พระคาถาที่ระงับ ***มหานรกใหญ่ทั้ง8*** ได้นาน90แสนกัลป์ (พระอาการวัตตาสูตร)

ในห้อง 'Black Hole' ตั้งกระทู้โดย shogun_law, 8 พฤศจิกายน 2006.

  1. shogun_law

    shogun_law เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 กันยายน 2006
    โพสต์:
    263
    ค่าพลัง:
    +2,085
    องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าจึงได้ตรัสถึงบทพระอาการวัตตาสูตรว่า อานิสงส์ดังนี้<O:p</O:p

    พระอาการะวัตตาสูตรนี้ ผู้ใดท่องได้ใช้สวดมนต์ปฏิบัติได้เสมอ มีอานิสงส์มากยิ่งนักหนา แม้ปรารถนา พระพุทธภูมิ พระปัจเจกภูมิ พระอัครสาวกภูมิ พระสาวิกาภูมิ จะปรารถนามนุษย์สมบัติ สวรรค์สมบัติ นิพพานสมบัติ ก็ส่งผลให้ได้สำเร็จสมความปรารถนาทั้งนั้น พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ที่ได้เป็นพระพุทธเจ้า มีปัญญามากเพราะเจริญพุทธมนต์บทนี้ ถ้าผู้ใดปฏิบัติได้ เจริญได้ทุกๆวัน จะเห็นผลความสุขเกิดขึ้นเอง ไม่ต้องมีผู้อื่นบอกอานิสงส์ แสดงว่าผู้ที่เจริญพระสูตรนี้ครั้งหนึ่ง จะคุ้มครองภัยอันตราย 30 ประการ ได้ 4 เดือน ( คือภัยอันเกิดแต่ งูพิษ สุนัขป่า สุนัขบ้าน โคบ้าน และโคป่ากระบือบ้าน และกระบือเถื่อนพยัคฆะ หมู เสือ สิงห์และ ภัยอันเกิดแต่คชสารอัสดรพาชี จตุรงคชาติของพระราชาผู้เป็นจอมของนรชนภัยอันเกิดแต่น้ำ และเพลิง เกิดแต่มนุษย์ และอมนุษย์ ภูตผีปิศาจ เกิดแต่อาชญาของแผ่นดิน เกิดแต่ยักษ์กุมภัณฑ์และคนธรรพ์อารักขเทวดา เกิดแต่มาร ๕ ประการที่ผลาญให้วิการต่าง ๆเกิดแต่วิชาธรผู้ทรงคุณวิทยากร และภัยที่จะเกิดแต่มเหศวรเทวราชผู้เป็นใหญ่ในเทวโลกรวมเป็นภัย ๓๐ ประการ)

    ผู้ใดเจริญพระสูตรนี้อยู่เป็นนิจ บาปกรรมทั้งปวงก็จะไม่ได้ช่องหยั่งลงสู่สันดานเว้นแต่กรรมเก่าตามมาทันเท่านั้น ผู้ใดอุตสาหะตั้งจิตตั้งใจเล่าเรียน ได้ใช้สวดมนต์ก็ดี บอกเล่าให้ผู้อื่นเลื่อมใสก็ดี เขียนเองก็ดี กระทำสักการะบูชา เคารพนับถือพร้อมทั้ง ไตรทวารก็ดี ผู้นั้นจะปรารถนาสิ่งใดก็จะสำเร็จทุกประการ ท่านผู้มีปรีชาศรัทธาความเลื่อมใส จะกระทำซึ่งอาการะวัตตาสูตร อันจะเป็นที่พักผ่อนพึ่งพาอาศัยในวัฎฎะกันดาร ดุจเกาะแลฝั่งเป็นที่อาศัยแห่งชนทั้งหลายผู้สัญจรไปมาในชลสาครสมุทรทะเลใหญ่ฉะนั้น อาการวัตตาสูตรนี้ พระพุทธเจ้า28 พระองค์ที่ปรินิพพานไปแล้วก็ดี พระตถาคตพุทธเจ้าของเราปัจจุบันนี้ก็ดี มิได้สละละวางทิ้งร้างให้ห่างเลยสักพระองค์เดียว ได้ทรงเจริญรอยตามพระสูตรนี้มาทุกๆพระองค์ จึงมีคุณานุภาพยิ่งใหญ่กว่าสูตรอื่น ไม่มีธรรมอื่นจะเปรียบให้เท่าถึง เป็นธรรมอันระงับได้โดยแท้

