ภิกษุณีอัมพิกา คูวินิชกุล บทบาทเจ้าอาวาสหญิงแห่งวัดโฝวกวงซัน

ในห้อง 'พุทธศาสนา และ ธรรมะ' ตั้งกระทู้โดย NoOTa, 17 เมษายน 2007.

  1. NoOTa

    NoOTa Super Moderator ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มิถุนายน 2005
    โพสต์:
    20,125
    กระทู้เรื่องเด่น:
    349
    ค่าพลัง:
    +64,494
    <TABLE cellSpacing=5 cellPadding=0 width=567 border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top>ภิกษุณีอัมพิกา คูวินิชกุล บทบาทเจ้าอาวาสหญิงแห่งวัดโฝวกวงซัน</TD></TR><TR><TD vAlign=top>16 เมษายน 2550 20:10 น.</TD></TR><TR><TD class=Text_Story vAlign=top><!-- [​IMG] [​IMG] วัดโฝวกวงซัน เป็นวัดในนิกายมหายาน สายรินไซเซ็น ก่อตั้งเมื่อปี ๒๕๑๐ ณ เมืองเกาสยง ไต้หวัน ส่วน วัดโฝวกวงซัน สาขากรุงเทพฯ เริ่มก่อตั้งขึ้นเมื่อปี ๒๕๓๘ โดยเจ้าอาวาส พระเถระซิงหวิน ได้จดทะเบียนในนาม "มูลนิธิส่งเสริมพุทธศาสนาเพื่อสังคม"


    โดยได้นิมนต์พระสงฆ์จากวัดโฝวกวงซันมาอยู่ประจำ เพื่อให้ความรู้ทางพระพุทธศาสนา มุ่งเน้นในงานช่วยเหลือสังคม ซึ่งมีสาขาต่างๆ ทั่วโลกกว่า ๑๐๐ สาขา โดยแต่งตั้งให้บุคคลผู้มีคุณธรรมและความสามารถ เป็นผู้ดำเนินงาน เพื่อประโยชน์สุขของสังคม
    วันนี้ ภิกษุณีอัมพิกา คูวินิชกุล (เมี่ยวเสิ้น) อายุ ๓๔ ปี ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นผู้นำชุมชนของพระพุทธศาสนามหายานในเมืองไทย ในฐานะ เจ้าอาวาส วัดโฝวกวงซัน นับเป็นพระผู้หญิงรูปแรกของวัดโฝวกวงซันในเมืองไทย ความยากง่ายของการบริหารวัด จะเป็นอย่างไร ภิกษุณีอัมพิกา อนุญาตให้สัมภาษณ์แบบ "คม ชัด ลึก" ดังนี้
    0 หลวงพี่เข้ารับตำแหน่งเจ้าอาวาสหนักใจไหมครับ?
    - อาตมารู้สึกว่า ภาระนี้ต้องหนักมากๆ เพราะมีสิ่งที่จะต้องเรียนรู้ ต้องศึกษายังมีอีกเยอะ ถ้าไม่ได้เป็นเจ้าอาวาสคงไม่ต้องรับภาระมากแบบนี้ อย่างน้อยยังสามารถทำอะไรที่อยากทำได้บ้าง พอมีภาระตรงนี้ก็เหมือนกับว่า เราต้องให้เวลาทั้งหมดกับวัด กับญาติโยม ไม่มีเวลาเป็นการส่วนตัวเหมือนเคย การบริหารงานวัดครั้งนี้ เหมือนเป็นช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อ แต่การยอมรับในตัวอาตมา เริ่มมีมากขึ้น ซึ่งอาตมาจะต้องทำต่อไป เรื่องอะไรที่อดีตเจ้าวาสวัดสร้างเอาไว้อาตมาจะต้องสานต่องานทั้งหมด ส่วนงานใหม่ๆ ที่จะต้องทำ คือ การเทศน์ธรรมที่นำไปสู่มวลชน เป็นสิ่งที่ใหม่เราต้องทำ และงานที่เราทำก็ต้องสอดคล้องกับวิถีคนในชุมชน
    0 คิดอย่างไรที่ภิกษุณีในเมืองไทยยังไม่ได้รับการยอมรับครับ?
    - ภิกษุณีในประเทศไทย ถือเป็นเรื่องที่ละเอียดอ่อน แต่ก็มีหลายคน หลายกลุ่มที่คิดว่า จะผลักดันให้มีภิกษุณีในประเทศไทย ถ้าถามว่า เขาจะยอมรับความเป็นภิกษุณีมากน้อยแค่ไหน คงต้องใช้เวลา คิดว่าตรงนี้ไม่ใช่เรื่องปัญหาใหญ่ ปัญหาใหญ่คิดว่าเราทำอะไรให้สังคมบ้าง วันนี้ใครจะยอมรับหรือไม่ยอมรับ ความเป็นภิกษุณีในไทย ก็ไม่เป็นไร อาตมาได้รับศีลความเป็นภิกษุณีมาจากประเทศไต้หวันแล้ว
    0 เหตุใดในเมืองไทยถึงไม่ยอมรับการเป็นภิกษุณี?
    - ภิกษุณียังไม่เป็นที่ยอมรับของคณะสงฆ์ไทย หรือคนไทยมากนัก น่าจะเป็นเพราะว่า ๑.ประเทศไทยอาจไม่เคยมีภิกษุณีมาก่อน ๒.สังคมไทยมีวัฒนธรรมที่ยังคงยึดติดกับรูปแบบเดิมมานาน เช่น พระพุทธศาสนาที่จะถูกยกในฐานะภิกษุสงฆ์มาก มีสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ ที่เข้ามาดูแลระบบที่สมบูรณ์ ฉะนั้น จึงไปสอดคล้องสัมผัสถูกเกี่ยวกับบทกฎหมาย ไม่ว่าจะเป็น พ.ร.บ.สงฆ์
    ถ้าจะมาแก้ให้ประเทศไทยมีภิกษุณีได้ถูกต้องตามกฎ พ.ร.บ.สงฆ์ ก็คงจะเป็นเรื่องยุ่งยาก เพื่อให้มีการบวชภิกษุณีขึ้นในประเทศไทย แต่ยอมรับว่า แค่ภิกษุสงฆ์ ภิกษุณี ในสังคมขอให้เขาเป็นคนดี สังคมก็จะยอมรับไปเองโดยปริยาย แต่วันนี้มีบางกระแสที่ยังอาจต่อต้านไม่ยอมรับอยู่ เราจะไปแก้ตรงนั้นได้อย่างไร คืออาตมาต้องปฏิบัติตัวให้ดีที่สุด ทำงานเพื่อสังคมให้ดีที่สุด เพราะเส้นทางที่อาตมาเลือกแล้วก็จะต้องเดินต่อไป พอบวชแล้วจะให้คนมายอมรับอาตมาเลยทันที คงเป็นไปไม่ได้ อาจจะสิ้นภิกษุณีรุ่นนี้ หรือล่วงเลยไปอีก ๓-๔-๕-๖ รุ่น พอถึงวันนั้น อาจเป็นกระแสทำให้ภิกษุณีได้รับการยอมรับก็ได้ แต่ก็คงเป็นเรื่องไม่แน่นอน
    0 กระแสการยอมรับภิกษุณีในประเทศไทยเป็นอย่างไรครับ?
