นิพพานเป็นความว่างเปล่า

ในห้อง 'พุทธภูมิ - พระโพธิสัตว์' ตั้งกระทู้โดย HONGTAY, 15 เมษายน 2007.

  1. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,877
    พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒๒
    ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส
    โมฆราชมาณวกปัญหานิทเทส
    ว่าด้วยปัญหาของท่านโมฆราช



    "บุคคลย่อมพิจารณาเห็นโลกโดยความเป็นของสูญ ด้วยสามารถการพิจารณาเห็นสังขารโดยความเป็นของว่างเปล่า อย่างไร?


    ใครๆ ย่อมไม่ได้แก่นสารในรูป ในเวทนา ในสัญญา
    ในสังขาร ในวิญญาณ.


    รูปไม่มีแก่นสาร ไร้แก่นสาร ปราศจากแก่นสาร โดยสาระว่าความเที่ยงเป็นแก่นสาร โดยสาระว่าความสุขเป็นแก่นสาร โดยสาระว่าตนเป็นแก่นสาร โดยความเที่ยง โดยความยั่งยืน โดยความมั่นคง หรือโดยมีความไม่แปรปรวนเป็นธรรมดา.


    เวทนาไม่มีแก่นสารไร้แก่นสาร ปราศจากแก่นสาร

    สัญญาไม่มีแก่นสาร ไร้แก่นสาร ปราศจากแก่นสาร

    สังขารไม่มีแก่นสาร ไร้แก่นสาร ปราศจากแก่นสาร

    วิญญาณไม่มีแก่นสาร ไร้แก่นสาร ปราศจากแก่นสาร โดยสาระว่าความเที่ยงเป็นแก่นสาร โดยสาระว่าความสุขเป็นแก่นสาร โดยสาระว่าตนเป็นแก่นสาร โดยความเที่ยง โดยความยั่งยืน โดยความมั่นคง หรือโดยมีความไม่แปรปรวน
    เป็นธรรมดา. ต้นอ้อไม่มีแก่นสาร ไร้แก่นสาร ปราศจากแก่นสาร



    อนึ่ง ต้นละหุ่งไม่มีแก่นสารไร้แก่นสาร ปราศจากแก่นสาร อนึ่ง ต้นมะเดื่อไม่มีแก่นสาร ไร้แก่นสาร ปราศจากแก่นสาร
    อนึ่ง ต้นรักไม่มีแก่นสาร ไร้แก่นสาร ปราศจากแก่นสาร อนึ่ง ต้นทองหลางไม่มีแก่นสารไร้แก่นสาร ปราศจากแก่นสาร
    อนึ่ง ฟองน้ำไม่มีแก่นสาร ไร้แก่นสาร ปราศจากแก่นสาร
    อนึ่ง ต่อมน้ำไม่มีแก่นสาร ไร้แก่นสาร ปราศจากแก่นสาร อนึ่ง ต้นกล้วยไม่มีแก่นสารไร้แก่นสาร ปราศจากแก่นสาร อนึ่ง พยับแดดไม่มีแก่นสาร ไร้แก่นสาร ปราศจากแก่นสาร
    ฉันใด รูปไม่มีแก่นสาร ไร้แก่นสาร ปราศจากแก่นสาร โดยสาระว่าความเที่ยงเป็นแก่นสารโดยสาระว่าความสุขเป็นแก่นสาร โดยสาระว่าตนเป็นแก่นสาร โดยความเที่ยง โดยความยั่งยืนโดยความมั่นคง หรือโดยมีความไม่แปรปรวนเป็นธรรมดา เวทนาไม่มีแก่นสาร ไร้แก่นสารปราศจากแก่นสาร สัญญาไม่มีแก่นสาร ไร้แก่นสาร ปราศจากแก่นสาร สังขารไม่มีแก่นสารไร้แก่นสาร ปราศจากแก่นสาร วิญญาณไม่มีแก่นสาร ไร้แก่นสาร ปราศจากแก่นสาร โดย
    สาระว่า ความเที่ยงเป็นแก่นสาร โดยสาระว่าความสุขเป็นแก่นสาร โดยสาระว่าตนเป็นแก่นสารโดยความเที่ยง โดยความยั่งยืน โดยความมั่นคง หรือโดยมีความไม่แปรปรวนเป็นธรรมดาฉันนั้นเหมือนกัน.


