เงินเฟ้อที่เพิ่มความรุนแรงขึ้นแล้ว??? รู้ทันโลก (โปรดใช้วิจารณญาณในการอ่าน)

ในห้อง 'วิทยาศาสตร์ทางจิต - ลึกลับ' ตั้งกระทู้โดย k.kwan, 11 พฤศจิกายน 2010.

  1. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    วันที่ 25 มกราคม 2555 09:0
    วิวาทะ'ธีระชัย-กิตติรัตน์'ซุกหนี้-ไม่ซุกหนี้


    โดย : กรุงเทพธุรกิจออนไลน์
    [​IMG]

    กิตติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง



    วิวาทะ"ธีระชัย-กิตติรัตน์"พ.ร.ก.เงินกู้ 4 ฉบับ จำเป็นหรือไม่จำเป็น-ซุกหนี้หรือไม่ซุกหนี้ ดูกันชัดๆ ซัดกันเต็มๆ


    หลังจาก ธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง โพสต์ข้อความผ่านเฟสบุ๊ค เมื่อ 23 มกราคม ที่ผ่านมา ระบุว่า พระราชกำหนด 4 ฉบับที่ กิตติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เสนอให้ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีพิจารณา เมื่อวันที่ 4 ม.ค.และวันที่ 10 ม.ค. ที่ผ่านมา
    โดยแจ้งว่าขณะนี้อัตราส่วนหนี้ต่องบประมาณในปี 2555 อยู่ที่ะ 12% ใกล้เต็มเพดานที่กำหนดไว้ต้องไม่เกิน 15%ของงบประมาณ จึงมีความจำเป็นเร่งด่วนที่จะต้องแก้ไขปัญหาหนี้ของกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน เพื่อไม่ให้ภาระดอกเบี้ยของหนี้กองทุนฟื้นฟู เป็นภาระแก่งบประมาณต่อไป มิฉะนั้นจะไม่มีช่องว่างพอเพียง ที่รัฐบาลจะกู้ยืมเพิ่มเติมเพื่อใช้บริหารจัดการน้ำ
    ธีระชัย ระบุว่า ข้อมูลที่ กิตติรัตน์ นำมาชี้แจงต่อครม.นั้นเป็นข้อมูลจากสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ที่คำนวณโดยใช้ตัวเลขจากประมาณการเศรษฐกิจ แต่ก่อนที่เขาจะพ้นตำแหน่งเพียงหนึ่งวัน เจ้าหน้าที่ของกระทรวงการคลังได้นำข้อมูลจากสำนักบริหารหนี้สาธารณะมาแจ้งให้ทราบว่า ในปีงบประมาณ 2555 นั้น อัตราส่วนหนี้ต่องบอยู่ที่ 9.33% ไม่ใช่ 12% ตามที่ กิตติรัตน์ แจ้งต่อครม.
    ธีระชัย บอกว่า เมื่อรู้ข้อมูลแล้ว เขาตกใจมากเพราะทำให้เหตุผลความจำเป็นเร่งด่วนในการที่จะต้องออกกฎหมายในรูปแบบพระราชกำหนดเปลี่ยนไปอย่างสิ้นเชิง แต่เนื่องจากการทำงานสศช.ขึ้นกับรองนายก ไม่ได้ขึ้นกับกระทรวงการคลัง จึงยังไม่สามารถสาเหตุได้ว่าทำไมตัวเลขของสองหน่วยงานจึงได้แตกต่างกันมากเช่นนี้ แต่เขาก็พ้นจากตำแหน่งไปเสียก่อน
    ล่าสุด กิตติ ออกมาชี้แจงว่า สาเหตุที่ภาระหนี้ต่องบประมาณในปี 2555 ลดลงจาก 11.5% อยู่ที่ระดับ 9.33% เพราะรัฐบาลออกพระราชกำหนดปรับปรุงการบริหารหนี้เงินกู้ที่กระทรวงการคลังกู้เพื่อช่วยเหลือกองทุนฟื้นฟูฯเพื่อโอนภาระการชำหนี้กองทุนฟื้นฟูทั้งเงินต้นและดอกเบี้ยไปให้ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) บริหาร แต่หากไม่โอนกระทรวงการคลังก็จะมีภาระดอกเบี้ยกว่า 6 หมื่นล้านบาทอยู่ ทำให้สัดส่วน
    กิติรัตน์ยังบอกด้วยว่าว่า การที่ ธีระชัย โพสต์ข้อความเช่นนั้นเพราะไม่เข้าใจ ซึ่งเขาเองก็ไม่เข้าใจว่าทำไมนายธีระชัยจึงไม่เข้าใจในส่วนนี้ ทั้งที่เป็นเรื่องของข้อเท็จจริง แต่ยอมรับว่าอาจเป็นเพราะไม่ได้สื่อสารกัน แต่เขาเองก็คาดหวังว่ารัฐมนตรีที่มีหน้าที่เฉพาะเจาะจง น่าจะทำความเข้าใจส่วนที่ตัวเองรับผิดชอบ เพื่อที่จะสามารถอธิบายให้ตนในฐานะรองนายกรัฐมนตรีเข้าใจได้ด้วย แต่ในความเป็นจริงแล้ว เขาก็ไม่ได้ต้องการให้ใครจะมาอธิบาย เพราะพยายามทำการบ้านด้วยตัวเอง ไม่คิดว่าตัวเองจะต้องกลายเป็นฝ่ายที่ต้องอธิบายให้คนอื่นเข้าใจอีก
    ส่วนกรณี ธีระชัย โพสต์ข้อความผ่านเฟสบุ๊คว่ารัฐบาลออกพระราชกำหนด 4 ฉบับ อ้างเหตุผลจำเป็นเร่งด่วนโดยระบุว่าหนี้สาธารณะต่องบประมาณอยู่ที่ 12% ในขณะที่ตัวเลขจริงในปีงบประมาณ 2555 อยู่ที่ 9.33% อาจทำให้พรก.4ฉบับขัดรัฐธรรมนูญนั้น สาเหตุที่ตัวเลขหนี้สูงกว่าความเป็นจริง เนื่องจากการจัดทำงบประมาณใช้สมมติฐานบนกรอบภาระหนี้สูง ซึ่งรัฐบาลมียอดหนี้สาธารณะคงค้างที่เป็นเงินต้นและดอกเบี้ยที่ 4.2 ล้านล้านบาท
    พร้อมกับยืนยันว่า การโอนหนี้ดังกล่าวไม่ใช่การซุกหนี้ เพราะรู้ว่าหนี้จำนวนนี้อยู่ตรงไหน ซึ่งรัฐบาลก็พยายามชี้แจงว่าหนี้ก้อนนี้อยู่ตรงไหนและมีการจัดการอย่างไร
    กิตติรัตน์ ยังบอกถึงการจัดทำงบประมาณประจำปี 2556 ที่นายกรัฐมนตรีกำหนดให้ทำให้เสร็จภายในเดือนมกราคมนี้ว่า เบื้องต้นจะมีการหารือกับ อาคม เติมพิทยาไพสิฐ เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ในระหว่างการประชุม World Economic Forum ที่เมืองดาวอส ประเทศสวิสเซอร์แลนด์ ซึ่งนายอาคมมีกำหนดที่จะร่วมเดินทางไปด้วย
    โดยงบประมาณปี 2556 นั้น ยังคงต้องตั้งงบขาดดุลไว้ในระดับใกล้เคียงหรือต่ำกว่า 3.5 แสนล้านบาท แต่ต้องไม่รวมกับภาระหนี้เงินคงคลัง เพื่อให้เป็นงบประมาณสมดุล ในปี 2559 ตามกรอบเดิมที่กระทรวงการคลังและสำนักงบประมาณได้วางไว้
    ขณะที่รายงานข่าวจากทำเนียบรัฐบาล เปิดเผยว่า หลังจาก กิตติรัตน์ทราบว่า ธีระชัย โพสต์ข้อความในเฟสบุ๊ค กิตติรัตน์ได้สั่งให้สศช. ชี้แจงข้อเท็จจริงทันที ซึ่งสศช.ยืนยันว่าตัวเลขหนี้ต่องบประมาณที่สศช.นำมาใช้เป็นข้อมูลนั้น เป็นข้อมูลที่สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ (สบน.) แจ้งต่อที่ประชุมครม.เมื่อวันที่ 15 พ.ย. 2554 ในช่วงที่กระทรวงการคลังได้เสนอแผนการบริหารหนี้สาธารณะประจำปีงบประมาณ 2551 ครั้งที่ 1 ให้ครม.เห็นชอบ
    โดยวาระที่เสนอให้ครม.พิจารณาครั้งนั้น ธีระชัย ก็เป็นผู้ลงนามในเอกสารด้วยตัวเอง และระบุไว้ชัดเจนว่ากระทรวงการคลัง คาดการณ์สัดส่วนหนี้สาธารณะต่อจีดีพีในปี 2555 จะอยู่ที่ 11.5% ปี 2556 ที่ระดับ 12.4% ปี 2557 ที่ระดับ 12.9% ปี 2558 ที่ระดับ 13.2% และปี 2559 ที่ระดับ 13.4% โดยในปี 2555 งบชำระเงินต้นคิดเป็น 3.0% ของงบประมาณรายจ่าย และปี 2556-2559 งบชำระเงินต้นคิดเป็น 3.5% ของงบประมาณรายจ่าย
    ส่วนตัวเลขหนี้ต่องบประมาณที่ลดลงนั้น เพราะคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ 2555 สภาผู้แทนราษฎรได้ปรับลดงบประมาณชำระต้นเงินกู้และดอกเบี้ยลง เพราะเห็นว่าอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ลดลง ทำให้สัดส่วนหนี้สาธารณะต่อจีดีพีลดลงจาก 11.5%เหลือ 9.33% แต่การประชุมครม.เพื่อพิจารณาเรื่องพระราชกำหนดกู้เงินนั้นมีขึ้นในวันที่ 4 ม.ค. 2555 ก่อนที่สภาจะให้ความเห็นชอบพ.ร.บ.งบฯปี 2555 ในวันที่ 7 ม.ค. 2555 นตัวเลขที่สศช.ใช้ชี้แจงต่อครม.จึงยังไม่ได้ปรับเปลี่ยน
    แหล่งข่าว บอกด้วยว่า ไม่เข้าใจว่าเหตุใดนายธีระชัยจึงโพสต์ข้อความเรื่องนี้ เพราะ ธีระชัย เองก็เป็นรองประธานคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพ.ร.บ.งบฯปี 2555 จึงน่าจะทราบข้อมูลดีว่าสัดส่วนหนี้สาธารณะต่องบประมาณที่ลดลงเพราะเหตุใด และที่สำคัญในระหว่างที่ครม.พิจารณาพรก.เงินกู้ นายธีระชัยก็ไม่เคยแจ้งให้ครม.รับทราบเรื่องนี้ แต่หลังถูกปรับออกจากตำแหน่งแล้วกลับมาโพสต์ข้อความบนเฟสบุ๊ค
    http://www.bangkokbiznews.com/home/...วาทะธีระชัย-กิตติรัตน์ซุกหนี้-ไม่ซุกหนี้.html
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 25 มกราคม 2012
  2. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    วันที่ 25 มกราคม 2555 09:5
    ผลสำรวจชี้ซีอีโอโลกมองศก.โลกปีนี้ถดถอย


    โดย : กรุงเทพธุรกิจออนไลน์
    [​IMG]
    ผลสำรวจไพรซ์วอเตอร์เฮาส์คูเปอร์ระบุซีอีโอโลกเกือบ50%มองเศรษฐกิจโลกถดถอยในช่วง12เดือนนับจากนี้

    ไพรซ์วอเตอร์เฮาส์คูเปอร์ เผยผลสำรวจทั่วโลกประจำปีครั้งที่ 15 พบว่า เกือบ50% ของซีอีโอทั่วโลกจำนวน 1,258 คนเชื่อว่าเศรษฐกิจโลกจะถดถอยต่อไปในช่วง 12 เดือนข้างหน้า และมีเพียง 15% เท่านั้นที่มองว่า เศรษฐกิจจะปรับตัวดีขึ้นในช่วงปี 2555 นี้
    นอกจากนี้ ความเชื่อมั่นในระยะสั้นของบรรดาซีอีโอชั้นนำโลก ในเอเชียแปซิฟิก ยังร่วงลงเหลือ 42% จาก 54% เมื่อปีที่แล้ว โดยความเชื่อมั่นในจีนลดลงต่ำสุดเมื่อเทียบกับชาติอื่นๆในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก
    ผลสำรวจชิ้นนี้ ซึ่งถูกนำออกเผยแพร่ในการประชุมประจำปีของเวิลด์ อิโคโนมิค ฟอรัม(ดับเบิลยูอีเอฟ)ที่เมืองดาวอส ประเทศสวิสเซอร์แลนด์ ระบุว่า 80%ของซีอีโอวิตกเกี่ยวกับความไม่แน่นอนในการเติบโตของเศรษฐกิจโลก ขณะที่ 64% วิตกเรื่องความไม่มีเสถียรภาพในตลาดทุน และซีอีโอในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกมีความกังวลเกี่ยวกับความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยนมากที่สุดเป็นอันดับ 2
    ผลสำรวจของไพรซ์วอเตอร์เฮาส์คูเปอร์ ซึ่งทำการสำรวจซีอีโอจาก 60 ประเทศในช่วงไตรมาสสุดท้ายของปี 2554 ยังระบุว่า กว่า 50%ของซีอีโอ ที่ตอบแบบสอบถาม มีแผนเพิ่มจำนวนพนักงานในอีก 12 เดือนข้างหน้า โดยเฉพาะในแวดวงธุรกิจสื่อและอุตสาหกรรมบันเทิง
    นอกจากนี้ 70%ของซีอีโอมีแผนปรับกลยุทธธุรกิจในอีก 12 เดือนข้างหน้าเช่นกัน เพราะมีแรงกดดันพื้นฐานจากความต้องการของลูกค้า ตลอดจน ภาวะแวดล้อมทางเศรษฐกิจ และการลดต้นทุนในการดำเนินธุรกิจยังคงเป็นหัวใจสำคัญของการดำเนินธุรกิจในระยะต่อไ

    http://www.bangkokbiznews.com/home/...4/ผลสำรวจชี้ซีอีโอโลกมองศก.โลกปีนี้ถดถอย.html
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 25 มกราคม 2012
  3. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    วันที่ 25 มกราคม 2555 01:0
    บริหารหนี้หรือซุกหนี้? เล่นตัวเลขหรือบริหารสาระ?
    โดย : กรุงเทพธุรกิจออนไลน์

    กาแฟดำ
    รัฐมนตรีคลังคนใหม่คุณกิตติรัตน์ ณ ระนอง บอกเมื่อวันจันทร์ (23 ม.ค.) ว่า เรื่องจะให้ “กองทุนวายุภักษ์” เข้าไปซื้อหุ้น ปตท. และการบินไทย

    เพื่อให้หลุดจากการเป็นรัฐวิสาหกิจนั้น “ไม่ใช่เรื่องเร่งด่วน ถ้ายังไม่พร้อมก็ไปทำในปี 2556 ได้”

    เป็นท่าทีที่ถูกต้องเพราะประเด็นนี้ถกเถียงกันกว้างขวางในสังคมไทยว่าเป็นการ “ซุกหนี้”หรือ “บริหารหนี้อย่างมืออาชีพ”

    โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่ออดีตรัฐมนตรีคลัง ธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล ออกมาเปิดเผยข้อมูลหลายประการที่ทำให้เกิดข้อสงสัยซึ่งรัฐบาลจะต้องตอบให้เกิดความกระจ่างชัด

    การถกแถลงเรื่อง “ซุกหนี้” หรือ “บริหารหนี้” ระหว่างรัฐมนตรีคลังคนก่อนและคนปัจจุบัน กับผู้ว่าการธนาคารกลางกับที่ปรึกษาใหญ่ทางเศรษฐกิจของรัฐบาลเป็นเรื่องน่าตื่นตาตื่นใจ และสมควรจะมีการเล่าขานให้ประชาชนทั่วไปได้รับทราบกันอย่างทั่วถึง

    “นักเลือกตั้ง” ที่ไม่ศึกษาเนื้อหาแห่งการบริหารการเงินการทองของประเทศไม่อาจจะเข้าใจได้ว่า ที่เขากำลังแลกเปลี่ยนความเห็นอย่างเผ็ดร้อนนั้นมีความสำคัญต่อบ้านเมืองเพียงใด

    นี่สะท้อนว่าคุณภาพนักการเมืองกับนักเศรษฐศาสตร์ที่เข้ามาทำหน้าที่เป็น “เทคโนแครต”ไม่ว่าจะเป็นคุณกิตติรัตน์ ณ ระนอง, คุณธีระชัย, คุณประสาร ไตรรัตน์วรกุล และคุณวีรพงษ์ รามางกูร เป็นคนละเรื่องกันโดยสิ้นเชิง