    ในอนาคตกาล ถ้าบุคคลใดทำปาณาติบาต คือ ปลงชีวิตสัตว์ให้ตกถ่วงไป เป็นวัชชกรรมที่ชักนำให้ไปปฏิสนธิในนรกใหญ่ทั้ง 8 ขุม คือ สัญชีพนรก กาฬสุตตนรก สังฆาฏนรก โรรุวนรก มหาโรรุวนรก ตาปนรก มหาตาปนรก อเวจีนรก เปรต อสุรกาย เดรัจฉานกำเนิดไซร้ ถ้าได้ท่องบ่นจำจนคล่องก็จะปิดบังห้ามกันไว้ไม่ให้ไปสู่ทุคติกำเนิดก่อนโดยกาลนาน 90 แสนกัลป์ ผู้นั้นระลึกตามเนื่องๆก็จะสำเร็จ ไตรวิชชา และ อภิญญา 6 ประการ ยังทิพจักษุญานให้บริสุทธิ์ ดุจองค์มเหสักกเทวราช

    มีอาการรีบร้อนออกจากบ้านไป จะไม่อดอาหารในระหว่างทางที่ผ่านไป จะเป็นที่พึ่งพาอาศัยแห่งชนทั้งหลายในเรื่องเสบียงอาหาร ภัยอันตราย ศัตรูหมู่ปัจจามิตร ไม่อาจจะมาครอบงำย่ำยีได้ นี่เป็นทิฏฐธรรมเวทนียานิสงส์ปัจจุบันทันตา

    ในสัมปรายิกานิสงส์ที่จะเกื้อหนุนในภพเบื้องหน้านั้น แสดงว่าผู้ใดได้พระสูตรนี้ เมื่อสืบขันธะประวัติในภพเบื้องหน้า จะบริบูรณ์ด้วยโภคสมบัติ หิรัญรัตนมณีเหลือล้น ขนขึ้นรักษาไว้ที่เรือน และที่คลังเป็นต้นประกอบด้วยเครื่องอลังการวิภูษิตพรรณต่างๆ จะมีกำลังมากแรงขยันต่ออยุทธนาข้าศึก ศัตรูหมู่ไพรีไม่ย่อท้อ ทั้งจะมีฉวีวรรณผ่องใสบริสุทธิ์ดุจทองธรรมชาติ มีจักษุประสาทรุ่งเรืองงามไม่วิปริตแลเห็นทั่วทิศซึ่งสรรพรูปทั้งปวง และจะได้เป็นพระอินทร์ปิ่นพิภพดาวดึงส์อยู่ 36 กัลป์ โดยประมาณ และจะได้เป็น บรมจักรพรรดิราชผู้เป็นอิสระในทวีปใหญ่ 4 ทวีปน้อย 2000 เป็นบริวาร นานถึง 36 กัลป์ จะถึงพร้อมด้วยประสาทอันแล้วไปด้วยทองควรจะปรีดา บริบูรณ์ด้วยแก้ว 7 ประการ ได้แก่ จักรแก้ว ช้างแก้ว ม้าแก้ว มณีแก้ว นางแก้ว ขุนคลังแก้ว ขุนพลแก้ว อันเป็นของเกิดสำหรับบุญแห่งจักรพรรดิราช จะตั้งอยู่ในสุขสมบัติโดยกำหนดกาลนาน