    บุคคลย่อมพิจารณาเห็นโลกโดยความเป็นของสูญ ด้วยสามารถการพิจารณาเห็นสังขารโดยเป็นของว่างเปล่า อย่างนี้.


    บุคคลย่อมพิจารณาเห็นโลกโดยความเป็นของสูญด้วยเหตุ ๒ ประการนี้.


    อีกประการหนึ่ง บุคคลย่อมพิจารณาเห็นโลกโดยความเป็นของสูญโดยอาการ ๖ อย่าง

    คือ บุคคลย่อมเห็นรูปโดยความที่ตนไม่เป็นใหญ่ ๑

    โดยทำตามความชอบใจไม่ได้ ๑

    โดยเป็นที่ตั้งแห่งความไม่สบาย ๑

    โดยไม่เป็นไปในอำนาจ ๑ (ไม่เป็นไปตามคำสั่งของเรา)

    โดยเป็นไปตามเหตุ ๑

    โดยว่างเปล่า ๑.


    บุคคลย่อมพิจารณาเห็นเวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ โดยความที่ตนไม่เป็นใหญ่ ... โดยว่างเปล่า. บุคคลย่อมพิจารณาเห็นโลกโดยความเป็นของสูญ โดยอาการ ๖ อย่างนี้.


    อีกประการหนึ่ง บุคคลย่อมพิจารณาเห็นโลกโดยความเป็นของสูญโดยอาการ ๑๐ อย่าง

    คือ บุคคลย่อมพิจารณาเห็นรูป โดยความว่าง ๑

    โดยความเปล่า ๑

    โดยความสูญ ๑

    โดยไม่ใช่ตน ๑

    โดยไม่เป็นแก่นสาร ๑

    โดยเป็นดังผู้ฆ่า ๑

    โดยความเสื่อม ๑

    โดยเป็นมูลแห่งทุกข์ ๑
    (ความยากลำบาก ความเสียใจ ความเหนื่อย ฯลฯ)

    โดยมีอาสวะ ๑

    โดยความเป็นขันธ์อันปัจจัยปรุงแต่ง ๑.


    บุคคลย่อมพิจารณาเห็นเวทนา สัญญาสังขาร วิญญาณ โดยความว่าง ... โดยความเป็นขันธ์อันปัจจัยปรุงแต่ง. บุคคลย่อมพิจารณาเห็นโลกโดยความเป็นของสูญ โดยอาการ ๑๐ อย่างนี้.


    อีกประการหนึ่ง บุคคลย่อมพิจารณาเห็นโลกโดยความเป็นของสูญ โดยอาการ ๑๒ อย่าง


    คือ ย่อมพิจารณาเห็นว่า รูปไม่ใช่สัตว์ ๑ ไม่ใช่ชีวิต ๑ ไม่ใช่บุรุษ ๑ ไม่ใช่คน ๑ ไม่ใช่มาณพ ๑ ไม่ใช่หญิง ๑ ไม่ใช่ชาย ๑ ไม่ใช่ตน ๑ ไม่ใช่ของที่เนื่องกับตน ๑ ไม่ใช่เรา ๑ ไม่ใช่ของเรา ๑ ไม่มีใครๆ ๑. บุคคลย่อมพิจารณาเห็นว่า เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ไม่ใช่สัตว์ ...ไม่มีใครๆ. บุคคลย่อมพิจารณาเห็นโลกโดยความเป็นของสูญโดยอาการ ๑๒ อย่างนี้.


    และสมจริงตามพระพุทธพจน์ที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย สิ่งใดไม่ใช่ของท่านทั้งหลาย ท่านทั้งหลายจงละสิ่งนั้นเสีย สิ่งนั้นอันท่านทั้งหลายละเสียแล้ว จักเป็นไปเพื่อประโยชน์ เพื่อความสุขตลอดกาลนาน. ดูกรภิกษุทั้งหลาย สิ่งอะไรเล่าไม่ใช่ของท่านทั้งหลาย? ดูกรภิกษุทั้งหลาย รูปไม่ใช่ของท่านทั้งหลาย ท่านทั้งหลายจงละรูปนั้นเสีย รูปนั้นอันท่านทั้งหลายละเสียแล้ว จักเป็นไปเพื่อประโยชน์เพื่อความสุขตลอดกาลนาน. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เวทนาไม่ใช่ของท่านทั้งหลาย ... สัญญาไม่ใช่ของท่านทั้งหลาย ... สังขารไม่ใช่ของท่านทั้งหลาย ... ดูกรภิกษุทั้งหลาย วิญญาณไม่ใช่ของท่านทั้งหลาย ท่านทั้งหลายจงละวิญญาณนั้นเสีย วิญญาณนั้นอันท่านทั้งหลายละเสียแล้ว จักเป็นไปเพื่อประโยชน์ เพื่อความสุขตลอดกาลนาน.