    - ตลอด ๔-๕ ปี ที่อาตมาเดินทางกลับมาจากประเทศไทยใหม่ๆ ไปทำบัตรประชาชน เจ้าหน้าที่ไม่รู้ว่าอาตมาเป็นภิกษุณี อาตมาแต่งตัวแบบนี้เป็นพระ เป็นแม่ชี หรือเป็นฆราวาส ตอนนั้นทำบัตรได้ แต่ให้เอาสูทมาสวมทับจีวร เขาบอกว่า แต่งตัวเลียบแบบพระไม่ได้ อาตมาเพิ่งกลับมาจากไต้หวัน จะพูดให้เข้าใจแบบเป็นทางการก็พูดไม่ได้ ถามอาตมาว่า ตอนนั้นเจ็บปวดไหม อยากบอกว่า เจ็บปวดมาก ทำไมวันนี้รับศีลพระมา แค่ทำบัตรประชาชนเราต้องมาสวมสูทแบบฆราวาส
    - ตอนนั้นหลวงพี่เจ็บปวดแค่ไหนครับ?
    - อาตมาคิดว่า เราเจ็บ แต่ถ้าเราคิดเป็นในแบบสูญตา จริงๆ ร่างกายก็ไม่ใช่ของเรา เสื้อผ้า จีวร มันเป็นอนิจจังเหมือนกัน ก็คงไม่เป็นไร คงต้องรอให้เวลาให้กระแสในสังคมมีการยอมรับกันมากขึ้น การมีภิกษุณีก็คงเป็นไปได้เอง วันนี้การยอมรับความเป็นภิกษุณีถือว่ามีกระแสที่ดี หลายคนให้ความเคารพมากขึ้น พอไปทำบัตรประชาชนช่วงหลังจึงไม่มีปัญหา อย่างน้อยไม่มีการบังคับให้อาตมาใส่เสื้อสูท แต่คำนำหน้ายังเป็นนางสาว จะให้ทางการใส่คำนำหน้าว่า ภิกษุณี คงไม่ได้ เพราะยังไม่มีกฎหมายอะไรมารองรับ
    0 ในไต้หวันใช้คำนำหน้าภิกษุณีหรือยังครับ?
    - ที่ไต้หวันผู้หญิงที่บวชแล้ว ถือว่าเป็นนักบวช เขาจะมีการระบุคำนำหน้าว่า ภิกษุณี ในบัตรประชาชนเลย หรืออย่างประเทศมาเลเซีย ก็จะขึ้นทะเบียนเลยว่า เป็นนักบวช แต่ในประเทศไทยของเรายังไม่มี
    0 จริงๆ หลวงพี่อยากให้มีไหมครับ?
    - ถ้าถามว่า อยากให้มีคำนำหน้าว่า ภิกษุณีไหม เราเองไม่ได้เรียกร้อง แต่อยากจะบอกว่า ในประเทศไทยมีภิกษุณีอยู่ตอนนี้ประมาณ ๒๐๐ รูป ที่อยู่ทั่วประเทศ มีการปฏิบัติดีปฏิบัติชอบด้วยกันทุกคน แล้วสิ่งที่น่าเป็นห่วงก็คือ มีพระสงฆ์ หรือภิกษุณี ที่ปลอมแปลงเข้ามาแล้วมีการแต่งตัวเลียนแบบเดียวกับอาตมาทุกอย่าง แต่สิ่งที่แตกต่างอย่างการแต่งตัวแบบนี้ หรือสีเทา เป็นภิกษุณีจีนจะต้องฉันอาหารเจ ถ้ายืนกินข้าวมันไก่ก็ไม่ใช่แล้ว การฉันอาหารเจเป็นเหตุให้พระจีนไม่มีการออกบิณฑบาต เพราะต้องทำเป็นอาหารเจภายในวัดกันเอง
    ถ้าคนไหนเดินเอาผ้าโพกหัวแล้วไม่ได้กินเจ สันนิษฐานได้เลยว่า เป็นภิกษุณีปลอม เพื่อให้ชัดเจนมากขึ้น จะต้องขอดูใบสูติบัตรพระได้ เพราะถ้าเป็นพระปลอมจะไม่มีใบสูติบัติพระคือใบรับศีลนั่นเอง แต่ถ้าให้แน่ๆ ต้องสังเกตบนหัว จะมีจี้ธูป หากรับศีลมาจะมีการจุดธูปจี้ ๓, ๖, ๙, ๑๒ จุด ตรงนี้ถือเป็นพระจีนจริงแน่นอน
    0 ภิกษุณีในมหายานถือศีลกี่ข้อครับ?
    - ก็คงไม่แตกต่างจากเถรวาทมากนัก ภิกษุณีของมหายานจะถือศีลทั้งหมด ๓๑๑ ข้อ แล้วเรายังมีศีลของพระโพธิสัตว์อีก รวมแล้วภิกษุณีจะถือศีลทั้งหมดประมาณ ๕๐๐ ข้อ
    0 ทุกวันนี้มีการไปร่วมสังฆกรรมกับฝ่ายเถรวาทไหม?
    - อาตมาไปร่วมบ่อย ร่วมเป็นกรรมการจัดงานกับพระสงฆ์ไทยหลายครั้ง ขณะเดียวกัน เราก็ได้รับความเอ็นดู และได้รับความเมตตา รวมทั้งพระเถระผู้ใหญ่อีกหลายรูป ที่ให้ความเมตตา และเมื่อครั้งที่ได้รับตำแหน่งเจ้าอาวาสใหม่ๆ ก็มีพระผู้ใหญ่มาสวดเจริญพุทธมนต์ ชยันโตให้ก็มี ความรู้สึกเป็นเกียรติอย่างยิ่ง และเป็นกำลังใจให้อย่างหนึ่ง เพราะอาตมาเกิดมาเพื่อพระพุทธศาสนา พระสงฆ์ก็เปรียบเหมือนเป็นพ่ออาตมา ที่คอยให้คำปรึกษา คอยให้กำลังใจ
    0 อนาคตวัดโฝวกวงซันจะขยายวัดไหมครับ?
    - ก็คิดกันเหมือนกัน ไม่รู้ว่าญาติโยมท่านไหนที่ต้องการอยากจะบริจาคบ้างหรือเปล่า ทางเราจะอนุโมทนาบุญด้วย แต่จริงๆ แล้ว ทางวัดโฝวกวงซันในไต้หวันที่เป็นสำนักงานใหญ่ ที่มีสาขาทั้งหมด ๒๕๐ สาขาทั่วโลก โดยจะไม่เน้นสร้างวัด แต่จะเน้นในเรื่องของการสร้างคนก่อนสร้างวัด อันนี้เป็นนโยบายของวัดเลย เพราะถ้าวัดสร้างแล้วไม่มีคนมาช่วยบริหารจะทำให้วัดนั้นมีในเรื่องของสว่าง สะอาด สงบ ได้ยาก การสร้างวัดขึ้นมาก็ไม่เกิดประโยชน์
    0 ญาติโยมมาวัดโฝวกวงซันเพราะอะไรครับ?
