พระพุทธเจ้า เป็นมนุษย์หรือเทวดา

ในห้อง 'วิทยาศาสตร์ทางจิต - ลึกลับ' ตั้งกระทู้โดย อุรุเวลา, 18 มิถุนายน 2012.

  1. อุรุเวลา

    อุรุเวลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 ธันวาคม 2011
    โพสต์:
    3,464
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +8,002
    ส.ศิวรักษ์
    จาก บทบรรณาธิการ ศิลปวัฒนธรรม
    ฉบับวันที่ ๑ สิงหาคม พุทธศักราช ๒๕๔๖ (ปีที่ ๒๔ ฉบับที่ ๑๐) หน้า ๖๔

    (ถอดเทปและตัดตอนจากปาฐกถาในงาน ทศวรรษแห่งการจากไปของพุทธทาส
    วันอังคารที่ ๘ กรกฎาคม ๒๕๔๖ ณ ห้องประชุมศรีอยุธยา หอวชิราวุธ สำนักหอสมุดแห่งชาติ กรุงเทพฯ)

    ท่านอาจารย์พุทธทาส เห็นว่าในสมัยของท่าน มีการสอนเรื่องนรกสวรรค์และชาติก่อนชาติหน้ามากแล้ว ท่านจึงมาเน้นที่ปรมัตถธรรมและปัจจุบันธรรมเป็นแกนกลาง หากท่านไม่เคยปฏิเสธเรื่องวัฏสงสารเอาเลย อย่างน้อยรูปกาลจักร หรือสังสารจักรจากทิเบต รูปแรกที่เขียนขึ้นในเมืองไทยก็ที่ในสวนโมกข์นั้นเอง

    ในสมัยของท่านอาจารย์ การละอัตตาและลดบทบาทในเรื่องนรกสวรรค์เสียนั้น อาจเหมาะกับยุคสมัย หากสมัยนี้เราคงต้องกลับไปที่ภูมิปัญญาดั้งเดิมของเราด้วยจึงจะควร แม้ท่านอาจารย์พุทธทาสจะไม่เห็นด้วย ก็เป็นสิทธิของท่าน เราควรเคารพท่านเป็นอย่างยิ่ง แต่เราก็มีสิทธิที่จะคิดให้แผกไปจากท่านด้วย

    โดยเฉพาะก็ในเรื่องเนื้อหาสาระของชาดกต่างๆ ตลอดจนเทวดานางฟ้า และนรกสวรรค์ การใช้ภาษาคนและภาษาธรรม จากคำสอนของท่านพุทธทาสมาตีประเด็นเหล่านี้ นับว่าสมควรอยู่

    แต่ที่สำคัญยิ่งกว่านี้ ก็ตรงที่การวางท่าทีที่ถูกต้องเกี่ยวกับถ้อยคำนั้นๆ และสภาวะต่างๆ ของสัตวะต่างๆ และภาวะต่างๆ ที่เรามองไม่เห็น รับรู้ไม่ได้ด้วยวิธีวิทยาของวิทยาศาสตร์อย่างฝรั่ง อย่าไปด่วนสรุปว่าอะไรๆ เป็นเรื่องของสวรรค์ในอก นรกในใจ อยู่ที่ในเวลานี้ เดี๋ยวนี้เท่านั้น เพราะความวิเศษมหัศจรรย์ในทางรหัสยนัยนี้แลคือ สถานภาพอันพิเศษของทุกศาสนา รวมพุทธศาสนาด้วย เพราะจากรหัสยนัยในทางจิตสิกขานี้แล ที่เราจะเข้าได้ถึงปัญญาสิกขา และนั่นก็คือเนื้อหาของวิโมกขธรรม สมกับชื่อของสวนโมกข์อย่างแท้จริง

    เชื่อว่าท่านอาจารย์จะพอใจในแนวคิดที่แหวกออกไปอย่างเข้าใจความปรารถนาดีของทุกๆ คน และถ้าเราใช้วิทยาศาสตร์สมัยใหม่ อย่างที่ Institute of Mind Science จัดสัมมนา โดยนำนักวิทยาศาสตร์ชั้นนำมามีวิสาสะกับพุทธศาสนิกชั้นนำ ที่เข้าถึงทั้งทางปริยัติและปฏิบัติ แล้วเบิกบัญชรในทางรหัสยนัยให้เข้าถึงได้ ทั้งทางจิตสิกขาและทางวิทยาศาสตร์ฝ่ายนามธรรม นี่จะสำคัญยิ่งนัก จะช่วยให้เราเข้าถึงความเข้าใจในเรื่องตายแล้วเกิด และในเรื่องของเทวดานางฟ้าต่างๆ ดังที่ทางทิเบตเขามีนางธารา ทักขิณี มหากาฬ ศัมภาละ ฯลฯ

    ถ้าเราเข้าใจสัญลักษณ์เหล่านี้อย่างวางท่าทีที่ถูกต้อง เราย่อมอาจนำเอาบุคลาธิษฐานนั้นๆ มาเป็นปัจจัยในการแสวงหาธรรมจนเข้าถึงธรรมาธิษฐาน และไปพ้นสัมปรายิกัตถะ จนเข้าถึงปรมัตถะได้ด้วยซ้ำไป

    ผู้ที่อ้างตนว่านับถือพุทธศาสนาในเมืองไทยนั้น ส่วนใหญ่ไม่เข้าใจเนื้อหาสาระของพุทธธรรม เพราะ

    ๑. การอบรมบ่มนิสัยเยาวชนตามแบบโบราณ ซึ่งมีวัดกับบ้านอิงอาศัยกันและกัน มีพระและบิดามารดา ปู่ย่าตายาย เป็นแบบอย่างในทางวัฒนธรรมนั้น ได้ตายไปแล้วเกือบหมดสิ้น

    ๒. การสอนพุทธศาสนาโดยโรงเรียนนั้น คือการฆ่าสาระแห่งพระธรรม รวมทั้งการเรียนการสอนพระปริยัติธรรม ที่จัดขึ้นแต่สมัยสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส มาจนการเรียนการสอนในมหาวิทยาลัยสงฆ์ก็เช่นกัน ยิ่งการสอนพุทธศาสนาทางสื่อมวลชนด้วยแล้ว ให้แง่ลบยิ่งกว่าแง่บวกแทบทั้งนั้น

    ๓. เมื่อบุคลากรฝ่ายพุทธจักรอ่อนแอ ไสยเวทวิทยาย่อมมีอำนาจเหนือพุทธธรรม โดยที่ไสยเวทวิทยาอย่างใหม่คือ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และอกุศลมูลอย่างใหม่คือ เงิน (โลภะ) อำนาจ (โทสะ) และวิธีวิทยาอย่างฝรั่งที่เรารับเข้ามาสมาทานอย่างรู้เท่าไม่ถึงการณ์ (โมหะ) พุทธศาสนาจึงกลายไปเป็นพุทธพาณิชย์ ชาวพุทธชั้นนำจึงนับถือเงินและอำนาจ ตลอดจนอวิชชาต่างๆ อย่างเหนียวแน่น