    ผมเคารพในความเห็นต่างระหว่างสองฝ่าย และเชื่อว่าหากเอาเหตุและผลมาวางกันบนโต๊ะ และหาสูตรที่เหมาะสมที่สุดสำหรับประเทศชาติ, ก็น่าจะเป็นการบริหารจัดการปัญหาบ้านเมืองอย่าง “มืออาชีพ”

    ดร.วีรพงษ์ กับคุณกิตติรัตน์ เสนอให้ “กองทุนวายุภักษ์” ระดมทุนจากตลาดหุ้นเพื่อไปซื้อหุ้นของ ปตท. ในส่วนที่กระทรวงการคลังถืออยู่ไม่เกิน 2% เพื่อให้คลังถือหุ้นไม่เกิน 49% ส่งผลให้ ปตท. หลุดออกจากการเป็นรัฐวิสาหกิจ ซึ่งจะทำให้หนี้ของ ปตท. ที่มีอยู่ 7 แสนล้านหลุดจากการเป็น “หนี้สาธารณะ”

    ขณะเดียวกันก็ให้ใช้วิธีการเดียวกันนี้กับการบินไทย เพราะกระทรวงการคลัง ถืออยู่เกิน 49% ...และการบินไทยมีหนี้อยู่ประมาณ 2 แสนล้านบาท

    คุณวีรพงษ์ บอกว่า แนวทางที่ว่านี้จะลดภาระหนี้สาธารณะของประเทศจากปัจจุบันประมาณ 41% ของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP) ซึ่งหนี้สาธารณะส่วนใหญ่เป็นหนี้จากรัฐวิสาหกิจ

    อ.โกร่ง บอกว่ารัฐบาลนั้นก่อหนี้เพียง 1% ของ GDP เท่านั้น

    ดังนั้น ในความเห็นของ อ.โกร่ง และคุณกิตติรัตน์ หากสามารถให้กระทรวงการคลังถือหุ้นใน ปตท. และ การบินไทย น้อย 50% ก็จะเปิดทางให้รัฐบาลสามารถกู้เงินเพื่อพัฒนาประเทศได้มากขึ้น

    คุณกิตติรัตน์ บอกว่า เรื่องการให้กองทุนวายุภักษ์ซื้อหุ้น ปตท. ตามที่ อ.โกร่ง เสนอนั้นกำลังดูรายละเอียด เพราะกองทุนฯ นี้ทำงานใกล้ชิดกับรัฐบาลอยู่แล้ว ขอให้ทุกฝ่ายสบายใจได้ว่ารัฐบาลจะบริหารหนี้สาธารณะของรัฐบาลไม่ให้เกินเพดาน 60% ของ GDP

    ขณะนี้หนี้สาธารณะของรัฐบาลอยู่ที่ 40% ของ GDP และอาจจะลดต่ำกว่านี้ด้วยซ้ำ, คุณกิตติรัตน์ ซึ่งดูเหมือนจะเป็นคนคุมนโยบายเศรษฐกิจของรัฐบาลยิ่งลักษณ์ ทั้ง 1 และ 2 ขณะนี้บอกกับนักข่าวอย่างมั่นใจ

    การคิดเล่นกับตัวเลขอย่างนี้ในฐานะผู้บริหารทางเศรษฐกิจไม่ใช่เรื่องผิดกติกา ถ้าคุณเป็น CEO และต้องการแสดง bottom line หรือบรรทัดสุดท้ายของบัญชีให้ดูดี ก็จะคิดว่าจะเอาตัวเลขชุดไหนไปวางไว้ตรงไหนเพื่อให้ภาพรวมออกมาดูดีได้

    แต่มองจากอีกมุมหนึ่งของ CFO (chief financial officer) หรือผู้บริหารด้านการเงินที่ได้รับการฝึกปรือมาว่าจะต้องมี “วินัย”และจะต้องไม่ถูกมองว่าเป็นการ “เล่นแร่แปรธาตุ” ก็จะต้องระวังตัวมากกว่านี้

    นั่นคือความเห็นที่มาจากคุณธีระชัย และคุณประสาร ซึ่งมองว่าการทำอะไรอย่างนี้อาจจะถูกคนที่เขาเกาะติดสถานภาพการเงินการทองของไทยว่ารัฐบาลกำลังพยายามจะ “ซุกหนี้” และนั่นจะทำให้เกิดความคลางแคลงสงสัยในการประเมินสถานะการเงินของไทยจากข้างนอก

    คุณธีระชัย ยืนยันว่าไม่ต้อง “โยกตัวเลข” หนี้ของ ปตท. กับ การบินไทย รัฐบาลไทยก็สามารถจะกู้ได้อีก 2 ล้านล้านบาท เพราะยังมีช่องว่างระหว่าง 40% และที่เพดาน 60% ของ GDP ของประเทศอยู่เพียงพอ

    เพราะต้องไม่ลืมว่า “กองทุนวายุภักษ์” นั้น กระทรวงการคลังเป็นเจ้าภาพใหญ่อยู่ หากกองทุนฯ นี้เป็นคนจัดแจงให้ลดการถือหุ้นของกระทรวงการคลังใน ปตท. และการบินไทยโดยมีเป้าหมายเพื่อลดตัวเลขหนี้สาธารณะของรัฐบาลไทย, ก็จะถูกมองว่ากำลังทำอะไรน่าสงสัยคลางแคลงหรือเปล่า

    คุณธีระชัย บอกว่า “เหมือนการโอนจากตั้วเฮียไปให้เสี่ยวเจ๊” หรือโอนกันภายในครอบครัว คือโอนจากบัญชีของพี่ชายคนโตไปให้น้องสาวคนเล็กเท่านั้นเอง

    คุณประสาร บอกว่า เป็นห่วงว่าผู้คนที่เขาติดตามเรื่องนี้จะมองว่าไทยจะทำอะไรเหมือนกรีซนั่นคือมีการ “ซุกหนี้สาธารณะ” ด้วยวิธีการเล่นตัวเลข

    จริงไม่จริงอีกเรื่องหนึ่ง แต่หากใครมองว่าไทยเอาอย่างกรีซก็ซวยแน่นอน...เพราะกติกาวันนี้คือ “ความเชื่อมั่น” ของคนอื่นต่อเรา, ไม่ใช่ความเชื่อมั่นของเราในตัวเราเองอย่างเดียว

    แล้วในฐานะประชาชนผู้เสียภาษีอย่างเราๆ ท่านๆ ล่ะ, ควรจะมองประเด็นนี้อย่างไร?

    โดยเฉพาะเมื่อคุณธีระชัยออกมาเปิดใจในเฟซบุ๊คว่าตัวเลขสัดส่วนภาระหนี้ (งบที่ใช้ชำระหนี้เงินกู้และดอกเบี้ยหนี้สาธารณะในแต่ละปี) ไม่ตรงกัน...คุณกิตติรัตน์อ้างตัวเลขสภาพัฒน์ว่าอยู่ที่ 12% แต่ต่อมาอีกไม่นาน เขาก็ได้รับข้อมูลจากสำนักบริหารหนี้สาธารณะของกระทรวงการคลังว่าตัวเลขนี้อยู่ที่ 9.33% เท่านั้น มิใช่ 12% อย่างที่คุณกิตติรัตน์นำมาอ้างเพื่อให้เห็นว่าใกล้เพดาน 15% เต็มทน ต้องออก พ.ร.ก.เพื่อแก้ปัญหานี้?

    ตกลงตัวเลขของใครถูกของใครผิด? และถ้าตัวเลขผิด ทำให้คิดว่าเรื่องปกติกลายเป็นเรื่องเร่งด่วน จำเป็นต้องออกเป็น พ.ร.ก.หรือไม่?

    ทุกฝ่ายต้องวางข้อมูลและเหตุผลบนโต๊ะเพื่อประชาชนจะได้ตัดสินครับว่าจะเชื่อใครหรือไม่อย่างไร

    พรุ่งนี้ว่าต่อครับ
    http://www.bangkokbiznews.com/home/...ี้หรือซุกหนี้--เล่นตัวเลขหรือบริหารสาระ-.html
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 25 มกราคม 2012
  4. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    วันที่ 25 มกราคม 2555 06:4
    "ลัทธิแผ่นดินใหญ่นิยม"ตัวป่วนสังคมฮ่องกง


    โดย : กรุงเทพธุรกิจออนไลน์
    [​IMG]
    การประท้วงดีแอนด์จีแบรนด์เสื้อผ้าหรูจากอิตาลีสะท้อนปัญหาธุรกิจเลือกรับเงินเศรษฐีจีนมากกว่ากำลังก่อปัญหาแก่สังคมฮ่องกง

    เมื่อปีที่แล้ว โลกได้เห็นการลุกฮือของชาวอาหรับในแอฟริกาเหนือและตะวันออกกลาง การประท้วงต่อต้านมาตรการรัดเข็มขัดในยุโรป และการยึดครองวอลล์สตรีทเพื่อต่อต้านลัทธิทุนนิยมในสหรัฐ
    มาถึงปีนี้ ฮ่องกงเป็นผู้ประเดิมการประท้วงในหัวข้อใหม่ นั่นคือ การประท้วง โดลเช่ แอนด์ กาบบาน่า (ดีแอนด์จี) แบรนด์เสื้อผ้าเครื่องประดับสุดหรูจากอิตาลี ในข้อหาเลือกปฏิบัติ
    ชาวฮ่องกงกว่าพันคนรวมตัวประท้วง ดีแอนด์จี เมื่อต้นเดือน หลังจากพนักงานประจำร้านและเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยห้ามคนท้องถิ่นถ่ายรูปหน้าร้าน ขณะที่ปล่อยให้นักช้อปจากจีนแผ่นดินใหญ่ถ่ายรูปได้ตามปกติ
    ผู้ประท้วงส่วนหนึ่งรุมถ่ายรูปหน้าร้าน ขณะที่อีกส่วนหนึ่งชูป้ายประนามการกระทำของ ดีแอนด์จี โดยผู้ประท้วงรายหนึ่งกล่าวว่า การห้ามชาวฮ่องกงถ่ายรูปในที่สาธารณะเป็นเรื่องน่าละอาย
    การประท้วงขยายวงสู่เครือข่ายสังคมออนไลน์ มีผู้ร่วมประท้วงกว่า 13,000 รายบนเฟซบุ๊ค เรียกร้องให้ ดีแอนด์จี ออกมาขอโทษ ซึ่งบริษัทก็ประกาศขออภัยในเวลาต่อมา พร้อมระบุว่า บริษัทมีนโยบายต้อนรับชาวฮ่องกงทุกคน รวมทั้งเคารพสิทธิของบุคคลและกฎหมายท้องถิ่น
    ดูเผินๆ การประท้วงครั้งนี้อาจเป็นเรื่องเล็กๆ น้อยๆ ที่อาจถูกลืมไปได้โดยง่าย เพราะยังมีเรื่องใหญ่กว่านี้ให้ต้องกังวล แต่ระดับความโกรธแค้นของชาวฮ่องกงเป็นเรื่องน่าประหลาดใจสำหรับใครหลายคน
    ต้นตอความโกรธแค้นไม่ใช่เพราะชาวฮ่องกงริษยาเศรษฐีใหม่จากแผ่นดินใหญ่ที่มีกำลังจับจ่าย เนื่องจากความมั่งคั่งไม่ใช่เรื่องแปลกใหม่สำหรับคนบนเกาะเล็กๆ แห่งนี้
    พฤติกรรมของ ดีแอนด์จี ต่างหาก ที่กระทบใจคนท้องถิ่น เพราะนี่คืออีกตัวอย่างหนึ่งของความลำเอียงเข้าข้างชาวจีนแผ่นดินใหญ่ ซึ่งก่อให้เกิดคำศัพท์ใหม่ว่า "ลัทธิแผ่นดินใหญ่นิยม"
    การมีเพื่อนบ้านขนาดมหึมาอย่างจีน ทำให้เข้าใจได้ไม่ยากว่าชาวฮ่องกงมีความอ่อนไหวแค่ไหน ต่อความรู้สึกถูกรุกล้ำ ถูกเบียดออกไปนอกสนาม หรือไม่มีความสำคัญใดๆ
    ไม่เพียงแต่แบรนด์สินค้าหรูหราเท่านั้น ที่แสดงท่าทีก้มหัวเอาอกเอาใจนักช้อปจากแผ่นดินใหญ่ ดูเหมือนว่ารัฐบาลท้องถิ่นฮ่องกงก็ยึดเรื่องนี้เป็นนโยบายในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา
    ย้อนกลับไปเมื่อปี 2546 เมื่อฮ่องกงประสบปัญหานักท่องเที่ยวหดหาย สืบเนื่องจากการระบาดของโรคทางเดินหายใจเฉียบพลันรุนแรง (ซาร์ส) รัฐบาลท้องถิ่นต้องหันไปขอความช่วยเหลือจากรัฐบาลปักกิ่ง
    การออกวีซ่าแก่นักเดินทางทั่วไป จากเดิมที่ออกให้เฉพาะผู้เดินทางเป็นหมู่คณะ ทำให้นักท่องเที่ยวจากแผ่นดินใหญ่หลั่งไหลเข้าฮ่องกงหลายล้านคน ช่วยเติมเต็มห้องพักในโรงแรม และกระตุ้นการจับจ่ายตามห้างร้านต่างๆ
    มาถึงขณะนี้ ฮ่องกงกลายเป็นแหล่งตอบสนองความต้องการของชาวจีนแผ่นดินใหญ่ ทั้งอพาร์ตเมนต์ ร้านค้าปลอดภาษี และล่าสุด โรงพยาบาลสำหรับหญิงมีครรภ์ที่ต้องการคลอดบุตรบนเกาะเศรษฐกิจแห่งนี้ ซึ่งฮ่องกงตระหนักแล้วว่า เมื่อได้อย่างก็ต้องเสียอย่าง
    นักช้อปจากแผ่นดินใหญ่ไม่ได้เพียงแค่เลือกซื้อนาฬิกา เครื่องประดับอัญมณี และแฟชั่นหรูหราเท่านั้น แต่ยังรวมถึงนมผง และที่อยู่อาศัยด้วย
    นักพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ในฮ่องกงหันมาพัฒนาโครงการใหม่ๆ สำหรับชาวจีนแผ่นดินใหญ่ผู้มั่งคั่ง หลังจากมีการเปลี่ยนแปลงกฎหมายเมื่อเร็วๆ นี้ ให้ผู้ที่ซื้ออพาร์ตเมนต์ขนาดกลางขึ้นไปสามารถอาศัยอยู่ในฮ่องกงได้
    อย่างไรก็ตาม ความเฟื่องฟูด้านการจับจ่าย ผลักดันอัตราเงินเฟ้อในฮ่องกงสูงขึ้น และก่อให้เกิดภาวะฟองสบู่อสังหาริมทรัพย์ จนทำให้ค่าครองชีพและค่าเช่าที่อยู่อาศัยพุ่งขึ้นอย่างรวดเร็ว
    ในช่วงไตรมาสสามปีที่แล้ว ชาวจีนแผ่นดินใหญ่เป็นผู้ซื้ออสังหาริมทรัพย์ใหม่ในฮ่องกงกว่า 50% เมื่อพิจารณาจากมูลค่า
    ปัจจัยที่ช่วยส่งเสริมความคลั่งไคล้ในการจับจ่ายของชาวแผ่นดินใหญ่ และผลักดันอัตราเงินเฟ้อในฮ่องกงสูงขึ้น ได้แก่ เงินดอลลาร์ฮ่องกงที่ผูกติดอยู่กับดอลลาร์สหรัฐ สินค้าฮ่องกงมีราคาถูกลงมากในสายตาชาวจีนแผ่นดินใหญ่ เมื่อเงินหยวนต่อดอลลาร์แข็งค่าขึ้นประมาณ 22% ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา
    เนื่องจากรัฐบาลปักกิ่ง ยังไม่พร้อมให้เงินหยวนเป็นสกุลเงินที่สามารถแปลงค่าได้โดยเสรี ดังนั้น ฮ่องกง จึงต้องจำยอมรับสภาพอึดอัดต่อไป
    ขณะเดียวกัน โครงการสาธารณูปโภคใหม่ๆ ในฮ่องกง ก็ดูเหมือนเป็นการสร้างขึ้นเพื่อรองรับนักท่องเที่ยวมากกว่าตอบสนองความต้องการของคนท้องถิ่น
    นักท่องเที่ยวจากแผ่นดินใหญ่เดินทางเยือนฮ่องกงประมาณ 22.7 ล้านคนเมื่อปี 2553 คิดเป็น 60% ของนักท่องเที่ยวทั้งหมด และมากเป็นสามเท่าของประชากรฮ่องกง
    โครงการก่อสร้างสาธารณูปโภคขนาดยักษ์ในฮ่องกง รวมถึง สะพานข้ามไปเกาะมาเก๊า ความยาว 50 กิโลเมตร ทางรถไฟความเร็วสูง และการสร้างรันเวย์เพิ่มเติมที่สนามบินฮ่องกง
    มูลค่าของโครงการต่างๆ ดังกล่าว ก่อให้เกิดข้อสงสัยในหมู่ผู้เสียภาษี โดยเฉพาะเมื่อพูดถึงเรื่องมลพิษ สะพานมาเก๊า ซึ่งรองรับทั้งรถยนต์และรถไฟ ดูเหมือนจะมีปัญหามากที่สุดในเรื่องของการก่อมลพิษแก่สิ่งแวดล้อม ขณะที่มลพิษบนท้องถนนในฮ่องกงมีระดับสูงอยู่แล้ว
    ขณะเดียวกัน แม้ว่า โดนัลด์ จาง หัวหน้าคณะผู้บริหารเกาะฮ่องกง ประกาศใช้แพลตฟอร์ม "บลูสกายส์" เพื่อลดการปล่อยมลพิษทางอากาศ ตั้งแต่ปี 2550 แต่คุณภาพอากาศในฮ่องกงกลับเลวร้ายลง
    ล่าสุด รัฐบาลฮ่องกงประกาศมาตรฐานคุณภาพอากาศใหม่ แต่มีแนวโน้มว่าจะยังไม่เริ่มใช้จนกว่าจะถึงปี 2557
    มีผู้ตั้งข้อสงสัยว่า สาเหตุที่มาตรฐานการปล่อยมลพิษต้องล่าช้าออกไป เป็นเพราะโครงการก่อสร้างสาธารณูปโภคที่ได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาลแผ่นดินใหญ่ อาจทำให้คุณภาพอากาศเสื่อมโทรมลง และอาจถูกสกัดโดยศาลฮ่องกง
    แม้ว่าชาวฮ่องกงสามารถร้องเรียนปัญหาได้ แต่ก็ไม่สามารถเคลื่อนไหวได้มากนัก หลังจากฮ่องกงกลับไปอยู่ภายใต้การปกครองของจีนเมื่อ 15 ปีก่อน การขยายสิทธิออกเสียงของชาวฮ่องกงมีความคืบหน้าน้อยมาก
    จนถึงบัดนี้ ความโกรธแค้นของชาวฮ่องกงส่วนมากพุ่งเป้าไปที่ "การครอบงำอสังหาริมทรัพย์" ภายใต้นโยบายของรัฐบาล และการควบคุมราคาอสังหาริมทรัพย์
    ยิ่งไปกว่านั้น มีผู้อ้างทฤษฎีสมคบคิดว่า จีนแผ่นดินใหญ่พยายามกลืนประชากรฮ่องกง และเมื่อถึงเวลาเลือกตั้งร่วมกัน จำนวนประชากรฮ่องกงก็จะเหลือน้อยจนไม่ได้รับการยอมรับ
    แม้ว่าทฤษฎีดังกล่าวดูไม่น่าเชื่อถือ แต่รัฐบาลฮ่องกงจำเป็นต้องแสดงความโปร่งใสในประเด็นอื่นๆ อย่าง อสังหาริมทรัพย์ การขนส่ง และสิ่งแวดล้อม เพื่อผลประโยชน์ของชาวฮ่องกง มิฉะนั้น การประท้วงแบบที่เกิดกับ ดีแอนด์จี ก็อาจปรากฎขึ้นอีก