    * ดูกรภิกษุทั้งหลาย ท่านทั้งหลายจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน? หญ้า ไม้ กิ่งไม้และใบไม้ใด ที่มีอยู่ในเชตวันวิหารนี้ ชนพึงนำหญ้า ไม้ กิ่งไม้และใบไม้นั้นไปเสีย เผาเสียหรือพึงทำตามควรแก่เหตุ. ท่านทั้งหลายพึงมีความคิดอย่างนี้ว่า ชนนำเราทั้งหลายไปเสีย เผาเสียหรือทำตามควรแก่เหตุบ้างหรือหนอ?


    ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า ไม่ใช่อย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า.นั่นเป็นเพราะเหตุอะไร? เพราะสิ่งเหล่านั้นไม่ใช่ตนหรือสิ่งที่เนื่องกับตนของข้าพระองค์ทั้งหลายอย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า.


    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ฉันนั้นเหมือนกันแล สิ่งใดไม่ใช่ของท่านทั้งหลายท่านทั้งหลายจงละสิ่งนั้นเสีย. สิ่งนั้นอันท่านทั้งหลายละเสียแล้ว จกเป็นไปเพื่อประโยชน์เพื่อความสุขตลอดกาลนาน. ดูกรภิกษุทั้งหลาย รูปไม่ใช่ของท่านทั้งหลาย ท่านทั้งหลายจงละรูปนั้นเสีย รูปนั้นอันท่านทั้งหลายละเสียแล้ว จักเป็นไปเพื่อประโยชน์ เพื่อความสุขตลอดกาลนาน.ดูกรภิกษุทั้งหลาย เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณไม่ใช่ของท่านทั้งหลาย ท่านทั้งหลายจงละสิ่งนั้นเสีย สิ่งนั้นอันท่านทั้งหลายละเสียแล้ว จักเป็นไปเพื่อประโยชน์ เพื่อความสุขตลอดกาลนาน. บุคคลย่อมพิจารณาเห็นโลกโดยความเป็นของสูญแม้อย่างนี้.



    ท่านพระอานนท์ทูลถามพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระองค์ตรัสว่าโลกสูญ ดังนี้. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระองค์ตรัสว่า โลกสูญ ด้วยเหตุเพียงเท่าไรหนอ?

    พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า ดูกรอานนท์ เพราะสูญจากตนหรือจากสิ่งที่เนื่องกับตนฉะนั้น จึงกล่าวว่า โลกสูญ. ดูกรอานนท์ สิ่งอะไรเล่าสูญจากตน หรือจากสิ่งที่เนื่องกับตน?จักษุสูญ รูปสูญ จักษุวิญญาณสูญ จักษุสัมผัสสูญ สุขเวทนาก็ดี ทุกขเวทนาก็ดี อทุกขมสุขเวทนาก็ดี ที่เกิดขึ้นเพราะจักษุสัมผัสเป็นปัจจัย แม้เวทนานั้นก็สูญจากตนหรือสิ่งที่เนื่องกับตน.หูสูญ เสียงสูญ จมูกสูญ กลิ่นสูญ ลิ้นสูญ รสสูญ กายสูญ โผฏฐัพพะสูญ ใจสูญธรรมารมณ์สูญ มโนวิญญาณสูญ มโนสัมผัสสูญ สุขเวทนาก็ดี ทุกขเวทนาก็ดี อทุกขมสุขเวทนาก็ดี ที่เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัย แม้เวทนานั้นก็สูญจากตนหรือจากสิ่งที่เนื่องกับตน. ดูกรอานนท์ เพราะสูญจากตนหรือจากสิ่งที่เนื่องกับตนนั่นแล ฉะนั้น จึงกล่าวว่าโลกสูญ. บุคคลย่อมพิจารณาเห็นโลกโดยความเป็นของสูญแม้อย่างนี้.


