** ทางสายกลาง **

ในห้อง 'พุทธศาสนา และ ธรรมะ' ตั้งกระทู้โดย ท่ามกลาง, 22 กุมภาพันธ์ 2012.

  1. ท่ามกลาง

    ท่ามกลาง Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 มิถุนายน 2011
    โพสต์:
    115
    ค่าพลัง:
    +27
    ทางสายกลาง

    พุทธวัจน: มัชฌิมาปฏิปทา

    ทางสายกลาง คือ ข้อปฏิบัติที่ไม่ดิ่งไปหาสุดโต่งสองอย่าง ได้แก่ การประกอบตนพัวพันอยู่ด้วยความใคร่ในกามทั้งหลาย (กามสุขัลลิกานุโยค) และการประกอบความเพียรในการทรมานตนให้ลำบาก (อัตตกิลมถานุโยค) หรืออาจกล่าวว่า ทางสายกลาง ก็คือ ทางแห่งความไม่ยึดติดนั่นเอง

    นิพพาน หรือความปล่อยวางความยึดติดกับสรรพสิ่งทั้งปวง ไม่ใช่เรื่องยากเลย เพราะถ้ายาก แปลว่าไม่ปล่อยวาง เนื่องจากการปล่อยวางก็คือ การไม่ต้องไปยุ่งกับมัน ไม่ต้องไปสนใจ ไม่ต้องไปให้ค่าให้ความหมาย ไม่ต้องไปยินดียินร้ายกับมัน

    แต่ผู้ปฏิบัติจำนวนมากกลับปฏิบัติเพื่อคอยระวังรักษาจิต อยากให้จิตสงบ จิตว่าง เมื่อจิตไม่สงบจิตไม่ว่าง ก็ไม่พอใจ คอยกระทำจิตให้กลับมาสงบมาว่างตามความต้องการแห่งตน ไม่ตรงต่อการปล่อยการวาง ที่ว่าจิตจะสงบไม่สงบก็ช่าง จิตจะดีไม่ดีก็ช่าง ไม่ต้องไปคอยแทรกแซง มันก็ผ่านของมันไปเองอยู่แล้ว เพราะทุกอย่างล้วนอนิจจัง ควรแจ้งว่า “สิ่งใดมีเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นย่อมดับไปเป็นธรรมดา” ไม่ต้องไปทำตนให้ลำบากเปล่าๆ จึงค่อยตรงกับทางสายกลาง ที่องค์พุทธะได้ตรัสสอนไว้

    ธรรมะที่เกี่ยวข้อง: นิพพานไม่เนื่องด้วยความพยายาม

    เจริญพร
    พระต่อศักดิ์ วชิรญาโณ
    วัดร่มโพธิธรรม ต.หนองหิน อ.หนองหิน จ.เลย 42190
    www.rombodhidharma.com
     
  2. tuta868248

    tuta868248 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 มิถุนายน 2006
    โพสต์:
    563
    ค่าพลัง:
    +1,116
    ทางสายกลางคือ การดำเนินชีวิตตามอริมรรค 8 คะ บุญรักษานะคะ
     
  3. ท่ามกลาง

    ท่ามกลาง Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 มิถุนายน 2011
    โพสต์:
    115
    ค่าพลัง:
    +27
    ** ว่าด้วยเรื่องอริยมรรค **

    พุทธวัจน: สัมมาทิฏฐิเป็นผู้นำในการละมิจฉัตตะ

    ชาวพุทธจำนวนมากเคยได้ยินเรื่องอริยมรรคมาแล้ว และทราบว่ามีสัมมาสมาธิอยู่ในองค์มรรคด้วย จึงพากันไปนั่งสมาธิเพื่อให้จิตสงบโดยเข้าใจว่ากำลังปฏิบัติตามอริยมรรคอยู่ ความจริงแล้วองค์พุทธะท่านชี้ว่าในอริยมรรคมีองค์แปดนั้น มีสัมมาทิฏฐิเป็นองค์ประธาน ซึ่งเมื่อมีสัมมาทิฏฐิแล้ว มรรคในข้ออื่นย่อมมีเพียงพอไปเอง หรือที่เรียกว่า มรรคสมังคี

