จิต,เจตสิก,รูป, นิพพาน ฯ ตอนที่ ๒๐ นักเรียน นักศึกษา แล ท่านผู้ใฝ่ในธรรม ใฝ่ในการเรียนรู้แล มีความศรัทธาในพุทธศาสนา ทั้งหลาย เมื่อท่านทั้งหลายได้เรียนรู้ ได้ศึกษา ได้ทำความเข้าใจ เกี่ยวกับ ธรรมชาติพื้นฐานที่มีอยู่ในตัวมนุษย์ หรือได้ทำความเข้าใจเกี่ยวกับ เครื่องมือ หลักวิธี หรือเครื่องช่วย ในการที่จะทำให้บุคคลผู้มีจุดมุ่งหมาย หรือมีความต้องการ ทั้งเพื่อการดำรงชีวิต หรือดำเนินชีวิตในสังคมเป็นอยู่ร่วมกัน หรือมีจุดมุ่งหมาย หรือมีความต้องการในทางหลักการทางศาสนา คือต้องการละ ขจัด กำจัด หรือสำรอก ซึ่งกิเลส และอาสวะแห่งกิเลส เพื่อความหลุดพ้นบรรลุสู่นิพพาน เป็นที่สุด ผ่านไปแล้ว ๒ อย่าง ๒ ชนิด คือ ๑.โพชฌงค์ ๗, ๒, อริยมรรค มีองค์ ๘ ต่อไปนี้จะได้อรรถาธิบาย ให้ท่านทั้งหลายได้เรียนรู้ ได้ศึกษา ได้ทำความเข้าใจ ในเครื่องมือ หรือหลักวิธี หรือเครื่องช่วย หรือธรรมชาติพื้นฐานของมนุษย์ อย่างที่ ๓ นั้นก็คือ “ ฌาน” ฌาน เป็นหลักวิธี หรือเป็นเครื่องช่วย หรือเป็นเครื่องมือ ที่มีอยู่ในตัวมนุษย์โดยธรรมชาติ หรือจะกล่าวว่า เป็นธรรมชาติพื้นฐานที่มีอยู่ในตัวมนุษย์อยู่แล้ว กล่าวคือ มนุษย์ทุกคน ล้วนย่อมมี “ วิตก,วิจาร,ปีติและสุข,เอกัคคตา ” นั่นก็หมายความว่า ในการดำรงชีวิต หรือในการดำเนินชีวิต ตามสังคมเป็นอยู่ร่วมกันของมนุษย์ ล้วนย่อมเกิด “วิตก ,วิจาร,ปีติและสุข ,เอกัคคตา” ทั้ง ๕ อย่างที่ได้กล่าวไป หมุนวนสับเปลี่ยนกันไป ล้วน เกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป อยู่เกือบตลอดเวลา ดังนั้น ฌาน ในทางพุทธศาสนา จึงเป็นการอธิบาย หรือเป็นแนวทาง หรือวิธีการ หรือเครื่องมือ หรือเครื่องช่วย ในการที่จะสร้างความหนักแน่น ความมั่นคง ความมั่นใจ ความมีสติ สัมปชัญญะ หรือเพื่อทำให้จิตใจสงบ ไม่ฟุ้งซ่านหรือเพื่อทำให้เกิด สมาธิ หรือหากจะกล่าวในอีกรูปแบบหนึ่ง ฌาน เป็นสภาพสภาวะจิตใจ หรือลักษณะอาการของสภาพสภาวะจิตใจ ในการปฏิบัติสมาธิชั้นพื้นฐานเพิ่มเติม สำหรับบุคคลที่มีความต้องการที่จะ ขจัด หรือละ กำจัด หรือสำรอก กิเลส แลอาสวะแห่งกิเลส สังโยชน์ธรรมทั้งหลาย นิวรณ์ธรรมทั้งหลาย อีกทั้ง ฌาน ยังหมายรวมไปถึงวิธีการ หรือหลักวิธีในการ ขจัด หรือละ หรือกำจัด สภาพสภาวะจิตใจแห่ง ฌาน เป็นลำดับชั้น เพื่อไม่ให้เกิดความฟุ้งซ่านสับสน เพื่อให้เกิดความสงบแห่งจิตใจ หรือเพื่อเป็นการพักผ่อนอวัยวะต่างๆของร่างกายรูปแบบหนึ่ง