    ยังเวียนว่ายอยู่ในวัฏฏสงสาร อานิสงส์คงอภิบาล ตามประคองไป ให้มีปัญญาเฉียบแหลมว่องไวสุขุมละเอียดลึกซึ้ง อาจรู้ทั่วถึงอรรถธรรมด้วยกำลังปรีชาญาน อวสานที่สุดชาติก็จะได้บรรลุพระนิพาน อนึ่ง ถ้ายังไม่ถึง พระนิพานก็จะไม่ไปบังเกิดในอบายภูมิทั้ง 4 มี นรก เปรต อสุรกาย ดิรัจฉานกำเนิดและมหานรกใหญ่ทั้ง 8 ขุม ช้านานถึง 90 แสนกัลป์ และจะไม่ไปเกิดในตระกูลหญิงจัณฑาลเข็ญใจ จะไม่ไปเกิดในตระกูลมิจฉาทิฏฐิ จะไม่ไปเกิดเป็นหญิง จะไม่ไปเกิดเป็นอุภโตพยัญชนกอันมีเพศเป็น 2 ฝ่าย จะไม่ไปเกิดเป็นบัณเฑาะก์ เป็นกระเทย ที่เป็นอภัพพบุคคล บุคคลผู้นั้นเกิดในภพใดๆ จะมีอวัยวะน้อยใหญ่บริบูรณ์ จะมีรูปทรงสัณฐานงามดีดุจทองธรรมชาติ เป็นที่เลื่อมใสแก่มหาชน ผู้ใดทัศนาไม่เบื่อหน่าย จะเป็นผู้มีอายุคงทนจนถึงอายุขัยถึงตาย จะเป็นคนมีศีล ศรัทธาธิคุณบริบูรณ์ ในการบริจาคทานไม่เบื่อหน่าย จะเป็นคนไม่มีโรคาพยาธิเบียดเบียน สรรพอันตรายความจัญไรภัยพิบัติ สรรพอาพาธที่บังเกิดเบียดเบียนกาย ก็จะสงบระงับดับคลายลงด้วยคุณานิสงส์ ผลที่ได้สวดมนต์ ได้สดับฟังพระสูตรนี้ ด้วยประสาทจิตผ่องใส เวลามรณสมัยใกล้จะตายจะไม่หลงสติ จะดำรงไว้ในทางสุคติ เสวยสุขสมบัติตามใจประสงค์ นรชนผู้ใดเห็นตามโดยชอบ ซึ่งพระสูตรอันเจือปนด้วยพระวินัยปรมัตถ์ มีนามบัญญัติชื่อว่า อาการวัตตาสูตร มีข้อความดังได้แสดงมาด้วยประการฉะนี้ จบอานิสงส์สังเขป<O:p></O:p>

    <O:p
    <<ขึ้นต้นพระคาถาอาการวัตตาสูตร<O:p></O:p>
    เอวัมเม สุตัง เอกัง สะมะยัง ภะคะวา ราชะคะเห วิหะระติ คิชฌะกูเฎ ปัพพะเต เตนะ โข ปะนะ สะมะเยนะ สัพพะสัตตานัง พุทธะคุโณ ธัมมะคุโณ สังฆะคุโณ อายัสมา อานันโท อะนุรุทโธ สารีปุตโต โมคคัลลาโน มะหิทธิโก มะหานุภาเวนะ สัตตานัง เอตะทะโวจะฯ<O:p</O:p