    - เรื่องฆราวาส หรือความศรัทธาของประชาชนที่มาวัด ก็น่าจะเป็นผลต่อเนื่อง ที่วัดมีสาขาอยู่ทั่วโลก ทำให้คนส่วนใหญ่รู้จัก ถ้าเป็นนักธุรกิจจีนมาเปิดธุรกิจในไทย เขาจะมากราบไหว้พระที่วัด เพราะพวกเขาคงคุ้นเคยกับวัดที่มีอยู่ในประเทศที่เขาอยู่ พอมาวัด เรื่องภาษาก็ไม่เป็นปัญหา
    0 ปัจจัยเข้าวัดมาจากไหนบ้าง?
    - ปัจจัยที่ได้มีอยู่ทุกวันนี้ มาจากแรงศรัทธาของญาติโยมที่มาวัดนั่นแหละ และอีกส่วนหนึ่งมาจากการประกอบพิธีกรรมทางศาสนา จริงๆ คนจีนชอบทำบุญกันอยู่แล้ว ดังนั้น ปัจจัยจึงไม่ใช่เรื่องใหญ่สำหรับวัด คนจีนที่มาทำบุญต่างก็เชื่อว่า เป็นการสร้างบารมีให้ตัวเอง บางคนทำแล้วกิจการธุรกิจเจริญรุ่งเรือง การทำบุญอย่างน้อยก็ทำให้เขาสบายใจ บางคนก็มาช่วยงานวัด ใครมีเงินก็ออกเงิน ใครมีแรงก็ออกแรง อาจารย์อาตมาเคยสอนว่า ปัจจัยอย่าไปหา เพราะว่าสิ่งที่เราจะให้ ก็คือ ธรรมะ ถ้าเรามีธรรมะที่ไหน ไม่ต้องห่วงว่าเราจะจน หรือจะไม่มีกิน เราไม่ถึงกับรวย แต่เราต้องมีธรรมะ เราก็จะอยู่ได้
    0 วัดโฝวกวงซันมีวัตถุมงคลไหมครับ?
    - จะว่าไปแล้ว เรื่องของวัตถุมงคล ทางวัดเราก็มี เช่น พระพุทธเจ้า องค์เจ้าแม่กวนอิม ล็อกเกต แต่ทางวัดเราไม่มีแบบว่า ต้องให้พระปลุกเสก แต่เรามีเอาไว้ให้กับญาติโยมที่มาร่วมพิธีกรรม หรือมาทำบุญที่วัดมากกว่า
    0 หลักธรรมมหายานแตกต่างจากเถรวาทอย่างไร?
    - ถ้าพูดถึงแก่นก็จะเหมือนกัน ส่วนแนวทางการปฏิบัติอาจจะแตกต่างกัน อย่างของมหายานจะเน้นเรื่องของการปฏิบัติในแนวของพระโพธิสัตว์ ที่จะช่วยเหลือผู้อื่น พร้อมกับช่วยเหลือตัวเอง และต้องให้ความยินดี ความหวัง ความสะดวก แล้วก็ให้ความเชื่อมั่นกับผู้อื่น แต่ถ้าเป็นแนวของพระโพธิสัตว์ก็จะมีจตุมหาปณิธาน ๔ คือ
    ๑.สรรพสัตว์ทั้งหลายอันประมาณมิได้ เราจักโปรดให้หมดสิ้น เราจะต้องปลดเปลื้องให้พ้นทุกข์ ข้อนี้เทียบด้วยอริยสัจ ๔ ในข้อทุกขสัจ ซึ่งมีหน้าที่ต้องกำหนดรู้ คือเมื่อเรารู้ว่าเราทุกข์ เราก็ย่อมแจ้งให้คนอื่นๆ ทราบว่า เขาก็มีทุกข์เช่นเดียวกัน แต่พระโพธิสัตว์จะต้องปรารถนาความพ้นทุกข์แห่งสรรพสัตว์อีกด้วย
    ๒.กิเลสทั้งหลายที่ไม่สงบระงับ เราจะกำจัดให้หมดสิ้น เราจะต้องละทิ้งทำลายให้หมด และปรารถนาที่จะให้สรรพสัตว์ทำลายกิเลสเหล่านั้นด้วย ข้อนี้เทียบด้วยข้อสมุทัยคือตัณหาซึ่งเราจะต้องละ จะเจริญไม่ได้ ข้างฝ่ายมหายานถือว่า นอกจากตัวเราจะทำลายกิเลสของเราเองแล้ว จึงต้องช่วยแนะนำให้สรรพสัตว์ทำลายกิเลสของเขาด้วย
    ๓.ธรรมทั้งหลายอันไม่มีประมาณ เราจะต้องศึกษาให้เจนจบ เราจักต้องเรียนรู้และทำความศึกษาปฏิบัติ เทียบด้วยมรรคสัจซึ่งต้องเจริญให้มีขึ้น เราจึงจะกำหนดรู้ทุกข์และสมุทัยได้ และจะต้องยังสรรสัตว์ให้ศึกษาในพระธรรมด้วย
    ๔.พุทธมรรคอันประเสริฐ เราจะต้องบรรลุให้จงได้ เทียบด้วยทำนิโรธสัจให้แจ้ง และจะต้องยังสรรพสัตว์ให้บรรลุถึงด้วย เพราะฉะนั้น ตามปณิธานทั้ง ๔ นี้ เมื่อเทียบกับหลักอริยสัจแล้วจะเห็นว่า ฝ่ายมหายานต้องการจะปลดเปลื้องสรรพสัตว์ให้พ้นทุกข์
    0 สุดท้ายหลวงพี่อยากให้ธรรมะอะไรกับผู้อ่านบ้างครับ? - ถ้าญาติโยมมีสัมมาอาชีวะ มีอาชีพการงานที่ดีแล้ว ขอให้ทุกคนตั้งใจทำงาน ถือเป็นลาภอันประเสริฐแล้ว เราอย่าไปหวังว่า เราจะไปหวยถูกเบอร์ เพราะการถูกหวยถูกเบอร์ เหมือนเป็นบุญเก่าประกอบกัน บางคนไม่ต้องถูกหวยเดินอยู่ดีๆ ไปสะดุดแล้วได้ทองคำ จึงไม่จำเป็นต้องถูกหวย นี่เป็นบุญเก่าที่เขาสร้างกันไว้ ยิ่งทุกวันนี้ มีคนเล่นหวย บางคนก็ทุ่มเงินซื้อ เหมือนเอาเงินไปทิ้งในมหาสมุทร ทำให้เสียเปล่า อยากให้เอาเงินที่ไปซื้อหวยแล้วนำมาสร้างเนื้อสร้างตัว ด้วยการสะสมให้มันเป็นปึกแผ่นแล้วเอาไปทำมาหากินน่าจะดีกว่า

    -----เบิลบ์-------
    "ทำงานเพื่อสังคมให้ดีที่สุด เพราะเส้นทางที่อาตมาเลือกแล้วก็จะต้องเดินต่อไป"

    ล้อมกรอบ
    ชาติภูมิอัมพิกา
    ภิกษุณีอัมพิกา ชื่อเดิม อัมพิกา คูวินิชกุล เกิดเมื่อวันอาทิตย์ที่ ๑๘ พฤศจิกายน ๒๕๑๖ ณ ต.ปากแพรก อ.ทุ่งสง จ.นครศรีธรรมราช บิดาชื่อ วิศิษฏ์ มารดาชื่อ สุจินดา บรรพชา เมื่อวันที่ ๑๕ เมษายน ๒๕๔๑ ณ วัดโฝวกวงซัน เมืองเกาสง ไต้หวัน พระอุปัชฌาย์ เจ้าพระคุณพระเถระ ซิงหวิน ปฐมเจ้าอาวาสวัดโฝวกวงซัน