หรือเพื่อให้เกิดความชำนาญหรือเกิดความรู้ความเข้าใจในการควบคุม ความคิด ขจัดความคิด หรือเพื่อสร้างสมาธิเพิ่มเติม อันเป็นพื้นฐานของจิตใจสำหรับใช้ในการคิดพิจารณา ศึกษา ค้นคว้า รวบรวม ในธรรมโพชฌงค์ทั้งหลาย แลเป็นพื้นฐานแห่งสภาพสภาวะจิตใจ ในพฤติกรรมอันเป็นธรรมชาติพื้นฐาน ตามโพชฌงค์๗ ตามอริยมรรคอันมีองค์ ๘ ซึ่งความหมายแห่ง สภาพสภาวะจิตใจ หรือลักษณะของ “วิตก,วิจาร,ปีติ,สุข,เอกัคคตา” มีดังต่อไปนี้.- วิตก คือ ความคิด อันเกิดขึ้นตามธรรมชาติของมนุษย์ (ในที่นี้หมายเอาเฉพาะมนุษย์ ) เป็นความคิดที่ได้รับจากการที่ได้สัมผัส ได้ประสบพบเห็น ได้ใกล้ชิด จากสิ่งแวดล้อมต่างๆภายนอกร่างกาย อันได้แก่ รูป,รส,กลิ่น,เสียงแสงสี,โผฏฐัพพะ,ธรรมารมณ์ บ้างก็ถูกจดจำไว้ในสมอง เมื่อถูกกระทบ ถูกกระตุ้น หรือเมื่ออยู่ในที่เงียบสงบ ไม่มีสิ่งใดรบกวน ความจำเหล่านั้น ก็จะเคลื่อนที่กลายเป็นความคิด เกิดเป็นอารมณ์หรือความรู้สึกตามความคิดนั้นๆ หรือจะกล่าวในอีกรูปแบบหนึ่งก็คือ ความมีสติ สัมปชัญญะ คือ ระลึกนึกถึง ไม่หลงลืม รู้สึกตัว เมื่อมีความรู้สึกตัว ไม่หลงลืม จึงเกิดการระลึกนึกถึง ในเหตุการณ์ต่างๆที่ได้ประสบมา คือเกิดการระลึกนึกถึงใน รูป,รส,กลิ่น,เสียงแสงสี,โผฏฐัพพะ,ธรรมารมณ์ และได้จดจำเอาไว้ในสมอง จึงเกิดเป็นการคิด หรือ วิตก การคิดหรือความคิดหรือที่ในทางพุทธศาสนา เรียกว่า วิตก หรือ ดำรินั้น หมายรวมถึงการคิด ในขณะประกอบกิจการงานใดใด หรือก่อนที่จะเกิดพฤติกรรมใดใดของมนุษย์ย่อมเกิดความคิดขึ้นมาก่อน จะคิดได้เร็ว หรือจะคิดช้า หรือคิดพอดีพอดี ก็ขึ้นอยู่กับสถานการณ์สิ่งแวดล้อม และเหตุการณ์ที่ประสบอยู่ในขณะนั้นๆ อีกทั้งยังมีระบบการทำงานของร่างกายเป็นปัจจัยประกอบอีกประการหนึ่ง ซึ่งท่านทั้งหลายคงจะพอรู้พอทราบกันอยู่แล้วว่า การคิด หรือความคิดนั้น เป็นอย่างไร วิจาร คือ การตรอง การพิจารณา หรือหมายถึง การคิดทบทวน การคิดหารายละเอียด หรือความที่เกิดการคิดทบทวนหรือ การคิดหารายละเอียดใน รูป รส กลิ่น เสียงสี,โผฏฐัพพะ,ธรรมารมณ์ อันสืบเนื่องต่อจากความคิดเมื่อได้รับการกระทบ หรือสัมผัส หรือเมื่อระลึกนึกถึง ความหวนระลึกได้ ในความจำที่มีอยู่ หมายความว่า เมื่อเกิดความคิดหรือเกิด”วิตก”ขึ้นมา วิจาร คือ การทบทวน การคิดหารายละเอียดในวิตกนั้น ก็จะตามติดมา เป็นธรรมชาติ เป็นธรรมดา เมื่อบุคคลมีการคิด คือมี วิตก แล้ว ย่อมเกิดการคิดทบทวน