิบัติอาจจะไม่ก้าวหน้าได้ครับ)

    อนุโมทนาในธรรม ขอให้สำเร็จในเส้นทางมรรคที่เลือกไว้ครับ<!-- google_ad_section_end -->
    __________________
    <!-- google_ad_section_start(weight=ignore) -->ท่องเที่ยวมาน๊านนาน ถึงเวลา กลับบ้าน ซักที<!-- google_ad_section_end -->
     
  4. vichayut

    vichayut เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 พฤษภาคม 2012
    โพสต์:
    168
    ค่าพลัง:
    +661
    จิตมันปรุงไปเอง นิวรณ์มันแทรกจิตอยู่
    อย่าไปลังเลสงสัย เลือกที่ปฎิบัติแล้วจิตใจมันราบลื่น คล่องแคล่วว่องไว
    ทำให้สำเร็จสักทาง เปลี่ยนไปเปลี่ยนมา มันจะไม่เห็นผลสักทาง
    __________________
    ดูจิต.........ด้วยสติ
     
  5. ncc2

    ncc2 Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 มีนาคม 2007
    โพสต์:
    53
    ค่าพลัง:
    +84
    ขอบคุณครับสำหรับคำแนะนำ
     
  6. ncc2

    ncc2 Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 มีนาคม 2007
    โพสต์:
    53
    ค่าพลัง:
    +84
    เวลาเราจะนั่ง ยืน เดิน หรือทำอะไร สามารถ นึกคำบริกรรมภาวนาว่า เกษาได้ใหมครับ
     
  7. นิวรณ์

    นิวรณ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2008
    โพสต์:
    9,051
    ค่าพลัง:
    +3,456
    คุณต้องแยกให้ออก

    การภาวนาพุทโธ นั้น เปรียมเหมือน การวอร์มอัพ การเตรียมจิตให้พร้อม

    พร้อมสำหรับอะไร

    พร้อมสำหรับการมา พิจารณา เกษา โลมา นักขา ทันตา ตะโจ

    มองออกไหมว่า มีงานสองงาน ให้ทำ และ ต้องทำทีละงาน

    การที่เราไปรวบ งานสองงาน ให้เป็นงานเดียว ประมาณว่า จะฉลาดกว่า ครูบาอาจารย์
    อันนี้มันเกิดจาก ความ โลภ โมห์ โทษัณ ใจเร็ว ด่วนได้ ลบหลู่ครูบาอาจารย์


    ***************

    คำกล่าวข้างต้นนี้ จะใช้ ในกรณีคุณไปกราบพระ ขอนิสัย ภาวนามาทางนี้

    แต่ สมมติว่า ยังไม่เคยไปกราบพระ ขอนิสัย ในการภาวนา อันนี้ ก็ยกเว้น

    ถือว่า ลูบๆคลำๆ เฉยๆ ไม่จัดว่า ลบหลู่ครูบาอาจารย์
     
  8. somchai_eee

    somchai_eee เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 กุมภาพันธ์ 2012
    โพสต์:
    332
    ค่าพลัง:
    +413
    ไอ้คำว่า ภาวนา ในทางธรรมนั้น หมายถึง ระลึกพิจารณา ไม่ใช่นึกเฉยๆ
    ส่วน เกษา โลมา ....... เอาไว้พิจารณา ถึงกายสังขาร ไม่เที่ยง ดูที่ละตัว ให้จินตนาการเห็นการแตกสลายดับหายไป ทำมากๆ จนจิตเบื่อในกายสังขาร

    ส่วนพุทโธ บริกรรมพร้อมระลึกถึงธรรม และจิตอันบริสุทธิ์ของพระพุทธองค์

    มั่งครับ อิอิ
     
  9. นิวรณ์

    นิวรณ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2008
    โพสต์:
    9,051
    ค่าพลัง:
    +3,456
    ส่วนอันนี้นะ

    คุณเชื่อหรือเปล่า

    ทันทีที่คุณ นึกถึงการภาวนา ว่า เราจะเดิน ยิน นั่ง นอน จะทำอะไรก็แล้ว
    แต่ แล้วจิตที่เคยสดับธรรมะมา จะพึงปรารภว่า แม้เวลาแบบนี้ๆ ก็ภาวนา
    เจริญสติ สัมปชัญญะ ได้

    เนี่ยะ จิตพุทโธ เกิดแล้ว ไม่ใช่ว่า ไม่เกิด เกิดไปตั้งนานแล้ว แต่ เกิด
    แล้วก็ดับ

    พอดับ แล้วแทนที่จะ ดูกาย ยินเดิน นั่ง นอน ต่อ กลับไป นั่งสงสัยอยู่
    ว่า ภาวนาแล้วหรือยัง !!