    <<พระคาถาอาการวัตตาสูตร<O:p></O:p>
    อิติปิ โส ภะคะวา อะระหัง<O:p</O:p
    อิติปิ โส ภะคะวา สัมมาสัมพุทโธ <O:p</O:p
    อิติปิ โส ภะคะวา วิชชาจะระณะสัมปันโน <O:p</O:p
    อิติปิ โส ภะคะวา สุคะโต <O:p</O:p
    อิติปิ โส ภะคะวา โลกะวิทู <O:p</O:p
    อิติปิ โส ภะคะวา อะนุตตะโร ปุริสะทัมมะสาระถิ <O:p</O:p
    อิติปิ โส ภะคะวา สัตถาเทวะ มะนุสสานัง <O:p</O:p
    อิติปิ โส ภะคะวา พุธโธ <O:p</O:p
    อิติปิ โส ภะคะวา ภะคะวาติฯ (พุทธะคุณะวัคโค ปะฐะโม) วรรคที่ 1 <O:p</O:p
    <O:p</O:p
    อิติปิ โส ภะคะวา อภินิหาระ ปาระมิสัมปันโน<O:p</O:p
    อิติปิ โส ภะคะวา อุฬารัชฌาสะยะ ปาระมิสัมปันโน<O:p</O:p
    อิติปิ โส ภะคะวา ปะณิธานะ ปาระมิสัมปันโน<O:p</O:p
    อิติปิ โส ภะคะวา มะหากะรุณา ปาระมิสัมปันโน<O:p</O:p
    อิติปิ โส ภะคะวา ญานะ ปาระมิสัมปันโน<O:p</O:p
    อิติปิ โส ภะคะวา ปะโยคะ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา ยุติ ปาระมิสัมปันโน<O:p</O:p
    อิติปิ โส ภะคะวา ชุตติ ปาระมิสัมปันโน<O:p</O:p
    อิติปิ โส ภะคะวา คัพภะโอกกันติ ปาระมิสัมปันโน<O:p</O:p
    อิติปิ โส ภะคะวา คัพภะฐิติ ปาระมิสัมปันโน
    (อภินิหาระวัคโค ทุติโย) วรรคที่ 2
    <O:p</O:p
    อิติปิ โส ภะคะวา คัพภะวุฏฐานะ ปาระมิสัมปันโน<O:p</O:p
    อิติปิ โส ภะคะวา คัพภะมะละ วิระหิตะ ปาระมิสัมปันโน<O:p</O:p
    อิติปิ โส ภะคะวา อุตตะมะชาติ ปาระมิสัมปันโน<O:p</O:p
    อิติปิ โส ภะคะวา คะติ ปาระมิสัมปันโน<O:p</O:p
    อิติปิ โส ภะคะวา อภิรูปะ ปาระมิสัมปันโน<O:p</O:p
    อิติปิ โส ภะคะวา สุวัณณะ ปาระมิสัมปันโน <O:p</O:p
    อิติปิ โส ภะคะวา มะหาสิริ ปาระมิสัมปันโน<O:p</O:p
    อิติปิ โส ภะคะวา อาโรหะ ปาระมิสัมปันโน<O:p</O:p
    อิติปิ โส ภะคะวา ปะริณาหะ ปาระมิสัมปันโน<O:p</O:p
    อิติปิ โส ภะคะวา สุนิฏฐะ ปาระมิสัมปันโน<O:p</O:p
    (คัพภะ วุฏฐานะวัคโค ตะติโย) วรรคที่ 3<O:p</O:p
    <O:p</O:p
    อิติปิ โส ภะคะวา อะภิสัมโพธิ ปาระมิสัมปันโน<O:p</O:p
    อิติปิ โส ภะคะวา สีละขันธะ ปาระมิสัมปันโน<O:p</O:p
    อิติปิ โส ภะคะวา สะมาธิขันธะ ปาระมิสัมปันโน<O:p</O:p
    อิติปิ โส ภะคะวา ปัญญาขันธะ ปาระมิสัมปันโน<O:p</O:p
    อิติปิ โส ภะคะวา ทะวัตติงสะ มะหาปุริสะ ลักขะณะ ปาระมิสัมปันโน<O:p</O:p
    (อะภิสัมโพธิวัคโค จะตุตโถ) วรรคที่ 4
    <O:p</O:p
    <O:p</O:p
    อิติปิ โส ภะคะวา มะหาปัญญา ปาระมิสัมปันโน<O:p</O:p
    อิติปิ โส ภะคะวา ปุถุปัญญา ปาระมิสัมปันโน<O:p</O:p
    อิติปิ โส ภะคะวา หาสะปัญญา ปาระมิสัมปันโน<O:p</O:p
    อิติปิ โส ภะคะวา ชะวะนะปัญญา ปาระมิสัมปันโน<O:p</O:p
    อิติปิ โส ภะคะวา ติกขะปัญญา ปาระมิสัมปันโน<O:p</O:p
    อิติปิ โส ภะคะวา นิพเพธิกะปัญญา ปาระมิสัมปันโน<O:p</O:p
    อิติปิ โส ภะคะวา ปัญจะจักขุ ปาระมิสัมปันโน<O:p</O:p
    อิติปิ โส ภะคะวา อัฏฐาระสะพุทธะกะระ ปาระมิสัมปันโน<O:p</O:p