    ๔. ผู้ที่ตั้งตัวเป็นพุทธศาสนิกสมัยใหม่ ต้องการให้เป็นพุทธศาสนามีค่าเท่ากับวิทยาศาสตร์ ให้พระพุทธเจ้าเป็นเพียงยอดของนักปราชญ์เมื่อ ๒,๕๐๐ ปีล่วงมาแล้ว แล้วพุทธศาสนาจะมีคำตอบสำหรับสังคมปัจจุบันได้อย่างไร

    นี่ยกมาเพียง ๔ ประเด็น และถ้าเราตีประเด็นเหล่านี้ได้ไม่แตก โดยเฉพาะก็ข้อล่าสุด อย่าว่าแต่พุทธทาสเลย แม้พระพุทธเจ้าก็คงมีคุณค่าเพียงเฉพาะตนเท่านั้น ดังคำแปลบทรับไตรสรณคมน์กันตามพิธีกรรมของวัดต่างๆ นั้น ยังมีความเพียงว่า "ข้าพเจ้าขอรับเอาพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ว่าเป็นสรณะที่พึ่ง เครื่องกำจัดภัยได้จริง" แต่ถ้าจะยึดตามคำแปลนี้ ก็ต้องตีความในเรื่อง "เครื่องกำจัดภัยได้จริง" ให้ถึงแก่น เพราะถ้าเข้าถึงพระรัตนตรัยอย่างแท้จริงแล้ว ภัยหรือความกลัวใดๆ ย่อมปลาสนาการไปได้สิ้น แม้จนความกลัวตาย กลัวความเจ็บไข้ได้ป่วย กลัวความไม่มั่นคงในชีวิต กลัวความเหงา กลัวการขาดคนรัก กลัวว่าสังคมจะไม่ยอมรับสภาพของตน นี่เป็นความกลัวในทางส่วนตัว

    ยังความกลัวทางสังคมนั้นเล่า โดยเฉพาะก็ความกลัวที่เกิดจากการเอาเปรียบโดยรัฐและบรรษัทข้ามชาติ การมอมเมาจากสื่อสารมวลชน ให้สบยอมกับโลกาภิวัตน์ แทนที่จะภูมิใจในคุณธรรมดั้งเดิม

    การที่ว่าพระพุทธเจ้าเป็นเพียงสามัญมนุษย์ที่ดับขันธ์ไปแล้วนั้น นับว่าอันตรายมาก เพราะเมื่อพระพุทธองค์ตรัสรู้แล้ว ทรงพบอาชีวกคนแรกระหว่างทาง เขาทูลถามสถานะของพระองค์ว่าเป็นมนุษย์หรือ เทวดาหรือ ฯลฯ ทรงตอบว่าไม่ใช่ทั้งสองสถาน หากตรัสว่าพระองค์ทรงเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้ตรัสรู้ได้โดยพระองค์เอง ถ้าเราตีประเด็นนี้ไม่แตกจะเป็นมิจฉาทิฐิได้ง่าย

    ถ้าเราอ่านพระไตรปิฎกดูดีๆ จะเห็นว่า ในสถานะหนึ่งพระพุทธองค์ก็ทรงเป็นมนุษย์ เสด็จดับขันธ์ด้วยพระโรคาพาธ แม้จะทรงระงับความทุกข์ทางกายได้เหนือสามัญมนุษย์ก็ตาม และในบางสถานะก็ทรงสภาพเหนือสามัญมนุษย์ เช่น เมื่อทรงแสดงพระปฐมเทศนาจบลงนั้น เทวดาทั้งหมื่นโลกธาตุพากันมาถวายอภิวาท แซ่ซ้องสาธุการ แม้เมื่อจะปรินิพพานก็มีเทวดาจากหลายชั้นฟ้ามาเฝ้า เราจะหาว่าพระคันถรจนาจารย์เติมข้อความพวกนี้เข้าไปภายหลังกระนั้นหรือ ยังการที่ทรงสอนให้แผ่ส่วนกุศลแด่เปรตเล่า เป็นเรื่องเหลวไหลกระนั้นหรือ หรือจะว่านี่เป็นเรื่องที่พิสูจน์ไม่ได้ตามวิธีวิทยาของฝรั่ง

    อย่างน้อยทางมหายานอธิบายได้ชัดเจนเรื่องพระนิรมาณกายของพระพุทธเจ้า ที่คนธรรมดาสามัญก็แลเห็นและรับรู้ได้ นอกจากนี้ก็ยังมีพระสัมโภคกาย ที่รับรู้ได้แต่พระโพธิสัตว์ทั้งหลายและเทวดาชั้นสูงเท่านั้น โดยที่สำคัญสุดนั้นคือพระธรรมกาย แม้จะไม่ต้องไปถึงคำสอนของฝ่ายมหายาน พระอนุตรสัมมาสัมโพธิญาณของพระองค์ ก็ทรงประกอบไปด้วยทศพลญาณและอภิญญา ตลอดจนอิทธิปาฏิหาริย์ต่างๆ อย่างที่สามัญมนุษย์ไม่อาจรับรู้ได้โดยตรรกะ หรือหัวสมอง หากเข้าถึงได้ด้วยจิตสิกขา นี้แลคือความวิเศษมหัศจรรย์ของพระพุทธานุภาพ ซึ่งแสดงออกได้ทั้งทางพระกรุณาคุณ ดังทางมหายานแสดงธรรมาธิษฐานในข้อนี้ ให้เป็นบุคลาธิษฐานในรูปของอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์ (ดังองค์ที่ไชยานั้นงามยิ่งนัก) หรือเจ้าแม่กวนอิม และทางพระปัญญาคุณ ซึ่งแสดงออกในทางบุคลาธิษฐาน ให้เป็นพระมัญชุศรีโพธิสัตว์ เป็นต้น

    ถ้าเข้าใจเนื้อหาสาระอันเป็นเลิศของพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์แล้ว การสมาทานพระรัตนตรัยย่อมช่วยให้เกิดศรัทธาปสาทะอย่างมั่นคงในพระพุทธคุณ พระธรรมคุณ และสังฆคุณ จนเราย่อมอาจสามารถแปรเปลี่ยนความกลัวไปได้ ให้กลายเป็นความกล้าหาญเบิกบาน เราสามารถเปลี่ยนความโลภไปได้ ให้เป็นทาน การให้ ตั้งแต่ให้วัตถุทาน อามิสทาน จนธรรมทาน และในที่สุดคืออภัยทาน

    กล่าวคือเราสละความกลัวต่างๆ เสียได้ โดยมีความกล้าหาญอย่างอ่อนน้อมถ่อมตนมาแทนที่ เพื่อรับใช้สรรพสัตว์ ยิ่งกว่ารับใช้ตนเอง