    http://www.bangkokbiznews.com/home/...8/ลัทธิแผ่นดินใหญ่นิยมตัวป่วนสังคมฮ่องกง.html
     
  5. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    วันที่ 25 มกราคม 2555 08:47
    ญี่ปุ่นขาดดุลครั้งแรกรอบ31ปี

    โดย : กรุงเทพธุรกิจออนไลน์


    [​IMG]

    ญี่ปุ่นมียอดขาดดุลการค้าในปี 2554 มูลค่า 2.49 ล้านล้านเยนถือเป็นการขาดดุลครั้งแรกในรอบ 31 ปี เนื่องจากยอดการส่งออกชะลอตัวลงผลจากแผ่นดินไหว

    กระทรวงการคลังของญี่ปุ่น เปิดเผยว่า ญี่ปุ่นมียอดขาดดุลการค้าในปี 2554 มูลค่า 2.49 ล้านล้านเยน ซึ่งเป็นการขาดดุลครั้งแรกในรอบ 31 ปี เนื่องจากยอดการส่งออกชะลอตัวลง อันเป็นผลมาจากเหตุการณ์แผ่นดินไหวและคลื่นสึนามิ และเงินเยนที่แข็งค่าขึ้นอย่างต่อเนื่อง
    รายงานของกระทรวงการคลัง ระบุว่า ยอดการส่งออกในปี 2554 ของญี่ปุ่น หดตัวลง 2.7% มาอยู่ที่ระดับ 65.55 ล้านล้านเยน เพราะได้รับผลกระทบจากภาวะซบเซาของเศรษฐกิจโลก อันเป็นผลมาจากวิกฤตหนี้ยุโรป ขณะที่ยอดการนำเข้าพุ่งขึ้น 12% สู่ระดับ 68.05 ล้านล้านเยน ส่วนในเดือนธ.ค.ปี 2554 ญี่ปุ่นมียอดขาดดุลการค้าทั้งสิ้น 2.051 แสนล้านเยน
    ทั้งนี้ ญี่ปุ่น ซึ่งเป็นประเทศที่มีทรัพยากรธรรมชาติจำกัด ต้องนำเข้าพลังงานมาใช้ในประเทศมากขึ้นในช่วงที่เกิดวิกฤตินิวเคลียร์ฟูกุชิมะจนทำให้เกิดปัญหาการจ่ายพลังงานใช้ภายในประเทศไม่เพียงพอ โดยปริมาณการนำเข้าน้ำมันดิบของประเทศเพิ่มขึ้น 21.3% การนำเข้าก๊าซแอลเอ็นจี เพิ่มขึ้น 37.5% และการนำเข้าผลิตภัณฑ์ปิโตรเคมี เพิ่มขึ้น 39.5% ขณะที่การส่งออกรถยนต์ร่วงลง 10.6% เช่นเดียวกับการส่งออกชิ้นส่วนรถยนต์ ลดลง 14.2%
    http://www.bangkokbiznews.com/home/...0125/431906/ญี่ปุ่นขาดดุลครั้งแรกรอบ31ปี.html
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 25 มกราคม 2012
  6. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    วันที่ 25 มกราคม 2555 07:47
    'โอบามา'จี้สร้างความยุติธรรมระบบเศรษฐกิจ


    โดย : กรุงเทพธุรกิจออนไลน์
    [​IMG]
    "โอบามา"แถลงนโยบายประจำปี เรียกร้องความยุติธรรมในระบบเศรษฐกิจตั้งแต่ "ระดับบนสุดถึงระดับต่ำสุด" ชี้คนรวยต้องจ่ายภาษีเท่าคนทั่วไป

    ประธานาธิบดีบารัก โอบามาของสหรัฐ แถลงนโยบายประจำปี (State of the Union)เช้าวันนี้เวลา 09.00 ตามเวลาไทย มีการถ่ายทอดสดไปยังชาวสหรัฐทั่วประเทศ โดยเนื้อหาบางส่วนของแถลงการณ์ที่ได้รับการเผยแพร่ออกมาก่อน ระบุว่า ผู้นำสหรัฐ เรียกร้องให้มีการสร้างความยุติธรรมในระบบเศรษฐกิจของประเทศจาก"ระดับบนสุดลงมาถึงระดับต่ำสุด" โดยเฉพาะการจัดเก็บภาษีสำหรับคนรวยเพิ่มขึ้น
    "เราสามารถฟื้นฟูเศรษฐกิจของประเทศให้กลับมาเติบโตเหมือนเก่าได้ โดยที่ทุกคนมีความเสมอภาคกันในเรื่องต้นทุนการใช้จ่าย เพราะทุกคนเล่นในกฏกติกาเดียวกัน ขณะที่ชาวอเมริกันหลายล้านคนที่ทำงานหนักและเล่นตามกฏกติกาควรได้รับการปฏิบัติในแบบเดียวกับกลุ่มคนอื่นๆ"นายโอบามา กล่าว
    ทั้งนี้ ปัญหาเศรษฐกิจเป็นหนึ่งในปัจจัยที่สำคัญที่สุดในการเลือกตั้งปลายปีที่กำลังจะมาถึง ซึ่งแม้เศรษฐกิจของสหรัฐกำลังกระเตื้องขึ้น แต่ก็ยังคงเปราะบาง และการว่างงานที่ระดับ 8.5% ยังคงอยู่ในระดับสูง เมื่อพิจารณาตามมาตรฐานในอดีต
    นายโอบามา ระบุด้วยว่า รัฐบาลจะให้ความสำคัญต่อการจ้างงานในภาคการผลิต พลังงานและการศึกษา สอดคล้องกับแนวทางการหาเสียงเลือกตั้งเพื่อ"คืนคุณค่าให้กับชาวอเมริกัน"
    "ผมจะวางแนวทางสำหรับเศรษฐกิจอเมริกัน และที่สำคัญที่สุดได้แก่การคืนคุณค่าของอเมริกันในด้านความเป็นธรรมและความรับผิดชอบ" ประธานาธิบดีสหรัฐ กล่าว
    นอกจากนี้ นายโอบามา ยังให้คำมั่นสัญญาใหญ่โตว่า จะสร้างชาติอเมริกาให้เป็นผู้นำโลกในด้านการศึกษา ไฮเทคโนโลยี และเป็นประเทศที่จ่ายค่าแรงแก่แรงงานในอัตราสูง ที่ไม่จำเป็นต้องพึ่งพาพลังงาน จากตลาดพลังงานโลกที่มีความผันผวนสูง
    http://www.bangkokbiznews.com/home/...2/โอบามาจี้สร้างความยุติธรรมระบบเศรษฐกิจ.html
     
  7. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    "เสรี"เตือนรบ.รับมือน้ำท่วม"ต้องเอาให้อยู่ไม่ใช่แค่เอาอยู่"

    เมื่อเวลา 10.00 น. นายเสรี ศุภราทิตย์ ผู้อำนวยการศูนย์พลังงานเพื่อสิ่งแวดล้อม อุทยานสิ่งแวดล้อมนานาชาติสิรินธร ปาฐกถาในงานสัมมนา เรื่อง "การจัดการน้ำในสายพระเนตรของในหลวง" ในการสัมมนา "เรียนรู้ สู้น้ำ" ซึ่งจัดโดยคณะกรรมาธิการการวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี การสื่อสารและโทรคมนาคม วุฒิสภาร่วมกับ สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) กรุงเทพมหานคร และเครือข่ายคนไทยไร้พุง ราชวิทยาลัยอายุรแพทย์แห่งประเทศไทย ที่ห้องวาสนา โรงแรมโกลเด้น ทิวลิป ซอฟเฟอริน ถนนพระราม 9

    นายเสรี กล่าวตอนหนึ่งถึงแนวทางการบริหารจัดการน้ำตามแนวทางพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว 5 ด้าน คือ 1.เรื่องอ่างเก็บน้ำ 2.ทางผ่านน้ำหรือทางผันน้ำ 3.คันกั้นน้ำหรือพนังกั้นน้ำ 4.แก้มลิง และ 5.การปรับปรุงลำน้ำ ซึ่งที่พระองค์ทรงมีพระราชดำริหรือทรงคิดก็มีการประยุกต์ใช้หมดแล้ว

    นายเสรี ยังกล่าวถึงปัญหาในการสร้างฟลัดเวย์ ว่า การทำฟลัดเวย์นั้นต้องถามว่าน้ำจะลงมาที่ฟลัดเวย์หรือไม่ แล้วน้ำจะลงไปในปริมาณที่ออกแบบไว้หรือไม่ ดังนั้นเรื่องนี้จะเขียนแค่ในกระดาษไม่ได้ นอกจากนี้ตนทราบมาว่าปัจจุบันผังเมืองที่ใช้ในประเทศไทยมีทั้งหมด 4 ฉบับใน 77 จังหวัด ถ้าเราแก้ปัญหาในปัจจุบันโดยที่ไม่ย้อนกลับไปดูผังเมืองที่ในหลายจังหวัดกว่า 70 จังหวัดที่ไม่ได้ประกาศใช้ ซึ่งเรื่องไปค้างอยู่ที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา เพราะถ้ามีผังเมืองก็จะทำให้ทราบทิศทางว่าจะเป็นอย่างไร และในส่วนของกทม.นั้นที่จะมีการสร้างอุโมงค์ใต้ดินผ่าใจกลางกทม. ก็ปรากฏว่าไปติดในส่วนที่ดินของผู้มีอิทธิพล รวมทั้งโรงงานขวางทางน้ำเต็มไปหมด ซึ่งต้องมีการพูดคุยกันเพื่อให้น้ำเดินทางในทางที่เหมาะสม

    นายเสรี กล่าวอีกว่า ในปีนี้อีกสองเดือนน้ำในแม่น้ำก็จะสูงขึ้น เพราะจากการคาดการหลายสำนักระบุว่าฝนจะมาเร็ว ดังนั้นจากนี้ไปรัฐบาล "ต้องเอาให้อยู่ ไม่ใช่แค่เอาอยู่" เพราะนี่คือสิ่งที่เราขาดระบบประเมินเหตุการณ์ทั้งก่อนเกิดเหตุและขณะเกิดเหตุ ซึ่งเมื่อนำข้อมูลการพยากรณ์ของวิทยาศาสตร์มาเทียบกับข้อมูลพยากรณ์ทั้งของไทยและของจีนยังระบุว่าน้ำท่วม แต่วิทยาศาสตร์กับยืนยันว่าน้ำไม่ท่วม ดังนั้นนี่จึงเป็นศึกหนักของ กยน. ดังนั้นในส่วนของกรมชลประทานต้องขอความร่วมมือกับกับเกษตรกรในการเลื่อนการปลูกข้าวนาปีออกไป และต้องเก็บเกี่ยวในเดือนสิงหาคม อย่างไรก็ตามหลังจากปีนี้ถ้ามังกรไม่คะนองน้ำจะกลายเป็นมังกรขาดน้ำ กลางปีหน้าจะไม่มีน้ำ จะหนักหนาสาหัสเพราะอุตสาหกรรมต่างๆต้องใช้น้ำ<!-- google_ad_section_end -->

    http://palungjit.org/threads/war-ro...เพื่อรองรับสถานการณ์ปี-2012-a.288866/page-846
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 26 มกราคม 2012
  8. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    25/1/2554 13:30 ฝนตกหลายจุดในกรุงเทพ


    [​IMG]


    อ้างอิง:
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=6 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=alt2 style="BORDER-RIGHT: 1px inset; BORDER-TOP: 1px inset; BORDER-LEFT: 1px inset; BORDER-BOTTOM: 1px inset">ข้อความดั้งเดิมโดยคุณ joyguang1
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    http://palungjit.org/threads/war-ro...เพื่อรองรับสถานการณ์ปี-2012-a.288866/page-846
     
  9. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    กองทุนประกันภัย ดัชนีวัดความไม่เชื่อมั่น แผนป้องกันน้ำท่วม
    สองเดือนกว่าผ่านไป สำหรับการทำงานของ คณะกรรมการยุทธศาสตร์เพื่อการฟิ้นฟูและสร้างอนาคตประเทศ หรือ กยอ. ที่มีนายวีรพงษ์ รามางกูร เป็นประธาน และคณะกรรมการยุทธศาสตร์เพื่อวางระบบบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ หรือ กยน. ซึ่งนายกฯ นกแก้ว สั่งให้รองนายกฯ ไก่โต้ง กิตติรัตน์ ณ ระนอง รับหน้าเสื่อเป็นประธาน ผลงานที่ปรากฏชัดเจนที่สุดคือ การซุกหนี้ แต่งบัญชี โดยอ้างเอาเรื่องการป้องกันน้ำท่วมมาเป็นเหตุผลว่า จะต้องกู้เงินก้อนใหญ่นับล้านล้านบาท เพื่อป้องกันน้ำท่วม และฟื้นฟู สร้างอนาคตของชาติกันใหม่ จึงต้องลดหนี้สาธารณะลงให้ต่ำที่สุก รองรับการกู้เงินครั้งมโหฬาร

