นครวัดจำลองที่วัดพระแก้ว

ในห้อง 'วัดและศาสนสถาน' ตั้งกระทู้โดย ง้วนดิน, 5 เมษายน 2007.

  1. ง้วนดิน

    ง้วนดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 กุมภาพันธ์ 2006
    โพสต์:
    2,362
    ค่าพลัง:
    +11,048
    นครวัดจำลองที่วัดพระแก้ว

    <TABLE cellSpacing=5 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD bgColor=#006600 height=22>สายสุนีย์ สิงหทัศน์...เรื่อง อิทธิพล พุฒิโภคิน ททท....ภาพ </TD></TR><TR><TD vAlign=top>[​IMG] นครวัดเป็นชื่อปราสาทขอมที่ใหญ่ที่สุด งดงามที่สุด และได้รับการอนุรักษ์ไว้ด้วยดีที่สุด จนได้รับการยกย่องให้เป็นสิ่งมหัศจรรย์แห่งหนึ่งในจำนวน ๗ สิ่งของโลก แต่เดิมทีเดียวปราสาทหินแห่งนี้มีชื่อว่าปราสาทวิษณุเทพ ต่อมาเมื่อเมืองพระนคร นครหลวงของขอมโบราณอันยิ่งใหญ่มาหลายสมัยต้องร้างลงเช่นเดียวกับเมืองสุโขทัยปัจจุบัน ได้มีพระภิกษุสงฆ์เข้ามาจำพรรษาเป็นจำนวนมาก จึงเรียกติดปากกันต่อมาว่านครวัด หรืออังกอร์วัดตามภาษาเขมร ซึ่งมีรากศัพท์มาจากภาษาสันสกฤต

    ผู้สร้างปราสาทนครวัดคือพระเจ้าสุริยวรมันที่ ๒ สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. ๑๖๕๐ เพื่อเป็นที่ฝังพระศพของพระองค์เอง กล่าวกันว่า ใช้เวลาในการก่อสร้างทั้งสิ้น ๓๗ ปี มีช่างควบคุมการก่อสร้าง ๕๐๐ นาย แรงงาน ๑,๐๐๐,๐๐๐ คน ใช้หินทั้งหมดรวม ๖๐๐,๐๐๐ ลูกบาศก์เมตร ใช้ช้างลากหิน ๕,๐๐๐ เชือก ใช้แพบรรทุกหินจากพนมกุเลนล่องลงมาทางลำน้ำเสียมเรียบถึง ๗,๐๐๐ แพ มีภาพวาดและภาพจำหลักอันวิจิตรงดงามตลอดระเบียง โดยใช้ช่างฝีมือกว่า ๕,๐๐๐ คน แกะสลักอยู่นานกว่า ๔๐ ปี และมีภาพจำหลักนางอัปสรไม่ซ้ำแบบกันจำนวนถึง ๑,๗๐๐ นาง

    [​IMG] ด้วยเหตุที่นครวัดมีความสำคัญดังกล่าว ประกอบกับในสมัยรัชกาลที่ ๔ ยังเป็นช่วงที่เมืองเสียมราฐอันเป็นที่ตั้งปราสาทหินนครวัดขึ้นอยู่กับสยามประเทศ รัชกาลที่ ๔ ทรงมีพระราชประสงค์จะให้ช่างไปรื้อปราสาทหินแห่งใดแห่งหนึ่งมาสร้างใหม่ที่กรุงเทพฯ เพื่อให้ราษฎรไทยได้ชม เพราะทรงเห็นว่าที่เมืองพระนครมีปราสาทหินมากมายถึง ๗๒ แห่ง และเป็นของแปลก แต่เมื่อขุนนางไทยไปถึงเมืองเสียมราฐกลับพบว่า ปราสาทหินแต่ละแห่งนั้น มีขนาดใหญ่โตมหึมา เกินกำลังที่จะย้ายเข้ามาสร้างในเมืองไทยได้ ความทราบถึงรัชกาลที่ ๔ จึงโปรดให้พระสามภพพ่ายไปจำลองนครวัดมาสร้างไว้ทางด้านเหนือ ใกล้กับมุขเหนือปราสาทพระเทพบิดรที่พระองค์โปรดให้สร้างขึ้นในวัดพระศรีรัตนศาสดาราม หรือวัดพระแก้วแทน โดยใช้ซีเมนต์เป็นวัสดุก่อสร้างด้วยฝีมืออันประณีตยิ่ง แต่การก่อสร้างยังไม่ทันแล้วเสร็จก็เสด็จสวรรคตเสียก่อน รัชกาลที่ ๕ ได้โปรดให้ดำเนินการก่อสร้างต่อจนเสร็จทันการเฉลิมฉลองกรุงเทพฯ ๑๐๐ ปี
    [​IMG]


    ภายหลังจากนั้นไม่นาน ไทยก็เสียเมืองพระตะบอง เสียมราฐ และศรีโสภณ ให้แก่ฝรั่งเศสที่เข้ามายึดดินแดนกัมพูชาเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๓๑ เพื่อแลกเปลี่ยนกับอำนาจศาล เมืองด่านซ้าย และจังหวัดตราด ตามสัญญาลงวันที่ ๒๓ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๕๐ นครวัดจึงตกอยู่ในความครอบครองของฝรั่งเศสอีกวาระหนึ่ง อย่างไรก็ตาม นครวัดจำลองที่วัดพระแก้วก็ยังเป็นสิ่งเตือนใจให้คนไทยรำลึกว่า นครวัดเป็นสิ่งหนึ่งในหน้าประวัติศาสตร์ที่คนไทยควรจดจำไว้ และสำหรับผู้ที่ไม่มีโอกาสไปชมถึงเมืองกัมพูชา ก็สามารถชมนครวัดจำลองแห่งนี้ได้ที่วัดพระแก้ว ซึ่งถึงแม้จะมีขนาดเล็กมาก แต่ก็จำลองแบบมาจากของจริง

