การปฏิบัติธรรม แบบง่าย

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย telwada, 8 มีนาคม 2012.

  1. telwada

    telwada เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กันยายน 2004
    โพสต์:
    1,509
    ค่าพลัง:
    +1,817
    การปฏิบัติธรรม แบบง่าย
    การปฏิบัติธรรม ไม่ว่าจะเป็นผู้ที่เริ่มปฏิบัติธรรมใหม่ๆ หรือจะเป็นผู้ที่ปฏิบัติธรรมมานาน ก็ตามที ล้วนต้องมีปัจจัยหรือเครื่องมืออันเป็น มรรค หรือ หนทางชนิดหนึ่ง ซึ่งจะนำทางให้แก่บุคคลเหล่านั้นไปถึงจุดหมาย นั่นก็คือ
    ๑.สมาธิ
    ๒.สติ
    ๓.สัทธา(ศรัทธา)
    ๔.วิริยะ
    ๕.ปัญญา
    ทั้ง ๕ ข้อ ก็คือ พละ ๕ นั่นเอง
    เมื่อบุคคลมีมรรค หรือมีปัจจัย ครบถ้วนแล้ว ก็จะบังเกิดผล คือข้อปฏิบัติที่ควรศึกษา หรือ ไตรสิกขา ศีล,สมาธิ,ปัญญา
    การปฏิบัติธรรมนั้น ในทางที่เป็นจริงแล้ว จะปฏิบัติตามข้อธรรมะใดใดหรือธรรมะในหมวดใดใดก็ได้ทั้งนั้น หรือจะถือตาม ไตรสิกขาก็ได้ เพราะในไตรสิกขาข้อ ศีล นั้น แท้จริงแล้ว เป็น ผลและเหตุที่ทำให้เกิดธรรมะหรือเกิดจากธรรมะ เนื่องจากเกี่ยวข้องกับวิถีการดำรงชีวิตของแต่ละบุคคล ศีล เป็นผลและเหตุ จากธรรมะหลายหมวดหลายข้อ เช่น "พรหมวิหาร๔","สัปปุริสธรรม",อิทธิบาท ๔" และอื่นๆอีกมากมาย
    ศาสนาต่างๆ ล้วนมีข้อปฏิบัติ และข้อห้าม เหมือนกันทุกศาสนา เพราะข้อปฏิบัติ และข้อห้ามทั้งหลายเหล่านั้น จะสร้างสภาพสภาวะจิตใจ ที่เรียกว่า อดทน,ซื่อตรง,กตัญญู,กตเวที,ความละอาย,เกรงกลัวต่อบาป, ฯลฯ
    และในศาสนาต่างๆ ก็จะมีหลักธรรม หรือ หลักความจริงที่มีอยู่ในจิตใจมนุษย์
    พุทธศาสนา มีหลักธรรมมากมาย มีวิธีการปฏิบัติ วิธีการฝึก วิธีการคิดพิจารณา อย่างครบถ้วน ละเอียด ตั้งแต่ภายในไปจนถึงภายนอก
    ดังนั้น การปฏิบัติธรรม ในทาง พุทธศาสนา จึงมักถูกบิดเบือน ไปตามความรู้ ความเข้าใจของบุคคลที่ได้เล่าเรียน ได้จดจำ ได้ศึกษา จากตำราต่างๆ
    การปฏิบัติธรรม ในแต่ละบุคคลตามการครองเรือน หรือตามบทบาทหน้าที่ของแต่กลุ่มบุคคล จึงแตกต่างกันไป เช่น
    ฆราวาส จะถือศีล ปฏิบัติตามข้อศีลก็ได้ หรือจะ ปฏิบัติตามหลักธรรมข้อใดข้อหนึ่ง หมวดใดหมวดหนึ่งก็ได้ ขึ้นอยู่กับความสะดวก ความง่าย เวลา และสมองสติปัญญา
    เมื่อท่านทั้งหลายได้อ่านได้ศึกษาสิ่งที่ข้าพเจ้าได้เขียนไปแล้วข้างต้น คงพอจะอนุมานได้ว่า การปฏิบัติธรรม นั้น ไม่จำเป็นต้องผูกติดกับหลักการมากนัก แต่ก็ต้องยึดถือหลักการเอาไว้บ้าง เพราะหลักการปฏิบัติธรรมนั้น มีเพียงรูปแบบเดียว หรือวิธีเดียวที่ถูกต้อง เช่น
    การฝึกกัมมัฏฐาน ซึ่งท่านทั้งหลายจะรู้กันในนามของการปฏิบัติสมาธินั่นแหละ
    กัมมัฎฐาน แบ่งออกเป็น ๒ ชนิด คือ สมถกัมมัฏฐาน ๑.(อุบายทำให้ใจสงบ) ,วิปัสสนากัมมัฏฐาน๑.(อุบายเรืองปัญญาหรือทำให้เกิดปัญญา)
    อุบายทำให้ใจสงบ(สมถะกัมมัฏฐาน) ได้แก่ "กสิณ ๑๐ ,อสุภะ๑๐,อนุสติ ๑๐ ,พรหมวิหาร๔, อรูป๔,อาหารเรปฏฺิกูลสัญญา๑,จตุธาตุววัตถาน ๑,อรูป๔ (จากพจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับพระธรรมปิฎกฯ)
    อุบายเรืองปัญญาหรือทำให้เกิดปัญญา ได้แก่ "กสิณ ๑๐ ,อสุภะ๑๐,อนุสติ ๑๐ ,พรหมวิหาร๔, อรูป๔,อาหารเรปฏฺิกูลสัญญา๑,จตุธาตุววัตถาน ๑,อรูป๔ (จากพจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับพระธรรมปิฎกฯ)

    กัมมัฏฐาน ทั้ง ๔๐ กอง สามารถใช้เป็นเครื่องมือทำ อุบายให้ใจสงบก็ได้,หรือจะเป็นเครื่องมือทำ อุบายเรืองปัญญาหรือทำให้เกิดปัญญาก็ได้เช่นกัน
    และยังมีหมวดธรรมะ เช่น โพธิปักขิยธรรม อันหมายถึง ธรรมอันเป็นฝักฝ่ายแห่งความตรัสรู้, ธรรมที่เกื้อหนุนแก่อริยมรรค มี ๓๗ ประการคือ สติปัฏฐาน ๔ สัมมัปปธาน ๔ อิทธิบาท ๔ อินทรีย์ ๕ พละ ๕ โพชฌงค์ ๗ มรรคมีองค์ ๘(พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับพระธรรมปิฎกฯ)
    เพื่อบุคคลที่ต้องการจะศึกษา หรือปฏิบัติธรรมให้สู่จุดสูงสุดในทางพุทธศาสนา คือ นิพพาน อย่างนี้เป็นต้น
    ที่ข้าพเจ้าได้กล่าวอธิบายไปทั้งหมดข้างต้น ดูเหมือนจะเป็นการยากที่จะเล่าเรียนหรือปฏิบัติได้หมด ท่านทั้งหลาย ก็ลองอ่านบทความเรื่อง "ไตรลักษณ์ ทางลัดของผู้ที่ไม่ต้องการคิดมาก" ก็จะปฏิบัติได้ง่ายขึ้น ขอรับ