    สำหรับมาตรการป้องกันน้ำท่วมจริงๆ ยังไม่มีอะไรเป็นชิ้น เป็นอัน มีแต่แผนระยะสั้น ระยะกลาง ระยะยาว เพื่อแสดงให้เห็นถึงความจำเป็นที่จะต้องกู้เงิน แต่ไม่มีรายละเอียดว่า จะทำอะไร ทำเมื่อไร ใครทำ

    มาตรการรูปธรรมอันเดียวที่พอจะเห็นคือ การสร้างเขื่อนกั้นนิคมอุตสาหกรรมต่างๆ ที่ถูกน้ำท่วมครั้งที่แล้ว ซึ่งนายกิตติรัตน์ กำหนดว่า จะเริ่มก่อสร้างได้ในเดือนกุมภาพัน์นี้ และจะให้เสร็จภายในเดือนสิงหาคม ก่อนที่น้ำจะมา

    ประชาชนที่ไม่ใช่เจ้าของบริษัทในนิคมอุตสาหกรรม มีคำถามว่า แล้ว คนที่อยู่นอกนิคม ไม่ได้อยู่ในแผนป้องกันน้ำท่วมของ กยอ. และ กยน. เลยหรือ ส่วนคนที่เป็นเจ้าของโรงงานในนิคม ก็มีคำถามว่า ในนิคมฯ น้ำไม่ท่วม แต่ถนนข้างนอกท่วมหมด พนักงานจะมาทำงานอย่างไร จะขนส่งวัตถุดิบเข้ามา ส่งสินค้าออกไปอย่างไร

    ความเชื่อมั่นในการทำงานของ กยอ และ กยน. วัดได้จาก ความคิดเห็นของนักลงทุน นักธุรกิจที่มีต่อมาตรการป้องกันน้ำท่วมของรัฐบาล

    นายวัลลภ วิตนากร รองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) กล่าวว่า ขณะนี้นักลงทุนส่วนใหญ่ต่างก็กังวลต่อภาวะน้ำท่วมที่ฤดูฝนใหม่ที่กำลังจะมาถึงว่า รัฐบาลจะมีมาตรการในการแก้ไขปัญหาได้ มากน้อยเพียงใด เนื่องจากยอมรับว่าแผนที่รัฐบาลประกาศออกมายังไม่เห็นอะไรที่เป็นรูปธรรมนัก ทั้งที่เหลือเวลาไม่มาก ดังนั้น สิ่งสำคัญคือจะต้องเร่งเชื่อมโยงข้อมูลและการทำงานที่เป็นเอกภาพของหน่วยงานที่เกี่ยวกับระบบป้องกันและวางแผนจัดการน้ำต่างๆ อย่างเร่งด่วน

    นี่เป็นเพียงหนึ่งในความเห็นที่แสดงออกอย่างเป็นทางการ ในฐานะตัวแทนของกลุ่มอุตสาหกรรม เท่านั้น ยังมีนักลงทุน ผู้ประกอบการทั้งไทยและเทศอีกจำนวนมาก ที่ไม่มั่นใจว่า รัฐบาลนี้จะมีมาตรการรับมือน้ำท่วมได้จริง เพราะยังไม่เห้นทำอะไรเป็นชิ้นเป็นอัน แต่ไม่อยากพูดให้เป็นข่าวเท่านั้นเอง

    ดัชนีชี้วัดความมั่นใจในแผนรับมือน้ำท่วมของ รัฐบาลตัวหนึ่ง ที่เปิดเผยออกมาแล้วคือ โรงงานในนิคมอุตสาหกรรม สหรัตนนคร ที่อยุธยา 14 โรง จากจำนวนโรงงานทั้งหมด 43 โรง ซึ่งส่วนใหญ่เป็นการลงทุนของญี่ปุ่น ประกาศปิดโรงงานหนีไปตั้งอยู่ในพื้นที่อื่น เพราะไม่มั่นใจว่า ปีหน้าจะถูกน้ำท่วมอีกหรือไม่

    ตัวชี้วัด ความเชื่อมั่นในมาตรการป้องกันน้ำท่วมที่ดีที่สุดในขณะนี้คือ การตั้งกองทุนประกันภัยของรัฐบาล โดยออกเป็นพระราชกำหนด มีเงินกองทุน 50,000 ล้านบาท เดิม กองทุนนี้ จะรับประกันภัยน้ำท่วม เฉพาะบ้านพัก อาศัย ของประชาชน และธุรกิจเอสเอ็มอีเท่านั้น แต่นายกิตติรัตน์ สั่งให้ขยายการรับประกันให้ครอบคลุมถึง อุตสาหกรรมขนาดใหญ่ ที่ได้รับความเสียหายจากน้ำท่วมด้วย ซึ่งจะมีวงเงินคุ้มครองสูงถึง 5 แสนล้านบาท

    บริษัท เอออน เบนฟิลด์ ซึ่งเป็นโบรกเกอร์ประกันภัยใหญ่ที่สุดในโลก ที่สมาคมประกันวินาศภัยเชิญมาหารือ เห็นตัวเลขนี้แล้ว ตกตะลึง เพราะเป็นวงเงินคุ้มครองที่สูงที่สุดในโลก ประเทศอื่นๆ เขาซื้อประกันสูงสุดกันแค่ 2 แสนล้านบาทเท่านั้น ประเทศไทยตั้งไว้ 5 แสนล้าน โลกใบนี้รับไม่ไหว จึงขอให้รัฐบาลไทย ลดวงเงินลงมาเหลือ 2แสนล้าน เหมือนชาวบ้านเขาได้ไหม

    สาเหตุที่รัฐบาลต้องขยายการคุ้มครอง ไปถึงอุตสาหกรรมรายใหญ่ ซึ่งทำให้วงเงินคุ้มครองของกองทุนประกันภัยสูงที่สุดในโลก ก็เพราะว่า บริษัทรับประกันภัยต่อ ในต่างประเทศ หลายๆแห่ง ไม่รับประกันภัยน้ำท่วมในประเทศไทย หรือ ถ้ารับก็คิดเบี้ยประกันในอัตราที่สูงมาก ถึง 3 เท่าจาก อัตราปกติ คือ จากเบี้ยประกันปกติ ไม่เกิน 5% ของวงเงินคุ้มครอง ก็เพิ่มขึ้นเป็น 16 % แล้วในขณะนี้

    เรืองนี้ รับรู้กันทั่วไปในวงการประกันภัยบ้านเรา ซึ่งสาเหตุเป็นเพราะ บริษัทรับประกันภัยต่อ ขนาดใหญ่ของโลก ล้วนต้องควักกระเป๋าจ่ายค่าชดชเยให้กับโรงงานอุตสาหกรรมที่ถูกน้ำท่วม รวมเป็นเงิน ถึง สองแสนล้านบาท เป็นความเสียหายที่รุนแรงมาก เพราะคิดไม่ถึงว่า น้ำจะท่วมหนักและท่วมนานขนาดนั้น

    พวกเขาเข็ดขยาดกับน้ำท่วมปีที่แล้ว และไม่มั่นใจกับ แผนป้องกันน้ำท่วมของรัฐบาล หลายแห่งจึงมีนโยบายไม่รับประกัน บางแห่งรับ แต่คิดเบี้ยประกันแพง เพราะความเสี่ยงสูง กระทรวงการคลัง ส่งเจ้าหน้าที่ไปคุยกับบริษัทรับประกันภัยต่อ 2-3 แห่งที่ สิงคโปร์ แต่ถูกปฏิเสธกลับมา

    นายกิตติรัตน์เอง ก็ยอมรับว่า เท่าที่ได้หารือกับบริษัทประกันภัยต่างประเทศ เริ่มมีความกังวลเกี่ยวกับแผนการบริหารจัดการน้ำที่ยัง ไม่มีความชัดเจน ดังนั้น รัฐบาลจะรับประกันเอง เพราะเชื่อว่า “ เอาอยู่”

    ยังจำกันได้ไหม หลังจาก นายวีรพงษ์ ได้รับแต่งตั้งเป็นประธาน กยอ. ได้เดินทางไปคุยกับ ประธานบริษัทลอยด์ ซึ่งเป็นบริษัทรับประกันภัยที่ใหญ่ที่สุดในโลก และไปคุยกับบริษัทประกันภัยของญี่ปุ่น แล้วกลับมาบอกคนไทยว่า บริษัทประกันภัยยักษ์ใหญ่ของโลก เชื่อมั่นในแผนป้องกันน้ำท่วมของรัฐบาล ยินยันว่า จะรับประกันภัยต่อ ไม่มีปัญหา ย.ห. อย่าห่วง

    สองคนนี้ ต้องมีใครสักคนที่พูดโกหก

    กองทุนประกันภัยนี้ เอาเงินภาษีของประชาชน 5 หมื่นล้านไปตั้งเป็นกองทุนประเดิม และ กฎหมายยังเปิดช่องให้ เพิ่มเงินกองทุนได้อย่างไม่จำกัด หากเกิดน้ำท่วมแล้ว รัฐบาลเอาไม่อยู่ เหมือนปีที่แล้ว ก็หมายความว่า ประชาชนต้องเป็นผู้จ่ายเงินชดเชย ให้กับความไร้ประสิทธิภาพในการป้องกันน้ำท่วมของรัฐบาลนกแก้ว

    เวลานี้ ในวงการประกันภัยพูดกันหนาหูว่า รัฐบาลจะเอาใครมาบริหาร กองทุนที่ต้องดูแลเงินถึง 50,000 ล้านบาทนี้ เพราะต้องใช้ทักษะ ความรู้ด้านการประกันภัย ซึ่งต้องไปจ้างบริษัทประกันภัย จากต่างประเทศมาบริหารจัดการแน่ ใครจะได้งานตรงนี้ไป ก็อยู่ที่ว่าจะเข้าถึง “ วีรพงษ์ - นิพัทธ -วิจิตร” ได้มากน้อยขนาดไหน

    ผลงานชิ้นโบว์แดงของ กยอ. และ กยน. ใน การวางแผนป้องกันน้ำท่วม เท่าที่เห็นก็มี รื่อง ตั้งกองทุนประกันภัย นี่แหละ ซึ่งเป็นการสะท้อนถึงความลมเหลวในการสร้างความเชื่อมั่นของนักลงทุนต่างชาติ เพราะต่างชาติ ไม่รับประกัน รัฐบาลจึงต้องเอาเงินภาษีประชาชน มารับความเสี่ยงจากการบริหารจัดการน้ำ ที่ล้มเหลวแทน

    Politics - Manager Online -
     
  10. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    เฟดคาดเศรษฐกิจสหรัฐฯ อ่อนแอไปจนถึงปี 2014
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=4 border=0><TBODY><TR><TD class=body vAlign=center align=left>โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์</TD><TD class=date vAlign=center align=left>26 มกราคม 2555 09:06 น.</TD><TD vAlign=center align=left><SCRIPT src="http://platform.twitter.com/widgets.js" type=text/javascript></SCRIPT>


    <SCRIPT src="https://apis.google.com/js/plusone.js" type=text/javascript> {lang: 'th'}</SCRIPT><?XML:NAMESPACE PREFIX = G /><G:pLUSONE size="medium"></G:pLUSONE>
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    [​IMG]
    เบน เบอร์นันกี ประธานธนาคารกลางสหรัฐฯ

    เอเอฟพี - ธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) ปรับลดตัวเลขคาดการณ์การเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศลง โดยอ้างถึงการลงทุนในภาคธุรกิจที่ชะลอตัว และภาคอสังหาริมทรัพย์ที่ยังตกต่ำ จนน่าจะต้องคงอัตราดอกเบี้ยไว้ที่เกือบ 0% ต่อไปอีก 3 ปี

    แม้เศรษฐกิจจะมีการปรับตัวขึ้นในปลายปีที่ผ่านมา แต่คณะกรรมการกำหนดนโยบายการเงิน หรือเอฟโอเอ็มซีได้ชี้ว่า ความอ่อนของเศรษฐกิจที่ยังมีอยู่ และความตึงเครียดในตลาดการเงินโลกบีบให้ต้องดำเนินนโยการการเงินผ่อนคลายต่อไป

    "เราจะเห็นลมสวนมาจากยุโรป" เบน เบอร์นันกี ประธานธนาคารกลางสหรัฐฯ กล่าว โดยว่า "ผมไม่คิดว่าเราพร้อมที่จะประกาศว่าเราเข้าสู่ระยะแข็งแกร่งได้แล้วในเวลานี้"

    อย่างไรก็ตาม เบอร์นันกีไม่ได้พูดเป็นนัยว่าเฟดพร้อมที่จะเพิ่มเงินช่วยเหลือกระตุ้นเศรษฐกิจอีกหรือไม่ แต่ก็เปิดทางไว้สำหรับกรณีที่ เศรษฐกิจยังไม่ขยายตัว หรืออัตราว่างงานยังสูงไม่ยอมลง

    เฟดปรับลดคาดการณ์การเติบโตของเศรษฐกิจในปีนี้ลงเหลือ 2.2-2.7% ซึ่งต่ำกว่าที่เคยคาดคะเนไว้ก่อนหน้านี้ โดยในปี 2013 เฟดมองว่าจะมีการขยายตัวขึ้นเล็กน้อยที่ 2.8-3.2% และเพิ่มขึ้นเป็นมากกว่า 3.3% ในปี 2014

    การคาดการณ์เศรษฐกิจของธนาคารกลางสหรัฐฯ ในเดือนพฤศจิกายนที่ผ่านมา มีการประเมินว่า จีดีพีในปี 2012 จะอยู่ที่ 2.5-2.9% และปี 2013 อยู่ที่ 3.0-3.5%

    ขณะที่เอฟโอเอ็มซีตั้งเป้าเงินเฟ้อไว้ที่ 2.0% ซึ่งส่งสัญญาณว่าราคาสินค้าจะสูงขึ้นจนสามารถเริ่มดำเนินนโยบายการเงินแบบเข้มงวดได้ จึงต้องคงอัตราดอกเบี้ยไว้ที่ระดับต่ำ 0-0.25% เป็นเวลา 3 ปี ทั้งที่ก่อนหน้านี้ประกาศจะใช้อัตราดังกล่าวถึงกลางปี 2013 เท่านั้น

    เบอร์นันกียืนกรานว่า แม้จะมีการตั้งเป้าเงินเฟ้อไว้ แต่เฟดจะไม่ถือว่าการควบคุมเงินเฟ้อสำคัญไปกว่ากระกระตุ้นการสร้างงานแน่นอน

    Around the World - Manager Online - ࿴
     
  11. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    HSBCขายธุรกิจในไทย ส่วนหนึ่งของแผนปรับโครงสร้างครั้งใหญ่
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=4 border=0><TBODY><TR><TD class=body vAlign=center align=left>โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์</TD><TD class=date vAlign=center align=left>26 มกราคม 2555 03:00 น.</TD><TD vAlign=center align=left><SCRIPT src="http://platform.twitter.com/widgets.js" type=text/javascript></SCRIPT>


    <SCRIPT src="https://apis.google.com/js/plusone.js" type=text/javascript> {lang: 'th'}</SCRIPT><?XML:NAMESPACE PREFIX = G /><G:pLUSONE size="medium"></G:pLUSONE>
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    [​IMG]
    สำนักงานธนาคารเอชเอสบีซี ประจำประเทศไทย

    เอเอฟพี - เอชเอสบีซี ธนาคารรายใหญ่ที่สุดของยุโรปเมื่อวันพุธ(25) เผยว่ากำลังขายธุรกิจสินเชื่อรายย่อยและธุรกิจธุรกิจบริหารสินทรัพย์ในประเทศไทยให้กับธนาคารกรุงศรีอยุธยา การขายสินทรัพย์ล่าสุดของธนาคารตามแผนปฏิรูป

    สำนักงานใหญ่ของเอชเอสบีซีในกรุงลอนดอนไม่ได้เผยถึงตัวเลขของราคาขายครั้งนี้ แต่บอกว่ามูลค่าสินทรัพย์รวมของธุรกิจอยู่ที่ราว 550 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ขณะที่คาดหมายว่าดีลนี้จะเสร็จสมบูรณ์ภายในครึ่งปีแรกของปีนี้

    เมื่อไม่กี่สัปดาห์ที่ผ่านมา เอชเอสบีซี ก็เพิ่งขายธุรกิจบริหารการเงินส่วนบุคคลในญี่ปุ่นและธุรกิจต่างๆของธนาคารในคอสตาริกา เอลซัลวาดอร์และฮอนดูรัส ส่วนหนึ่งในแผนปฏิรูปโครงสร้างในต่างแดนเพื่อลดต้นทุนและพุ่งเป้าไปที่การเติบโต

    ทั้งนี้เมื่อปีที่แล้วธนาคารแห่งนี้แถลงมาตรการต่างๆสำหรับลดค่าใช้จ่ายอย่างมโหฬาร ในนั้นรวมถึงแผนประหยัดเงินให้ได้อย่างน้อย 3,500 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯในปี 2013 และปลดคนงานทั่วโลกไปถึง 30,000 ตำแหน่ง