    เมื่อเปลี่ยนโลภะและราคะให้มาเป็นทานได้แล้ว เราก็ย่อมแปรเปลี่ยนโทสะหรือโกธะให้มาเป็นความเมตตา กรุณา ความรักในทางราคะอย่างหึงหวง อย่างเต็มไปด้วยดำกฤษณา กลายมาเป็นความรักอย่างลดความเห็นแก่ตัว จนเอาชนะความเห็นแก่ตัวได้ กามฉันทะแปรไปได้เป็นธรรมฉันทะ ด้วยการรักตนเองและคนรอบๆ ตนอย่างเข้าอกเข้าใจ อย่างไม่พยาบาทปองร้าย (เมตตา) แล้วรักคนที่ยากไร้ ที่ถูกเอารัดเอาเปรียบ อย่างพร้อมที่จะรับความเดือดร้อนลำเค็ญร่วมกับเขา (กรุณา) และหาทางออกจากทุกข์ภัยนั้นๆ ด้วยความร่วมมือของกันและกัน โดยมีพุทธธรรมเป็นแกนนำ โดยเข้าใจด้วยว่าคนที่กดขี่ข่มเหงเรา ล้วนทำไปด้วยอคติ ด้วยอวิชชา และด้วยโครงสร้างทางสังคมอันอยุติธรรม จึงไม่จำเป็นที่เราจะอิจฉาชนชั้นบน หรือคนที่กดขี่ข่มเหงเรา (มุทิตา) และถ้าเรายังหาทางออกได้ไม่ชัด หรืออะไรๆ ก็แก้ไขปัญหาได้แล้ว เราก็ตั้งจิตไว้ให้เป็นกลาง อย่างไม่เข้าข้างใคร ใช้เวลาภาวนาอย่างเป็นกลางทางธรรมชาติ (อุเบกขา) เพื่อให้เกิดความงอกงามด้วยอหิงสธรรม สำหรับตัวเราและสังคมรอบๆ เรา จนถึงสังคมวงกว้างอย่างหาประมาณมิได้

    จากจุดนี้แหละที่เราอาจแปรสภาพจากโมหะหรืออวิชชามาให้กลายเป็นปัญญา ด้วยอาศัยความเข้าใจในเรื่องการอิงอาศัยซึ่งกันและกันของสรรพสิ่ง อย่างไม่มีตัวกูของกู หรือกูกับมึง หากเป็นการโยงใยกันของความเป็นเช่นนั้นเอง

    ถ้าเราสามารถเจริญธรรมได้ดังที่บรรยายมา ก็เท่ากับว่าเรานำทาสของพระพุทธเจ้ากลับมาให้เป็นตัวแปร ที่จะช่วยเราแต่ละคน และช่วยสังคมวงกว้าง ให้เข้าถึงพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ได้อย่างแท้จริง นี้แลคือคำตอบที่พุทธศาสนาจะให้ได้กับสังคมไทยร่วมสมัย

    กล่าวคือว่า พุทธศาสนามีอะไรๆ ที่ลึกซึ้ง และมีแนวทางที่ไปพ้นความรุนแรง และความมืดบอด อย่างมองเห็นเป็นเขาเป็นเรา เราดี เขาเลว หากเป็นการเอื้ออาทรต่อกันและกัน ไม่แต่ในหมู่มวลมนุษย์ หากรวมตลอดจนถึงสรรพสัตว์

    คัดลอกมาจาก http://www.buddhadasa.in.th/html/articles/2_buddhism/Buddha_Who.html
     
  2. phudit999

    phudit999 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 พฤศจิกายน 2009
    โพสต์:
    2,471
    ค่าพลัง:
    +2,396
    การ จะ วัด ว่า เป็น อะไร ต้อง ดู ที่ กาย ใน

    ร่าง เป็น มนุษย์ ก่ จริง แต่ เป็น ได้ หลาย อย่าง

    อาทิ

    สัตว์นรก

    สัตว์เดรัจฉาน

    เปรต อสูรกาย เป็น ต้น

    มนุษย์

    เทวดา พรหม

    สูง กว่า พรหม คือ อริย (ตั้ง แต่ อนาคมี และ อรหัน)

    กายของ องค์ พุทธะ คือ กายธรรม

    ดังนั้น องค์พุทธะ จึง จะ ไม่ เรียกว่ามนุษย์ หรือ เทวดา

    ดู กาย ใน เป็น หลัก

    อยาก จะ เรียก ก่ เรียกว่า องค์พุทธะ แทน มนุษย์
     
  3. idontknowitwell

    idontknowitwell เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    295
    ค่าพลัง:
    +131
    เป็นมนุษย์นี่แหละ เพียงแต่ท่านเป็น 1 อยู่แล้ว เลยทำอะไรได้หลายๆอย่างมากกว่าพระสาวกหรือคนทั่วๆไป

    เราถึงได้เจออภินิหาริย์ ปาฏิหาริย์ ต่างๆมากมายของท่านในพระไตรปิฎกต่างๆมากมายไง ซึ่ีงบางที บางเรื่อง มันก็อาจดูเหมือนเกินความจริง

    แต่อย่างเราๆท่านๆ ที่ไม่สามารถพิสูจน์สิ่งเหล่านี้ได้ ก็อย่าไปใส่ใจให้มากนักเลย ก็อย่างที่เค้าว่านั่นแหละ อจินไตย
     
  4. อุรุเวลา

    อุรุเวลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 ธันวาคม 2011
    โพสต์:
    3,464
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +8,002
    พระอริยะนับตั้งแต่พระโสดาบันครับ :cool:
     
  5. phudit999

    phudit999 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 พฤศจิกายน 2009
    โพสต์:
    2,471
    ค่าพลัง:
    +2,396
    สำหรับ ผม แล้ว

    โสดา เป็น เพียง ผู้ ดำรง มั่น ใน การ เดิน ทาง พ้น ออก จาก ทุกข์

    เพิ่ง เปิด ใจ เปิด ประตู เห็น ทาง ที่ จะ เดิน ออก จาก ทุกข์

    แต่ ทุกข์ ทั้ง หลาย ยัง ไม่ ได้ เริ่ม กำจัด ออก จาก ขันธ์

    จึง ไม่ ถือ ว่า เป็น อริย (ขอ อภัย ที่ แย้ง น่ะ ครับ)

    ใคร จะ ว่า เชิญ ตาม สบาย

    (เรา มี แหล่ง ความ รู้ ของ เรา ... เรา จึง กล่าว อย่าง นี้)
     
  6. phudit999

    phudit999 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 พฤศจิกายน 2009
    โพสต์:
    2,471
    ค่าพลัง:
    +2,396
    ถาม ว่า ทำไม จึง เรียก อริย ตั้ง แต่ อนาคา และ อรหัน