    ดูกรคามณิ เมื่อบุคคลเห็นซึ่งความเกิดขึ้นพร้อมแห่งธรรม
    ทั้งสิ้น ซึ่งความสืบต่อแห่งสังขารทั้งสิ้น ตามความเป็นจริง
    ภัยนั้นย่อมไม่มี. เมื่อใด บุคคลย่อมพิจารณาเห็นโลกเสมอ
    หญ้าและไม้(คือมองเห็นว่าไม่มีค่า ไม่ว่าขันธ์ของตนหรือของผู้อื่น)ด้วยปัญญา เมื่อนั้น บุคคลนั้นก็ไม่พึงปรารถนา
    ภพหรืออัตภาพอะไรๆ อื่น เว้นไว้แต่นิพพานอันไม่มี
    ปฏิสนธิ.


    บุคคลย่อมพิจารณาเห็นโลกโดยความเป็นของสูญแม้อย่างนี้.


    และสมจริงตามพระพุทธพจน์ที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุย่อมตามค้นหารูป. คติของรูปมีอยู่เท่าไร? ตามค้นหาเวทนา. คติของเวทนามีอยู่เท่าไร? ตามค้นหาสัญญา. คติของสัญญามีอยู่เท่าไร? ตามค้นหาสังขาร. คติของสังขารมีอยู่เท่าไร? ตามค้นหา
    วิญญาณ. คติของวิญญาณมีอยู่เท่าไร? ก็เหมือนอย่างนั้นนั่นแหละ เมื่อภิกษุตามค้นหารูป คติของรูปมีอยู่เท่าไร? ตามค้นหาเวทนา คติของเวทนามีเท่าไร? ตามค้นหาสัญญา คติของสัญญามีอยู่เท่าไร? ตามค้นหาสังขาร คติของสังขารมีอยู่เท่าไร? ตามค้นหาวิญญาณ คติของวิญญาณมีอยู่เท่าไร? แม้ความถือใดด้วยอำนาจทิฏฐิว่า เราก็ดี ด้วยอำนาจตัณหาว่า ของเราก็ดี ด้วยอำนาจมานะว่า เป็นเราก็ดี ของภิกษุใดมีอยู่ ความถือแม้นั้น ย่อมไม่มีแก่ภิกษุนั้น. บุคคลย่อมพิจารณาเห็นโลกโดยความเป็นของสูญแม้อย่างนี้.


    คำว่า จงพิจารณาเห็นโลกโดยความเป็นของสูญ ความว่า จงมองดู จงพิจารณาจงเทียบเคียง จงตรวจตรา จงให้แจ่มแจ้ง จงทำให้ปรากฏ ซึ่งโลกโดยความเป็นของสูญ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า จงพิจารณาเห็นโลกโดยความเป็นของสูญ.



    อ่าน
    ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส
    โมฆราชมาณวกปัญหานิทเทส
    ว่าด้วยปัญหาของท่านโมฆราช

    http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/r.php?B=30&A=4519&w=โมฆราชมาณวกปัญหานิทเทส




    ผู้ที่พิจารณาข้อความนี้ควรรักษาศีลห้าและอุโบสถศีลฝึก สมาธิหรืออนุสสติ ๖ พิจารณา สติปัฏฐานให้จิตกั้นกิเลสได้เสียก่อน เพราะบางครั้ง ผู้ไม่รักษาศีลไม่ได้อบรมมาก่อน อ่านข้อความนี้แล้ว ไม่มีความคิดที่จะสร้างกุศลหรือทำสิ่งดีๆ อะไรต่อเลย เพราะจิตไม่ได้รับการอบรมอย่างถูกต้องเป็นลำดับขั้น

    ในขั้นของการมองความว่างเปล่า เพื่อให้จิตหลุดพ้นจากสิ่งที่ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา เพื่อจะไม่ต้องติดใจ หรือเสียใจกับสิ่งที่ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา เป็นขั้นสุดท้ายของพระพุทธศาสนา ซึ่งต้องผ่านขั้นต้น ๆ มาแล้ว เช่น การดูแลพ่อแม่ การให้ทาน การช่วยเหลือผู้อื่น การไม่โกรธ ไม่ดูหมิ่นคนอื่น ไม่อิจฉา เป็นต้น

    เพราะสิ่งเหล่านี้ เป็นการเริ่มเจาะจุดเล็กจุดน้อย


    เพื่อให้จิตเข้าถึงภาวะสูงสุดของสัจธรรมได้ในที่สุด
     
  2. วิทย์

    วิทย์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 พฤศจิกายน 2004
    โพสต์:
    2,036
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +8,439
    สาธุ...ขออนุโมทนาครับ เนื้อหาใจความสำคัญคล้ายกับ "ปรัชญาปารมิตาหฤทัยสูตร" กับ "วัชรปรัชญาปารมิตาสูตร" ของทางมหายานเลยนะครับ
     