    Around the World - Manager Online - HSBC
     
  12. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    ผลทำนายเซียมซีดวงเมืองฮ่องกงปี2555
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=4 border=0><TBODY><TR><TD class=body vAlign=center align=left>โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์</TD><TD class=date vAlign=center align=left>25 มกราคม 2555 18:02 น.</TD><TD vAlign=center align=left><SCRIPT src="http://platform.twitter.com/widgets.js" type=text/javascript></SCRIPT>


    <SCRIPT src="https://apis.google.com/js/plusone.js" type=text/javascript> {lang: 'th'}</SCRIPT><?XML:NAMESPACE PREFIX = G /><G:pLUSONE size="medium"></G:pLUSONE>
    <TD></TD></TR></TBODY></TABLE>
    [​IMG]
    รูปปั้นเทพเจ้าในวัดเฉอคังย่านซาถิ่นของฮ่องกง - เอเจนซี่
    เซาท์ไชน่ามอร์นิ่งโพสต์ - เขตปกครองพิเศษฮ่องกงทำพิธีเสี่ยงเซียมซีทำนายดวงเมืองสำหรับปีใหม่มังกรทอง 2555 ติ้วเสี่ยงทายในปีนี้เตือนชาวฮ่องกงให้ระวังลิ้น ที่ลดเลี้ยวของมังกร โดยบ้านเมืองจะเต็มไปด้วยการนินทาว่าร้าย และแยกแยะได้ลำบากระหว่างความถูกต้องกับความชั่วร้าย

    เมื่อวันอังคาร ที่ผ่านมา (24 ม.ค.) นาย เหล่า หว่อง-ฟัต ประธานคณะที่ปรึกษาตามกฎหมายของภูมิภาคนิวเทอร์ริทอรีส์ เป็นตัวแทนของคณะผู้บริหารเขตปกครองพิเศษฮ่องกง ทำหน้าที่เสี่ยงเซียมซี ที่วัดเฉอคังในย่านซาถิ่น และเสี่ยงได้ติ้วหมายเลข 29 มีความหมายว่า ฮ่องกงจะประสบโชคดีพอสมควร กล่าวคือไม่เฮงมากนัก แต่ก็ไม่โชคร้าย นอกจากนั้น ในช่วงปีนี้การแบ่งแยกว่าใครเป็นเทพ หรือมาร อาจพิเคราะห์ได้ยากมาก

    พิธีเสี่ยงเซียมซีทำนายดวงเมืองฮ่องกงทำกันเป็นประจำทุกปีในวันที่ 2 หลังจากวันตรุษจีน โดยนายเหล่าทำหน้าที่เสี่ยงเซียมซีมาตั้งแต่ปี 2547 หลังจากเมื่อปี 2546 นายแพทริก โฮ รัฐมนตรีมหาดไทยในขณะนั้น ทำหน้าที่เสี่ยงเซียมซี และได้ใบที่ 83 ซึ่งเป็นหมายเลขอับโชคที่สุดตามคติความเชื่อทางโหราศาสตร์ของจีน โดยปรากฏว่าในปีนั้นเอง ฮ่องกงก็ประสบวิกฤตเศรษฐกิจและการระบาดของโรคทางเดินหายในเฉียบพลันรุนแรง หรือโรคซาร์ส

    ด้านซินแสฮวงจุ้ยชื่อดังของฮ่องกงผู้หนึ่งอธิบายความหมายของติ้วหมายเลข 29 นี้ว่า หมายถึงการพูดเท็จหลอกลวง และจะเกิดการซุบซิบนินทามากมาย ประชาชนดูไม่ออกระหว่างเรื่องจริงกับเรื่องแต่ง

    เมื่อนักข่าวถามนายเหล่าว่า เซียมซีเสี่ยงทายนี้รวมถึงการเลือกตั้งหัวหน้าคณะผู้บริหารเขตปกครองพิเศษฮ่องกง ซึ่งจะมีขึ้นในวันที่ 25 มี.ค.นี้ด้วยหรือหรือไม่ เขาตอบว่า ดูเหมือนจะเป็นเช่นนั้น

    อย่างไรก็ตาม ซินแสฮวงจุ้ยกล่าวว่า เสี่ยมซีที่หยิบได้นี้ทำนายไม่ได้ว่าใครจะมาดำรงตำแหน่งสืบต่อจากนายโดนัลด์ ซัง หัวหน้าคณะผู้บริหารคนปัจจุบัน

    China - Manager Online -
     
  13. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    “ศรีไทย”หนีค่าแรงไทยโหด ทุ่ม1พันล.โยกฐานผลิตในต่างประเทศ
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=4 border=0><TBODY><TR><TD class=body vAlign=center align=left>โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์</TD><TD class=date vAlign=center align=left>25 มกราคม 2555 21:59 น.</TD><TD vAlign=center align=left><SCRIPT src="http://platform.twitter.com/widgets.js" type=text/javascript></SCRIPT>


    <SCRIPT src="https://apis.google.com/js/plusone.js" type=text/javascript> {lang: 'th'}</SCRIPT><?XML:NAMESPACE PREFIX = G /><G:pLUSONE size="medium"></G:pLUSONE>
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    ตลาดแรงงานไทยค่าแรงสูง “ศรีไทยฯ” ทุ่ม1,000 ล้าน มุ่งปังธงสร้างฐานผลิตในต่างแดนทดแทน เดินหน้าเพิ่มกำลังผลิตแพกเกจจิ้ง ดัน“เอสเนเจอร์”สู่ตลาดอาเซียน มั่นใจสิ้นปีรายได้รวมโตมากกว่า 10% หรือกว่า7,800 ล้านบาท

    นายสนั่น อังอุบลกุล ประธานกรรมการและกรรมการผู้จัดการ บริษัท ศรีไทยซุปเปอร์แวร์ จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า ภาพรวมการดำเนินธุรกิจของกลุ่มศรีไทยฯในปีนี้ จะมีการลงทุนขยายกำลังการผลิตอย่างต่อเนื่อง คาดว่าจะใช้งบลงทุนรวมไม่ต่ำกว่า 1,000 ล้านบาท สำหรับ 3 กลุ่มธุรกิจหลัก คือ เมลามีน, พลาสติก และธุรกิจขายตรง เอสเนเจอร์ โดยในส่วนเมลามีน จะใช้งบ 100 ล้านบาท ในการตั้งบริษัทขึ้นมาใหม่ คือ บริษัท โคราชไทยเทรด จำกัด เป็นโรงงานที่ตั้งอยู่ในจังหวัดนครราชสีมา เป็นเอสเอ็มอี รับจ้างผลิตสินค้าที่ทำจากเมลามีนส่งออกไปยังยุโรปและอเมริกาโดยเฉพาะ ลูกค้าหลักคือ IKEA ทั้งนี้เพื่อเป็นไปตามข้อตกลงของคู่ค้า ที่ต้องการให้แรงงานทำงานไม่เกิน 60 ชม./คน/สัปดาห์ คาดว่าภายในกางเดือนก.พ.ที่จะถึงนี้ จะเริ่มส่งออกสินค้าได้ คาดว่าต่อปีจะมีรายได้ราว450 ล้านบาท

    และจากปัญหาค่าแรงไทยกำลังขยับตัวสูงขึ้นอีกทั้งยังหายาก จึงต้องมีการเรียกใช้แรงงานจากเพื่อนบ้านแทนทั้งจาก พม่า และกัมพูชา แต่ก็ไม่เพียงพอต่อการดำเนินธุรกิจ ดังนั้นแผนการขยายกำลังการผลิตของศรีไทยฯจะเน้นฐานการผลิตในต่างประเทศเป็นหลัก เนื่องจากค่าแรงที่ถูกกว่า เช่น ที่เวียดนามอาจจะเพิ่มโรงงานใหม่ขยายการผลิตเกี่ยวกับจานชามเมลามีน จากที่มีเครื่องจักร 20 เครื่อง จะเพิ่มเป็น 40 เครื่อง รองรับตลาดในประเทศ รวมถึงส่งออก และพม่าจะเข้าไปตั้งโรงงานเกี่ยวกับเมลามีนด้วยเช่นกัน ส่วนอินเดีย จากเดิมที่มีโรงงานอยู่ 3 แห่ง ก็จะขยายเพิ่มอีก 1 แห่งด้วย

    สำหรับกลุ่มพลาสติก ปีนี้จะใช้งบลงทุนร่วม 500-600 ล้านบาท ส่วนใหญ่มุ่งขยายกำลังการผลิตในต่างประเทศเป็นหลัก คือ ที่เวียดนาม จะเปิดไลน์โปรดักส์ใหม่เพิ่ม 1 ไลน์ คือ Preform การเป่าขวด โดยจะให้บริษัทศรีไทยเวียดนาม จำกัด เพิ่มทุนจดทะเบียนอีก 65 ล้านบาท จาก 270 ล้านบาท คาดว่าจะทำให้รายได้ต่อปีขยับเป็น 650 ล้านบาท จาก 300 ล้านบาทได้ โดยอนาคต ที่ลาว จะเข้าไปเปิดโรงงานผลิตด้านพลาสติกเล็กๆ รับตลาดในประเทศด้วย

    ส่วนโรงงานในประเทศ ปีนี้บริษัทได้ลดกำลังการผลิตเกี่ยวกับชิ้นส่วนประกอบรถยนต์และเครื่องใช้ไฟฟ้าไปกว่าครึ่ง จากเดิมปีก่อนทำรายได้ที่ 650 ล้านบาท ปีนี้จะเหลือเพียง 300-350 ล้านบาท และในปีหน้าจะหยุดการผลิตลง เนื่องจากปัญหาเรื่องค่าแรงที่เพิ่มสูงขึ้น และแรงงานที่ขาดแคลน แต่จะหันมามุ่งผลิตพลาสติกที่เป็นภาชนะบรรจุอาหารและเครื่องดื่มแทน เช่น กล่องข้าวของกลุ่ม CPF ขวดน้ำPEP และฝาปิดขวดน้ำพลาสติกกับทางไทยน้ำทิพย์ รวมถึงถังบรรจุสีทาบ้าน ถังบรรจุผงซักฟอก และพลาสติกพาเลทวางสินค้า

    ส่วนธุรกิจขายตรงเอสเนเจอร์ จากเดิมมีจำนวนสาขาทั่วประเทศ 15 สาขา ปีนี้จะเพิ่มอีก 2 สาขา ที่อุดรธานี และภาคใต้ โดยตลาดต่างประเทศกำลังเริ่มเข้าไปรุกพม่าและลาว และกำลังจะเข้าไปขยายตลาดในกัมพูชาเดือนพ.ค.ที่จะถึงนี้ และอินโดนีเซียในเดือนธ.ค.นี้ด้วย และหากเอสเนเจอร์รุกตลาดเข้าAEC ครบทุกประเทศแล้ว จึงจะพิจารณาเข้าไปทำตลาดในจีนต่อไป เชื่อว่าทั้งปีนี้เอสเนเจอร์จะมีรายได้ประมาณ460ล้านบาท จากปีก่อนทำได้ 353 ล้านบาท

    นายสนั่น กล่าวต่อว่า ในแง่รายได้รวม ถึงสิ้นปีนี้คาดว่าทั้งกลุ่มจะมีรายได้เติบโตมากกว่า 10% หรือกว่า 7,800 ล้านบาท ขณะที่ปีก่อนตั้งเป้ารายได้ไว้ที่6,700 ล้านบาท แต่หลังจากเจอปัญหาน้ำท่วม กลับพบว่าตัวเลขรายได้จริงอยู่ที่ 6,695 ล้านบาท ถือว่ายังเป็นไปตามเป้า ดังนั้นปีนี้จึงไม่กังวลกับปัจจัยใดๆทั้งนั้น พร้อมมองวิกฤตเป็นโอกาส แต่ต้องยอมรับว่าราคาต้นทุนเม็ดพลาสติกกำลังจะขยับราคาสูงขึ้นอีกครั้งหลังตรุษจีน ส่งผลให้ในช่วงเม.ย.ที่จะถึงนี้ ทางบริษัทจะมีการปรับราคาสินค้าขึ้นราว 10%

    Business - Manager Online -
     
  14. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    โอนหนี้จากตั๊วเฮียให้เสี่ยวเจ๊แล้ว... อาเตี่ยยังเป็นผู้จัดการต่อหรือเปล่า?


    โดย : กรุงเทพธุรกิจออนไลน์


    วันที่ 26 มกราคม 2555 01:00


    กาแฟดำ


    คนที่เห็นด้วยหรือคัดค้านแนวทางของรัฐบาล ที่จะให้ลดตัวเลข “หนี้สาธารณะ”


    ด้วยการให้ กองทุนวายุภักษ์ ซื้อหุ้นของกระทรวงการคลังที่ถือใน ปตท. และการบินไทย เพื่อให้หลุดจากความเป็นรัฐวิสาหกิจ จะต้องฟังเหตุผลรอบด้านเพื่อสามารถประเมินว่า จะเห็นด้วยกับฝ่ายไหนในฐานะประชาชนเจ้าของประเทศและผู้เสียภาษี

    เมื่อวานผมได้เอาเหตุผลของทั้งสองฝ่ายมาให้ได้รับทราบประกอบการติดตามข่าวสารเรื่องนี้ ซึ่งผมเห็นว่ามีความสำคัญต่ออนาคตบ้านเมือง

    ผมเชื่อว่าฝั่งรัฐมนตรีคลังคนใหม่ กิตติรัตน์ ณ ระนอง และรัฐมนตรีคลังคนก่อน คุณธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล ต่างก็มีเหตุผลของตนที่เป็นเหตุผลของคน “มืออาชีพ” เพียงแต่ว่ามองจากคนละมุม และมีเหตุผลสนับสนุนแนวทางของตัวเองต่างกันไป

    รัฐบาลต้องการจะลดตัวเลขหนี้สาธารณะเพื่อจะได้เปิดทางให้กู้ได้มากขึ้น เพื่อนำมาฟื้นฟูและพัฒนาประเทศ ซึ่งก็เป็นหลักการที่ฟังขึ้น

    คนที่ต้องดูแลให้วินัยการเงินการคลัง และภาพลักษณ์ของประเทศไม่เสียหายอย่างคุณธีระชัย และผู้ว่าการแบงก์ชาติอย่าง คุณประสาร ไตรรัตน์วรกุล ก็เป็นห่วงว่าการ “โยกตัวเลข”อย่างนี้ อาจจะทำให้เกิดความไม่เชื่อมั่นของนักวิเคราะห์สถานภาพทางเศรษฐกิจของไทย

    ทั้งคุณธีระชัย และคุณประสาร บอกว่าความจริงถ้ารัฐบาลจะกู้เงินเพิ่มอีกก็ไม่เห็นมีปัญหาอะไร เพราะทุกวันนี้ หนี้สาธารณะของรัฐบาลอยู่ที่ประมาณ 40% ของ GDP ยังห่างจากเพดานที่ 60% มากนัก...สามารถจะกู้ได้อีกเกือบ 2 ล้านล้านบาททีเดียว

    แปลว่าถ้าหากคุณกิตติรัตน์ และคุณวีรพงษ์ ต้องการจะกู้เงินมาทำโครงการฟื้นฟูและพัฒนาประเทศหลังน้ำท่วมก็ไม่น่าจะมีปัญหาอะไร ยังไม่ต้อง “เล่นแร่แปรธาตุ” กับตัวเลขหนี้สาธารณะให้เป็นประเด็นขึ้นแต่อย่างไร

    เพราะแม้จะ “โยก” หนี้ของ ปตท. กับการบินไทยออกไป ก็เหมือนขว้างงูไม่พ้นคอ เพราะ “กองทุนวายุภักษ์” นั้นก็อยู่ในการกำกับดูแลของกระทรวงการคลัง อยู่ดี...เหมือนโอนหนี้จากพี่ใหญ่ให้น้องสาวคนเล็กในบ้านเดียวกันนั่นแหละ

    นักบัญชีคิดอย่างนี้ได้เพราะเป็นอาชีพ แต่นักบริหารระดับ CEO ของประเทศต้องมองรอบด้านว่าจะมีผลกระทบทั้งด้านสาระและจิตวิทยาอย่างไรด้วย

    คุณธีระชัย เมื่อไม่อยู่ใน ครม. ก็สามารถตั้งคำถามแทนชาวบ้านอย่างพวกผมได้ว่า...หรือที่รัฐบาลคิดอย่างนั้นเพราะกลัวว่าถ้าตัวเลขหนี้สาธารณะสูงขึ้น รัฐบาลอาจจะถูกแรงกดดันที่จะต้องขอขึ้นภาษี ไม่ว่าจะเป็นภาษีมูลค่าเพิ่มหรือภาษีสรรพสามิตน้ำมันหรือหารายได้ด้านอื่นๆ....

    แน่นอนว่า ไม่มีรัฐบาลไหนที่อยากจะอยู่ในตำแหน่งยาวๆ จะอยากคิดเรื่องขึ้นภาษี เพราะนั่นคือ การสวนทางกับ “ประชานิยม” ที่ทำให้ได้คะแนนในการเลือกตั้งครั้งต่อไป

    นี่ถ้าคุณธีระชัย ไม่ใช่รัฐมนตรีคลังในรัฐบาลคุณยิ่งลักษณ์ คนก่อน ผมก็อาจจะคิดว่าเป็นการมองรัฐบาลในทางลบเกินไป

    อีกทั้งผมก็ไม่เชื่อว่าคุณวีรพงษ์ ซึ่งไม่ได้เป็นทั้งรัฐมนตรี หรือ ส.ส. จะเอา “คะแนนนิยมทางการเมือง” เป็นตัวตั้งในการเสนอความคิดเช่นนั้น

    ผมยังอยากจะเชื่อว่าทั้งคุณกิตติรัตน์ และคุณวีรพงษ์ คิดสูตรนี้ขึ้นมา เพราะต้องหาทางออกเพื่อบริหารเรื่องหนี้และเงินกู้จริงๆ

    ในฐานะผู้เสียภาษีและต้องการเห็นประสิทธิภาพของรัฐวิสาหกิจเป็นมืออาชีพเพื่อประโยชน์ของประชาชนจริงๆ ผมมีคำถามว่าการจะให้ ปตท. และการบินไทย (รวมไปถึงรัฐวิสาหกิจอื่นๆ) หลุดออกจากการเป็นรัฐวิสาหกิจนั้นจะทำอย่างจริงจังหรือเป็นเพียงแต่ “โยกตัวเลขหนี้” เท่านั้น

    เพราะหากจะให้กระทรวงการคลังถือหุ้นใน ปตท. และการบินไทยลดลงเพื่อให้พ้นจากรัฐวิสาหกิจจริง ก็จะต้องหมายความว่าต่อแต่นี้ไป การเมืองและข้าราชการประจำจะไม่สามารถเข้ามาก้าวก่าย สั่งการ หรือล้วงลูกเข้าไปในหน่วยงานเหล่านี้ได้...และจะต้องให้มีการบริหารกันอย่างมืออาชีพจริงๆ เพื่อให้มีประสิทธิภาพสูงสุด

    แต่หากกองทุนวายุภักษ์ ซื้อหุ้น 2-3% จากกระทรวงการคลัง เพียงเพื่อจะให้สถานภาพทางกฎหมายเปลี่ยนไป ไม่ต้องเอาหนี้ขององค์กรมานับเป็นหนี้สาธารณะของรัฐบาลเท่านั้น ก็ยังแปลว่าทุกอย่างเหมือนเดิม

    อย่างนี้ไม่ใช่แค่ “ตั๊วเฮีย” โอนหนี้ให้ “เสี่ยวเจ๊” เท่านั้น แต่ “อาเตี่ย” ยังเป็นผู้จัดการคนเดิมต่อไปอีกด้วย!
    http://www.bangkokbiznews.com/home/......-อาเตี่ยยังเป็นผู้จัดการต่อหรือเปล่า-.html
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 26 มกราคม 2012
  15. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    กระแส Occupy Wall Street : หมดยุคการเงินไม่ยั่งยืน?

    โดย : สฤณี อาชวานันทกุล

    วันที่ 26 มกราคม 2555 01:00

    เดือนกันยายน ปี 2011 หนึ่งปีก่อน “ปีสิ้นโลก” ตามการตีความปฏิทินของชาวมายันโบราณ (อย่างผิดๆ ถูกๆ) การประท้วงภาคการเงินอเมริกัน

    ที่เรียกตัวเองว่า “Occupy Wall Street” (ยึดพื้นที่ภาคการเงิน) ก็ขยายตัวอย่างรวดเร็วไปทั่วทั้งอเมริกา และอีกเพียงไม่ถึงหนึ่งเดือนก็เกิดการประท้วงในลักษณะเดียวกันกว่า 950 เมืองใน 82 ประเทศทั่วโลก

    ผู้ร่วมขบวนการ Occupy Wall Street (ย่อว่า OWS) มีความหลากหลายอย่างมากทั้งทางสัญชาติ ศาสนา และความเชื่อ จุดร่วมคือการเรียกตัวเองว่า “99%” - สะท้อนมุมมองว่าพวกเขาไม่ใช่คน “1%” ที่รวยที่สุดในสังคม ซึ่งหมายรวมถึงนายธนาคารและนักการเงินทั้งหลาย

    OWS นับเป็นการประท้วง “ยุคอินเทอร์เน็ต” ครั้งแรกของอเมริกา ในแง่ที่มันไม่มีกลุ่มผู้นำม็อบอย่างเป็นกิจจะลักษณะแบบที่เราคุ้นเคยคอยปลุกระดมให้คนออกมาประท้วง รวบรวมรายการข้อเรียกร้องต่อรัฐบาล แต่ผู้ชุมนุมใน OWS ต่างคนต่างมาจากคำชักชวนที่ส่งต่อกันในอินเทอร์เน็ต การที่ขบวนการนี้ไร้ “ตัวแทน” อย่างเป็นทางการทำให้พวกเขาถูกดูแคลนจากผู้สังเกตการณ์หลายรายว่า เป็นแค่ “วัยรุ่นไม่เอาถ่าน” หรือพวก “ซ้ายตกขอบ” ที่ชอบประท้วงเป็นงานอดิเรก แต่ไม่รู้ว่าจะประท้วงไปทำไม เป้าหมายสุดท้ายคืออะไร

    นักข่าวที่ไปถามผู้ประท้วงว่าออกมาทำไมก็ได้รับคำตอบที่แตกต่างกัน หลายคนบอกว่าแค้นคอร์รัปชันของรัฐบาล ความเหลื่อมล้ำระหว่างคนจนกับคนรวยที่ถ่างกว้างขึ้นเรื่อยๆ ในอเมริกา ภาวะเศรษฐกิจซบเซาที่คนกว่า 20 ล้านคนในอเมริกายังตกงาน ฯลฯ

    ในเมื่อมันเกิดจากบทสนทนาออนไลน์ OWS จึงเหมือนกับ “อินเทอร์เน็ต” มากกว่า “หนังสือ” - คือเป็น “บทสนทนา” ที่เบ่งบานและกระเพื่อมอย่างไร้จุดศูนย์กลาง ไม่มีขั้นตอนหรือจุดจบที่ชัดเจน ประเด็นที่น่าสนใจ คือ ผู้ประท้วงจำนวนมากมองว่าปัญหาเหล่านี้ล้วนเป็น “อาการ” ของปัญหาหลักเดียวกัน นั่นคือ การที่อุตสาหกรรมการเงินได้แผ่อิทธิพล “ครอบงำ” ภาคการเมือง บิดเบือนนโยบายรัฐให้เอื้อประโยชน์ต่อตัวเอง ที่แย่ที่สุดคือให้สังคม (ผู้เสียภาษี) แบกรับต้นทุนจากความฟุ้งเฟ้อและหลอกลวงที่ตนเป็นตัวการ รูปธรรมที่เด่นชัดที่สุด คือ “เงินอุ้ม” (bailout package) นับล้านล้านดอลลาร์ที่รัฐบาลอเมริกันทุ่มให้กับการพยุงภาคการเงิน ด้วยเหตุผลว่าถ้าไม่อุ้มขนาดประวัติการณ์ครั้งนี้ ภาคการเงินจะฉุดเศรษฐกิจทั้งระบบลงเหวไปด้วย

    ลำพังการเอาเงินภาษีไปอุ้มธนาคารก็ทำให้คนโกรธแล้ว แต่หลังจากนั้น สถาบันการเงินหลายแห่งยังจ่ายเงินโบนัสจำนวนมหาศาลให้กับผู้บริหารและนักการเงินหัวกะทิต่อไป โดยอ้างว่าต้องจ่ายเงินขนาดนี้เพื่อดึงดูดคนเก่งๆ ให้ทำงานต่อ บางแห่งแถมท้ายว่าในเมื่อปัญหาเกิดในภาคการเงิน ถ้าเราไม่จ่ายโบนัสดีๆ จะมีคนเก่งที่ไหนมาช่วยแก้ปัญหา

    ไมเคิล แซนเดล สรุปความโกรธแค้นของชาวอเมริกันต่อเงินอุ้มและโบนัสหลังการอุ้มในหนังสือเรื่อง “Justice” (ฉบับภาษาไทยชื่อ “ความยุติธรรม” ผู้เขียนเป็นผู้แปล) อย่างชัดเจนว่า

    “หัวใจของความแค้น...คือ ความรู้สึกว่าเกิดความอยุติธรรม ...โบนัสจากเงินอุ้มมาจากเงินภาษีของประชาชน ขณะที่โบนัสที่จ่ายในยุครุ่งโรจน์มาจากผลกำไรของบริษัทเอง ชาวอเมริกันต่อต้านเงินโบนัส-และการอุ้ม-ไม่ใช่เพราะมันให้รางวัลความโลภ แต่เพราะมันให้รางวัลความล้มเหลว …ตอนที่โอบามาประกาศเพดานค่าตอบแทนผู้บริหารสำหรับบริษัทที่ได้รับเงินอุ้ม เขาก็ระบุบ่อเกิดของความโกรธแค้นอย่างชัดเจนว่า นี่คือ อเมริกา เราไม่ดูหมิ่นความร่ำรวย เราไม่อิจฉาริษยาใครก็ตามที่ประสบความสำเร็จ และเราก็เชื่อจริงๆ ว่าทุกคนควรได้รางวัลจากความสำเร็จ แต่สิ่งที่ทำให้คนโมโห-ซึ่งก็สมควรโมโห-คือ ข้อเท็จจริงว่าผู้บริหารได้รางวัลจากความล้มเหลว โดยเฉพาะเมื่อรางวัลนั้นได้รับการอุดหนุนจากประชาชนผู้เสียภาษี”

    กระแสความแค้นเงินอุ้มและโบนัสนายธนาคาร ตลอดจนการเติบโตของขบวนการ OWS ซึ่งแม้จะไม่มีข้อเรียกร้องที่ชัดเจน ก็ทำท่าว่าจะไม่สิ้นสุดลงง่ายๆ โดยเฉพาะตราบใดที่ประชาชนยังรู้สึกว่าไม่ได้รับความเป็นธรรม และยังไม่มีผู้บริหารสถาบันการเงินรายใดถูกศาลตัดสินลงโทษ หรือออกมายอมรับผิดว่าหลอกลวงนักลงทุนให้ซื้อของห่วย และหลอกลวงผู้มีรายได้น้อยให้กู้เงินไปซื้อบ้าน ทั้งที่ไม่มีปัญญาจะจ่ายคืน

    ความโกรธแค้นของประชาชน “99%” ก่อให้เกิดคำถามว่า เป็นไปได้อย่างไรที่ภาคการเงินของอเมริกา ประเทศที่ระบบการเงินซับซ้อนและ “ก้าวหน้า” (ในแง่ของการประดิษฐ์คิดค้นผลิตภัณฑ์ทางการเงินต่างๆ) ที่สุดในโลก จะทำให้ตัวเองเสียหายจนแทบเอาตัวไม่รอด และทำให้ผู้บริสุทธิ์อีกหลายล้านคนพลอยเดือดร้อนตาม เหตุใดการเติบโตของธุรกิจการเงินถึงได้ดูจะฟุ้งเฟ้อและหลุดลอยออกจากระบบเศรษฐกิจจริงที่ผลิตสินค้าและบริการมากขึ้นเรื่อยๆ ทำไมนักการเงินและบริษัทจัดอันดับความน่าเชื่อถือจึงได้ประเมินความเสี่ยงผิดพลาด โดยเฉพาะหลักทรัพย์อ้างอิงสินเชื่อซับไพร์ม

    ในเมื่อภาคการเงินกระแสหลักซึ่งมีอเมริกาเป็นหัวหอกนำนั้นดูจะมีส่วนทำร้ายสังคมมากกว่าเกื้อหนุนสังคม เป็นไปได้หรือไม่ที่ภาคการเงินจะเปลี่ยนแปลงปรับปรุงตัวเอง หรือว่าวิถีปฏิบัติของธุรกิจนี้ที่เป็นอยู่นั้น “ดีที่สุด” เท่าที่สติปัญญาของมนุษย์จะคิดออกแล้ว ไม่มีทางปรับปรุงให้ดีกว่านี้ ทำได้เพียงหาวิธี “บรรเทา” ความเสียหายจากวิกฤติให้น้อยลงเท่านั้น

    จากมุมที่กว้างกว่า นักเศรษฐศาสตร์และนักการเงินจำนวนไม่น้อยกำลังถกเถียงกันว่า วิกฤติการเงินรอบล่าสุดนี้ชี้ให้เห็น “ความจำเป็น” แล้วหรือยังที่จะรื้อตำราการเงิน เพราะโลกจริงพิสูจน์ชัดแล้วว่าทฤษฎีเก่าใช้การไม่ได้ ตกลงภาคการเงินช่วยพัฒนาเศรษฐกิจจริง ตามก้นเศรษฐกิจจริง หรือฉุดรั้งเศรษฐกิจจริง เราจะทำให้มัน “เอื้อสังคม” ในทางที่สอดคล้องกับแนวคิด “การพัฒนาที่ยั่งยืน” กว่าที่แล้วมาได้อย่างไร มีตัวอย่างของสถาบันการเงินหรือบริการทางการเงินใดบ้างที่ทั้งเอื้อสังคมและประสบความสำเร็จทางการเงินไปพร้อมกัน

    ผู้เขียนขอชวนทุกท่านมาร่วมกันค้นหาคำตอบของคำถามเหล่านี้ จากมุมมองและความเคลื่อนไหวของผู้เล่นรายสำคัญๆ ในธุรกิจการเงินกระแสหลักและกระแสรอง ซึ่งเริ่มเป็นที่รู้จักในนาม “การลงทุนเพื่อสังคม” “ธนาคารที่ยั่งยืน” และ “ไมโครไฟแนนซ์” ในซีรีส์ “การเงินเอื้อสังคม” ตีพิมพ์ในหนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ และเผยแพร่บนเว็บไซต์ กรุงเทพธุรกิจออนไลน์ (www.bangkokbiznews,com) ไทยพับลิก้า (ThaiPublica) รายเดือน นับแต่นี้เป็นต้นไป

    ภาคการเงินกับเศรษฐกิจที่ยั่งยืน

    “การพัฒนาที่ยั่งยืน” (sustainable development) ในความหมายที่รับรู้กันทั่วไป คือ นิยามขององค์การสหประชาชาติ ในรายงาน Brundtland ปี 1987 หมายถึง “การพัฒนาที่ตอบสนองต่อความต้องการของปัจจุบัน โดยไม่ลิดรอนความสามารถของคนรุ่นหลังในการตอบสนองต่อความต้องการของพวกเขา”

    แนวคิดหลักสองประการที่ฝังอยู่ในนิยามนี้ คือ การให้ความสำคัญกับความต้องการของคนจน ซึ่งเป็นประชากรส่วนใหญ่ในโลก และการตระหนักใน “ขีดจำกัด” ของธรรมชาติในการตอบสนองต่อความต้องการของมนุษย์

    การพัฒนาที่ยั่งยืนเรียกร้องให้เรา “คิดยาว” กว่าเดิม เพราะต้องคำนึงถึงความต้องการของคนจนและคนรุ่นหลัง แต่ตลาดการเงินกระแสหลักยังเดินสวนทางกับแนวคิดนี้ เพราะที่ผ่านมา ดูจะโน้มนำให้ภาคธุรกิจและคนทั่วไป “คิดสั้น” มากกว่า “คิดยาว” - คำนึงถึงแนวโน้มผลกำไรไตรมาสหน้า หรือราคาหุ้นวันพรุ่งนี้ มากกว่าอนาคตที่อยู่ไกลกว่านั้น

    ฉะนั้นถ้าภาคการเงินจะหนุนเสริมเศรษฐกิจที่ยั่งยืน มันก็จะต้องเปลี่ยนแปลงในระดับกระบวนทัศน์ หรืออย่างน้อยก็วิธีคิด นักการเงินจำนวนมากขึ้นเรื่อยๆ กำลังครุ่นคิดถึงประเด็นนี้