    จ่าสิบตรี เทวฤทธิ์ ทูลพันธ์
    ๗ มีนาคม ๒๕๕๕
    ผู้เขียน
     
  2. telwada

    telwada เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กันยายน 2004
    โพสต์:
    1,509
    ค่าพลัง:
    +1,817
    "ไตรลักษณ์ ทางลัดของผู้ที่ไม่ต้องการคิดมาก"
    สวัสดี สหายทางธรรมทั้งหลาย บทความนี้ ข้าพเจ้าจะแนะนำให้ จะอธิบายให้ท่านทั้งหลายได้เกิดความรู้ความเข้าใจ สำหรับบุคคลทั่วไป ทั้งที่สมองสติปัญญาดี ขยันหมั่นเพียร หรือสำหรับผู้ที่มีสมองสติปัญญาปานกลาง ขยันหมั่นเพียรบ้างแต่ไม่มากนัก รวมไปถึง ผู้ที่มีสมองสติปัญญาทึบ ขยันหมั่นเพียรน้อยสุดสุด และยังมีบุคคลอีกสามประเภท คือ "บุคคลผู้มีสมองสติปัญญาดี แต่ไม่ค่อยขยันหมั่นเพียรเลย และ ผู้มีสมองสติปัญญาปานกลาง แต่ขยันหมั่นเพียรมาก ส่วนประเภทที่สาม คือ บุคคลที่มีสมองสติปัญญาทึบ แต่มีความขยันหมั่นเพียรและมีความพยายามมาก"
    อันหลักธรรมในทางพุทธศาสนานั้น มีมากมายหลายหมวด หลายข้อ จำกันแทบไม่หวาดไม่ไหว ถ้าอ่านได้ไปอ่านในพระไตรปิฎกด้วยแล้ว บางคนก็ออกอาการ งง ไม่เข้าใจ หรือบางคนก็เข้าใจตามที่พระไตรปิฎกเขียนไว้ หรือบางคนก็เกิดความเข้าใจที่บิดเบือนไปจากหลักความจริง ดังนั้น จึงได้เกิดมีธรรมโดยย่อ คือย่อเพื่อให้ผู้ที่นำไปคิดพิจารณาได้ง่ายขึ้น
    ธรรมเหล่านั้นก็คือ "ไตรลักษณ์"
    ไตรลักษณ์ คือ สามัญญลักษณะ หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า "ธรรมนิยาม"คือเป็นของแน่นอนเป็นกฎธรรมดา ไม่มีผู้ใดหลีกพ้น
    ไตรลักษณ์ เป็น วิธีการคิดพิจารณา สติปัฏฐาน ๔ อย่างย่อ เป็นการลดหรือละหรือเลิก การยึดมั่นถือมั่นหรืออุปาทานทั้งหลายทั้งปวง แห่ง กาย,เวทน,จิต,ธรรม, ซึ่งยังมีรายละเอียดแจกแจงใน อุปาทานทั้งหลายเหล่านั้นอีกตามสมควร(ในที่นี้จะไม่แจกแจง ให้ท่านทั้งหลายไปอ่านหรือศึกษาในพระไตรปิฏก จะได้ผลดีกว่า)
    ไตรลักษณ์ เป็นเหตุแห่งทุกข์ใช่หรือไม่ คำตอบก็คือ ไม่ใช่ แต่เป็นเพียงการกำหนด หรือ ย่อความ จากข้อความใหญ่หรือข้อความที่ยาว ให้เหลือสั้นลง และเกิดความรู้ความเข้าใจได้ง่ายขึ้น (ขยายความจากพจนานุกรมไทย ฉบับบัณฑิตยสถานฯ)
    ไตรลักษณ์ สามารถทำให้ผู้ที่อ่านและเกิดความรู้ความเข้าใจหลุดพ้นจากความทุกข์ได้ในระดับหนึ่ง ไปจนถึงระดับอริยะขั้นต้น
    ไตรลักษณ์ หมายถึง ลักษณะที่เสมอกันแก่สังขารทั้งปวง ได้แก่ ๑.อนิจจตา ความเป็นของไม่เที่ยง ๒.ทุกขตา ความเป็นทุกข์หรือความเป็นของคงทนอยู่มิได้ ๓.อนัตตตา ความเป็นของไม่ใช่ตัวตนแสดงความตามบาลีดังนี้ ๑.สพฺเพ สงฺขารา อนิจฺจา สังขารทั้งปวงไม่เที่ยง ๒.สพฺเพ สงฺขารา ทุกฺขา สังขารทั้งปวงเป็นทุกข์ ๓.สพฺเพ ธมฺมา อนตฺตา ธรรมทั้งปวงมิใช่ตัวตน; ลักษณะเหล่านี้มี ๓ อย่าง จึงเรียกว่า ไตรลักษณ์, ลักษณะเหล่านี้เป็นของแน่นอน เป็นกฎธรรมดา จึงเรียกว่า ธรรมนิยาม (จากพจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับพระธรรมปิฎก ป.อ.ประยุตฺโต)