    (มะหาปัญญาวัคโค ปัญจะโม) วรรคที่ 5
    <O:p</O:p
    อิติปิ โส ภะคะวา ทานะ ปาระมิสัมปันโน<O:p</O:p
    อิติปิ โส ภะคะวา สีละ ปาระมิสัมปันโน<O:p</O:p
    อิติปิ โส ภะคะวา เนกขัมมะ ปาระมิสัมปันโน<O:p</O:p
    อิติปิ โส ภะคะวา ปัญญา ปาระมิสัมปันโน<O:p</O:p
    อิติปิ โส ภะคะวา วิริยะ ปาระมิสัมปันโน<O:p</O:p
    อิติปิ โส ภะคะวา ขันติ ปาระมิสัมปันโน<O:p</O:p
    อิติปิ โส ภะคะวา สัจจะ ปาระมิสัมปันโน<O:p</O:p
    อิติปิ โส ภะคะวา อะธิษฐานะ ปาระมิสัมปันโน<O:p</O:p
    อิติปิ โส ภะคะวา เมตตา ปาระมิสัมปันโน<O:p</O:p
    อิติปิ โส ภะคะวา อุเบกขา ปาระมิสัมปันโน (ปาระมิวัคโคฉัฏโฐ) วรรคที่ 6<O:p</O:p
    <O:p</O:p
    อิติปิ โส ภะคะวา ทะสะ ปาระมิสัมปันโน<O:p</O:p
    อิติปิ โส ภะคะวา ทะสะอุปะ ปาระมิสัมปันโน<O:p</O:p
    อิติปิ โส ภะคะวา ทะสะปะระมัตถะ ปาระมิสัมปันโน<O:p</O:p
    อิติปิ โส ภะคะวา สะมะติงสะ ปาระมิสัมปันโน<O:p</O:p
    อิติปิ โส ภะคะวา ตังตังฌานะฌานังคะ ปาระมิสัมปันโน<O:p</O:p
    อิติปิ โส ภะคะวา อะภิญญาณะ ปาระมิสัมปันโน<O:p</O:p
    อิติปิ โส ภะคะวา สะติ ปาระมิสัมปันโน<O:p</O:p
    อิติปิ โส ภะคะวา สะมาธิ ปาระมิสัมปันโน<O:p</O:p
    อิติปิ โส ภะคะวา วิมุตติ ปาระมิสัมปันโน<O:p</O:p
    อิติปิ โส ภะคะวา วิมุตติญานะ ปาระมิสัมปันโน<O:p</O:p
    (ทะสะปาระมิวัคโค สัตตะโม) วรรคที่ 7<O:p</O:p
    อิติปิ โส ภะคะวา วิชชาจะระณะ วิปัสสะนา วิชชา ปาระมิสัมปันโน<O:p</O:p
    อิติปิ โส ภะคะวา มะโน มะยัทธิวิชชา ปาระมิสัมปันโน<O:p</O:p
    อิติปิ โส ภะคะวา อิทธิวิชชา ปาระมิสัมปันโน<O:p</O:p
    อิติปิ โส ภะคะวา ทิพพะโสตะวิชชา ปาระมิสัมปันโน<O:p</O:p
    อิติปิ โส ภะคะวา ปะระจิตตะวิชชา ปาระมิสัมปันโน<O:p</O:p
    อิติปิ โส ภะคะวา ปุพเพนิวาสานุสสะติวิชชา ปาระมิสัมปันโน<O:p</O:p
    อิติปิ โส ภะคะวา ทิพพะจักขุวิชชา ปาระมิสัมปันโน<O:p</O:p
    อิติปิ โส ภะคะวา จะระณะวิชชา ปาระมิสัมปันโน<O:p</O:p
    อิติปิ โส ภะคะวา วิชชา จะระณะธัมมะ วิชชา ปาระมิสัมปันโน<O:p</O:p
    อิติปิ โส ภะคะวา อะนุปุพพะวิหาระ ปาระมิสัมปันโน<O:p</O:p
    (วิชชาวัคโค อัฏฐะโม) วรรคที่ 8<O:p</O:p
    <O:p</O:p
    อิติปิ โส ภะคะวา ปะริญญานะ ปาระมิสัมปันโน<O:p</O:p
    อิติปิ โส ภะคะวา ปะหานะ ปาระมิสัมปันโน<O:p</O:p
    อิติปิ โส ภะคะวา สัจฉิกิริยา ปาระมิสัมปันโน<O:p</O:p
    อิติปิ โส ภะคะวา ภาวะนา ปาระมิสัมปันโน<O:p</O:p
    อิติปิ โส ภะคะวา ปะริญญาปะหานะสัจฉิกิริยาภาวะนา ปาระมิสัมปันโน<O:p</O:p
    อิติปิ โส ภะคะวา จะตุธัมมะสัจจะ ปาระมิสัมปันโน<O:p</O:p
    อิติปิ โส ภะคะวา ปะฏิสัมภิทาญานะ ปาระมิสัมปันโน <O:p</O:p
    (ปะริญญาณะวัคโค นะวะโม) วรรคที่ 9<O:p</O:p
    <O:p</O:p
    อิติปิ โส ภะคะวา โพธิปักขิยะธัมมะ ปาระมิสัมปันโน<O:p</O:p
    อิติปิ โส ภะคะวา สะติปัฏฐานะปัญญา ปาระมิสัมปันโน<O:p</O:p