    ปลายปี 2011 ลอร์ดชาร์แมน ประธานกรรมการบริษัท อาวีวา (Aviva) บริษัทประกันที่ใหญ่ที่สุดในอังกฤษ เสนอในงานที่จัดโดย Institute of Chartered Accountants (สถาบันนักบัญชีที่ได้รับอนุญาต) ว่า นักการเงินจะต้องเปลี่ยนแปลงตลาดทุนให้มันขับเคลื่อนเศรษฐกิจไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน ไม่ใช่ให้มันเป็นอุปสรรค เขาเสนอวิธี 3 วิธีที่จะสร้างการเปลี่ยนแปลง -

    1. จะต้องพัฒนาข้อเสนอว่าผู้เล่นและสถาบันสำคัญๆ ในภาคการเงินควรใช้โครงสร้างแรงจูงใจอย่างไร เพื่อให้มุ่งเน้นการสร้างผลงานระยะยาว ไม่ใช่ประเมินแค่ระยะสั้น เพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมให้หนุนเสริมการพัฒนาที่ยั่งยืน

    2. บริษัทต่างๆ จะต้องเปิดเผยข้อมูลมากขึ้น หน่วยงานผู้กำกับดูแลตลาดหลักทรัพย์ต่างๆ จะต้องกำหนดให้บริษัทเปิดเผยข้อมูลว่า โมเดลธุรกิจของพวกเขารับผิดชอบและยั่งยืนอย่างไร นอกจากนี้ จะต้องเปลี่ยนกฎเกณฑ์ ให้กลยุทธ์ความยั่งยืนของบริษัทเป็นหนึ่งในประเด็นที่ผู้ถือหุ้นโหวตเห็นชอบหรือไม่เห็นชอบ ในการประชุมผู้ถือหุ้นประจำปี

    3. สถาบันต่างๆ จะต้องอบรมผู้เล่นในตลาดทุนและตลาดเงินให้ดีกว่าเดิม ให้เข้าใจว่าประเด็นความยั่งยืนต่างๆ นั้นมีมูลค่าที่วัดได้อย่างไรแค่ไหน และจะรวมมันเข้าไปอยู่ในกรอบการประเมินมูลค่าต่างๆ ในตลาด (เช่น มูลค่าหุ้น) ได้อย่างไร และ Chartered Financial Analyst Institute (สถาบันรับรองคุณวุฒิของนักวิเคราะห์ทางการเงินที่ได้รับการยอมรับที่สุดในโลก) ก็จะต้องรวมประเด็นเหล่านี้เข้าไปในข้อสอบสำหรับนักวิเคราะห์ด้วย
    http://www.bangkokbiznews.com/home/...y-Wall-Street-:-หมดยุคการเงินไม่ยั่งยืน-.html
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 26 มกราคม 2012
  16. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    ถอดเศรษฐศาสตร์'ไอโฟน' อีกมุมที่ต้องมอง

    โดย : กรุงเทพธุรกิจออนไลน์

    วันที่ 26 มกราคม 2555 06:24


    [​IMG]


    ไม่มีใครปฏิเสธว่า"แอปเปิล"เป็นยักษ์ไอทีผู้เปลี่ยนแปลงโลกไม่ใช่แค่ "ผลิตภัณฑ์" หากแต่รวมถึง "ภูมิทัศน์ธุรกิจ" ที่ไม่มีวันเหมือนเดิมอีกต่อไป


    รายงานผลประกอบการไตรมาสล่าสุดของ "แอปเปิล" สร้างความประหลาดใจ ด้วยตัวเลขผลกำไรสูงสุดเป็นประวัติการณ์ โดยมีรายได้ในไตรมาสแรกปี 2555 ซึ่งสิ้นสุด ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2554 อยู่ที่ 4.6 หมื่นล้านดอลลาร์ เพิ่มขึ้นจากระดับ 2.6 หมื่นล้านดอลลาร์ในไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ขณะที่กำไรสุทธิอยู่ที่ 1.3 หมื่นล้านดอลลาร์ เพิ่มขึ้น 118% จากช่วงเดียวกันของปี 2553
    ตัวเลขดังกล่าว มาจากยอดขายไอโฟนที่ทำสถิติสูงสุด 37 ล้านเครื่อง เพิ่มขึ้น 128% จากปีก่อนหน้า ส่วนยอดขายไอแพด 15.4 ล้านเครื่อง เพิ่มขึ้น 111% ทว่าเบื้องหลังความสำเร็จดังกล่าวมีเรื่องราวที่สะท้อนความเปลี่ยนแปลงในระบบเศรษฐกิจโลก โดยเฉพาะภูมิทัศน์ทางธุรกิจในสหรัฐและเอเชียที่เปลี่ยนไปจากเดิม
    "นิวยอร์ก ไทม์" ถอดเศรษฐศาสตร์ไอโฟน เพื่ออธิบายว่า ทำไมแบรนด์อเมริกัน ที่ประสบความสำเร็จสูงสุดเช่นนี้ จึงไม่สามารถผลักดันเศรษฐกิจของสหรัฐผ่านการจ้างงานมหาศาล เหมือนที่บริษัทอเมริกันยักษ์ใหญ่อย่าง "เจนเนอรัล มอเตอร์ส" (จีเอ็ม) และ "เจนเนอรัล อิเล็กทริก" (จีอี) เคยช่วยประคับประคองเศรษฐกิจสหรัฐด้วยวิธีนี้มาแล้ว
    ประธานาธิบดีบารัก โอบามา เคยถามเรื่องนี้ต่อหน้า "สตีฟ จ็อบส์" ผู้บริหารคนเก่งของแอปเปิลที่ล่วงลับไปแล้ว เมื่อครั้งที่ประธานาธิบดีโอบามา ร่วมวงรับประทานมื้อค่ำ กับบรรดาผู้บริหารของซิลิคอน วัลเลย์ ในเดือนกุมภาพันธ์ปีที่แล้ว ประธานาธิบดีโอบามาอยากรู้ว่า ทำไมงานผลิตของแอปเปิลถึงไม่กลับมาจ้างชาวอเมริกัน ขณะที่จ็อบส์ตอบว่า งานเหล่านั้นจะไม่กลับมาอีกแล้ว
    เหตุผลลึกๆ ที่จ็อบส์ไม่ได้พูดออกมา แต่นิวยอร์ก ไทม์ส วิเคราะห์จากข้อมูลต่างๆ จนพบว่า คำตอบของความสำเร็จไม่ได้อยู่ที่ค่าแรงราคาถูกที่แอปเปิลใช้บริการจากบริษัทจีนเท่านั้น แต่โรงงานนอกบ้านเหล่านี้ ยังมีความยืดหยุ่น แรงงานมีความขยันอดทน และมีทักษะด้านอุตสาหกรรมขั้นเทพ ในแบบที่บริษัทอเมริกัน "เมด อิน ยูเอสเอ" ไม่อาจเทียบได้
    ปัจจุบัน แอปเปิล จ้างงาน 43,000 ตำแหน่งในสหรัฐ และ 20,000 ตำแหน่งในต่างประเทศ ขณะที่ส่วนใหญ่ ใช้วิธีจ้างผ่านบริษัทผู้รับเหมา ทั้งในส่วนงานวิศวกร ฝ่ายผลิตและประกอบชิ้นส่วนผลิตภัณฑ์ รวมเป็นจำนวน 700,000 คน กระจายอยู่ในเอเชียและยุโรป
    อดีตผู้บริหารของแอปเปิลให้เหตุผลว่า การใช้บริการโรงงานผลิตของจีน เป็นเพราะตอบสนองสิ่งที่บริษัทต้องการได้รวดเร็ว อย่างกรณีที่แอปเปิลปรับดีไซน์หน้าจอไอโฟนรุ่นใหม่ก่อนกำหนดวางขายไม่นาน จึงจำเป็นต้องยกเครื่องไลน์ประกอบชิ้นส่วนใหม่ และหน้าจอต้องพร้อมเสิร์ฟให้โรงงานภายในชั่วข้ามคืน
    คนคุมงานต้องปลุกพนักงาน 8,000 คน ที่อยู่ในหอพักให้ลุกขึ้นมาทำงานแข่งกับเวลา หลังจากแจกอาหารรองท้อง และแนะนำการทำงานตามดีไซน์ใหม่ ที่ใช้เวลาชั่วโมงครึ่ง แรงงานเหล่านี้จะเร่งทำงานตลอดกะ 12 ชั่วโมง เพื่อทำให้หน้าจอ มีเหลี่ยมมุมตามต้องการ และภายใน 96 ชั่วโมง โรงงานสามารถผลิตไอโฟนรุ่นใหม่ได้กว่า 10,000 เครื่องต่อวัน ซึ่งความรวดเร็วและยืดหยุ่นของแรงงาน เป็นเรื่องน่าทึ่ง ไม่มีโรงงานอเมริกันทำได้ตามความต้องการของแอปเปิล
    อีกกรณี ที่สะท้อนความเปลี่ยนแปลงข้างต้น คือ ช่วงก่อนที่จะคลอดไอโฟน แอปเปิล ต้องหาบทสรุปของมือถือแบบใหม่ที่ปรับโฉมไปจากเดิม ดีไซน์ที่มาพร้อมคุณภาพ รวมถึงรับประกันว่าจะผลิตสินค้าใหม่จำนวนหลายล้านเครื่องได้อย่างรวดเร็วและไม่แพงเกินที่จะสร้างกำไรเป็นกอบเป็นกำให้บริษัท
    น่าสนใจว่า คำตอบของเรื่องเหล่านี้ กลับอยู่นอกสหรัฐ เพราะชิ้นส่วน 90% ที่ประกอบเป็นไอโฟน มาจากหลากหลายแหล่งทั่วโลก ทั้งเซมิคอนดักเตอร์จากเยอรมนีและไต้หวัน หน่วยความจำจากเกาหลีและญี่ปุ่น หน้าจอและแผงไฟฟ้า จากเกาหลีและไต้หวัน ชิปจากยุโรป แร่หายากจากแอฟริกาและเอเชีย แต่ทั้งหมดนี้ มารวมอยู่ที่เดียว คือ "จีน"
    สิ่งที่ทำให้จีน รวมถึงเอเชีย มีความน่าสนใจ เนื่องจากแรงงานกึ่งมีทักษะเหล่านี้มีราคาถูก แต่นั่นไม่ใช่เสน่ห์อย่างเดียวที่ดึงดูดแอปเปิลและบริษัทเทคโนโลยีอื่นๆ เพราะต้นทุนแรงงานมีสัดส่วนน้อยมาก เมื่อเทียบกับรายจ่ายในการซื้อชิ้นส่วนและบริหารห่วงโซ่อุปทานที่มาจากบริษัทนับร้อยแห่ง
    ปัจจัยที่ทำให้ใครๆ พุ่งความสนใจมาที่เอเชีย มาจาก 2 เหตุผลหลัก นั่นคือ โรงงานในเอเชีย มีความยืดหยุ่นในการผลิตมากกว่า และเอเชียยังมีห่วงโซ่อุปทานหลากหลายกว่าในสหรัฐ ซึ่งทำให้ใครๆแข่งขันได้ยาก
    ยกตัวอย่าง การใช้หน้าจอทัชสกรีนแบบกระจก ซึ่งแบรนด์มือถือเดิมๆ หลีกเลี่ยงมาตลอด เพราะต้องใช้ทักษะในการตัดและเจียระไนเหลี่ยมมุมที่ค่อนข้างยาก แม้แต่บริษัทอเมริกันเก่าแก่ที่มากประสบการณ์ ก็ยังไม่อาจรับมือกับปริมาณการผลิตมหาศาล ทว่าโรงงานในจีนเอาอยู่ เพราะใช้วิธีสร้างหอพักในเขตโรงงาน ทำให้พนักงานพร้อมตลอด 24 ชั่วโมง ยังไม่นับรวมแรงหนุนจากทางการปักกิ่ง
    ขณะที่ ห่วงโซ่อุปทานทั้งหมดอยู่ในจีน เพราะชิ้นส่วนทุกอย่างผลิตอยู่ในโรงงานที่ตั้งอยู่ใกล้เคียงกันหมด โดยขนส่งชิ้นส่วนไปประกอบที่ "ฟ็อกซ์คอนน์ ซิตี้" ซึ่งมีความพร้อมในการผลิต ทั้งพนักงาน 230,000 คน ที่ทำงาน 12 ชั่วโมง เป็นเวลา 6 วันต่อสัปดาห์ และพนักงานจำนวนมากได้ค่าแรงไม่ถึง 17 ดอลลาร์ต่อวัน
    พนักงานมากกว่า 1 ใน 4 ของทั้งหมดพักในบริษัท โดยครัวกลางจัดเตรียมอาหารในแต่ละวันที่ใช้ปริมาณเนื้อหมูมากถึง 3 ตัน และข้าว 13 ตัน แต่พื้นที่ในโรงงานยังอับและเต็มไปด้วยควันบุหรี่
    บริษัทฟ็อกซ์คอนน์ เทคโนโลยี มีโรงงานผลิตในเอเชีย ยุโรปตะวันออก เม็กซิโก และบราซิล ว่ากันว่า การประกอบชิ้นส่วนของบริษัทแห่งนี้ มีสัดส่วน 40% ของจำนวนสินค้าคอนซูเมอร์อิเล็กทรอนิกส์ทั้งหมด ซึ่งลูกค้ารายใหญ่ๆ ได้แก่ อะเมซอน เดลล์ ฮิวเลตต์-แพคการ์ด โมโตโรลา นินเทนโด โนเกีย ซัมซุง และโซนี่
    "เจนนิเฟอร์ ริโกนี" ที่เคยทำงานให้แอปเปิล กล่าวว่า บริษัทจีน สามารถจ้างพนักงาน 3,000 คน ได้ภายในชั่วข้ามคืน ขณะที่มีคำถามว่า โรงงานอเมริกันสามารถหาคนงานจำนวนเท่านี้ได้ภายในข้ามคืน และสร้างความเชื่อมั่นให้คนเหล่านี้ยอมอยู่ในหอพักที่จัดไว้ให้ได้หรือไม่
    อีกเรื่องหนึ่ง ที่จีนได้เปรียบสหรัฐ คือ จีนสามารถจัดสรรวิศวกรจำนวนมาก ในขณะที่สหรัฐ ไม่อาจทำได้ ยกตัวอย่างวิศวกรภาคอุตสาหกรรมที่ทำงานให้แอปเปิล 8,700 คน เพื่อตรวจสอบและแนะนำพนักงานประกอบชิ้นส่วนไอโฟน ที่มีจำนวน 200,000 คน หากเป็นการผลิตในสหรัฐ อาจต้องใช้เวลาจัดหาบุคลากรนานถึง 9 เดือน แต่ในจีนใช้เวลาเพียง 15 วัน
    นี่เป็นปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นในบริษัทอิเล็กทรอนิกส์อื่นๆด้วย และการจ้างผลิตในต่างประเทศ หรือเอาต์ซอร์ซ ก็กลายเป็นเรื่องธรรมดาในหลากหลายอุตสาหกรรม ทั้งบริการด้านบัญชี กฎหมาย ธนาคาร ภาคการผลิตรถยนต์ และอุตสาหกรรมยา
    มีคำถามตามมาว่า เกิดอะไรขึ้นกับแรงงานอเมริกัน ซึ่งมีระดับการศึกษาค่อนข้างสูงเมื่อเทียบกับชาติอื่นๆ แต่กลับมีจุดอ่อนอยู่ที่การพัฒนากลุ่มแรงงานทักษะระดับกลางให้สอดคล้องกับความต้องการของโรงงาน ทำให้บริษัทต่างๆ ต้องย้ายการผลิตไปในพื้นที่อื่นที่สร้างผลกำไรได้มากพอสำหรับนวัตกรรมที่คิดค้นขึ้น ไม่อย่างนั้นบริษัทอาจเพลี่ยงพล้ำต่อคู่แข่งรายใหม่ๆ
    "มาร์ติน ชมิดท์" อาจารย์จากเอ็มไอที มองว่า บริษัทอย่างแอปเปิล สะท้อนถึงความท้าทายที่มีต่อโรงงานสหรัฐในการจัดหาแรงงานที่เชี่ยวชาญด้านเทคนิค ซึ่งอาจไม่จำเป็นต้องจบมหาวิทยาลัย แต่สหรัฐก็ไม่มีบุคลากรมากพอ
    ยังไม่นับรวมต้นทุน หากผลิตไอโฟนในสหรัฐ ซึ่งนักวิเคราะห์หลายรายประเมินว่า ค่าแรงคนงานอเมริกันจะเพิ่มต้นทุนให้ไอโฟนอีก 65 ดอลลาร์ต่อเครื่อง นั่นหมายถึง ผลกำไรที่ย่อมลดลง แต่นี่ไม่สำคัญเท่ากับทักษะของแรงงานสหรัฐที่ยังไม่รวดเร็วและยืดหยุ่นมากพอ
    ประกอบกับระบบเศรษฐกิจสหรัฐที่เปลี่ยนแปลงไป ทำให้แรงงานระดับกลางหายไป โดยเฉพาะในกลุ่มที่ไม่มีดีกรีระดับวิทยาลัย ซึ่งทำให้ชนชั้นกลางมีโอกาสเข้าถึงงานได้น้อยลง
    http://www.bangkokbiznews.com/home/...150/ถอดเศรษฐศาสตร์ไอโฟน-อีกมุมที่ต้องมอง.html
     
  17. Willam

    Willam สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 มิถุนายน 2011
    โพสต์:
    624
    ค่าพลัง:
    +18
    เงินเฟ้อมัน ขึ้นๆ ลงๆ แทบทุกๆ 3 ปี ละ เหลือแต่จีนที่ยังอยู่ได้
     
  18. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    “สมิทธ” แฉ กยน.ไร้แผนป้องกันน้ำท่วม แต่รัฐประเคนงบ 3.5 แสนล้านให้
    โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 26 มกราคม 2555 15:20 น.