    ยังมีอีกหลายๆท่าน ที่มีความเข้าใจไปในทางที่ผิดๆเกี่ยวกับ ไตรลักษณ์ ท่านทั้งหลายต้องทำความเข้าใจและต้องจดจำบันทึกเอาไว้ว่า การพิจารณาหรือท่องจำในไตรลักษณ์อยู่เป็นนิจนั้น จักทำให้เกิดความรู้ความเข้าใจใน พฤติกรรม การกระทำ ทั้งทาง กาย วาจา ใจ ของบุคคลรอบข้าง รวมไปถึง สภาพแวดล้อมต่างๆที่อยู่รอบตัว จักทำให้ไม่ยึดติด หรือไม่หลงติดจนเกินควร ไม่โลภ โกรธ หลง จนเกินที่เกินเหตุ เท่ากับว่า "ไตรลักษณ์"เป็นหลักธรรมย่อที่สามารถทำให้บุคคลนั้นเกิดธรรมะต่างๆในสภาพสภาวะจิตใจได้
    ๑.สัพเพสังขารา อนิจจา สังขารทั้งปวง ไม่เที่ยง คำว่า "สังขาร"ในไตรลักษณ์ หมายถึง "๑.สิ่งที่ถูกปัจจัยปรุงแต่ง, สิ่งที่เกิดจากเหตุปัจจัย เป็นรูปธรรมก็ตาม นามธรรมก็ตาม ได้แก่ขันธ์ ๕ ทั้งหมด, ตรงกับคำว่า สังขตะหรือสังขตธรรม ได้ในคำว่า สังขารทั้งหลายทั้งปวงไม่เที่ยง ดังนี้เป็นต้น ๒.สภาพที่ปรุงแต่งใจให้ดีหรือชั่ว, ธรรมมีเจตนาเป็นประธานที่ปรุงแต่งความคิด การพูด การกระทำ มีทั้งที่ดีเป็นกุศล ที่ชั่วเป็นอกุศล และที่กลาง ๆ เป็นอัพยากฤต ได้แก่เจตสิก ๕๐ อย่าง (คือ เจตสิกทั้งปวง เว้นเวทนาและสัญญา) เป็นนามธรรมอย่างเดียว, ตรงกับสังขารขันธ์ ในขันธ์ ๕ ได้ในคำว่า รูปไม่เที่ยง เวทนาไม่เที่ยง สัญญาไม่เที่ยง สังขารไม่เที่ยง วิญญาณไม่เที่ยง ดังนี้เป็นต้น; อธิบายอีกปริยายหนึ่ง สังขารตามความหมายนี้ยกเอาเจตนาขึ้นเป็นตัวนำหน้า ได้แก่ สัญเจตนา คือ เจตนาที่แต่งกรรมหรือปรุงแต่งการกระทำ มี ๓ อย่างคือ ๑.กายสังขาร สภาพที่ปรุงแต่งการกระทำทางกาย คือ กายสัญเจตนา ๒.วจีสังขาร สภาพที่ปรุงแต่งการกระทำทางวาจา คือ วจีสัญเจตนา ๓.จิตตสังขาร หรือ มโนสังขาร สภาพที่ปรุงแต่งการกระทำทางใจ คือ มโนสัญเจตนา ๓.สภาพที่ปรุงแต่งชีวิตมี ๓ คือ ๑.กายสังขาร สภาพที่ปรุงแต่งกาย ได้แก่ อัสสาสะ ปัสสาสะ คือลมหายใจเข้า ลมหายใจออก ๒.วจีสังขาร สภาพที่ปรุงแต่งวาจา ได้แก่ วิตกและวิจาร ๓.จิตตสังขาร สภาพที่ปรุงแต่งใจ ได้แก่ สัญญาและเวทนา" (จากพจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับพระธรรมปิฎก ป.อ.ปยุตโต)
    ดังนั้น คำว่า สังขารทั้งปวง ไม่เที่ยง คือ ไม่คงที่ มีหมุนวนสับเปลี่ยน มีเกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป อยู่เสมอ จะหมุนวนสับเปลี่ยน เกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป เร็ว หรือ ช้า ก็แล้วแต่ เหตุและปัจจัย ซึ่งตามที่ได้กล่าวไปข้างต้น ล้วนเป็นผลแห่งการพิจารณาชั้นสุดท้าย แห่ง สติปัฏฐาน ๔
    ๒.สัพเพ สังขารา ทุกฺขา สังขารทั้งปวงเป็นทุกข์ คำว่า "ทุกข์" ในไตรลักษณ์ หมายถึง เครื่องกำหนดว่าเป็นทุกข์, ลักษณะที่จัดว่าเป็นทุกข์, ลักษณะที่แสดงให้เห็นว่าเป็นทุกข์คือ ๑.ถูกการเกิดขึ้นและการดับสลายบีบคั้นอยู่ตลอดเวลา ๒.ทนได้ยากหรือคงอยู่ในสภาพเดิมไม่ได้ ๓.เป็นที่ตั้งแห่งความทุกข์ ๔.แย้งต่อสุขหรือเป็นสภาวะที่ปฏิเสธความสุข (จากพจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับพระธรรมปิฎก ป.อ.ประยุตฺโต) นั่นก็หมายถึง สังขารทั้งหลาย ไม่เที่ยง ไม่คงที่แล้ว ยังเป็นสิ่งที่ทำให้เกิดทุกข์ เกิดทุกข์ เพราะ เราคิด เกิดขึ้นเพราะสังขารทั้งหลาย ดังนี้