    จิตพุทโธ จึงเกิด แล้วก็ดับ ............เนี่ยะ พิจารณาแบบนี้ก็ได้

    จิตพุทโธ เกิดแล้วดับ จะเหลืออะไร ........ไม่มีใครบอกตรงนี้ ทำให้เราสับสน
    นั่นเพราะว่าเราทอดทิ้ง พุทธวัจนะ เราไปเอา พระไตรปิฏกยัดใส่ตู้

    พุทธวัจนะ กล่าวชัดว่า องค์กรรมฐานเกิดดับ องค์ปัญญาเกิดดับ สิ่ง
    ที่เหลือ ตั้งมั่น เขาเรียกว่า "ธรรมเอก"

    ดังนั้น อย่าไปกลัวว่า ตามเห็น จิตพุทโธ เกิดดับ แล้วจะเหลืออะไร

    หากเราเอา พุทธวัจนะ แทนคำสอนของสาวกชั้นหลัง เราจะพึงทราบ
    ว่า ก็ มี ธรรมเอก ไง มีหนทางอันเอกไง

    ไปเรื่อยๆ เนาะ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 6 สิงหาคม 2012
  10. Samarnl

    Samarnl เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    2,287
    ค่าพลัง:
    +4,704
    ในพิธีการบวชพระ
    พระอุปัชฌาย์ต้องสอน ตจปัญจกกรรมฐาน (กรรมฐานมีหนังเป็นที่ 5)
    แก่ผู้บวชใหม่เพื่อเป็นเครื่องขัดเกลาจิตเบื้องต้น

    กรรมฐาน 5 นี้ ประกอบด้วย
    เกสา(ผม) โลมา(ขน) นะขา(เล็บ) ทันตา(ฟัน) ตะโจ(หนัง)
    เวลาท่านสอนให้พระใหม่ภาวนา ท่านจะสอนให้ภาวนาในใจ
    ทั้งตามลำดับและทวนลำดับ(อนุโลม-ปฏิโลม) คือ
    เกสา โลมา นะขา ทันตา ตะโจ
    ตะโจ ทันตา นะขา โลมา เกสา
    ให้ฝึกภาวนาดังนี้ จนใจสงบ เกิดเป็นสมาธิ

    เพราะเป็นกรรมฐานเบื้องต้นอย่างนี้เอง
    ตจปัญจกรรมฐานนี้มีชื่อเรียกอีกอย่างว่า มูลกรรมฐาน
    คือกรรมฐานอันเป็นเบื้องต้น

    การภาวนาโดยใช้ส่วนทั้ง 5 เป็นที่ตั้งนี้
    ถ้าภาวนาเพื่อให้ใจสงบ ก็จัดเป็นสมถกรรมฐาน

    แต่ถ้าใช้ปัญญาพิจารณาเห็นถึงความเป็นสิ่งปฏิกูล
    ไม่อยู่ในอำนาจ ความควบคุมบังคับไม่ได้ของสิ่งเหล่านี้
    และพิจารณายกขึ้นสู่ไตรลักษณ์ มองเห็นถึงความไม่เที่ยง
    ทนได้ยาก และหาตัวตนเที่ยงแท้มิได้ ก็จัดเป็นวิปัสสนา

    เป็นการพิจารณา กายในกาย โดยความเป็นธาตุ เป็นสิ่งแปรปรวน เป็นของปฏิกูล

    ก็ภิกษุ พิจารณาเห็นกายในกายภายในเนืองๆ อยู่ เป็นอย่างไร
    ภิกษุ ในศาสนานี้ พิจารณาเห็นกายภายใน แต่พื้นเท้าขึ้นไปในเบื้องบน

    แต่ปลายผมลงมาในเบื้องต่ำ มีหนังหุ้มอยู่โดยรอบ
    เต็มไปด้วยของไม่สะอาด มีประการต่างๆ ว่า ในกายนี้

    มี ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง
    เนื้อ เอ็น กระดูก เยื่อในกระดูก
    ม้าม หัวใจ ตับ พังผืด ไต ปอด
    ไส้ใหญ่ ไส้น้อย อาหารใหม่ อาหารเก่า ดี
    เสลด หนอง เลือด เหงื่อ มันข้น น้ำตา
    เปลวมัน น้ำลาย น้ำมูก ไขข้อ มูตร
     