    อิติปิ โส ภะคะวา สัมมัปปะธานะปัญญา ปาระมิสัมปันโน<O:p</O:p
    อิติปิ โส ภะคะวา อิทธิปาทะปัญญา ปาระมิสัมปันโน<O:p</O:p
    อิติปิ โส ภะคะวา อินทรียะปัญญา ปาระมิสัมปันโน<O:p</O:p
    อิติปิ โส ภะคะวา พะละปัญญา ปาระมิสัมปันโน<O:p</O:p
    อิติปิ โส ภะคะวา โพชฌังคะปัญญา ปาระมิสัมปันโน<O:p</O:p
    อิติปิ โส ภะคะวา อัฏฐังคิกะมัคคะธัมมะ ปาระมิสัมปันโน<O:p</O:p
    อิติปิ โส ภะคะวา มะหาปุริสะสัจฉิกิริยา ปาระมิสัมปันโน<O:p</O:p
    อิติปิ โส ภะคะวา อะนาวะระณะวิโมกขะ ปาระมิสัมปันโน<O:p</O:p
    อิติปิ โส ภะคะวา อะระหัตตะผะละวิมุตติ ปาระมิสัมปันโน<O:p</O:p
    (โพธิปักขิยะวัคโค ทะสะโม) วรรคที่ 10<O:p</O:p
    <O:p</O:p
    อิติปิ โส ภะคะวา ทะสะพะละญานะ ปาระมิสัมปันโน<O:p</O:p
    อิติปิ โส ภะคะวา ฐานาฐานะญานะ ปาระมิสัมปันโน<O:p</O:p
    อิติปิ โส ภะคะวา วิปากะ ญานะ ปาระมิสัมปันโน<O:p</O:p
    อิติปิ โส ภะคะวา สัพพัตถะคามินีปะฏิปะทาญานะ ปาระมิสัมปันโน<O:p</O:p
    อิติปิ โส ภะคะวา นานาธาตุญานะ ปาระมิสัมปันโน<O:p</O:p
    อิติปิ โส ภะคะวา นานาธิมุตติกะญานะ ปาระมิสัมปันโน<O:p</O:p
    อิติปิ โส ภะคะวา อินทรียะ ปะโรปะริ ยัตติญานะ ปาระมิสัมปันโน<O:p</O:p
    อิติปิ โส ภะคะวา นิโรธวะวุฏฐานะญานะ ปาระมิสัมปันโน<O:p</O:p
    อิติปิ โส ภะคะวา ฌานาทิสังกิเลสาทิญานะ ปาระมิสัมปันโน<O:p</O:p
    อิติปิ โส ภะคะวา ปุพเพนิวาสานุสสะติญานะ ปาระมิสัมปันโน<O:p</O:p
    อิติปิ โส ภะคะวา จุตูปะปาตะญานะ ปาระมิสัมปันโน<O:p</O:p
    อิติปิ โส ภะคะวา อาสะวักขะยะญานะ ปาระมิสัมปันโน<O:p</O:p
    (ทะสะพะละญานะวัคโค เอกาทะสะโม) วรรคที่ 11<O:p</O:p
    <O:p
    อิติปิ โส ภะคะวา โกฏิสะหัสสานัง ปะโกฏิ สะหัสสานัง หัตถีนังพะละธะระ <O:p</O:p
    ปาระมิสัมปันโน <O:p</O:p
    อิติปิ โส ภะคะวา ปุริสะโกฏิ ทะสะสะหัสสานัง พะละธะระ ปาระมิสัมปันโน<O:p</O:p
    อิติปิ โส ภะคะวา ปัญจะจักขุ ญานะ ปาระมิสัมปันโน<O:p</O:p
    อิติปิ โส ภะคะวา ยะมะกะญานะ ปาระมิสัมปันโน<O:p</O:p
    อิติปิ โส ภะคะวา สีละคุณะ ปาระมิสัมปันโน<O:p</O:p
    อิติปิ โส ภะคะวา คุณะปาระมิสะมาปัตติ ปาระมิสัมปันโน<O:p</O:p
    (กายะพะละวัคโค ทะวาทะสะโฒ) วรรคที่ 12<O:p</O:p
    <O:p</O:p
    อิติปิ โส ภะคะวา ถามะพะละ ปาระมิสัมปันโน<O:p</O:p
    อิติปิ โส ภะคะวา ถามะพะละญานะ ปาระมิสัมปันโน<O:p</O:p
    อิติปิ โส ภะคะวา พะละ ปาระมิสัมปันโน<O:p</O:p
    อิติปิ โส ภะคะวา พะละญานะ ปาระมิสัมปันโน<O:p</O:p
    อิติปิ โส ภะคะวา ปุริสะ ปาระมิสัมปันโน<O:p</O:p
    อิติปิ โส ภะคะวา อะตุละยะ ปาระมิสัมปันโน<O:p</O:p
    อิติปิ โส ภะคะวา ญานะ ปาระมิสัมปันโน<O:p</O:p
    อิติปิ โส ภะคะวา อุสสาหะ ปาระมิสัมปันโน<O:p</O:p
    อิติปิ โส ภะคะวา คะเวสีญานะ ปาระมิสัมปันโน<O:p</O:p
    (ถามะพะละวัคโค เตระสะโม) วรรคที่ 13<O:p</O:p
    <O:p</O:p