    แหล่ง ข้อ มูล บอก ถึง องค์ ประกอบ ของ ขันธ์ ที่ แตก ต่าง จาก มนุษย์

    อรหัน กับ องค์พุทธะ ก่ แตก ต่าง ตรง องค์ประกอบ ของ ขันธ์ เช่น กัน
     
  7. อุรุเวลา

    อุรุเวลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 ธันวาคม 2011
    โพสต์:
    3,464
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +8,002
    ขัดแย้งกันได้ครับ ผมอาจรู้มาผิดก็ได้ ขอหาข้อมูลก่อนครับ
     
  8. อุรุเวลา

    อุรุเวลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 ธันวาคม 2011
    โพสต์:
    3,464
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +8,002
    พระไตรปิฎก ฉบับบาลีสยามรัฐ (ภาษาไทย) เล่มที่ ๒๔
    ดูกรคฤหบดี เพราะเหตุที่อริยสาวกระงับภัยเวร ๕ ประการนี้ เป็นผู้ประกอบด้วยองค์
    เครื่องบรรลุกระแสนิพพาน ๔ ประการนี้ และเป็นผู้เห็นแจ้งแทงตลอดญายธรรมที่เป็นอริยะด้วยปัญญา อริยสาวกนั้นเมื่อหวังอยู่ พึงพยากรณ์ตนด้วยตนได้ว่า เรามีนรกสิ้นแล้ว มีกำเนิดดิรัจฉานสิ้นแล้ว มีปิตติวิสัยสิ้นแล้วมีอบาย ทุคติและวินิบาตสิ้นแล้ว เราเป็นพระโสดาบัน มีอันไม่ตกต่ำเป็นธรรมดา เป็นผู้เที่ยงที่จะตรัสรู้ในภายหน้า ฯ
     
  9. อุรุเวลา

    อุรุเวลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 ธันวาคม 2011
    โพสต์:
    3,464
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +8,002
    พระไตรปิฎก ฉบับบาลีสยามรัฐ (ภาษาไทย) เล่มที่ ๒๐
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ทำให้บริบูรณ์ในศีล เป็นผู้ทำพอประมาณในสมาธิ
    เป็นผู้ทำพอประมาณในปัญญา เธอย่อมล่วงสิกขาบทเล็กน้อยบ้าง ย่อมออกจากอาบัติบ้าง
    ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะไม่มีใครกล่าวความเป็นคนอาภัพเพราะเหตุล่วงสิกขาบทนี้ แต่ว่า
    สิกขาบทเหล่าใด เป็นเบื้องต้นแห่งพรหมจรรย์ สมควรแก่พรหมจรรย์ เธอเป็นผู้มีศีลยั่งยืน
    และมีศีลมั่นคงในสิกขาบทเหล่านั้น สมาทานศึกษาอยู่ในสิกขาบททั้งหลาย

    เธอเป็นพระสัตตักขัตตุปรมโสดาบัน เพราะสังโยชน์ ๓ หมดสิ้นไปท่องเที่ยวไปในเทวดาและมนุษย์อย่างมากเจ็ดครั้ง แล้วจักทำที่สุดแห่งทุกข์ได้เธอเป็นพระโกลังโกละโสดาบัน เพราะสังโยชน์ ๓ หมดสิ้นไป ท่องเที่ยวไปสู่ ๒ หรือ ๓ ตระกูล (ภพ) แล้วจักทำที่สุดแห่งทุกข์ได้ เธอเป็นพระเอกพิชีโสดาบันเพราะสังโยชน์ ๓ หมดสิ้นไป มาเกิดยังภพนี้ภพเดียวเท่านั้นแล้ว จักทำที่สุดแห่งทุกข์ได้

    เธอเป็นพระสกทาคามี เพราะสังโยชน์ ๓ หมดสิ้นไป และเพราะราคะโทสะ และโมหะเบาบาง มาสู่โลกนี้อีกครั้งเดียว แล้วจักทำที่สุดแห่งทุกข์ได้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ทำให้บริบูรณ์ในศีลเป็นผู้ทำให้บริบูรณ์ในสมาธิ เป็นผู้ทำพอประมาณในปัญญา เธอย่อมล่วงสิกขาบทเล็กน้อยบ้าง ย่อมออกจากอาบัติบ้าง ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะไม่มีใครกล่าวความเป็นคนอาภัพเพราะเหตุล่วงสิกขาบทนี้ แต่ว่าสิกขาบทเหล่าใดเป็นเบื้องต้น แห่งพรหมจรรย์ สมควรแก่พรหมจรรย์ เธอเป็นผู้มีศีลยั่งยืน และมีศีลมั่นคงในสิกขาบทเหล่านั้น สมาทานศึกษาอยู่ในสิกขาบททั้งหลาย เพราะโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ หมดสิ้นไป

    เธอเป็นพระอนาคามีผู้อุทธังโสโตอกนิฏฐคามี เป็นพระอนาคามีผู้สสังขารปรินิพพายีเป็นพระอนาคามีผู้อสังขารปรินิพพายี เป็นพระอนาคามีผู้อุปหัจจปรินิพพายี เป็นพระอนาคามีผู้อันตราปรินิพพายี ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ทำให้บริบูรณ์ในศีล เป็นผู้ทำให้บริบูรณ์ในสมาธิ เป็นผู้ทำให้บริบูรณ์ในปัญญา เธอย่อมล่วงสิกขาบทเล็กน้อยบ้าง ย่อมออกจากอาบัติบ้าง ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะไม่มีใครกล่าวความเป็นคนอาภัพเพราะเหตุล่วงสิกขาบทนี้ แต่ว่าสิกขาบทเหล่าใด เป็นเบื้องต้นแห่งพรหมจรรย์สมควรแก่พรหมจรรย์
    เธอเป็นผู้มีศีลยั่งยืน และมีศีลมั่นคงในสิกขาบทเหล่านั้นสมาทานศึกษาอยู่ในสิกขาบททั้งหลาย เธอทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติอันหาอาสวะมิได้ เพราะอาสวะทั้งหลายสิ้นไป ด้วยปัญญาอันยิ่งเองในปัจจุบันเข้าถึงอยู่ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ทำได้เพียงบางส่วน ย่อมให้สำเร็จได้บางส่วนผู้ทำให้บริบูรณ์ ย่อมให้สำเร็จได้บริบูรณ์อย่างนี้แล ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวสิกขาบททั้งหลายว่า ไม่เป็นหมันเลย ฯ
     