  11. อินทรี

    อินทรี เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 กรกฎาคม 2009
    โพสต์:
    418
    ค่าพลัง:
    +562
    คุณ Ncc2 ควรจะภาวนาแบบนี้ไปก่อนนะครับ ท่องไปข้างหน้า แล้วท่องกลับหลัง
    ถ้าภาวนา กรรมฐาน5 คำนี้คล่องๆ แล้ว ค่อยตัดเหลือคำเดียวเช่นถนัดเกศา ถึงจะมาภาวนาคำๆนี้คำเดียว น่าจะดีกว่าเนาะ... ที่จกขท.ลังเล ก้เพราะภาวนาแบบ5 คำคงดูขลังกว่าสินะ
    ไม่งั้นคงภาวนาแบบอื่นไปแระ ดังนั้นก้ควรภาวนาแบบที่ตนเชื่อมั่นเถอะ
     
  12. วิษณุ12

    วิษณุ12 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    5,337
    ค่าพลัง:
    +6,846
  13. วิษณุ12

    วิษณุ12 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    5,337
    ค่าพลัง:
    +6,846
    อ่านเต็มตามลิ้งนะ

    ช่วงนี้ อ่านพลางๆ


    (ช่วงที่ ๖)


    อีกปัญหาหนึ่ง มีท่านกล่าวไว้ ว่า


    ให้ฝึกหัดทำสมาธิให้มันได้ซะก่อนแล้วจึงค่อยเจริญวิปัสนากรรมฐาน


    เอ ..อันนี้ถ้าสมมุติว่า ใครไม่สามารถ ทำสมาธิขั้นสมถะได้เนี๊ยะ
    จะไปรอจนกระทั่ง จิตมันสงบเป็นสมาธิขั้นสมถะเป็นอัปนาสมาธิ
    เผื่อมันทำไม่ได้ล่ะมันจะไม่ตายก่อนหรือ
    เพราะฉะนั้นจึงขอทำความเข้าใจกับท่านนักปฏิบัติทั้งหลายไว้ว่า


    คำว่า สมถะกรรมฐานก็ดี
    วิปัสนากรรมฐานก็ดี
    ขอให้ท่านทั้งหลายพึงทำความเข้าใจว่า
    เป็นชื่อของวิธีการ
    การบริกรรมภาวนา พุทโธ พุทโธ พุทโธ
    หรือการบริกรรมภาวนาอย่างอื่น
    หรือการปฏิบัติด้วยการเพ่งกสิณ อันนั่น ปฏิบัติตามของ สมถะ


    แต่ถ้าเราปฏิบัติด้วยการใช้ความคิด
    หรือกำหนดจิตรู้ตามความคิด ของตัวเอง
    หรือจะหาเรื่องราวอันใดเช่น เรื่องของธาตุขันธ์อายตนะ
    มาพิจารณา
    เช่น พิจารณา ว่า รูป เวทนา สัญญา สังขารวิญญาณ
    ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา อะไรทำนองนี่
    อันนี้ การพิจารณาน้อมจิต น้อมใจ น้อมภูมิความรู้ เข้าไปสู่กฎแห่งพระไตรลักษณ์ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา
    ท่านเรียกว่า
    ปฏิบัติ ตามวิธีการแห่ง วิปัสนา


    แต่ทั้งสองอย่างนี้เราจะปฏิบัติ ด้วยวิธีใด วิธีหนึ่งก็ได้


    ถ้าท่านผู้ ที่บริกรรมภาวนา จิตมันไม่เคยสงบ เป็นสมาธิ ซักที


    จะไปรอให้มันสงบ มันไม่เคยสงบซักทีก็มาพิจารณาซิ
    ยกเรื่องอะไรยกขึ้นมาพิจารณาก็ได้ซึ่งมันเกี่ยวกับเรื่องธรรมะ


    พิจารณาไป จนกระทั่ง จิตมันเกิดความคล่องตัว


    พิจารณาอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา
    อันนั้นก็ไม่เที่ยงอันนี้ก็เป็นทุกข์ อันนั้นก็เป็นอนัตตา
    คิดเอา ตามสติปัญญา ที่เราจะคิดได้


    คิดย้อนกลับไปกลับมา กลับไปกลับมา กลับไปกลับมาอยู่อย่างนั้น<O[​IMG]</O


    คิดจนกระทั่งมันคล่องตัว


    จนกระทั่ง
    เราไม่ได้ตั้งใจคิด จิตมันคิดของมันเอง


    ซึ่งมันอาจจะเอาเรื่องอื่นมาคิดอยู่ไม่หยุดก็ได้



    เมื่อเป็นเช่นนั้นมันก็เข้าลักษณะเหมือนกันกับบริกรรมภาวนา



    ถ้าจิตมันคิดของมันเองสติรู้พร้อมอยู่เอง


    มันก็ได้ วิตก วิจาร


    ในเมื่อจิต มี วิตกวิจารเพราะความคิดอ่านอันนี้
    มันก็เกิด มีปีติ มีความสุข มีเอกคัคตา
    มันจะสงบลงไปเป็น อุปจาระสมาธิ อัปนาสมาธิ