หรือการคิดหารายละเอียดฯ หรือ วิจาร เมื่อการคิด และการทบทวนในความคิดนั้นถึงที่สุดแล้ว วิตก วิจาร หมดสิ้นไปแล้ว ได้คำตอบแล้ว ได้ข้อยุติแล้ว ไม่ว่าจะเป็นไปในทางที่ดีหรือไม่ดีก็ตาม บุคคลนั้นๆ ก็จะเกิด สภาพสภาวะจิตใจ ที่เรียกว่า ปีติ ปีติ หมายถึงสภาพสภาวะจิตใจ หรือลักษณะอาการแห่ง ความยินดี รื่นเริงใจ อิ่มเอมใจ เบิกบานใจ ปลาบปลื้มใจ เกิดความคึกคัก มีพลังใจ กำลังใจ หรือ เกิดความชื่นชม ในข้อยุติ คำตอบ หรือที่สุด ของความคิด คือวิตก และของการทบทวนในความคิดนั้น การคิดหารายละเอียด หรือ วิจาร นั้นๆ เมื่อเกิดปีติแล้ว สิ่งที่จะติดตามมา ก็คือ ความสบายใจ ความสุขใจ หรือมีอารมณ์ที่แจ่มใส โล่ง เป็นความสุขที่เกิดจากทางใจ อันอาจก่อให้เกิดเป็นกิริยาที่แสดงออกถึงความสุขสบายใจ อารมณ์ดีแจ่มใส ซึ่งลักษณะหรือสภาพสภาวะจิตใจที่ได้กล่าวไปเรียกว่า “สุข” อันเป็นผลเกิดต่อจาก “ปีติ” กล่าวคือ ถ้า ปีติ เกิด สุข ก็เกิดตาม ดังนั้นในหลักพุทธศาสนาจึงเรียกว่า “ปีติและสุข” ปีติและสุข เมื่อเกิดขึ้นแล้ว ย่อมคงอยู่หรือดำรงอยู่ในสภาพสภาวะแห่งจิตเพียงระยะหนึ่ง ปีติและสุขที่เกิดขึ้นนั้น จะทำให้เกิดสิ่งที่เรียกสมาธิ มีสติ มีอุเบกขาเกิดอารมณ์เพียงอารมณ์เดียว ซึ่งเรียกว่า “เอกัคคตา” ตามติดมาโดยอัตโนมัติ และหากปีติและสุขที่เกิดขึ้นนั้น คลายไป หมดไป ดับไป หรือถึงที่สุดแล้ว ก็จะเหลือเพียง อุเบกขา คือความวางเฉย มีอารมณ์เพียงอารมณ์เดียวแห่งจิต เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า “สมาธิ” คือไม่มีวิตก ,ไม่มีวิจาร,ไม่มีปีติและสุข แต่ยังคงมี สติ และ สัมปชัญญะ มั่นคง อีกประการหนึ่งที่สำคัญที่ท่านทั้งหลายควรรู้ควรจดจำไว้ว่า สมาธิ สามารถเกิดมีขึ้นในตัวบุคคลได้ทุกเวลาทุกภวังขณะ(การทำงานตามหน้าที่แห่งอวัยวะต่างๆของร่างกาย) หากบุคคลอยู่ในที่สงบเงียบไม่มีสิ่งรบกวน ก็เกิดสมาธิ คือความสงบใจ ไม่มีวิตก,ไม่มีวิจาร,ไม่มีปีติและสุข ได้เช่นกัน และในการดำรงชีวิต หรือการดำเนินชีวิต ตามวิถีทางแห่งการสังคมเป็นอยู่ร่วมกันของมนุษย์นั้น วิตก,วิจาร,ปีติ,สุข,เอกัคคตา จะเกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป หมุนเวียนสับเปลี่ยนกันไปอยู่ตลอดเวลาที่มีการปฏิสัมพันธ์ หรือเกี่ยวข้องกันเนื่องเพราะกิจการงานหรือเพราะวิถีทางแห่งการดำเนินชีวิต เช่นเมื่อมี เอกัคคตา หรือ สมาธิ มีสติ สัมปชัญญะ ก็จะเกิด วิตก,วิจาร,ปีติและสุข