  10. อุรุเวลา

    อุรุเวลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 ธันวาคม 2011
    โพสต์:
    3,464
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +8,002
    พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๘ สังยุตตนิกาย นิทานวรรค หน้าที่ ๖๘/๒๘๘
    [๑๕๓] อริยสาวกย่อมประกอบด้วยธรรมเป็นองค์แห่งโสดาปัตติ ๔ อย่างเป็นไฉน ดูกร
    คฤหบดี อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ ย่อมประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระพุทธ
    เจ้าว่า แม้เพราะเหตุนี้ๆ พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้นเป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้เองโดยชอบ
    ถึงพร้อมแล้วด้วยวิชชาและจรณะ เสด็จไปดีแล้ว ทรงรู้แจ้งโลก เป็นสารถีฝึกบุรุษที่ควรฝึก
    ไม่มีผู้อื่นยิ่งกว่า เป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นผู้เบิกบานแล้ว เป็นผู้จำแนกพระ
    ธรรม ดังนี้ย่อมประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระธรรมว่า พระธรรมอันพระผู้มี
    พระภาคตรัสดีแล้ว อันผู้ได้บรรลุจะพึงเห็นเอง ไม่ประกอบด้วยกาล ควรเรียกให้มาดู ควรน้อม
    เข้ามา อันวิญญูพึงรู้เฉพาะตน ดังนี้ ย่อมประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระสงฆ์
    ว่า พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเป็นผู้ปฏิบัติดีแล้ว เป็นผู้ปฏิบัติตรง เป็นผู้ปฏิบัติเป็นธรรม
    เป็นผู้ปฏิบัติสมควร คือคู่แห่งบุรุษ ๔ บุรุษบุคคล ๘ นี่พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาค เป็น
    ผู้ควรของคำนับ เป็นผู้ควรของต้อนรับ เป็นผู้ควรของทำบุญ เป็นผู้ควรทำอัญชลี เป็นนาบุญ
    ของโลก ไม่มีนาบุญอื่นยิ่งกว่า ดังนี้ ย่อมประกอบด้วยศีลที่พระอริยเจ้าปรารถนา อันไม่ขาด
    ไม่ทะลุ ไม่ด่าง ไม่พร้อย เป็นไทย อันวิญญูชนสรรเสริญอันตัณหาและทิฐิไม่ครอบงำได้
    เป็นไปเพื่อสมาธิ อริยสาวกย่อมประกอบด้วยธรรมเป็นองค์แห่งโสดาปัตติ ๔ อย่างนี้ ฯ
    [๑๕๔] ก็ญายธรรมอันประเสริฐ อันอริยสาวกเห็นดีแล้ว แทงตลอดดีแล้วด้วยปัญญา
    เป็นไฉน ดูกรคฤหบดี อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ กระทำไว้ในใจโดยแยบคาย ถึงปฏิจจสมุป
    บาทเป็นอย่างดีว่า เมื่อสิ่งนี้มี สิ่งนี้จึงมี เพราะสิ่งนี้เกิดขึ้น สิ่งนี้จึงเกิดขึ้น เมื่อสิ่งนี้ไม่มี สิ่งนี้จึงไม่มี
    เพราะสิ่งนี้ดับ สิ่งนี้จึงดับ ด้วยประการดังนี้ คือ เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย จึงมี
    สังขาร เพราะสังขารเป็นปัจจัย จึงมีวิญญาณ เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย จึงมีนามรูป เพราะนามรูป
    เป็นปัจจัย จึงมีสฬายตนะ เพราะสฬายตนะเป็นปัจจัย จึงมีผัสสะเพราะผัสสะเป็นปัจจัย จึงมี
    เวทนา เพราะเวทนาเป็นปัจจัย จึงมีตัณหา เพราะตัณหาเป็นปัจจัย จึงมีอุปาทาน เพราะอุปาทาน
    เป็นปัจจัย จึงมีภพ เพราะภพเป็นปัจจัยจึงมีชาติ เพราะชาติเป็นปัจจัย จึงมีชราและมรณะ
    โสกปริเทวทุกขโทมนัสและอุปายาส ความเกิดแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการ
    อย่างนี้ ก็เพราะอวิชชาดับด้วยสำรอกโดยไม่เหลือ สังขารจึงดับ เพราะสังขารดับ วิญญาณจึงดับ
    เพราะวิญญาณดับ นามรูปจึงดับ เพราะนามรูปดับ สฬายตนะจึงดับ เพราะสฬายตนะดับ
    ผัสสะจึงดับ เพราะผัสสะดับ เวทนาจึงดับ เพราะเวทนาดับ ตัณหาจึงดับเพราะตัณหาดับ
    อุปาทานจึงดับ เพราะอุปาทานดับ ภพจึงดับ เพราะภพดับชาติจึงดับ เพราะชาติดับ ชราและ
    มรณะโสกปริเทวทุกขโทมนัสและอุปายาสจึงดับความดับแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วย
    ประการอย่างนี้ ญายธรรมอันประเสริฐนี้ อริยสาวกนั้นเห็นดีแล้ว แทงตลอดดีแล้ว ด้วยปัญญา ฯ
    [๑๕๕] ดูกรคฤหบดี เมื่อใดแล ภัยเวร ๕ ประการนี้ของอริยสาวกสงบแล้ว เมื่อ
    นั้น อริยสาวกย่อมประกอบด้วยธรรมเป็นองค์แห่งโสดาปัตติ ๔ อย่างและญายธรรมอย่าง
    ประเสริฐนี้ อันอริยสาวกนั้นเห็นดีแล้ว แทงตลอดดีแล้วด้วยปัญญา อริยสาวกนั้นหวังอยู่
    พึงพยากรณ์ตนด้วยตนเองได้ว่า เราเป็นผู้มีนรกสิ้นแล้ว มีกำเนิดสัตว์ดิรัจฉานสิ้นแล้ว มีปิตติ
    วิสัยสิ้นแล้ว มีอบาย ทุคติ วินิบาตสิ้นแล้ว เราเป็นโสดาบันมีอันไม่ตกต่ำเป็นธรรมดา เป็นผู้
    เที่ยงจะตรัสรู้ในภายหน้า ฯ
     