    อุปสมบท เมื่อวันที่ ๗ พฤษภาคม ๒๕๔๓ ณ วัดโฝวกวงซัน เมืองเกาสง พระอุปัชฌาย์ เจ้าพระคุณพระเถระ ซิงหวัน ปฐมเจ้าอาวาสวัดโฝวกวงซัน พระกรรมวาจารย์ เจ้าพระคุณพระเถระ หย่งซิง วัดจีน ฮ่องกง พระอนุสาวนาจารย์ เจ้าพระคุณพระเถระ อิ้งไห่ วัดจีน บอสตัน
    การศึกษา พ.ศ. ๒๕๓๓ สำเร็จการศึกษามัธยมต้น โรงเรียนดรุณศึกษา อ.ร่อนพิบูลย์ จ.นครศรีธรรมราช พ.ศ. ๒๕๓๔ สำเร็จการศึกษามัธยมปลาย โรงเรียนดรุณพิทยา ห้วยขวาง กรุงเทพฯ พ.ศ. ๒๕๔๐ สำเร็จการศึกษาปริญญาตรี มหาวิทยาลัยฉยง หลิน เมืองเกาสง ไต้หวัน พ.ศ. ๒๕๔๕ สำเร็จการศึกษาปริญญาโท สาขาศาสนศาสตร์ (เกียรตินิยม ๑) มหาวิทยาลัยหนานฮวา เมืองเจียอี้ ไต้หวัน
    ผลงานแปลที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นหนังสือ ๑.ยินยอมพร้อมใจ ๒.ปรัชญานายรอง ๓.ยินดีถ้วนหน้า ๔.คำสอนในชีวิตประจำวัน โดยเป็นผลงานของพระคุณเถระ ซิงหวิน ๕.วาจาสอนจิตคติสอนใจ ๖.ประวัติวัดโฝวกวงซัน ๓๐ ปี ผู้ศรัทธาสนใจ สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ วัดโฝวกวงซัน อาคารว่องวานิช บี ชั้น ๓๒ ถนนพระราม ๙ เขตห้วยขวาง กรุงเทพฯ โทร. ๐-๒๖๔๕-๐๕๙๘, ๐-๙๙๒๗-๑๔๒๐


    ล้อมกรอบ (2)
    การบริหารงานวัดโฝวกวงซัน
    ภิกษุณี กิตยาภรณ์ อายุ ๔๓ ปี รองเจ้าอาวาสวัดโฝวกวงซัน ฝ่ายต่างประเทศ กล่าวว่า ได้รับหน้าที่บริหารตรงนี้ก็จะดูแลประสานงานต่างๆ เกี่ยวกับต่างประเทศทั้งหมด พร้อมกับจะทำการเผยแผ่พระพุทธศาสนาของมหายานตรงนี้ให้ชาวโลกได้รู้ว่าหลักธรรมตรงนี้เป็นอย่างไรบ้าง ความเป็นภิกษุณีมีความแตกต่างจากแม่ชีทั่วไปอย่างไร สิ่งสำคัญจะเน้นให้เข้าใจว่า ทุกคนที่มาบวชเป็นภิกษุณีไม่มีใครอกหักแล้วมาบวชเลย แต่ทุกคนมาบวชล้วนแล้วศรัทธาต่อพระพุทธศาสนา
    ก่อนหน้านี้ทำงานอยู่ที่โรงเจ จ.อุทัยธานี แล้วก็มีแฟนเหมือนวัยรุ่นทั่วไป ระหว่างที่ทำงานอยู่ที่โรงเจก็คิดเหมือนกัน ว่าถ้ามีโอกาสบวช จะบวชไม่สึก ตอนนั้นยังไม่รู้ว่า โลกเรามีการบวชภิกษุณีได้ รู้แค่ว่ามีการบวชเป็นแม่ชี ที่บวชแล้วก็สึกได้ แต่การเป็นภิกษุณีเมื่อบวชแล้วไม่สามารถสึกได้ พอตัดสินใจที่อยากจะศึกษาพระพุทธศาสนา ทำให้ไม่ได้คิดเรื่องเนื้อคู่อีกเลย แล้วก็ไปศึกษาจนบวชอยู่ที่ไต้หวัน
    "ประมาณ ๑๙ พรรษา ที่อาตมาได้บวชก็คิดที่จะสอนให้ญาติโยมดำรงชีวิตด้วยความเป็นคนดี อยู่กันอย่างมีหลักธรรมด้วยการบำเพ็ญศีล การได้รับตำแหน่งเป็นรองเจ้าอาวาสอาตมาก็ต้องทำหน้าที่อย่างเต็มที่ ทำงานให้พระพุทธศาสนาก็เป็นหน้าที่เรา ทำก็ไม่ได้หวังลาภยศใดๆ" ภิกษุณีกิตยาภรณ์ กล่าว
    นอกจากนี้ ภิกษุณี พิชญา อายุ ๓๒ ปี รองเจ้าอาวาสวัดโฝวกวงซัน ฝ่ายบริหาร กล่าวด้วยว่า หน้าที่รับผิดชอบจะต้องดูแลงาน นิมนต์พระสงฆ์ของเถรวาทมาร่วมพิธีกรรมต่างๆ ทุกอย่างของทางวัด เช่น วันวิสาขบูชา วันเข้าพรรษา วันตรุษจีน ฯลฯ บวชเป็นภิกษุณีมาเป็นเวลากว่า ๑๐ ปีแล้ว คิดว่าประสบการณ์ที่เราได้เดินทางไปเรียนรู้ตามประเทศต่างๆ เกี่ยวกับพระพุทธศาสนาตรงนั้นคงจะได้นำมาปรับใช้ต่อการบริหารงานในวัดได้ ย้อนกลับไปครั้งที่ตัดสินใจบวชก็คิดว่า ถ้าบวชอยู่เมืองไทยคงเป็นได้แค่แม่ชี แล้วถ้าพูดถึงพระพุทธศาสนาที่อยากจะเรียนรู้ จึงตัดสินใจบวชแล้วไปศึกษาที่วัดโฝวกวงซัน ที่ไต้หวัน เป็นวัดที่ใหญ่แล้วมองการณ์ไกล สนับสนุนให้เราได้เรียนรู้ เชื่อไหมว่าบวชได้ปีเศษหลวงพ่อท่านก็ให้เดินทางไปศึกษาพระพุทธศาสนาที่ประเทศสหรัฐอเมริกา "ที่ผ่านมา ยังมีการสอนให้เราได้ขัดเกลาจิตใจ สำรวมการปฏิบัติมากขึ้น หากเราไม่ได้บวชก็คงไม่รู้ว่าจะได้เรียนรู้พระพุทธศาสนาแบบนี้หรือเปล่า ตอนบวชครั้งแรกครอบครัวไม่ชอบ แต่พอบวชไปแล้วท่านคงเห็นว่าอาตมาดูดีขึ้น ก็ยอมรับกันได้ แล้วคิด ว่าการบวชตลอดชีวิตน่าจะเป็นหนทางนำพาไปให้พ้นทุกข์ได้" ภิกษุณีพิชญา กล่าวทิ้งท้าย
    0 เรื่อง สุทธิคุณ กองทอง / ภาพ เจษฏา จันทรรักษ์ 0


    -->[​IMG]