ได้อีก หรือ เมื่อเกิด ปีติและสุขแล้ว สมาธิมีอยู่แล้ว ก็จะเกิด วิตก,วิจาร แล้วเกิด สมาธิ หรือเอกัคคตา ได้อีก อย่างนี้เป็นต้น ในหลักการแห่ง “ฌาน” นั้นถึงแม้ในทางพุทธศาสนาจะมีการแบ่งเป็นรูปฌาน ออกเป็น ๔ รูปฌาน และอรูปฌาน อีก ๔ อรูปฌาน ก็เป็นเพียงอธิบายแยกแยะให้เห็นให้รู้ เป็นขั้นเป็นตอน แต่ในทางที่เป็นจริงนั้น รูปฌาน ทั้ง ๔ อาจเกิดขึ้นจากรูปฌานที่ ๑ ถึง รูปฌานที่ ๔ อย่างรวดเร็ว หรืออาจเกิดเพียงรูปฌานใด รูปฌานหนึ่งก็ได้ ในรูปฌาน ๔ นั้นเมื่อเกิดขึ้น ก็ย่อมมี อรูปฌาน ๔ เกิดขึ้นตามมา ซึ่งในส่วนใหญ่แล้ว รูปฌานที่ ๑ และอรูปฌานที่ ๑ จะเกิดขึ้นบ่อยครั้งมากที่สุด เพราะเป็นธรรมชาติพื้นฐานที่มีอยู่ในตัวมนุษย์ ด้วยเหตุที่รูปฌานทั้ง๔ ที่เกิดขึ้นนี้เอง ในหลักการแห่ง “ฌาน” ตามหลักพุทธศาสนา จึงนับเป็นเครื่องมือ หลักวิธี หรือเครื่องช่วย ที่จะทำให้บุคคลมีจิตใจแน่วแน่ไม่สับสน ไม่ฟุ้งซ่าน ระงับ หรือ ดับ หรือขจัด ความฟุ้งซ่านบางอย่างบางชนิด เพื่อเป็นการพักผ่อนอวัยวะบางส่วนของร่างกาย เพื่อเป็นการบังคับ ควบคุม ความคิด ความจำ มิให้สับสนวุ่นวาย จนควบคุมมิได้ หรือเพื่อทำให้จิตใจสงบเป็นสมาธิ และที่สำคัญ ฌาน จะช่วยให้บุคคลนั้นๆสามารถรู้จักใช้สมอง ใช้ความคิด ใช้ความจำ ใช้อารมณ์ความรู้สึก เพื่อทำให้เกิด ปัญญา คือ ความรู้ยิ่ง ความรู้แจ้ง ความเข้าใจในธรรม ในความรู้ทั้งหลาย อย่างถ่องแท้ชัดเจน อย่างเป็นระบบ อย่างเป็นระเบียบ ซึ่งรูปฌาน ทั้ง ๔ รูปฌาน และ อรูปฌาน ทั้ง ๔ อรูปฌาน นั้นได้แก่.- จ่าสิบตรี เทวฤทธิ์ ทูลพันธ์ (ผู้เขียน) ๒๒ – ๒๗ ต.ค. ๒๕๕๒ รูป,เจตสิก,รูป,นิพพานฯ ตอนที่ ๒๑ รูปฌาน ๔ ประกอบไปด้วย ๑. ปฐมฌาน ๒. ทุติยฌาน ๓. ตติยฌาน ๔. จตุตถฌาน ๑. ปฐมฌาน คือ ลักษณะ หรือสภาพสภาวะจิตใจ ที่เป็นธรรมชาติพื้นฐานโดยทั่วไปของมนุษย์ย่อมประกอบไปด้วย วิตก,วิจาร,ปีติ,สุข อันเกิดจากการที่บุคคลอยู่ในสงบเงียบ ไม่มีสิ่งรบกวน ฌานมีองค์ ๕ ได้แก่ วิตก,วิจาร,ปีติ,สุข,เอกัคคตาแห่งจิต คือความมีจิตใจแน่วแน่อยู่ในอารมณ์เดียว ย่อมเกิดขึ้น หมายความว่า เมื่อบุคคลประพฤติปฏิบัติในที่สงบเงียบ ไม่มีสิ่งรบกวน ด้วยจิตใจที่หนักแน่นมั่นคงไม่ย่อท้อ ย่อมมี วิตก,วิจาร,ปีติ,สุข,เอกัคคตา และย่อมเกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไป หมุนวนเวียนอยู่อย่างนั้น จึงเรียกว่า ปฐมฌาน ๒. ทุติยฌาน คือ ลักษณะ หรือสภาพสภาวะจิตใจ ที่ต่อเนื่องจาก ปฐมฌาน เกิดอารมณ์ผ่องใส เมื่อมี วิตก,วิจาร จนถึงที่สุด โดยธรรมชาติแล้ว วิตก,วิจาร จึงสงบ ไม่มีวิตก,วิจาร มีแต่ ปีติ และ สุข ซึ่งความมีปีติและสุขที่เกิดขึ้นนั้น ก็จะเป็นตัวสมาธิชนิดหนึ่ง คือเมื่อมีความสบายใจ จิตใจผ่องใส ไม่คิดอะไร สมาธิก็เกิดขึ้น หรือความมีจิตใจแน่วแน่ในอารมณ์เดียวเกิดขึ้น นั้นก็คือ ฌาน มีองค์ ๓ คือ ปีติ สุข เอกัคคตา เกิดขึ้นเรียกว่า ทุติยฌาน ๓. ตติยฌาน คือ ลักษณะ หรือสภาพสภาวะจิตใจ ที่ต่อเนื่องจาก ทุติยฌาน เมื่อบุคคลมีปีติอยู่ มีสติ,สัมปชัญญะ คือความระลึกนึกถึง ความหวนระลึก และความไม่หลงลืม รู้สึกตัว อยู่ ย่อมคลายปีตินั้นลงได้โดยธรรมชาติ หากบุคคลมีความหนักแน่น มีความมั่นคงในใจ มีสติสัมปชัญญะอยู่ เนื่องจากปีติจะเกิดขึ้นเพียงช่วงระยะเวลาหนึ่งสั้นๆเท่านั้น แต่ยังคงมีสุขตามความรู้ความจำหรือธรรมทั้งหลายที่ประกอบอยู่ในจิต คือเจตสิกทั้งหลาย สภาพสภาวะจิตใจจึงอยู่ในสภาพ วางเฉย คืออุเบกขา เพราะปีติได้คลายหรือทุเลาเบาบางลงหรือหมดไป คงมีแต่ สุข ซึ่ง สุขนั้นย่อมทำให้เกิด เอกัคคตาแห่งจิต ดังนั้น ฌาน มีองค์ ๒ คือ สุข,เอกัคคตาแห่งจิต จึงเกิดมี เรียกว่า ตติยฌาน ๔. จตุตถฌาน คือ ลักษณะ หรือสภาพสภาวะจิตใจ ที่ต่อเนื่องจาก ตติยฌาน กล่าวคือ เมื่อบุคคลปราศจาก วิตก,วิจาร,ปีติ จึงไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข ไม่เกิดความเสียใจเศร้าใจ ไม่เกิดความสบายใจเบิกบานใจ สภาพสภาวะจิตใจหรืออารมณ์ที่เรียกว่า สุขได้คลายหรือหมดไป มีสติ,สัมปชัญญะดียิ่ง เพราะความวางเฉยหรืออุเบกขา เอกัคคตาแห่งจิตเกิดขึ้น ฌาน มีองค์ ๒ คือ อุเบกขา เอกัคคตาแห่งจิต จึงเกิดมี เรียกว่า จตุตถฌาน ในรูปฌานทั้ง ๔ นั้นยังมีรายละเอียด ในเรื่องของ วิตก วิจาร เพื่อให้ได้เกิดความเข้าใจเพิ่มเติมและเพื่อให้ได้รู้จักวิธีการหรือหลักวิธีในอันที่จะทำให้ วิตก วิจาร ถึงที่สุด หรือหมดไป อีกว่า วิตก วิจาร ปีติ สุข ย่อมเกิดจาก การจำ หรือการกระทำต่างๆที่ได้จำไว้ หรือความจำต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นความจำใน รูป รส กลิ่น เสียงแสงสี โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์ ใดใดก็ตาม เมื่อถึงที่สุดแห่ง วิตก วิจาร ปีติ สุข ความจำ หรือการจำเหล่านั้น ย่อมดับไป หายไป เรียกว่า ผ่านพ้น หรือก้าวล่วง การจำทั้งหลายเหล่านั้น เพราะเหตุบุคคลไม่หลงติด