แนวทางสำหรับผู้ปฏิบัติใหม่

ในห้อง 'กฎแห่งกรรม - ภพภูมิ' ตั้งกระทู้โดย lionking2512, 2 สิงหาคม 2012.

  1. lionking2512

    lionking2512 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กุมภาพันธ์ 2009
    โพสต์:
    1,525
    ค่าพลัง:
    +7,632
    สถานที่สงบสงัด อากาศที่สบาย ห่างไกลจากชุมนุมชน สถานที่เช่นนั้นย่อมเป็นที่สบายสะดวกของผู้ฝึกหัดเรียกว่า กายวิเวก ที่สงัดกาย ในบาลีท่านแสดงไว้ เช่น ถ้ำ และคูหา เงื้อมผาและป่าดง สูญญาคาร บ้านว่างเปล่า ซึ่งไม่มีมนุษย์ไปมาเกินควรเกลื่อนกล่น ที่เช่นนั้นเรียกว่า เสนาสนะสัปปายะ เป็นเครื่องมือสนับสนุนของผู้ปฏิบัติใหม่ๆ ได้เป็นอย่างดี

    เวลาไปอยู่ในสถานที่เช่นนั้น อย่าให้ปล่อยจิตใจไปในอารมณ์ที่เป็นศัตรูแก่ความสงบ
    เช่น ใฝ่ใจไปในทางดิรัจฉานคาถาและไสยศาสตร์
    ให้ปรารภและปฏิบัติแต่ธรรมะที่จะให้ความสบายแก่ตน เช่น

    อปิจฉตา
    ทำคนเป็นคนมักน้อยในปัจจัยทั้ง ๔


    วิเวกะ
    ให้มุ่งต่อความวิเวกสงัดถ่ายเดียว

    อสังสัคคะ
    อย่าเป็นผู้จุกจิกจู้จี้คลุกคลีด้วยหมู่คณะ

    วิริยารัมภะ
    ให้ตั้งใจปรารภแต่ความพากเพียร เพื่อทำจิตของตนให้สงบถ่ายเดียว

    สีลานุสสติ
    ให้ตรวจดูมรรยาทความประพฤติของตน ได้ล่วงข้อห้ามสิกขาบทหรือไม่ ให้รีบชำระเสียโดยเร็วด้วยเจตนาของตนเอง


    สมาธิกถา
    ให้ปรารภในเรื่องสมาธิ อารมณ์กัมมัฏฐาน อันเป็นเหตุแห่งความตั้งมั่นแห่งจิต

    ปัญญากถา
    ให้ปรารภแต่เรื่องที่จะให้เกิดปัญญา (วิปัสสนา)

    วิมุตติ
    ให้ยินดีในการทำความหลุดพ้นไปจากกิเลสทั้งปวง

    วิมุตติญาณทัสนะ
    ให้ปรารภตรึกตรองใคร่ครวญในการรู้เห็นธรรมะ ที่จะให้หลุดพ้นไปจากกิเลสอาสวะธรรมทั้งปวง
    ธรรมะเหล่านี้เป็นคู่มือของผู้ปฏิบัติทั่วไป จะทำใจของบุคคลผู้นั้นให้โน้มไปในทางพ้นทุกข์ถ่ายเดียว คือ ได้คัดลอกหมวดธรรมที่จำเป็น เป็นหัวข้อย่อยๆ พอเป็นเครื่องอุปการะ เครื่องสนับสนุนผู้ปฏิบัติมิให้วกเวียน แต่ควรถือว่าเป็นปกิณกธรรมเพียงเท่านั้น ส่วนความจริงนั้นต้องทำให้เกิดมีในตนเองโดยกำลังของตนเองเรียกว่า ปฏิบัติธรรม ถ้าเราจะถือกันแต่หมวดธรรมนี้ถ่ายเดียว ก็ได้แต่ปริยัติเท่านั้น ฉะนั้น ชั้นสุดท้ายอันเป็นจุดสำคัญก็คือ

    การทำจิตของตนให้สงบลงจนถึงหลักธรรมชาติ
    เป็นเองที่มีอยู่ในตนรู้เอง ละเอง นั่นแหละจึงเรียกว่า ปฏิบัติธรรม

    จึงจะนำตนเข้าถึงปฏิเวธธรรมอันเป็นรสของธรรมะจริงๆ ไม่ต้องมาสาวเชือก หรือสายโยงเพียงเท่านั้น
    ปริยัติธรรมทั้งหมด ก็เป็นได้แค่สะพาน หรือเชือกสายโยงอาศัยสาวหรือเดินข้ามฟาก ถ้าหากว่าเราจะรื้อเอาสะพาน หรือเชือกเหล่านั้นติดตัวไปก็ไม่มีประโยชน์อะไรแก่เรา นอกจากความหนักหน่วงให้วกเวียนเท่านั้น ฉะนั้น ปริยัติทั้งหมดที่จดจำไว้ เมื่อถึงขั้นเอาจริงแล้วเป็นเรื่องรับผิดชอบตนเองทั้งสิ้น

    จะแพ้หรือชนะ จะละหรือวางได้
    เป็นเรื่องของดวงจิตตนเองที่มีภูมิธรรมที่สร้างขึ้น
    ฉะนั้น ท่านจึงสอนอย่าให้ติดตำรา ติดสมมติบัญญัติ ปฏิบัติตนให้พ้นทั้งหมด จึงจะเป็นไปเพื่อความบริสุทธิ์สะอาด


    “อัตตาหิ อัตตโน นาโถ”
    อะไรจะเป็นสิ่งที่มาช่วยเหลือเราได้ นอกจากตนของตนพึ่งตนเองได้แล้วไม่มี นั่นแหละเป็นการที่ถูกต้องตามแนวทางธรรมะทั้งหลาย

    พระพุทธองค์ได้ทรงถึงแล้วทั้งหมด จึงค่อยบัญญัติทีหลัง มิใช่ว่าบัญญัติแล้วจึงค่อยทำตาม เปรียบเหมือนโลกวิทยาศาสตร์เขาค้นพบ ทำได้ ปรากฏแล้ว เขาจึงเขียนแบบตำรา แต่ผู้นักตำราอ่านออกเขียนได้ รู้เรื่องราวทุกอย่าง เช่น เครื่องบิน รู้ได้ทุกอย่างในเครื่องสัมภาระอุปกรณ์ แต่สร้างขึ้นด้วยความรู้ของตนเองไม่ได้ ผู้สร้างกับผู้ใช้มันเป็นคนละอย่าง ถ้าเราถือกันแค่ปริยัติธรรม จดจำเพียงเท่านั้นก็ได้ เท่ากับว่าเป็นผู้ใช้ เราควรทำตนเป็นผู้สร้างให้คนอื่นเขาใช้บ้างจึงเป็นการสมควร

    การสร้างสรรค์ขึ้นนั้น ต้องเป็นผู้รับผิดชอบในตนเองจึงจะสำเร็จได้ เมื่อไม่สำเร็จในวิธีการนั้นๆ ก็ให้ฉลาดในตนเองจึงจะสำเร็จมัวแต่เอาความฉลาดของคนอื่นมาเป็นของตน ก็พึ่งตนเองไม่ได้ เมื่อพึ่งตนเองไม่ได้ ทำไมเราจะทำตนให้คนอื่นเขามาพึ่งตนของเราได้


    ที่มา : โอวาทธรรมท่านพระอาจารย์ลี ธัมมธโร วัดอโศการาม สมุทรปราการ
     

แชร์หน้านี้

Loading...