    วัดโฝวกวงซัน เป็นวัดในนิกายมหายาน สายรินไซเซ็น ก่อตั้งเมื่อปี ๒๕๑๐ ณ เมืองเกาสยง ไต้หวัน ส่วน วัดโฝวกวงซัน สาขากรุงเทพฯ เริ่มก่อตั้งขึ้นเมื่อปี ๒๕๓๘ โดยเจ้าอาวาส พระเถระซิงหวิน ได้จดทะเบียนในนาม "มูลนิธิส่งเสริมพุทธศาสนาเพื่อสังคม"
    โดยได้นิมนต์พระสงฆ์จากวัดโฝวกวงซันมาอยู่ประจำ เพื่อให้ความรู้ทางพระพุทธศาสนา มุ่งเน้นในงานช่วยเหลือสังคม ซึ่งมีสาขาต่างๆ ทั่วโลกกว่า ๑๐๐ สาขา โดยแต่งตั้งให้บุคคลผู้มีคุณธรรมและความสามารถ เป็นผู้ดำเนินงาน เพื่อประโยชน์สุขของสังคม
    วันนี้ ภิกษุณีอัมพิกา คูวินิชกุล (เมี่ยวเสิ้น) อายุ ๓๔ ปี ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นผู้นำชุมชนของพระพุทธศาสนามหายานในเมืองไทย ในฐานะ เจ้าอาวาส วัดโฝวกวงซัน นับเป็นพระผู้หญิงรูปแรกของวัดโฝวกวงซันในเมืองไทย ความยากง่ายของการบริหารวัด จะเป็นอย่างไร ภิกษุณีอัมพิกา อนุญาตให้สัมภาษณ์แบบ "คม ชัด ลึก" ดังนี้ [​IMG]
    0 หลวงพี่เข้ารับตำแหน่งเจ้าอาวาสหนักใจไหมครับ?
    - อาตมารู้สึกว่า ภาระนี้ต้องหนักมากๆ เพราะมีสิ่งที่จะต้องเรียนรู้ ต้องศึกษายังมีอีกเยอะ ถ้าไม่ได้เป็นเจ้าอาวาสคงไม่ต้องรับภาระมากแบบนี้ อย่างน้อยยังสามารถทำอะไรที่อยากทำได้บ้าง พอมีภาระตรงนี้ก็เหมือนกับว่า เราต้องให้เวลาทั้งหมดกับวัด กับญาติโยม ไม่มีเวลาเป็นการส่วนตัวเหมือนเคย การบริหารงานวัดครั้งนี้ เหมือนเป็นช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อ แต่การยอมรับในตัวอาตมา เริ่มมีมากขึ้น ซึ่งอาตมาจะต้องทำต่อไป เรื่องอะไรที่อดีตเจ้าวาสวัดสร้างเอาไว้อาตมาจะต้องสานต่องานทั้งหมด ส่วนงานใหม่ๆ ที่จะต้องทำ คือ การเทศน์ธรรมที่นำไปสู่มวลชน เป็นสิ่งที่ใหม่เราต้องทำ และงานที่เราทำก็ต้องสอดคล้องกับวิถีคนในชุมชน
    0 คิดอย่างไรที่ภิกษุณีในเมืองไทยยังไม่ได้รับการยอมรับครับ?
    - ภิกษุณีในประเทศไทย ถือเป็นเรื่องที่ละเอียดอ่อน แต่ก็มีหลายคน หลายกลุ่มที่คิดว่า จะผลักดันให้มีภิกษุณีในประเทศไทย ถ้าถามว่า เขาจะยอมรับความเป็นภิกษุณีมากน้อยแค่ไหน คงต้องใช้เวลา คิดว่าตรงนี้ไม่ใช่เรื่องปัญหาใหญ่ ปัญหาใหญ่คิดว่าเราทำอะไรให้สังคมบ้าง วันนี้ใครจะยอมรับหรือไม่ยอมรับ ความเป็นภิกษุณีในไทย ก็ไม่เป็นไร อาตมาได้รับศีลความเป็นภิกษุณีมาจากประเทศไต้หวันแล้ว
    0 เหตุใดในเมืองไทยถึงไม่ยอมรับการเป็นภิกษุณี?
    - ภิกษุณียังไม่เป็นที่ยอมรับของคณะสงฆ์ไทย หรือคนไทยมากนัก น่าจะเป็นเพราะว่า ๑.ประเทศไทยอาจไม่เคยมีภิกษุณีมาก่อน ๒.สังคมไทยมีวัฒนธรรมที่ยังคงยึดติดกับรูปแบบเดิมมานาน เช่น พระพุทธศาสนาที่จะถูกยกในฐานะภิกษุสงฆ์มาก มีสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ ที่เข้ามาดูแลระบบที่สมบูรณ์ ฉะนั้น จึงไปสอดคล้องสัมผัสถูกเกี่ยวกับบทกฎหมาย ไม่ว่าจะเป็น พ.ร.บ.สงฆ์
    ถ้าจะมาแก้ให้ประเทศไทยมีภิกษุณีได้ถูกต้องตามกฎ พ.ร.บ.สงฆ์ ก็คงจะเป็นเรื่องยุ่งยาก เพื่อให้มีการบวชภิกษุณีขึ้นในประเทศไทย แต่ยอมรับว่า แค่ภิกษุสงฆ์ ภิกษุณี ในสังคมขอให้เขาเป็นคนดี สังคมก็จะยอมรับไปเองโดยปริยาย แต่วันนี้มีบางกระแสที่ยังอาจต่อต้านไม่ยอมรับอยู่ เราจะไปแก้ตรงนั้นได้อย่างไร คืออาตมาต้องปฏิบัติตัวให้ดีที่สุด ทำงานเพื่อสังคมให้ดีที่สุด เพราะเส้นทางที่อาตมาเลือกแล้วก็จะต้องเดินต่อไป พอบวชแล้วจะให้คนมายอมรับอาตมาเลยทันที คงเป็นไปไม่ได้ อาจจะสิ้นภิกษุณีรุ่นนี้ หรือล่วงเลยไปอีก ๓-๔-๕-๖ รุ่น พอถึงวันนั้น อาจเป็นกระแสทำให้ภิกษุณีได้รับการยอมรับก็ได้ แต่ก็คงเป็นเรื่องไม่แน่นอน
    0 กระแสการยอมรับภิกษุณีในประเทศไทยเป็นอย่างไรครับ?
    - ตลอด ๔-๕ ปี ที่อาตมาเดินทางกลับมาจากประเทศไทยใหม่ๆ ไปทำบัตรประชาชน เจ้าหน้าที่ไม่รู้ว่าอาตมาเป็นภิกษุณี อาตมาแต่งตัวแบบนี้เป็นพระ เป็นแม่ชี หรือเป็นฆราวาส ตอนนั้นทำบัตรได้ แต่ให้เอาสูทมาสวมทับจีวร เขาบอกว่า แต่งตัวเลียบแบบพระไม่ได้ อาตมาเพิ่งกลับมาจากไต้หวัน จะพูดให้เข้าใจแบบเป็นทางการก็พูดไม่ได้ ถามอาตมาว่า ตอนนั้นเจ็บปวดไหม อยากบอกว่า เจ็บปวดมาก ทำไมวันนี้รับศีลพระมา แค่ทำบัตรประชาชนเราต้องมาสวมสูทแบบฆราวาส
    - ตอนนั้นหลวงพี่เจ็บปวดแค่ไหนครับ?