    หรือบางทีมันอาจจะไม่สงบถึงอัปนาสมาธิ<O[​IMG]</O



    พอถึงอุปจาระสมาธิ มี วิตก วิจาร ปีติ สุข เอกัคคัตตา
    มันก็จะทำหน้าที่พิจารณาวิปัสนาของมันอยู่ตลอดวันย่างค่ำตลอดคืนย่างรุ่ง



    เพราะฉนั้น อย่าไปติดวิธีการ<O[​IMG]</O


    ถ้าใครไม่เหมาะกับการ บริกรรมภาวนา


    ก็อย่าก็ไม่ต้องไปบริกรรมภาวนา


    ถ้าจิตของท่านผู้ใดไปเหมาะสมกับการกำหนดรู้จิตเฉยอยู่


    โดยไม่ต้องนึกคิดอะไร เป็นแต่เพียงตั้งหน้าตั้งตา


    คอยจ้องดูความคิดว่าอะไรมันจะเกิดขึ้นแค่นั้น


    อะไรเกิดขึ้นรู้ อะไรเกิดขึ้นรู้ รู้ รู้ รู้ เอาตัวรู้อย่างเดียว


    หรือ


    บางทีบางท่าน อาจจะใช้ความคิดอยู่ไม่หยุด


    หรือบางท่าน อาจจะฝึกหัดสมาธิ
    โดยวิธีการ
    ทำสติตามรู้ การ ยืนเดิน นั่ง นอน รัปทาน ดื่ม ทำ พูด คิด


    ทุกลมหายใจก็สามารถที่จะทำจิตเป็น สมาธิได้เหมือนกัน


    เพราะฉะนั้น


    ถ้าเราจะเป็น นักปฏิบัติเพื่อความรู้ยิ่ง เห็นจริง กันจริงๆแล้ว


    อย่าไปติดวิธีการ ให้กำหนดหมาย ว่า



    สมถะก็ดี


    วิปัสนาก็ดี


    เป็น วิธีการปฏิบัติ


    ถ้าบริกรรมภาวนา หรือเพ่งกสิณ เป็นวิธีปฏิบัติ ตามวิธีของ สมถะ


    ถ้าปฏิบัติ ตามแบบที่ใช้ความคิดพิจารณาเรื่อยไป


    หรือกำหนดทำสติตามรู้ความคิดเรื่อยไป



    เป็นการปฏิบัติ ตามแบบ ของวิปัสนากรรมฐาน


    ทั้งสองอย่าง


    เพื่อมุ่งประสงค์ให้จิตสงบตั้งมั่นเป็นสมาธิ



    ประกอบด้วยองค์ คือ วิตก วิจาร ปีติ สุข เอกัคคัคตาด้วยกัน เหมือนกัน


    เพราะฉะนั้น


    อย่าไปสงสัยข้องใจใครถนัดในทางไหน ปฏิบัติลงไป


    และ
    โดยเฉพาะอย่างยิ่ง


    วิธีการปฏิบัติมันมีหลายแบบ หลายอย่าง อย่าไปติดวิธีการ


    ยุบหนอ พองหนอ ก็ปฏิบัติ แบบสมถะ


    สัมมาอะระหังก็ แบบสมถะ


    หรือการใช้พิจารณาอะไรต่างๆ ก็เพื่อสมถะ
    เพื่อความสงบจิตนั่นเอง
    เมื่อจิตไม่มีความสงบ สมาธิก็ไม่มี สมาธิไม่มี ฌานไม่มี
    ในเมื่อไม่มีฌานก็ไม่มีญาณ
    ไม่มีญาณก็ไม่มีปัญญา
    ไม่มีปัญญาก็ไม่มีวิชชา


    นี่ กฎธรรมชาติมันเป็นอยู่อย่างนี้
     
  14. ncc2

    ncc2 Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 มีนาคม 2007
    โพสต์:
    53
    ค่าพลัง:
    +84
    ขอขอบคุณครับสำหรับคำแนะนำสิ่งดีๆ และทุกคำแนะนำ ผมขออนุโมทนาบุญกับทุกๆท่านที่ประสบความสำเร็จด้วยการปฏิบัติด้วยครับ ขอให้ท่านเจริญจิตภาวนาสูงๆ ขึ้นไปจนดับสิ้นกิเลสด้วยครับ
     
  15. wancha

    wancha Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 พฤศจิกายน 2010
    โพสต์:
    109
    ค่าพลัง:
    +85
    >>[ame=http://www.youtube.com/watch?v=zZMKV3i_Ics]มูลกรรมฐาน เกสา โลมา นขา ทันตา ตโจ - YouTube[/ame]
     

แชร์หน้านี้

Loading...