  11. อุรุเวลา

    อุรุเวลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 ธันวาคม 2011
    โพสต์:
    3,464
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +8,002
    พระไตรปิฎก ฉบับบาลีสยามรัฐ (ภาษาไทย) เล่มที่ ๒๑
    [๓๖] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเสด็จดำเนินทางไกลในระหว่างเมืองอุกกัฏฐะและ
    เมืองเสตัพยะ แม้โทณพราหมณ์ก็เดินทางไกลในระหว่างเมืองอุกกัฏฐะและเมืองเสตัพยะ
    โทณพราหมณ์ได้เห็นรอยกงจักรในรอยพระบาทของพระผู้มีพระภาคมีซี่ตั้งพัน ประกอบด้วยกงและดุม
    บริบูรณ์ด้วยอาการทั้งปวงครั้นเห็นแล้วจึงรำพึงว่า อัศจรรย์จริงหนอท่านผู้เจริญ สิ่งไม่เคยมีมามีขึ้น
    รอยเท้าเหล่านี้ชะรอยจักไม่ใช่รอยเท้ามนุษย์ ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคเสด็จแวะออกจากทาง
    ประทับนั่งที่โคนไม้ต้นหนึ่ง ทรงคู้บัลลังก์ ตั้งพระกายตรง ดำรงสติไว้เฉพาะหน้า ครั้งนั้น
    โทณพราหมณ์ติดตามรอยพระบาทของพระผู้มีพระภาค ได้เห็นพระผู้มีพระภาคประทับนั่งที่โคนไม้แห่งหนึ่ง
    น่าพอใจ ควรแก่ความเลื่อมใส มีพระอินทรีย์อันสงบ มีพระทัยอันสงบ ถึงความฝึกฝนและความสงบ
    อันยอดเยี่ยมมีตนอันฝึกแล้วคุ้มครองแล้ว มีอินทรีย์อันรักษาแล้ว เป็นผู้ประเสริฐ ครั้นเห็นแล้ว
    จึงเข้าไปเฝ้าถึงที่ประทับ แล้วทูลถามว่า ท่านผู้เจริญเป็นเทวดาหรือ
    พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า ดูกรพราหมณ์ เรามิใช่เป็นเทวดา ฯ
    โท. ท่านผู้เจริญเป็นคนธรรพ์หรือ ฯ
    พ. ดูกรพราหมณ์ เรามิใช่เป็นคนธรรพ์ ฯ
    โท. ท่านผู้เจริญเป็นยักษ์หรือ ฯ
    พ. ดูกรพราหมณ์ เรามิใช่เป็นยักษ์ ฯ
    โท. ท่านผู้เจริญเป็นมนุษย์ใช่ไหม ฯ
    พ. ดูกรพราหมณ์ เรามิใช่เป็นมนุษย์
    โท. เราถามท่านว่า เป็นเทวดาหรือ ท่านตอบว่าไม่ใช่ เราถามว่าเป็นคนธรรพ์หรือ
    ท่านตอบว่าไม่ใช่ เราถามว่าเป็นยักษ์หรือ ท่านตอบว่าไม่ใช่ เราถามว่าเป็นมนุษย์หรือ ท่านก็
    ตอบว่าไม่ใช่ ถ้าอย่างนั้นท่านผู้เจริญเป็นอะไรแน่ ฯ
    พ. ดูกรพราหมณ์ เราพึงเป็นเทวดา เพราะยังละอาสวะเหล่าใดไม่ได้ อาสวะเหล่านั้น
    เราละได้แล้ว ตัดรากขาดแล้ว กระทำให้เป็นดุจตาลยอดด้วนกระทำให้ไม่มี ไม่ให้เกิดขึ้นอีก
    ต่อไปเป็นธรรมดา ดูกรพราหมณ์ เราพึงเป็นคนธรรพ์ ... เราพึงเป็นยักษ์ ... เราพึงเป็นมนุษย์
    เพราะยังละอาสวะเหล่าใดไม่ได้อาสวะเหล่านั้น เราละได้แล้ว ตัดรากขาดแล้ว กระทำให้เป็นดุจตาล
    ยอดด้วนกระทำให้ไม่มี ไม่ให้เกิดขึ้นอีกต่อไปเป็นธรรมดา ดูกรพราหมณ์ เปรียบเหมือนดอก
    อุบล ดอกปทุม หรือดอกบัวขาว เกิดในน้ำ เจริญในน้ำ ตั้งอยู่พ้นน้ำ แต่น้ำมิได้แปดเปื้อน
    แม้ฉันใด ดูกรพราหมณ์ เราก็ฉันนั้นเหมือนกัน เกิดในโลกเติบโตขึ้นในโลก อยู่ครอบงำโลก
    อันโลกมิได้แปดเปื้อน ดูกรพราหมณ์ ท่านจงทรงจำเราไว้ว่าเป็นพระพุทธเจ้า ฯ
    ความบังเกิดเป็นเทวดา หรือคนธรรพ์ ผู้เที่ยวไปในเวหา
    พึงมีแก่เราด้วยอาสวะใด เราพึงถึงความเป็นยักษ์ และ
    เข้าถึงความเป็นมนุษย์ด้วยอาสวะใด อาสวะเหล่านั้นของ
    เรา สิ้นไปแล้ว เรากำจัดเสียแล้ว กระทำให้ปราศจาก
    เครื่องผูกพัน ดอกบัวตั้งอยู่พ้นน้ำ ย่อมไม่แปดเปื้อน
    ด้วยน้ำ ฉันใดเราก็ย่อมไม่แปดเปื้อนด้วยโลก ฉันนั้น
    ดูกรพราหมณ์ เพราะฉะนั้น เราจึงเป็นพระพุทธเจ้า ฯ
    จบสูตรที่ ๖
     
  12. jojovirtue

    jojovirtue Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มิถุนายน 2012
    โพสต์:
    118
    ค่าพลัง:
    +51
    ตอนนี้พระพุธเจ้าเป็นเทพแล้ว เพราะเขาบรรลุธรรมแล้วเราคิดงี้อะ
     
  13. rwoot

    rwoot เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 เมษายน 2008
    โพสต์:
    336
    ค่าพลัง:
    +191

    ถ้าอย่างนั้น แหล่งความรู้ของท่าน คงมาจากศาสนาอื่นลัทธิอื่นแล้วหล่ะครับ...
     
  14. phudit999

    phudit999 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 พฤศจิกายน 2009
    โพสต์:
    2,471
    ค่าพลัง:
    +2,396
    ไม่มีลัทธิ และ ไม่ใช่ศาสนา ของ มนุษย์โลก และโลกมนุษย์ ดอกครับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 19 มิถุนายน 2012
  15. phudit999

    phudit999 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 พฤศจิกายน 2009
    โพสต์:
    2,471
    ค่าพลัง:
    +2,396
    เรียกให้ เต็ม คือ พระวิสุทธิเทพ หรือเปล่า
     
  16. phudit999

    phudit999 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 พฤศจิกายน 2009
    โพสต์:
    2,471
    ค่าพลัง:
    +2,396
    อ่าน ตำราโบราณ ดู น่ะ ครับ

    ฟัง เพียง แค่ ธรรม เล็ก น้อย

    แต่ ว่า ยัง ไม่ ได้ ขัด เกลา

    ปฏิบัติ ตน ทั้ง ๆ ที่ ยัง เป็น คฤหัสถ์

    ก่ บรรลุ โสดาบัน ....