    [​IMG] การสร้างปราสาทขอมจำลองมาไว้ในประเทศไทยนั้น มิใช่จะมีแต่เพียงปราสาทนครวัดจำลองเท่านั้น แม้แต่ในสมัยสมเด็จพระเจ้าปราสาททองแห่งกรุงศรีอยุธยา ก็เคยโปรดให้สร้างปราสาทนครหลวงที่อำเภอนครหลวง จังหวัดพระนครศรีอยุธยามาแล้ว เพื่อเป็นอนุสรณสถานที่ระลึกว่า ประเทศกัมพูชาได้กลับมาขึ้นต่อกรุงศรีอยุธยาอีกครั้งหนึ่ง ซึ่งตามประวัติศาสตร์ปรากฏว่าในสมัยกรุงศรีอยุธยานั้น ประเทศกัมพูชาเคยตกเป็นประเทศราชของไทยหลายครั้ง เช่น ในสมัยเจ้าสามพระยา สมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช สมัยสมเด็จพระเจ้าทรงธรรม และสมัยสมเด็จพระเจ้าปราสาททองดังกล่าว
    การก่อสร้างปราสาทนครหลวงในสมัยสมเด็จพระเจ้าทรงธรรมมีปรากฏอยู่ในพงศาวดารกรุงศรีอยุธยาตอนหนึ่งว่า

    “ลุศักราช ๙๙๓ ปีมะแมตรีศก ทรงพระกรุณาให้ช่างออกไปถ่ายอย่างพระนครหลวง และปราสาทกรุงกัมพูชาประเทศเข้ามา ให้ช่างกระทำพระราชวังเป็นที่ประทับร้อน ตำบลริมวัดจันทร์ สำหรับจะเสด็จขึ้นนมัสการพระพุทธบาท จึงเอานามเดิมซึ่งถ่ายมาให้ชื่อพระนครหลวง”

    ปราสาทนครหลวงเป็นปราสาทที่ตั้งอยู่บนเนินดินสูงเป็นชั้น ๆ ขึ้นไป มีบันไดทางขึ้นสู่ตัวศาสนสถานทั้งสามชั้น ตรงมุมปราสาทมีปรางค์ทั้งสี่ด้าน แต่พระปรางค์องค์กลางยังไม่ทันได้สร้าง เนื่องจากมีการสู้รบกับพม่า ปัจจุบันปราสาทนครหลวงได้รับการเปลี่ยนแปลงให้เป็นวัด โดยทำเป็นมณฑปอยู่ตรงกลางแทนที่พระปรางค์ เพื่อเป็นสถานที่ประดิษฐานพระพุทธบาทสี่รอย ซึ่งถ่ายแบบมาจากจังหวัดเชียงราย

    ปราสาทนครวัดจำลองและปราสาทนครหลวงที่พระมหากษัตริย์ไทยโปรดให้สร้าง รวมทั้งปราสาทหินหลายแห่งที่ขอมสร้างในเมืองไทย ไม่ว่าจะเป็นปราสาทหินพิมายซึ่งสร้างก่อนนครวัด ๑๐๐ ปี ปราสาทหินเขาพนมรุ้ง และปราสาทหินเมืองต่ำ ล้วนเป็นสมบัติศิลปะที่คนไทยควรชื่นชม รู้คุณค่าทางประวัติศาสตร์ และอนุรักษ์ไว้ให้คงอยู่สืบไป
    ................................................................................

    ข้อมูลการเขียน
    ๑. สุภัทรดิศ ดิศกุล, ศาสตราจารย์ หม่อมเจ้า. ศิลปะขอม เล่ม ๑, ๒, ๓. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์คุรุสภา ลาดพร้าว, ๒๕๓๓.
    ๒. กรมศิลปากร. ประวัติศาสตร์โบราณคดี-กัมพูชา. กรุงเทพฯ : กระทรวงศึกษาธิการ, ๒๕๓๖.
    ๓. องค์การส่งเสริมการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย. คู่มือนำชมพระบรมมหาราชวังและวัดพระศรีรัตนศาสดาราม. กรุงเทพฯ : บำรุงนุกูลกิจ, ๒๕๒๐









    </TD></TR><TR><TD bgColor=#fefef1>ที่มา : อนุสาร อ.ส.ท. ปีที่ ๔๕ ฉบับที่ ๑๐ เดือนพฤษภาคม ๒๕๔๘</TD></TR></TBODY></TABLE>
    http://www.osotho.com/th/content/indexdetail.php?ContentID=151&myGroupID=7
     
  2. ง้วนดิน

    ง้วนดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 กุมภาพันธ์ 2006
    โพสต์:
    2,362
    ค่าพลัง:
    +11,048
    มาไวอิกแระ..."เด็กชายยุด"
     

แชร์หน้านี้

Loading...