  3. น้องหน่อยน่ารัก

    น้องหน่อยน่ารัก เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 พฤศจิกายน 2006
    โพสต์:
    1,976
    ค่าพลัง:
    +4,975
    "อนิจจัง และ อนัตตา" คือ สภาวะของสรรพสิ่ง
    ส่วน "ทุกขัง และ สุญญตา" คือ สภาวะของจิต

    จิต ที่บีบเค้นไปกระทำต่อธรรม คือ ทุกขัง
    จิต ที่ว่างจากการกระทำและการยึดมั่น คือ สุญญตา


    ดังนี้ สุญญตา ไม่ได้หมายความว่า สรรพสิ่งว่างไปหมด จนไปยึดความว่าง
    แต่เกิดจากจิตว่างจากการยึดมั่นต่างหาก เมื่อว่างจากการยึดมั่นจึงเห็นแจ้ง
    ในสรรพสิ่งเป็นอนิจจังและอนัตตา นั่นเองค่ะ
     
  4. น้องหน่อยน่ารัก

    น้องหน่อยน่ารัก เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 พฤศจิกายน 2006
    โพสต์:
    1,976
    ค่าพลัง:
    +4,975
    การเข้าสู่ภาวะว่างชั่วคราว หรือ "ตทังคนิพพาน" แล้วพิจารณาไตรลักษณ์
    ในทันที โดยคนผู้นั้นอบรมอินทรีย์ห้ามาพร้อมแล้ว จึงบรรลุโดยฉับพลันได้ค่ะ



    นี่คือ ทางลัดของเซ็น
     
  5. toottoo

    toottoo เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 เมษายน 2006
    โพสต์:
    720
    ค่าพลัง:
    +3,254
    นิพพานเป็นความว่างจากกิเลส

    อ่านจากพระสูตรแล้วไม่แจ้งว่า "นิพพานเป็นความว่างเปล่า" ลองช่วยกันอ่านดูอีกทีนะครับ เห็นมีแต่กล่าวว่า

    "บุคคลนั้นก็ไม่พึงปรารถนา
    ภพหรืออัตภาพอะไรๆ อื่น เว้นไว้แต่นิพพานอันไม่มี
    ปฏิสนธิ."
     
  6. น้องหน่อยน่ารัก

    น้องหน่อยน่ารัก เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 พฤศจิกายน 2006
    โพสต์:
    1,976
    ค่าพลัง:
    +4,975
    "นิพพาน" เป็น "นิพพาน"
    "ว่างเปล่า" เป็น "ว่างเปล่า"

    ก่อน "นิพพาน" ต้อง "ว่างเปล่า" จาก "กิเลส" ก่อน
    แต่หากยึดความ "ว่างเปล่า" ว่า "นิพพาน"


    ก็ยังไม่ถึง "นิพพาน" สิคะ?

    (ปล. ส่วนเจ้าของกระทู้ เขาอาจจะถึงแล้วก็ได้ เพียงแต่ไม่ละเอียดในการใช้คำ (อรรถ) เท่านั้นเอง)
     
  7. toottoo

    toottoo เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 เมษายน 2006
    โพสต์:
    720
    ค่าพลัง:
    +3,254
    ขอบคุณครับ ...

    ตามเนื้อความถูกต้องชัดเจนดีแล้วล่ะครับ
    แต่เห็นชื่อกระทู้แล้วกลัวจะไม่ได้อ่านรายละเอียดกันน่ะครับ
     
  8. ณ ปลาย

    ณ ปลาย เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 ธันวาคม 2006
    โพสต์:
    84
    ค่าพลัง:
    +638

    เก่งนิ เอาไตรลักษณ์มาจับแยกกันได้ แบ่งใช้งานกันได้
    <O:p</O:p
    ที่จริง.. ไม่อยากเข้ามายุ่งด้วยเลย

    คุณหน่อยรู้ไหม แม้แต่พระโพธิสัตต์ ก็ยังตั้งสัจจะว่า
    หากท่านสอนธรรมของพระพุทธองค์บิดเบือนแม้แต่น้อย ขอให้ลิ้นไหม้ เพราะเกรงคนอื่นจะพลอยมีความเห็นผิดไป