    หมายถึง อะไร

    ยก เว้น เหล่า ที่ เคย ขัด เกลา

    เมื่อ ฟัง ธรรม จาก องค์พุทธ แล้ว

    สามารถ เข้า ถึง ธรรม ใน ระดับ อรหัน

    ได้ อัน นี้ พอ จะ ฟัง ได้

    การ เป็น โสดาบัน ไม่ ยาก อย่าง ที่ คิด

    มี ความ ตั้ง ใจ อย่าง จริง จัง ไม่ แปร ฝัน

    ไป จาก นี้ เพราะ เกิด ศรัทธา มี ความ ระมัด

    ระวัง ... ใน ศีล ปฏิบัติ ต่อ ไป ใน ธรรม ที่ ดี

    คือ สมาธิ และ ภาวนา ก่ คือ โสดาบัน

    สร้าง อุปนิสัย ที่ ดี งาม บันทึก ใน สัญญาขันธ์

    เกิด ใหม่ ทำ ต่อ เนื่อง ตาม สัญญาขันธ์ เดิม

    ก็ ไม่ เกิน 7 ชาติ ได้
     
  17. phudit999

    phudit999 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 พฤศจิกายน 2009
    โพสต์:
    2,471
    ค่าพลัง:
    +2,396
    ท่าน ช่วย แถลง ไข สังโยชน์ 3 คุณสมบัติ ของ โสดาบัน ให้ ที ครับ

    ว่า มี อะไร บ้าง
     
  18. อุรุเวลา

    อุรุเวลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 ธันวาคม 2011
    โพสต์:
    3,464
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +8,002
    พระไตรปิฎก ฉบับบาลีสยามรัฐ (ภาษาไทย) เล่มที่ ๒๑
    [๓๖] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเสด็จดำเนินทางไกลในระหว่างเมืองอุกกัฏฐะและ
    เมืองเสตัพยะ แม้โทณพราหมณ์ก็เดินทางไกลในระหว่างเมืองอุกกัฏฐะและเมืองเสตัพยะ
    โทณพราหมณ์ได้เห็นรอยกงจักรในรอยพระบาทของพระผู้มีพระภาคมีซี่ตั้งพัน ประกอบด้วยกงและดุม
    บริบูรณ์ด้วยอาการทั้งปวงครั้นเห็นแล้วจึงรำพึงว่า อัศจรรย์จริงหนอท่านผู้เจริญ สิ่งไม่เคยมีมามีขึ้น
    รอยเท้าเหล่านี้ชะรอยจักไม่ใช่รอยเท้ามนุษย์ ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคเสด็จแวะออกจากทาง
    ประทับนั่งที่โคนไม้ต้นหนึ่ง ทรงคู้บัลลังก์ ตั้งพระกายตรง ดำรงสติไว้เฉพาะหน้า ครั้งนั้น
    โทณพราหมณ์ติดตามรอยพระบาทของพระผู้มีพระภาค ได้เห็นพระผู้มีพระภาคประทับนั่งที่โคนไม้แห่งหนึ่ง
    น่าพอใจ ควรแก่ความเลื่อมใส มีพระอินทรีย์อันสงบ มีพระทัยอันสงบ ถึงความฝึกฝนและความสงบ
    อันยอดเยี่ยมมีตนอันฝึกแล้วคุ้มครองแล้ว มีอินทรีย์อันรักษาแล้ว เป็นผู้ประเสริฐ ครั้นเห็นแล้ว
    จึงเข้าไปเฝ้าถึงที่ประทับ แล้วทูลถามว่า ท่านผู้เจริญเป็นเทวดาหรือ
    พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า ดูกรพราหมณ์ เรามิใช่เป็นเทวดา ฯ
    โท. ท่านผู้เจริญเป็นคนธรรพ์หรือ ฯ
    พ. ดูกรพราหมณ์ เรามิใช่เป็นคนธรรพ์ ฯ
    โท. ท่านผู้เจริญเป็นยักษ์หรือ ฯ
    พ. ดูกรพราหมณ์ เรามิใช่เป็นยักษ์ ฯ
    โท. ท่านผู้เจริญเป็นมนุษย์ใช่ไหม ฯ
    พ. ดูกรพราหมณ์ เรามิใช่เป็นมนุษย์
    โท. เราถามท่านว่า เป็นเทวดาหรือ ท่านตอบว่าไม่ใช่ เราถามว่าเป็นคนธรรพ์หรือ
    ท่านตอบว่าไม่ใช่ เราถามว่าเป็นยักษ์หรือ ท่านตอบว่าไม่ใช่ เราถามว่าเป็นมนุษย์หรือ ท่านก็
    ตอบว่าไม่ใช่ ถ้าอย่างนั้นท่านผู้เจริญเป็นอะไรแน่ ฯ
    พ. ดูกรพราหมณ์ เราพึงเป็นเทวดา เพราะยังละอาสวะเหล่าใดไม่ได้ อาสวะเหล่านั้น
    เราละได้แล้ว ตัดรากขาดแล้ว กระทำให้เป็นดุจตาลยอดด้วนกระทำให้ไม่มี ไม่ให้เกิดขึ้นอีก
    ต่อไปเป็นธรรมดา ดูกรพราหมณ์ เราพึงเป็นคนธรรพ์ ... เราพึงเป็นยักษ์ ... เราพึงเป็นมนุษย์
    เพราะยังละอาสวะเหล่าใดไม่ได้อาสวะเหล่านั้น เราละได้แล้ว ตัดรากขาดแล้ว กระทำให้เป็นดุจตาล
    ยอดด้วนกระทำให้ไม่มี ไม่ให้เกิดขึ้นอีกต่อไปเป็นธรรมดา ดูกรพราหมณ์ เปรียบเหมือนดอก
    อุบล ดอกปทุม หรือดอกบัวขาว เกิดในน้ำ เจริญในน้ำ ตั้งอยู่พ้นน้ำ แต่น้ำมิได้แปดเปื้อน
    แม้ฉันใด ดูกรพราหมณ์ เราก็ฉันนั้นเหมือนกัน เกิดในโลกเติบโตขึ้นในโลก อยู่ครอบงำโลก
    อันโลกมิได้แปดเปื้อน ดูกรพราหมณ์ ท่านจงทรงจำเราไว้ว่าเป็นพระพุทธเจ้า
    ความบังเกิดเป็นเทวดา หรือคนธรรพ์ ผู้เที่ยวไปในเวหา
    พึงมีแก่เราด้วยอาสวะใด เราพึงถึงความเป็นยักษ์ และ
    เข้าถึงความเป็นมนุษย์ด้วยอาสวะใด อาสวะเหล่านั้นของ
    เรา สิ้นไปแล้ว เรากำจัดเสียแล้ว กระทำให้ปราศจาก
    เครื่องผูกพัน ดอกบัวตั้งอยู่พ้นน้ำ ย่อมไม่แปดเปื้อน
    ด้วยน้ำ ฉันใดเราก็ย่อมไม่แปดเปื้อนด้วยโลก ฉันนั้น
    ดูกรพราหมณ์ เพราะฉะนั้น เราจึงเป็นพระพุทธเจ้า ฯ
    จบสูตรที่ ๖
     
  19. อุรุเวลา

    อุรุเวลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 ธันวาคม 2011
    โพสต์:
    3,464
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +8,002
    พระพุทธเจ้าไม่ได้เป็นเทพ ไม่ได้เป็นพรมครับ
     