    สัมมาทิฏฐิ คือ แจ้งว่าทุกสรรพสิ่งล้วนไม่เที่ยง(อนิจจัง) ไม่ควรยึดมั่นถือมั่น (ว่าเป็นเรา เป็นของเรา)
    สัมมาทิฏฐิ คือ รู้ตามความเป็นจริงว่า”นี้ทุกข์ นี้ทุกขสมุทัย นี้ทุกขนิโรธ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา” หรือแจ้งว่าขันธ์ห้าที่ประกอบด้วยอุปาทาน (ความยึดติดในกายและจิต) เป็นทุกข์ ส่วนเหตุแห่งทุกข์(สมุทัย) คือ ความอยาก(ตัณหา)

    พระพุทธเจ้าได้ทรงชี้ว่ามรรคแปด อาจย่อเหลือองค์ ๓ คือ ศีล สมาธิ ปัญญา
    ศีล คือ การไม่ทำตามความอยาก(ตัณหา) เป็นศีลอริยะ เป็นไทจากตัณหา
    สมาธิ คือ การที่เมื่อจิตไม่ดิ้นรนตามตัณหา จิตจึงไม่แส่ส่าย สงบระงับเป็นสมาธิ
    ปัญญา คือ รู้ตามความเป็นจริงว่าถ้ายึดติดกับสิ่งใด เมื่อสิ่งนั้นเปลี่ยนแปลงไป ไม่ได้ดังอยาก(ตัณหา) ไม่ได้ดังยึด(อุปาทาน) ก็จะเป็นทุกข์เพราะสิ่งนั้น
    ซึงเมื่อมีศีล(ไม่ทำตามตัณหา)แล้ว ก็ย่อมสงบเป็นสมาธิ และมีปัญญาเห็นชอบไปเอง ซึ่งก็เป็นมรรคสมังคีเช่นกัน

    ซึ่งมรรคแปดก็อาจย่อเหลือเพียง สมถะ และวิปัสสนา
    สมถะ คือ ความสงบ (จิตเป็นสมาธิเพราะไม่ดิ้นรนตามตัณหา)
    วิปัสสนา คือ รู้แจ้งตามความเป็นจริง (ว่าทุกอย่างไม่เที่ยง ไม่ควรยึดติด)
    ซึ่งทั้งสองก็เป็นมรรคสมังคีเช่นกัน เหมือนที่ครูบาอาจารย์บอกว่าเปรียบเหมือนวัวเทียมเกวียน จะต้องไปคู่กัน

    ฉะนั้นจะเห็นว่าสัมมาสมาธิในมรรคแปด หรือสมาธิ(ในศีล สมาธิ ปัญญา) หรือแม้แต่สมถะ ก็คือตัวเดียวกัน เป็นสมาธิที่เกิดขึ้นเองเพียงไม่เจริญตัณหา ไม่ทำตามความอยาก(ที่จะปกป้องกายและจิต)นั่นเอง

    แต่ผู้ปฏิบัติจำนวนมากกลับคอยประคองระวังรักษาจิต เมื่อจิตสงบจิตดีก็พอใจ จิตไม่สงบจิตไม่ดีก็ไม่พอใจ จากนั้นก็ไปคอยกระทำจิตให้กลับมาสงบมาดีตามความเข้าใจผิดๆ ของตน โดยไม่แจ้งว่านั่นเป็นการกระทำตามตัณหา (ซึ่งเป็นเหตุแห่งทุกข์) อยากให้จิตเป็นไปตามความต้องการแห่งตน เป็นไปด้วยโมหะความหลงสำคัญว่าจิตเป็นของเรา ตอกย้ำอัตตาตัวตนให้เพิ่มขึ้น อย่างนี้ไม่ได้ทำตามอริยมรรคมีองค์แปดอย่างแน่นอน ก็คงได้แต่หลงฟูหลงแฟบตามจิตไป ปฏิบัติแบบนี้เมื่อไรจะพ้นทุกข์ได้เล่า

    ธรรมะที่เกี่ยวข้อง: เมื่อประพฤติถูกทาง กิริยาที่ไปนิพพาน เบาสบายเหมือนไม้ลอยตามน้ำ
    ธรรมะที่เกี่ยวข้อง: สังโยชน์สิบ (อธิบายว่ากิเลสจะถูกกำจัดไปได้อย่างไร)

    เจริญพร
    พระต่อศักดิ์ วชิรญาโณ
    วัดร่มโพธิธรรม ต.หนองหิน อ.หนองหิน จ.เลย 42190
    www.rombodhidharma.com
     

แชร์หน้านี้

Loading...