    ถ้าคุณยังมั่วไป ดำน้ำไปแบบนี้ จะกลายเป็นวิบากใหญ่ของคุณเอง

    ดิฉันเองจะพูดเฉพาะสิ่งรู้ หากพูดในเรื่องที่ไม่รู้ จะออกตัวว่า ไม่ทราบหรือไม่รู้

    รู้ตัวไหม คุณไปกระทบเข้ากับตัวจริงในบอร์ดนี้หลายคน ช่างเลือกคนได้ดีจริงๆ
    <O:p</O:p
    .....<O:p</O:p
    <O:p</O:p

    สรรพสิ่ง ไม่ว่า รูป หรือ นาม ล้วนมีสามัญลักษณะสาม คือ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา
    <O:p</O:p
    <O:p</O:p
    ไม่ว่าสรรพสิ่ง หรือ จิต ก็ล้วนตกอยู่ในกฎไตรลักษณ์ นี้ทั้งสิ้น<O:p</O:p
    <O:p</O:p

    อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ที่จริงก็คือตัวเดียวกัน ทำงานร่วมกัน ไม่แยกกัน<O:p</O:p
    แต่มีสภาพเด่นแยกพูดให้เข้าใจได้ชัดๆ เป็นสามลักษณะร่วมกัน <O:p</O:p
    <O:p</O:p

    เมื่อหลุดจากอาสวะกิเลส <O:p</O:p
    (ที่ล้วนปรุงโลกบัญญัติขึ้นมาตามความวิจิตรช่างคิด ซึ่งชักใยไปด้วย กิเลสสาม ตัณหาสาม และอุปาทาน ที่ก่อรูปความเป็นตัวตนในสังสารไม่สิ้นสุด)<O:p</O:p
    จึงเข้าสู่จิตเดิม ที่ว่างไปจากกิเลส คือว่างไปจากความเป็นตัวเป็นตน <O:p</O:p
    <O:p</O:p

    จึงว่า ว่างเปล่า หรือที่เรียก สุญญตา <O:p</O:p
    <O:p</O:p

    หรือเพราะว่างตามพระสูตรนี้ก็ได้ ที่ว่า
    <O:p</O:p
    คือ บุคคลย่อมพิจารณาเห็นรูป โดยความว่าง ๑
    โดยความเปล่า ๑
    โดยความสูญ ๑
    โดยไม่ใช่ตน ๑
    โดยไม่เป็นแก่นสาร ๑
    โดยเป็นดังผู้ฆ่า ๑
    โดยความเสื่อม ๑
    โดยเป็นมูลแห่งทุกข์ ๑ (ความยากลำบาก ความเสียใจ ความเหนื่อย ฯลฯ)
    โดยมีอาสวะ ๑
    โดยความเป็นขันธ์อันปัจจัยปรุงแต่ง ๑.
    ...........และที่มีอธิบายเพิ่ม ฯลฯ<O:p</O:p
    <O:p</O:p

    เพราะจิตเดิมที่ไม่มีกิเลสนั้น เมื่อเข้าถึง จะเห็นว่า ไม่มีรูปไม่มีร่าง ไม่มีสี ไม่มีประมาณ <O:p</O:p
    การใช้คำว่า ว่างเปล่า นั้นเป็นเพียงคำพูดพอให้เข้าใจ <O:p</O:p
    แต่ก็มีคนรุ่นต่อๆ มา กลัวอธิบายได้ไม่มากพอ กลัวคนเข้าใจผิด <O:p</O:p
    จึงว่าว่างเปล่า แต่ไม่ว่างเปล่า
    <O:p</O:p
    <O:p</O:p

    ภาษานั้น ค่อนข้างมีอุปสรรค <O:p</O:p
    จึงควรทะลวงไปถึงนัยยะที่ผู้สื่อจะสื่อ มากกว่าติดอยู่ที่ถ้อยคำ
    <O:p</O:p
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 23 เมษายน 2007
  9. หนุมาน ผู้นำสาร

    หนุมาน ผู้นำสาร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    13,680
    ค่าพลัง:
    +51,926
    สัจจะ...เป็นแก่นสาร
     
  10. Padmapani_AM

    Padmapani_AM เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    69
    ค่าพลัง:
    +158
    พิจารณาเพื่อให้ปลง
    เมื่อปลงแล้วจะได้ไม่ยึดติด
    ไม่ยึดติดก็เป็นไปตามสภาพของจิต
    นิ่ง สงบ สดใส หรือยังหนอ
     

แชร์หน้านี้

Loading...