    ๓.สพฺเพ ธมฺมา อนตฺตา ธรรมทั้งปวงมิใช่ตัวตน คำว่า "ธรรม" ในไตรลักษณ์ หมายถึง สภาพที่ทรงไว้, ธรรมดา, ธรรมชาติ, สภาวธรรม, สัจจธรรม, ความจริง; เหตุ, ต้นเหตุ; สิ่ง, ปรากฏการณ์, ธรรมารมณ์, สิ่งที่ใจคิด; คุณธรรม, ความดี, ความถูกต้อง, ความประพฤติชอบ; หลักการ, แบบแผน, ธรรมเนียม, หน้าที่; ความชอบ, ความยุติธรรม; พระธรรม, คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ซึ่งแสดงธรรมให้เปิดเผยปรากฏขึ้น
    คำว่า "อนัตตา" ลักษณะที่เป็นอนัตตา, ลักษณะที่ให้เห็นว่าเป็นของมิใช่ตัวตน ได้แก่ ๑) เป็นของสูญ คือ เป็นเพียงการประชุมเข้าขององค์ประกอบที่เป็นส่วนย่อยๆ ทั้งหลาย ว่างเปล่าจากความเป็นสัตว์ บุคคล ตัวตน เรา เขา หรือการสมมติเป็นต่างๆ ๒) เป็นสภาพหาเจ้าของมิได้ ไม่เป็นของใครจริง ๓) ไม่อยู่ในอำนาจ ไม่เป็นไปตามความปรารถนา ไม่ขึ้นต่อการบังคับบัญชาของใครๆ ๔) เป็นสภาวธรรมอันเป็นไปตามเหตุปัจจัย ขึ้นต่อเหตุปัจจัย ไม่มีอยู่โดยลำพังตัว แต่เป็นไปโดยสัมพันธ์ อิงอาศัยกันอยู่กับสิ่งอื่นๆ ๕) โดยสภาวะของมันเอง ก็แย้งหรือค้านต่อความเป็นอัตตา มีแต่ภาวะที่ตรงข้ามกับความเป็นอัตตา (จากพจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับพระธรรมปิฎก ป.อ.ประยุตฺโต)
    ดังนั้น "ธรรมทั้งหลายทั้งปวง มิใช่ตัวตน" หมายถึง ธรรมทั้งหลายทั้งปวง เป็นเพียงการปรุงแต่งทางความคิด เป็นเพียงความจำ เป็นเพียงความว่างเปล่าคืออากาศธาตุ ไม่มีตัวตน
    เมื่อท่านทั้งหลายได้พิจารณาในหลักไตรลักษณ์ ก็ย่อมทำให้เกิดความรู้ความเข้าใจตามหลัก "สติปัฏฐาน๔" ไม่ยึดมั่นถือมั่นใน อุปาทาน ทั้งหลายตามหลักพุทธศาสนา โดยอัตโนมัติ และยังสามารถทำให้ท่านทั้งหลายดำรงชีวิตอยู่ในสังคมใดใดได้อย่างปกติสุข ตามอัตภาพ หรือสามารถมุ่งสู่จุดสูงสุดในทางพุทธศาสนา คือ นิพพาน ได้ในไม่ช้า
    ท่านทั้งหลายอาจสงสัยว่า ทำไมข้าพเจ้าจึงกล่าวว่า หากท่านทั้งหลายได้คิดได้พิจารณาในหลักไตรลักษณ์แล้ว จะสามารถท่านทั้งหลายดำรงชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างปกติสุข
    ที่เป็นเช่นนั้นก็เพราะ หลักสำคัญของ ไตรลักษณ์ เพียงเพื่อให้ผู้เรียนรู้ ได้เรียนรู้ และทำความเข้าใจเกี่ยวกับ ความเป็นกฎธรรมดา ความเป็นของแน่นอน หรือ ความเป็นธรรมชาติ ของ สังขารทั้งหลายทั้งปวง ทุกข์ทั้งหลายทั้งปวง ธรรมทั้งหลายทั้งปวง อันเป็นผลโดยย่อ หรือเป็นข้อพิจารณาโดยย่อ แห่ง สติปัฏฐาน ๔ ฉะนี้

    จ่าสิบตรี เทวฤทธิ์ ทูลพันธ์
    ๒ มีนาคม ๒๕๕๕
    ผู้เขียน
     
  3. Kama-Manas

    Kama-Manas เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 พฤษภาคม 2010
    โพสต์:
    5,351
    ค่าพลัง:
    +6,491
    ธรรมทั้งหลายไม่ใช่ตัวตน..ไม่ยึดมั่น ถือมั่น โมทนา.สาธุ
     

แชร์หน้านี้

Loading...