    - อาตมาคิดว่า เราเจ็บ แต่ถ้าเราคิดเป็นในแบบสูญตา จริงๆ ร่างกายก็ไม่ใช่ของเรา เสื้อผ้า จีวร มันเป็นอนิจจังเหมือนกัน ก็คงไม่เป็นไร คงต้องรอให้เวลาให้กระแสในสังคมมีการยอมรับกันมากขึ้น การมีภิกษุณีก็คงเป็นไปได้เอง วันนี้การยอมรับความเป็นภิกษุณีถือว่ามีกระแสที่ดี หลายคนให้ความเคารพมากขึ้น พอไปทำบัตรประชาชนช่วงหลังจึงไม่มีปัญหา อย่างน้อยไม่มีการบังคับให้อาตมาใส่เสื้อสูท แต่คำนำหน้ายังเป็นนางสาว จะให้ทางการใส่คำนำหน้าว่า ภิกษุณี คงไม่ได้ เพราะยังไม่มีกฎหมายอะไรมารองรับ
    0 ในไต้หวันใช้คำนำหน้าภิกษุณีหรือยังครับ?
    - ที่ไต้หวันผู้หญิงที่บวชแล้ว ถือว่าเป็นนักบวช เขาจะมีการระบุคำนำหน้าว่า ภิกษุณี ในบัตรประชาชนเลย หรืออย่างประเทศมาเลเซีย ก็จะขึ้นทะเบียนเลยว่า เป็นนักบวช แต่ในประเทศไทยของเรายังไม่มี
    0 จริงๆ หลวงพี่อยากให้มีไหมครับ?
    - ถ้าถามว่า อยากให้มีคำนำหน้าว่า ภิกษุณีไหม เราเองไม่ได้เรียกร้อง แต่อยากจะบอกว่า ในประเทศไทยมีภิกษุณีอยู่ตอนนี้ประมาณ ๒๐๐ รูป ที่อยู่ทั่วประเทศ มีการปฏิบัติดีปฏิบัติชอบด้วยกันทุกคน แล้วสิ่งที่น่าเป็นห่วงก็คือ มีพระสงฆ์ หรือภิกษุณี ที่ปลอมแปลงเข้ามาแล้วมีการแต่งตัวเลียนแบบเดียวกับอาตมาทุกอย่าง แต่สิ่งที่แตกต่างอย่างการแต่งตัวแบบนี้ หรือสีเทา เป็นภิกษุณีจีนจะต้องฉันอาหารเจ ถ้ายืนกินข้าวมันไก่ก็ไม่ใช่แล้ว การฉันอาหารเจเป็นเหตุให้พระจีนไม่มีการออกบิณฑบาต เพราะต้องทำเป็นอาหารเจภายในวัดกันเอง
    ถ้าคนไหนเดินเอาผ้าโพกหัวแล้วไม่ได้กินเจ สันนิษฐานได้เลยว่า เป็นภิกษุณีปลอม เพื่อให้ชัดเจนมากขึ้น จะต้องขอดูใบสูติบัตรพระได้ เพราะถ้าเป็นพระปลอมจะไม่มีใบสูติบัติพระคือใบรับศีลนั่นเอง แต่ถ้าให้แน่ๆ ต้องสังเกตบนหัว จะมีจี้ธูป หากรับศีลมาจะมีการจุดธูปจี้ ๓, ๖, ๙, ๑๒ จุด ตรงนี้ถือเป็นพระจีนจริงแน่นอน
    0 ภิกษุณีในมหายานถือศีลกี่ข้อครับ?
    - ก็คงไม่แตกต่างจากเถรวาทมากนัก ภิกษุณีของมหายานจะถือศีลทั้งหมด ๓๑๑ ข้อ แล้วเรายังมีศีลของพระโพธิสัตว์อีก รวมแล้วภิกษุณีจะถือศีลทั้งหมดประมาณ ๕๐๐ ข้อ
    0 ทุกวันนี้มีการไปร่วมสังฆกรรมกับฝ่ายเถรวาทไหม?
    - อาตมาไปร่วมบ่อย ร่วมเป็นกรรมการจัดงานกับพระสงฆ์ไทยหลายครั้ง ขณะเดียวกัน เราก็ได้รับความเอ็นดู และได้รับความเมตตา รวมทั้งพระเถระผู้ใหญ่อีกหลายรูป ที่ให้ความเมตตา และเมื่อครั้งที่ได้รับตำแหน่งเจ้าอาวาสใหม่ๆ ก็มีพระผู้ใหญ่มาสวดเจริญพุทธมนต์ ชยันโตให้ก็มี ความรู้สึกเป็นเกียรติอย่างยิ่ง และเป็นกำลังใจให้อย่างหนึ่ง เพราะอาตมาเกิดมาเพื่อพระพุทธศาสนา พระสงฆ์ก็เปรียบเหมือนเป็นพ่ออาตมา ที่คอยให้คำปรึกษา คอยให้กำลังใจ
    0 อนาคตวัดโฝวกวงซันจะขยายวัดไหมครับ?
    - ก็คิดกันเหมือนกัน ไม่รู้ว่าญาติโยมท่านไหนที่ต้องการอยากจะบริจาคบ้างหรือเปล่า ทางเราจะอนุโมทนาบุญด้วย แต่จริงๆ แล้ว ทางวัดโฝวกวงซันในไต้หวันที่เป็นสำนักงานใหญ่ ที่มีสาขาทั้งหมด ๒๕๐ สาขาทั่วโลก โดยจะไม่เน้นสร้างวัด แต่จะเน้นในเรื่องของการสร้างคนก่อนสร้างวัด อันนี้เป็นนโยบายของวัดเลย เพราะถ้าวัดสร้างแล้วไม่มีคนมาช่วยบริหารจะทำให้วัดนั้นมีในเรื่องของสว่าง สะอาด สงบ ได้ยาก การสร้างวัดขึ้นมาก็ไม่เกิดประโยชน์
    0 ญาติโยมมาวัดโฝวกวงซันเพราะอะไรครับ?
    - เรื่องฆราวาส หรือความศรัทธาของประชาชนที่มาวัด ก็น่าจะเป็นผลต่อเนื่อง ที่วัดมีสาขาอยู่ทั่วโลก ทำให้คนส่วนใหญ่รู้จัก ถ้าเป็นนักธุรกิจจีนมาเปิดธุรกิจในไทย เขาจะมากราบไหว้พระที่วัด เพราะพวกเขาคงคุ้นเคยกับวัดที่มีอยู่ในประเทศที่เขาอยู่ พอมาวัด เรื่องภาษาก็ไม่เป็นปัญหา
    0 ปัจจัยเข้าวัดมาจากไหนบ้าง?