    อิติปิ โส ภะคะวา จะริยา ปาระมิสัมปันโน<O:p</O:p
    อิติปิ โส ภะคะวา จะริยาญานะ ปาระมิสัมปันโน<O:p</O:p
    อิติปิ โส ภะคะวา โลกัตถะจะริยา ปาระมิสัมปันโน<O:p</O:p
    อิติปิ โส ภะคะวา โลกัตถะจะริยาญานะ ปาระมิสัมปันโน<O:p</O:p
    อิติปิ โส ภะคะวา ญาตัตถะจะริยา ปาระมิสัมปันโน<O:p</O:p
    อิติปิ โส ภะคะวา ญาตัตถะจะริยาญานะ ปาระมิสัมปันโน<O:p</O:p
    อิติปิ โส ภะคะวา พุทธะจะริยา ปาระมิสัมปันโน<O:p</O:p
    อิติปิ โส ภะคะวา พุทธะจะริยาญานะ ปาระมิสัมปันโน<O:p</O:p
    อิติปิ โส ภะคะวา ติวิธะจะริยา ปาระมิสัมปันโน<O:p</O:p
    อิติปิ โส ภะคะวา ปาระมิอุปะปาระมิปะระมัตถะ ปาระมิสัมปันโน<O:p</O:p
    (จริยาวัคโค จะตุททะสะโม) วรรคที่ 14<O:p</O:p
    <O:p</O:p
    อิติปิ โส ภะคะวา ปัญจุปาทานักขันเธสุ อะนิจจะ ลักขะณะ ปาระมิสัมปันโน<O:p</O:p
    อิติปิ โส ภะคะวา ปัญจุปาทานักขันเธสุ ทุกขะ ลักขะณะ ปาระมิสัมปันโน<O:p</O:p
    อิติปิ โส ภะคะวา ปัญจุปาทานักขันเธสุ อะนัตตะ ลักขะณะ ปาระมิสัมปันโน<O:p</O:p
    อิติปิ โส ภะคะวา อายะตะเนสุ ติลักขะณะญานะ ปาระมิสัมปันโน<O:p</O:p
    อิติปิ โส ภะคะวา อัฏฐาระสะธาตสุ ติลักขะณะญานะ ปาระมิสัมปันโน<O:p</O:p
    อิติปิ โส ภะคะวา วิปะริณามะลักขะณะ ปาระมิสัมปันโน<O:p</O:p
    (ลักขะณะวัคโค ปัณณะระสะโม) วรรคที่ 15<O:p</O:p
    <O:p</O:p
    อิติปิ โส ภะคะวา คะตัฏฐานะ ปาระมิสัมปันโน<O:p</O:p
    อิติปิ โส ภะคะวา คะตัฏฐานะญานะ ปาระมิสัมปันโน<O:p</O:p
    อิติปิ โส ภะคะวา วุสิตะ ปาระมิสัมปันโน<O:p</O:p
    อิติปิ โส ภะคะวา วุสิตะญานะ ปาระมิสัมปันโน<O:p</O:p
    อิติปิ โส ภะคะวา สิกขา ปาระมิสัมปันโน<O:p</O:p
    อิติปิ โส ภะคะวา สิกขาญานะ ปาระมิสัมปันโน<O:p</O:p
    อิติปิ โส ภะคะวา สังวะระ ปาระมิสัมปันโน<O:p</O:p
    อิติปิ โส ภะคะวา สังวะระญานะ ปาระมิสัมปันโน<O:p</O:p
    (คะตัฏฐานะวัคโค โสฬะสะโม) วรรคที่ 16
    <O:p</O:p</O:p
    อิติปิ โส ภะคะวา พุทธะปะเวณิ ปาระมิสัมปันโน<O:p</O:p
    อิติปิ โส ภะคะวา พุทธะปะเวณิญานะ ปาระมิสัมปันโน<O:p</O:p
    อิติปิ โส ภะคะวา ยะมะกะปาฏิหาริยะ ปาระมิสัมปันโน<O:p</O:p
    อิติปิ โส ภะคะวา ยะมะกะปาฏิหาริยะญานะ ปาระมิสัมปันโน<O:p</O:p
    อิติปิ โส ภะคะวา จะตุพรัมมะวิหาระ ปาระมิสัมปันโน<O:p</O:p
    อิติปิ โส ภะคะวา อะนาวะระณะญานะ ปาระมิสัมปันโน<O:p</O:p
    อิติปิ โส ภะคะวา อะปะริยันตะญานะ ปาระมิสัมปันโน<O:p</O:p
    อิติปิ โส ภะคะวา สัพพัญญุตะญานะ ปาระมิสัมปันโน<O:p</O:p
    อิติปิ โส ภะคะวา จะตุวีสะติโกฏิสะตะวะชิระญานะ ปาระมิสัมปันโน<O:p</O:p
    (ปะเวณิวัคโค สัตตะระสะโม) วรรคที่ 17
    <O:p</O:p
    <O:p
    (พระคาถาสุนทรีวาณี)(หัวใจพระอาการวัตตาสูตร)
    มุนินทะ วะทะนัมพุชะคัพภะ สัมภะวะสุนทะรี ปาณีนัง สะระณัง วาณี มัยหัง ปิณะยะตัง มะนัง
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 28 พฤษภาคม 2007
  2. shogun_law