    “สมิทธ” แฉรัฐบาลประเคนงบ 3.5 แสนล้านบาทให้ กยน.ป้องกันน้ำท่วม ทั้งที่ไม่มีแผนงานเป็นรูปธรรม ระบุ ในการประชุมมีแต่นักการเมืองพูดไม่ฟังนักวิชาการ ทำ “ดร.สุเมธ” ไม่ร่วมด้วย เตือนแค่ขุดลอกคู คลอง ป้องกันน้ำท่วมไม่ได้ แนะชาวบ้านรับมือเจออุทกภัยหนักอีกแน่ปีนี้

    นายสมิทธ ธรรมสโรช คณะกรรมการยุทธศาสตร์เพื่อวางระบบการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ(กยน.) กล่าวบรรยายพิเศษหัวข้อ “ภัยพิบัติธรรมชาติและสถานการณ์ภัยพิบัติของโลกในอนาคต” ในงานเสวนา ถอดบทเรียนเหตุการณ์มหาอุทกภัย สานพลังเครือข่าย รับภัยพิบัติ 2555 จัดโดยสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ (สพฉ.) ว่า ขณะนี้ที่ประเทศเม็กซิโกกำลังเคาท์ดาวน์วันที่สิ้นสุดของโลกในวันที่ 21 ธ.ค.2555 เพราะเชื่อว่าว่าโลกจะต้องล่มสลาย โดยตนก็มีข้อมูลด้วยเช่นกัน อีกทั้งทางโหราศาสตร์ก็มีการทำนายด้วย

    ซึ่งในประเทศไทย ที่มีการตั้งคณะกรรมการยุทธศาสตร์เพื่อวางระบบการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ (กยน.) ที่ตนเป็นกรรมการอยู่ด้วย มีการประชุม 5 ครั้ง ก่อนที่จะมีการแถลงออกมาเป็นแผนแม่บท แต่ตนเข้าร่วมประชุมเพียง 3 ครั้ง และลากิจ 2 ครั้ง เนื่องจากเห็นว่าไม่มีนักวิชาการอย่างเช่น ดร.สุเมธ ตันติเวชกุล เข้าร่วมเพราะมีเหตุผลส่วนตัว ซึ่งตนเห็นว่างานที่รัฐบาลเสนอไม่เป็นรูปธรรม และการอนุมัติงบประมาณ 350,000 ล้านบาท ที่อนุมัติเพียงไม่กี่วินาที โดยไม่มีข้อเสนอของนักวิชาการที่เป็นรูปธรรมอยู่ในแผนงานนั้นด้วย

    “การแถลงของนายกรัฐมนตรีก่อนหน้านี้ ผมก็ไม่เห็นแผนงานที่เป็นรูปธรรม ไม่ว่าจะเป็นการทำฟลัดเวย์ว่าจะเป็นจุดใด ที่ไหน ทางน้ำผ่านทางไหน ไปทางฝั่งตะวันออก ตะวันตก ผ่าน กทม.หรือไม่ หรือไปยังแม่น้ำบางปะกง ก็ยังไม่เห็นแผน ไม่ทราบเหตุใดที่รัฐบาลอนุมัติงบประมาณ 350,000 ล้านบาท ซึ่งนักลงทุนจากต่างประเทศก็สอบถามผมเรื่องแผนงานของรัฐบาล”

    นายสมิทธ กล่าวว่า เมื่อวานนี้ หัวหน้าฝ่ายของธนาคารโลก หรือเวิลด์แบงก์ ก็ขอเข้าพบตน/ เพื่อสอบถามแผนงานของรัฐบาล เพราะมีความสนใจ ซึ่งได้ชี้แจงไปว่าไม่ทราบแผนงานนี้เลย แต่เห็นว่าในอนาคตจะต้องประสบภัยน้ำท่วมอีกอย่างแน่นอน และอาจจะมีน้ำมากเหมือนปี 2554 เนื่องจากปรากฏการณ์ลานีญา และในปี 2555 เดือนพฤษภาคมจะมีฝนตกไม่น้อยกว่าปี 2554 แต่รัฐบาลยังไม่มีแผนงานที่จะระบายน้ำออกไปยังแม่น้ำท่าจีน หรือแม่น้ำบางปะกง แต่รัฐบาลมีเงินที่อนุมัติเพียง 3-4 นาที ที่จะทำแล้ว

    นายสมิทธ กล่าวถึงการจัดเก็บน้ำในเขื่อนว่า ตนไม่ทราบว่ามีการเก็บน้ำทำไมตั้งแต่ต้นฤดู ซึ่งการปล่อยน้ำเมื่อปี 2554 นั้นไม่มีการบูรณาการร่วมมือกันในการปล่อยน้ำออกจาก 3 เขื่อนใหญ่ โดยมีการปล่อยน้ำรวมกันวันละเกิน 100 ล้าน ลบ.ม.แต่ปล่อยลงทะเลไม่ถึง 100 ล้านลบ.ม.และที่มีการกล่าวว่าจะเอาอยู่นั้นก็กลายเป็นเอาไม่อยู่จนทำให้น้ำท่วม ซึ่งการบูรณาการระหว่างหน่วยงานของประเทศไทยยังไม่สามารถใช้การได้ เพราะไม่มีการนำข้อมูลการบริหารจัดการน้ำของกรมอุตุนิยมวิทยาที่คาดการณ์ไว้มาศึกษาล่วงหน้าว่าเขื่อนต่างๆ จะปล่อยน้ำแค่ไหน ซึ่งประเทศไทยมีหน่วยงานบริหารน้ำกว่า 20 หน่วยงาน มากที่สุดในโลก แต่แยกกระทรวงและไม่เคยมีการประชุมติดต่อกันว่าจะบริหารน้ำอย่างไร แต่ต่างคนต่างปล่อย จนน้ำท่วม ซึ่งเป็นปัญหาหนึ่งหากไม่มีการแก้ไขตั้งแต่วันนี้ก็จะประสบปัญหานี้อีก

    นายสมิทธ ให้สัมภาษณ์ว่า การที่รัฐบาลอนุมัติงบประมาณให้ กยน.ดำเนินการฟื้นฟูและแก้ไขปัญหาน้ำท่วมกว่า 350,000 ล้านบาทที่ยังขาดความเป็นรูปธรรมนั้น ก็ต้องยอมรับความจริง ซึ่งตนทราบแต่เพียงว่ามีการอนุมัติงบประมาณเท่านั้น แต่ยังไม่ทราบรายละเอียดของแผนงานว่าจะมีการทำฟลัดเวย์ตรงไหน รวมทั้งจะผันน้ำไปทางทิศตะวันตก หรือตะวันออกของกทม.หรือจะผ่านกทม.ลงสู่ทะเลทางไหนบ้าง เพราะไม่ได้เข้าร่วมประชุม 2 ครั้งสุดท้าย ซึ่งขณะนี้ใกล้จะถึงฤดูฝนแล้ว

    นายสมิทธ กล่าวว่า วิธีการแก้ไขก็ต้องสอบถามจาก นายปีติพงษ์ พึ่งบุญ ณ อยุธยา ประธานคณะอนุกรรมการด้านการวางแผนและกำหนดมาตรการแก้ปัญหาระยะสั้น และ นายกิจจา ผลภาษี ประธานคณะอนุกรรมการวางระบบบริหารจัดการน้ำอย่างยั่งยืน รวมทั้งรัฐบาลว่าจะมีแผนที่เป็นรูปธรรมอย่างไรบ้าง ขณะที่ต่างประเทศก็ให้ความสนใจกับเรื่องนี้ โดยมีการสอบถามต่อเนื่องว่ายอดเงินที่มีการอนุมัติแล้วนั้นจะทำอะไรบ้าง รวมถึงจะทำฟลัดเวย์ตรงไหน จะให้ทิศทางน้ำไหลไปทางไหน เพราะอยากทราบถึงความเป็นรูปธรรม

    ผู้สื่อข่าวถามว่า นายปีติพงษ์ ระบุว่าระยะเร่งด่วนต้องขุดลอกคูคลอง ซ่อมคันกั้นน้ำที่เสียหายก่อน นายสมิทธ กล่าวว่า ทำแค่นั้นไม่พอ ถ้าน้ำเหมือนปี 2554 ก็จะท่วมอีก ต้องทำมากกว่านั้น ปริมาณน้ำที่จะไหลผ่าน กทม. จะผ่านหรือผันไปตรงไหน ซึ่งหากทำเพียงขุดลอกคูคลอง เชื่อว่าจะไม่สามารถแก้ไขปัญหาน้ำท่วมพื้นที่ กทม.และปริมณฑลได้ ซึ่งตนก็คิดว่าการดำเนินการจะไม่ทันในฤดูฝนที่กำลังจะมาถึงในปีนี้

    ส่วนที่ประชุม ครม.มีการวิพากษ์วิจารณ์การแก้ไขปัญหาน้ำท่วมว่า กทม.ไม่ได้ทำนั้น นายสมิทธิ กล่าวว่า ต้องสอบถามจากนักการเมือง ตนเป็นนักวิชาการ และเห็นว่าการบูรณาการก็ต้องให้นักการเมืองพูดคุยกัน ส่วนการที่นายกรัฐมนตรีระบุจะต้องมีการขุดลอกคูคลองให้เสร็จภายใน 1-2 เดือนนั้น ตนก็ยังไม่เห็นมีการขุดลอกคูคลอง หรือซ่อมประตูระบายน้ำที่ไหน และการที่กทม.ระบุว่าได้ดำเนินการแล้วนั้นก็ต้องนำมาให้ชี้แจงหรือเสนอให้ประชาชนได้เห็นด้วยว่าขุดลอกคูคลองที่ไหน มีความลึกเท่าไหร่ มีการเก็บผักตบชวา หรือสวะหมดแล้วหรือยัง รวมทั้งบ้านของประชาชนที่ล้ำเขตลงไปอยู่ในคลอง มีการเคลื่อนย้ายหรือขยายคลองให้กว้างขึ้นหรือไม่

    นายสมิทธ ปฏิเสธที่จะแสดงความเห็นว่าการขุดลอกคูคลองภายใน กทม.จะทันในเดือนพฤษภาคมนี้หรือไม่ แต่กล่าวว่าตนได้ติรัฐบาลหลายครั้งแล้ว ทำให้มีการกล่าวหาว่าตนเป็นนักวิชาการที่พูดมาก ติรัฐบาลตลอดเวลา ตนไม่อยากเป็นตัวถ่วง และไม่ทราบว่ารัฐบาลจะทำได้สำเร็จหรือไม่

    “ในที่ประชุม กยน.มีการเสนอแนวทางการฟื้นฟูว่าควรทำอะไรบ้าง แต่นักการเมืองไม่ค่อยเชื่อนักวิชาการ มีการเสนอหลายเรื่อง ข้อมูลผมก็ได้ทำร่วมกับนายปราโมทย์ ไม้กลัด ที่สามารถเปิดเผยได้ โดยกรมอุตุนิยมวิทยาก็คำนวนล่วงหน้าได้หลายเดือนตามที่ต้องการ แต่ว่าคำนวนไปก็ไม่มีประโยชน์ เพราะไม่มีหน่วยงานที่จะเอาไปใช้” นายสมิทธ กล่าว

    ผู้สื่อข่าวถามว่า หากมีการเสนอข้อมูลในกยน.แล้วไม่มีการรับฟัง มีแนวคิดที่จะลาออกหรือไม่ นายสมิทธ กล่าวว่า ตนไม่ได้เข้าร่วมประชุม 2 ครั้ง รวมทั้ง นายสุเมธ ตันติเวชกุล ก็ขาดการประชุม ที่ไม่เข้าร่วมประชุมเพราะพูดไม่ทันนักการเมือง ขณะที่เห็นว่าฝ่ายการเมืองจะรับฟังเพียงอย่างเดียวไม่ได้ ต้องรับไปปฏิบัติด้วยและต้องมีการบูรณาการหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการบริหารน้ำ 20 หน่วยงาน ซึ่งในปี 2555 เชื่อว่า น้ำจะมากกว่าปี 2554

    นายสมิทธ กล่าวว่า ต้องมีการเตือนประชาชนล่วงหน้าหลายวันด้วยเพื่อให้มีการอพยพ ซึ่งการทำแผนงานจัดระบบข้อมูลและระบบการเตือนภัย ที่กยน.มอบหมายให้กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ดำเนินการให้แล้วเสร็จในเดือนมีนาคมนี้นั้น ก็มีการประชุมเพียงหนึ่งครั้งเท่านั้น

    http://manager.co.th/Politics/ViewNews.aspx?NewsID=9550000011832
     
  19. obs2553

    obs2553 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 มกราคม 2011
    โพสต์:
    1,289
    ค่าพลัง:
    +176
    อาการน่าเป็นห่วงจริงๆ ด้วยค่ะ
    จะหมดเดือนมกราคมอยู่แล้ว ยังไม่เห็นมีแผนงานที่ชัดเจนให้ประชาชนได้รับรู้กันบ้างเลย อีกไม่กี่เดือนก็จะเข้าหน้าฝนอยู่แล้ว บางพวกที่พึ่งซ่อมแซมบ้านช่องกันไปก็คงเสียวสันหลังกันวาบๆ

    วันสองวันมานี่ กทม.ก็ครึ้มฟ้าครึ้มฝนอยู่ด้วย
     
  20. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    เช้านี้พายุฝนฟ้าคะนองถล่ม กทม.แต่เช้า ส่งลูกขึ้นรถ รร.นึกว่า ตีห้า มืดตึ๊ดตื๋อ!!!

    พวกเราก็ได้แต่ช่วยเหลือตัวเองไปตามสภาพ อะค่ะ คุณอ๊อบส์
    เห็นใจ อ.สมิทธ ที่กล้าเสี่ยงตายออกมาพูดแบบนี้ แต่อ.เขาเจ็บมาเยอะ
    โดนด่ามาเยอะ ก็คงไม่กลัวหน้าไหนแล้ว อย่างแถวบ้านก็มีคลองที่ออกทะเลบางขุนเทียนอยู่
    เห็นพ่อบอกว่ารัฐฯมีแผนจะขุดลอกคลองและจัดการพวกที่ลุกล้ำคูคลอง
    พูดตั้งกะตอนน้ำท่วมจนน้ำลดไปหมดแล้ว ก็เป็นได้แค่คำพูด ว่าจะทำอย่างงั้นอย่างงี้
    ถ้าปีนี้พายุเข้าเร็วกว่าปกติ ก็คงโทษดินฟ้าอากาศโทษเทวดากันไป
    ไม่เคยโทษว่าตัวเองไร้ความสามารถจัดการบริหารความเสี่ยงไม่เป็น
    ไม่รู้จักใช้คนให้ถูกกับงาน ไม่รู้จักว่ามีความสามารถทำอะไรเรื่องไหนทำแล้วมีแววสำเร็จ
    หรือมีแววเละเป็นโจ๊ก พวกนิคมฯที่เขารู้ตัวว่าอนาคตจะเจออะไร เขาก็หนีไปอยู่แถวสระบุรี
    โคราช กันไป ไอ่เราจะถอนเสาเรือนหนีไปไหนได้ ก็ได้แค่ระวังให้เจ็บน้อยที่สุด อะ

    ชีวิตช่วงนี้มันเศร้า เนอะ บางอย่างเห็นแล้วฟามดัน(ทุลัง) มันฮึดขึ้นมาซะงั้น
    จริงๆไม่อยากคุยเรื่องการเมืองในเว็บเลยนะ (ยกเว้นเรื่องที่มันอดไม่ได้จริงๆ)

    อย่างเช่น Don't cry for me Agentina. เฮือๆๆๆ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 27 มกราคม 2012

แชร์หน้านี้

Loading...