    - ปัจจัยที่ได้มีอยู่ทุกวันนี้ มาจากแรงศรัทธาของญาติโยมที่มาวัดนั่นแหละ และอีกส่วนหนึ่งมาจากการประกอบพิธีกรรมทางศาสนา จริงๆ คนจีนชอบทำบุญกันอยู่แล้ว ดังนั้น ปัจจัยจึงไม่ใช่เรื่องใหญ่สำหรับวัด คนจีนที่มาทำบุญต่างก็เชื่อว่า เป็นการสร้างบารมีให้ตัวเอง บางคนทำแล้วกิจการธุรกิจเจริญรุ่งเรือง การทำบุญอย่างน้อยก็ทำให้เขาสบายใจ บางคนก็มาช่วยงานวัด ใครมีเงินก็ออกเงิน ใครมีแรงก็ออกแรง อาจารย์อาตมาเคยสอนว่า ปัจจัยอย่าไปหา เพราะว่าสิ่งที่เราจะให้ ก็คือ ธรรมะ ถ้าเรามีธรรมะที่ไหน ไม่ต้องห่วงว่าเราจะจน หรือจะไม่มีกิน เราไม่ถึงกับรวย แต่เราต้องมีธรรมะ เราก็จะอยู่ได้
    0 วัดโฝวกวงซันมีวัตถุมงคลไหมครับ?
    - จะว่าไปแล้ว เรื่องของวัตถุมงคล ทางวัดเราก็มี เช่น พระพุทธเจ้า องค์เจ้าแม่กวนอิม ล็อกเกต แต่ทางวัดเราไม่มีแบบว่า ต้องให้พระปลุกเสก แต่เรามีเอาไว้ให้กับญาติโยมที่มาร่วมพิธีกรรม หรือมาทำบุญที่วัดมากกว่า
    0 หลักธรรมมหายานแตกต่างจากเถรวาทอย่างไร?
    - ถ้าพูดถึงแก่นก็จะเหมือนกัน ส่วนแนวทางการปฏิบัติอาจจะแตกต่างกัน อย่างของมหายานจะเน้นเรื่องของการปฏิบัติในแนวของพระโพธิสัตว์ ที่จะช่วยเหลือผู้อื่น พร้อมกับช่วยเหลือตัวเอง และต้องให้ความยินดี ความหวัง ความสะดวก แล้วก็ให้ความเชื่อมั่นกับผู้อื่น แต่ถ้าเป็นแนวของพระโพธิสัตว์ก็จะมีจตุมหาปณิธาน ๔ คือ
    ๑.สรรพสัตว์ทั้งหลายอันประมาณมิได้ เราจักโปรดให้หมดสิ้น เราจะต้องปลดเปลื้องให้พ้นทุกข์ ข้อนี้เทียบด้วยอริยสัจ ๔ ในข้อทุกขสัจ ซึ่งมีหน้าที่ต้องกำหนดรู้ คือเมื่อเรารู้ว่าเราทุกข์ เราก็ย่อมแจ้งให้คนอื่นๆ ทราบว่า เขาก็มีทุกข์เช่นเดียวกัน แต่พระโพธิสัตว์จะต้องปรารถนาความพ้นทุกข์แห่งสรรพสัตว์อีกด้วย
    ๒.กิเลสทั้งหลายที่ไม่สงบระงับ เราจะกำจัดให้หมดสิ้น เราจะต้องละทิ้งทำลายให้หมด และปรารถนาที่จะให้สรรพสัตว์ทำลายกิเลสเหล่านั้นด้วย ข้อนี้เทียบด้วยข้อสมุทัยคือตัณหาซึ่งเราจะต้องละ จะเจริญไม่ได้ ข้างฝ่ายมหายานถือว่า นอกจากตัวเราจะทำลายกิเลสของเราเองแล้ว จึงต้องช่วยแนะนำให้สรรพสัตว์ทำลายกิเลสของเขาด้วย
    ๓.ธรรมทั้งหลายอันไม่มีประมาณ เราจะต้องศึกษาให้เจนจบ เราจักต้องเรียนรู้และทำความศึกษาปฏิบัติ เทียบด้วยมรรคสัจซึ่งต้องเจริญให้มีขึ้น เราจึงจะกำหนดรู้ทุกข์และสมุทัยได้ และจะต้องยังสรรสัตว์ให้ศึกษาในพระธรรมด้วย
    ๔.พุทธมรรคอันประเสริฐ เราจะต้องบรรลุให้จงได้ เทียบด้วยทำนิโรธสัจให้แจ้ง และจะต้องยังสรรพสัตว์ให้บรรลุถึงด้วย เพราะฉะนั้น ตามปณิธานทั้ง ๔ นี้ เมื่อเทียบกับหลักอริยสัจแล้วจะเห็นว่า ฝ่ายมหายานต้องการจะปลดเปลื้องสรรพสัตว์ให้พ้นทุกข์
    0 สุดท้ายหลวงพี่อยากให้ธรรมะอะไรกับผู้อ่านบ้างครับ?
    - ถ้าญาติโยมมีสัมมาอาชีวะ มีอาชีพการงานที่ดีแล้ว ขอให้ทุกคนตั้งใจทำงาน ถือเป็นลาภอันประเสริฐแล้ว เราอย่าไปหวังว่า เราจะไปหวยถูกเบอร์ เพราะการถูกหวยถูกเบอร์ เหมือนเป็นบุญเก่าประกอบกัน บางคนไม่ต้องถูกหวยเดินอยู่ดีๆ ไปสะดุดแล้วได้ทองคำ จึงไม่จำเป็นต้องถูกหวย นี่เป็นบุญเก่าที่เขาสร้างกันไว้ ยิ่งทุกวันนี้ มีคนเล่นหวย บางคนก็ทุ่มเงินซื้อ เหมือนเอาเงินไปทิ้งในมหาสมุทร ทำให้เสียเปล่า อยากให้เอาเงินที่ไปซื้อหวยแล้วนำมาสร้างเนื้อสร้างตัว ด้วยการสะสมให้มันเป็นปึกแผ่นแล้วเอาไปทำมาหากินน่าจะดีกว่า
    -----เบิลบ์-------
    "ทำงานเพื่อสังคมให้ดีที่สุด เพราะเส้นทางที่อาตมาเลือกแล้วก็จะต้องเดินต่อไป"

    ล้อมกรอบ
    ชาติภูมิอัมพิกา
    ภิกษุณีอัมพิกา ชื่อเดิม อัมพิกา คูวินิชกุล เกิดเมื่อวันอาทิตย์ที่ ๑๘ พฤศจิกายน ๒๕๑๖ ณ ต.ปากแพรก อ.ทุ่งสง จ.นครศรีธรรมราช บิดาชื่อ วิศิษฏ์ มารดาชื่อ สุจินดา บรรพชา เมื่อวันที่ ๑๕ เมษายน ๒๕๔๑ ณ วัดโฝวกวงซัน เมืองเกาสง ไต้หวัน พระอุปัชฌาย์ เจ้าพระคุณพระเถระ ซิงหวิน ปฐมเจ้าอาวาสวัดโฝวกวงซัน