คือไม่ชมชอบ ในการจำทั้งหลายเหล่านั้น หากบุคคลไม่ชื่นชอบ หรือชมชอบ ในการจำทั้งหลายเหล่านั้นแล้ว วิตก วิจาร ย่อมถึงที่สุด ดับไป สงบไป หายไป นี้เป็น หนทางหนึ่งที่เป็นวิธี ระงับ ดับ ซึ่ง วิตก วิจาร ปีติ สุข จึงเกิด อุเบกขา คือความวางเฉย และเป็นอารมณ์ที่แน่วแน่เพียงอารมณ์เดียว หรือเรียกว่า “สมาธิ” หรือ ความสงบใจไม่ฟุ้งซ่าน นั่นเอง เมื่อรูปฌานเกิด อรูปฌานย่อมต้องเกิดตาม เพราะความคิด หรือการคิด หรือการคิดทบทวน หรือคิดหาในรายละเอียดเป็นเพียงคลื่นไฟฟ้ารูปแบบหนึ่งเคลื่อนที่อยู่ภายในร่างกายและคลื่นความคิดต่างๆนั้นย่อมต้องอาศัยอากาศเป็นปัจจัยสำคัญในการเคลื่อนที่ หรือจะกล่าวอีกรูปแบบหนึ่งก็คือ คลื่นความคิดต่างๆล้วนผสมอยู่ในอากาศรวมเป็นอากาศคือธรรมชาติความว่างเปล่า ดังนั้น ความคิด หรือการคิด หรือการคิดทบทวน หรือคิดหาในรายละเอียดจึงเป็นเพียงอากาศหรือธรรมชาติความว่างเปล่า ที่ไม่ใช่เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในขณะคิดหรือทบทวนความคิด แต่เป็นสิ่งที่ผ่านไปแล้วเป็นอดีต ที่ได้จดจำมาคิด หรืออาจเป็นความคิดหรือการทบทวนความคิดหรือการคิดหาในรายละเอียดที่ยังมาไม่ถึงคืออนาคต ถึงแม้ว่าขณะคิดขณะทบทวนอยู่นั้น อาจจะรู้ว่าจะเห็นว่า และสัมผัสได้ด้วยอารมณ์ความรู้สึกว่าเป็น รูป,รส,กลิ่น,เสียงแสงสี,โผฏฐัพพะ,ธรรมารมณ์ แต่แท้จริงแล้วเป็นเพียงธรรมชาติแห่งความว่างเปล่า คือ อากาศ ไม่มีตัวตนอยู่ ไม่ใช่เหตุการณ์ที่กำลังเกิดขึ้น ณ.ปัจจุบัน ซึ่งความว่างเปล่าหรืออากาศหรือคลื่นความคิดเหล่านั้น ย่อมไม่มีที่สิ้นสุด(อากาสานัญจายตนะ) หากบุคคลขณะปฏิบัติตามหลักของ “ฌาน” แล้วมี วิตก วิจาร เกิดขึ้น บุคคลย่อมประกอบด้วยสติและสัมปชัญญะ มีความเข้าใจแล้วว่า วิตก วิจารนั้น คือ ความว่างเปล่า คือ อากาศ อันผสมรวมด้วยคลื่นความคิดต่างๆ ก็ให้ท่องคำว่า “อากาศไม่มีที่สิ้นสุด”(อากาสานัญจายตนะ) หรือคิดคำว่า “อากาศไม่มีที่สิ้นสุด”(อากาสานัญจายตนะ) วิตก วิจาร ก็จะดับไป สิ้นสูญไป หายไป สงบไป เพราะเป็นธรรมชาติ ของระบบการทำงานของร่างกาย เพราะวิตกวิจาร เป็นอากาศเป็นธรรมชาติเป็นความว่างเปล่า ซึ่งในทางพุทธศาสนา เรียกว่า “การก้าวล่วง อากาสานัญจายตนะ” คือ ข้ามพ้น ผ่านไปแล้ว ข้ามพ้นแล้ว ซึ่ง คลื่นความคิด หรือ ธรรมชาติความว่างเปล่า หรืออากาศ ไม่มีที่สิ้นสุด จ่าสิบตรี เทวฤทธิ์ ทูลพันธ์ (ผู้เขียน) ๒๘-๓๐ ต.ค.๒๕๕๒