    shogun_law เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 กันยายน 2006
    โพสต์:
    263
    ค่าพลัง:
    +2,085
    หัวใจ พระอาการวัตตาสูตร

    พระคาถาสุนทรีวาณี(หัวใจพระอาการวัตตาสูตร) <?xml:namespace prefix = o ns = "urn:schemas-microsoft-com:eek:ffice:eek:ffice" /><o:p></o:p>
    มุนินทะ วะทะนัมพุชะคัพภะ สัมภะวะสุนทะรี ปาณีนัง สะระณัง วาณี มัยหัง ปิณะยะตัง มะนัง
     
  3. shogun_law

    shogun_law เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 กันยายน 2006
    โพสต์:
    263
    ค่าพลัง:
    +2,085
    ช่วยกันสวดนะคับ
     
  4. shogun_law

    shogun_law เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 กันยายน 2006
    โพสต์:
    263
    ค่าพลัง:
    +2,085
    สวดมนต์กันบ่อยๆนะรับ เป็นการฝึกสมาธิไปในตัว
     
  5. csประกายพรึก

    csประกายพรึก เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 พฤศจิกายน 2006
    โพสต์:
    182
    ค่าพลัง:
    +436
    เห็นด้วยครับ ว่าการสวดมนต์ทำให้จิตเราเป็นสมาธิได้
     
  6. NoNi

    NoNi Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 ธันวาคม 2006
    โพสต์:
    12
    ค่าพลัง:
    +33
    สาธู
     
  7. อาจารย์สัน

    อาจารย์สัน Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 พฤษภาคม 2012
    โพสต์:
    16
    ค่าพลัง:
    +42
    ไม่เข้าใจว่า ลง หลุมดำได้อย่างไร

    การบูชามีผลนะ ถ้าบอกว่า บูชาไม่มีผล นั้นมิจฉาทิฐิแน่นอน
     
  8. อาจารย์สัน

    อาจารย์สัน Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 พฤษภาคม 2012
    โพสต์:
    16
    ค่าพลัง:
    +42
    แค่ผู้ดูแลเว็ป ไม่เข้าใจกุศโลบาย การเจริญ พุทธานุสติ
     

แชร์หน้านี้

Loading...