  20. อุรุเวลา

    อุรุเวลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 ธันวาคม 2011
    โพสต์:
    3,464
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +8,002
    พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๘ สังยุตตนิกาย นิทานวรรค หน้าที่ ๖๘/๒๘๘
    [๑๕๓] อริยสาวกย่อมประกอบด้วยธรรมเป็นองค์แห่งโสดาปัตติ ๔ อย่างเป็นไฉน ดูกร
    คฤหบดี อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ ย่อมประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระพุทธ
    เจ้าว่า แม้เพราะเหตุนี้ๆ พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้นเป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้เองโดยชอบ
    ถึงพร้อมแล้วด้วยวิชชาและจรณะ เสด็จไปดีแล้ว ทรงรู้แจ้งโลก เป็นสารถีฝึกบุรุษที่ควรฝึก
    ไม่มีผู้อื่นยิ่งกว่า เป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นผู้เบิกบานแล้ว เป็นผู้จำแนกพระ
    ธรรม ดังนี้ย่อมประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระธรรมว่า พระธรรมอันพระผู้มี
    พระภาคตรัสดีแล้ว อันผู้ได้บรรลุจะพึงเห็นเอง ไม่ประกอบด้วยกาล ควรเรียกให้มาดู ควรน้อม
    เข้ามา อันวิญญูพึงรู้เฉพาะตน ดังนี้ ย่อมประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระสงฆ์
    ว่า พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเป็นผู้ปฏิบัติดีแล้ว เป็นผู้ปฏิบัติตรง เป็นผู้ปฏิบัติเป็นธรรม
    เป็นผู้ปฏิบัติสมควร คือคู่แห่งบุรุษ ๔ บุรุษบุคคล ๘ นี่พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาค เป็น
    ผู้ควรของคำนับ เป็นผู้ควรของต้อนรับ เป็นผู้ควรของทำบุญ เป็นผู้ควรทำอัญชลี เป็นนาบุญ
    ของโลก ไม่มีนาบุญอื่นยิ่งกว่า ดังนี้ ย่อมประกอบด้วยศีลที่พระอริยเจ้าปรารถนา อันไม่ขาด
    ไม่ทะลุ ไม่ด่าง ไม่พร้อย เป็นไทย อันวิญญูชนสรรเสริญอันตัณหาและทิฐิไม่ครอบงำได้
    เป็นไปเพื่อสมาธิ อริยสาวกย่อมประกอบด้วยธรรมเป็นองค์แห่งโสดาปัตติ ๔ อย่างนี้ ฯ
    [๑๕๔] ก็ญายธรรมอันประเสริฐ อันอริยสาวกเห็นดีแล้ว แทงตลอดดีแล้วด้วยปัญญา
    เป็นไฉน ดูกรคฤหบดี อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ กระทำไว้ในใจโดยแยบคาย ถึงปฏิจจสมุป
    บาทเป็นอย่างดีว่า เมื่อสิ่งนี้มี สิ่งนี้จึงมี เพราะสิ่งนี้เกิดขึ้น สิ่งนี้จึงเกิดขึ้น เมื่อสิ่งนี้ไม่มี สิ่งนี้จึงไม่มี
    เพราะสิ่งนี้ดับ สิ่งนี้จึงดับ ด้วยประการดังนี้ คือ เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย จึงมี
    สังขาร เพราะสังขารเป็นปัจจัย จึงมีวิญญาณ เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย จึงมีนามรูป เพราะนามรูป
    เป็นปัจจัย จึงมีสฬายตนะ เพราะสฬายตนะเป็นปัจจัย จึงมีผัสสะเพราะผัสสะเป็นปัจจัย จึงมี
    เวทนา เพราะเวทนาเป็นปัจจัย จึงมีตัณหา เพราะตัณหาเป็นปัจจัย จึงมีอุปาทาน เพราะอุปาทาน
    เป็นปัจจัย จึงมีภพ เพราะภพเป็นปัจจัยจึงมีชาติ เพราะชาติเป็นปัจจัย จึงมีชราและมรณะ
    โสกปริเทวทุกขโทมนัสและอุปายาส ความเกิดแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการ
    อย่างนี้ ก็เพราะอวิชชาดับด้วยสำรอกโดยไม่เหลือ สังขารจึงดับ เพราะสังขารดับ วิญญาณจึงดับ
    เพราะวิญญาณดับ นามรูปจึงดับ เพราะนามรูปดับ สฬายตนะจึงดับ เพราะสฬายตนะดับ
    ผัสสะจึงดับ เพราะผัสสะดับ เวทนาจึงดับ เพราะเวทนาดับ ตัณหาจึงดับเพราะตัณหาดับ
    อุปาทานจึงดับ เพราะอุปาทานดับ ภพจึงดับ เพราะภพดับชาติจึงดับ เพราะชาติดับ ชราและ
    มรณะโสกปริเทวทุกขโทมนัสและอุปายาสจึงดับความดับแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วย
    ประการอย่างนี้ ญายธรรมอันประเสริฐนี้ อริยสาวกนั้นเห็นดีแล้ว แทงตลอดดีแล้ว ด้วยปัญญา ฯ
    [๑๕๕] ดูกรคฤหบดี เมื่อใดแล ภัยเวร ๕ ประการนี้ของอริยสาวกสงบแล้ว เมื่อ
    นั้น อริยสาวกย่อมประกอบด้วยธรรมเป็นองค์แห่งโสดาปัตติ ๔ อย่างและญายธรรมอย่าง
    ประเสริฐนี้ อันอริยสาวกนั้นเห็นดีแล้ว แทงตลอดดีแล้วด้วยปัญญา อริยสาวกนั้นหวังอยู่
    พึงพยากรณ์ตนด้วยตนเองได้ว่า เราเป็นผู้มีนรกสิ้นแล้ว มีกำเนิดสัตว์ดิรัจฉานสิ้นแล้ว มีปิตติ
    วิสัยสิ้นแล้ว มีอบาย ทุคติ วินิบาตสิ้นแล้ว เราเป็นโสดาบันมีอันไม่ตกต่ำเป็นธรรมดา เป็นผู้
    เที่ยงจะตรัสรู้ในภายหน้า ฯ

    ----
    ศีล สมาธิ ภาวนา ไม่ใช้หนทางเป็นพระโสดาบัน ไม่เช่นนั้นพวกพราหมณ์รักษาศีล ทำสมาธิได้ก็เป็นโสดาบันกันหมดแล้วครับ พระสูตรนี้พระพุทธเจ้าก็ตรัสบอกตั้งแต่ต้นแล้ว

    "อริยสาวกย่อมประกอบด้วยธรรมเป็นองค์แห่งโสดาปัตติ ๔ อย่าง"
     

แชร์หน้านี้

Loading...