    อุปสมบท เมื่อวันที่ ๗ พฤษภาคม ๒๕๔๓ ณ วัดโฝวกวงซัน เมืองเกาสง พระอุปัชฌาย์ เจ้าพระคุณพระเถระ ซิงหวัน ปฐมเจ้าอาวาสวัดโฝวกวงซัน พระกรรมวาจารย์ เจ้าพระคุณพระเถระ หย่งซิง วัดจีน ฮ่องกง พระอนุสาวนาจารย์ เจ้าพระคุณพระเถระ อิ้งไห่ วัดจีน บอสตัน
    การศึกษา พ.ศ. ๒๕๓๓ สำเร็จการศึกษามัธยมต้น โรงเรียนดรุณศึกษา อ.ร่อนพิบูลย์ จ.นครศรีธรรมราช พ.ศ. ๒๕๓๔ สำเร็จการศึกษามัธยมปลาย โรงเรียนดรุณพิทยา ห้วยขวาง กรุงเทพฯ พ.ศ. ๒๕๔๐ สำเร็จการศึกษาปริญญาตรี มหาวิทยาลัยฉยง หลิน เมืองเกาสง ไต้หวัน พ.ศ. ๒๕๔๕ สำเร็จการศึกษาปริญญาโท สาขาศาสนศาสตร์ (เกียรตินิยม ๑) มหาวิทยาลัยหนานฮวา เมืองเจียอี้ ไต้หวัน
    ผลงานแปลที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นหนังสือ ๑.ยินยอมพร้อมใจ ๒.ปรัชญานายรอง ๓.ยินดีถ้วนหน้า ๔.คำสอนในชีวิตประจำวัน โดยเป็นผลงานของพระคุณเถระ ซิงหวิน ๕.วาจาสอนจิตคติสอนใจ ๖.ประวัติวัดโฝวกวงซัน ๓๐ ปี
    ผู้ศรัทธาสนใจ สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ วัดโฝวกวงซัน อาคารว่องวานิช บี ชั้น ๓๒ ถนนพระราม ๙ เขตห้วยขวาง กรุงเทพฯ โทร. ๐-๒๖๔๕-๐๕๙๘, ๐-๙๙๒๗-๑๔๒๐

    ล้อมกรอบ (2)
    การบริหารงานวัดโฝวกวงซัน
    ภิกษุณี กิตยาภรณ์ อายุ ๔๓ ปี รองเจ้าอาวาสวัดโฝวกวงซัน ฝ่ายต่างประเทศ กล่าวว่า ได้รับหน้าที่บริหารตรงนี้ก็จะดูแลประสานงานต่างๆ เกี่ยวกับต่างประเทศทั้งหมด พร้อมกับจะทำการเผยแผ่พระพุทธศาสนาของมหายานตรงนี้ให้ชาวโลกได้รู้ว่าหลักธรรมตรงนี้เป็นอย่างไรบ้าง ความเป็นภิกษุณีมีความแตกต่างจากแม่ชีทั่วไปอย่างไร สิ่งสำคัญจะเน้นให้เข้าใจว่า ทุกคนที่มาบวชเป็นภิกษุณีไม่มีใครอกหักแล้วมาบวชเลย แต่ทุกคนมาบวชล้วนแล้วศรัทธาต่อพระพุทธศาสนา
    ก่อนหน้านี้ทำงานอยู่ที่โรงเจ จ.อุทัยธานี แล้วก็มีแฟนเหมือนวัยรุ่นทั่วไป ระหว่างที่ทำงานอยู่ที่โรงเจก็คิดเหมือนกัน ว่าถ้ามีโอกาสบวช จะบวชไม่สึก ตอนนั้นยังไม่รู้ว่า โลกเรามีการบวชภิกษุณีได้ รู้แค่ว่ามีการบวชเป็นแม่ชี ที่บวชแล้วก็สึกได้ แต่การเป็นภิกษุณีเมื่อบวชแล้วไม่สามารถสึกได้ พอตัดสินใจที่อยากจะศึกษาพระพุทธศาสนา ทำให้ไม่ได้คิดเรื่องเนื้อคู่อีกเลย แล้วก็ไปศึกษาจนบวชอยู่ที่ไต้หวัน
    "ประมาณ ๑๙ พรรษา ที่อาตมาได้บวชก็คิดที่จะสอนให้ญาติโยมดำรงชีวิตด้วยความเป็นคนดี อยู่กันอย่างมีหลักธรรมด้วยการบำเพ็ญศีล การได้รับตำแหน่งเป็นรองเจ้าอาวาสอาตมาก็ต้องทำหน้าที่อย่างเต็มที่ ทำงานให้พระพุทธศาสนาก็เป็นหน้าที่เรา ทำก็ไม่ได้หวังลาภยศใดๆ" ภิกษุณีกิตยาภรณ์ กล่าว
    นอกจากนี้ ภิกษุณี พิชญา อายุ ๓๒ ปี รองเจ้าอาวาสวัดโฝวกวงซัน ฝ่ายบริหาร กล่าวด้วยว่า หน้าที่รับผิดชอบจะต้องดูแลงาน นิมนต์พระสงฆ์ของเถรวาทมาร่วมพิธีกรรมต่างๆ ทุกอย่างของทางวัด เช่น วันวิสาขบูชา วันเข้าพรรษา วันตรุษจีน ฯลฯ บวชเป็นภิกษุณีมาเป็นเวลากว่า ๑๐ ปีแล้ว คิดว่าประสบการณ์ที่เราได้เดินทางไปเรียนรู้ตามประเทศต่างๆ เกี่ยวกับพระพุทธศาสนาตรงนั้นคงจะได้นำมาปรับใช้ต่อการบริหารงานในวัดได้
    ย้อนกลับไปครั้งที่ตัดสินใจบวชก็คิดว่า ถ้าบวชอยู่เมืองไทยคงเป็นได้แค่แม่ชี แล้วถ้าพูดถึงพระพุทธศาสนาที่อยากจะเรียนรู้ จึงตัดสินใจบวชแล้วไปศึกษาที่วัดโฝวกวงซัน ที่ไต้หวัน เป็นวัดที่ใหญ่แล้วมองการณ์ไกล สนับสนุนให้เราได้เรียนรู้ เชื่อไหมว่าบวชได้ปีเศษหลวงพ่อท่านก็ให้เดินทางไปศึกษาพระพุทธศาสนาที่ประเทศสหรัฐอเมริกา
    "ที่ผ่านมา ยังมีการสอนให้เราได้ขัดเกลาจิตใจ สำรวมการปฏิบัติมากขึ้น หากเราไม่ได้บวชก็คงไม่รู้ว่าจะได้เรียนรู้พระพุทธศาสนาแบบนี้หรือเปล่า ตอนบวชครั้งแรกครอบครัวไม่ชอบ แต่พอบวชไปแล้วท่านคงเห็นว่าอาตมาดูดีขึ้น ก็ยอมรับกันได้ แล้วคิด ว่าการบวชตลอดชีวิตน่าจะเป็นหนทางนำพาไปให้พ้นทุกข์ได้" ภิกษุณีพิชญา กล่าวทิ้งท้าย

    0 เรื่อง สุทธิคุณ กองทอง / ภาพ เจษฏา จันทรรักษ์ 0
    </TD></TR></TBODY></TABLE>


    ------------------------------
    ที่มา:คมชัดลึก
    http://www.komchadluek.net/2007/04/17/j001_107969.php?news_id=107969
     

แชร์หน้านี้

Loading...